การคัดลอกแผ่นที่มีการป้องกันไว้มาแผ่น CD – R อย่างปลอดภัย และไม่ให้เสีย

มาแล้วครับ การคัดลอกแผ่นที่มีการป้องกันไว้มาแผ่น CD – R อย่างปลอดภัยและไม่ให้เสีย ซึ่งเทคนิคนี้ผมได้ทำการขออนุญาติจากเจ้าของ เทคนิคนี้เรียบร้อย คือ พี่ ++ HotDog ++ แห่ง Pantip.com ครับ ต้องขอขอบคุณไว้ ณ. โอกาส นี้ครับ …….. เรามาดูกันดีกว่า เขาทำกันยังไง ครับ

Download ClonyXXL 2.0.1.5

1. ใส่ CD แล้วเปิดโปรแกรม ClonyXXL

2. กด Scan จากนั้นรอสักครู่ … บริเวณหมายเลข 1 คือ ชนิดของ Protect ที่ใช้กับ CD … ของผมเป็นแผ่น SimCity 3000 ใช้ SafeDisc Old …

บริเวณหมายเลข 2 แสดงลักษณะพิเศษของ Protect ชนิดนั้น …
(อาจแตกต่างตามชนิด Protect จากรูปเป็น SafeDisc Old ซึ่งลักษณะพิเศษคือ มี Bad Sector เป็นจำนวนมาก เป็นต้น) ..

บริเวณหมายเลข 3 แสดงความยากง่ายของการ Copy CD แผ่นนี้ … ยิ่งมีหัวกะโหลกมาก ยิ่ง Copy ยาก … ของผมมีแค่ 2 หัว … CD แบบผม SafeDisc Old จึง Copy ได้ง่ายมากครับ …

บริเวณหมายเลข 4 (เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะนำไปใช้กับ CloneCD) แสดงการ Setting ที่จะต้องนำไปใช้กับ CloneCD เพื่อให้ Copy ได้สำเร็จ …

บริเวณหมายเลข 5 … หากคุณ Scan CD แล้วปรากฎว่ามันแสดง Protect เป็น Unknown คุณอาจใช้วิธีการ Scan แบบ Manual ได้ที่ปุ่มนี้ …. เมื่อกด มันจะถามคำถามคุณ คุณก็ตอบตามจริง แล้วมันวิเคราะห์ให้ว่า CD คุณน่าจะมี Protect เป็นอะรัยยย ..

3. เปิดโปรแกรม CloneCD เพื่อเริ่มขั้นตอนการ Copy (ขั้นตอนการตรวจสอบ CD มี 2 ข้อข้างบนแค่นั้นแหล่ะจ๊ะ) ..
จากรูปผมจะเลือกการ Copy CD นะครับ (อ่าน CD แล้วเขียนตอนนั้นเลย) .. คุณอาจจะ Read to File .. แล้วไว้เขียนจริงคราวหลังก็ได้ ..

4. เลือก Drive ที่จะทำหน้าที่อ่าน CD …. (Tip. เลือกไดรฟ์ที่คิดว่ามีปัญหาในการอ่านน้อยสุด … เป็น DVD Drive ได้ยิ่งดี … หรือจะเป็น CD-RW Drive ที่จะใช้เขียนก็ได้ มันจะให้เอาแผ่นเข้า ๆ ออก ๆ เองในช่วงการ Copy ช่วงหลัง ..)

5. Setting การ Copy CD …. เลือก Speed ของเครื่องอ่าน (ปกติตั้งที่ Max) .. บริเวณหมายเลข 1 ให้เอาค่า Setting ที่ได้จาก ClonyXXL (รูปความเห็นที่ 2) .. มาติ๊ก …

บริเวณหมายเลข 2 หากติ๊ก Fast Skip Error ไว้ให้มา Set ที่ตรงนี้ด้วย ..

6. Setting ในส่วน Fast Error Skip … หากเครื่องอ่านคุณมีตัวเลือก Hardware แบบในรูป .. ให้เลือก Hardware ดีกว่า … เพราะมันจะเช็ค Error ด้วย Hardware เอง แต่หากมีปัญหา … ก็ให้ใช้ค่า Defualt ก็ได้ .. (แต่อาจจะอ่านได้ช้ากว่า) ..

