ไม่มีหนังสือเล่นได้ดีที่สุด

วันนี้ผมเซ็ง ๆ เล็กน้อยกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ คน ในเรื่องการเลือกหนังสือเอามาอ่านประกอบการเรียน หรือแม้แต่เอามาอ่านเพื่อเสริมความรู้ด้านที่ตนขาดหายไป ส่วนใหญ่แล้วจะถามในคำถามที่ไม่แตกต่างกันคือ “หนังสือเล่มไหนอ่านแล้วครอบคลุม เนื้อหา” หรือ “หนังสือเล่มไหน อ. ออกสอบในนั้น” รวมไปถึงบางครั้งก็ถามที่ตัวอาจารย์ท่านเองว่า “อ. ครับ เล่มไหน อ. เอาออกข้อสอบ” กลับกลายเป็นว่าหลาย ๆ คนยึดมั่นถือมั่นกับหนังสือที่จะทำให้ได้มาซึ่งคะแนน มากกว่าความรู้ที่ตนเองจะได้เสียอีก บางเล่มก็ห่วยแตกสิ้นดี บางเล่มก็ดี อธิบายละเอียดดีมาก แต่เล่มใหญ่ไปหน่อย อันนี้ก็พอทน

ซึ่งผมอยากจะบอกแบบนี้ว่า ไม่มีหนังสือเล่มไหนหรอกที่จะมีให้ครบทั้งหมด ทั้งมวลในนั้น หรือแม้แต่ดีที่สุด ไม่ว่าจะ Text Book เอง หรือแม้แต่ภาษาไทยของเราเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะสอนในเชิงการใช้งานในระดับพื้นฐานในด้านต่าง ๆ มากกว่าการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนอ่านจะไม่ชอบ เพราะว่ามันมองอะไรไม่ออก หรือทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามารถนำไปสู่การเขียนโปรแกรม/ซอฟต์แวร์ระดับใหญ่ ๆ ได้

เหตุนั้น ไม่ใช่เพราะคนเขียนไม่อยากเขียน หรือไม่มีความสามารถ เพียงแต่ในด้านการประยุกต์ และปรับใช้นั้นเป็นงาน ที่เราต้องศึกษาและร่วมรวมเอามายำรวมกันเอง โดยใช้หลักประยุกต์ต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาในเรื่องแรก ๆ ของการเรียนด้านการเขียนโปรแกรม/ซอฟต์แวร์ คือพวก logic/algorithm นั้นเอง

นั้นหมายความว่า ถ้าเพิ่งเริ่มต้นจาก 0 แล้วแนะนำว่าให้อ่านหนังสือมาก ๆ ไม่ต้องเลือกว่าจะตรง หรือไม่ตรงกับที่สอน จะออกสอบหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะว่าทุกอย่างที่คุณอ่าน มันไม่ได้ใช้แน่นอน ไม่มากก็น้อยเลยหล่ะ

ผมยังจำได้ดีในวันที่ผมตัดสินใจซื้อหนังสือคอมฯ ในเดือนแรก เดือนนั้นผมหมดไปกับเรื่องนี้เกือบพันกว่า เพราะว่าผมซื้อทุก ๆ เล่ม ทุกยี่ห้อ ผมจำได้ ผมซื้อตั้งแต่ computer today ยังแถม computer mart ฉบับแรก ที่เป็นหนังสือพิมพ์ (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น commart) แถมซื้อทุกยี่ห้อมานั่งอ่าน ศึกษามันดะไปหมด ทำอย่างนี้ไปสัก ปีกว่าๆ เริ่มรู้ เริ่มเข้าใจหลักการซื้อหนังสือคอมฯ มากขึ้น ก็เริ่มเลือกหนังสือว่าจะเอาเล่มไหน ไม่เอาเล่มไหน ก็เริ่ม ๆ ลดบาง เพิ่มบาง ไป ๆ มา ๆ ในตอนนี้ก็เหลือแค่ 2 เล่มคือ PCWorld และ PCMagazine ที่อ่านประจำ แต่ก็มีพ่วง ๆ บางเดือนที่อาจจะสนใจในบางเรื่องก็แนบๆ มาบาง 1 – 2 เล่ม แต่ก็ไม่ได้อ่านแต่หนังสือพวกคอมฯเท่านั้น ก็อ่านพวกแนว ๆ วิทยาศาสตร์, ปรัชญา, ธุรกิจ , ชีวประวัติ ต่าง ๆ เป็นต้น

ก็อ่านให้ได้ความรู้มากขึ้น ได้เข้าใจโลก เข้าใจอะไรมากมายมากขึ้น ซึ่งทุก ๆ อย่างที่เราอ่าน มันก็ยังคงอยู่ในหัวผม เอามาปรับใช้ในการทำงาน และรวมไปถึงการติดต่องานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

