การชาร์จแบตเตอร์รี่ Li-Ion ที่ถูกต้อง

แบตเตอร์รี่แบบ Li-Ion และรวมถึงแบตฯรุ่นใหม่ Li-Polymer ด้วย นั้นจะ นับรอบการชาร์จ (Cycle) ของแบตฯ ของตัวมันเอง ซึ่งรอบการชาร์จของแบต Li-Ion คือ ชาร์จรวมกันแล้ว 85 – 95 % ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย) ถึงจะนับเป็น 1 รอบ ไม่ใช่จำนวนครั้งในการชาร์จ อย่างที่เข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น คุณชาร์จไปครั้งแรก ใช้ไปแค่ 20% ซึ่งแบตของคุณในตอนนั้นเหลือ 80% คุณก็ชาร์จไฟเข้าไปใหม่ คุณจะสามารถทำอย่างงี้ไป 5 ครั้ง ถึงจะ นับ 1 รอบ การชาร์จ ผมก็อปมาให้ดูจาก Help ของ Notebook IBM ครับ A cycle is defined as each time the battery discharges a total of 85% or more and is recharged it counts as one cycle. ผมใช้ไปสัก 20 – 30% แล้วชาร์จ ทำแบบนี้ไปราว 3 ครั้ง ตัวเลข Cycle จึงขึ้นมา 1 ครับ (แบตบ้าอะไรก็ไม่รู้ นับจำนวน Cycle ตัวเองได้ด้วย) แต่ถ้าเป็นแบต NiCd หรือ NiMH ก็นับจำนวนครั้งที่ชาร์จเลย ดูได้ดังภาพด้านล่างครับ

ดูที่ cycle count นะครับ ผมเสียบแบตเข้าออกไม่ต่ำกว่า 200 รอบแล้ว นับจากใช้ notebook ibm ที่ใช้แบต li-ion มา แต่จำนวน cycle count ยังอยู่ที่ 39 อยู่เลยเพราะว่าผมเอาไปเรียนไม่เท่าไหร่กับใช้แบตบ้าง เสียบแบต บาง ไม่เสียบบ้างครับ

ดูอีกอันนะครับ คงยืนยันได้เป็นอย่างดีครับ ยี่ห้อ ibm คงยืนยันได้ดีนะครับ แถมเป็น li-ion ของ panasonic ที่เป็นฐานการผลิตแบตแบบ oem ใหญ่ให้กับแบตหลายๆ ยี่ห้อรวมทั้ง sony ด้วยครับ ……. ดังภาพด้านล่างสองภาพครับ

คงต้องบอกว่าตัวแบต Li-ion นั้นระหว่าง Notebook หรือ มือถือ นั้นเหมือนกัน ไม่ต้องบอกก็ดูจะรู้ครับเพราะว่ากรรมวิธีไม่ได้แตกต่างกันเลย มันก็แบบเดียวกันครับ นั้นหมายความว่าการนับย่อมเหมือนกันครับ สารประกอบ และธาตุที่เอามาทำแบตนั้นชนิดเดียวกันโครงสร้างเหมือนกัน ทุกส่วนครับ

หลักการทำงานและสารประกอบทางเคมีครับ

Lithium is the lightest metallic element and generates a high voltage vs. the standard hydrogen electrode (i.e. -3.045 V). Early attempts used lithium metal in combination with a transition metal oxide or sulphide (e.g. Li/MoS2 the Molicell) intercalation compound.
These cells, although exhibiting the high energy densities expected, suffered from two main problems, caused mainly by the lithium anode: limited cycle life and poor safety.

The lithium anode caused both the poor safety and limited cycle life. During repeated discharge and charge cycles, the lithium stripping and replatingprocess was not 100% efficient and this created high surface area, particulate lithium which gradually consumes the lithium metal foil anode. The presence of particulate lithium caused increased internal resistance that limits the cycle life.

In addition, and more importantly, the particulate lithium creates major safety problems and renders the cell unsafe.

