โลกจะพัฒนาเพราะการแข่งขันไม่ใช่การชนะแบบเบ็ดเสร็จ

ผมเคยเขียนเรื่อง WebKit != W3C ไปเมื่อหลายเดือนก่อน หลังจาก Opera หันมาใช้ WebKit ไปก่อนหน้านี้

แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน Google ได้ fork ตัว WebKit ออกมาเป็น Blink ต่างหาก และจะถูกใส่กลับเข้ามาใน Chrome ในอนาคตอันใกล้นี้ (คาดว่าไม่เกิน 10 อาทิตย์ต่อจากนี้) โดยเหตุผลทั้งในเรื่องของความง่ายต่อการควบคุมและใส่คุณสมบัติใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอ Apple ซึ่งเป็นเจ้าของ WebKit โดยตรงเห็นชอบทั้งหมด แม้ว่า open source community จะมีขั้นตอนและฝ่ายที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่หลักๆ คงเป็นเจ้าของหลักหรือทีมหลักซึ่งในที่นี้คือ Apple นั้นเอง ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่า WebKit เป็น layout engine ที่ open source โดย Apple ซึ่งจริงๆ มันเป็น layout engine ของ Safari อยู่ก่อนแล้ว

จากเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น ผมยังยืนยันว่าการพัฒนาเว็บควรยืนตาม W3C HTML5 เป็นสำคัญ แล้วจึงปรับตาม layout engine ในแต่ละตัวในภายหลัง ซึ่งการใช้ layout engine เป็นหลักสักตัวเป็นเรื่องดี แต่ไม่ใช่ข้ออ้างในการทำเว็บเพื่อสนับสนุนเพียง layout engine เดียว เพราะนั้นทำให้คุณปิดโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานของกลุ่มผู้ใช้อีกกลุ่มได้ง่ายมากในโลกของอินเทอร์เน็ตที่มีความหลากหลายของ layout engine ที่มากกว่าเดิมอย่างมากในตอนนี้ ความหลากหลายที่ว่านี้ไม่ใช่แค่ Desktop/Notebook Computer แต่เป็น Mobile Device ต่างๆ ที่มีความหลายหลากด้วย ซึ่ง layout engine ยุคใหม่ในตอนนี้ทุกตัวทำตามมาตรฐาน W3C HTML5 เป็นหลักอยู่แล้ว (ซึ่งจะมากน้อยว่ากันอีกที)

ส่วนตัวแล้วนั้น ตอนนี้โลกอยู่ในยุคของสงคราม Web Browser ครั้งที่ 2 อย่างไม่ต้องสงสัยอีกครั้ง ซึ่งในตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เว็บต่างๆ จะอาศัยช่วงนี้พัฒนาและใช้ความสามารถที่หลากหลายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ และผมเชื่อว่ากลุ่มนักพัฒนา layout engine ต่างๆ ในตอนนี้ไม่มีทางที่จะหยุดพัฒนาและทำให้ตัวเองมีความสามารถที่ล้าหลังคนอื่นได้นานมากนัก เพราะฉะนั้นยึดตามมาตรฐานเปิดจึงดีที่สุด (นี่ผมยังไม่ได้พูดถึง JavaScript Engine ที่แข่งกันอีกส่วนเช่นกัน)

โดยในตอนนี้ 3 ค่าย layout engine หลักของโลกคือ Trident engine – Internet Explorer, Gecko engine – Firefox และ WebKit – Safari, Opera, Chrome กำลังมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ โดยมี Blink ที่จะถูกใส่ลงมาใน Chrome, Servo ที่เป็นส่วนที่ถูกพัฒนาใส่ลงใน Firefox Mobile (ยังไม่แน่ว่าจะลง Firefox ตัวหลักหรือไม่) และ WebKit2 ซึ่งจะถูกใช้ใน Safari รุ่นต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังเพิ่มเติมเข้ามาอีกภายในปีนี้แน่นอน