อีกทางหนึ่งคือการค้นหาข้อมูลจาก Google (ใช้บ่อยเพราะเร็วดี), MSN Search, Yahoo และ Copernic Search เพื่อหาข้อมูลในการแก้ปัญหา, หาความรู้ใหม่ ๆ , ทำรายงานต่าง ๆ โดยทำอยู่ทุกวัน ยิ่งถ้าเราทำงานที่ใหญ่ ๆ บางครั้งต้อง Optimize Code เราก็ต้องหาหลักการ หรือพวกรูปแบบที่ทำงานได้เร็ว ๆ ซึ่งบางครั้งเราก็ต้องมากนั่งแกะ Code ชาวบ้านเค้าว่าเค้าทำอะไรบ้าง ทำยังไง ถึงได้เร็ว ได้ทำงานได้ไม่มีปัญหา ซึ่งมันทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และเพิ่มพูนทักษะ ในการต่อยอดต่อไปด้วย

ยิ่งพวก Technology ต่าง ๆ มันไม่หยุดนิ่ง เช่น .NET 1.0 –> .NET 1.1 –> NET 2.0 หรือ MySQL 4.x –> MySQL 5.0 ยิ่งทำให้เราต้องยิ่งรู้ทัน ใน feature ใหม่ ๆ และเข้าใจว่าสมควรหรือไม่อย่างไรในการเอามาทำงาน ในการทำงานต่าง ๆ ของเราหรือไม่ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราเอามาประยุกต์ใช้ได้ถูกทางมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้จากการประยุกต์นี้ นั่นคือประสบการณ์การที่ได้จากการรับข้อมูลข่าวสารจากหลาย ๆ แหล่ง เอามากรองเข้าด้วยกันจนได้สิ่งที่ดีกว่า

“รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว ขอให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล”… สำนวณ ที่ไม่มีวันเป็นจริง ในปัจจุบัน และอนาคต

ในปัจจุบัน ความรู้ และความเชี่ยวชาญทุกอย่าง ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว และเดียวดาย อีกต่อไป ทุกศาสตร์ และความรู้นั้น มีความเชื่อมโยงกันอยางแยกไม่ออกแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามที การที่หลายๆ คนคิดว่าเก่งเพียงอย่างเดียวก็อยู่รอด ผมกลับคิดว่าเค้ากลับกลายเป็นคนที่มองอะไรเพียงด้านเดียว เท่านั้น คือมองในด้านที่เค้าเหล่านั้นถนัด เช่น

เสนาธิการทหาร กับขุนผลออกรบ มักไม่ลงรอยกัน ดั่งในการทำศึกษาสงคราม ในเรื่องเล่าสามก๊ก นั้นข่งเป้ง กับกวนอู และเตียวหุ้ย ในตอนแรกๆ ไม่ใคร่จะชอบหน้าข่งเป้ง เพราะอ้างอิงหลักวิชาการบ มากมาย ก่อนที่จะเสนอทำการรบ มีการคำนวณโน้นนี่ก่อนเสมอ ผิดกับกวนอู และเตียวหุ้ยที่ประจันหน้า และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเสมอๆ มากกว่า และมักไม่เตรียมการมากมายนัก ซึ่งหลักการคิดทั้งทั้งสองฝ่ายนี้เอามาเปรียบเทียบกับคนที่มองอะไรเพียงด้านเดียว มีความรู้เพียงด้านเดียว กับคนที่มีความรู้หลายๆ ด้าน ซึ่งด้วยความมีความรู้ในด้านต่างๆ เอามาเปรียบเทียบ และใช้ในการตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างมากมายกว่าได้ชัดเจน

หรืออย่าโจโฉ มีความรู้ความสามารถทั้งการต่อสู้ และการวางแผนที่แยบยนมาก รู้จักใช้คน รู้จักที่จะต่อสู้ จนสามารถที่จะกุมอำนาจได้ในยุคสมัยที่ตนเองยังคงมีชีวิตอยู่

หลายๆ คนคง งง ว่าทำไมผมถึงเอาเรื่องราวนี้มาเปรียบเทียบกับกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ จริงๆ ผมอยากให้มองภาพให้ชัดเจนว่า เวลาเรามีเพียงความรู้เพียงด้านเดียว ย่อมมีทางเลือกในการตัดสินใจงานต่างๆ ได้น้อยลง มุมมอง น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก บางคนแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยวิธีที่น้อย

