Cloud Services ไม่ถูก ใช้ให้ถูกจุดประสงค์

หลายคนไม่รู้ได้ mind set มาจากไหนว่าใช้ Cloud Services มันถูกกว่าใช้ Shared Hosting คือมันไม่ได้ถูกกว่าหรอกนะ ถ้าใช้ในงาน scale เล็กๆ แถมแพงกว่าด้วย เช่นเอา blog ที่ใช้ wordpress ไปใส่ใน Azure แบบที่ผมใช้อยู่นี่ คิดๆ แล้วจ่ายแพงกว่าด้วยนะครับ ถ้าผมไปเช่า Shared Hosting ผมจ่ายปีละ 1,000 – 2,000 บาท (พื้นที่ไม่เกิน 1GB และ b/w เดือนละ 50-100GB) แต่ที่ใช้บน Azure จ่ายตกเดือนละ 400 บาท แพงกว่าเท่าตัวเลย

2013-03-24_153919

แต่ที่ยอมเพราะผมจ่ายเอามาศึกษา เอามาลองใช้ และจะได้ตอบคนอื่นๆ ได้ว่ามันดียังไง ใช้ยังไง ทำอะไรได้บ้าง มันคุ้มค่ากว่าตัวอื่นๆ ยังไง ในจุดประสงค์งานแบบไหนด้วย

ถ้าต้องการลองทำระบบแบบเสมือนจริง เช่นอยากทดสอบเรื่อง web app ที่รองรับโหลดเยอะๆ แต่ไม่แน่ใจการออกแบบที่กำลังทำ และ web app เราใช้ load balance ทำ HA มาทำงาน โดยมี database ทำงานด้านหลังหลายๆ ตัว แต่อยากออกแบบก่อนซื้อ h/w จริงๆ ก็ใช้ cloud service พวกนี้เป็นทางเลือกในทำ simulate ระบบก่อนซื้อ h/w ครับ จะได้ไม่พลาดในการซื้อ h/w มาใช้งานร่วมกับ web app ที่กำลังออกแบบ

2013-03-24_154040

10 เหตุผลที่ผมจะไม่ซื้อ ThinkPad เครื่องต่อไป

คาดว่าจะเป็นโพสสุดท้ายเกี่ยวกับของเรื่อง ThinkPad ตัวล่าสุดที่เพิ่งออกมาแล้ว (คงไปเขียนเรื่องอื่นต่อ) เพราะด้วยเหตุผลว่า T Series นั้นเป็นรหัสรุ่นที่ถือเป็น Flagship ของ ThinkPad มาอย่างยาวนาน และการออกแบบรุ่น ThinkPad T431s นั้นเป็นการประกาศอย่างชัดเจนว่าต่อไป ThinkPad จะเป็นอย่างไรต่อไป แถมใน New T431s Illustrates How ThinkPad Loyalists, Techies and the People Will Define Future Design  ที่อยู่ใน Official Blog ก็โดนสับเละจากความคิดเห็นกว่าร้อยความคิดเห็น (ณ วันที่โพส)

ด้านล่างคือมุมมองของ “สาวก” ใจสลายแบบผม แน่นอนว่าทุกอย่างบนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการเฝ้ามองของคนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่ได้ใช้ ThinkPad มาเกือบ 10 ปี รวมถึงคนรอบข้างอีกหลายคนที่ใช้งานมาก่อนผมอีกหลาย generation ซึ่งหลายๆ คนก็ได้ทิ้ง ThinkPad ไปใช้ยี่ห้ออื่นก่อนหน้านี้แล้ว (ช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา)