7. Setting เกี่ยวกะ Image File สามารถเปลี่ยนชื่อหรือโฟเดอร์ได้โดยการกด Browse
หมายเลข 1 Create “Cue Sheet” ติ๊กเพื่อให้สร้างไฟล์ cue ไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลของ CD ไว้เพื่อเอาไปอ่านกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ …
หมายเลข 2 Delete after a successful Write ติ๊กเพื่อให้ลบ Image File หลังจากที่เขียน CD เสร็จสมบูรณ์
หมายเลข 3 Copy “On-the-Fly” ติ๊ก จะเป็นการ Copy โดยตรงจากเครื่องอ่านไปสู่เครื่องเขียน โดยไม่สร้าง Image File เลย …. หากเป็นการ Copy CD ที่มี Protect ต่าง ๆ ไม่แนะนำให้ติ๊ก … เพราะการอ่านอาจมีปัญหา อ่านไม่ทัน …

8. เลือกเครื่องที่ใช้เขียน ….
กด Next มันก็จะเริ่มอ่าน เริ่มเขียน ทันที …. ทีนี้ก็รอ …
จบจ้า …

คำแนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ

ตอนนี้บทความต่างๆ ผมก็เริ่มๆ เอาออกมาบ้างแล้ว แต่ช่วงนี้ขอเก็บไว้ก่อนนะครับ อีกอย่างขอปรับปรุงเนื้อหาบ้างส่วนที่ล้าสมัยจะได้ทันต่อเห็นการณ์ด้วยครับ ส่วนวันนี้ก็เอาเรื่องการถนอมสายตา สำหรับคนใช้คอมฯมาฝากครับ จริงๆ ผมอ่านเจอมาเลยเอามาลงนะครับไม่ได้เป็นของผมแต่ประการใด แต่ว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียวครับ ลองอ่านดูนะครับ

