Review IBM (Lenovo) Thinkpad Carry Case Backpack

วันนี้ผมจะมา Review กระเป๋าใส่โน๊ตบุ๊กใส่ฝันของผมเลย คือ IBM (Lenovo) Thinkpad Carry Case Backpack ซึ่งหมายตามันมานานมาก โดยในการ Review จากเว็บเมืองนอกว่าดีมาก ๆ และใส่ของได้เยอะด้วย (ออกแบบโดย IBM Thinkpad Research ที่ญี่ปุ่น) โดยสั่งตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2006 โดยเป็นสินค้าแบบ By Order ซึ่งต้องจ่ายเงินและรอสินค้าประมาณ 3 – 4 อาทิตย์ เพราะไม่มีการสต็อกสินค้าไว้ในคลังสินค้า (คาดว่าเพราะมันขายยากเนื่องจากราคามันแพง) โดยสั่งกับ Shop4Thai และได้รับวันเสารที่ผ่านมานี่เองครับ ใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ ทีเดียว (รอได้ของดีไม่มีปัญหา ;) ) วันนี้เลยเอามา Review ประเดิมการย้าย Server ใหม่เสียเลย ฮ่า ….

ข้อมูลเบื้องต้น

  • IBM (Lenovo) ThinkPad Carrying Case – Backpack
  • P/N : 73P3599
  • น้ำหนัก : 2.8 lbs (1.27kg)
  • วัสดุ : Ballistic Nylon (วัสดุกันน้ำได้ดี)
  • ขนาดกระเป๋า (สูง x กว้าง x หนา) : 48.9 x 38.1 x 22.9 cm
  • ขนาดช่องใส่โน็ตบุ๊ก (สูง x กว้าง x หนา) : 33.0 x 28.45 x 6.0 cm
  • ระบบกันสะเทื่อนแบบ SafePORT Air Cushion System จาก Targus ในช่องใส่โน็ตบุ๊ก
  • ไฟสีน้ำเงินขนาดเล็กภายใน
  • การรับประกันแบบ Limited lifetime warranty จาก Targus และ IBM (Lenovo)
  • ช่องที่เป็นซองใส่ CD/DVD ทั้งหมด 7 ช่อง
  • สี : ภายนอกสีดำ และช่องใส่โน็ตบุ๊กเป็นสีน้ำเงิน
  • ราคา 3,340 บาท ( + ค่าส่ง + vat 7% = 3,700 บาท)

ส่งมาในกล่องขนาดใหญ่โดยส่งมาใันถึงไทยในวันที่ 28 สิงหาคม 2006 แสดงว่าเป็นสินค้าสั่งโดยตรงจริง ๆ เพราะบนกล่องมีวันที่กำกับวันที่ส่งและสายการบิน รวมไปถึงบริษัทขนส่งด้วย ซึ่งต้องเข้าด่านเพื่อชำระภาษี ฯลฯ รวมถึงต้องเข้าคลังสินค้าของ Dealer ก่อน โดยส่งตรงจาก Lenovo ประเทศจีน มาถึง Lenovo Thailand และส่งมายัง Ingram ต่อไป แล้วจึงส่งมาที่เว็บที่ผมสั่งก่อนที่จะส่งมาหาผม (หลายทอดจริง ๆ สั่งสินค้าคราวนี้ได้ใจมาก ว่ามันเดินทางไกลจริง ๆ -_-‘)

รายละเอียดบนหีบห่อที่ใส่กระเป๋ามาครับ โดยจะบอกว่ามันบรรจุลงหีบห่อในวันที่ 20 July 2006 นี้เอง โดยผลิตที่จีนครับ (ฐานการผลิตใหญ่ของ IBM เก่า ก่อนจะเป็นของ Lenovo ในคราวต่อมา)


ด้านหน้า ตัวซิปต่าง ๆ ทำมาเพื่อกันน้ำโดยเฉพาะและซิปด้านหน้ามีปุ่มสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์เล็ก ๆ ว่าเป็นกระเป๋าของ Thinkpad ครับ


ด้านหลัง มีการบุผ้าสำหรับระบายอากาศไม่ให้อับเกินไปครับ


ด้านบน จะเห็นว่าที่หิ้วกระเป๋านั้นจะติดกับสายสะพายเลย ซึ่งด้านซ้ายและขวาจะมีสายรั้งสายสะพายเสริมมาด้วย เพื่อช่วยไม่ให้สายสะพายรับน้ำหนักเพียงอย่างเดียว (ต้องปรับสักหน่อยให้ช่วยกันรับน้ำหน้กครับตัวสายสะพายจะได้ไม่ขาดเร็วเนื่องจากทำงานหนักครับ)