บางคนที่เรียนด้านคอมฯ ไม่ว่าจะด้าน Software หรืองานการผลิต Hardware ทุกสายงานด้านนี้จะใช้หลักการประยุกต์ต่างๆ ที่เรียนมาในการนำมาใช้งานทั้งสิ้น ผมว่าไม่ควรมีการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้นมาโดยตรง แต่อย่างใด ถ้าไม่ใช่สายอาชีพ มีหลักการเรียน การสอนเพื่อผลิตบุคลากรออกมาเพื่อรองรับการทำงานแบบนี้โดยเฉพาะ ผมว่าในตอนนี้คนไทยที่มักพูดและบอกแบบนี้ น่าจะลองคิดดูใหม่ว่ามันถูกต้องแล้วหรือ ในการที่จะนำความรู้ความสามารถต่างๆ ที่ไม่ได้รับการปรับปรุง ประยุกต์มาสอนกัน การเรียนการสอนแบบนั้นเป็นการทำเพื่อการเฉพาะจะมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ว่างจ้าง หรือคนที่หวังผลทางด้านนี้จะต้องกระทำเองกับบุคคลที่จะรับเข้ามาทำงาน “ไม่ใช่” สถาบันการศึกษาต่างๆ มิเช่นนั้นแล้ว คนที่จบออกมาจากสถาบันการศึกษา จะคิด และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาในรูปแบบผลงานใหม่ๆ ไม่ได้

วิชา และศาสตร์ทุกศาสตร์ ควรนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลงานที่ต่อยอดความคิด มากกว่าที่จะเป็นผลงานเฉพาะด้าน จากที่ได้ยกตัวอย่างในงานด้านคอมฯไป ผมขอยกตัวอย่างในเรื่องของการออกแบบ Software ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมถนัดมากที่สุด

การออกแบบ และสร้างซอฟต์แวร์นั้น จะใช้หลักวิชาการมากมาย และขึ้นอยู่กับงาน ที่ได้รับ หรือสิ่งที่จะทำว่ามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในด้านใดบ้าง เช่น การที่จะเรียนโปรแกรมในการจัดการข้อความ หรือเอกสารนั้น ควรมีความรู้ในการจัดการหน้ากระดาษ, แบบตัวอักษร, ฯลฯ ซึ่งเป็นงานทางฝ่ายออกแบบ และสิ่งพิมพ์ซึ่งไม่ใช่ส่วนที่คอมฯ จะได้เรียน นั้นหมายถึงคนที่จะมาลงมาเขียน และพัฒนา ต้องมีการนำความรู้ หรือบุคลากรที่มีความรู้เข้ามาเพื่อทำให้งานมีความสมบูรณ์ และเป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็นให้มากที่สุด

ตัวอย่างต่อมา ในเรื่องการออกแบบ โปรแกรมทำงานด้าน กราฟฟิก นั้น ก็ควรจะมีความรู้ในเรื่องการจัดออกประกอบภาพต่างๆ , การจัดารสี, การจัดการระบบเส้นสาย ,ฯลฯ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่ควรที่จะไม่มีความรู้ หรือมีทีมงานที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้มาทำงานด้านนี้ได้

ถึงแม้ว่าในการทำงานปัจจุบัน จะมีการแบ่งทีมในการทำงานเป็นฝ่ายๆ แต่ทุกๆ ฝ่ายนั้นก็ควรมีพื้นฐานทางความรู้ที่สามารถสื่อสารระหว่างบุคคลได้เช่นกัน เช่นฝ่าย implement กับฝ่ายออกแบบ interface ก็ควรจะพูดคุย และเข้าใจในหลักการออกแบบ ของกันและกัน และเข้าใจความหมาย และความเป็นไปได้ในการพัฒนาด้วย ถึงแม้จะมี SA หรือ SD มาจัดการขั้นทีหนึ่งก็ตามที แต่อย่าลืมว่า บางครั้งการพูดคุยโดยตรงกลับได้ผลที่ออกมาได้ดีกว่ามากทีเดียว ซึ่งบางครั้งการผ่าน SA/SD ก็ไม่ได้ผลที่ออกมาดีเท่านี้ด้วย

ในการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องการคนที่รู้จริง และรู้กว้าง คือรู้ในทุกๆ ศาสตร์ หรือพอเข้าใจ และพื้นฐาน และรู้ลึก ในสายงานที่ต้นได้ร่ำเรียนมา

การรู้ลึกทำให้เราทำงาน และเข้าใจในงานที่เราทำได้ดีมากขึ้น

การรู้กว้างเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร และพูดคุย รวมถึงมีมนุษยสัมพันธ์ กับคนในสังคมเดียวกัน และต่างสังคมได้ดีกว่า รวมถึงมุมมองในการทำงาน ที่หลากหลายมากขึ้นด้วย

จบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์จะไปทำอะไร

คำถาม : อยากรู้ครับ ว่าจบคณะวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ แล้วไปสมัครงานอะไรได้ครับ จะหาสมัครงานได้จากที่ไหน แล้วก็ ทำไมคนถึงไม่นิยมเรียนคณะวิทยาศาสตร์กันครับ

