อนาคตเราใครกำหนด

นี่คือคำถามที่ใครหลายคนคิดไว้ในใจ ตั้งแต่ เราเริ่มรู้หลักเหตุ และผล รวมถึงเสรีภาพในด้านต่างๆ

ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน การเรียนก็ดี ทั้งในระดับ ประถมฯ, มัธยมฯ, สถาับันด้านวิชาชีพต่างๆ หรือแม้แต่ มหาวิทยาลัยฯ (หมายรวมถึงสถาบันที่ว่าด้วยการจบมาได้วุฒิปริญญาตรี) ถึงแม้เป็นการศึกษาที่เราๆควรจะได้ศึกษากันทุกคน หรือย่างน้อยๆ ก็มีความรู้ติดตัว

แต่ในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่า เราไม่ได้เป็นผู้กำหนดตัวเองเสียแล้ว ในเรื่องที่ว่าเราจะได้เล่าเรียน หรือจะได้เรียนให้สิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่สนใจหรือไม่

เรากลับหันหลัง และมองในสิ่งที่ชอบ ที่สนใจ ที่รัก เป็นงานอดิเรก หรืองานที่ทำยามว่างเท่านั้น

แต่เราหน้าไปหาสิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดแทน น่าแปลกที่สิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดนั้น 80% ของคนที่ทำให้ตัวเองอยู่รอด ไม่มีความสุขในสิ่งที่ทำ เพราะด้วยเหตุและปัจจัยรอบด้าน รุมเร้าให้ต้องทำ เช่น ต้องส่งเสียเหล่าพี่น้องในครอบครัว, ทำให้ได้ดั่งใจพ่อแม่, เพราะตามเพื่อนจนตัวเองลำบาก ฯลฯ ปัญหาอีกมากมายนานับประการนี้ มีปัญหานึงที่เราจะมาพูดกันในวันนี้คือ “ค่านิยมในอาชีพของสังคมไทย”

จริงๆ ไม่อยากหยิบเรื่องเหล่านี้มาพูดหรือมาเขียนหรอก เพราะอาจโดนตีหัว หรือโดนต่อต้านได้ แต่มันรู้สึกว่ามันหน้าจะสะท้อนอะไรในสังคมไทย ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

ผมเห็นเพื่อนๆ ผม ,รุ่นพี่ หรือรุ่นน้องผม มักถามผมตอน ม.6 ก่อน Entrance ว่า จะไปต่ออะไรหล่ะ แล้วจบไปอยากทำงานอะไร ผมต่อว่า อยากเรียน “วิทยาการคอมพิวเตอร์” เหล่าคุณครู หรือแม้แต่เพื่อนๆ มองผมด้วยสายตา สงสัยในตัวผมด้วยเหตุผลที่สรุปได้ว่า “ไอ้ฟอร์ด เก่งคอมฯ ตายห่า เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หล่ะ” ทุกคนถามผมด้วยคำถามนี้จนต้องมาอธิบายยืดยาว …….

ใช่ผมอยากเข้า “วิทยาการคอมพิวเตอร์” ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นวิชาเอกที่ชื่อดูดี “แต่ผมอยากเรียน” แม่ผม ก็ถามด้วยคำถามนี้เหมือนกัน แต่ก็ด้วยว่าผมยืนกราน แน่วแน่ แล้วท่านก็ปล่อยถามความคิดของผม เพราะท่านให้อิสระกับการตัดสินใจของผมอยู่แล้ว

ทำไมหล่ะ “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หางานง่ายกว่า เท่ห์ กว่าด้วย สาวกรี้ด อีกต่างหาก จบไปบอกว่าจบ วิศวกรรม ใครๆ ก็มองว่าคนเก่ง แต่พอบอกว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์ กลับมองเหมือนพวก คนชั้น 2 – 3 ไปได้ ……”

น่าคิดนะ “สังคมไทย เป็นอะไรกันไปแล้ว”

เรามองคนระดับหัวกระทิผิดแนวทางกันไปหรือเปลา่ ???

จริงอยู่คนที่เข้าคณะวิศวกรรม คือคนเก่ง คนมีคะแนน Entrance สูง แต่ที่มันสูงเพราะค่านิยมมิใช่หรือ คนแห่กันไปเข้า คะแนนมันก็ปีนกันไป จนมันสูงโด่ง …….