The Solution
The solution to the so-called ‘lithium metal’ problem was to replace the metal anode with a second intercalation compound which can reversibly intercalate Li+. This material is carbon and this is now used as the active anode material in all commercially available Li-ion cells. Since the anode is carbon, the active material of the cathode must be a compound which already contains Li+ and moreover the Li+ must be easily removed without a change in its molecular (crystal) structure.
There are presently two types of compounds which meet this requirement: these are the layered transition metal oxides LiMO2 (where M = Co, Ni or Mn) – examples include LiCoO2 (lithium cobaltite) and LiNiO2 (lithium nickelite) – and the spinel material LiMn2O4.

The use of LiCoO2, LiNiO2 and mixed compounds of such as LiNi1-xCoxO2 is protected by several patents owned by AEA Technology.
All the major companies which manufacture Li-ion cells have found that LiCoO2 offers superior reversibility, discharge capacity, charge/discharge efficiency and have thus adopted it as the cathode material of choice for small cells used in portable electronics.
As Li-ion cells are charged and discharged Li+ ions are transported between their carbon-based anode and their LiCoO2-based cathode, with electrons exchanged as a result of lithium ion insertion (doping) and of lithium ion extraction (undoping).

During charging, the cathode is undoped (i.e. the lithium is removed), and the anode, which consist of carbon with a layered structure are doped (i.e. lithium ions are inserted).

During discharge (when electrical energy is spontaneously released) lithium is removed from the carbon layers of the anode and inserted into the layers of the cathode compound. When Li-ion cells are first charged, lithium ions are transferred from the layers of the lithium cobaltite to the carbon material which forms the anode.

This is illustrated below.



initial charging
LiCoO2 + 6C –> Li1-xCoO2 + LixC6
Subsequent discharge and charge reactions are then based on the motion of lithium ions between anode and cathode.
discharging
Li1-xCoO2 + LixC <—-> Li1-x+dxCoO2 + Lix-dxC
charging
In order to achieve a high energy density, the capacity of the carbon anode must be as high as possible. To this end, carbon materials with large lithium ion doping capacities are required and the stoichiometric LiC6 lithium-graphite interlated compound composition (corresponding to 372 mA h g-1) were selected.

Anode Technology
At present, there are three kinds of carbon which are used in the anode of Li-ion cells:

Graphite types – highly structured
Coke types – less structured but easily transformed into graphite by heating
Non-graphitizable (hard) carbon types – highly disordered.
Of these carbon types Sony Energytec originally adopted a non-graphitizable (hard) carbon for use in the anode.
In contrast, the other leading Li-ion cell manufacturers such as Sanyo, Matushita (Panasonic) and Japan Storage Battery Co., Ltd. (JSB) have adopted a graphitic type carbon for the anode. Although the stored capacity of both graphite and hard carbon cells is similar, the average discharge voltage of the graphite cell (3.7 V) is slightly higher than for hard carbon (3.6 V). The delivered energy of the graphite technology is therefore higher for the same cell capacity due to its flatter discharge characteristic.
Recently, non-carbon active anode materials consisting of amorphous tin composite oxide (ATCO) materials have been used by Fujifilm Celltec. These materials have advantages in bulk density and reversible specific capacity compared to graphite. However, the major disadvantage with these materials is a large irreversible capacity that has to date limited their successful introduction in to commercial Li-ion products.

