Review – Targus Wireless Mouse Blue Trace (AMW50AP)

ผมได้เมาส์ตัวนี้มาใช้งานสัก 3 วันเห็นจะได้ ส่วนตัวแล้วนั้นใช้ Microsoft Wireless Mouse 2000 (Blue Track) อยู่ก่อนแล้ว จึงคุ้นชินกับ Blue LED Tracking เป็นอย่างดี ประกอบกับจากประสบการณ์ใช้ Optical Mouse มาตั้งแต่ยุดแรกๆ ตั้งแต่ Red LED ความละเอียดเพียง 400dpi จนมาถึง 800dpi ตอน Microsoft Notebook Wireless Mouse ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับจอภาพขนาด 1024×768 pixel ในสมัยก่อน สัก 7-8 ปีที่แล้ว จนมาถึง Laser Tracking เมื่อสัก 4 ปีก่อน ตอนสมัย Microsoft Arc Mouse และสักเกือบๆ 1 ปีสำหรับ Blue Tracking

P1000358 IMAG0754

DSC_5453 

จาก Red LED Tracking ในสมัยก่อนนั้น จะเน้นเรื่องความแม่นยำบนพื้นฐานเดิมๆ จาก Ball Tracking มากกว่าการทำงานบนพื้นผิวที่มีสภาพแย่ๆ หรือไม่ใช้แผ่นรองเมาส์ แม้ว่าจะมีการพูดถึงว่ามันทำงานได้เกือบทุกสภาพพื้นผิว แต่พออยู่บนพื้นผิวมันๆ ก็ทำงานได้แย่เอามากๆ เพราะมันจับพื้นผิวว่าทำงานบนตำแหน่งใดๆ ไม่ได้เลย เพราะแสงมันกระเจิงหลุดออกจาก sensor ไม่เป็นระเบียบ

ประกอบกับด้วย Red LED Tracking นั้นประสิทธิภาพนั้นจำกัดอยู่ที่ 3,000 dpi แต่ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่เคยพอ จึงได้พัฒนามาเป็น Laser Tracking ใช้การยิงแสง Laser แทนแสง Red LED และอาศัยการสะท้อนของพื้นผิวให้วิ่งเข้า CMOS Sensor ทำให้เราได้ Mouse ที่ละเอียดขึ้นถึง 6,000dpi แต่ข้อเสียก็คือต้องอาศัยการสะท้อนแสงที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ยังคงมีปัญหากับพื้นผิวที่แย่ๆ และสกปรก เพราะแสง Laser มันสะท้อนกลับมาได้ไม่หมดและไม่ต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง แม้จะทำงานได้บนพื้นผิวต่างๆ นอกจากแผ่นรองเมาส์ได้ดีขึ้นมากก็ตาม

จึงความคิดในการขจัดความไม่ต่อเนื่องของการรับภาพที่ได้จากแสง Laser ออกไปด้วยการแก้ปัญหาจากการใส่แสงต่อเนื่องลงไปเพื่อให้เกิดการสะท้อนภาพกลับมาแทนเพื่อชดเชยความไม่ต่อเนื่องของ Laser แต่ด้วยข้อจำกัดในการทำงานที่ละเอียดของ  Red LED ทำให้มีความคิดที่จะใช้แสงที่มีความเสถียรในการจับภาพที่ดีกว่าเข้ามา จึงเอาแนวคิดทั้งสองอย่างมาทำงานร่วมกัน คือนำเอา Blue LED (LED สีน้ำเงิน) ทำงานร่วมกับ Laser Tracking (Diffuse Beam) บน Specular Optics ที่จะยิงแสงทั้งสองรูปแบบสะท้อนพื้นผิวเพื่อให้ CMOS sensor รับภาพด้วยแสงสีน้ำเงินที่สะท้อนพื้นผิวได้ดีกว่า ทำงานร่วมกับแสง Laser เป็นแบบไม่ต่อเนื่องมาผสม ทำให้ทำงานได้บนพื้นผิวที่สกปรกและที่มีแสงสะท้อนได้ดีมากขึ้น

image

รูปจาก What you need to know about Microsoft’s BlueTrack mouse

image

รูปภาพจาก Microsoft BLUETRACK Mouse: Microsoft Explorer Mouse and Mini Mouse

จากการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้เราได้ Mouse ที่มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นมากๆ ทำงานได้แม่นยำมากขึ้นทีเดียว บนพื้นผิวที่หลากหลายเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นวันนี้เลยเอา Targus Wireless Mouse Blue Trace มาใช้งานและนำมาแนะนำว่าดีและทำงานได้เท่ากับต้นตำหรับอย่าง Microsoft หรือไม่