รากหญ้าแห่งการแก้ปัญหาทั้งหมด คือ “วิทยาศาสตร์” แต่เราคนไทย มอง เป็นเพียงแค่วิชาที่เอามาใช้การอะไรได้ยาก เพราะอะไรหรือ ???

เพราะ “เราไม่ได้ผลิต นวัฒกรรม ต่างๆ ขึ้นใจเอง เราเป็นเพียงแค่ ประเทศผู้ถูกจ้างให้ผลิตสินค้าตามที่ต้องการ” ซึ่งทำให้เรา มองสิ่งที่เรียกว่า “รากแห่งความรู้เป็นเรื่องรองๆ” แทนที่จะมองเป็นเรื่องหลัก

เรามีนักวิชาการที่จบ ปริญญาเอก หรือสูงกว่านี้ นั้นน้อยมาก และในตอนนี้เราน้อยกว่า เวียดนาม แล้ว และเมื่อ 50 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เราได้ส่งนักเรียนทุนไปเรียนต่อเมืองนอกมากมาย ตอนนี้เค้ากลับมาใช้สิ่งที่ควรมากเพียงใด หลายคนจบมา อุดมการณ์แรงกล้า หวังกลับมาช่วยชาติบ้านเมืองพัฒนา ด้วยแนวคิดใหม่ๆ แต่กลับถูก วัฒนธรรมองค์กรแบบ “ข้าราชการ ไทยเช้าชาม เย็นชาม เ้ข้าเสียส่วนมาก” เพราะทำอะไรเกินหน้าเกินตาเจ้ากระทรวงไป, เจ้านาย หรือหัวหน้า ก็จะโดนเล็งหมายหัว หรือจะโดนยิงหัวเอา ……

นั้นกลับทำให้สังคมไทยเราย่ำอยู่กับที่มานานกว่า 20 ปีีแล้ว เราถูกสิงค์โปร์ และมาเลเซียแซงไปแล้ว ซึ่งในตอนนี้เวียดนาม ก็กำลังตามเรามาติดๆ เรียกได้ว่าเราล้มเมื่อไหร่ โดนเวียดนามเหยียบเมือนั้น ……

อ้าว !!! ………. ไปไกลแล้ว กลับๆๆๆ

ดังเรื่องที่ออกทะเลไปเมื่อด้านบนนั้น จะเห็นได้ว่า เรามองตัวเองผิดกันไป ……..

ในตอนนี้เด็กได้ในสังคมไทยเลือกเรียนที่ “จบออกมาแล้วมีงานทำ”, “จบออกมาแล้วเท่ห์”, “จบออกมาแล้วทำงานสบาย” หรือ “จบออกมาแล้วหวังเพียงมีใบปริญญาติดออกมาเท่านั้น”

จะมีสักกี่คนที่เลือกเพราะ “อยากเรียน”, “สนใจ” และ “อยากรู้”

ช่างน่าเศร้าจริงๆ ที่เท่าที่ผมถามมา 98% หาคนที่เลือกทางเดินชีวิตไม่ได้ ซึ่งคือยังคิดไม่ออกว่าตัวเองชอบอะไร (ค้นหาตัวเองไม่เจอนั้นเอง) หรือสนใจศาสตร์ด้านใด (ในที่นี้ไม่นับพวกหลุดเข้าไปวังวนของสิ่งไม่สร้างสรรค์นะครับ)

ซึ่งผมจากที่ผมได้ อ่านข่าว และได้ประสบ พบเจอ จะว่าเห็นคนที่ชอบ หรือสนใจในสิ่งที่ตัวเองเรียน และทำงานกับมันด้วยใจรัก ไม่ต่ำว่า 90% นั้นประสบความสำเร็จทั้งนั้น บุคคลเหล่านั้น ได้สิ่งดีๆ ในชีวิตโดยมีความสุขในสิ่งที่ทำ และทำได้ดีด้วย และอีกเช่นกันคนเหล่านี้มักถูกชาวต่างชาติ ชักชวนไปทำงานร่วมกับพวกเค้าที่ต่างประเทศ

“คนเราถ้าสนใจ และชอบในสิ่งที่ทำ ซะอย่าง แม้แต่ทำให้ดวงอาิทิตย์ดับก็ทำได้”

มันเป็นความจริงของโลกนี้นะ ที่คนเราควรจำกำหนดสิ่งที่ตัวเองจะต้องเจอในอนาคต

………………………………………………………..