อ้างอิง : http://www.agmbat.co.uk/liiontechnology.html

ซึ่งถ้าปิดหรือเปิดเครื่องหรืออุปกรณ์ระหว่างชาร์จนั้นอันไหนได้ผลดีกว่ากัน อันนี้ผมไม่ขอสรุปเพราะว่ายังไม่มีการทดสอบและทดลองที่แน่ชัดครับ อันนี้คงแล้วแต่สะดวกมากกว่าครับ แล้วอีกอย่างถึงแม้แบตเราจะไม่ได้ทำการชาร์จเลยเป็นเวลานานก็ตามแบตก็จะเสื่อมไปเองภายในเวลา 3 – 5 ปีครับ อันเนื่องมากจากการทำงานของสารเคมีภายในที่หมดคุณภาพไปครับ หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของสารประกอบและกรรมวิธีของมันเองมากกว่าครับ อันนี้ผมไม่ขอตอบแน่ชัดเพราะว่ายังไม่มีรายงานใดๆ ออกมาครับจึงสรุปได้ไม่เต็มปากครับ แต่ที่สังเกตก็เป็นเช่นนั้นครับ ใช้ไม่ใช้ก็มีอายุเท่ากันแต่ใช้แล้วเนี่ยมันจะสั้นกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น

  1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
  2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
  3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
  4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุดได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
  5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
  6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
  7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงมากที่สุดในแบตที่ชาร์จใหม่ได้ครับ …………… ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ …………


[Update 22/03/2004 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

[Update 2/12/2006 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

สาเหตุที่เกิด Physical bad sector หรือ Bad sector

ในเมื่อไปตอบคำถามใครหลายๆ คนใน pantip แล้วบางครั้งคำถามและคำตอบมันจะหายไปตามกาลเวลา เลยมีความคิดว่า ถามตอบแล้วเอาคำตอบของเรามาใส่ไว้ใน Blog หรือถ้ามันเป็นคำตอบเชิงวิชาการ และทำเป็นบทความเล็กๆ ได้ก็เอาลง Web ซะเลยดีกว่า อืมมมม เป็นการใช้เวลาในการตอบกระทู้ให้เป็นประโยชน์ด้วย อุๆๆๆ …… คิดได้เรา ….

ปัญหาการเกิด Physical bad sector หรือ Bad sector จริงๆ ไม่ใช่เทียมๆ แบบใช้โปรแกรมแก้ได้นั้น

"ไม่มีทางเกิดจาก Software ได้เด็ดขาด"

สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟ 80 % – 90 % ของสาเหตุทั้งหมดที่ส่งแคลม

        ในนิตยสารในเมืองนอกอย่าง PC World ได้มีการทดสอบมาแล้วว่าการกดปุ่ม Restart หรือ Power-up/down ทันทีก่อนปิดระบบ os นั้น "ไม่มีผลต่อ H/D หรือ H/W อื่นๆ แต่ประการใด" แต่จะมีผลกับระบบ "OS นั้นๆ เท่านั้นเอง" ดังที่เมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้วใช้ dos นั้นหล่ะครับ ที่เปิดปิด ก็ไม่ได้ปิดโดย os แต่ใช้ปุ่ม power-up/down แทน หรือ restart แทนการ restart แทนก็ใช้กันได้จนถึงทุกวันนี้ครับ ก็ไม่มีปัญหาอะไรสำหรับเครื่องผม p 166 ก็ยังดีอยู่ h/d ก็ไม่ได้ bad อะไร ซึ่งสามารถยืนยันได้จากเครื่องรุ่นเก่าๆ และเทคโนโลยีการผลิต h/d ที่เก่ากว่าครับ

        การทำให้เกิด physical bad sector นั้นสาเหตุหลักที่มาจากไฟ เกิดจาก power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่พอ หรือจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่นิ่ง หรือมีการจ่ายไฟไม่คงที่ของไฟฟ้าในการจ่ายไฟจาก power supply นั้นเอง

        อีกส่วนคือเกิดจากไฟฟ้าในกระแสไฟที่จ่ายให้กับ power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่นิ่งซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับข้างต้นที่บอกไป ซึ่งถ้าจะให้ดี แนะนำว่าให้ใช้ UPS ให้การกรองไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้า ตก, เกิน หรือกระชาก เข้า power supply อีกทีครับ เป็นการถนอมอุปกรณ์คอมฯ ไปในตัวครับ