  1. ThinkPad กำลังเป็น Macbook Pro สีดำ
    คนซื้อ ThinkPad เพราะความเป็น ThinkPad มีความเป็น Engineering นำหน้า Design มีแนวคิดที่แตกต่างจากการออกแบบของ Apple และนั้นคือสิ่งที่ ThinkPad แตกต่าง และคนส่วนใหญ่ซื้อ ThinkPad เพราะความแตกต่าง แต่ในตอนนี้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา วิธีคิดแบบนี้ใช้ไม่ได้อีกต่อ และนั้นก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องซื้อ ThinkPad มาใช้เพราะไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ทั้งๆ ที่ Lenovo ประกาศชัดว่าตัวเองจะเป็นคู่แข่งกับ Apple ในตลาดบน แต่ในความเป็นจริง คือพยายามตามงานและลอกแบบ Apple มาขายลูกค้าด้วยเหตุผลในด้านการแบบ ซึ่งนั้นเองคือสิ่งที่ “ผิด” และผลักกลุ่มคนที่ต้องการความแตกต่าง หาทางเลือกที่ดีกว่าจากยี่ห้ออื่นๆ แทน เช่น Dell Latitude, Sony Vaio หรือ Toshiba Portégé มาใช้งานแทน
  2. คีย์บอร์ดแบบ 6 แถว (6 rows Keyboard)
    มันเป็นความเลวร้ายที่สุดของการออกแบบในช่วง 2 ปีหลังของ ThinkPad (2012 – 2013) แม้ว่าสัมผัสในการพิมพ์จะยังอยู่ดี แต่การนำไปใช้งานสำหรับ System Admin และ Programmer นั้นกลับแย่ลงอย่างมาก เพราะการจัดวางปุ่มบางปุ่มนั้นอยู่ชิดกันเกินไป หรือปุ่มที่ถูกใช้งานบ่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Fn Key ร่วมด้วย แต่ในคีย์บอร์ดรุ่นใหม่กลับต้องใช้ และนั้นทำให้เกิดการสะดุดในการใช้งานอย่างมาก แถมมันทำงานร่วมกับ OS อื่นๆ ได้ลำบาก เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ซื้อไปใช้กับ Windows เท่านั้น แต่ใช้งานร่วมกับ Linux หรือ Unix ด้วย อีกทั้งมันทำให้การใช้งานร่วมกับ Desktop Computer เป็นเรื่องยาก เพราะการจัดวางตัวปุ่มต่างๆ นั้นทำให้สลับไป-มาระหว่าง Desktop และ Notebook นั้นมีประสบการณ์ในการใช้งานที่ไม่สมานกัน และนั้นเป็นเหตุผลเดียวกับที่ keyboard ของ Apple ทั้ง Desktop keyboard ใน iMac และ Notebook keyboard ใน Macbook Pro นั้นมีขนาดและการจัดวางที่เหมือนกัน เมื่อ Lenovo เลือกทางนี้แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลที่จะซื้อ ThinkPad มาใช้งาน
  3. นำปุ่ม Physical ของ TrackPoint ออกไป
    มันเป็นการออกแบบที่ไร้สาระและทำให้ตอนใช้งานจริงนั้นผู้ใช้ต้องทำงานโดยย้ายย้ายมือออกจาก keyboard อย่างแน่นอน เพราะโซนด้านบนของ TouchPad นั้นเป็นส่วนที่ถูกนำมาเป็น gesture command ของ Windows 8 และนั้นทำให้การใช้ top zone มาแทนที่ Physical Button ทำงานผิดพลาดได้ง่ายมากขึ้น
  4. รูปแบบ Bento Box ที่หายไป
    การออกแบบเครื่องแบบ Bento Box ทำให้จอภาพยังคงความแข็งแรง และทนต่อแรงกดทับจากการใส่กระเป๋าได้ดีมาก แต่ตอนนี้มันได้หายไปแล้ว
  5. แบตเตอรี่ถอดเปลี่ยนไม่ได้
    การถอดแบตเตอรี่ไม่ได้ใน Business Notebook เป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้อย่างรุนแรง เพราะแบตเตอรี่เป็นส่วนที่แตกต่างและเป็นเหตุผลที่ผมไม่ซื้อ Macbook Air มาใช้ รวมไปถึงไม่แนะนำใครให้ซื้อ ThinkPad X1 มาใช้งาน เพราะสุดท้ายผู้ใช้งานก็ต้องการเปลี่ยนมันได้ง่ายๆ ถ้ามันมีปัญหา เสื่อม หรือต้องการซื้อแบตเตอรี่ก้อนที่ 2 เพื่อทำงานได้ยาวนานมากขึ้นโดยไม่ต้องชาร์จไปด้วย และนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้ Notebook แบบถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ยังขายได้สำหรับคนทำงานด้านธุรกิจ เพราะทำให้เค้าทำงานอย่างยาวนานระหว่างการเดินทางได้
  6. จอภาพที่ไม่มีการพัฒนาและไม่ใช่จอแบบสัมผัส
    นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจอภาพของ ThinkPad ไม่มีการเปลี่ยนแปลง Resolution มาอย่างยาวนาน ซึ่งในอดีต ThinkPad เคยเป็นผู้นำในด้านจอภาพที่มีความละเอียดสูง ตัวอย่างเช่น ThinkPad T43p ที่จอภาพขนาด 14.1″ ที่ความละเอียด 1400×1050 pixels หรือ 15.0″ FlexView LCD (IPS panel) ความละเอียด 1600×1200 pixels แต่นั้นคือ IBM ThinkPad รุ่นปี 2005 และนี่ปี 2013 ผ่านมา 8 ปี ThinkPad T431s กลับไม่มีพัฒนาการในด้านนี้ที่แต่กลับเป็นผู้ตามในตลาดแทน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจอภาพมือถือสมัยใหม่ก็มีความละเอียดมากกว่าจอภาพ ThinkPad T431s ไปแล้ว และจอภาพขั้นต่ำที่ ThinkPad ที่ขายในปัจจุบันต้องเป็นผู้นำคือ 1080p หรือ Full HD เป็นอย่างน้อยด้วยซ้ำไป ซึ่งแน่นอนว่า ThinkPad ถูกขายพร้อมกับ Windows 8 ที่เป็นระบบปฎิบัติการตัวล่าสุดของ Micrsoft ที่ชูจุดเด่นด้านการใช้งานร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่ขายมาพร้อมกับจอภาพแบบสัมผัสถ้าอยากให้ ThinkPad เป็นผู้นำด้านเทคโนโลียีจอภาพและทำงานร่วมกับ Windows 8 ได้ดี
  7. ไฟสัญลักษณ์ที่ไร้รสนิยมและไฟแสดงผลการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องที่หายไป (Indicator LED Panel)
    มันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราทราบว่ตอนนี้เครื่องยังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ เพื่อให้ระบบปฎิบัติการแสดงผล Onscreen indicator ซึ่งการเอาออกไปทำให้ผู้ใช้งานไม่ทราบว่าอะไรทำงานไม่ทำงาน และแทนที่ด้วยไฟสีแดงที่จุดตัว i บนตัวสัญลักษณ์ ThinkPad ที่ไร้ประโยชน์และดูแลรักษายาก และดูไร้รสนิยม (นึกถึงจุดสีแดงกระพริบตอน Standby ดูซิว่ามันจะเหมือนผีกระสือแค่ไหน ><“)
  8. การนำ ThinkLight ออกจากการออกแบบตัวเครื่อง
    ใน ThinkPad Edge และ ThinkPad X1 นั้นไร้เงาจากไฟส่องคีย์บอร์ดจากขอบจอภาพด้านบน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สำหรับ Business Notebook ที่ต้องใช้ทำงานได้ตลอดการเดินทางแล้วนั้น มันไม่ได้ถูกใช้งานเพียงแค่ส่องลงมาที่คีย์บอร์ดเท่านั้น แต่ยังใช้งานในการส่องเอกสารต่างๆ ได้ด้วย และการนำมันออกไปทำให้การเลือกใช้ในการเดินทางยาวนานนั้นต้องมีภาระในการซื้อไฟฉายส่องเอกสารเพิ่มเข้ามา เพราะ Keyboard Backlit ทดแทนในเรื่องการนำมาส่องเอกสารไม่ได้นั้นเอง
  9. งานประกอบ ความทนทานของเครื่อง และ ศ. บริการที่แย่ลง
    ThinkPad ในปัจจุบันนั้นผ่าน Military Grade มากกว่ารุ่นเก่าๆ ในอดีต สำนักรีวิวให้คำชมมากมาย แต่นั้นเหมือนเป็นการติดภาพในอดีตเสียมาก เพราะงานประกอบและสัมผัสในการใช้งานที่ผู้ซื้อได้รับกลับไม่ได้เป็นไปตามคำโฆษณาที่พูดไว้เช่นเดียวกับ ThinkPad ในอดีต เพราะเครื่องที่ขายในช่วง 2-3 ปีให้หลังเหมือนกำลังกินบุญเก่าที่เคยทำไว้อยู่มาก มันออกแบบมาทนทานน้อยลง มีเหตุให้ต้องเข้า ศ. บริการมากขึ้น อีกทั้ง ศ. บริการที่เคยให้บริการอย่างดีและทำงานอย่างมืออาชีพในอดีตนั้น ในปัจจุบันกลับก็ได้รับการร้องเรียนในด้านการบริการที่ไม่ดี หรือมีมาตรฐานการเคลมประกันที่หลากหลาย รวมไปถึงการเบิกอะไหล่ที่ยากขึ้นในอาการเสียที่เกิดจากความไม่ทนทานของตัวชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเช่น บานพับ หรือจอภาพที่เกิดอาการช้ำจนกลายเป็น Bright dot เนื่องจากการที่ฝาหลังจอทนแรงกดทับได้น้อยลง เป็นต้น และนั้นเป็นเหตุผลที่ต้องถามกลับไปผู้ออกแบบ ThinkPad ว่า “roll cage” ในรุ่นใหม่ๆ ที่เคยคุยว่าทำให้เครื่องทนทานขึ้นนั้นแต่ยังคงทำให้บางลงได้ เป็นแค่ราคาคุยเท่านั้น? (เรื่องคำบ่นเหล่านี้สามารถหาได้ตาม official forum ของ Lenovo หรือ forum ของ ThinkPad Fan ได้ทั่วไป)
  10. การกลับด้านของสัญลักษณ์ของ ThinkPad ที่ฝาหลังเครื่อง
    มันไม่ใช่เรื่องรูปแบบการใช้งาน แต่มันเป็นสัญลักษณ์และเป็นการบอกกับผู้ใช้งาน ThinkPad ว่า Lenovo ออกแบบโดยไม่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้อีกต่อไป แต่เป็นการออกแบบเพื่อส่งเสริมแบรนด์มากกว่า ซึ่งนั้นคือ “การปิดฉาก 20 ปีของ ThinkPad ที่ใส่ใจการออกแบบเพื่อคนใช้งาน ” เพราะผู้ออกแบบ ThinkPad ในยุคแรกนั้นให้เหตุผลตั้งแต่เริ่มต้นว่า “การทำสัญลักษณ์กลับด้านโดยที่หันตัวสัญลักษณ์ไปทางผู้ใช้งาน เพื่อให้อ่านง่ายมากกว่าป่าวประกาศต่อคนที่พบเห็น เพราะต้องการใส่ใจต่อผู้ใช้งานมากกว่าส่งเสริมแบรนด์ของตน”

ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเหตุผลที่รวบรวมจากหลายๆ แหล่ง รวมไปถึงส่วนตัวผมด้วยว่า “ทำไม ThinkPad ถึงไม่น่าซื้ออีกต่อไปสำหรับผมในตอนนี้” เพราะเหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักๆ เท่านั้น และแน่นอนว่าเครื่องในอนาคตนั้น ThinkPad ไม่ใช่ตัวเลือกเดียวอีกต่อไป (กว่า 10 ปี) แต่มีทั้ง Dell Latitude, Sony Vaio หรือ Toshiba Portégé เข้ามาเป็นตัวเลือกร่วมด้วยแล้วในตอนนี้ คงต้องดูกันต่อไปว่าจะเปลี่ยนใจหรือไม่ เพราะเครื่องที่ผมใช้อยู่อย่าง ThinkPad T420 ยังเหลือประกันอยู่ 450 กว่าวัน ซึ่งอาจหมายถึงผมยังอยู่กับ ThinkPad ไปอย่างน้อยๆ 2 ปี เพราะปรกติผมใช้ Notebook จนหมดประกัน 3 ปีและใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือนก่อนหาซื้อเครื่องใหม่อีกครั้ง

แบรนด์ไม่ใช่ของเราครับ เพราะงั้น ทำได้แค่บอกและเลือกที่จะ “ใช้” หรือ “ไม่ใช้” บนเหตุผลของแต่ละคน แต่ละช่วงเวลา ซึ่งผมก็ทำได้แค่นั้น

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Office 365 Home Premium ตัวล่าสุดกับ Office 2013 แบบกล่อง (Retail)

หลายคนสับสนระหว่าง Office 365 Home Premium กับ Office 2013 แบบกล่อง (Retail) ตัวล่าสุดที่ขายกันเล็กน้อยนะ เพราะไม่ทราบว่า subscription product ของ Microsoft ของ Office 365 Home Premium นั้นสามารถติดตั้ง Microsoft Office ที่เป็น Applications ตัวเต็มได้ และสามารถทำงานแบบ Offline ได้เลยโดยเพียงแค่ต้องทำ activate subscription ตอนติดตั้งครั้งแรกที่เราไปโหลดตัว installer มาและติดต่อ ซึ่งตัว installer มันจะ stream ตัวโปรแกรมมาให้เราที่เครื่องเราเหมือนติดต่อจากแผ่น CD/DVD เลย และระบบจะตรวจสอบเราทุกครั้งที่ต่อ internet ว่าเราหมดระยะ subscription หรือยัง ถ้าซื้อแบบกล่องก็ไปโหลด installer มาได้เช่นเดียวกัน

ข้อดีของการใช้ Office 365 Home Premium คือจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี โดยได้ update/upgrade ตัว Microsoft Office ใหม่ล่าสุดเสมอๆ และสามารถใช้งานได้ 5 เครื่อง (รวม desktop, notebook และ mobile พวก tablet) ซึ่งจะใช้ activation key จากในหน้า Office Portal หรือส่งทางอีเมล ในกรณีที่ซื้อแบบ Online ผ่านทาง Microsoft Account (พวก Hotmail หรือ Windows Live ID สามารถทำ auto-renewal ได้ด้วย ซึ่งสามารถเลือกจ่ายเป็นรายเดือนหรือปี หรือแม้แต่จะใช้ activatetion  key จากการ์ดในกล่องซึ่งขายเป็นรายปีก็ทำได้