เดี่ยวมาเขียนต่อนนะครับ ง่วงแล้วไปหล่ะ ………..

เราเรียนเพื่ออะไร กันแน่ ……. และทำไม เด็กไทยสมัยนี้ถึงได้แขยง Text Book กันนัก

พอดีว่าได้พูดคุยกับพี่ … (ไม่ขอเอยนาม) และได้เข้าไปอ่านในกระทู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มาเลยเก็บเอามาให้อ่านกันครับ

CS ไม่ได้เรียนเพื่อเป็น programmer

การเรียนที่แท้จริง มันคงไม่ได้อยู่ที่หลักสูตรนะครับ มหา’ลัยที่แท้จริง ก็คือโลกนี้แหละครับ ทุกคนเรียนกันทุกวันอยู่แล้ว ทำไมต้องไปยึดติดกับ มหา’ลัยเล็ก ๆ หลักสูตร เล็ก ๆ ที่ไปเรียนกันแค่ไม่กี่ปีด้วยล่ะครับ

ถ้าคุณเข้าใจที่ผมพูดเมื่อไหร่ คุณจะเข้าใจว่า CS มีไว้เพื่ออะไร ผมจะอธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อย เขียนโปรแกรมได้กับเขียนได้ดีไม่เหมือนกัน

ในการเรียน CS จะต้องศึกษาเรื่อง algorithms โดยต้องมี 3 อย่าง

1) correctness โปรแกรมที่คุณเขียนจะต้องถูกต้องทุกกรณี ไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น โดยต้อง ทำ math proof ได้ ว่าทำไมถึงถูกต้อง คุณเคยทำรึเปล่าครับ รึว่าใช้ sense เอาว่าอย่างนี้น่าจะถูกแล้ว

2) performance โปรแกรมที่เขียนจะต้องมีประสิทธิภาพใสการทำงานสูง ทำงานเร็ว โปรแกรมเปรียบเทียบบางโปรแกรมอาจจะใช้ O(n^2), O(n^3) แต่คนที่มีความรู้เรื่อง algorithms เป็นอย่างดี อาจจะสามารถเขียนให้โปรแกรมทำงานใน O(n log n) หรือ O(n) ได้ คุณเคยปรับ algorithms ให้ทำงานเร็วขึ้นรึเปล่าครับ

3) efficency โปรแกรมที่เขียนจะต้องทำงานได้ดีที่สุดโดยใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด คุณเคยทำการประเมินบ้างมั้ยครับ ว่าโปรแกรมที่คุณเขียนใช้หน่วยความจำเท่าไหร่ และใช้ให้น้อยลงได้หรือไม่

นี่คือ ความแตกต่างระหว่าง โปรแกรมของคนที่เรียน CS กับคนที่ไม่ได้เรียนครับ

แล้วก็ computer science ไม่ได้เรียนเน้นไปทางเขียนโปรแกรม ถ้าอย่างนั้นจะมีความรู้ที่แคบ

มีอย่างอื่นที่ต้องเรียนอีกมาก เช่น OS เวลาเขียนโปรแกรมใหญ่ ๆ ที่ใช้ thread มากมาย ถ้าเขียนแล้วเกิด deadlock ขึ้นคุณจะแก้ปัญหายังไง คุณเคยเจอรึเปล่าครับ เรื่อง priority อีก ว่า thread ไหนจะได้ทำงานก่อน ถ้าคุณไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็อาจจะเขียน thread มั่ว ๆ ซึ่งอาจทำให้โปรแกรมทำงานช้า, เกิด deadlock ได้