DSC_5461

ตัวเมาส์ออกแบบเป็น Dualpurpose และ Ergonomic Design เท่าที่ลองจับจะดูแบนๆ หน่อย ไม่สูงมากนั้น ทำให้เหมาะกับใช้ทำงานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป หรือพกพาทำงานนอกสถานที่ได้สบายๆ ด้วยคุณลักษณะที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป เหมาะมือพอดีๆ เนี่ยแหละ

ในส่วนของการคลิ๊กปุ่มนั้น ต้องบอกว่าต้องปรับตัวสักหน่อย เพราะต้องใช้แรงกดมาสักนิด อาจจะเพราะการออกแบบที่ให้ฝาหลังของเมาส์นั้นถอดเปลี่ยนได้เลยทำให้กดได้ไม่หนักแน่นเพียงพอก็ได้

โดยเจ้าตัว USB Wireless Micro receiver นั้นมีขนาดเล็กดีมาก ทำงานบนคลื่นความถี่ RF 2.4GHZ รองรับการทำงานได้ไกลถึง 33 ฟุต จากการออกแบบแบบนี้ผมบอกเลยว่าชอบมากๆ มีขนาดเล็กไม่รำคาญเวลาใช้งานกับ Notebook

DSC_5460 DSC_5459

ตัวแบตเตอร์รี่ใช้ AA จำนวน 2 ก้อนด้วยกัน มีสลักยึดไว้ให้มั่นคงไม่หลุดออกมาได้ง่ายๆ โดยที่เจ้าตัว Mouse ตัวนี้ไม่กินไฟจากแบตเตอร์รี่มากนักครับ ในเสปคเขียนไว้ 12 เดือน แต่ก็ต้องรอดูว่าจะอยู่ได้ถึงเท่าไหร่ หลายๆ คนอาจจะบอกว่าใช้ AA ทำให้เมาส์หนักขึ้น ซึ่งผมก็มองว่าจริง แต่ถ้าชินกับเมาส์รุ่นก่อนๆ ที่ใช้แบบเดียวกันแล้วจะเฉยๆ มากกับน้ำหนักประมาณนี้

DSC_5463

ที่ด้านล่างนั้นมีตัว Sensor ที่เป็น Blue Trace ครับ จะไว้อยู่ด้านขวาของตัวเมาส์ จากการใช้งานแล้วนั้นเทียบกับ Microsoft นั้น ต้องบอกว่ามันเร็วกว่าครับ ด้วย Setting Profile ใน Control Panel เดียวกัน บนเครื่องเดียวกัน ในระยะทางในการลากเมาส์เท่าๆ กัน Targus ให้ระยะที่เยอะกว่า ซึ่งผมใช้เวลาปรับตัวอยู่หลายวันกว่าจะชิน เพราะมันเร็วเกินไป เหมือนมาขับรถที่มีแรงม้าเยอะๆ มันจะเร่งๆ ให้เราออกตัวไปเร็วๆ แทนที่จะออกตัวช้าๆ แบบเมาส์ตัวเก่าครับ ส่วนตัว Microsoft นั้นให้ความนุ่มนวลในการลากมากกว่าครับ อาจจะเพราะขนาดของเมาส์นั้นใหญ่กว่า ฐานของเมาส์กว้างกว่าของ Targus เลยทำให้มันนุ่มนวลกว่าในการลาดไปบนพื้นผิวต่างๆ ส่วน Targus นั้นดูกระชากกระด่างกว่าครับ แต่ที่แน่ๆ ความแม่นยำนั้นไม่ต่างกัน คือบทจะลากให้ไปก็คือไปเลย ไม่มีอาการกระตุก หรือลักเลจะไปดีไม่ไปดีครับ ตรงนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างความแม่นยำกับความนุ่มนวลในการลาก ความหมายไม่เหมือนกันนะครับ

ที่ด้านล่างถัดจาก Sensor ก็จะมีที่เสียบแบบแม่เหล็กสำหรับดูดเจ้าตัว USB Wireless Micro receiver ไว้กับตัว Mouse ซึ่งจากที่ได้ใช้งานและเคลื่อนย้ายก็ไม่เกิดอาการหลุดหรือทำตกหล่นแต่อย่างใดครับ

ส่วนตัวแล้วใช้งานพึงพอใจพอสมควรในเรื่องความเล็กและการเก็บตัว receiver ที่พกกาง่าย ได้ความแม่นยำที่คุ้นเคยในราคาที่ไม่แพงมากนัก เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทำงานนอกสถานที่และพกพาไปกับ Notebook มากๆ ครับ

สำหรับราคา Targus Wireless Mouse Blue Trace (AMW50AP) นั้นขายอยู่ที่ 810 บาท (ราคา ณ.วันที่ 25 มกราคม 2555)
จัดจำหน่ายโดย SiS Distribution มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไปครับ

Review IBM (Lenovo) Thinkpad Carry Case Backpack

วันนี้ผมจะมา Review กระเป๋าใส่โน๊ตบุ๊กใส่ฝันของผมเลย คือ IBM (Lenovo) Thinkpad Carry Case Backpack ซึ่งหมายตามันมานานมาก โดยในการ Review จากเว็บเมืองนอกว่าดีมาก ๆ และใส่ของได้เยอะด้วย (ออกแบบโดย IBM Thinkpad Research ที่ญี่ปุ่น) โดยสั่งตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2006 โดยเป็นสินค้าแบบ By Order ซึ่งต้องจ่ายเงินและรอสินค้าประมาณ 3 – 4 อาทิตย์ เพราะไม่มีการสต็อกสินค้าไว้ในคลังสินค้า (คาดว่าเพราะมันขายยากเนื่องจากราคามันแพง) โดยสั่งกับ Shop4Thai และได้รับวันเสารที่ผ่านมานี่เองครับ ใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ ทีเดียว (รอได้ของดีไม่มีปัญหา ;) ) วันนี้เลยเอามา Review ประเดิมการย้าย Server ใหม่เสียเลย ฮ่า ….

ข้อมูลเบื้องต้น

  • IBM (Lenovo) ThinkPad Carrying Case – Backpack
  • P/N : 73P3599
  • น้ำหนัก : 2.8 lbs (1.27kg)
  • วัสดุ : Ballistic Nylon (วัสดุกันน้ำได้ดี)
  • ขนาดกระเป๋า (สูง x กว้าง x หนา) : 48.9 x 38.1 x 22.9 cm
  • ขนาดช่องใส่โน็ตบุ๊ก (สูง x กว้าง x หนา) : 33.0 x 28.45 x 6.0 cm
  • ระบบกันสะเทื่อนแบบ SafePORT Air Cushion System จาก Targus ในช่องใส่โน็ตบุ๊ก
  • ไฟสีน้ำเงินขนาดเล็กภายใน
  • การรับประกันแบบ Limited lifetime warranty จาก Targus และ IBM (Lenovo)
  • ช่องที่เป็นซองใส่ CD/DVD ทั้งหมด 7 ช่อง
  • สี : ภายนอกสีดำ และช่องใส่โน็ตบุ๊กเป็นสีน้ำเงิน
  • ราคา 3,340 บาท ( + ค่าส่ง + vat 7% = 3,700 บาท)

ส่งมาในกล่องขนาดใหญ่โดยส่งมาใันถึงไทยในวันที่ 28 สิงหาคม 2006 แสดงว่าเป็นสินค้าสั่งโดยตรงจริง ๆ เพราะบนกล่องมีวันที่กำกับวันที่ส่งและสายการบิน รวมไปถึงบริษัทขนส่งด้วย ซึ่งต้องเข้าด่านเพื่อชำระภาษี ฯลฯ รวมถึงต้องเข้าคลังสินค้าของ Dealer ก่อน โดยส่งตรงจาก Lenovo ประเทศจีน มาถึง Lenovo Thailand และส่งมายัง Ingram ต่อไป แล้วจึงส่งมาที่เว็บที่ผมสั่งก่อนที่จะส่งมาหาผม (หลายทอดจริง ๆ สั่งสินค้าคราวนี้ได้ใจมาก ว่ามันเดินทางไกลจริง ๆ -_-‘)

รายละเอียดบนหีบห่อที่ใส่กระเป๋ามาครับ โดยจะบอกว่ามันบรรจุลงหีบห่อในวันที่ 20 July 2006 นี้เอง โดยผลิตที่จีนครับ (ฐานการผลิตใหญ่ของ IBM เก่า ก่อนจะเป็นของ Lenovo ในคราวต่อมา)


ด้านหน้า ตัวซิปต่าง ๆ ทำมาเพื่อกันน้ำโดยเฉพาะและซิปด้านหน้ามีปุ่มสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์เล็ก ๆ ว่าเป็นกระเป๋าของ Thinkpad ครับ


ด้านหลัง มีการบุผ้าสำหรับระบายอากาศไม่ให้อับเกินไปครับ


ด้านบน จะเห็นว่าที่หิ้วกระเป๋านั้นจะติดกับสายสะพายเลย ซึ่งด้านซ้ายและขวาจะมีสายรั้งสายสะพายเสริมมาด้วย เพื่อช่วยไม่ให้สายสะพายรับน้ำหนักเพียงอย่างเดียว (ต้องปรับสักหน่อยให้ช่วยกันรับน้ำหน้กครับตัวสายสะพายจะได้ไม่ขาดเร็วเนื่องจากทำงานหนักครับ)

