Mini Review – Ocz Octance SATA3 128GB แรงมว้ากกกกกกกกก!!!!

เมื่อวานผมไปถอย Ocz Octance SATA3 (6Gpbs) 128GB จากร้าน memorytoday.com มาใส่เครื่อง Lenovo ThinkPad T420 ของผมเอง เหตุที่ใช้ Ocz Octance แทน Ocz Vertex3 เพราะ Indilinx Controller นั้นไม่มีปัญหาเรื่องเมื่อพื้นที่ใกล้เต็มแล้วจะทำงานช้าลง (แต่ก็ยังเร็วกว่า HDD) เลยตัดสินใจตัวนี้มาแทน แม้ write mode จะช้ากว่าเกือบเท่าตัวก็ตาม

IMG-20120321-00610

Spec คราวๆ ก็

  • Interface: SATA 6Gbps / Backwards Compatible 3Gbps
  • Indilinx Infused™
  • TRIM Support
  • 512MB Onboard Cache
  • Max Read: up to 470MB/s
  • Max Write: up to 210MB/s
  • Random Write 4KB: 18,000 IOPS
  • Random Read 4KB: 35,000 IOPS

เลยเอามาทดสอบดูเล็กๆ ตามด้านล่างครับ ความเร็วก็ประมาณใน Spec เลยทีเดียว

2012-03-22_120438

2012-03-22_120603

2012-03-22_123513

Review – OCZ Nocti Series mSATA SSD 60GB

เรามาทำความรู้จักกับ mSATA กันก่อนดีกว่า โดยเจ้า mSATA หรือในชื่อ Mini-Serial ATA ในปัจจุบัน (ณ.เดือน ก.พ. 2012) ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อของสล็อต mini PCIe connector (Mini PCI Express) บนตัว M/B ของตัว Notebook ที่ปรกติจะใส่ WiFi Card อยู่แล้ว ซึ่งใน Notebook มักจะมี 1 สล็อตเป็นปรกติเพื่อใส่ WiFi Card และในบางรุ่นจะมี 2 สล็อตเผื่อใส่ Card มาตรฐาน mini PCIe ซึ่งมักจะใส่พวก WWAN ที่เป็นการ์ดที่เพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อกับเครือข่าย 2G/3G หรือแม้แต่ WiMax (มีไว้เผื่ออนาคต) ซึ่งการทำแบบนี้ต้องมีมาตรฐานต่างหากจาก PCIe ก่อนหน้านี้ เพราะฉะนั้น Mini PCIe รุ่นเก่าจะไม่สามารถใช้งานได้

mSATA นั้นเพิ่งเริ่มต้นมีและประกาศเป็นทางการประมาณเดือนกันยายน 2009 โดยได้มีการเพิ่มเติมมาตรฐานใหม่ให้ใช้การสื่อสารข้อมูลแบบ Serial ATA ลงบนรูปแบบและสล็อตขนาดเล็กซึ่งผู้ผลิตเห็นตรงกันว่า mini PCIe เป็นคำตอบ ซึ่งก่อนหน้านี้มีมาตรฐานนี้อยู่บน Full PCIe อยู่ก่อนแล้ว โดยได้ประกาศลงใน Press Release ที่ 503.619.0563 SATA-IO to Develop Specification for Mini Interface Connector เพื่อเพิ่มให้สามารถใช้งานในอุปกรณ์ Notebook ขนาดเล็กที่มีพื้นที่ใส่ HDD 2.5” ได้จำกัดหรือไม่มีเลย โดยใช้ประโยชน์จาก SSD ที่ความเร็วขั้นต่ำขนาดเล็กโดยที่ 180MB/s สำหรับอ่านและเขียนที่ 70MB/s บน SATA 1.5Gbps, SATA 3Gbps และ SATA 6Gbps บนการ์ดหน่วยความจำขนาดเล็กคล้ายการ์ด WiFi หรือ WWAN

เพราะฉะนั้น mSATA ในตอนนี้นั้นใช้รูปแบบ connector ที่เหมือนกับ mini PCIe แต่ทั้งหมดแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งก่อนที่จะซื้อมาใช้งานนั้นแนะนำให้ตรวจสอบก่อนว่าเครื่องของคุณ mini PCIe สามารถใส่ mSATA ได้หรือไม่ด้วย