เมื่อได้ activation key มาแล้ว เราก็เอามากรอกตอนเริ่มต้นใช้งานครั้งแรก เพื่อผูก activation key เข้ากับ Microsoft Account ของเรา ซึ่งถ้า activation key ใช้ได้ ตัว Office จะ activate ตัวเองไปพร้อมๆ กับผูก activation key นั้นเข้ากับ Microsoft Account แล้วเราก็เริ่มใช้งานได้เลย

สำหรับเรื่องยกเลิกสิทธิ์ที่จะใช้เครื่องนั้น หรือเรียกว่า deactivate ก็สามารถทำได้ผ่าน Office Portal โดยใช้ Microsoft Account ที่ผูกกับ activatetion  key ดังกล่าว เพื่อนำสิทธิ์ที่ได้มากลับคืนตามจำนวนเครื่องที่มีสูงสุด 5 เครื่อง และค่อยไปติดตั้งเครื่องอื่นแทน ซึ่งระบบจะยกเลิกสิทธิ์ตัว Office ที่เครื่องเก่าออก โดยจะขึ้น Expire subscription และตัว Office ที่ติดตั้งเครื่องดังกล่าวจะอ่านไฟล์ได้อย่างเดียว (Read Only mode)

สิ่งที่เป็นข้อควรจำอีกอย่างคือ Office 365 Home Premium นั้นให้ใช้ได้แต่เฉพาะ Home use เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้งานในเอกสารหรือทำงานด้านธุรกิจได้ ถ้าจะใช้งานด้านธุรกิจจริงจังควรใช้ Office 365 Small Business Premium เป็นต้นไป โดยจะมีคุณสมบัติคล้ายๆ กัน และมี Microsoft Office ที่เป็น Applications ตัวเต็มด้วย และถ้าใช้ Office 365 for Business ที่ราคาต่ำกว่า Office 365 Small Business Premium จะเป็น Office Web Apps เท่านั้น อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ เลิกเสียเงินกับ Google Apps/Evernote และหันมาใช้งาน Office 365 Small Business Premium ครับ

2013-03-20_152303

Capture จาก Compare Microsoft Office Products & Subscription Plans – Office.com

 

ลาก่อน “ThinkPad แบบดั้งเดิม” ตอนนี้เจ้าตายแล้ว!!!

ไล่อ่าน The inside story of Lenovo’s ThinkPad redesign แล้วค่อนข้างรู้ทิศทางข้างหน้าแล้วว่า “กลุ่มผู้ใช้ ThinkPad ระดับ Loyalists คุณถูกทิ้งแล้ว”

Just north of 100 people were intimately involved in refashioning the ThinkPad line for the modern era, with varying research studies taking place in the United States, China, Germany, France, India, Mexico, Russia, Brazil and Japan. Instead of just plopping a few paid participants down and asking them to fill out a form detailing their ideal laptop, the company “shadowed” individuals to see how they actually used a machine. Only a small segment of each group were genuine ThinkPad loyalists — the rest were early adopters of consumer technology, as well as those ardently opposed to selecting a ThinkPad as their primary machine. After all, one’s biggest opponent often provides the most truthful revelations.

กล่าวโดย Jason Parrish, manager of Lenovo’s ThinkPad strategy and planning

ผมคงไม่มีเหตุผลใดต้องอินกับ ThinkPad อีกต่อไปครับ แค่จะมาบอกว่า

เลือกในสิ่งที่ถูกต้องและใช้มันเป็นเครื่องมือ อย่าอินกันมัน

Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ

นับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad brand จาก IBM ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นในด้านการออกแบบอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าคุณสมบัติดีๆ หลายๆ อย่างถูกใส่เข้ามาไม่หยุดซึ่งก็ได้แก่

  1. Roll Cage (โครงเครื่องที่ผลิตจาก Magnesium) ทั้งตัว
  2. Touchpad ที่ใหญ่ขึ้น ช่วยในการวาดและทัชได้ง่าย
  3. ยังคง Trackpoint ที่ทำให้การใช้งาน cursor นั้นทำงานได้โดยไม่ต้องละมือออกจากตัวคีย์บอร์ด
  4. การรองรับ WWAN สำหรับติดต่อ 3G ได้ทั่วโลก
  5. การออกแบบบานพับที่เปิดได้ราบรื่นมากขึ้น
  6. คีย์บอร์ดที่มีการพัฒนาในด้านของการจัดวาง ตั้งแต่ในรุ่น T400 – T420
  7. กล้อง Webcam และไมค์ที่รองรับการประชุมแบบ VOIP ได้ดี
  8. มาตรฐานการออกแบบด้านระบบระบายความร้อนที่เงียบและระบายความร้อนได้ดี
  9. การใช้ Carbon Fiber กับฝากหลัง T Series เพื่อทำให้ฝาหลังบางลง
  10. การใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings ทำให้ผิวสัมผัสที่ฝากจอดูจับได้สบายขึ้น
  11. การมีตัวเลือกจอภาพแบบ Anti-glare IPS Panel เพิ่มเติมเข้ามา
  12. การยังคงไว้ซึ่งการเชื่อมต่อกับ VGA port ที่ยังเป็นมาตรฐานอยู่ใน projector ทั่วโลก