จากที่เขียนมายืดยาวนั้น ยังคงยืนยันว่านักพัฒนาเว็บไม่ควรมักง่ายเพียงเพื่อความสะดวกสบายแบบแต่ก่อนครั้งยังใช้ IE6 และเราเรียกร้องกันเหลือเกินให้ใช้และทำตามมาตรฐาน W3C และตอนนี้มาตรฐานเปิด W3C HTML5 ก็เป็นสิ่งที่กำลังไปได้ดี (แม้จะช้าบ้าง มีการเมืองบ้าง แต่ผมถือว่ามันจะมั่นคงในอนาคต) ส่วนตัวผมไม่อยากให้ WebKit กลายเป็นกรณีเดียวกับ IE6 แห่งโลก Web สมัยเก่าก่อน (ผมไหว้หล่ะ) เพราะผมเชื่อว่ามันไม่ใช่ทางออกที่ดี และยังเชื่อว่า “โลกจะพัฒนาเพราะการแข่งขันไม่ใช่การชนะแบบเบ็ดเสร็จ”

เมื่อไหร่จะถูกใจพี่?

ส่วนตัวแล้วพลังงานโซล่าเซลล์เลิกคิดไปเลยในช่วง 10 ปีนี้

ลองคิดว่ามีเงินพอหรือเปล่าก่อนดีกว่า เพราะลองคิดเล่นๆ ว่าเราต้องซื้อแผงโซล่าเซลล์ที่จ่ายไฟ 120 W ในราคา เกือบหมื่นบาท (ราคา ณ ปีนี้) ซึ่งคิดแล้วมันพอแค่หลอดไฟ 36 วัตต์ประมาณ 3 หลอดเท่านั้น เมื่อได้ไฟมาแล้วก็ต้องบวกค่าอุปกรณ์สำหรับอินเวอร์เตอร์ไฟตัวเล็กๆ ที่ใช้สำหรับแปลงไฟมาจ่ายไฟ ซึ่งราคาก็หลักเกือบหมื่นเหมือนกัน ได้ไฟแล้วก็ต้องมีที่เก็บ ก็ต้องลงเงินมาซื้อแบตสำหรับเก็บไฟฟ้าที่ต้องเปลี่ยนทุกๆ สามถึงห้าปี มูลค่ากี่หมื่นก็ไม่รู้ (แล้วแต่พี่จะเก็บไฟนานแค่ไหน) แล้วอย่าลืมว่าแผงโชล่าเซลล์มันมีอายุอยู่นะครับ ตัวแผงบางรุ่นมีอายุแค่ 20 ปีเองนะ (รุ่นที่มีอายุเยอะๆ ก็แพงกว่านี้)

การที่แดดร้อน-แรงไม่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าได้เยอะจากเจ้าโชล่าเซลล์นะ มันอยู่ที่คลื่นความกว้างรังสีเป็นสำคัญ ลงทุนเกือบแสนใช้หลอดไฟได้ 3 หลอด ><”

นี่ยังไม่รวมเรื่องผลพิษของการผลิตทั้งแผงโซล่าเซลล์และแบตของมันด้วยนะ แถมหมดอายุการใช้งานชิ้นส่วนบางส่วนและแบตยังเป็นพิษอีก (พี่จะรักษ์โลกพี่ช่วยคิดให้ครบด้วย)

ส่วนไฟฟ้าพลังลม อันนี้มลพิษทางเสียงสาหัสมาก แล้วพื้นที่ขายฝั่งประเทศไทยจะเอาที่ไหน เพราะตอนนี้ไม่เป็นป่าสงวนก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปหมดแล้ว

ไทยเราตอนนี้
– นิวเคลียร์ กลัวระเบิด
– ถ่านหิน กลัวมลภาวะ
– เขื่อนพลังน้ำ ก็กลัวสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
– ใช้เชื้อเพลิงจากเพื่อนบ้าน หรือสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน กลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน

อยากใช้พลังงานโซล่าเซลล์ที่บอกว่าพลังงานสะอาด(เหรอ) คุณยอมจ่ายหน่วยละ 10-20 บาทไหม? (ก็เดาออกนะว่าคงไม่)

สรุปเอาไงกันดีครับ ><“

ข้อคิดชีวิตการทำงานไอทีในวงราชการกว่า 10 ปี จากมิตรสหายท่านหนึ่ง

มิตรสหายท่านหนึ่งขอให้ช่วยโพสให้ในอีกมุมมองหนึ่งของการทำงานไอทีในวงราชการ

จาก blog @plynoi พบว่า แม้จะอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเดียวกัน แต่ต่างสายงานคือ งานเอกชน และงานราชการ จึงขอแชร์สิ่งที่ได้พบเห็นจากการอยู่ในวงราชการ 10 ปี

  1. การย้ายหน่วยงาน (กรม ทบวง กระทรวง) ไม่ได้ช่วยให้เงินเดือนคุณขึ้นเร็วขึ้น
  2. การขึ้นเงินเดือนน้อยครั้งที่จะพิจารณาถึงผลงานของคุณ แต่พิจารณาว่าคุณเด็กใคร (เจ้า)นายคุณขอให้หรือป่าว
  3. คุณทำงานมากแค่ไหน ทำดึกดื่น ด่วนชิบหาย อย่างไร ผลตอบแทนที่ได้กลับมา ก็กลับไปดูข้อ 2
  4. เป็นทุกที่ที่คนเสนอหน้า และทำงานด้วยปากจะได้ดิบได้ดี
  5. จงจำไว้ว่า ลิ้นไม่มีกระดูก เมื่อคุณได้ยิน คำชม คำสัญญา หรือคำแนะนำทางกฏหมายใดๆ ไม่มีผลผูกพันกับคนพูด  ดังนั้นเมื่อทำอะไร ปรึกษาอะไร ให้ทำเป็นหนังสือ และมีลายเซ็นครบถ้วน
  6. ในทางกลับกัน ลายเซ็นของคุณมีค่า เมื่อใครก็ตาม ที่มาขอให้คุณเซ็นเอกสารให้ จงจำไว้ว่ามันจะผูกพันคุณจนวันตาย แม้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
  7. นโยบายปากเปล่า ปฏิบัติตามได้ แต่ควรพิจารณาว่าขัดต่อศีลธรรม หรือระเบียบราชการหรือไม่ เพราะเมื่อมีการสอบวินัย(สอบสวน) เขาจะพิจารณาจากลายลักษณ์อักษร เว้นแต่คุณจะมีรายการบันทึกเป็นคลิปวีดีโอ
  8. คุณต้องไม่กล้วที่จะโดนย้าย เพราะถึงแม้คุณโดนย้าย เงินเดือนคุณก็ได้เท่าเดิม การพิจารณาเพิ่มเงินเดือน ก็ไม่ต่างจากเดิม เว้นแต่ว่าคุณสามารถหาประโยชน์จากตำแหน่งของคุณได้
  9. ค้ำประกันเงินกู้ ควรจะค้ำเฉพาะคนที่เขาค้ำให้เรา เพราะราชการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มหาศาล และจงทำหลักฐานที่ชัดเจน ว่าค้ำเฉพาะเงินกู้ วงเงินเท่าไหร่ กู้ครั้งไหนให้ชัดเจน
  10.  การขวนขวายหาความรู้ คุณสามารถไปเรียนฟรี เที่ยวฟรีต่างประเทศ ถ้าคุณเก่งภาษาอังกฤษ และ(เจ้า)นายอนุญาต
  11. เมื่อคุณไปคุยว่าคุณจะย้ายงาน เขาจะไม่ให้คำสัญญาอะไรกับคุณเลย แต่เขาจะถามว่า ส่งมอบงานให้เรียบร้อย
  12. เพื่อนร่วมงานมีหลายประเภท ทั้งร่วมหัวจมท้ายเพื่องานสำเร็จลุล่วง ทั้งงานไม่ช่วยแต่ขัดตลอด หรือแม้กระทั้ง ไม่ช่วยไม่ขัด แต่ขอรับแต่ชอบ ไม่ขอรับผิดก็มี จงเลือกคบให้ถูกคน
  13. ไม่ว่าคุณจะจบโท จบเอก ในด้านคอมพิวเตอร์ก็ตาม ถ้าคุณ ระดับ(ยศ) ต่ำกว่า อาวุโสน้อยกว่า คำเสนอของคุณจะตกไป
  14. การเล่นเส้นสาย เป็นสิ่งที่คุณต้องยอมรับ เพราะเมื่อ(เจ้า)นายจะเลือกใคร ดำรงตำแหน่งไหน ต่อให้คุณเก่งที่สุดในประเทศ แต่เขาไม่รู้จัก คุณก็จะไม่มีทางก้าวหน้า
  15. คำว่าเด็กนาย ไม่เราเป็น เขาก็เป็น ดังนั้น จงวางตัว อย่าไปกวนตีนใคร
  16. จงศึกษาระเบียบ ข้อกฏหมาย ให้ครบถ้วน หากสงสัย ให้ปรึกษา กพ. และจงอย่าไว้ใจ นักกฏหมายในหน่วยงานคุณ ตราบเท่าที่เขาเหล่านั้นไม่ตอบข้อปัญหาด้วยหนังสือ
  17. วันลา ป่วย ลากิจ ลาพักร้อน ใช้ซะ อย่ากลัวว่าน่าเกลียด สงกรานต์ ปีใหม่ ตรุษจีน จัดไปอย่าให้เสีย
  18. ระเบียบ ข้อกฏหมาย ความซ่ื่อสัตย์ จะช่วยปกป้องคุณได้ เว้นลูกปืน