ซึ่งในช่วงปี 2010-2011 เป็นต้นมาก็มีหลายยี่ห้ออออกการ์ด mSATA ออกมา โดยหัวหอกคือ Intel ในช่วงต้นยังคงราคาแพงและไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก และต่อมาก็มีคู่แข่งในตลาดเพิ่มมากขึ้นอย่างเช่น Samsung หรือ Toshiba และที่เราจะนำมาแนะนำในวันนี้คือ OCZ รุ่น Nocti Series mSATA SSD 60GB โดยผมได้ OCZ Nocti Series mSATA SSD 60GB จาก MemoryToday.com มานานมาก ไม่ได้เขียนขึ้นสักที วันนี้เลยได้เวลาเอามาให้ดูกันว่ามันมีดีอะไร หลายๆ คนถึงอยากได้เจ้าตัวนี้กัน เหมาะมากสำหรับคนที่ใช้ Notebook ขนาดเล็กที่มี HDD อยู่ก่อนแล้ว และมีสล็อต mSATA ว่างอยู่ เรามารูปแบบของตัวการ์ดกันดีกว่า

DSC_1247

ตัวการ์ดนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากนักเมื่อเทียบกับขนาดของ SSD ตัวอื่นๆ ในท้องตลาด

DSC_1248 DSC_1245

เมื่อใส่คู่กับ RAM SO-DIMM DDR3 บน M/B แล้วลองเทียบดูจะเห็นได้ว่ามีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด

DSC_1242

สำหรับ Notebook ที่นำมาทดสอบนั้นคือ Lenovo ThinkPad T420 4180-RG8 ที่ใช้ Chipset Mobile Intel QM67 Express และตัวของ SSD Nocti นั้นใช้ Storage Controller Sandforce รุ่น SF-2100

2012-02-19_232819

รองรับการทำงานแบบ TRIM ที่จำเป็นสำหรับคนที่ใช้ SSD

2012-02-19_234550

ทดสอบผ่านโปรแกรม HD Tune Pro 5.0

ผลการทดสอบสำหรับอ่านข้อมูล ดูแล้วยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไหร่นัก แต่โดยรวมถึงว่าเร็วในระดับที่น่าพอใจสำหรับการ์ดเล็กขนาดนี้ โดยค่าเฉลี่ยการฟจะวิ่งอยู่ที่ประมาณ 160MB/s ซึ่งก็ยังคงเร็วกว่า HDD 7200rpm ในท้องตลาดทั้งหมดอยู่ดี (ปรกติ HDD 7200rpm อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 100-120MB/s) แต่ส่วนที่ทำได้ดีอย่างเห็นได้ชัดคือ Access Time นั้นเร็วกว่า HDD 7200rpm แบบไม่เห็นฝุ่นเลย โดยปรกติ HDD 7200rpm นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 11-9ms แต่เจ้าตัว SSD ตัวนี้อยู่ที่ 0.15ms ซึ่งเร็วมากๆครับ

2012-02-19_235051

เรามาดูเรื่องการคัดลอกและส่งไฟล์แบบ Sequential นั้นทำได้ตามคุณสมบัติที่วางไว้คือ ~250MB/s

2012-02-19_234536

เรามาดูค่า Access Time แบบละเอียดๆ จะเห็นว่าไฟล์ขนาดเล็กๆ นั้นทำได้ค่อนข้างใช้ได้อยู่ที่ประมาณ 0.1-0.2ms สำหรับไฟล์ไม่ใหญ่มากนัก

2012-02-19_234138

2012-02-19_234638

DSC_1241

กล่าวโดยสรุป สำหรับคนที่มี Notebook ที่มี HDD อยู่แล้ว และมีสล็อต Mini PCIe ที่สนับสนุน mSATA เหลือว่างอยู่ ผมแนะนำให้ลองหามาใช้ดูครับ ส่วนตัวแล้วนั้นรองรับการใช้งานสำหรับในบรรจุตัว OS เพื่อใช้ทำงานเป็นหลัก คุณจะได้รับความเร็วที่พอใจมากๆ เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องเปลี่ยน HDD ตัวเก่าเพื่อใส่ SSD ขนาด 2.5” ตัวใหม่ลงไปแต่อย่างใดครับ

ขอบคุณ MemoryToday สำหรับ SSD ตัวนี้ที่ให้มาทดสอบครับ

OSZ P/N NOC-MSATA-60G
Technical Spec Details

  • MLC NAND Flash
  • Native TRIM support
  • Seek Time: .1ms
  • Ultra-Slim Design 30 x 50 x 3.5mm
  • Lightweight: 6g
  • Operating Temp: 0°C ~ 70°C
  • Ambient Temp: 0°C ~ 55°C
  • Storage Temp: -45°C ~ 85°C
  • Low Power Consumption: 1.7W Active, 0.5W Idle
  • Compatible with Windows XP, Vista, 7 32-bit and 64-bit
  • MTBF: 2 million hours
  • 3-Year Warranty

