ว่าด้วยเลือกตั้ง กทม. 2556

ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งครับ แต่ก็ติดตามมาโดยตลอด เพราะตัวเองอยู่ กทม. มา 5-6 ปีแล้ว

ซึ่งก็ขอแสดงความยินดีกับ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ที่สามารถรักษาตำแหน่งผู้ว่าไว้ได้ ก็หวังว่าจะทำตามนโยบาย "เริ่มต้นได้ทันที" ของพรรคท่านนะครับ ซึ่งรอบนี้มีต้องบอกว่า คนจดโพยนโยบายต่างๆ ของท่านไว้เยอะ และคะแนนรอบนี้ด้านผู้ไม่สนับสนุนท่านก็มากอยู่ อีกอย่าง แนวการหาเสียงของพรรคท่านก็เน้นความกลัวเข้าว่า ก็ได้ผลดีอยู่นะ (แม้ผมจะไม่ชอบเท่าไหร่) เพราะฉะนั้น ก็อย่าเพิ่งดีใจจนคิดว่าทำแบบเดิมๆ เหมือน 4 ปีที่ผ่านมาได้ก็พอ เพราะครั้งหน้า ใครลงต่อจากท่านอาจแพ้เพราะท่านก็ได้ (เห็นใจคนมาสานงานต่อท่านบ้าง)

สำหรับผู้สมัครอิสระทั้ง สุหฤท โฆสิต และท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวมา จะเป็นแรงสนับสนุนให้การเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปมีคนผู้สมัครอิสระออกมาให้เราได้เลือกเพิ่มมากขึ้น และพร้อมสู้กับกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งยังมีความหลากหลายมากขึ้นแน่ ซึ่งดูจากคะแนนของทั้งสุหฤทและโฆสิตแล้วนั้น ผมมองว่าก็ไม่ถือว่าแย่ เป็นพลังและคะแนนที่ให้กับตัวผู้สมัครเอง ซึ่งอยากให้แปรเปลี่ยนเป็นคะแนนกำลังใจและครั้งหน้าคงทำการบ้านเพิ่มเติมสำหรับการหาเสียงให้กว้างมากกว่านี้ ถ้าจะกลับมาใหม่อีกรอบ เพราะผมเชื่อว่าถ้ายังทำงานเพื่อสังคมต่อเนื่องเรื่อยๆ ผมว่าก็คงได้คะแนนเพิ่มมากขึ้นในครั้งต่อไปแน่ๆ ซึ่งแน่นอนว่ารอบนี้เงียบไปหน่อยสำหรับผู้สมัครอิสระ (เข้าใจว่าทุนไม่ได้มาก ซึ่งผมก็เข้าใจได้)

ข้อเสนอการออกรุ่นใหญ่ของ Ubuntu อาจทำให้ต้องใช้แต่ LTS สำหรับงานด้าน Server

จากข่าว “Ubuntu พิจารณาปรับแผนออกรุ่นใหญ่เฉพาะ LTS และออกรุ่นย่อยให้ถี่กว่าเดิม

โดยส่วนตัวก็ถือว่าดีในมุนของผู้ใช้งานทั่วไปมากกว่างานระบบ Server ที่ผมทำงานอยู่นะ

คือส่วนตัวใช้ Long Term Support (LTS) สำหรับงานด้าน Server เป็นหลัก และนานๆ ครั้งจะใช้ Interim Release (IR) กับงาน Server เพราะ LTS นั้นช่วยให้เราสามารถรัน App ที่พัฒนาได้ครบรอบ Software Support ได้ 18 เดือนแน่ๆ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่ทำให้ระบบต้องแก้ไขเรื่องเข้ากันไม่ได้กับระบบ OS โดยรวม แต่ถ้าต่อไปเป็น Rolling Release แทน Interim Release ก็อาจจะใช้แต่ LTS ล้วนๆ แทน ซึ่งก็ไม่แน่นะ ผมอาจจะเปลี่ยนใจมาใช้ Debian แทนก็ได้ เพราะ Rolling Release สำหรับงาน Server ดูจะเสี่ยงเกินไปหน่อย ขนาด 18 – 24 เดือนเปลี่ยน System ทีคนทำระบบหลายๆ คนยังร้องเลย ><”

เมื่อ Linux OS Virtual Machinces บน Windows Azure ไม่มี SWAP Partition แก้ไขยังไง?