ถ้าจบไปจะไปต่อยอดหรือทำงานอะไร นั้น ในสาย Science นั้น มีทางเลือกได้มาก เพราะว่า Science คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำงานที่เป็นระบบ ขั้นตอน ซึ่งคือการจัดการนั้นเอง หรือ Managment ครับ คุณต้องมีคุณลักษณะใน Sci’ method ที่มาก (ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์) จริงๆ คุณต้องได้รับมาก การทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ทำงานด้านวิจัยจะไปได้ดีกว่าครับ คนจบวิทย์มา จะได้เปรียบมากๆ เพราะว่าเรียนมาขั้นตอนมันสอนครับ แล้วไปเรียนต่อยอดด้าน SA หรือ NS ก็ได้

ต่อมาครับ การทำงานในระดับ Com Sci นั้นเป็นการนำขั้นตอน ทั้งปรัญญาศาสตร์, จิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มารวมกันให้เกิดการตอบโจทย์ของคำถามที่ส่งมา

คุณต้องใช้ ปรัญญาศาสตร์และจิตศาสตร์เพื่อทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน ระหว่างโปรแกรม รวมถึงระหว่างคน และทีมงานด้วย (วิทย์ต้องทำงานเป็นทีม และทำงานเป็นระบบครับ ซึ่งใช้ใน การเชื่อมโยงให้คุยกันได้ระหว่างระบบ หรือขั้นตอนนั้นๆ) และใช้คณิตศาสตร์ในการทำขั้นตอนในการ ตอบคำถามในแต่ละส่วนทั้งแนว condition หรือinteration ต่างๆ เป็นต้น

ผม intro มานาน ต่อในเรื่องทำงานต่อนะครับ

นั้นหมายความว่าคนที่จบวิทย์มานั้นทำงานในสายจัดการระบบ หรือทำงานในสายคิดค้นก็ได้ เพราะได้พื้นฐานจากความรู้และขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ มาครับ ซึ่ง ส่วนมากที่ได้เรียนกันก็มีในส่วนของ Computation, Algorithm, Data Stucture, Software Engineering (อันนี้สาย CS เรียนนะครับ ชื่อบอกวิศวะ แต่จริงๆ คอร์สมันเป็นของ CS ครับ), Software Analye ฯลฯ จริงๆ มีอีกหลายตัวครับ

ผมมองว่าการทำอาชีพมันจะไล่อันดับไปเรื่อยๆ ครับ จากคน Coding -> Team Leader -> Team Director -> Brand Manament -> Software Leader -> Corp Mangament ครับ จริงๆ มีมากกว่านี้แต่ไล่คร่าวๆ ครับ

การทำงานต้องรู้งานในส่วนนั้น ๆ แล้วค่อยๆ ไล่ตัวเองขึ้นไปครับ ไม่งั้นเราจะไม่รู้งานด้านล่าง แล้วเราจะจัดการ การทำงานพลาดครับ เหมือนกับคนที่ไม่รู้การตกปลาว่ายากแค่ไหน แต่ไปบอกให้ลูกจ้างตกปลาได้เยอะๆ โดยไม่รู้ว่ามันจับได้ยาก นั้นหล่ะคัรบ ……..

แล้วทำไมคนไม่ชอบเรียนผมบอกไว้เลยว่า เป็นเฉพาะที่ไทยมากกว่ามั้งครับ

ตอบตรงๆ นะ

“คณะนิยม”

ต่อการทำงานนิดนึงครับ จริงๆ แล้วทำงานได้เยอะนะครับสาบวิทย์

สายบริหาร, สายจัดการระบบ, สายค้นคว้าวิจัย, สาย Coding ครับ เอาแค่นี้ก่อนดีกว่าครับ

จริงๆ CS ไม่ได้จบออกมาแค่เขียนโปรแกรมนะครับ แต่ทำด้านอื่นได้อีก แต่ใช้สิ่งต่างๆ ที่เรียนมา นำมาประยุกต์ใช้ครับผม

ส่วนเรื่องการหางานนั้น แนะนำว่าให้ทำงานแนว Freelances ตอนเรียนไปก่อน (ถ้ายังเรียนอยู่นะครับ) แต่ถ้าจบมาแล้ว แนะนำให้ทำงานใน SWH ครับ ผมว่าได้ประสบการณ์ในการทำงานมากครับ ถึงจะโดนใช้เยี่ยงทาส เครียด แต่คุ้มในเรื่องประสบการณ์การทำงานครับ

ผมว่าทำงาน SWH กับตอนทำ project จบผมว่า SWH น่าจะลำบากน้อยกว่านิดๆ นะครับ เพราะว่าทำงานตอน project ทำเพื่อจบ เงินก็เสียเอง ทุกอย่าง แถมไม่ได้เงินเดืิอนเบี้ยเลี้ยง อีก แต่ทำงาน SWH ได้เงินเดือน สวิสดิการก็ได้ขึ้นกับบริษัท เครื่องมือต่างๆ หรือการทำเอกสารต่างๆ ก็ของ SWH ครับไม่ใช่เงินเราย่อมไม่ต้องออกเอง เพียงแต่ใช้งานให้ตรงกับ SWH ครับไม่ใช่ไปยักยอกเค้าเป็นของตนครับ