ด้านล่างมีแผ่นยางรองรับสำหรับวางกระเป๋าและทำให้กระเป๋าตั้งตรงได้โดยไม่ต้องพิงกับเสาหรือหลักอื่น ๆ ครับ


ป้ายชื่อ หลายคนคงคิดว่ามีไว้โชว์อย่างเดียว แต่มันแกะได้ครับ ด้านในเป็นที่ใส่นามบัตร หรือบัตรสำหรับด่านรับกระเป๋าตามสนามบินต่าง ๆ ได้ครับ


ช่องใส่ของด้านหน้าสุดครับ มีขนาดพื้นที่ไม่มาก เหมาะสำหรับใส่ของเล็ก ๆ น้อยๆ จำพวกผ้าอะไรพวกนี้ครับ อ่อ ลืมบอกไปครับว่า ช่องใส่ทุกช่องกันน้ำหมดครับ


ช่องที่ 2 ครับ เป็นช่องสำหรับใส่หนังสือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เยอะมากครับ เราจะเห็นป้าย IBM เล็ก ๆ นั่นเป็นที่สำหรับคล้องกุญแจ และที่ห้อยจากป้ายเป็นไฟฉายขนาดเล็กครับ


ไฟฉายเป็นสีน้ำเงินแบบนี้ครับ โดยตัวไฟฉายจะยึดกับตัวคล้องกุญแจแต่มีเอ็นเส้นเล็็กแบบยืดออกมาได้เพื่อสะดวกในการใช้งานในที่อื่น ๆ ได้ด้วย (คล้ายๆ กับเมาส์ที่มีที่เก็บสายที่เป็นตลับ)


มีกระเป๋าเล็ก ๆ ใส่มาให้สำหรับใส่พวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ผมเอามาใส่ Adapter ของโน๊ตบุ๊ก ครับ


ด้านในจะมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่พวกของเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายช่องมาก ๆ ผมเอามาใส่พวกสายไฟ และเหล่าอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มากมายได้หมดเลย

ด้านซ้ายมีช่องสำหรับเอาสายหูฟังออกมาได้โดยมียางกันน้ำไม่ให้น้ำเข้าไปภายในกระเป๋าครับ


ช่องต่อมาเป็นที่สำหรับใส่โน็ตบุ๊กครับ มีส่วนสำหรับใส่อุปกรณ์อีกหลายช่องครับ


ซองใส่ CD/DVD ทั้งหมด 7 ช่องครับ

ช่องใส่อุปกรณ์สายไฟครับ เล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ

ช่องใส่โน็ตบุ๊ก โดยมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่โน็ตบุ๊กจอ 12.1 นิ้วด้วยครับ เพื่อให้มันพอเหมาะกับขนาดของโน็ตบุ๊กในแต่ละแบบครับ (มีช่อง 2 ขนาดคือ 14.1/15 นิ้ว และ 12.1 นิ้ว ครับ) เพื่อให้มันไม่สะเทือนครับ โดยที่สาบรัดซึ่งยึดไม่ให้ตัวโน็ตบุ๊กหลุดออกมานั้นสามารถดึงออกมาจากที่มันยึดอยู่ได้แล้วปรับขึ้นลงได้ เพื่อให้รองรับกับขนาดของโน็ตบุ๊กได้หลากหลายระดับ




แผ่น SafePORT Air Cushion System ที่เป็นแผ่นรองรับโน็ตบุ๊กครับ โดนมันสามารถกันกระแทกได้ในแนวตั้งครับ โดยใช้ซับแรง g จากการกระแทกให้ได้รับแรง g น้อยลงครับ ซึ่งลดได้ประมาณ 20 – 40 % ขึ้นอยู่กับแนว โดยอยู่ในระดับไม่เกิน 1.5 เมตรและลงมาในแนวตั้งของกระเป๋าด้วย แต่ก็ช่วยป้องกันได้บ้าง ดีว่าไม่ได้ป้องกันเลยครับ


ด้านข้างทั้งสองข้าง เป็นที่ใส่ขวดน้ำครับ


ด้านหลังบริเวณที่แนบกันแผ่นหลังเรายังมีช่องสำหรับใส่ของได้อีกพวกกระเป๋าตัง หรือเอกสารเล็ก ๆ น้อยครับ