โดยปรกติแล้ว ถ้าเราลง Linux โดยทั่วไปจะมีการตั้ง SWAP Partition ไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว อย่างเช่นตัวอย่างที่ผมเอามาโพสก็คือ Ubuntu Server 12.04.2 LTS มีการติดตั้ง SWAP ไว้อยู่

การตรวจสอบทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง shell ด้านล่าง ซึ่งจะได้รายการ SWAP ออกมาว่ามีอยู่หรือไม่ 

ford@ns1:~$ swapon –s

2013-03-02_190758

แต่ถ้าเป็นบน Cloud นั้น ตัว Image ของ Linux OS จะถูกปรับแต่งบางส่วนเพื่อไม่ให้สร้าง SWAP พวกนี้ ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ที่ต้องจองไว้และความไม่จำเป็นโดยทั่วไปของ Cloud อยู่แล้ว (ปรกติใช้ Cloud สำหรับ Compute ข้อมูลที่อาจจะไม่ได้ใช้หน่วยความจำเยอะ) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ลง OS ต้องได้ใช้ SWAP เสมอไป แต่ถ้าอยากลงก็มีทางให้อยู่

แน่นอนว่า Cloud ที่ผมใช้อยู่นั้น อยู่บน Windows Azure สำหรับใครที่ใช้ Amazon EC2 ก็คงต้องหาวิธี ซึ่งก็มีวิธีเช่นกัน (How to add swap to Amazon EC2 instance Ununtu 12.04 LTS?)

ตอนนี้ผมลองทำบน Virtual Machines ผมปัจจุบัน 1 ตัว ซึ่งเป็น Ubuntu Server 12.04.2 LTS โดยใช้คำสั่งข้างต้น ก็จะไม่เจอ SWAP แต่อย่างใด

2013-03-02_190129

อยากสร้างเรามีวิธี โดยจากคู่มือ Creating and Uploading a Virtual Hard Disk that Contains the Linux Operating System นั้นได้อ้างอิงตัว Windows Azure Linux Agent User Guide อีกทีครับ

สรุปง่ายๆ คือ เข้าไปแก้ไข Windows Azure Linux Agent Configuration ซึ่งอยู่ที่ /etc/waagent.conf (sudo ตัวเองเป็น root ก่อนแก้ไข)

เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจะตัวตั้งค่าอยู่พอสมควร ให้หาส่วนที่ขึ้นต้นด้วย ResourceDisk ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 5 ตัวครับ

ResourceDisk.Format=y
ResourceDisk.Filesystem=ext4
ResourceDisk.MountPoint=/mnt/resource
ResourceDisk.EnableSwap=n
ResourceDisk.SwapSizeMB=0

ผมจะปรับให้ใช้ SWAP ขนาด 2GB โดยปรับค่า 2 ตัวดังนี้

#เปิดการใช้ SWAP
ResourceDisk.EnableSwap=y

# 2GB หน่วยเป็น MB
ResourceDisk.SwapSizeMB=2048

เมื่อปรับแต่งตัวตั้งค่าทั้ง 2 ตัวแล้ว ก็ Save ตัวไฟล์แล้วออกจากตัว editor เสร็จแล้วสั่ง Deprovision ด้วยคำสั่งด้านล่าง

azureuser@fordantitrust:~$ waagent –force –deprovision
azureuser
@fordantitrust:~$ export HISTSIZE=0

เมื่อสั่งรันคำสั่งจบก็ exit ออกมา

แล้วไปที่ Windows Azure Portal สั่ง Restart ตัว Virtual Machines รอสัก 3-4 นาทีโดยประมาณ ระบบจะบูทกลับมาใหม่ แล้วพิมพ์คำสั่ง swapon –s อีกรอบ จะเจอไฟล์ SWAP ของระบบอยู่ที่ /mnt/resource/swapfile

2013-03-02_192724

เพียงเท่านี้ก็จบกระบวนการ การสร้าง SWAP บน Cloud แล้วครับ

ลองจับ LG Optimus G

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2556 ที่ผ่านมา LG ประเทศไทย เชิญผมเข้า Workshop มือถือระดับ flagship ชื่อ LG Optimus G (รหัส E975) ซึ่งกำลังนำเข้ามาขายเร็วๆ นี้ ส่วนตัวยังไม่ทราบราคาแน่ชัดนัก แต่เดาๆ เอาว่าราคา 19,900 บาท (ผมเดาครับ ไม่ได้รับการยืนยันใดๆ ทั้งสิ้น) โดยเปิดตัวครั้งแรกที่เกาหลีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา และผ่านมาได้ 4 เดือนกว่าๆ ก็ได้เวลาสำหรับประเทศไทยกันเสียที (ก่อนหน้านี้เปิดตัวที่เกาหลี ญี่ปุ่น แคนาดา และอเมริกา)