ผมว่าสบายกว่ากันตั้งเยอะครับ แถมได้เจอปัญหาใหม่ๆ ทั้งคน ทั้งงานเยอะมากครับ มีประโยชน์ในอนาคตแน่นอนครับ

ลำบากตอนแรกครับ ได้อะไรเยอะครับ แล้วเจออะไรสบายๆ ผมว่ามองอะไรได้กว้างขึ้นเยอะครับ เพราะเราลำบากมาแล้ว จะเข้าใจคนทำงานด้านล่าง ถ้าเรามาทำงานบริหารครับ …..

ปล. คิดในทางที่ดีไว้ครับ ชีวิตจะได้ไม่ทุกข์มากครับ

เข้าใจงานของวิทยาศาสตร์, ปัญหาในการเลือกคณะในปัจจุบัน และการเรียนรู้

ต้องทำความเข้าก่อนว่า คณะวิทยาศาสตร์ มีแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา ที่เป็นหลัก ๆ ก็เห็นจะมี ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์, สถิติฯ, ฯลฯ แต่ละสาขาวิชา มีเนื้อหาแตกต่างกันออกไป

เรามาเข้าใจก่อนว่าวิทยาศาสตร์คืออะไรก่อน จริงๆ คำถามนี้ถามเด็ก ม. 6 แทบจะเกือบทุกคนยังตอบไม่ได้ก็มีนะ

วิทยาศาสตร์คือ “การเข้าใจปรากฎการณ์ต่างๆ หรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ” แต่ส่วนใหญ่เราจะเอาไปปะปนกับความหมายของวิศวกรรมคือ “การทำความเข้าใจวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ และนำมาประยุกต์ เพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นรูปธรรม”

ซึ่ง กล่าวโดยสรุป

วิทยาศาสตร์ คือ”การศึกษาเข้าใจธรรมชาต์”

ส่วนวิศวกรรม คือ “การประยุกต์วิทยาศาสตร์เพื่อนสร้างสรรค์งานต่าง ๆ”

แต่เดียวก่อน คนไทยเราชอบคิดว่า “วิศวกรรม เก่งกว่า วิทยาศาสตร์” หรือบางกลุ่มคิดว่า “วิทยาศาสตร์ เก่งกว่า วิศวกรรม”

ผมอยากให้คิดใหม่ว่า ทั้งสองสาขาวิชานี้ ไม่ได้มีใครเก่งกว่าใคร เพียงแต่ทุกๆ ครั้งที่เราเห็นวิศวกรรมเก่งกว่า หรือวิทยาศาสตร์เก่งกว่า เพราะ

“เราเห็นผลงานที่ออกมาของทั้งสองค่ายไปในคนละแบบ และคนที่ตีความก็ตีความไปในแนวทางต่าง ๆ กันไป”

นั้นหมายความว่าเรา

“มองคุณค่าของความรู้ในศาสตร์ทั้งสองด้วยผลงาน มากกว่าสิ่งที่เป็นเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดผลงานต่าง ๆ ที่ออกมา”

สังคมไทยในปัจจุบันนั้นต้องการคนที่เป็นคนเริ่มคิด จากความเข้าใจก่อน นั้นหมายความว่า การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานของสังคมชนชั้นของทุกประเทศ ดังจะเห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีนักวิทยาศาสตร์ค่อนข้างเยอะ และเข้าใจหลักเหตุและผลมากๆ

แต่สังคมไทยเรา เรียนสิ่งที่ทำให้เกิดผลเร็วๆ โดยข้ามขั้นตอนของกระบวนการก่อร่างสร้างฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อต่อยอด และนำความรู้ไปสู่การสร้างทางวิศวกรรม

การมีงานวิจัยเป็นงานของนักวิทยาศาสตร์ การทำงานวิจัยเป็นงานที่ทำเพื่อศึกษา ทำความเข้าใจเหตุของปรากฎการณ์ต่างๆ ทั้งหลาย ทั้งในโลกความเป็นจริง และอุดมคติ รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ด้วย การจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเราต้องมีรากของปัญญา เสียก่อน การทำงานอย่างมีขั้นตอนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งหนึ่งที่คนเรียนคณะต่างๆ ที่เป็นที่นิยมจบออกมาแล้วมีงานทำดี ๆ เงินเดือนสูง ส่วนใหญ่จะทำด้วยความอยากได้ ใคร่มีของความเป็นอยู่ โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจทางครอบครัว และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนด ทำให้เรามักเลือกการเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ จาก “ค่าของเงิน หรืองานที่จะทำตอนจบ” มากกว่าความสนใจ ใคร่รู้ของตัวเอง ซึ่งความผิดนั้นไม่ใช่มาจากตัวเด็กเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกิดค่านิยม ของการนิยมวัตถุ หรือนิยมชื่อเสียงจอมปลอม แต่ผิดที่ผู้แนะนำแนวทาง ทั้งผู้อุปการะส่งเสีย การสั่งสอนของคุณครู รวมถึงวัฒนธรรมการติดเพื่อน และการเที่ยวแตร่ด้วย

