Man of Steel การกลับมาที่ทรงพลังของ Superman

Man-Of-Steel-2013-chest-look

Man of Steel เป็นหนังเปิดตัว Superman ในฉบับตีความใหม่ในรูปแบบของหนังที่เคารพต้นฉบับการ์ตูน และความเป็นชาวคริปตันอย่างเต็มที่ ไม่มีคู่ปรับใดจะสมน้ำสมเนื้อเท่ากับชาวคริปตันด้วยกันอีกแล้ว (เบื่อ Lex Luthor เบื่อมุขคริปโตไนท์)

ฉากเปิดตัวทรงพลัง ชวนขนลุก และอยากจะร้องออกมาว่า “มันต้องแบบนี้” ฉากในการบิน ต่อสู้ต่างๆ ทำได้น่าสนใจ มีความรู้สึกว่าซุปเปร์ฮีโร่ที่ไม่เจนสนาม สู้แบบกูมีแต่กำลังมันเป็นยังไง และซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีแต่พลังแต่ไม่มีประสบการณ์ ขาดความรู้ ชั่วโมงบินน้อย พ่ายแพ้และโดนตบเกรียนได้ยังไง

อัตราการทำลายล้างของการต่อสู้ในหนังนั้นเข้าขั้นถ้าระเบิดโลกเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ในการเปิดตัวได้คงทำไปแล้ว มันไม่ดูเกินไปเมื่อเทียบกับสุดยอดซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีพลังทำลายล้างระดับหัวแถวของค่าย DC และคู่ต่อสู้กับคู่ปรับระดับเจนสนามนั้นก็ทำให้อัตราทำลายล้างนั้นดูยิ่งใหญ่จนคุณไม่มีเวลาได้ละสายตา

ส่วนตัวแล้วเป็นการเล่าเรื่องในด้านปมชีวิต ความเป็นมาของพลังในตัว Superman  ดราม่าครอบครัวของซุปเปอร์ฮีโร่ และความมืดบอดของชีวิตชาวคริปตันได้ค่อนข้างโอเค ซึ่งเนื้อเรื่องไม่ได้แย่ แต่ก็เนื่อยๆ พอสมควร แต่ก็บางช่วงไม่รู้ว่าใส่มาทำไมซึ่งอาจหลับได้ในบางช่วง การลำดับภาพต่างๆ และความต่อเนื่องค่อนข้างน่าผิดหวัง อยู่ๆ ก็มา อยู่ๆ ก็ไป ลำดับเรื่องก็สลับ timeline ไป-มา ถ้าไม่ตามให้ดีหรือหลับไปบางช่วงอาจงงได้ โดยรวมไม่ถือว่าแย่ แต่ก็ไม่ได้ดีเท่าไหร่ สำหรับในด้านของงานภาพและ CG ทำได้ดีเข้าขั้นโอเค (บางช่วงไม่ได้ดีมาก แต่ไม่แย่) การใช้แสงในการถ่ายทำที่ดูดี ดูมีมิติ และโทนภาพนั้นผมชอบมาก ดูใส่ใจกับมิติของภาพค่อนข้างดีเลยทีเดียว

ถ้าคุณต้องการกลับมาที่ทรงพลังของ Superman ไม่ผิดหวังแน่นอน มาให้คุณได้เสพมันอย่างจุใจ แต่นั้นคุณต้องผ่านบททดสอบด้านดราม่าที่น่าเบื่อชวนหลับอยู่บ้าง

คำเตือนก่อนเข้าไปดูหนังควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย หนังยาวกว่า 2 ชั่วโมง 10 นาทีกว่าๆ

ลองเล่น Oppo Find 5

ตัวนี้นำมาลองเล่นประมาณ 1-2 อาทิตย์โดยประมาณได้ เมื่อสักเดือนสองเดือนได้แล้วครับ ขำนำลงรีวิวสักหน่อย เพราะ draft มานานแหละ