WP_20130227_015

มาดูที่ตัวเครื่องกันเลยดีกว่า ตัว LG Optimus G นั้นเป็นส่วนผสมของ LG Optimus 4X HD และ Nexus 4 เข้าด้วยกัน มองง่ายๆ คือ ตัว Form Factor หลักๆ เป็นแบบ LG Optimus 4X HD ที่ค่อนข้างเหลี่ยมและแบน และผสมเข้ากับกระจกด้านหลังมีเกล็ดสะท้อนแสงคล้าย Nexus 4 ซึ่งทำให้ในชุดที่จำหน่ายมีแถมฟิล์มกันรอยให้ทั้งด้านหน้าและหลังมาในกล่องด้วย (ถ้าไม่มีก็เรียกจากร้านได้เลย)

WP_20130227_048

WP_20130227_029 WP_20130227_035

ในด้านหน้าจอนั้นเป็น “True HD” IPS LCD (768×1280 pixels; 318ppi) ขนาด 4.7” โดยเป็น “gapless” panel โดยตัวกระจกเป็น Corning Gorilla Glass 2 ที่หลังกระจกเป็นจอ LCD เลยไม่มีฟิล์มขั้นกลางให้สีและแสงถูกตัดทอนไปแบบจอ LCD ปรกติ

ในด้านหน่วยประมวลผลกลางนั้นเป็น quad-core CPU จาก Qualcomm Snapdragon S4 Pro APQ8064 (1.5 GHz quad-core Qualcomm Krait) ที่ถือว่าเร็วมากสำหรับตลาดระดับบน พร้อมกับ RAM ที่ให้มาถึง 2GB และ Storage ที่ 32GB ให้เต็มๆ (ความเร็วดูได้จากวิดีโอด้านล่าง)

น้ำหนักตัวเครืองประมาณ 145 กรัม ขนาดตัวเครื่องใหญ่พอๆ กับ Nokia Lumia 920 แต่เบากว่าเยอะ

Battery ที่ให้มานั้นเป็น Li-Ion ที่ไม่สามารถถอดออกจากตัวเครื่องได้ ซึ่งมีความจุ 2,100 mAh ที่ LG พัฒนาตัว Battery ให้สามารถใช้ได้นานถึง 800 Cycle Charge แถมตัว Android ของ LG นั้นได้ปรับแต่งโดยมี “power saver” settings ซึ่งสามารถปรับการใช้งานไป eco mode เพื่อช่วยประหยัดพลังงานด้วย

ในด้านตัว OS นั้นเป็น Android ICS อยู่ แต่ LG บอกว่าตัวขายจริงอาจมีการปรับแต่ง ROM เพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อให้พร้อมขายกับคนไทยด้วย แต่ในงานก็ได้ลองปรับดูว่ามีคีย์บอร์ดไทยหรือไม่ ซึ่งก็ปรากฎว่ามี ก็ลองดูกันว่าคีย์บอร์ดทีให้มาพร้อมตัว OS นั้นโอเคหรือไม่ (แต่โหลดเพิ่มได้อยู่ดี)

WP_20130227_040 WP_20130227_037

WP_20130227_047

สำหรับของแถมอีกอย่างที่จะแถม คงเป็นเคสที่ให้มาในกล่อง ซึ่งเป็นเซ็ตของ LG Optimus G ที่ขายในไทยเลย รูปแบบไม่แตกต่างจาก LG Optimus 4X HD  ที่ขายไปเมื่อไม่นานมานี้แต่อย่างใด คล้ายๆ กันนะเท่าที่ดู