Technical Spec Performance

  • Max Read: up to 280 MB/s
  • Max Write: up to 260 MB/s
  • Random Write 4k: 12,500 IOPS

http://www.ocztechnology.com/ocz-nocti-msata-ssd.html

Review, Score & Real life experience: SSD Ocz VERTEX 2 SATA II 2.5”

เป็นครั้งแรกที่ได้ใช้ SSD (Solid-State Drive) อย่างจริงจัง โดยปรกติแล้ว ผมมักจะใช้งาน SSD แบบผ่านๆ เสียมากกว่า แต่ด้วยทาง MemoryToday ได้ส่ง SSD สุดแรงตัวนี้มาให้ผมทดสอบ แน่นอน ผมได้นำมาใช้งานในลักษณะทำงานจริงเป็นหลัก ทั้งการทำงานด้าน Software  Develop, ตกแต่งภาพถ่ายที่ต้องใช้ความสามารถในการเข้าถึงไฟล์ที่รวดเร็ว และการใช้งานทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันอื่นๆ

แน่นอนถ่้าผมนำมาทดสอบกับ Lenovo ThinkPad Z61t ก็ดูจะไม่เต็มที่ เพราะเป็น interface แบบ SATA 1.5Gbps แต่โชคดีที่ระหว่างนี้ผมมีเครื่อง ThinkPad Edge 14” (0578-23U) อยู่ข้างกายพอดี เลยได้โอกาสทดสอบกับ CPU และ Chipset รุ่นที่ทำตลาดจริงๆ ในปัจจุบัน ทำให้การทดสอบนี้ดูจะทันสมัยแน่นอน

แน่นอนว่า SSD นั้นแตกต่างจาก HDD (Harddisk Drive) ตรงที่ไม่ใช้จานแม่เหล็กเพื่อเก็บข้อมูล และต้องมีมอเตอร์เพื่อหมุนตัวจานแม่เหล็กเพมื่อให้หัวเข็มอ่านและเขียนข้อมูล แต่เป็นการใช้ CHIP หน่วยความจำ (คิดไม่ออก ก็คล้ายๆ กับพวก SD Card หรือ CF Card) ซึ่งใช้ Technology ชื่อ NAND flash memory แต่เอามาเรียงต่อกันเป็นแผงใหญ่ๆ แล้วใส่ interface ที่ต้องการนำไปเชื่อมต่อในภายหลังนั้นเอง แต่ข้อดีที่ทำให้มันเร็วคือการเข้าถึงข้อมูลแบบ Direct Access และความทนทานต่อสภาพความสั่นะเทือนระหว่างที่ใช้งานอยู่เป้นหลักนั้นเอง (หาอ่านต่อใน Google แล้วกันครับ)

เรามาดูหน้าตากันดีกว่า ว่าเจ้า SSD ตัวที่ผมกำลังผู้ถูกมีหน้าตาอย่างไร

DSC_7353 copy

หน้าตา SSD Ocz VERTEX 2 SATA II 2.5” นั้นเก็บงานได้เนียนครับ

DSC_7356DSC_7357

ตัว interface connection แบบ SATA ที่สามารถนำไปใช้กับ Notebook และ Desktop ได้ทันที โดยถ้าใช้กับ Desktop ในตัวกล่องก็มีชุดเหล็กยึดสำหรับใส่กับช่องใส่ HDD 3.5” ของ Desktop ให้เลยไม่ต้องซื้อเพิ่มเติมแต่อย่างใด

DSC_7362DSC_7359

อัตราการกินไฟไม่มากเท่าไหร่ น้อยกว่า HDD 2.5” 7,200rpm อยู่ 20 – 30%” โดยประมาณ

image

คุณสมบัติของครื่อง ThinkPad Edge 14” (0578-23U)  ก็มี Intel i3-350M (2.2GHz) ใส่ RAM มา 2GB DDR3 พร้อมกับ Microsoft Windows 7 Professional 64bit EE ที่ Preload มาจากทาง Lenovo เอง

image

Windows Experience Index ให้คะแนน SSD ตัวนี้ทะลุไป 7.5 เลยทีเดียว (HDD 2.5” 7,200rpm จะได้ประมาณ 5.8)

image

ทดสอบกับไฟล์จำนวนขนาด 100MB บนโปรแกรม CrytalDiskMark แล้วนั้นผลการทดสอบน่าพอใจครับ
ทำความเร็ว Read 202MB/s และ Write ที่ 136MB/s
สำหรับไฟล์เล็กๆ ย่อยๆ ก็ได้ในระดับที่น่าประทับใจครับที่ Read 14.5Mb/s และ Write ที่ 20.83Mb/s
แต่เมื่อไฟล์เล็กๆ ย่อยๆ มาใช้กับ IOmeter Random-Write IOPS (4KB, Queue Depth 32) ก็ทำความเร็วได้น่าประทับใจ

image

image

เมื่อเอามาทดสอบกับ HD Tunes นั้นก็ดูน่าประทับใจในเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า HDD 2.5” 7200rpm อยู่เยอะเลยทีเดียว!!!! (ดูผลการทดสอบของ HDD 2.5” 7200rpm ได้ด้านล่าง) แค่ Access Time และ CPU Usage ก็กินขาดแล้วครับ!!!