และตามมาตรฐานกระเป๋าทั่วไปก็ต้องมีกระเป๋าเล็ก ๆ สำหรับใส่โทรศัพท์มือถือครับ

คงต้องรองใช้ดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่เท่าที่ได้สะพายและเอาไปใช้งานวันนี้ก็สะดวกและกระชับกับการสะพายครับ ;)

ซื้อ Hard Drive ใหม่เสียที หลังจากอึดอัดมานาน

ด้วยเหตุที่ว่า Notebook ผมนั้นมันมีพื้นที่ใช้ส่อยแค่ 40GB และถูกลดลงด้วยหลักเลขฐานสองลงไปอีก (อ่านดูแล้วกัน : พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน ?? มันคือพื้นที่ผีอยู่ หรือว่ามันหายไปจริงๆ !!! ) ซึ่งมันจะเหลือให้ใช้จริงๆ อยู่ประมาณ 38.xx GB เท่านั้น ทำให้อึดอัดมาก แค่ลง Operating System และ Software ต่าง ๆ ก็ใช้พื้นที่ไปแล้วกว่า 16 – 18GB ซึ่งนี้ยังไม่รวมไฟล์เอกสารที่มากมาย ที่ซัดไปเหลือให้ได้ว่าง ๆ เอาไว้วิ่งเล่น และ Defragmemt อีกนิดหน่อย ซึ่งน้อยมาก ๆ จนต้องไปหาซื้อ Hard Drive ใหม่สักที ด้วยราคาที่ถูกลงมากสำหรับความจุ 80GB ทำให้ผมไปคว้ามาซะเลยในราคาค่าตัว 4,000 ถ้วน (ราคาต่างจังหวัดนะ) ซึ่งแพงกว่าแถวกรุงเทพฯ ตามห้างดังต่าง ๆ อยู่ไม่น่าเกิน 300 บาท (คิดซะว่าค่ารถไปกลับยังไม่ถึงเลย ถือว่า ok แล้วกัน) โดยที่ซื้อคือ Seagate® Momentus 5400.3 ST980815A 5,400rpm 80GB ซึ่งเอามาแทนที่ Hitachi® Travelstar HTS424040M9AT00 4,200rpm 40GB ที่ติดมากับ IBM Thinkpad R40 ตัวเก่งของผม ซึ่งการเปลี่ยนก็ง่าย ๆ แค่ถอดน็อต 1 ตัวแล้วก็เลื่อนมันออกมา ขันน็อตที่ยึดอีก 4 ตัว แล้วก็เปลี่ยนเสร็จก็เอาตัวใหม่ใส่แล้วก็ทำขั้นตอนย้อนกลับก็จบ ง่ายมาก ๆ ไม่ยาก แต่ที่ยากคือการเอาข้อมูลใน Hard Drive ตัวเก่ามาใส่ตัวใหม่ ซึ่งคงต้องอาศัย software อย่าง Norton Ghost มาช่วยเล็กน้อย ตามวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากสำนักประกอบเครื่องตอน ม. 4-6 ที่โรงเรียนเก่า (ประกอบเครื่องและลงโปรแกรม 250 เครื่องภายใน 5 วัน ก็ใช้ Ghost เนี่ยหล่ะเป็นคำตอบ อิๆๆๆ) ซึ่งก้ใช้เวลาอีก 3 – 4 ชั่วโมงในการย้ายข้อมูล รวมไปถึงการ update MFT (Master File Table) ของ File System ของ Windows อีก ครึ่งชั่วโมง โดยใช้การ chkdsk c:/f เพื่อทำการ update MFT เพราะไม่งั้น windows มันจะเอ้อๆ และช้าๆ เพราะ MFT ใน Hard Drive ตัวเก่า กับ ตัวใหม่นั้นมีการอ้างอิงที่มีการคลาดเคลื่อนกันได้ โดยเฉพาะถ้าขนาด Partition ที่มีไม่เท่ากัน ซึ่งอย่างของผม Drive C ที่เก็บ OS ไว้นั้น ตัวเก่ามีขนาด 20GB แต่ตัวใหม่มีขนาด 30GB ทำให้มีพื้นที่บางส่วนที่ MFT ไม่ครอบคลุมแน่นอน โดยสักเกตุได้ง่ายมากก่อนทำ chkdsk c: เฉยๆ มันจะขึ้น MFT error ซึ่งต้องทำการ fix ในส่วนของ MFT ด้วยคำสั่ง chkdsk c:/f ก่อน แล้วถึงจะหาย error ซึ่งจริง ๆ ต้องทำทุกๆ Drive เลยทีเดียว และคราวนี้ก็สมใจสักที มีพื้นที่โล่งๆ ไว้เก็บงานต่าง ๆ ได้มากขึ้น แถมเพลงอีกด้วย