และอีกมากมายที่ทำให้ ThinkPad นั้นยังคงเหมาะสมกับ Business Notebook อยู่เรื่อยมาในด้านความทนทานและการใช้งานที่ตอบโจทย์ของกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่กับ Notebook ตลอดทั้งวันได้สบายๆ แต่ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงในตัว ThinkPad ก็เกิดขึ้นตามความคาดหมาย หลังจากการมาของ ThinkPad Edge ได้เพียงไม่นาน (ประมาณ 2-3 ปีก่อนหน้านี้) โดยการมาของ ThinkPad Edge นั้นเป็นเหมือนการลองตลาดของการปรับเปลี่ยนตัว ThinkPad Classic ทีละน้อยตามแนวคิด ThinkPad ของ Lenovo เอง ซึ่งเมื่อสิ่งที่ใส่มาใน Edge Series ได้รับผลตอบรับที่ดี (คงเพราะราคามันถูกเลยขายได้ดี) ก็จะค่อยๆ ใส่ลงมาใน Classic Series แบบไม่ต้องสงสัย และแล้วในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา เป็นปีของ “ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ ThinkPad Classic Series หมดความน่าสนใจลงไปจนหมดสิ้น” อย่างแท้จริง!

t431s-hero-tabbed

ThinkPad Classic Series ในปี 2012 นั้นมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ThinkPad ที่มีอายุของแบรนด์กว่า 20 ปี นั้นคือการปรับเปลี่ยนจาก Traditional Keyboard มาเป็น AccuType keyboard (อ่านเรื่องราวต่อได้ที่ กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)) และหลังจากนั้น ด้วยผลตอบรับที่ “คิดว่าดี” ของ AccuType keyboard ที่เปลี่ยนเข้ามาใน ThinkPad รุ่น 2012 (จริงๆ มีแฟนๆ เริ่มบอกว่า Lenovo ขาย ThinkPad ได้ในตอนนี้เพราะบุญเก่าที่ทำมาสมัย IBM เยอะมาก) ทำให้ในปี 2013 นี้ Lenovo ทำได้ทำลายภาพของ ThinkPad แบบเดิมไปจดหมดสิ้นแล้วด้วยการออกแบบตัว ThinkPad ทั้งหมดบนแนวคิดใหม่ในรุ่น ThinkPad T431s ที่มีการปรับเปลี่ยน Keyboard อีกครั้ง และนี่เป็นการปรับเปลี่ยนลักษณ์ของ Keyboard ครั้งที่เท่าไหร่แล้วของ Lenovo ของ Lenovo? ซึ่งถ้านับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad จาก IBM มา ได้มีการปรับเปลี่ยน Keyboard ซึ่งมีความหลากหลายของ Keyboard เกือบ 10 แบบทั้ง ThinkPad Edge และ ThinkPad Classic