ทำอย่างไรเพื่อถนอมสายตาและป้องกันโรคจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  1. การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรนั่งให้ห่างประมาณ 1 ฟุต นั่งเอนหลังให้สบาย ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงรองรับเข้ากับรูปทรงของแผ่นหลัง เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรเล่นติดต่อกันแต่ละครั้งไม่มากกว่า 45-60 นาที ควรจะกระพริบตา, หลับตา หรือหยุดพักสายตาโดยมองต้นไม้ หรือ มองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต – ก็คงต้องเป็นนอกหน้าต่าง) สัก 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ เนื่องจากการมองระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ ในบางคนอาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้การมองเห็นระยะไกลมัวได้
  2. วางจอภาพ(ระดับ ของกึ่งกลางจอภาพนะครับ)ให้ต่ำกว่าระดับสายตา ถ้า case ของคุณเป็น Tower ตั้งจอกับพื้นโต๊ะ หน้าจอตรงๆ หรือก้มนิดหน่อย คุณจะได้ไม่ต้องเงยหน้า อันนี้จะมีผลระยะยาว ถ้าคุณเงยคอนานๆ นอกจากจะเมื่อยคอแล้ว กระดูกต้นคอคุณจะเสียรูปด้วย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนม ถึงระดับเอว
  3. การเลือกสีพื้นหลัง ไม่ค่อยมีผลกับสายตามากครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็เป็นสีเขียวเข้ม กะสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดนักครับ ส่วนสีตัวหนังสือควรเป็นสีดำ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การอ่านหนังสือบนกระดาษสีขาว ตัวหนังสือสีดำ อาจจะมีผลทำให้สายตาสั้นได้ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กระดาษสีขาวปนฟ้า หรือ สีฟ้า ตัวหนังสือสีดำ *** ไม่ยืนยันผลการวิจัยนะครับ ***
  4. ปรับจอภาพให้พอดีที่สุด ถ้าคุณใช้งานคนเดียว ปรับให้เนี๊ยบเลย แล้วไม่ต้องปรับอีกตลอดชาติ เช่น แสง (ความสว่าง) สำคัญที่สุด อย่าให้จ้าเกินไป ออกทึบนิดนึงก็ได้ เพราะคุณต้องอยู่กับมันครั้งละนานๆ สี ไม่ต้องให้จัดจ้านเกินไป เอาพอสวย ตัวหนังสือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เอาให้เราดูแล้วสบายตา (ของเราเอง) ตัวหนังสือใหญ่ ไม่ใช่จะดีเสมอไป บางครั้งดูเหมือนมันตะโกนใส่หน้าเรา หรือเราต้องแหกตาดูมัน จริงมั้ย
  5. Resolution setting ให้เหมาะ ขนาด 800×600 น่าจะกำลังพอดี Refresh Rate ประมาณ 75 Hzขึ้นไป คุณสามารถปรับ Refresh Rate ได้ตามคู่มือของจอครับ ไม่มีผลเสียหายอะไร ถ้าเขาบอกว่าทำได้ก็ทำไปเลยครับ เหตุที่มี Refresh Rate สูงๆ ก็เพื่อลดความพลิ้วของจอ ให้มองจอได้ชัด ๆ น่ะครับ
  6. การเซ็ตความคมชัดและแสงสว่าง ปกติขึ้นกับความพอใจนะครับ แต่หากจะให้สบายตาควรลด Brightness ลงสักหน่อย ส่วน Contrast สามารถเพิ่มได้เต็มครับ ภาพจะคมชัดขึ้น และถนอมจอถนอมสายตาด้วยครับ ควรป้องการไม่ให้เกิดแสงสะท้อนบนหน้าจอ โดยจัดหน้าจอไม่ให้หันเข้าหน้าต่าง
  7. ถ้ารู้สึกง่วง, ล้า หรือปวดตา เมื่อทำงานนานๆ ให้พักเสียบ้างดีที่สุด อย่าหักโหมหรือดันทุรัง สุขภาพก็เสีย งานก็ไม่ได้ ตาก็จะพังด้วย
  8. เมื่อเรานั่งอ่าน หรือนั่งหน้าคอมนานๆ ตาเราจะกระพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกระพริบตาปกติ จะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีต้อเนื้อ ต้อลม หรือเป็นโรคตาแห้ง น้ำตาขาดคุณภาพ ควรจะรักษาให้หาย และใช้คอมพิวเตอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่แนะนำให้ใช้แผ่นกรองแสง เพราะ 1. เสียสตางค์ ซื้อแผ่นกรองแสง 2. เมื่อมีแผ่นกรองแสงมาบัง คุณต้องเร่งแสงและสี สู้กับแผ่นกรองแสง จอภาพจะต้องทำงานหนักขึ้น 3. คุณจะไม่ได้คุณภาพของสีที่แท้จริง …ขอย้ำว่า แผ่นกรองแสงไม่ได้ช่วยคุณได้ ความพอดีของคุณนั่นแหละจะช่วยคุณ
  9. วางแขนให้สบายๆ จัดวางต้นแขน ข้อมือ และมือให้อยู่ในท่าที่สบายๆ เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รู้สึกเกร็งหรือฝืนๆ การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์อย่างนิ่มนวลไม่ควรกดกระแทกแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยและเจ็บนิ้วเร็วกว่าปรกติก็ได้
  10. ขยับตัว บิดซ้ายบิดขวาบ้าง ให้มีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว ขยับแขนขาและลำตัวเพื่อลดความเมื่อยล้าและอาการเกร็งลง หรืออาจจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างเป็นช่วงๆ
  11. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแดดส่องถึงโดยตรง หรือแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นใด เช่น ฮีตเตอร์,เตาไมโครเวฟ, เตาผิง,เตาแก๊ส,เตารีด
  12. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่เปียก มีความชื้นสูง หรือมีฝุ่นมาก หรือบนพื้นที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งแรง เช่นบนโซฟา,เตียง ยกเว้นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือปาล์ม
  13. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใต้แอร์(แอร์อาจมีน้ำหยดได้) หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถให้กำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงเช่น พัดลมขนาดใหญ่, มอเตอร์ไฟฟ้า, ตู้เย็น,หม้อแปลงไฟฟ้า,ลำโพงที่ไม่ได้ชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงานของจอภาพ ทำให้จอสั่นได้
  14. ไม่ควรวางสิ่งของต่างๆบนจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะต้นกระบองเพชร เพราะอาจจะเศษดินทรายหรือมีหยดน้ำเข้าไปในจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ได้
  15. การความความสะอาดจอภาพและคอมพิวเตอร์ ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาด หรือ ฟองน้ำชุบน้ำพอเปียกชื้นๆเช็ด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย เช็ด

ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

  • [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)


ลูกคิด ( Abacus)

  • [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
  • [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
  • [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด

Pascal’s Calculato

  • [ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)


กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )

  • [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ


บัตรเจาะรู

  • [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

    Differnce Engine
  • [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
  • [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