ส่วนตัวเก่านั้นก็ไปซื้อ External Box 2.5" มาใส่ในราคา 190 บาท (ราคาต่างจังหวัด)

รูปต่าง ๆ ถ่ายด้วย Sony Ericsson W700i ย่อรูปเหลือขนาดที่ ~500 x ~500 Pixel

เพิ่มแรมให้น้อง Hoffmann จาก 512MB -> 768MB อะไรๆ ก็เร็วขึ้น

หนังจากที่น้อง Hoffmann (IBM Thinkpad R40 ตัวเก่งนั้นแหละ) ของผมอืดๆ มาเพราะโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในปัจจุบันมันช่างใหญ่โตขึ้นใหญ่ขึ้นมาก มันเลยทำให้แรมความจุ 512 MB ที่มากมายในสมัยเมื่อ 2 ปีก่อนเล็กลงไปถนัดตา ซึ่งในตอนนั้นเพิ่มจาก 256MB ที่ติดมากับเครื่องเป็น 512MB โดยการเพิ่มแรมไปอีกแถวทำให้การ อัฟเกรดครั้งนี้จำใจต้องถอดออกไปหนึ่งตัว และการแรมใหม่มาใส่แทนอีกครั้ง ในครั้งนี้โดนใจมากกับราคาแรมโดย Kingston ValueRam ความจุ 512MB PC2700 Bus 333MHz มีราคาค่าตัวเพียงแค่ 2,5xx บาทเท่านั้น (ราคาอาจะแตกต่างตามพื้นที่ที่ท่านซื้อ +- ไม่เกิน 200 บาท) เลยจัดมาตัวนึง ในร้านที่ไปซื้อไม่มี 1GB ขายเลยเซงนิดๆ แต่ไม่เป็นไร ใช้ไปก่อน เพราะว่าแค่นี้คงพอใช้ในตอนนี้อยู่แล้ว ส่วน 1GB คาดว่าราคาไม่น่าจะเกิน 4,9xx นะ อันนี้ประมาณเอา

ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับ Kingston ValueRam กับ Kingston ธรรมดา ไม่เหมือนกันนะครับ

Kingston ValueRam เป็นแรมที่ผลิตมาในรูปแบบของ Memory Upgrade และ Compatible กับทุกๆผู้ผลิต PC ต่างๆ

ส่วน Kingston ธรรมดานั้นเป็นแรมที่ผลิตมาเพื่อใช้ในเฉพาะเจาะจงลงไปในแต่ละผู้ผลิต เช่น Memory for IBM Thinkpad R Series xxxx Notebook Compatible by Kingston นั้นหมายถึงใช้ได้กับ IBM Thinkpad รุ่น R และหมายเลขรุ่นต่างๆ ที่ระบุไว้อีกที

ซึ่งทั้งสองแบบแตกต่างกันที่ขั้นตอนการ QC & Tester ครับ

Kingston ValueRam จะทดสอบมาให้ตรงตามหมายฐานอุตสาหกรรม และตรงตาม Specification ของทุกๆ มาตรฐานสากล โดยไม่อิงไปในยี่ห้อผู้ผลิตใดๆ เลย

Kingston จะทำตามขั้นตอนเหมือน Kingston ValueRam เกือบทุกอย่าง เพียงแต่จะทำการทดสอบกับเครื่องรุ่นนั้นๆ เพื่อเฉพาะเจาะจงลงไปอีก เช่นใส่กับ IBM Thinkpad R Series ก็จะทดสอบกับเครื่องรุ่นนั้น ถ้าผ่านตามมาตรฐาน และใช้งานได้ดี ไม่มีแฮงและข้อผิดพลาด ก็จะเอาแรมนั้นๆ มาใส่หมายเลขรุ่น เฉพาะนั้นๆ แทน ซึ่งในส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า เพราะต้องนำแรม ต้นแบบไปให้แต่ละยี่ห้อทดสอบด้วย ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน

ซึ่ง Kingston ValueRam นั้นถ้าใช้ในเครื่องประกอบเองแล้วจะไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่าผลิตมากับทุกๆ เครื่อง แต่ถ้าใช้กับเครื่อง Brandname ต่างๆ รวมถึง Notebook แล้วจะมีการเลือกแรมในการประกอบลงไปใหม่ ด้วย หรือการ Upgrade นั้นเองครับ

ท่าทางจะได้ตัดใจจาก IBM Thinkpad แล้วเหรอ …. T_T

ได้อ่านข่าว จาก ผู้จัดการออนไลน์ แล้วสะเทือนใจเป็นยิ่งนัก แทบจะร้องไห้เป็นภาษาไนจีเรีย …..

ลีโนโวผุดแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” เป็น “Lenovo ThinkPad”

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2548 14:00 น.

ผู้บริหารลีโนโวเปิดเผยกับสำนักข่าวซีเน็ต (Cnet) เกี่ยวกับแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่หว่างการตัดสินใจว่าจะเป็น “Lenovo ThinkPad” หรือ “ThinkPad” ส่วนหนึ่งเพราะลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM ThinkPad” ได้แค่ 3 ปีเท่านั้น จึงต้องรีบสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาทดแทนก่อนเวลานั้นจะมาถึง

“เราจะเริ่มแผนปรับเปลี่ยนแบรนด์ IBM ThinkPad ในเร็วๆนี้” สตีเฟ่น วอร์ด (Stephen Ward) ว่าที่ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทลีโนโว (Lenovo) ผู้ผลิตพีซียักษ์ใหญ่ของจีนที่เพิ่งซื้อกิจการพีซีของไอบีเอ็ม (IBM) ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

“เราจะทำตลาดแบรนด์ IBM ThinkPad ไปอีกระยะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ThinkPad หรือ Lenovo ThinkPad อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ”

นอกจากแบรนด์แล้ว สิ่งทึ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งก็คือปุ่ม “Access IBM” ที่อยู่ตรงแถวบนสุดของคีย์บอร์ดของเครื่องโน้ตบุ๊ค ThinkPad ซึ่งเป็นการต่อตรงถึงเซอร์วิสของไอบีเอ็มนั้น ก็จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ThinkVantage” เช่นกัน

ยิ่งกว่านั้น ลีโนโวยังฝันจะมีชื่ออยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย จากปัจจุบันที่เทรดอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นฮ่องกง

กระบวนการควบรวมกิจการระหว่างไอบีเอ็มกับลีโนโวจะเสร็จสิ้นลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งนี้ไอบีเอ็มตัดสินใจขายกิจการแผนกพีซีให้กับลีโนโวเมื่อเดือนธันวาคม 2004 ในมูลค่า 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 48,900 ล้านบาท) ภายใต้ข้อตกลง ลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM” แบรนด์ “Think” ได้เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นแบรนด์อื่นสำหรับการทำตลาดทั่วโลก และในช่วง 3 ปีนั้น ลีโนโวสามารถทำตลาดแบรนด์ “IBM” ได้ทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น

การรุกตลาดโลกภายใต้แบรนด์ “IBM” ของลีโนโว สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อยักษ์ใหญ่ของวงการอย่าง เอชพี (Hewlett-Packard; HP) ที่ปัจจุบันเป็นเบอร์ 1 ในสหรัฐอเมริกา

วอร์ดและผู้บริหารอื่นๆของทั้งสองบริษัทยืนยันว่า เทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ThinkPad จะไม่ต่ำลงอย่างแน่นอน ขณะที่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ลูกค้าของไอบีเอ็มจะเปลี่ยนไปหาคู่แข่งแน่นอน ไม่มากก็น้อย

Company Related Links:
Lenovo
IBM

ไม่น่าเลย IBM ท่าทางผมได้เข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของ Toshiba หรือ Apple PowerBook แน่นอนถ้าซื้อ Notebook เครื่องใหม่ เฮ้อ นี่กะว่าจะซื้อ IBM Thinkpad T Series เครื่องต่อไปซะหน่อย แต่ดันเจอเรื่องแบบนี้ คงต้องชะรอการตัดสินใจ และมองดูยี่ห้ออื่นต่อไปดีกว่า …… เฮ้อ คิดแล้วเศร้า …..

