Respect my tax, Respect my vote

Tax เป็นหน้าที่ และสิทธิ์ที่รัฐเรียกเก็บต่อประชาชนตามกฎหมาย
Vote เป็นหน้าที่ และสิทธิ์ที่รัฐกำหนดให้กับประชาชนตามกฎหมาย

เมื่อผมเสีย Tax ผมก็ขอเรียกร้อง Vote ก็แฟร์ๆ ดี แต่แน่นอนว่ามีกลุ่มคนบางกลุ่มคิดว่าตัวเองเสีย Tax อยู่คนเดียว หรือกลุ่มเดียว แล้วจะมาบอกว่าคนอื่นห้าม Vote คือพอดีว่าผมก็เสีย Tax และผมต้องการ Vote!!! ถ้าคุณจะประเคนสิทธิ์ในการโหวตให้คนอื่น ก็ใช้ไปคนเดียว หรือกลุ่มเดียว ยังมีคนอีกมากมายที่เค้าไม่ยอม (แน่นอนการขายเสียงมีความผิดตามกฎหมาย)

การเสีย Tax และ Vat มีในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีสรรพสามิต หรือที่เราๆ เจอกันมากสุดคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังมีอีกหลายประเภทที่ไม่ได้กล่าวถึง โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกเก็บในรูปแบบที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ คุณเข้า 7-11 ก็ถือว่าจ่ายแล้ว ชาวนา ชาวไร่ คนงานก่อสร้างก็ต้องเสีย อย่าคิด อย่ามโนไปเองว่าเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วจะมาบอกว่าคนไม่อยู่ในระบบภาษีดังกล่าวจะไม่ได้เสียภาษี เป็นความเข้าใจที่อยู่บนข้อมูลผิดๆ อย่างร้ายแรงและดูถูกคนอื่นอย่างร้ายกาจ

ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว (รัฐบาลชุดนี้) หรือประกันราคาข้าว (รัฐบาลชุดที่แล้วที่ผมเลือกมาเอง) รวมไปถึงการอุดหนุนที่บิดเบือนสภาพตลาดที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง (ยาง, ข้าวโพด ฯลฯ) รวมไปถึงนโยบายรถคันแรก และการสร้างเขื่อนที่ทำการศึกษาไม่รอบด้าน แต่นั้นหมายความว่า วันและเวลาที่เมื่อเวลาที่ได้ใช้สิทธิ์ Vote จากการยุบสภา คุณก็ไปเลือกพรรคที่มีนโยบาย ยกเลิกบ้าๆ บอๆ หรือไม่สนับสนุนนโยบายด้านบนต่างหาก

ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยรู้สึกอยากไปเลือกตั้งเท่าครั้งนี้มาก่อน…

VAT 10% และ VAT 7%

เรื่อง VAT 10% เนี่ยในความเป็นจริงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 80 ของประเทศไทยเราประกาศให้ใช้ VAT 10% เป็นมาตราฐานนะครับ และเหตุที่มัน 7% เพราะพระราชกฤษฎีกาลด VAT มาอยู่ที่ 7% และทำกันมานานจนชินชาต่างหาก (กลัวฐานเสียงบ่น) และในความเป็นจริงมันต้องมีการต่ออายุ และช่วงเวลาเริ่มมีดราม่าว่าจะปล่อย VAT 10% มักจะเป็นช่วงก่อนที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้พระราชกฤษฎีกาลด VAT  ซึ่งจะอยู่ในช่วงสิ้นเดือนกันยายน ซึ่งหากไม่ออกพระราชกฤษฎีกาลด VAT ก็จะทำให้กลับไปใช้ VAT 10% ตามเดิม หากไม่มีการต่ออายุ

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คิดรวมๆ กัน 7% ประกอบด้วย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” รวมกับ “ภาษีธุรกิจเฉพาะของราชการส่วนท้องถิ่น”

โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ตอนนี้เราคิดที่ 6.3% และข้อกำหนดว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะของราชการส่วนท้องถิ่นจะคิดจากอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ฉะนั้นคือ 0.7% จึงรวมทั้งสองส่วนเป็น 6.3 + 0.7 = 7%

ข้อมูลอ้างอิง
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๔๙) พ.ศ. ๒๕๕๕
(มีผล ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗)
http://www.rd.go.th/publish/46840.0.html

หมวด ๔ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน ๔ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
http://www.rd.go.th/publish/5206.0.html

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอัตราร้อยละ ๗
http://www.rd.go.th/publish/35772.0.html

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่จัดเก็บภาษีในการซื้อแอพบนมือถือ

อย่างแรกคือ ของซื้อ-ของขาย ซึ่งมีธุรกรรมจัดเก็บผลประโยชน์อย่างชัดเจนโดยทั่วไปยังไงก็ต้องจัดเก็บภาษีครับ ตัวอย่างข้อกำหนด และการตั้งค่าเกี่ยวกับภาษีที่มีอยู่ในระบบซื้อขายแอพในแต่ละบริษัทผู้ให้บริการอยู่มานานแล้ว ซึ่งได้แก่

จะเห็นได้ว่า อย่าง Google Play ก็มีอ้างอิงว่าประเทศใดบ้างที่จัดเก็บภาษีโหลดแอพ อย่างชัดเจน (ของผู้ให้บริการซื้อขายแอพอื่นๆ ไม่มีระบุไม่ใช่ว่าไม่มี แต่อาจจะเพื่อง่ายต่อการทำให้เอกสารล่าสุดเสมอ) ส่วนตัวมองว่าอย่ามโนไปเองว่าเราเป็นประเทศแรกที่จัดเก็บ ยังมีอีกนับสิบประเทศที่นำหน้าไปก่อนเราแล้ว ทั้ง Google, Apple และ Microsoft ต่างมีข้อกำหนดเรื่องนี้รองรับไว้อยู่นานแล้ว

ส่วนประเด็นว่าผู้บริหารประเทศจะใช้ภาษียังไง ถูกใจเราหรือไม่ และได้ประโยชน์อย่างไร อย่าเอามาปนกันเวลารัฐเรียกเก็บภาษีกลุ่มสินค้าใหม่ๆ เพราะสรรพากรมีหน้าที่เก็บภาษีให้ได้มากที่สุดบนความเป็นไปได้ (เก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม) การบ่นว่ารัฐบาลโกงแล้วไม่เสียภาษีไม่ใช่การบอกว่าเราทำถูกต้องครับ