ชนิดของสื่อที่เป็นเนื้อหาใน Tablet ในวงการศึกษา

จาก Tablet ในวงการศึกษา

พูดตรงๆ นะ เนื้อหาที่ใส่ใน Tablet สำหรับเด็กที่รัฐบาลจัดซื้อเนี่ย PDF ผมก็แทบจะกราบแล้ว เพราะเราสามารถทำได้เกือบจะทันทีครับ ส่วนในอนาคตจะมีรูปแบบอื่นๆ หรือไม่ ผมมองว่าขึ้นอยู่กับคนใช้และคนที่จะผลิตเนื้อหา จะมองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจแล้วหล่ะ

ส่วนตัวนั้นผมมองว่าการทำธุรกิจด้านการศึกษาไม่ใช่สิ่งที่ผิด (หนังสือที่เรียนๆ กันมันก็ธุรกิจหนึ่ง) เพราะงั้น การเพิ่มตัวเลือกและช่องทางเข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันในการผลิตเนื้อหาให้ดีขึ้น เข้าถึงง่าย การใช้ Tablet ในการปูทางแทนที่ Computer Desktop/Notebook ในอดีตที่หลายๆ รัฐบาลหรือแม้แต่ภาคเอกชนพยายามทำมาเกือบ 10 ปีและล้มเหลวอยู่ตลอดเวลานั้นอาจจะเป็นเพราะ Computer Desktop/Notebook นั้นยากในด้านการพกพาและยากต่อการใช้งานมากเกินไปสำหรับคนที่เริ่มต้นใช้งาน (แม้แต่ตอนนี้ก็ยังคงยากสำหรับบุคคลทั่วไป) และผมเคยมีข้อโต้แย้งในเรื่องการจัดซื้อ Notebook เพื่อการศึกษาไปเมื่อหลายปีก่อนในยุคของรัฐบาลคุณทักษิณ ซึ่งเขียนลง Blog ไปแล้ว เพราะเรื่องความง่ายในการใช้ การดูแลรักษา และความไม่เหมาะสมของช่วงอายุ

แต่ในตอนนี้การมี Tablet เข้ามาช่วยให้การเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นดิจิตอลนั้นทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เมื่อการเข้าถึงนั้นเปลี่ยนไป และตลาดคนเมืองที่มีกำลังซื้อนั้นได้พิสุจน์ตัวเองในระดับที่จับต้องได้ว่าเด็กอายุไม่มากก็สามารถใช้งานได้จริง ทั้งที่ประสบพบกับตัวเอง และคนอื่นๆ เล่าให้ฟัง เมื่อคนเข้าถึงง่ายขึ้น คนผลิตเนื้อหาย่อมกระโดดเข้ามาในตลาดนี้เช่นกัน ดังที่จะเห็นในตัวอย่างหลายๆ ประเทศ และสื่อเหล่านี้ในตลาดเมืองไทยนั้นก็เยอะขึ้น แม้จะอยู่บน App Store ของ Apple แต่สื่อเหล่านั้นเป็นลักษณะพร้อมที่จะแปลงและปรับเข้าสู่ OS ตัวอื่นๆ ได้ ด้วยความต้องการมี มีหรือจะไม่มีคนผลิต รอดูกันไปว่าจะเป็นเช่นไรครับ

Tablet ในวงการศึกษา

ขอสั้นๆ จริงๆ มีเรื่องเยอะกว่านี้ แต่อันนี้ออกแนวพูดแบบเร็วๆ

ปัญหาเรื่อง Tablet ในวงการศึกษา ถ้ามองในปัจจุบัน ไม่ใช่ตัว "เด็ก" หรือ "ผู้เรียน" แต่คือ "ผู้สอน" และ "ผู้ดูแล" มากกว่า ว่าจะจัดการและสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หรือไม่