image

ดูผลการทดสอบ กันไปแล้ว มาพูดถึงความเห็นต่อตัว SSD ดูบ้าง

โดยส่วนตัวแล้วนั้น การทำงานของ SSD จัดว่าทำให้เราสามารถเปิดและทำงานกับไฟล์ได้รวดเร็วมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปรกติถ้าเราใช้ HDD เราบูทเข้า Windows 7 จะใช้ได้เวลาประมาณ 15 – 30 วินาทีและรอโหลด Service Process อีกสักพัก สำหรับ SSD ตัวนี้ผมนับ 1 ถึง 5 หลังจากเปิดก็เข้าสู่หน้า Desktop แล้ว และนับอีก 1 ถึง 3 พวก Service Process ก็โหลดจบ พูดง่ายๆ นับประมาณ 10 ก็พร้อมทำงาน หลายคนอาจคิดว่าช้ากว่าเจ้าอื่น แต่ต้องบอกว่า เครื่องที่ติดตั้งนั้นติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้งานจริงซึ่งมี antivirus และ firewall อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นนี่คือการทดสอบใช้งานของคนใช้งาน เพราะฉะนั้นจะไม่เหมือนกับการทดสอบที่อื่น

โดยปรกติคนใช้งาน Notebook มักเป็นคนที่ทำงานยุ่งเกียวกับงานด้านธุรกิจและติดต่องานซึ่งตัวผมเองนั้นใช้ Microsoft Outlook และเปิดไว้ตลอดเวลา ซึ่งตัวนี้ก็เช่นกัน โดยปรกติแล้วเราจะเปิดโปรแกรมตัวนี้จะใช้เวลาอยู่พอสมควรเลยน่าจะพอๆ กับบูท Windows 7 อีกตัว แน่นอน พอผมมาใช้ SSD คลิ้กเปิดโปรแกรม ตัว Outlook แทบจะเปิดขึ้นมาพร้อมใช้งานในเกือบจะทันที นับ 1-3 แล้วโหลดจบทันที! (ใน Outlook ผมมีไฟล์ PST ที่ต้องโหลดตอนเปิดอยู่ 4 ไฟล์ ไฟล์ละเกือบ 1GB ครับ) แน่นอน โปรแกรมอื่นๆ ในชุดอย่าง PowerPoint, Word, Excel ก็ไม่แตกต่างกัน การทำงานทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้

ต่อมาในส่วนของโปรแกรมตกแต่งภาพอย่าง The GIMP และ Photoshop CS5 Trial การเปิดโปรแกรมก็ดูจะรวดเร็วขึ้นเช่นกัน และการปรับแต่งรูปภาพนั้นเมื่อโหลดไฟล์รูปภาพขนาด 50MB แบบ TIFF ทั้ง 2 โปรแกรมก็โหลดได้เร็วภายในเวลาประมาณ 2-3 วินาที จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณเกือบ 10  วินาที ยิ่งถ้าปรับแต่ง RAW File อย่าง Compressed RAW ของ Nikon (NEF) บน Capture NX 2 ก็ดูจะโหลดขึ้นมาหรือมีการ Zoom in-out ได้เร็วมากขึ้น (การ zoom in-out ของ CNX2 จะมีการโหลดข้อมูลจาก RAW ไฟล์เข้ามาใหม่)

สำหรับความเร็วในการปิดเครื่องก็เหมือนเปิดนั้นแหละครับ คลิ้กปิดเครื่องปั้บรอนับ 1 ถึง 3 แทบจะดับทันที !!

จะเห็นว่าที่ผมมาเล่าสู่กับฟังนั้นเป็นการทดสอบและความรู้สึกของคนที่ใช้งาน SSD แบบจริงจังเป็นครั้งแรก แน่นอนว่าในตัวอื่นๆ อาจจะทำความเร็วได้ใกล้เคียงกับตัวนี้ แต่ด้วยราคาค่าตัวจาก MemoryToday.com ที่ให้ราคา 60GB ราคา 4,790.- บาท, 120GB ราคา 8,390.- บาท และ 240GB ราคา 17,990.- บาท (ราคาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2553) ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตอนนี้เลยครับ