ในปัจจุบันคนในสังคมไทยเรายังคงคิดว่าการ ent’ และจบมาทำงานดีๆ เป็นจุดสูงสุดของการเรียนรู้, การประสบความสำเร็จของโรงเรียนผู้สอน
นั้นหาใช่ “แก่นของสาระไม่” แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการก้าวเดินในสังคมยุคใหม่ที่ความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมาจากการเรียนเก่ง หรือการทำงานที่ดีๆ “คะแนน ent’, GPA ผมมองว่าเป็นตัวบอกความตั้งใจ ความขยันของคนในช่วงเวลานั้น ๆ แต่ หลังจากนั้นอีก 4 ปี ที่เรียนมหา’ลัย มันจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงเลยหรือ แล้วการจะวัดความเก่ง จากคะแนน ent’ ผมว่ามันผิวเผินเกินไป และมันคนละเรื่องด้วย”

มีหลายครั้งที่การแนะแนวมองคนที่คะแนน และลักษณะอันพึงประสงค์ต่อการเรียนในสาชาวิชานั้น แต่กลับไม่มองที่ “จิตสำนึก หรือเหตุของความอยาก อย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้ในสาขาวิชานั้น” มองเพียงแต่ “คุณเรียนเก่งต้องเป็นหมอ คุณเรียนอ่อนวิชาวิทย์ ต้องไปเรียนภาษา” กลายเป็นแบบนี้กันไปทั่วทุกโรงเรียน หรือทุกสังคมไปแล้ว ….

เรามามองกันต่อที่คำถามที่เป็นต้นเรื่องตรงนี้ที่ว่า “เรียนคณะวิทยาศาสตร์แล้วมีอนาคตมั๊ย และเรียนสาขาไหน หางานได้ง่ายสุด”

ถ้าจะถามว่า “เรียนแล้วมีอนาคตมั๊ย”

ขอตอบตรงนี้เลยว่า “เรียนอะไร ก็มีอนาคต ทั้งนั้นแหละ”

แต่มันขึ้นอยู่กับว่า คุณนำความรู้ที่เรียนมา ไปไช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อยแตกต่างกัน แต่ถ้าจะให้เราเดา คำว่า “มีอนาคต” ของคนไทยเราๆ ก็คือน่าจะหมายถึง “เรียนคณะนี้ แล้วจะตกงานมั๊ย” ถูกต้องหรือเปล่า

แล้วอีกคำถามนึงที่จะมีคนถามแน่นอนคือ “เรียนสาขาไหน หางานได้ง่ายสุด”

ตอบได้เลยว่าเรียนสาขาไหน ก็หางานได้ไม่ยาก หากคุณมั่นใจว่า คุณจะเอาความรู้ความสามารถที่เรียนมา ไปใช้กับบริษัทที่คุณจะเข้าไปทำงานได้.. ตลาดแรงงานเปิดพร้อมเสมอสำหรับ ทุกๆ คณะ ที่เค้าบ่นๆ กันว่า หางานยาก คุณทราบหรือเปล่า ว่า คนที่เค้าบอกคุณ ว่าหางานยาก มันเกิดจากสาเหตุอะไร

คำตอบคือ
1. เค้าไม่ขวนขวายหาข้อมูลการรับสมัครงาน ที่ต้องการบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับเค้า
2. เค้าสมัครงาน ในบริษัท ที่ต้องการคุณสมบัติไม่ตรงกับเค้า
3. เค้าไม่พร้อมทั้งความรู้ หรือจบออกมาเพราะเรียนแบบผ่านๆ แต่ก็จบได้
4. เหตุผลอื่นๆ อีกเยอะ คิดไม่ออกอ่ะนะ

เราเชื่อว่า ไม่ว่าจะคณะอะไร แต่ถ้าคุณตั้งใจที่จะเรียน เรียนเพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่เรียนไปวันๆ .. มั่นใจว่าเมื่อคุณเรียนจบมาแล้ว คุณต้องหางานทำได้แน่นอน รวมถึงอนาคตในอาชีพ ทั้งการเป็นลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการที่ดีได้ไม่ยากนัก

อนาคตเราใครกำหนด (2)

