Google เพิ่มเนื้อที่เก็บ Gmail เป็น 2GB

ได้ข่าวมาจาก Slashdot.org แต่ไม่มีเวลาแปลมาลงให้อ่านกัน พอดีได้จาก Maillist ของ Pantip.com เลยเอามาลงสักหน่อย

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Google เวบเซิร์ชชื่อดังได้เปิดเผยว่ามีการเพิ่มขนาดเนื้อที่ ในการจัดเก็บอีเมล์สำหรับสมาชิกที่ใช้บริการ Gmail จากเดิม 1GB เป็น 2GB หรือ 1เท่าตัว ซึ่งเป็นการครบรอบ 1ปีหลังจากที่มีการเริ่มเปิดบริการพอดี ถึงแม้ว่าขณะนี้บริการ Gmail นั้นยังเป็น Beta อยู่ก็ตาม โดยนอกจากนี้ Google จะมีการศึกษาการเพิ่มเนื้อที่ให้สมาชิกแต่ละรายอีกไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้ที่ใช้ Gmail จะได้ไม่ต้องกังวลถึงขนาดความจุของอีเมล์ที่เหลืออีกต่อไปว่าจะหมดเมื่อใด โดยบริการ Gmail ของ Google นั้นเป็นฟรีอีเมล์รายแรกที่มีการให้เนื้อที่จัดเก็บอีเมล์สูงถึง 1GB ทำให้ hotmail และ yahoo รวมถึงผู้ให้บริการฟรีอีเมล์รายอื่นๆ จำเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ให้กับลูกค้าของตนด้วยเช่นกัน

เอารูปมาลงซะเลย Capture มาจากของผมเอง ….

บ่นบ้า (ภาคที่เท่าไหร่ไม่รู้)

เฮ้อ ……. ช่วงนี้ทำตัวขี้เกียจวันเล้ยยยยยย ……

แถมเน็ตหอก็มาเสีย ต่อผ่านตู้สาขาเอา ความเร็วแบบไปตามน้ำใจเย็นเป็นน้ำ 26.4Kbps เลยทำให้เสียเงินเพิ่มเข้าไปอีก ……. ตอนนี้เลยตอนเช้าๆ ต้องไปนั่งเล่นที่ คณะ แทนพอไปเล่นแล้วมันเร็วแบบสุด ๆ ๆ แต่ก็ได้ข่าวดีว่าเค้ากำลังมาแก้ไขเน็ตที่หออยู่ ไม่รู้จะได้วันไหนเหมือนกัน

แล้วนี่ก็ใกล้สอบ Data Structure แล้วก็ Internet Programming แล้ว ไอ้อย่างหลังไม่เท่าไหร่ ทำได้ดีเลยหล่ะ แต่อันแรกดิ หนักใจจริง ๆ ไม่รู้อาจารย์สอน งง ๆ ไม่รู้ว่าจะเอายังไงแน่ จนเราต้องมานั่งอ่านเอง นี่ก็อ่านจนหัวจะไหม้แล้ว นั่งอ่านนั่งทำโปรแกรมไปเรื่อย ก็หวังว่าเทอมนี้จะไม่พลาดอีก …..

แล้วช่วงนี้ฝนตก กันทั่วถึงทุกภาคก็รักษาสุขภาพด้วยนะ นี่ก็เริ่ม ๆ จะเป็นหวัดแล้ว มึน ๆ เหมือนกัน เฮ้อ … เดี่ยวร้อนเดี่ยวหนาว เอาแน่ เอานอนไม่ได้ …… -_-”

อ่อ นี้ก็ไปนั่ง ๆ อ่านเรื่องพวก Common Public Licence ว่าจะเอามาใช้กับโปรแกรมที่เราว่าจะทำเป็น OSS ซะหน่อย นี่ก็กะทำ project ไว้หลายตัวเหมือนกัน ไม่รู้ว่าใครจะทำตัดหน้าไปหรือเปล่า ……

แต่ก็นะ ….. นี่ก็ดองงานไว้เยอะ หลายงานเลย ไม่รู้จะแบ่งตัวไปทำยังไงหมด ……. แย่จัง T_T

วันนี้บ่นแค่นี้ดีกว่า ไม่ไหว ๆ ๆ มึนหัว …….

ถอย Sony Ericsson T630 มาใช้ซะทีนึง …..