ตัว Oppo Find 5 ถือเป็นมือถือที่มีจุดเด่นที่หน้าจอขนาด 1080p (Full HD) ตัวแรกของตลาดในประเทศไทย และพ่วงตำแหน่งให้หน่วยประมวลผลแบบคอร์ดคอร์ ( 4 Core) มีหน่วยความจำหลักที่ 2GB และกล้องถ่ายรูปความละเอียดขนาด 13 ล้านพิกเซลบนมือถือเป็นรุ่นแรกๆ ที่ขายในไทยอีกด้วย เรามาดูกันว่าตัวเครื่องต่างๆ เป็นยังไงกันบ้าง

ในด้านตัวเครื่องนั้นเป็น Polycarbonate แบบชิ้นเดียว (unibody) มาประกอบกับจอภาพ ทำให้เปลี่ยนแบตและหน่วยความจำเพิ่มเติมไม่ได้ แต่แบตที่ให้มานั้นมีขนาดความจุถึง 2,500 mAh ซึ่งเยอะเลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าจอภาพระดับ Full HD ยังไงก็ใช้ทรัพยากรและความจุของแบตเยอะเช่นเดียวกัน

จากที่บอกไปแล้วว่าเป็นหน่วยประมวลผลแบบคอร์ดคอร์ ( 4 Core) โดยเลือกใช้ Qualcomm Snapdragon S4 Pro APQ8064 Quad Core ความเร็ว 1.5 GHz มีหน่วยความจำหลักที่ 2GB ซึ่งจากที่ได้ทดลองใช้นั้นตัว Android 4.1 (Jelly Bean) ก็ลื่นไหนดี พบอาการกระตุกบ้างเล็กน้อย โดยใช้งานหนักๆ ตัวเครื่องจะร้อนพอสมควรและแบตหมดเร็วมากขึ้นเยอะพอสมควร (คิดว่าเป็นปรกติสำหรับมือถือ CPU แรงๆ ไปแล้วมั้ง)

สำหรับหน่วยความจำ 16 GB ที่อยู่ภายในตัวเครื่องอาจจะดูน้อยไปสักหน่อย ถ้าเพิ่มเติมหน่วยความจำภายในไม่ได้ ก็น่าจะให้มาสัก 32GB ก็กำลังดีเลยทีเดียว

การเชื่อมต่อไร้สายมีให้มาครบอันนี้เรือธงคงตามมาตรฐานทั่วไปทั้ง 

  • WiFi (802.11b/g/n/a) ที่รองรับ Portable Wi-Fi Hotspot และใช้งานร่วมกับ DLNA ได้
  • Bluetooth 4.0
  • NFC (Near Field Communication)
  • GPS
  • Digital Compass

สำหรับช่องเชื่อมต่อนั้นมี

  • Micro Sim
  • Micro USB 2.0
  • ช่องเสียบหูฟัง 3.5mm

DSC_5734
DSC_5738 DSC_5748
DSC_5740 DSC_5743
DSC_5750
DSC_5753 DSC_5752

ตัวชูโรงอย่างที่บอกไปแล้วว่าอยู่ที่ตัวจอภาพเป็นหลักเลย ซึ่งจอภาพแบบ IPS Panel ขนาด 5” ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล (441 ppi) แบบ Capacitive Multitouch Screen นั้นให้สีสันและความคมชัดที่เด่นมากๆ เมื่อวางเทียบกับมือถือค่ายอื่นๆ เอาง่ายๆ ว่าวางข้างๆ Nokia Lumia 920 ที่ผมใช้งานอยู่ ภาพบนจอ Oppo Find 5 จะสว่างเด่นกว่าพอสมควร (เปิดความสว่างสุด 100%) แต่แน่นอนว่ากินแบตมากกว่าปรกติครับ ><” (คงต้องยอมรับตรงนี้)

DSC_5755 DSC_5758

ในด้านของตัวระบบปฏิบัติการนั้นเป็น Android version 4.1 หรือชื่อรหัส Jelly Bean ครับ

อย่างที่บอกว่าเป็น Android ที่ถูกปรับแต่งมาไม่เหมือนกับค่ายอื่นๆ เยอะพอสมควร แน่นอนว่าหลายๆ อย่างต้องปรับตัวสักหน่อยสำหรับ OS Android ใน Oppo Find 5 ตัวนี้

โดยโทนของไอคอนและสีของไอคอนนั้นจะออกหวานๆ ใครชอบแนวดุดันอาจจะต้องไปโหลดชุด Theme มาเปลี่ยนแปลงเอง แต่ส่วนใหญ่ก็ได้ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ครับ