“มันน่าจะเป็นสภาวะก้ำกึ่งนะ เช่น เราอาจจะดับดวงอาทิตย์ได้ อาจจะมีชีวิตอยู่ไปจน
จักรวาลสิ้นสุดได้ แต่เราก็จะมีมวลไม่พอจะล้มล้าง sigularity หรือ เราคงหยุดการ
สิ้นสุดของจักรวาลไม่ได้ เพราะชีวิตก็มีกรอบของมัน หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่คำตอบ
สำหรับชีวิตทุกชีวิต ดังนั้นส่วนตัวคิดว่า การกำหนดบทบาทตัวเอง เป็นสภาวะขับเคี่ยว
(dual state nature) ของ self (อัตตา) กับ universe (ปรมัตตา,อนัตตา)
จริงๆคิดว่า อะไรที่ทำแล้วมีความสุขความสงบก็น่าจะเป็นทางออกของชีวิต แต่ปัญหาคือ
ไอ้พวกที่มันไม่คิดอย่างนี้มันมักจะมายุ่มย่ามกับชีวิตเราและทำให้ชีวิตเราไม่มีความสุข :)

จาก ที่ได้อ่านไปแล้วในตอนแรกนะครับ ก็อย่างที่ว่าไปแล้ว เราคนไทยมอง และกำหนดคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า เค้าเป็นเรา หรือเราเป็นเค้า หรืออย่างไร จริงๆ

ผมว่าไม่ควรกำหนดว่าใครต้องทำอะไรเพื่อใคร ถ้าเค้าไม่เต็มใจทำ แต่ที่แย่กว่าคือ เมื่อเค้าทำตามอย่างที่เราต้องการแล้ว ! ดันไปบอกว่ามันยังไม่ดี หรือยังดีไม่พอ มันดูเป็นการตั้งความหวังในตัวเค้ามากเข้าไปอีก เออ มันกลายเป็นการบันทอน ศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการทำงานรวมถึงกำลังใจ เข้าไปอีก

แต่เหตุและปัจจัยที่ผมได้กล่าวไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้มากนัก แต่อยู่ที่ค่านิยมครับ

สังคมเราเปลี่ยนไปหรือเปล่า ?

เปล่าเลย มันเป็นมาแต่เริ่มมีระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยแล้ว หล่ะ

เราคาดหวังกับการเรียนว่าออกมาต้อง “เข้าไปรับราชการ” กันมากเกินไป เราไม่ได้มองถึงส่วนที่ ประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่า “จบออกมาต้องเป็นหัวหน้า หรือผู้สร้าง ในอีกนัยความหมายนึงคือเจ้าของกิจการ รวมถึง สร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา”

รวมถูกสอนให้ “ตาม หรือลอก” มากกว่า “คิด และสร้าง”

ช่างน่าภูมิใจที่เราเป็นนักลอกเลียนที่เก่ง แต่เรากลับสร้างได้น้อยมาก …..

ปัญหาคือ !!!

เราไม่มี R&D รองรับมากเท่ากับคนจบ หรือคนเก่งๆ

คำตอบคือ !!!

มันทำให้เกิดปัญหาคนเรียนเปลี่ยนสายการเรียน เพราะ “เรียนไปแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรได้มากเท่าที่เห็น” หรือ “มองที่ด้านหลังของคำถามมากกว่า ด้านหน้าของคำตอบที่ออกมา”

ก็อย่างที่บอกในตอนที่แล้วว่า “มองผล ก่อนเหตุ” มอง “ตัวงานที่จะทำ มองค่าตอบแทน ค่านิยม หรือความเท่ห์ ก่อนความพอใจ หรือความสนใจ ของเรา”

แล้วจะไปรอดหรือ ……. ?

คนมันไม่มีใจเรียน มองแต่การตอบแทนในอนาคต คือบางคนมองด้านเดียว บางคนยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนไปทำไม หรือเอาไปทำอะไร

ตีโจทย์ในการค้นหาตัวเองไม่ออก ก็เหมือนกับ คนเดินป่าไม่รู้ทิศทาง

ชีวิตมันไม่ง่ายเหมือนกับ จีบสาว หรือชงเหล้า ….

ถ้ามันง่ายขนาดนั้น ป่านนี้คงไม่มีคนจนหรอก ….. ซึ่งเรามองแต่ด้านนอก เรามองที่มายา เราโดนการตลาดของ สื่อยัด เขาขยะเข้าหัว ขยะโฆษณาที่พร้อมจะทำให้เราตกเป็นทาสของมันได้ไม่ยาก

ใครเป็นคนกำหนดว่า เราต้องใช้ หรือไม่ใช่สินค้านั้นๆ นอกจากตัวเราเอง แล้วทำไมเราต้องไปตาม มันด้วย

อีกอย่างที่ตอนนี้เราตกเป็นทาส “เทคโนโลยี” มากมายเกินไป …. แถม ไม่ยอมรับในสิ่งที่คนไทยด้วยกันเองผลิต แต่กลับไปชื่นชม สินค้าต่างประเทศ มากกว่า