        อีกส่วนคือการประกอบเครื่องไม่ได้คุณภาพ เช่นการเสียบสายไฟพวกลำโพง หรือพวก usb port ที่ต่อผิดขั้ว ทำให้เกิดการลัดวงจรภายใน ซึ่งถ้า m/b มีวงจรในการดักจำพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอันใด แต่มันจะไม่มีทุกตัวหล่ะซิ ซึ่งผมเคยเสียบสายลำโพง แล้วมันช็อต เครื่องค้างไปเลย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนี้ได้เช่นกันที่ทำให้ h/d มี physical bad sector ได้ครับ

        อีกเรื่องคือพวกลูกปืนจานหมุนเริ่มเสื่อม หรืออุปกรณ์บางตัวใน h/d มีการเสื่อมเองไปตามการใช้งานครับ

        อีกเรื่องก็คือเวลาใช้งานมีการเกิด Shock หรือการทำให้ตัว h/d สั่นไหว, กระแทก, สะเทือน และ ตกหล่นจากที่สูงเป็นสาเหตุในการเกิดเช่นกัน บางครั้งตั้งเครื่องไว้ แล้วมีคนมีทุบโต๊ะทำงานของเรา ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน ซึ่งถ้าไม่รุนแรงมา h/d ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่าเดี่ยวนี้สามารถรับแรงการสั่นไหวได้พอสมควรครับ แต่ก็ไม่สมควรทำครับ

       จำเอาไว้ครับว่าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีความไว ต่อสิ่งต่างๆ มากครับ ความชื่น ความร้อน และการสภาพไฟฟ้าที่ผิดปกติครับ ถนอมๆ มันหน่อนเน้อ …….

และแล้วเราก็ใช้ LaTeX เป็นกับเค้าสักที

เป็นการลองผิดลองถูกมากกว่าาอาทิตย์ และประกอบกับอาจารย์ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ได้สอนบ้างเล็กน้อย และพี่เดฟ ได้ส่งติวเตอร์มาให้ 2 ไฟล์ และติวเตอร์ที่ไปโหลดมาเองอีก 6 ไฟล์มานั่งอ่าน ๆ เซ็ต ๆ เจ้า MikTeX และ Text Editor ตัวถนัดของเราคือ EditPlus ให้มันทำการ Compile เจ้าไฟล์ LaTeX ที่เราเขียนขึ้นมาได้นั้นเอง เซ็ตตั้งแต่ทำตัดคำไทยก่อน ตามด้วย Compile ตามด้วย View ไฟล์ว่าถูกต้องหรือไม่ใน DVI Viewer แล้วก็ตามด้วย Convert จาก TeX ไฟล์ไป PDF ไฟล์อีกที …… เล่นเอามึนๆ ไปหลายวันกว่าจะทำได้ ……… เป็นการพยายามจนเลิกจะพยายามแล้วนะเนี่ย -_-” ….. แต่เราก็พยายามจนมันทำงานได้ หุ ๆ ๆ เดี่ยวว่าจะโชว์พาว ส่งงานอาจารย์ใน LaTeX ทำ แทนใช้ Microsoft Word ทำดีกว่า ดูมันใช้งานไม่ได้ยากไปกว่าเขียน HTML เท่าไหร่ น่าจะง่ายพอ ๆ กันนะ ….. อืมมมม เขียน PHP, Perl, C/C++, JAVA ยังยากกว่าเลย 5555555

https://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/doc2.pdf ลองโหลดไปอ่านๆ ดูนะครับ หุๆๆๆ มันมาก เดี่ยวว่างๆ จะทำ Document ที่ ในการเซ็ตมาลงเว็บดีกว่า อ่อ อีกอย่าง เร็ว ๆ นี้เราว่าเราจะเอาบทความในเว็บทั้งหมดมาทำเป็น PDF ให้สมาชิกที่เสียค่าบริการได้โหลดไปอ่านกันนะเนี่ย …. กำลังร่าง ๆ ว่าจะเก็บเงินค่าสมาชิกยังไงดี …… คิด ๆ ๆ ๆ