ผมซื้อมันมาในราคาที่เหลือแค่ 7,490 บาทน่ะครับ แต่ได้ข่าว แวว ๆ มาว่าหลังจากผมซื้อมาได้ 2 วันมันราคาตกเหลือแค่ 6,990 แล้ว -_-” (เซงเลยตรู) จริง ๆ ถ้าจำไม่ผิดเนี่ย ราคาเปิดตัวมันในตอนแรกมัน 17,900 บาททีเดียวนะ เรียกว่าแพงใช้ได้เลย แต่ตอนนี้ … เหอ ๆ ๆ คิดเอาเองนะครับ

มาบรรยายกันก่อน ดีกว่า ถ้าคิดว่า Review มือถือก็แล้วแต่จะคิด แบบว่าบ้าเห่อ อยู่ หุ ๆ ๆ …

สีสันบนจอภาพนั้นก็ถือว่าใช้ได้ระดับนึง ซึ่งคงเอาไปเทียบกับพวกระบบแสนกว่าสีได้ยาก เพราะว่ามันแค่ 65,536 สีเท่านั้น และชนิดจอภาพเป็นแบบ TFT LCD (ขนาด 128×160 Pixels) นะเออ ……. แต่ถือว่า ok แล้วสำหรับการใช้งาน (สำหรับผม) ซึ่งบอดี้มีแต่สีขาวครับ ก็ดูเรียบง่าย และสวยงามในแบบ Think Different ( เกี่ยวอะไรกันหว่า) และด้วยรูปทรงสวยเพียว, น้ำหนักเบา และด้านข้างออกแบบให้เว้าเข้า และมน แม้จะดูเหลี่ยมไปบ้างก็ตามที และแม้เครื่องนี้มันไม่มี Buil-in FM, MP3 Player, VDO Clip, Flash Digital Camera ส่วนอื่น ๆ นั้น T630 แทบจะมีหมดทุกอย่าง และที่ชอบมากคือ ปุ่มจอยสติ๊กทำงานได้ดีและแม่นยำครับ

แต่ที่เสียดายคือหน่วยความจำน้อยไปนิด คือมีให้รวม ๆ กันแล้ว 2MB เท่านั้นครับ(ไม่รวม Phonebook และ SMS ที่แยกออกมาต่างหาก) ถ้ารุ่นนี้ มี MMC หรือ Memory Stick Duo ก็คงจะขายดีกว่านี้เยอะ (นี่ก็ว่าดีแล้วนะ เป็นรุ่นที่นิยมมาก แต่ก็เป็นรอง ๆ T610 ในยี่ห้อเดียวกัน ในช่วงหนึ่งเลยหล่ะ) แต่ก็เอาเหอะ ตัวเครื่องมีทั้ง IrDA , Bluetooth และ Support USB ด้วย (ชอบจริงๆ หุๆๆ ) แถมสามารถส่ง และรับ MMS, EMS, SMS และระบบ E-mail แบบ POP3/IMAP ด้วย ซึ่งต้องต่อผ่านระบบ Internet แบบ GPRS หรือ CSD ก็ได้ (ทำให้ผมเสียค่า GPRS ในการลองของใหม่ไปกว่า 700 บาทแล้ว T_T )รวมถึงรองรับ JAVA Platform อีกต่างหาก …… โว้ววว แต่ที่ชอบที่สุดคือมันมีระบบ Synchronization PC และ Apple with iSync นั้นเอง นี่ใช้ร่วมกับ Microsoft Office Outlook ได้ดีมากซึ่งผมก็ทำการ Sync. ข้อมูลพวก Contact list, Calendar, Task ไปมาได้สะดวก และปรับข้อมูลให้ตรงกันได้ด้วย ……. เวลาผม add contact ใส่โทรศัพท์ หรือ Outlook มันก็ update ซึ่งกันและกันด้วย ดีมากๆ เลย ทำให้ผมไม่ต้องทำการจัดการระบบ Contact List ผ่านมือถืออย่างเดียวแต่ทำผ่าน Outlook ได้สบายๆ และที่สบายอีกอย่างคือระบบนัดหมาย ที่ทำให้ผมไม่พลาดนัดหรืองานต่าง ๆ หุ ๆ ๆ ก็ Sync เข้าออกข้อมูลระหว่างกัน สบาย ๆ ;)