เพราะเราไม่เคยมองว่ามันดี ทั้งๆ ที่ของที่เราผลิต ต่างประเทศยอมรับมากมาย ขึ้นชื่อว่าสินค้า เกรด A ด้วยซ้ำไป

เรากำลังดูถูกตัวเอง ดูถูกคนในชาติกันเอง มันเลยย้อนกลับมาคนคนรุ่นใหม่ และทัศนคติใหม่ๆ ว่า …

“คุณต้องออกมาทำงาน ไม่ต้องคิดเองหรอก เอาความรู้ที่ได้มา เอามาทำยังไงให้มันขายได้เป็นพอ ส่วนเรื่องอื่น นายจ้างจัดการเอง”

เวรกรรม กลายเป็นว่าเราเป็นเครื่องจักรไปซะแล้ว

เอ้า !!! กลับมาที่เรื่องเราต่อ เท้าความมากเกินไปเดี่ยวออกทะเลอีก ……..

เราจะเห็นได้ว่าสังคมเรานั้นชอบกำหนดตัวบุคคล ทุกๆ คนว่าต้องไปตามนี้มากกว่า จะถามเค้าว่าอยากไปทางไหน เรากำหนดโดยยึดตัวเราว่า เราทำได้ เค้าต้องทำได้ ….

อีกปัญหาหนึ่งที่เห็นชัด …… และชัดมากคือ มาตรฐานการเรียนการสอน การออกข้อสอบ …

เราสอนให้ทำ ให้ท่อง แต่ไม่ได้สอนให้ “เข้าใจ” ทำให้เราเรียนขั้นสูงแล้วหัวไม่ดี หางก็เสีย สรุป ตายน้ำตื่น ……

ตัวอย่างง่ายๆ คือ พีรามิด …… หรือรากของต้นไม้ …. มันต้องเริ่มจากฐานที่แน่นหรือใหญ่ หรือรากต้นไม้ที่ฝั่งลึกลงไปไปในดิน

แต่เรากลับไปเอาแต่กิ่งได้ ก้าน หรือลำต้น กันก่อน ……

อย่างใกล้ตัวที่สุด เรื่องการเรียนคอมฯ ถ้าไม่เข้าใจหลักการทำงานของคอมฯ คือ Computer Architecture หรือ Computation Theory แล้ว เราจะมองอะไรได้น้อย และเข้าใจมันลำบาก หรืออาจจะแค่ท่องๆ มันเท่านั้น ให้ผ่านๆ ไป แล้วก็สอบ

แล้วอย่างนี้ พอไปเจอตัวต่อไป ก็หน้าหงายครับ เพราะว่ามันใช้พื้นเดิมมาช่วยกัน ปัญหานี้เจอมากับตัวเลยต้องไปนั่งอ่านใหม่อีกรอบ มันถึงจะไม่งง ถึงได้เข้าใจเลยว่าพื้นไม่ดี ก็จบกัน …..

นั้นก็เหมือนกับที่ผมเขียนมายืดยาวครับว่า

“ถ้าไม่รู้จักตัวเอง, ไม่มีจุดยืดที่แน่นอน และสร้างสรรค์ ก็หาทางไปไม่เจอ เราก็จะโดนคนอื่น(สังคม) กระทำอย่างที่เค้าต้องการ รวมถึงค่านิยม และสื่อโฆษณาที่ประดังเข้ามา โดยเฉพาะสังคมที่พร้อมจะเหยียบคุณเมื่อคุณแพ้ได้เสมอ ซึ่งถ้าคุณไม่มีความสุขกับสิ่งที่ทำ แล้วก็ยากที่จะลุกขึ้นมาแก้ไข หรือสร้างใหม่ได้ คนรุ่นใหม่ มักจะกลบความอ่อนแอด้วยการแสดงออกไหนหลายรูป ทั้งดี และไม่ดี ความอ่อนแอเหล่านี้ถ้าเราสร้างมันเป็นจุดด้อย มันจะกัดกินเรา แต่ถ้าเราสร้างมันให้กลายเป็นปมเขื่องใจ บอกให้สู้กับมัน น่าจะดีกว่ามันนั่งกลบมันไว้”

(ปมเขื่อง ตรงข้ามกับปมด้อย)

อยากให้คนที่ได้ blog เข้าใจว่า เราควรทำยังไงกับชีวิต มากกว่าที่จะไหลไปตามกระแสสังคม มันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ว่ามันดีกว่าเราไหลไปแล้ว หาจุดยืนไม่เจอ ……

“คนเราล้มแล้วลุกยืนที่มั่นคงเดินไปในสิ่งที่ต้องการ ดีกว่ายืนแล้วเหมือนคนเมาใครจูงไปไหนก็ไป”