WP_20130227_017 WP_20130227_019

WP_20130227_021

ส่วนอื่นๆ ที่โน็ตๆ มานั้น ผมขอสรุปตามนี้

  • ตัวเครื่องนั้นต้องบอกว่าวัสดุคล้ายๆ กับ Nexus 4 เป็นส่วนใหญ่
  • งานออกแบบเอา LG Optimus 4X HD มาเป็นฐานแล้วเอา Nexus 4 มาแต่งๆ ใส่ลวดลายและกระจกหน้า-หลังลงไปให้ดูสวยขึ้น
  • จอภาพสวยงามสบายตาดี ถ้าให้เทียบกับ Nokia Lumia 920 แล้ว พอๆ กันเลย แต่สีของ LG จะจัดกว่าหน่อย คนที่ไม่ชอบ AMOLED อาจจะชอบตัวนี้ (ดูๆ แล้วไม่เหลืองด้วยนะ)
  • ในด้านความเร็วในการตอบสนองของ UI ดีมาก (ดูได้จากวิดีโอด้านบน) แต่ซึ่งถ้าเทียบกับ Nokia Lumia 920 แล้วคงต้องบอกว่า ลื่นในลักษณะที่ไม่เหมือนกัน (บอกไม่ถูก แต่มันติดนิ้วคนละแบบจริงๆ)
  • กล้องด้านหลัง 13MP ให้มาเกินพอ ภาพในที่แสงน้อยทำได้ดี ISO 800 ให้คุณภาพของภาพที่ถือว่าไม่ทำให้ผิดหวัง (ภาพจากกล้องอยู่ด้านล่าง)
  • กล้องด้านหน้า 1.3MP ตามสมัยนิยม ไม่มีอะไรใหม่เท่าไหร่ในส่วนนี้ (ถ่ายวิดีโอจากกล้องหน้าได้ 720p ด้วยนะ)
  • ตัววิดีโอที่ถ่ายออกมาแล้วภาพคมชัดดีมาก (ภาพจากกล้องอยู่ด้านล่างอัพขึ้น Youtube ให้แล้ว) รองรับ Full HD video (1080p) ที่ 30 fps
  • App ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอพัฒนาในด้านการใช้งานเพิ่มขึ้นและน่าสนใจ อย่างเช่น Time catch shot ถ่ายรูปภาพหลายๆ รูป แล้วเลือกรูปที่ดีที่สุด หรือ cheese shutter ใช้เสียงจากการออกเสียงที่เป็นการอ้าปากที่ทำให้ยิ้มแล้วกล้องจะถ่ายให้ ชื่อคุณสมบัติตรงๆ ตัวมาก
  • ช่องเสียบหูฟังเป็นช่องแบบ 3.5 mm stereo audio jack ส่วนตัวแล้วถือว่าโอเค ตัวหูฟังไม่เห็นตัวจริง เลยไม่รู้ว่าสวยแบบในรูปไหม (เห็นเค้าว่าหูฟังเสียงดีมากๆ แต่เสียดายไม่เห็นและฟังของจริง)
  • การเชื่อมต่ออย่าง Wi-Fi 802.11 a/b/g/n, Bluetooth 4.0 + A2DP และ NFC มีมาให้พร้อม เปิด Wi-Fi Hotspot ได้ รองรับ DLNA
  • ช่องเชื่อมต่ออย่าง micro-USB 2.0 (5-pin) ที่รองรับทั้ง MHL for USB หรือ HDMI connection
  • เรื่องความถี่ในการใช้งานนั้นคงทั่วๆ ไปก็คือ 2G, 3G และ 4G LTE

สรุปโดยส่วนตัวแล้วนั้น รอดูของจริงที่ Shop ใกล้บ้าน อยากให้ไปลองจับลองเล่นดูก่อน ส่วนตัวผมจากที่ให้แม่ใช้ LG Optimus 4X HD มา 2 เดือนกว่าๆ ต้องบอกว่า LG มาเงียบๆ แต่งานประกอบคุณภาพค่อนข้างดีครับ แม่ผมชอบงานประกอบมาก เมื่อเทียบกับ Samsung Galaxy S3 ของเพื่อนแม่ (´∇`)メ

ไฟล์วิดีโอจากกล้อง LG Optimus G

รูปภาพจากกล้อง LG Optimus G

ปล. สภาพแสดงในร้านอาหารตอน present อาจไม่คมชัดเท่าไหร่มัก เพราะ ISO 800 ครับ ต้องลองในสภาพแสงแดดปรกติดู

CAM00012

CAM00009

CAM00010

เป็น Programmer/Developer งานมันเครียด

อาชีพ Programmer กับ Developer งานมันเครียด พาลเส้นเลือดในสมองจะแตกตาย ได้ง่ายๆ จะตายโดยไม่ได้ใช้ตังเนี่ยแหละ

หลังๆ เลยพยายามให้วันอาทิตย์คือ 1 วันใน 7 วันที่พักจริงๆ จังๆ ไม่ยุ่งกับงานเลย (ถ้าไม่ critical ระดับระบบล่ม มี critical bug นะ) คือได้พักวันนึงเต็มๆ นั่งอ่านโน้นนี่ ลองของไปเรื่อยๆ ได้หาอะไรใหม่ๆ ทำหรือเล่น หรือแบบเบื่อมากๆ ก็ไปเที่ยวแม่มเลย ใครมาอี๊ดๆ ติดต่องานวันนั้นจะไม่รับเลย จะให้อีเมลแจ้งเท่านั้น (มีเวลาตั้ง 7 วัน กูขอวันหนึ่งเหอะ กูขอหล่ะ)

คือไอ้ 1 วันที่ว่าเนี่ย อาจเป็น 1 วันที่ได้ศึกษาอะไรใหม่ๆ ด้วย งานด้าน IT มันต้องอัพตัวเองตลอด มันมีอะไรใหม่ เจออะไรมาก ทำอะไรได้บ้าง คือเราทำงานด้าน Solution มันต้องรู้อะไรใหม่ๆ ตลอด ศึกษาเรื่อยๆ ไม่ใช่หยุดอยู่กับที่ ไม่งั้นเราจะตามหลังแน่ๆ

ผมเชื่อแล้วว่า “คนที่เป็นโปรแกรมเมอร์ได้ยาวนานนั้น ต้อง Born to be จริงๆ”