ด้านล่างมีแผ่นยางรองรับสำหรับวางกระเป๋าและทำให้กระเป๋าตั้งตรงได้โดยไม่ต้องพิงกับเสาหรือหลักอื่น ๆ ครับ


ป้ายชื่อ หลายคนคงคิดว่ามีไว้โชว์อย่างเดียว แต่มันแกะได้ครับ ด้านในเป็นที่ใส่นามบัตร หรือบัตรสำหรับด่านรับกระเป๋าตามสนามบินต่าง ๆ ได้ครับ


ช่องใส่ของด้านหน้าสุดครับ มีขนาดพื้นที่ไม่มาก เหมาะสำหรับใส่ของเล็ก ๆ น้อยๆ จำพวกผ้าอะไรพวกนี้ครับ อ่อ ลืมบอกไปครับว่า ช่องใส่ทุกช่องกันน้ำหมดครับ


ช่องที่ 2 ครับ เป็นช่องสำหรับใส่หนังสือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เยอะมากครับ เราจะเห็นป้าย IBM เล็ก ๆ นั่นเป็นที่สำหรับคล้องกุญแจ และที่ห้อยจากป้ายเป็นไฟฉายขนาดเล็กครับ


ไฟฉายเป็นสีน้ำเงินแบบนี้ครับ โดยตัวไฟฉายจะยึดกับตัวคล้องกุญแจแต่มีเอ็นเส้นเล็็กแบบยืดออกมาได้เพื่อสะดวกในการใช้งานในที่อื่น ๆ ได้ด้วย (คล้ายๆ กับเมาส์ที่มีที่เก็บสายที่เป็นตลับ)


มีกระเป๋าเล็ก ๆ ใส่มาให้สำหรับใส่พวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ผมเอามาใส่ Adapter ของโน๊ตบุ๊ก ครับ


ด้านในจะมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่พวกของเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายช่องมาก ๆ ผมเอามาใส่พวกสายไฟ และเหล่าอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มากมายได้หมดเลย

ด้านซ้ายมีช่องสำหรับเอาสายหูฟังออกมาได้โดยมียางกันน้ำไม่ให้น้ำเข้าไปภายในกระเป๋าครับ


ช่องต่อมาเป็นที่สำหรับใส่โน็ตบุ๊กครับ มีส่วนสำหรับใส่อุปกรณ์อีกหลายช่องครับ


ซองใส่ CD/DVD ทั้งหมด 7 ช่องครับ

ช่องใส่อุปกรณ์สายไฟครับ เล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ

ช่องใส่โน็ตบุ๊ก โดยมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่โน็ตบุ๊กจอ 12.1 นิ้วด้วยครับ เพื่อให้มันพอเหมาะกับขนาดของโน็ตบุ๊กในแต่ละแบบครับ (มีช่อง 2 ขนาดคือ 14.1/15 นิ้ว และ 12.1 นิ้ว ครับ) เพื่อให้มันไม่สะเทือนครับ โดยที่สาบรัดซึ่งยึดไม่ให้ตัวโน็ตบุ๊กหลุดออกมานั้นสามารถดึงออกมาจากที่มันยึดอยู่ได้แล้วปรับขึ้นลงได้ เพื่อให้รองรับกับขนาดของโน็ตบุ๊กได้หลากหลายระดับ




แผ่น SafePORT Air Cushion System ที่เป็นแผ่นรองรับโน็ตบุ๊กครับ โดนมันสามารถกันกระแทกได้ในแนวตั้งครับ โดยใช้ซับแรง g จากการกระแทกให้ได้รับแรง g น้อยลงครับ ซึ่งลดได้ประมาณ 20 – 40 % ขึ้นอยู่กับแนว โดยอยู่ในระดับไม่เกิน 1.5 เมตรและลงมาในแนวตั้งของกระเป๋าด้วย แต่ก็ช่วยป้องกันได้บ้าง ดีว่าไม่ได้ป้องกันเลยครับ


ด้านข้างทั้งสองข้าง เป็นที่ใส่ขวดน้ำครับ


ด้านหลังบริเวณที่แนบกันแผ่นหลังเรายังมีช่องสำหรับใส่ของได้อีกพวกกระเป๋าตัง หรือเอกสารเล็ก ๆ น้อยครับ

และตามมาตรฐานกระเป๋าทั่วไปก็ต้องมีกระเป๋าเล็ก ๆ สำหรับใส่โทรศัพท์มือถือครับ

คงต้องรองใช้ดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่เท่าที่ได้สะพายและเอาไปใช้งานวันนี้ก็สะดวกและกระชับกับการสะพายครับ ;)