การหายไปของ Traditional Keyboard นั้นทำให้เหล่าผู้ใช้งานรุ่นเก่าเริ่มมองยี่ห้ออื่นๆ มาทดแทนมากขึ้น การใช้ AccuType Keyboard นั้นยังไม่ได้รับผลกระทบเท่ากับการปรับเปลี่ยนการจัดวางปุ่มใหม่ที่ทำให้ Home/End, PgUp/PgDn และ F 1-12 นั้นอยู่ชิดติดกันจนทำให้การพิมพ์เอกสารและการป้อนตัวอักษรนั้นยุ่งยากมากขึ้น รวมไปถึงปุ่มหลายๆ ปุ่มถูกนำไปใช้เป็น Shortcut Key แทนการกดปุ่มตามมาตรฐาน IBM Keyboard ไปเสีย เพราะคนใช้งาน ThinkPad กว่าครึ่งซื้อ ThinkPad เพราะคีย์บอร์ดที่ได้สัมผัสที่ดี มีการจัดวางปุ่มที่ใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดของ Desktop Computer ได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการพิมพ์ซึ่งเหมาะกับองค์กรและคนที่ต้องทำงานสลับไปมาระหว่าง Notebook และ Desktop Computer อย่างมาก และแน่นอนว่า Traditional Keyboard นั้นเหมาะอย่างมากในการทำงานร่วมกับ OS อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Windows ได้อย่างดีมากๆ แต่ Lenovo กลับคิดว่าโลกนี้มีเพียง Microsoft Windows ที่เป็น OS เพียงหนึ่งเดียว ปรับเปลี่ยนปุ่มอย่าง Pause/Insert/Break ไปในจุดที่ยากต่อการใช้งาน ทำให้ความน่าสนใจในการซื้อ ThinkPad มาใช้งานดูลดน้อยลงไปในกลุ่มของ Business Notebook ขึ้นเรื่อยๆ และถ้ายังจำกันได้เมื่อ 2-3 ปีก่อน Lenovo: Design Blog ได้บอกกับผู้ใช้ว่าปุ่ม Esc และปุ่ม Delete มีการใช้งานมาก จึงได้ปรับเปลี่ยน Traditional Keyboard ในตอนนั้นในรุ่น T410 และ T420 ให้ใหญ่ขึ้น และนั้นดูสมเหตุสมผลมาก และเป็นสิ่งที่แฟนๆ ชื่นชม แต่มาในปีที่ผ่านมา Lenovo กลับทำตรงข้ามกันคือทำให้ทัั้งสองปุ่มนั้นเล็กลง เพียงเพื่อให้มันเข้ากับ 6 row ของ AccuType Keyboard ตัวเอง คำถามที่ Lenovo ต้องตอบแฟนๆ คือ “สิ่งที่ทำมามันเป็นการตลาดเฉยๆ ?” ซึ่งโดยส่วนตัวผิวสัมผัสในการพิมพ์ AccuType Keyboard ไม่ได้แย่ แต่พลาสติกและตัวเนื้องานนั้นแย่ มันให้สัมผัสแรกในการใช้ที่บอบบางและดูราคาถูกลงกว่า Traditional Keyboard อย่างมาก และนั้นทำให้ X1 Carbon ดูราคาถูกลงไปเลยในสายตาของแฟนๆ ที่กำลังจะซื้อมาใช้งานในราคาที่แฟนๆ ต้องจ่ายที่ดูแพงกว่าความเป็นจริง

ในปีนี้ (2013) ปุ่ม Trackpoint ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ก็เริ่มหมดความสำคัญไป การมาของ ThinkPad Buttonless Trackpoint นั้น ทำให้แฟนๆ ThinkPad ได้ลองสัมผัสกับ Buttonless ของ Touchpad ใน ThinkPad X220/X230 มาก่อนหน้านี้แล้วบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห่วย” และนั้นกำลังเกิดขึ้นกับ Trackpoint ที่เป็นสัญลักษณ์มาอย่างยาวนานของ ThinkPad กว่า 20 ปี และคาดว่าจะได้สัมผัสการกดที่ไม่แตกต่างจาก Trackpad ของ Macbook เท่าไหร่นัก ซึ่งนั้นอาจเป็นจุดจบของ ThinkPad ได้ไม่ยาก

การนำ ThinkLight ออกจากการออกแบบตัวเครื่องรุ่นหลังๆ เพราะไฟส่องคีย์บอร์ดจากขอบจอภาพด้านบนไม่ได้ถูกใช้งานเพียงแค่ส่องคีย์บอร์ด แต่ยังใช้งานในการส่องเอกสารต่างๆ ได้ด้วย และการหายไปทำให้การเลือกใช้ในการเดินทางยาวนานนั้นต้องมีภาระในการซื้อไฟส่องคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา

การเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนอาจไม่ทราบในปี 2012 คือรูปแบบช่องเสียบ Charger ที่มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้งในรอบ 5 ปี ซึ่งกว่า 10 ปีของ ThinkPad นั้นหัวเสียบ Charger  ยังคงใช้แบบเดียวตลอดมา ทำให้รุ่นเก่า-ใหม่สามารถใช้หัวเสียบ Charger ร่วมกันได้ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเปลี่ยนช่องเสียบ Charger ใหม่ถึง 2 รอบ ทั้งแบบกลม (รุ่นก่อนปี 2012) และแบบสี่เหลี่ยมพื้นผ้า (รุ่น X1 Carbon ปี 2012 และรุ่นปี 2013) ทำให้การใช้งานร่วมกันของ Charger ระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่นั้นทำไม่ได้เลย และอีกทั้งยังไม่มีคำตอบจากทาง Lenovo ว่าจะมีการออกตัว Convertor ของช่องเสียบที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือไม่