เซต Editplus เพื่อ Compile และเปิดไฟล์ Java ให้ทำงาน

  1. ทำการลงโปรแกรม EditPlus และ SDK ของ JAVA ชื่อ J2SE Development Kit ลงในเครื่องก่อน เพื่อให้ในเครื่องมีตัว Compile และ Editor เพื่อใช้ในการทำงานเสียก่อน
  2. เปิดโปรแกรม EditPlus และไปที่ Tools และตามด้วยเมนู Configure User Tools
  3. ตัวโปรแกรมจะเปิดหน้าต่างใหม่ ที่ชื่อว่า Preferences และตัว Cursor อยู่ที่ User tools ให้คลิ้กที่ปุ่ม Groups Name เพื่อทำการเปลี่ยนชื่อ Groups เป็น JAVA ซึ่งระบบจะขึ้นหน้าต่าง Rename User Tool Group ให้กรอง และเมื่อกรองเสร็จแล้วกด OK ออกมา และเราจะเห็นชื่อ Group 1 จากของเดิม เปลี่ยนเป็น JAVA แล้ว
  4. ต่อมาเราจะมาทำการสร้างตัว Command ในการ Compile ในตัวโปรแกรม EditPlus โดยไปที่ปุ่ม Add Tools และไปที่ Program ซึ่งโปรแกรมที่เราจะ Add เข้านี้มีชื่อว่า JAVA Compiler หรือชื่อ javac.exe นั้นเอง โดยให้ Browse ไปที่อยู่ของ javac.exe ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใน directory  bin ของ JAVA รุ่นนั้นๆ เช่น "C:\Java\jdk1.5.0_01\bin\javac.exe" ซึ่งแล้วแต่เราว่าเราจะเอาไว้ที่ไหนนั้นเอง เมื่อ Browse หาเจอแล้ว ตัว Path ของไฟล์ javac.exe จะถูกนำมาใส่ไว้ในช่อง Command ให้เราเลยทันที และใน Menu Text ให้ใส่ Compile เข้าไป
  5. จากนั้นในส่วนของช่อง Argument  จะใช้ในการใส่ค่าของชื่อไฟล์ของเรา ในที่นี้ให้ไปที่ปุ่ม   และเลือกที่ File Name ซึ่งตามหลักการ Compile ใน Command Prompt ใน Dos นั้นจะมีรูปแบบคือ "C:\javac HelloWorld.java" ตัวโปรแกรมจะทำการใส่ไปให้เราเองดังที่ได้กล่าวไปในตอนแรกแล้ว
  6. ในช่องของ Initial directory นั้นปกติใช้เพื่อทำการบอกตัวโปรแกรมว่าให้ทำการ compile ที่ไหน โดยไปทีปุ่มเครื่องหมายลูกศรชี้ลง แล้วเลือก File Directory เมื่อทำทั้งหมดเสร็จแล้วให้กด Apply
  7.  ต่อมาเราจะมากล่าวถึงในส่วนของการให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา JAVA นั้นสามารถทำงานได้หลังจากทำการ Compile แล้ว ให้ที่ไป Add Tools และไปที่ Program ซึ่งโปรแกรมที่เราจะ Add เข้านี้มีชื่อว่า JAVA Interpeter หรือชื่อ java.exe ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใน directory  bin ของ JAVA รุ่นนั้นๆ เช่น "C:\Java\jdk1.5.0_01\bin\java.exe" นั้นเอง เมื่อ Browse หาเจอแล้ว ตัว Path ของไฟล์ java.exe จะถูกนำมาใส่ไว้ในช่อง Command ให้เราเลยทันที และใน Menu Text ให้ใส่ Run เข้าไป
  8. จากนั้นในส่วนของช่อง Argument  จะใช้ในการใส่ค่าของชื่อไฟล์ของเรา ในที่นี้ให้ไปที่ปุ่ม   และเลือกที่ File Name Without Extension ซึ่งตามหลักการ Interpeter Running ใน Command Prompt ใน Dos นั้นจะมีรูปแบบคือ "C:\java HelloWorld" ตัวโปรแกรมจะทำการใส่ไปให้เราเองดังที่ได้กล่าวไปในตอนแรกแล้ว
  9. เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว เราก็จะได้คำสั่งในการ Compile และ Run ออกมา
  10. ทดสอบโดยการเขียนโปรแกรมทดสอบ HelloWorld
    class HelloWorld {
          public static void main(String[] args) {
               System.out.println("Hello World!");
          }
    }
  11. และทำการ Save เป็น HelloWorld.java (หรือให้ชื่อไฟล์เหมือนกับชื่อของ Class ที่ทดสอบ)
  12. เมื่อ Compile จะได้ผล
    ———- Compile ———-
    Output completed (1 sec consumed) – Normal Termination
  13. และเมื่อ Run จะได้ผล
    ———- Run ———-
    Hello World!
    Output completed (0 sec consumed) – Normal Termination
  14. เมื่อได้แบบนี้แล้วแสดงว่าติดตั้งแต่สมบูรณ์เรียบร้อย ……