การชาร์จแบตเตอร์รี่ Li-Ion ที่ถูกต้อง

แบตเตอร์รี่แบบ Li-Ion และรวมถึงแบตฯรุ่นใหม่ Li-Polymer ด้วย นั้นจะ นับรอบการชาร์จ (Cycle) ของแบตฯ ของตัวมันเอง ซึ่งรอบการชาร์จของแบต Li-Ion คือ ชาร์จรวมกันแล้ว 85 – 95 % ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย) ถึงจะนับเป็น 1 รอบ ไม่ใช่จำนวนครั้งในการชาร์จ อย่างที่เข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น คุณชาร์จไปครั้งแรก ใช้ไปแค่ 20% ซึ่งแบตของคุณในตอนนั้นเหลือ 80% คุณก็ชาร์จไฟเข้าไปใหม่ คุณจะสามารถทำอย่างงี้ไป 5 ครั้ง ถึงจะ นับ 1 รอบ การชาร์จ ผมก็อปมาให้ดูจาก Help ของ Notebook IBM ครับ A cycle is defined as each time the battery discharges a total of 85% or more and is recharged it counts as one cycle. ผมใช้ไปสัก 20 – 30% แล้วชาร์จ ทำแบบนี้ไปราว 3 ครั้ง ตัวเลข Cycle จึงขึ้นมา 1 ครับ (แบตบ้าอะไรก็ไม่รู้ นับจำนวน Cycle ตัวเองได้ด้วย) แต่ถ้าเป็นแบต NiCd หรือ NiMH ก็นับจำนวนครั้งที่ชาร์จเลย ดูได้ดังภาพด้านล่างครับ

ดูที่ cycle count นะครับ ผมเสียบแบตเข้าออกไม่ต่ำกว่า 200 รอบแล้ว นับจากใช้ notebook ibm ที่ใช้แบต li-ion มา แต่จำนวน cycle count ยังอยู่ที่ 39 อยู่เลยเพราะว่าผมเอาไปเรียนไม่เท่าไหร่กับใช้แบตบ้าง เสียบแบต บาง ไม่เสียบบ้างครับ

ดูอีกอันนะครับ คงยืนยันได้เป็นอย่างดีครับ ยี่ห้อ ibm คงยืนยันได้ดีนะครับ แถมเป็น li-ion ของ panasonic ที่เป็นฐานการผลิตแบตแบบ oem ใหญ่ให้กับแบตหลายๆ ยี่ห้อรวมทั้ง sony ด้วยครับ ……. ดังภาพด้านล่างสองภาพครับ

คงต้องบอกว่าตัวแบต Li-ion นั้นระหว่าง Notebook หรือ มือถือ นั้นเหมือนกัน ไม่ต้องบอกก็ดูจะรู้ครับเพราะว่ากรรมวิธีไม่ได้แตกต่างกันเลย มันก็แบบเดียวกันครับ นั้นหมายความว่าการนับย่อมเหมือนกันครับ สารประกอบ และธาตุที่เอามาทำแบตนั้นชนิดเดียวกันโครงสร้างเหมือนกัน ทุกส่วนครับ

หลักการทำงานและสารประกอบทางเคมีครับ

Lithium is the lightest metallic element and generates a high voltage vs. the standard hydrogen electrode (i.e. -3.045 V). Early attempts used lithium metal in combination with a transition metal oxide or sulphide (e.g. Li/MoS2 the Molicell) intercalation compound.
These cells, although exhibiting the high energy densities expected, suffered from two main problems, caused mainly by the lithium anode: limited cycle life and poor safety.

The lithium anode caused both the poor safety and limited cycle life. During repeated discharge and charge cycles, the lithium stripping and replatingprocess was not 100% efficient and this created high surface area, particulate lithium which gradually consumes the lithium metal foil anode. The presence of particulate lithium caused increased internal resistance that limits the cycle life.

In addition, and more importantly, the particulate lithium creates major safety problems and renders the cell unsafe.

The Solution
The solution to the so-called ‘lithium metal’ problem was to replace the metal anode with a second intercalation compound which can reversibly intercalate Li+. This material is carbon and this is now used as the active anode material in all commercially available Li-ion cells. Since the anode is carbon, the active material of the cathode must be a compound which already contains Li+ and moreover the Li+ must be easily removed without a change in its molecular (crystal) structure.
There are presently two types of compounds which meet this requirement: these are the layered transition metal oxides LiMO2 (where M = Co, Ni or Mn) – examples include LiCoO2 (lithium cobaltite) and LiNiO2 (lithium nickelite) – and the spinel material LiMn2O4.