การเอา "เนื้อหา" และ "สื่อต่างๆ" เข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่ห่างไกล และขาดโอกาส (และเงินทุน) เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา จะด้วยระบบสื่อสารความเร็วสูงอย่าง ADSL, WiMax และหรือดาวเทียมก็ตาม อุปกรณ์รับ แสดงผล และป้อนข้อมูลที่ง่ายกว่า Desktop/Notebook Computer ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ อาจจะเอาไปทำรายงานเป็นจริงจังไม่ได้ แต่ก็เอาไปเพื่อใช้งานใน input ที่ง่ายๆ (ซึ่งในตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมาย) การนำไปเพื่อรับสื่อเช่นวิดีโอ โดยอาจจะ copy แล้วส่งผ่านระบบไปรษณีย์พื้นฐาน ในกรณีที่ไม่มีระบบการสื่อสารอื่นๆ ที่ดีกว่า เพราะการส่งข้อมูลหลาย TB ผ่านโปรษณีย์เป็นเรื่องที่ทำง่ายและไว ในระดับที่ยอมรับได้ (ส่งวันนี้ไม่เกิน 3 วันถึงที่หมาย)

ซึ่งถ้ามองในมุมเนื้อหาวิชาการที่เป็นหนังสือเป็นเล่มๆ แล้วนั้น แทนที่จะต้องแบกหนังสื่อจำนวนมากๆ ไปโรงเรียนให้หนักและก่อให้เกิดอันตรายต่อสรีระร่างกาย (โรคต่างๆ ที่เกียวกับกระดูกสันหลัง) ถ้าได้เห็นการเรียนในปัจจุบันจะเห็นเด็กระดับประถมต้องแบกหนังสือกระเป๋าลากกันแล้ว ซึ่งดูบ้าบอมาก และไม่เหมาะสมกับสรีระ รวมถึงภาระของการเคลื่อนย้ายสถานที่เรียนที่มากมายขนาดนั้น ลองนึกถึงภาพลูกคุณต้องแบกรับน้ำหนัก 3-5 กิโลกกรัมเพื่อหิ้วไปไหนมาไหน ขนาดวัยรุ่น-กลางคนยังบ่นว่า Notebook 1-2 กิโลกรัมแบกไปทำงานยังว่าหนัก เด็กๆ สมัยนี้เค้าขนกันหนักกว่านี้อีก เพราะฉะนั้นการมีอุปกรณ์ที่จัดเก็บและแสดงผลได้หลากหลาย การเชื่อมต่อระบบสื่อสารและการป้อมข้อมูลที่ง่าย ในน้ำหนักที่ไม่มาก จึงเป็นสิ่งที่ควรมีไว้เป็นทางเลือก

เลิกนำกระบวนทัศน์แบบเดิมๆ ในอดีต ที่โลกเรามีข้อมูลเนื้อหาวิชาการณ์ที่ไม่เยอะ มาตัดสินและจำกัดการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ที่เค้าต้องมาแทนที่คุณเพื่อพัฒนาประเทศและโลกในอนาคตได้แล้ว

เอา Lenovo ThinkPad Tablet มาลองเล่นแบบเร็วๆ

จาก สัมผัสแรก Lenovo ThinkPad Tablet และ Lenovo IdeaPad Tablet K1 ก็นานพอสมควรเลย วันนี้เลยได้ขอนำมาลงเสริมจากงานวันนั้นเสียหน่อย อาจจะเป็นลักษณะพูดเก็บตกเสียมากกว่า เพราะในกระทู้ต้นเรื่องก็ละเอียดมากอยู่แล้ว  ซึ่งเครื่องที่นำมาลองเล่นนี้ก็ไม่ได้ใช้งานเต็มที่สักเท่าไหร่ แต่ก็มากพอที่จะเก็บตกจากที่ได้บอกข้างต้น

ต้องบอกก่อนเลยว่าส่วนตัวแล้วนั้นตัว App อาจจะไม่ได้พูดถึงสักเท่าไหร่ อาจจะเพราะมีเวลาเล่นไม่มากพอ โดยผมจะเน้นไปด้านการใช้งานทั่วไปเป็นหลักเสียมากกว่าครับ

สิ่งแรกที่ต้องลองคือ จอภาพ! ตัวจอภาพนั้นทาง Lenovo แนะนำและมีการทดสอบอยู่บ่อยๆ ว่าใช้ Corning Gorilla Glass มาไว้ด้านหน้าจอภาพจริงเพื่อความทนทานต่อการขีดข่วนและกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี โดยตัวจอภาพนั้นเป็นจอภาพขนาด 10.1” รองรับ Multitouch ความละเอียดที่ WXGA (1280×800) สัดส่วนภาพ 16:10 แน่นอนว่าต้องเป็น IPS Panel 178/178 degrees Viewing Angle ที่สำคัญที่สุด ต้องรองรับกับ ThinkPad Tablet Pen ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดโหมดหรือบอกกับตัวเครื่องว่าจะใช้ ThinkPad Tablet Pen ก่อน แต่อย่างใด

DSC_8806

Read more

รูปแบบของ Tablet เบื้องต้นที่ควรรู้?