ทำความสะอาดเครื่อง Printer เพื่อนยากของเราสักหน่อย ………

ทำความสะอาดเครื่อง Printer สักหน่อย ………

เมื่อวานนี้เพิ่งเอารางที่รองรับน้ำหมึก ที่ใช้ในการล้างน้ำหมึกออกจากหัวพ่นออกมา ซึ่งถ้าใครแกะออกมาคงตกใจว่าหมึกทำไมมันเยอะมหาศาลมาก ขนาดที่ว่าเอามันแข็งมากๆ กว่าจะแงะออกมาได้ มันเป็นก้อนๆ เลยครับ

จริงๆ HP DJ 930c ของผมเนี่ยมีอายุได้ 4 ปีแล้ว แต่พิมพ์งานได้เนียบเหมือนเดิม แต่มาระยะหลังๆ ตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสีดำมันออกมาลายๆ แรก ๆ ก็ว่าน่าจะเป็นที่ตลับหมึก แต่พอไปให้ช่างที่เติมหมึกดูหัวก็บอกว่าใช้ได้นิ เลยสัญนิฐานว่าเป็นที่เครื่อง ช่างแนะนำว่าให้ถอดออกมาเอาหมึกที่คั่งออกมาหรือ เช็ดทำความสะอาดบริเวณ ที่พักตลับหมึกดูน่าจะหาย

ผมก็จัดการแงะเครื่องเลย คือไม่กลัวมันหมดประกันหรอก เพราะว่ามันหมดไปตั้งนานแล้ว และจากที่สอบถาม HP ก็ได้คำตอบว่ารุ่นนี้ไม่ support อะไหล่แล้ว คาดว่าไม่ได้ spare part ไว้แล้วในไทย คือถ้าเครื่อง HP DJ 930c ของผมเสียก็ซื้อใหม่ได้เลย โดยเอาเครื่องไปเทิร์นในราคาส่วนลดเครื่องใหม่ 400 – 500 บาท ครับ ซึ่งผมนี่งงเลย เครื่องผมซื้อมา 9,000 กว่าๆ ได้ แต่ขายเทิร์นได้แค่เนี้ย แต่เอาเหอะ ช่างมัน ไม่คิดมากเพราะว่าไม่ได้คิดจะเทิร์นอยู่แล้ว เลยลองแกะมาทำความสะอาดบริเวณที่พักตลับหมึกก่อน ดีกว่า เพราะจากการสัญนิฐานของตัวเองน่าจะเป็นบริเวณที่สัมผัสกับตัวหัวพ่นหมึกมากที่สุดที่หนึ่ง การประกอบกับที่พักตลับหมึกและที่ล้างหัวพ่นอยู่ที่เดียวกันเลยทำทีเดียวได้สองอย่างเลย แต่รุ่นเล็กอีกตัวของผมคือ HP Deskjet 3325 ของผมมันอยู่กันคนละที่ ก็เลยว่าจะทำเหมือนกัน เพราะว่าหมดประกันแล้ว ตอนนี้ก็เลยทำดูดีกว่า ที่กว่าไปซ่อม หรือให้ที่ ศ. ล้างให้คงเสียค่าบริการอีกมากเลยหล่ะ และการทำแบบนี้ก็อาจทำให้การพิมพ์งานของผมดีขึ้นเหมือนซื้อเครื่องใหม่ได้เลย เพราะจากที่ได้เอาไฟฉ่ายสังเกตุดูมันมีคราบเยอะมากๆ และมีก้อนของน้ำหมึกจับกันเป็นก้อนแข็งขนาด 1″ x 0.5″ ตับตัวอยู่ 1 – 2 ก้อน โดยประมาณ