เรื่อง data communication and network คุณเรียน cs มา ผมถามคุณหน่อยได้มั้ยครับ ว่า ในระบบ LAN คอมพิวเตอร์มันคุยกันได้ยังไงครับ ในเมื่อ IP address เป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมา ในการที่เราจะวางระบบเครือข่าย เช่น ใน SW ขนาดใหญ่ เวลา implement อาจจะต้องดูเรื่อง network ด้วย ถ้าคุณไม่เข้าใจเรื่อง router, gateway, dns ต่าง ๆ คุณจะวางระบบได้มั้ยครับ

ความจริง CS ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกมากเช่น AI, IR

ถ้าคุณจะไปเป็นนักพัฒนา SW เกมส์ แล้วคุณไม่รู้จักเรื่อง AI คุณก็จะทำไม่ได้อีก นี่ก็เป็นอีกความแตกต่างระหว่างคนเรียน CS กับไม่ได้เรียนครับ

เรื่อง IR ก็เหมือนกัน ถ้าคุณไปเขียนระบบที่ต้องมี Full Text Search ถ้าคุณไม่มีความรู้เรื่อง IR ก็ทำไม่ได้อีก

แล้วผมขอถามคุณหน่อย CE ต่างกันยังไงครับ เห็นส่วนใหญ่ คนที่จบ CE ก็มาเป็น programmer กันเยอะแยะ เค้าก็เขียนโปรแกรมเหมือนกัน ไม่เห็นใช้ความรู้วิศว ที่เรียนมาเลย

ซึ่งก็เหมือนดังกลับที่ว่า คนเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งแล้วพวกคุณเป็นนักคณิตศาสตร์หรือเปล่าล่ะ … ถ้าไม่ใช่ แล้วเรียนมันไปทำไมล่ะ cal น่ะ หรือว่า analysis น่ะ หรือว่าพวกเราทุกคน เป็นนักภาษาศาสตร์หรือเปล่าล่ะ … ถ้าไม่ใช่ แล้วเรียนมันไปทำอะไร ภาษาพูด ภาษาเขียนน่ะ อย่าตอบผมนะ ว่า มันต้องใช้นี่นา … เพราะว่าถ้างั้น ผมจะตอบแบบเดียวกัน แล้ว engineer ไม่ใช่ calculus หรือ physics ดังนั้น comsci ก็ไม่ใช่ programming ครับ

logic ง่ายๆ สบายๆ ครับ

ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมาเลยในเรื่องนี้ ……… อย่างแรงเลยครับ ผมคิดต่ออีกว่า

คนไทยมอง ผลก่อน แล้วตามด้วยเหตุ …….. และเป็นประเทศเดียวในโลกด้วยในตอนนี้ที่ย่ำอยู่กับที่ได้นานที่สุด

ผมจะเปรียบเทียบให้ดู นี่คือสิ่งที่ได้จากคนที่ไปคลุกคลีกับคนที่ไม่ได้มอง ผลก่อนเหตุ แต่มอง เหตุก่อนผล …..

“คนไทยถ้้าจะให้อยากจะเรียน นั้นเพราะว่าเงินมันดี หรือว่าหางานง่าย ไม่ได้ทำหรือว่าเรียน เพราะว่าสนใจอยากรู้อยากทำ เวลาเรียนรู้อะไร ก็จะเร่งรัดเอาผลให้ได้เร็วๆ แทนที่จะอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ เช่น .. เวลาหัดเขียนโปรแกรม ก็จะอยากให้เห็นผลเร็วๆ ลอก code เข้าไปเยอะๆ รีบๆ compile จะได้เห็นผล แทนที่จะเสียเวลานั่งคิด นั่งทำความเข้าใจกับหลักการ และแนวคิด และอะไรอีกหลายๆ อย่างที่จำเป็น ไม่มีความอยากรู้อยากเห็นใน code แต่ละบรรทัดที่พิมพ์เข้าไป”

และคนไทยนี่แปลกนะครับ ……. อ่านหนังสือกันยังจะเลือกภาษาในการอ่านเพื่อสะดวกสบาย แทนที่เลือกจะเสพความรู้ที่ดี และตรงประเด็น

ดังเช่นกระทู้นี้

ทำอะไรกันอยู่ …… เรียน Com กันแต่อ่าน ภาษาอังกฤษไม่ออกอีกเหรอ แถมไม่พยายามหรือขวนขวาย ผมเห็นนิสิตเดี่ยวนี้ช่าง ทำอะไรแคบๆ อ่านอะไรก็ยึดด้านนั้นด้านเดียว