เอกลักษณ์ของ “สีดำสนิท” ถูกแทนที่ด้วย “สีดำผสมสีตะกั่ว” (Black to Graphite Black) โดยใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings  มากขึ้น ทำให้การหยิบ ThinkPad ออกมาใช้งานไม่ได้มีเอกลักษณ์ใดให้คนได้เห็นว่าคุณใช้ ThinkPad อีกต่อไป ซึ่งถ้าให้เทียบก็คงออกแนวเดียวกับค่ายรถ Ferrari ไม่ขายรถสีแดงอีกต่อไปแล้วนั้นเอง ซึ่งจากการนำ Polyurethane Soft-touch Coatings  มาใช้มากขึ้นนั้น ทำให้รู้ว่า Lenovo นั้นไม่ใส่ใจต่อปัญหาของ Polyurethane Soft-touch Coatings  ที่มีเสียงตอบรับไม่ดีตลอดมานับตั้งแต่มีการใส่เข้ามาที่ฝาหลังเครื่อง ThinkPad แต่อย่างใด ปํญหาทั้งการหลุดล่อนออกมาเมื่อมีการขัดสีกับพื้นผิว การดูแลรักษาที่ยากเพราะเป็นรอยเปื้อนได้ง่ายและทำความความสะอาดยาก ทำให้ตัวเครื่องดูเก่าได้ง่ายมากขึ้น ทำให้แฟนๆ รุ่นเก่าๆ เริ่มรู้สึกว่าไม่ทนทาน ดูเก่าง่ายมากกว่ารุ่นเดิมๆ อย่างมาก

การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ของ Lenovo ที่ใส่ลงไปมาใน ThinkPad นั้น ยิ่งทำให้ดูเหมือนกับ Consumer Notebook ที่เป็นสีดำ และเป็นการผลักไสแฟนๆ ของ ThinkPad ให้ไปใช้งานยีห้ออื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มี Keyboard ที่ดึงดูดการใช้งานที่ดี, Trackpoint ที่เริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งาน, สีดำด้านที่ดูแลรักษายากขึ้น จอภาพที่มีคุณภาพแย่ลงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ในตลาด เอาง่ายๆ แค่ว่าจอภาพมือถือ Nokia Lumia 920 ผมยังได้คุณภาพและความละเอียดที่ดีกว่าจอภาพ ThinkPad T420 ที่กำลังใช้งานอยู่ หรือ ThinkPad T430 ที่ขายในท้องตลาดตอนนี้ และ ThinkPad T431s ที่กำลังออกมาขายนั้นยังให้ความละเอียดจอภาพที่น้อยกว่า Samsung Galaxy S4 หรือมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมาในตลาดปีนี้อีกหลายรุ่น และ Lenovo ต้องคิดใหม่ในเรื่องนี้ได้แล้วว่าจอภาพ Full HD และ IPS Panel คือสิ่งที่ตลาดต้องการ ทั้งยังไม่รวมเรื่องของการอัพเกรด RAM ที่ยากขึ้น เพราะเริ่มใช้แนวคิดการใส่ตัว RAM ลงบน M/B ทำให้อัพเกรดไม่ได้ หรือมีช่องใส่ RAM เพียงช่องเดียว รวมไปถึงมีหลายๆ รุ่นที่ไม่สามารถเปลี่ยน Battery ได้ง่ายแบบรุ่นก่อนๆ ทำให้ความสามารถในการอัพเกรดนั้นลดลงไปอย่างมาก

เหตุผลง่ายๆ ที่แฟนๆ ยังใช้ ThinkPad อยู่ในตอนนี้คือ Keyboard และ Trackpoint ถ้ามันหมดไป แล้วทำไมต้องซื้อ ThinkPad เพราะการโฆษณาว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” นั้นไม่ได้ช่วยให้ประสบการณ์ผู้ใช้ดีขึ้น เพราะผู้ใช้งาน Notebook กว่า 90% ต้องใช้งาน Notebook ผ่านสิ่งเหล่านั้น และจากการที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ที่ซื้อ ThinkPad ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บอกกับผมว่า ThinkPad ในตอนนี้มีเนื้องานผลิตที่ไม่ได้รู้สึกว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” แต่อย่างใด เพราะจากการเฝ้ามองการที่กลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ก็บ่นกับมากขึ้นว่าเสียง่ายขึ้น ความทนทานเป็นแค่ราคาคุย เหมือนไม่ได้ผ่าน QC รวมไปถึงงานประกอบที่เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ นี่ยังไม่รวมถึงบริการหลังการขายที่มีปัญหามากกว่าแต่ก่อนทั้งในไทยและในต่างประเทศเอง

และทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา เหล่าแฟน ThinkPad คงต้องกลับมาตอบคำถามตัวเองแล้วว่า แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ

Change is hard. But wrong change is a disaster !!!

Lenovo’s Mission complete. Last ThinkPad traces destroyed at all.

R.I.P. ThinkPad (1992 — 2011)

Congratulations Lenovo for removing everything that makes a ThinkPad a ThinkPad.