จากที่บอกไปแล้วในด้านของการตอบสนองของตัว UI นั้นทำได้ดีครับ การควบคุมอาจจะแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ นิดหน่อยพวกปุ่ม Back, Home และ Menu ต่างๆ เรียนรู้สัก 1-2 วันก็ชินแล้ว

สำหรับปัญหาที่เคยเจอใน Oppo Find 3 ก่อนหน้านี้ส่วนใหย่ถูกแก้ไขใน Oppo Find 5 ไปแล้วเยอะเหมือนกัน ทั้งเรื่องของ App ตัว Photos ที่โหลดภาพมาทั้งเครื่อง หรืออาการค้างหรือไม่ยอมจำตัว Launcher ที่ตั้ง default ไว้แล้วไม่จำเป็นต้น (แต่ไม่กลับมาแก้ให้ Find 3 บ้างเหรอ)

SCR_2013-03-01-17-33-53 SCR_2013-03-21-00-17-27

SCR_2013-03-21-00-17-50 SCR_2013-03-21-00-17-57 

SCR_2013-03-21-00-18-06 SCR_2013-03-21-00-18-17

ในด้านของกล้องถ่ายรูปนั้นส่วนตัวไม่ได้ทดสอบมากมายนัก เพราะ Oppo Find 3 ทำได้ดีมากอยู่แล้ว และใน Oppo Find 5 ก็ทำได้ดีไม่แพ้กันครับ ส่วนตัวแล้วไม่ได้เอาไปถ่ายเยอะมากตอนได้เครื่องมา พอมีโอกาสก็เลยถ่ายมาไม่เยอะมาก

แต่จากรูปด้านล่างที่ถ่ายมาให้ดู ผมถ่ายมาในช่วงเย็นเลือกถ่ายเก็บส่วนที่มืดและสว่างเพื่อให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลในส่วนมืดและส่วนสว่างนั้นทำได้ดีแค่ไหน สำหรับการใช้ App อื่นๆ ที่ฉลาดมากขึ้นก็ทำให้ได้ภาพที่ดีมากขึ้นกว่า App Camera ที่มากับเครื่องด้วยเช่นกัน

IMG20130321174946094

IMG20130321175236113

IMG20130321175324710

IMG20130321182946242

IMG20130321182922016

IMG20130321210555108

เปลี่ยนมาใช้ของแรงกว่า กับ Ocz Vector 256GB

จากที่เคยได้เขียนรีวิวเล็กๆ ครั้งที่เปลี่ยนมาใช้ SSD Ocz Octance SATA3 128GB เมื่อสักช่วงปีที่แล้ว เมื่อสัก 1-2 อาทิตย์ก่อน ตัว SSD ที่ใช้อยู่เริ่มมีอาการอยู่ๆ ก็ค้างไป ซึ่งตอนแรกนึกว่าเป็นที่ตัว OS แต่ไปๆ มาๆ ติดตั้งตัว Windows 8 ไป 2-3 รอบก็ไม่หาย เป็นอาการเดิมตลอดเวลา เลยลองสลับมาใช้ Windows 7 ก็ยังคงเป็นอาการนี้อยู่ แต่พอใช้ HDD 7200rpm ตัวที่มีอยู่ใช้งานกลับไม่พบอาการ ไฟ indicator ของ HDD ค้าง แล้วทำให้ OS มันค้างไปดื้อๆ แบบที่ SSD เป็น ผมเลยตัดสินใจเคลมและถอยตัวใหม่มาเป็น Ocz Vector 256GB แทนตัวเก่าเสียเลย รอบนี้ผมก็ซื้อร้านเดิมอย่าง memorytoday.com ครับ

WP_20130413_006

Ocz Vector ตัวนี้เป็นรุ่นล่าสุดของ Ocz ในตอนนี้ มีความหนาเพียง 7mm เท่านั้น สามารถนำไปใส่ใน Ultrabook ที่ออกแบบช่องใส่ HDD ขนาด 7mm ได้สบายๆ โดยไม่ต้องถอดตัวถังออกมาให้หมดประกันแต่อย่างใด