เป็นเนื้อหาพื้นๆ ครับ (หลายคนรู้แล้วก็ปล่อยผ่านไป)

  • Tablet PC นั้นต่างจาก Desktop PC, Notebook PC และ Smartphone ตรงที่ใช้จอภาพแบบ Touchscreen ในการสั่งงานและป้อนข้อมูลเป็นหลัก โดยอาจจะใช้ Virtual keyboards สำหรับป้อนข้อมูลแทน Keyboard ปรกติ หรือใช้ handwriting recognition แปลงการเขียนลายเส้นแทน Keyboard ก็ได้ ซึ่งนำมาใช้ทำงานในเชิงทดแทนคอมพิวเตอร์มากกว่าโทรศัพท์ (แม้บางรุ่นจะโทรศัพท์ได้ แต่ไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการใช้งาน)
  • Tablet PC ในปัจจุบันแบ่งเป็นสองกลุ่มหลักๆ ในการป้อนข้อมูลคือ Pen (Stylus) Base กับ Fringer (Touch) Base เพราะงั้นจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกัน โดยแบ่งเป็นลักษณะรูปแบบตัวเครื่องใหญ่ๆ อยู่ 3 แบบ
    1. Convertibles
    2. Multimedia Tablet
    3. Hybrids Tablet
  • Tablet PC แบบ Pen Base ในด้าน Computer Science เรียก Pen Computing ที่เป็นระดับผู้ใช้ทั่วไปนั้น รู้จักครั้งแรกในชื่อว่า Microsoft Tablet PC และคนได้รู้จักคำว่า Tablet PC ในวงกว้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเครื่องที่ถูกผลิตเป็นรุ่นแรกคือ HP Compaq Tablet PC ทำงานด้วย Windows XP Tablet PC Edition ในปี 2001 ในไทยดังๆ คนใช้เยอะๆ น่าจะเป็น Acer และ Fujitsu ถ้าใครจำได้ นึกดีๆ (ดักแก่ ;P)
  • Tablet PC แบบ Pen Base ออกมาหลายรูปแบบ ที่เจอกันเยอะๆ ถูกเรียกว่า Convertibles คือรูปร่างคล้าย Notebook (Laptop) โดยที่จอภาพเป็นแบบ touchscreen ใช้ stylus ในการสั่งงานแทน Mouse ได้ และจอภาพหมุนกลับด้านและใช้งานผ่านจอภาพอย่างเดียวได้โดยมี Keyboard/TouchPad สั่งงานตามปรกติด้วยเหมือน Notebook ทั่วไป

    image
    ThinkPad X220 Tablet

  • Tablet แบบ Fringer Base ที่เป็นระดับ Mass ผลิตโดย Apple โดยแย้งความคิดเรื่อง Pen Base อย่างชัดเจน และเป็นแนวทางมาตั้งแต่เปิดตัว iPhone ในปี 2007 แล้ว โดย OS ที่ถูกนำมาใช้คือ iOS (ในตอนแรกเรียก OS X) สุดท้ายก็มาจบที่ iPad จนกลายเป็นที่มาของ Multimedia Tablet โดยเน้นที่มีจอภาพขนาดใหญ่โดยไม่มี Keyboard หรือ Stylus มาเกี่ยวข้อง ใช้นิ้วของผู้ใช้ในการสั่งงานบนจอภาพ Touchscreen เป็นหลัก

    image
    iPad

  • ระหว่างนี้ก็มีการใช้ Android OS ที่อยู่บนมือถือมาจับใส่ Tablet แบบ Multimedia Tablet มากมายหลายยี่ห้อ Samsung Galaxy Tab, Toshiba Folio, Dell Streak, ViewPad 7 หรือ Motorola Xoom เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว Android OS รุ่นที่ Google บอกว่าเหมาะกับ Tablet จริงๆ จะเป็น Android 3.0 Honeycomb ถึงจะใช้งานได้อย่างดี แต่รุ่นต่ำกว่า ก็ถูกปรับแต่งให้สามารถใช้งานได้ดีพอสมควร จากผู้ผลิตเช่นกัน
    image
    image
    image
    Samsung Galaxy Tab Dell Streak Motorola Xoom
         