ไม่ใช่แค่ปกป้องคนที่ใช้ แต่คนที่ไม่ได้ใช้งานก็ต้องปกป้องด้วย

จากกรณี Don’t drive on glass! Lawmakers want to ban wearing Google Glass while on the road ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากเรื่อง Google Glass กับการถูกละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว โดยในมุมมองส่วนตัวแล้วนั้น ถึง Google Glass จะยังไม่ได้ถูกใช้จริงในสภาพความเป็นจริงมากนัก แต่เมื่อรู้หรือพอเดาออกว่ามันจะเกิดผลอะไร สิ่งที่ต้องทำคือ “ปกป้องคนที่ใช้และคนที่ไม่ได้ใช้งาน” เราไม่รู้ว่ามันมีผลกระทบอะไรกับคนใช้แค่ไหน แต่การเทียบเคียงกับโทรศัพท์มือถือก็เพียงพอที่จะตีความได้บางส่วน เพราะฉะนั้นมันไม่แปลกที่จะถูกเสนอให้ควบคุมการใช้งานในวงจำกัด นี่ยังไม่รวมไปถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ที่อยู่รอบตัวผู้ใช้งานที่พวกเค้าพร้อมจะพูดละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวได้ทุกเมื่ออีกด้วยจากข่าวก่อนหน้านี้

Lenovo ThinkPad, My way and yours dream. (Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ ฉบับภาษาอังกฤษโดย @tomazzu)

จาก Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ ทางคุณ @tomazzu ขออาสาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ ซึ่งผมขอไม่โพสเนื้อหาในนี้ เพราะผมคิดว่าน่าจะให้ทางผู้เขียนปรับแต่งได้ง่ายที่สุดถ้ามีข้อผิดพลาดในการแปลเกิดขึ้น

สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Lenovo ThinkPad, My way and yours dream.