ข้อมูลทางเทคนิคสั้นๆ ก็คือ ตัว SSD นี้ใช้หน่วยความจำแบบ NAND Flash MLC Synchronous ที่ออกแบบบนสถาปัตยกรรม 25nm โดยใช้ Controller เป็น Indilinx BareFoot III ซึ่งเป็นยี่ห้อที่ Ocz ไปควบรวมกิจการมาและขึ้นชื่อว่าเสถียรยี่ห้อหนึ่งในตลาด

สำหรับความเร็วในการอ่าน-เขียนของตัวนี้นั้นอยู่ที่ 550MB/s (อ่าน) 530MB/s (เขียน) และมีค่า IOPS ที่ 95,000 – 100,000 IOPS

มาดูที่ผมใช้งานจริงแบบสั้นๆ กันผ่าน AS SSD Benchmark สักนิดกัน

ocz-vector

ของแถมสักนิดสำหรับคนที่อยากหา SSD แบบ mSATA ที่ร้าน memorytoday.com มี Transcend 720 SATA III (6Gpbs) mSATA SSD ขนาด 64GB กับ 128GB ขายครับ ราคาก็แพงกว่าตัว 2.5” ปรกติประมาณนึง แต่เหมาะกับ Notebook ที่มีช่องใส่ mSATA เหลือและอยากใช้ SSD คู่กับ HDD แต่ไม่มีที่ใส่ SSD 2.5” คู่กับ HDD ก็ลองตัวนี้ได้ครับ ซึ่งตัวนี้ความเร็วอ่าน-เขียน ประมาณ 500MB/s แรงกว่า mSATA Ocz Nocti ตัวเก่าที่ผมเคยลองมาด้วย

WP_20130413_004

ลองจับ Lenovo ThinkPad Tablet 2

ได้มีโอกาสลองจับตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 อยู่สักพัก (ประมาณ 30 นาที) เลยเอามาให้ดูกันสักเล็กน้อยครับ

ตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 นั้นมาพร้อมกับ CPU แบบ SoC (System on a chip) รุ่น Intel Atom Z2760 SoC ดูอัลคอร์ความเร็ว 1.8GHz  (1MB cache) โดยมี VGA on chip ของ PowerVR HD SGX545 GFx (12 bit, 1080p video @30fps, DX9) ซึ่งเจ้า SoC จะคล้ายๆ ของค่าย ARM ที่รวมเอาทุกอย่างไว้ในตัวชิป CPU (หลังๆ CPU Core Architecture ของ Intel ก็เริ่มรวมหลายๆ อย่างลงใน CPU มากขึ้น) ทำให้ประหยัดพลังงาน และประหยัดพื้นที่ด้วย

ซึ่งเจ้าตัวนี้ มาพร้อม RAM ชนิด LPDDR2 ขนาด 2GB ความเร็ว 800 MHz และมีความจุ storage ที่ 64GB แบบ eMMC สามารถใส่เพิ่มได้ผ่าน micro-SD card โดยใส่เพิ่มได้สูงสุดถึง 64GB และยังสามารถต่อ external HDD แบบ USB 2.0 ผ่านช่องต่อ USB 2.0 แบบ full-size เพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ด้วย (จากที่ทดสอบต่อ WD Passport 500GB ได้สบายๆ)

WP_20130311_065 

ในด้านของฝาหลังนั้น จากที่สัมผัสดูแล้วคิดว่าเป็น Polyurethane Soft-touch Coatings คล้ายๆ กับฝาหลังตัวเครื่อง ThinkPad โดยตัวจอภาพนั้นเป็นจอ LCD ขนาด 10.1" ตัว panel เป็น IPS ขนาดความละเอียดที่ 1,366×768 พิกเซล (HD 720p) ที่อัตราส่วน 16:9 ความสว่างที่ 400 nits (500:1 contrast ratio) แต่ไม่ได้ใช้ Corning Gorilla Glass แบบตัวก่อน โดยเป็นหน้าจอสัมผัสรองรับสัมผัสได้ 5 นิ้ว