อ่านอะไรก็อ่านแต่สิ่งไร้สาระ หาสาระในการเสริมสร้างความรู้ไม่

อย่างที่เห็นๆ กันง่ายๆ หนังสือด้านคอมฯ เกี่ยวกับ Com Sci จริงๆ หนังสือคอมฯ ในไทย ดีๆ มี 10% ของทั้งหมด นอกนั้นขยะดีๆ นี่เอง ……. (พูดเรื่องจริง) ทำไมหรือ เพราะทุกเล่มสอนให้ทำตาม แต่ไม่ “ให้คิด” คือ ทำได้ไง แต่ทำแบบใหม่ๆ แหวกแนวไม่เป็น ซึ่งก็ทำให้คิดว่าตัวเองทำได้ แต่จริงๆ แล้ว ทำไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีสูตร ไม่มี step by step

ง่ายๆ หนังสือ c++ หรือ java คุณรู้ไหม ว่า include มันมายังไง มันต่างจาก require ยังไง

หรืออย่างพวก comment มันเอาไว้ทำไมมั้ง ควรมีไว้เพื่ออะไร จำเป็นมากไหม

อีกอย่างคือ พวกหนังสือพวกนี้สอน แนว concept การมองโปรแกรมอย่างเป็นเหตุเป็นผลไหม พวก logic พื้นฐานต่างๆ flowcontrol ต่างๆ หรือ concept พื้นฐานจริงๆ เลยที่ควรรู้อย่างพวก การทำงานของ cycle ใน cpu หรือ แนว com architect พวกนี้

ผมหามาทั้งตลาดหนังสือไทย มีอยู่ 1 – 2 เล่มนอกนั้น “ขยะ”

ถ้าใครจะเถียงว่า คนมันคิดไม่เหมือนกัน บางคนต้องการเร็ว งั้นก็ไม่ต้องเรียน ไม่มีอะไรที่ได้มาด้วยความรวดเร็วถ้าไม่มีพื้นฐานที่ดี พื้นฐานไม่ดี เดี่ยวก็ตันเองหล่ะ เชื่อผมไหมหล่ะ

หนังสือคอมฯ ที่ผมคิดว่ายังไงก็ต้องอ่านก็พวก “computation theory” ต่างๆ หรือ พวก Concept ต่างๆ พวก AI, Data Com, Data Structure, Logic Theory, Database System ฯลฯ พวกนี้ ผมไม่เห็นมันจะโดนแปลเป็นภาษาไทยเลย หรือถ้าแปลก็แปล แบบ ผิดๆ ซะมาก

นั้นมันทำให้เราต้องอ่านหนังสือ ภาษาอังกฤษ หรือ Text Book ซะ แต่เท่าที่ผมได้เห็น ได้เจอ กลับไม่มีใครกล้าอ่านมัน เพราะกลัวภาษาอังกฤษ หรืออ่านมันไม่ออก ทั้งๆ ที่หนังสือพวกนี้คือสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะคอมพิวเตอร์มันสร้างมาจากพวกที่ใช้ภาษาอังกฤษนั้นเอง

ซึ่ง “ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า สอบ ent’ วิชา อังกฤษ เข้ามาได้ยังไง “

ถึงได้โง่ภาษาพวกนี้กันนัก ทั้งๆ ที่มันจำเป็นอย่างมากในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และด้านคอมพิวเตอร์ หนังสือดีๆ concept เจ๋งๆ มากมายอยู่ในหนังสือพวกนี้ ที่แม้แต่คนระดับ ดร. ยังไม่กล้าแปล เพราะกลัวผิดแนว หรือผิด concept ไป เค้าเลยไม่แปลกัน อาจด้วยความรู้ไม่ถึง หรือไม่เข้าใจในสายงานนั้นๆ ซึ่งหนังสือบางเล่มที่แปลมาก็ออกแนว ผิดๆ หรือไม่ถูกตามหนังสือต้นแบบนัก

อยากให้อ่าน text book กันมากขึ้น ไม่ใช่มองคนอ่าน text เป็นพวกเทวดา หรือให้ อ. ท่านแปลให้ ……..