แต่อีกเรื่องคือคุณภาพกล้องก็ผิดหวังเล็ก ๆ แต่ก็เอาเหอะถือเป็นของแถมแล้วกัน แต่ใช้งานง่ายด้วยปุ่มเดียวก็ใช้งานได้ สะดวกสบาย หุๆๆ เพราะว่าปุ่มถ่ายรูปมันอยู่ด้านข้างตัวกล้องทำให้ถ่ายได้ทันที แต่ถึงไม่มีไฟ Flash เวลาถ่ายในที่มืดแต่ก็มี night mode มาชดเชยให้ และมันเป็นกล้องที่ซูมไม่ได้ แต่ที่ชอบอีกอย่างคือ function self-timer ของกล้อง มันเป็นระบบหน่วงเวลาถ่ายภาพได้ 10 วินาที

บอกเล่ากันแค่นี้ก่อน แต่อยากจะบอกว่าเป็นมือถือที่ผมพอใจมากที่สุดเลยหล่ะ และเป็นมือถือเครื่องที่ 6 แล้วหลังจาก Ericsoon T28s, Ericsson T29s (อันนี้ที่เปลี่ยนเพราะว่าโดนขโมยครับ T_T ) , Nokia 8250, Sony Ericsson T100, Sumsung C100 และ Sony Ericsson T630 (เครื่องล่าสุด) ซึ่งราคาในตอนนี้ถือว่าคุ้มมาก ซึ่ง function ที่ได้มานั้น ครบครันในการใช้งานเหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้ระบบ Calendar ที่ทำงานได้ดีและ Sync ข้อมูลได้ด้วยครับ …..

ไปดีกว่า …….

ทำไมต้อง update patch ซอฟต์แวร์ด้วยนะ ?

จริง ๆ ผมก็คิดจะเขียนมาตั้งนานแล้วหล่ะ แต่ติดที่เวลาในการรวบรวมความคิดมันสั้นเกินกว่าที่ผมจะเอามาเขียนได้อย่างมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน เพราะเขียนมาแล้วเต็มไปด้วยคำพูดที่ยากแก่การเข้าใจ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่อาจหลีกหนีมันได้ อีกอย่างคือเนื้อหาส่วนนี้มากจากประสบการณ์ตรง และสรุปออกมาเองให้เข้าใจง่าย มันเลยไม่ตรงตามหลักวิชาการ เลยเอาไปอ้างอิงไม่ได้ แต่ก็เอาหล่ะเขียนไปทั้ง ๆ แบบนี้ดีกว่า

การ update patch หรือ upgrade ซอฟต์แวร์ (ต่อไปผมจะขอพูดสั้น ๆ ว่า update นะครับ) ให้มีความสามารถสูงขึ้น หรือลบข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และจัดทำซอฟต์แวร์ขึ้นมา โดยหลุดรอดจากขั้นตอนการทดสอบของฝ่าย Tester (ฝ่ายทดสอบ หรือตรวจสอบซอฟต์แวร์) ของบริษัทจัดจำหน่าย นั้น ๆ จริงอยู่หลายคนคงไม่ชอบที่จะมานั่ง update ตัวซอฟต์แวร์ บ่อย ๆ แต่เราต้องเข้าใจความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีใดที่สมบูรณ์แบบในการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนอย่างซอฟต์แวร์ ที่ทุก ๆ การจัดทำนั้น ต้องมีการวางแผนและจัดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ ตามระบบให้ดีที่สุด และการที่มีการ update ซอฟต์แวร์โดยตัว update/patch ที่ถูกส่งมาเพื่อ update ซอฟต์แวร์นั้นถือเป็นความรับผิดชอบต่อความผิดพลาด (ในความเป็นจริงเราจะเรียกมันว่า ‘bug’) ของตนเองในการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาแล้วมีข้อผิดพลาด ต่าง ๆ จริงอยู่ผู้ใช้ก็ไม่ชอบ และบางครั้งยุ่งยากและกินเวลานานในการทำตามขั้นตอน update แต่นั้นหมายความถึงซอฟต์แวร์ ที่เราใช้มีความผิดพลาดน้อยลงในการใช้งานด้วย และเป็นความจริงอีกเช่นกันที่เราใช้ซอฟต์แวร์ แล้วมักจะมองว่าซอฟต์แวร์ที่จัดจำหน่ายนั้นต้องไร้ที่ติ และไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนี้อาจจะมีทั้งการใช้งานตามปกติแล้วเกิดปัญหา และความปลอดภัยในการใช้งานต่อซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอง ซึ่งในที่นี้ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ
  2. ปัญหาจากความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมด (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” )

ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ นั้นถือเป็นความรับผิดชอบในส่วนของข้อผิดพลาดจากความไม่สมบูรณ์ต่าง ๆ เช่น ใช้งานในบางฟังค์ชันแล้วค้าง, ใช้งานแล้วตัวซอฟต์แวร์ให้ผลออกมาไม่ตรงถามผู้ใช้ต้องการรวมถึงบางส่วนทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็น, ใช้งานไปสักพักแล้วแคช หรือเปิดตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวรตามแบบแผนของ Requestment ของคู่มือที่ให้มา เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุผลปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งมักจะได้รับการ update ของตัวซอฟต์แวร์ได้ภายหลักจากการผลิตหรือออกสู่ตลาดไปสัก 2 – 3 เดือนขึ้นอยู่กับข้อผิดพลาดนั้น ๆ ว่ามีปัญหาต่อการใช้งานโดยรวมมากน้อยเพียงใดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ถ้าท่านไม่ได้ใช้ฟังค์ชัน หรือไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดอาการแคชใด ๆ เลย ก็แทบจะไม่รู้สึกว่าท่านจะต้องไปทำอะไรกับมัน เพราะในเมื่อท่านสามารถใช้งานได้ดี ก็แทบจะสบายใจว่าได้ มันตอบสนองต่อการใช้งานได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนี้อยู่แล้วด้วย ซึ่งในส่วนนี้แนะนำว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้งานของผู้ใช้งานต้องชะงัก ก็ไม่มีเหตุจำเป็นต้องไป update แต่ประการใดเลย

ปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” ) ทั้งหมด ในส่วนนี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการ update ซึ่งในปัจจุบันความปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เลยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการ update นั้นทำด้วยความรวดเร็วมากทีเดียว เพราะไม่ว่าซอฟต์แวร์จะทำงานได้ดีเพียงใด และไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เลย ในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดการชะงักต่อการทำงาน  แต่ความปลอดภัยของการใช้งานหมายถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้นำมาใช้งานต่าง ๆ อยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม ,ดัดแปลง ,แก้ไข และเสียหาย จากการที่ถูกเจาะระบบผ่านทางข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธในการเจาะ และโจรกรรมแบบใดก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางการค้า หรือข้อมูลอันมีค่าต่าง ๆ ที่เก็บไว้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามที ปัญหานี้ถ้าผู้ใช้ไม่แก้ไข ก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ชะงัก หรือต้องแก้ไขกับอย่างขนานใหญ่เลยทีเดียว และมักจะรุนแรงกว่าความผิดพลาดของการใช้งานปกติหลายเท่าตัวทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการถูกโจมตีจากความผิดพลาดของโปรแกรมอย่าง Worm ที่ชื่อว่า Blaster และ Sasser ที่ใช้ช่องโหวด้านความปลอดภัยของ Service ในตัวระบบปฎิบัติการ Windows เอง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผู้ใช้ทั้ง ผู้ใช้ตามบ้าน และบริษัทต่าง ๆ มากมาย

ซึ่งส่วนมากแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจต่อการ update ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าความผิดพลาดต่าง ๆ จะอยู่ในตัวปัญหาในข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ก็ตาม เพราะผู้ใช้จะให้เหตุผลว่า “มันใช้งานได้ดีอยู่” ซึ่งคำกล่าวนี้จะออกจากปากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่า เพราะว่าไม่เห็นผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนเท่ากับซอฟต์แวร์ทำงานผิดพลาดปกติ

บิลเกต ได้เคยกล่าวไว้ว่า “การเปิดตัวสินค้าออกสู่ตลาดก่อนผู้อื่นด้วยสินค้าที่ดี และใช้งานได้ มักจะดีกว่าการเปิดตัวทีหลัง ด้วยสินค้าที่สมบูรณ์” ถ้ามองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นการกล่าวที่ปัดความรับผิดชอบลงไปยังผู้ใช้ แต่ในอีกนัยสำคัญคือ สินค้าที่ดี และใช้งานได้ นั้นหมายถึงการเปิดตัวสินค้าที่ตรงความต้องการและสนองงานที่ผู้ใช้ต้องการก่อน ความสมบูรณ์ของตัวซอฟต์แวร์เอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อสินค้าของไมโครซอฟต์ออกมามักจะมีตัว update/patch ออกตามมาในเวลาไม่นานนักอย่างช่วย Windows XP ออกมาใหม่ ๆ นั้นยังไม่พร้อมต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิด USB 2.0 เพราะยังไม่ลงตัวเรื่องมาตรฐานต่างๆ ทางไมโครซอฟต์เลยตัดสินใจเปิดตัว Windows XP ก่อนความพร้อมของ USB 2.0 แต่ต่อมาก็ได้รับการ update ในการใช้งานใน Service Pack 1 นั้นเอง นั้นคงจะบอกได้ถึงความกล่าวข้างต้นของบิลเกตได้เป็นอย่างดี

อยากจะทิ้งท้ายไว้นิดว่า “ไม่มีซอฟต์แวรไหนในโลกนี้จะสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะมาจากฝั่ง OpenSource หรือ CloseSource ก็ตามที ถ้าสิ่งไหนจำเป็นต้อง update เพื่อให้งานที่เราทำ และระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดทำงานได้อย่างไม่มีความผิดพลาด และปลอดภัย เราก็ควรจะ update มันซะ …..”