  • ต่อมา Microsoft ประกาศเรื่อง Slate PC (ชื่อ Mass ของ UMPC ที่เป็น Multimedia Tablet ตอนปี 2006 ที่จะใช้ Windows CE สุดท้ายก็เงียบไป) มี HP, Acer, Asus และค่ายต่างๆ นำเครื่องมาโชว์ ที่มีลักษณะคล้ายกับ iPad เหตุผลง่ายๆ เพื่อแยกความแตกต่างของ Tablet PC แบบ Convertibles ที่เป็น Pen Base ให้ชัดเจนมากขึ้น และใช้ OS แบบที่ PC ทั่วไปใช้ นั้นคือ Windows 7 นั้นเอง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ค่อยเห็นอะไรเป็นรูปร่างเท่าไหร่ มาแป็บๆ แล้วก็หายไปจากหน้าข่าวและการพูดถึง (ประกาศก่อน iPad เสียอีก)

    image
    Asus Eee Pad EP121

  • ล่าสุดก็คงเป็น RIM ที่ออก PlayBook ซึ่งเป็น Multimedia Tablet ที่ใช้ OS ไม่เหมือนคนอื่นๆ คือ BlackBerry Tablet OS (QNX) แต่ก็มีการออกแบบมาให้รองรับ App จาก Android OS ได้ด้วย

    image

  • ต่อมาก็มีการนำแนวคิด Tablet แบบ Hybrids ที่รวมแนวคิดทั้งสองแบบคือ Slate PC/Tablet PC กับ Notebook เข้าด้วยกันอีกครั้ง ที่ฮือฮาก็คงเป็น Lenovo U1 base (ใช้คู่กับ Lenovo IdeaPad Tablet) และต่อมาก็ ASUS Eee Pad Transformer นั้นเอง แต่ ASUS ดูจะปล่อยของ และขายในวงกว้างได้ดีกว่า เล่นเอา ASUS ผลิตไม่ทันเลยทีเดียว โดยใช้ลักษณะของ Lapdock เข้ามาประกอบคู่กับตัว Multimedia Tablet แบบปรกติ ทำให้เมื่อนำมาใช้งานได้เหมือนกับ Notebook และเมื่อต้องการใช้งานในรูปแบบ Tablet ก็เพียงถอดออกจาก Lapdock ก็ใช้งานได้ทันที
    image image
    Lenovo U1 Base + IdeaPad Tablet ASUS Eee Pad Transformer (TF101)
       

ทั้งหมดเป็นคราวๆ เผื่อไว้เป็นความรู้สำหรับคนที่กำลังจะซื้อ Tablet ไว้เป็นแนวว่ามีรูปแบบไหนบ้างให้เราเลือกซื้อใช้งานกัน

เตรียมตัว Lenovo IdeaPad Tablet (LePad) และ Lenovo ThinkPad Tablet บุกไทย!

ข่าวจากต่างประเทศหลุด Lenovo ThinkPad Tablet มาสักพัก แต่ดูจะเงียบๆ ไม่มีรูปอะไรออกมาเพิ่มเติมเท่าไหร่นัก ไม่รู้จะขายเมื่อไหร่ด้วย แต่ที่แน่ๆ รูปร่างหน้าตาก็แนวๆ ThinkPad ที่รูปร่างเป็นทางการมาก

ThinkPad Tablet ข่าวบางสำนักเรียก Think Slate จากเสปคที่หลุดมาคราวๆ ก็เป็นจอภาพ 10.1” capacitive touch display ตามสมัยนิยมเพื่อให้รองรับ multi-touch ได้พร้อม IPS Panel ความละเอียด 1280×800 pixel และที่แตกต่างคือมี stylus มาให้ด้วย (ไม่ทิ้งแนวทางตัวเองเท่าไหร่) โดยมาพร้อมกับ Android 3.0 Honeycomb และปรับ UI ใหม่ในชื่อเรียก Lenovo Family UI เพื่อให้รองรับการใช้งานสำหรับตลาดองค์กร แน่นอนว่า CPU ก็ตามมาตรฐาน dual core Tegra 2 มีหน่วยความจำ 16, 32 และ 64GB พร้อมแบตที่อยู่ได้ 8 ชั่วโมง รองรับทั้ง 3G และ 4G ด้วย