    Atansoff


    ABC computer


    Berry

  • [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
  • [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู

    ENIAC

  • [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้


EDVAC
(first stored program computer)

  • [ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

    หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)


    ทรานซีสเตอร์ (Transistor)

  • [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

    IC
  • [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

    Microprocessor
  • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
  • [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507


ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์

เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก
บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่าสามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง
ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte

ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก

เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง
บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้
ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว
ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง

ถึงยุค Z80
เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)
Computer เครื่องแรกของ IBM
ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ
ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง

กำเนิด แอปเปิ้ล

ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด


อ้างอิงจาก
http://www.sanambin.com
http://www.wikipedia.com

การแก้ปัญหาและแนวทางป้องกันเมื่อเจอ Worm Blaster

Ref : http://www.pantip.com/cafe/siam/topic/F2412050/F2412050.html
Ref : http://thaicert.nectec.or.th/advisory/alert/blaster.php

  1. แนวทางป้องกันเปิด Firewall ไว้ดีที่สุดไม่โดแน่นอน ไม่ทำให้เน็ตช้าไม่ทำให้ระบบรวนและจะป้องกันได้ครอบคลุมต้องลง AntiVirus และ update ล่าสุดทุกๆ อาทิตย์ด้วย
  2. ถ้าโดนไปแล้วดาวส์โหลด http://securityresponse.symantec.com/avcenter/FixBlast.exe เป็นโปรแกรมตรวจหาเจ้าตัวปัญหานี้ (ใครเคยโดนพวก LoveBug คงจำได้ว่าทำไงนะครับ
  3. พอตรวจหาเจอแล้วให้โหลดตัวแก้ปัญหาทั้งหมดที่และป้องกันอีกที http://download.microsoft.com/download/9/8/b/98bcfad8-afbc-458f-aaee-b7a52a983f01/WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe และทางที่ดีเข้า Windows Update เพื่อทำการปรับปรุงระบบป้องกันใหม่ที่สุดมาลงครับ

แต่ถ้าโดนไปแล้วแล้วมัน Shutdown ตลอดทำไงเรามีวิธีครับ

  1. ถ้ามี ข้อความนี้ขึ้นมา ให้ทำดัง นี้
  2. คลิคที่ปุ่ม start แล้วคลิกที่ Run
  3. พิมพ์ ข้อความ shutdown -a แล้วกดปุ่ม OK
  4. ไปที่ link นี้ http://microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=2354406C-C5B6-44AC-9532-3DE40F69C074&displaylang=en
  5. Download file WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe นี้มา
  6. แล้ว ทำการ Run ไฟล์ที่ download มา นานหน่อยนะครับ
  7. เมื่อเสร็จแล้ว reboot เครื่อง อีก 1 ครัง
  8. เหตุการณ์จะปรกติ :-)
  9. หรือถ้าไม่ทำก็มีอีกแบบคือ
  10. กด CTRL+ALT+DELETE แล้วหา MSBLAST.EXE จาก Process List แล้วลบมันซะ
  11. จากนั้นไปที่ c:\windows\system32 หา MSBLAST.EXE แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น BLASTMS.BAK (** เพิ่มเติมสำหรับคนที่แก้ไม่ได้ให้ไปที่
    Run พิมพ์ MsConfig ไปที่ Tap StartUp แล้วหา msblast.exe คลิกเครื่องหมายถูกออกแล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง)
  12. แล้วลองมาปลี่ยนหรือลบซะ
  13. จากนั้นเข้าไปที่ c:\windows\perfetch แล้วหา MSBLAST.EXE ลบมันซะ (หรือชื่อคล้ายๆ มังก็ลบทิ้งๆ ไปเลย นามสกุล .pf)

ไวรัสตัวนี้อาจเข้าไปฝังใน Register ซึ่งเราสามารถแก้ได้โดย

  1. ไปที่ Start > Run พิมพ์ regedit
  2. แล้วไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run
    (** หรือสำหรับคนที่เกียดหา ไปที่ Edit เลือก Find แล้วพิมพ์ msblast ลงไป)
  3. ตรงช่องด้านขวาถ้าเจอ "windows auto update"="msblast.exe" ลบแย่จังซะ (ดูด้านซ้ายด้วยก็ได้)
  4. โหลด fixblast ตามลิงค์ที่เจ้าของกระทู้ให้ไว้
  5. โหลด Patch ป้องกันสมบูรณ์แบบ
    1. สำหรับคนที่ไม่มี SP1 (Windows XP Pro ธรรมดา) ไปที่
      http://microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=2354406C-C5B6-44AC-9532-3DE40F69C074&displaylang=en
    2. สำหรับคนที่มี SP1 (Windows XP Pro Service Pack 1) ไปที่
      http://download.microsoft.com/download/9/8/b/98bcfad8-afbc-458f-aaee-b7a52a983f01/WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe
      แล้วก็จัดการลง Patch ให้เรียบร้อย