ท่าทางจะได้ตัดใจจาก IBM Thinkpad แล้วเหรอ …. T_T

ได้อ่านข่าว จาก ผู้จัดการออนไลน์ แล้วสะเทือนใจเป็นยิ่งนัก แทบจะร้องไห้เป็นภาษาไนจีเรีย …..

ลีโนโวผุดแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” เป็น “Lenovo ThinkPad”

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2548 14:00 น.

ผู้บริหารลีโนโวเปิดเผยกับสำนักข่าวซีเน็ต (Cnet) เกี่ยวกับแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่หว่างการตัดสินใจว่าจะเป็น “Lenovo ThinkPad” หรือ “ThinkPad” ส่วนหนึ่งเพราะลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM ThinkPad” ได้แค่ 3 ปีเท่านั้น จึงต้องรีบสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาทดแทนก่อนเวลานั้นจะมาถึง

“เราจะเริ่มแผนปรับเปลี่ยนแบรนด์ IBM ThinkPad ในเร็วๆนี้” สตีเฟ่น วอร์ด (Stephen Ward) ว่าที่ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทลีโนโว (Lenovo) ผู้ผลิตพีซียักษ์ใหญ่ของจีนที่เพิ่งซื้อกิจการพีซีของไอบีเอ็ม (IBM) ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

“เราจะทำตลาดแบรนด์ IBM ThinkPad ไปอีกระยะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ThinkPad หรือ Lenovo ThinkPad อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ”

นอกจากแบรนด์แล้ว สิ่งทึ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งก็คือปุ่ม “Access IBM” ที่อยู่ตรงแถวบนสุดของคีย์บอร์ดของเครื่องโน้ตบุ๊ค ThinkPad ซึ่งเป็นการต่อตรงถึงเซอร์วิสของไอบีเอ็มนั้น ก็จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ThinkVantage” เช่นกัน

ยิ่งกว่านั้น ลีโนโวยังฝันจะมีชื่ออยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย จากปัจจุบันที่เทรดอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นฮ่องกง

กระบวนการควบรวมกิจการระหว่างไอบีเอ็มกับลีโนโวจะเสร็จสิ้นลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งนี้ไอบีเอ็มตัดสินใจขายกิจการแผนกพีซีให้กับลีโนโวเมื่อเดือนธันวาคม 2004 ในมูลค่า 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 48,900 ล้านบาท) ภายใต้ข้อตกลง ลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM” แบรนด์ “Think” ได้เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นแบรนด์อื่นสำหรับการทำตลาดทั่วโลก และในช่วง 3 ปีนั้น ลีโนโวสามารถทำตลาดแบรนด์ “IBM” ได้ทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น

การรุกตลาดโลกภายใต้แบรนด์ “IBM” ของลีโนโว สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อยักษ์ใหญ่ของวงการอย่าง เอชพี (Hewlett-Packard; HP) ที่ปัจจุบันเป็นเบอร์ 1 ในสหรัฐอเมริกา

วอร์ดและผู้บริหารอื่นๆของทั้งสองบริษัทยืนยันว่า เทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ThinkPad จะไม่ต่ำลงอย่างแน่นอน ขณะที่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ลูกค้าของไอบีเอ็มจะเปลี่ยนไปหาคู่แข่งแน่นอน ไม่มากก็น้อย

Company Related Links:
Lenovo
IBM

ไม่น่าเลย IBM ท่าทางผมได้เข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของ Toshiba หรือ Apple PowerBook แน่นอนถ้าซื้อ Notebook เครื่องใหม่ เฮ้อ นี่กะว่าจะซื้อ IBM Thinkpad T Series เครื่องต่อไปซะหน่อย แต่ดันเจอเรื่องแบบนี้ คงต้องชะรอการตัดสินใจ และมองดูยี่ห้ออื่นต่อไปดีกว่า …… เฮ้อ คิดแล้วเศร้า …..