สิ่งที่แปลกใจคือตากเสปคที่หลุดมาจากหลายๆ สำนัก มีช่องต่อ USB 2.0, SD Card, mini USB และ mini HDMI มาให้พร้อม แน่นอนว่าด้วย Tablet ที่ออกมาเพื่อองค์กรแบบนี้ต้องมี Lapdock แน่นอน ซึ่งดูๆ แล้วก็คงคิดว่าช่วงปลายปีคงได้เห็นกันทั้งในต่างประเทศ และในไทยแน่ๆ (กระซิบมาแล้วว่าจะนำเข้ามาไทยแน่นอน) ส่วนราคาคิดว่าไม่น่าต่างจากต่างประเทศมากนัก รอดูกันว่าจะเป็นอย่างไร ในต่างประเทศที่หลุดมานั้นตั้งไว้ที่ $499 ในไทยไม่น่าจะเกิน 18,xxx บาท (ราคาไม่ยืนยัน กะเอาจากราคาสินค้าตัวอื่นๆ)

image

ต่อมา Tablet สำหรับองค์กร ก็มาถึง Tablet ในระดับผู้ใช้ทั่วไป Lenovo ก็ประกาศชัด และยืนยันแล้วว่า Lenovo IdeaPad Tablet (ชื่อในประเทศจีนคือ LePad) เข้าไทยในช่วงเดือน 6-7 ของปี 2554 นี้แน่ๆ (ผมคาดว่าจะเป็นช่วงงาน Commart X-Gen)

ตัวเสปค Lenovo ideaPad Tablet คราวๆ ก็คือ Qualcomm Snapdragon processor (1.3 GHz) จอภาพแบบ multi-touch 10.1” ความละเอียด 1280×800 pixel GPU เป็น Adreno 205 และใช้ระบบปฎิบัติการ Android 2.2 (ไม่แน่ใจว่าจะได้รับการอัพเกรดเป็น Android 3.0 เมื่อตอนเข้าไทยแล้วหรือเปล่า) โดยที่มีแบตฯ มากกว่า iPad 2 และ Xoom พร้อมชิพเสียงของ Wolfson ที่หลายต่อหลายคนบอกว่าเสียงดีมากๆ แน่นอนว่า ถ้าตัว Tablet เข้ามา ผมไม่แน่ใจว่า Lenovo (Thailand) จะเอา IdeaPad U1 base เข้ามาหรือเปล่า เพราะเมื่อเอา Lenovo IdeaPad Tablet ต่อกับ IdeaPad U1 base จะใช้เป็น Notebook ได้เลย โดยที่ตัว IdeaPad U1 base จะมีเสปดเริ่มต้นที่ CPU Intel Core i5-540UM 1.2GHz และมีรุ่น Core i7 ด้วย ทำให้เราใช้งานสลับไปมาระหว่าง Windows 7 และ Android ได้ 

สำหรับราคา Lenovo IdeaPad Tablet (ชื่อในประเทศจีนคือ LePad) ราคาขายในประเทศจีนอยู่ที่ $530 (แพงกว่า ThinkPad Tablet ที่มีข่าวหลุดมาอีกแฮะ –_-“ ) และถ้าซื้อ Lenovo IdeaPad Tablet พร้อมกับ IdeaPad U1 base ราคาจะอยู่ที่ $1,300 ผมเดาว่าราคาในไทยก็คงอยู่ที่ 19,xxx บาท และ รุ่นที่พร้อม base คงประมาณ 42,xxx บาท (ชักแพง) แต่ถ้าเข้าไทย ผมคิดว่าราคาน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ลงต่ำกว่าจากที่ผมคาดการณ์ไว้แน่ๆ

ย้ำอีกครั้ง!!! ราคาที่เป็นเงินบาทนี้ เป็นการคาดการณ์ราคาเท่านั้น ไม่ใช่ราคายืนยันออกจาก Lenovo (Thailand) แต่อย่างใด!!!

 

image

image

http://reallycuteasians.com/2011/04/wang-meng-touch-screen-or-touch-girl/

อ้างอิง
Leak: 10-inch Lenovo ThinkPad Tablet with IPS display, stylus and Honeycomb
Quick video: Lenovo LePad slate, IdeaPad U1 Hybrid in action
Lenovo announces LePad Tablet with Android and Windows 7 functionality