ซอฟต์แวร์และโปรแกรม สองคำนี้มีความหมายต่างหรือเหมือนกัน อย่างไร

ผมได้พบกับคำถามในเว็บบอร์ด pantip.com ที่มีคำตอบที่น่าสนใจครับ

ซอฟต์แวร์และโปรแกรม…สองคำนี้มีความหมายต่างหรือเหมือนกัน ???

ถ้าเหมือน เหมือนอย่างไร และถ้าต่าง ต่างอย่างไร

เรามีคำตอบครับ ………..


ตอบ : ซอฟต์แวร์เป็นคำทั่วไปที่ใช้กล่าวถึงโปรแกรมหลายชนิดที่ใช้ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์และ อาจเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์(คำว่าฮาร์ดแวร์ใช้อธิบายถึงคอมพิวเตอร์ในด้านกายภาพและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง)

เราอาจจะนึกถึงซอฟต์แวร์ในแง่ของคอมพิวเตอร์ในส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้(updatable) และฮาร์ดแวร์ในแง่ของคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซอฟต์แวร์, บ่อยครั้งมีการแบ่งเป็น แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์(โปรแกรมซึ่งปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง) และ ซอฟต์แวร์ระบบ(ประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอะไรก็ตามแต่ที่สนับสนุนการทำงานของแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์) สำหรับคำว่า middleware บางครั้งใช้ในการอธิบายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์ระบบ หรือ ระหว่างแอปพลิเคชั่นต่างชนิดกัน (ยกตัวอย่าง การร้องขอการทำงานระยะไกลจากแอปพลิเคชั่นซึ่งอยู่บนระบบปฏิการชนิดหนึ่งไปสู่แอปพลิเคชั่นซึ่งรันอยู่บนระบบปฏิบัติการอีกชนิดหนึ่ง)

สำหรับกลุ่มของซอฟต์แวร์ไม่สามารถจะจัดเข้ากลุ่มใดๆได้นั้นเรียกว่า ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์(utility) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่มีประโยชน์ ยูทิลิตี้บางตัวมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ เช่นเดียวกับแอปพลิเคชั่น ยูทิลิตี้สามารถจะติดตั้งได้อย่างอิสระและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ

ซอฟต์แวร์ยังแบ่งได้อีกหลายชนิดเช่น shareware (ส่วนมากจะต้องซื้อเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทดลองใช้), liteware(แชร์แวร์ซึ่งมีการตัดความสามารถบางอย่างออกไป), freeware(ซอฟต์แวร์ฟรีแต่มีการจำกัดสิทธิ), public domain software(ฟรีและไม่มีข้อบังคับ) และ open source(ซอฟต์แวร์ที่มีการแจกจ่ายซอร์สโค้ดและใช้งานได้อย่างไม่จำกัดรวมทั้งสามารถปรับปรุงได้)

แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ทั่วๆไปมีดังนี้

– ซอฟต์แวร์ผลิตภัณฑ์ เช่น ตัวประมวลผลคำ(word processor), ตารางคำนวณ(spreadsheet) และเครื่องมือที่ใช้กันโดยผู้ใช้ส่วนใหญ่
– ซอฟต์แวร์นำเสนอ(presentation software)
– ซอฟต์แวร์กราฟฟิกส์ สำหรับนักออกแบบกราฟฟิกส์
– ซอฟต์แวร์ช่วยเหลือการออกแบบ CAD/CAM
– แอปพลิเคชั่นทางด้านวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง
– ซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม (ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร, ประกันภัย, ค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต)


ในทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคือชุดของคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ ในคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่ จอห์น วอน นิวแมนน์ วางรูปแบบเอาไว้เมื่อปี 1945 โปรแกรมประกอบไปด้วยชุดของของสั่งที่ทำงานหนึ่งคำสั่งในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปโปรแกรมจะเก็บอยู่ในพื้นที่ของหน่วยเก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะดึงคำสั่งมาทีละหนึ่งคำสั่งแล้วประมวลผลและดึงคำสั่งถัดไปมาทำงานเช่นนี้เป็นวงรอบ(cycle) หน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำสามารถเก็บข้อมูลซึ่งก็คือคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม(โปรแกรมคือชุดข้อมูลชนิดพิเศษที่บอกว่าจะปฏิบัติอย่างไรกับ แอปพลิเคชั่นหรือข้อมูลของผู้ใช้)

โปรแกรมสามารถแบ่งออกเป็นแบบปฏิสัมพันธ์(interactive) หรือชุดคำสั่ง(batch) ในเชิงของการโต้ตอบระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้และความต่อเนื่องในการประมวลผล โปรแกรมแบบปฏิสัมพันธ์จะรับข้อมูลจากผู้ใช้(หรือจากโปรแกรมอื่นที่ทำหน้าที่เสมือนผู้ใช้) โปรแกรมชุดคำสั่ง(batch) จะรันโปรแกรมและทำงานจนกระทั่งชุดของคำสั่งหมดจึงหยุดทำงาน โปรแกรมแบบชุดคำสั่งจะเริ่มทำงานโดยผู้ใช้สั่งให้โปรแกรมรัน ตัวแปลคำสั่ง(command interpreter) หรือเว็บบราวเซอร์เป็นตัวอย่างอย่างของระบบปฏิสัมพันธ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้พิมพ์ข้อมูลเงินเดือนของพนักงานในบริษัทเป็นตัวอย่างหนึ่งของโปรแกรมชุดคำสั่ง(batch program) งานพิมพ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมชุดคำสั่ง

เมื่อคุณต้องการสร้างโปรแกรม คุณจะต้องเขียนมันโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ข้อความในแต่ละประโยคเรียกว่า "source program" จากนั้นคุณจะต้องคอมไพล์ ซอร์สโปรแกรม(ด้วยโปรแกรมพิเศษที่เรียกว่าคอมไพล์เลอร์) และผลลัพธ์ที่ได้จะเรียกว่า object program (อย่าสับสนกับคำว่า object-orieted-programming) มีอีกสองคำที่ใช้เรียก object program ประกอบด้วย object module และ compiled program ภายใน object program จะประกอบไปด้วยชุดข้อความที่เป็นเลข 0 และ 1 เรียกว่า machine language ซึ่งเป็นภาษาที่โปรเซสเซอร์เข้าใจและสามารถสั่งให้โปรเซสเซอร์ประมวลผล

ภาษาเครื่องจักร(machine language) ของคอมพิวเตอร์จะสร้างขึ้นโดยคอมไพล์เลอร์ซึ่งเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, รวมไปถึงชุดคำสั่งที่เป็นไปได้และความยาวของคำสั่ง(ในหน่วยบิต) ในแต่ละคำสั่งของโปรเซสเซอร์(machine instruction)

ข้อมูลจาก whatis.com


จากข้อมูลข้างต้นอาจจะยากในการทำความเข้าใจ ถ้าจะอธิบายง่ายๆก็คือ program คือชุดคำสั่งซึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไรสักอย่าง แต่เมื่อโปรแกรมถูกคอมไพล์แล้วจะกลายเป็น software ทันที ซึ่งซอฟต์แวร์ก็แบ่งเป็น system software และ application software ซึ่งซอฟต์แวร์พวกนี้จะอยู่ในหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บข้อมูล ในขณะที่โปรแกรมอยู่ในไฟล์


ทิ้งท้าย …….

คำแปลตามลักษณะของหนังสือคำศัพท์โดยตรงครับ ไว้อ้างอิงครับ

Software = The programs, routines, and symbolic languages that control the functioning of the hardware and direct its operation.

source : The American Heritage® Dictionary of the English Language, Fourth Edition
Copyright © 2000 by Houghton Mifflin Company.
Published by Houghton Mifflin Company. All rights reserved.

Program = A set of coded instructions that enables a machine, especially a computer, to perform a desired sequence of operations.

source : The American Heritage® Dictionary of the English Language, Fourth Edition
Copyright © 2000 by Houghton Mifflin Company.
Published by Houghton Mifflin Company. All rights reserved.

from: dictionary.com