เรียนมหาลัย มันต้องหากันเองแล้ว แปลกันเป็นแล้ว ผมเห็น ม. เราแล้วเสียใจอย่างนึง คือหาคนอ่านพวกนี้ยากมาก พอให้อ่านก็บ่ายหน้าหนี บอกว่า “ไม่เข้าใจ เอาไปแปลก่อนดิเดี่ยวจะอ่าน” คือแทบจะหาคนคุยโดยใช้ ศัพท์เทคนิคได้ยาก คือมีแต่ก็คุยกันคนละภาษา มองอะไรแคบๆ ก็เยอะ แล้วอีกอย่างคือมองว่าตัวเองไร้ความสามารถ ไม่กล้าศึกษาอะไรเพิ่ม แล้วพวกเล่นรับ หรือป้อนให้อย่างเดียวไม่หาเอาเลย ความรู้เราต้องไปวิ่งขนมันไม่ใช่ให้มันมาวิ่งชนเรา

เด็กไทยสมัยนี้ก็แบบนี้หล่ะ ต้องป้อนๆๆๆ ถ้าไม่ป้อน คือไม่สอน พอไม่สอน คือไม่ออกสอบ พอไม่ออกสอบ คือไม่ได้เรียน พอไม่ได้เรียน ตอนทำงานก็บอกรายจ้างว่ามหาลัยไม่ได้สอน แต่พอนายจ้างก็ไล่ออก 555555 เพราะทำงานให้เค้าไม่ได้ ก็หาว่าเขี้ยว ไม่เข้าใจ ….. แต่จริงๆ แล้ว เค้าสอนมาแล้วแหละ แต่ว่ามันต้องอ่านเพิ่มเอง มันต้องศึกษาเองด้วย ….. ไม่ใช่ ป้อนๆๆ เหมือนเด็ก …..

ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะไม่กล้าอ่านหนังสือ text นั้นเอง และไม่กล้าที่จะหาความรู้เพิ่มเติม

แล้วอย่างงี้จะพัฒนาได้ไหมเนี่ย โอ้ว !!! ประเทศชาติ ……

เป็นยังไงมั้ง สะใจไหมครับ กับข้อความพวกนี้ รับกันได้ไหมกับความเป็นจริงของเราเอง คนไทยเราเอง ผมไม่รู้ใครจะคิดยังไง แต่ผมคิด และเห็นด้วยกับสิ่งเหล่าน้อย่างแรงกล้า เช่นกัน ……….

มันจะเป็นบทสรุปของการว่า “ทำไมต้องมีแฟน” หรือเปล่า

     จากหนังสือทางด้านจิตวิทยาเบื่องต้น ว่าการมีแฟน ผลดี ผลเสีย เป็นอย่างไรนั้นยังไม่มีใครตอบได้ครับซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันขึ้นอยู่ที่บุคคลนั้นตามแต่สภาพแวดล้อมต่างๆ ครับ

ทำไมเหรอ ? เรามาดูกันดีกว่า

     ถ้าคนพากันทำตัวดี ช่วยกันเรียน ไม่ไปทำในเรื่องผิดศีลธรรม การเป็นแฟนก็จะมีแต่ผลดีในเชิงสร้างสรรค์ พ่อแม่ และคนรอบข้างก็สนับสนุน ซึ่งแทบจะไม่มีผลเสีย

     ถ้าคนพากันเลว พากันเที่ยว พากันไปโน้นไปนี่ ทิ้งการเรียน ไม่มีพ่อแม่ของใครจะไม่ปฏิเสธว่ามีผลดี มีแต่ผลเสีย

     แต่ปัญหาสำคัญคือ "พ่อแม่เสียใจ" ถ้าเราทำตัวไม่ดีผิดจากที่เราควรจะเป็น ผิดต่อหน้าที่นั้นๆ ในช่วงนั้นๆ ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น

 เพราะอะไรเหรอ ?

     ตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วัยในช่วงไหนบ้างที่เหมาะ และไม่เหมาะ ที่ไม่เหมาะเพราะอะไรและจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

     หน้าที่ในการเรียนถ้าพูดตรงนี้แล้ว คู่ไหนที่เป็นแฟนกัน หรือดูๆ กันแล้วไม่ก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากการทำหน้าที่เรียนได้ดี และทำกิจกรรม เข้าร่วมงานสังคมได้สม่ำเสมอ ไม่ผิดประเพณีของสังคม นั้น และปฏิบัติไปพร้อมกับการเป็นแฟนกัน เป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยากเลย เพราะว่าในชีวิตช่วงการทำงานนั้นยากกว่าเรียน ทำไมยังทำงานไปอยู่เป็นแฟนเป็นคู่ไปได้ล่ะครับ

 ปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ตรงนี้ !!!

     แต่อยู่ตรงที่ว่าเรายับยั้งชั่งใจได้มากแค่ไหนเมื่ออยู่ในสถานที่ล่อแหลม (ขอใช้คำแรงหน่อยนะ) …..

 เพราะอะไรน่ะเหรอ ?

     เพราะว่าอารมณ์และสถิติ รวมไปถึงวุฒิภาวะของวัยต่างๆ ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้

ซึ่งปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือ "ทำให้บุพการีเสียใจ" และนำพาไปสู่สิ่งต่างๆ ที่ไม่คาดฝัน

     ฉะนั้น ผมจึงมองว่า หากพ่อแม่รับได้ สังคม ok กับสิ่งที่ทั้งคู่ทำ การจะเป็นแฟนไปด้วยเรียนไปด้วยก็ไม่มีใครว่า ซึ่งถ้าพ่อแม่รับไม่ได้ ก็ไม่ควรเป็นแฟนกันครับ อันนี้ตอบแบบตรงๆ เราเปลี่ยนความคิดพ่อแม่เราไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนตัวเราครับ เราต้องปรับตัวเราให้เข้ากับสังคม และความเข้าใจเพราะว่า พ่อแม่ ย่อมรู้จักเราดีมากกว่าคู่(แฟน) ของเรา นั้นทำให้เราควรอดทนเสียหน่อย คบกันเป็นเพื่อนไปแบบอยู่แยกกันซึ่งก็ไม่เห็นเสียหลายตรงไหนครับ ดีซะอีกจะได้เป็นการลองใจกัน ดูกันยาวๆ ผมว่าดูดีและไม่มีอันตรายต่อตัวเองตัว

     แต่ถ้ามีพ่อแม่หรือครู(อาจารย์) ห้ามคบเป็นเพื่อนเลย อันนี้นี่ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะว่าใจคนนั้นห้ามยากให้เค้าเปิดอกคุยกัน ดูเค้าห่างๆ ให้ตัวเราเหมือนเป็นเพื่อนคอยแนะนำการใช้ชีวิตห่างๆ ทำให้เค้าเห็นเราเป็นคนที่ปรึกษาได้ เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดงันเกิดขึ้นอย่างน้อยๆ เค้าก็บอกเรา ปรึกษาเรา จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา ช่วยเหลือกัน นั้นคิดสิ่งควรทำ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วแก้ไขไมได้ แต่ป้องกันได้ ครับ

     หลายคนก็บอกว่าถ้าไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ ก็ไม่เห็นต้องเป็นแฟนกัน เพราะว่าไอ้คนที่เข้ามาในชีวิตลูกเค้าก็ไม่รู้ว่ามันจะมาอีแบบไหน มันจะมาหวัง … หรือยังไง อันนี้แนะนำว่า ให้เป็นที่ปรึกษาอย่าไปห้ามทันทีทันใด จะกลายเป็นว่าทำให้เค้าแอบคบกัน หลับหลังเราเปล่าๆ

     แต่แนะนำว่าคบกันเป็นเพื่อนไปก่อน ก็ได้ครับ แต่ถ้าพ่อแม่ยอมรับ ok กับเค้าแล้ว อันนี้ต้องคิดเองแล้ว ว่าจะยังไง เพราะว่าอนาคตเราต้องตัดสินชีวิตเราเองบ้าง และการคบกันเป็นเพื่อนกันนั้นอย่างน้อยๆ ก็ทำให้มีคนช่วยคิด ช่วยเรียน ช่วยปรึกษา จริงไหมครับ