การแกะก็ทำไม่ยาก ใช้ความรู้ทางช่างนิดหน่อย ประกอบกับทักษะการประกอบหุ่นยนต์ เล็กหน่อย คือมันคล้ายๆ กันน่ะ ถ้าอ่านในคู่มือ ก็คงมีแต่อันนี้มันเร่งๆ เพราะมีงานต้อง print อยู่ เลยจัดการสำรวจ และแงะ แกะ เกามันออกมาซึ่งก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพราะว่าตัวเครื่องนี่มีน็อตแค่ 2 ตัว และมีสลักยึกตัวเครื่องระหว่างด้านฐานตัว Printer กับตัวฝาครอบ อยู่ 4 จุด และฝาครอบถาดกระดาษอีก 2 จุดก็แกะมันออกมาได้แล้ว เลยเห็นที่พักตลับหมึก และบริเวณสำหรับล้างหัวพ่นอยู่ก็ใช้ แอลกอฮอลในการเช็ดๆ ส่วนที่เป็นที่พักหมึก แนะนำว่าอย่าใช้ทินเนอร์ เด็ดขาด เพราะว่าบางรุ่นเป็นยาง อาจทำให้ละลายได้ ให้ใช้แอลกอฮอลผสมน้ำอ่อนๆ เช็ดจะดีกว่าครับ เช็ดออกมาได้ หมึกที่เป็นก้อนขนาดใหญ่รวมๆ กันแล้วขนาดประมาณ 1″ x 2″ ได้ครับ นี่สะสมมา 4 ปีนะครับ …. และทำการเช็ดทำความสะอาดบริเวณแท่นพักตลับหมึกด้วย บริเวณนั้นส่วนมากจะเป็นยาง ครับ ใช้แอลกอฮอลผสมน้ำนิดนึง ก็ออก ทำความสะอาดอีกหน่อยก็เสร็จ …….

และทำการทดสอบการพิมพ์ได้ผลในการพิมพ์เป็นเยี่ยมครับ ตัวอักษรที่ลายๆ กลับมาคมดั่ง laser เหมือมเดิมครับ …… ใครที่ใช้ HP หรือ Epson ลองๆ สักเกตุดูนะครับ ….. และไม่แนะนำให้แกะเครื่องถ้ายังอยู่ในประกันครับ แต่ว่าถ้าหมดประกันแล้วก็ตามสบายท่านแล้วกัน

อ่อ อีกเรื่องครับ การที่แท่นพักตลับหมึกมีคราบมากๆ เป็นสาเหตุ อีกสาเหตุที่ทำให้หัวพ่นหมึกของ inkjet ตันครับ ……

และหัวพ่นของ inkjet ห้ามใช้ ทินเนอร์ในการเช็ดนะครับ ให้ใช้น้ำประปาอุ่นๆ สะอาดๆ เช็ดโดยใช้สำลีจุ่มน้ำเช็ดออกครับ เพราะว่าผมเคยใช ทินเนอร์เช็ดหัวพ่นของตลับหมึก HP ที่เกือบหมดแล้ว ตลับพังเลย เพราะว่าหัวพ่นมันเสียครับ ….. T_T