The use of LiCoO2, LiNiO2 and mixed compounds of such as LiNi1-xCoxO2 is protected by several patents owned by AEA Technology.
All the major companies which manufacture Li-ion cells have found that LiCoO2 offers superior reversibility, discharge capacity, charge/discharge efficiency and have thus adopted it as the cathode material of choice for small cells used in portable electronics.
As Li-ion cells are charged and discharged Li+ ions are transported between their carbon-based anode and their LiCoO2-based cathode, with electrons exchanged as a result of lithium ion insertion (doping) and of lithium ion extraction (undoping).

During charging, the cathode is undoped (i.e. the lithium is removed), and the anode, which consist of carbon with a layered structure are doped (i.e. lithium ions are inserted).

During discharge (when electrical energy is spontaneously released) lithium is removed from the carbon layers of the anode and inserted into the layers of the cathode compound. When Li-ion cells are first charged, lithium ions are transferred from the layers of the lithium cobaltite to the carbon material which forms the anode.

This is illustrated below.



initial charging
LiCoO2 + 6C –> Li1-xCoO2 + LixC6
Subsequent discharge and charge reactions are then based on the motion of lithium ions between anode and cathode.
discharging
Li1-xCoO2 + LixC <—-> Li1-x+dxCoO2 + Lix-dxC
charging
In order to achieve a high energy density, the capacity of the carbon anode must be as high as possible. To this end, carbon materials with large lithium ion doping capacities are required and the stoichiometric LiC6 lithium-graphite interlated compound composition (corresponding to 372 mA h g-1) were selected.

Anode Technology
At present, there are three kinds of carbon which are used in the anode of Li-ion cells:

Graphite types – highly structured
Coke types – less structured but easily transformed into graphite by heating
Non-graphitizable (hard) carbon types – highly disordered.
Of these carbon types Sony Energytec originally adopted a non-graphitizable (hard) carbon for use in the anode.
In contrast, the other leading Li-ion cell manufacturers such as Sanyo, Matushita (Panasonic) and Japan Storage Battery Co., Ltd. (JSB) have adopted a graphitic type carbon for the anode. Although the stored capacity of both graphite and hard carbon cells is similar, the average discharge voltage of the graphite cell (3.7 V) is slightly higher than for hard carbon (3.6 V). The delivered energy of the graphite technology is therefore higher for the same cell capacity due to its flatter discharge characteristic.
Recently, non-carbon active anode materials consisting of amorphous tin composite oxide (ATCO) materials have been used by Fujifilm Celltec. These materials have advantages in bulk density and reversible specific capacity compared to graphite. However, the major disadvantage with these materials is a large irreversible capacity that has to date limited their successful introduction in to commercial Li-ion products.

อ้างอิง : http://www.agmbat.co.uk/liiontechnology.html

ซึ่งถ้าปิดหรือเปิดเครื่องหรืออุปกรณ์ระหว่างชาร์จนั้นอันไหนได้ผลดีกว่ากัน อันนี้ผมไม่ขอสรุปเพราะว่ายังไม่มีการทดสอบและทดลองที่แน่ชัดครับ อันนี้คงแล้วแต่สะดวกมากกว่าครับ แล้วอีกอย่างถึงแม้แบตเราจะไม่ได้ทำการชาร์จเลยเป็นเวลานานก็ตามแบตก็จะเสื่อมไปเองภายในเวลา 3 – 5 ปีครับ อันเนื่องมากจากการทำงานของสารเคมีภายในที่หมดคุณภาพไปครับ หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของสารประกอบและกรรมวิธีของมันเองมากกว่าครับ อันนี้ผมไม่ขอตอบแน่ชัดเพราะว่ายังไม่มีรายงานใดๆ ออกมาครับจึงสรุปได้ไม่เต็มปากครับ แต่ที่สังเกตก็เป็นเช่นนั้นครับ ใช้ไม่ใช้ก็มีอายุเท่ากันแต่ใช้แล้วเนี่ยมันจะสั้นกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น

  1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
  2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
  3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
  4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุดได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
  5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
  6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
  7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงมากที่สุดในแบตที่ชาร์จใหม่ได้ครับ …………… ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ …………


[Update 22/03/2004 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

[Update 2/12/2006 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]