ตัวเครื่องนั้นหนาเพียง 9.8mm ซึ่งบางกว่าตัว Lenovo ThinkPad Tablet รุ่นเก่าถึง 30% (ตัวเก่าหนาที่ 14.5mm) จากที่บางลง ทำให้น้ำหนักลดลงมาอยู่ที่ 590g หรือเบากว่าLenovo ThinkPad Tablet รุ่นเก่ากว่า 23% อีกด้วย (ตัวเก่าหนัก 759g) ซึ่งน้ำหนักนี้รวมปากกาแล้ว โดยจากที่จับมา ผมมองว่าเบาจริง ถือว่าทำน้ำหนักมาได้ดีสำหรับจอภาพที่ขนาด 10.1”

สำหรับงานประกอบนั้น ตัวเครื่องนั้นหาช่องน็อตสกรูให้เห็นชัดเจนไม่เจอ ในส่วนอื่นๆ การประกอบระหว่างรอยต่อต่างๆ ดูแนบสนิทแน่นหนาดีมาก สำหรับโครงสร้างภายในนั้น Lenovo ได้ออกแบบภายในแบบเดียวกับ ThinkPad Notebook หรือเรียกว่า Roll cage design

WP_20130311_038 WP_20130311_041

ในด้านของตัวปากกานั้น ThinkPad Tablet 2 ใช้ Wacom digitiser แบบเดียวกับที่เคยใช้กันมาก่อนหน้านี้ โดยมีที่เก็บแบบสอดเข้าไปในเครื่อง โดยตัวปากกามีขนาดเล็กกว่าตัวเดิมอยู่มาก สำหรับการเขียนต่างๆ ทำได้ลื่นไหลดี โดยตัวจอภาพแบบสัมผัสเมื่อทำงานร่วมกับปากกาสามารถเอามือวางบนจอภาพแล้วเขียนแบบบนกระดาษปรกติได้เลย เพราะตัว Windows 8 นั้นฉลาดเพียงพอที่จะแยกแยะการสัมผัสได้ (ดูได้จากวิดีโอล่างสุด)

สำหรับตัวกล้องนั้น ThinkPad Tablet 2 มีมาให้ทั้งกล้องหน้าและหลัง โดยกล้องหลังให้มา 8MP พร้อม ไฟแฟลชแบบ LED รองรับการถ่ายวิดีโอ HD 720p และสำหรับกล้องหน้ามีความละเอียด 2.0MP ซึ่งสำหรับภาพถ่ายนั้น ไม่ได้ลองถ่ายมาดูครับ เพราะเวลาไม่พอที่จะได้ลอง

 WP_20130311_020 

WP_20130311_024 WP_20130311_063 

ตัวจุดเชื่อมต่อต่างๆ ให้มาค่อนข้างครบ ตัวแรกคือ  full-size USB 2.0 พอร์ต ที่อยู่ด้านข้างเครื่อง ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ USB พอร์ต ปรกติบนโน้ตบุ๊กหรือเดสก์ท็อปเลย สามารถต่อ HDD เข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ แต่วันที่ลองยังไม่ได้ลองต่อเมาส์และคีย์บอร์ดลอง แต่คิดว่าได้ เหมือนกัน

ส่วนต่อมาคือ micro-USB 2.0 ซึ่งทำหน้าที่แค่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เท่านั้น เหตุผลที่ใช้ micro-USB เพราะหาพอร์ตในการมาชาร์จไฟได้ง่ายตามมาตรฐาน European Union

ส่วนต่อมาคือภาพและเสียง ที่ให้ mini-HDMI พอร์ต และ headphone/microphone combo jack มาให้ โดยมี Noise-cancelling microphone มาให้พร้อมเพื่อทำงานคู่กับเว็บแคมขนาด 2MP ด้านหน้า

เมื่อเป็นแท็บเล็ตสำหรับทำงานย่อมต้องมี dock connector มาให้แน่ๆ ซึ่ง ThinkPad Tablet 2 ก็มีมาให้เลย ทำให้สามารถต่อได้เพิ่มมากขึ้นทั้ง USB พอร์ต ที่ได้มากขึ้น หรือต่อเมาส์และคีย์บอร์ดได้อย่างง่ายๆ รวมไปถึงมี Folio Case with Keyboard ทำตลาดมาพร้อมด้วย

สำหรับปุ่มรอบๆ เครื่องนั้น เท่าที่จับและเจอก็มี ปุ่ม Windows, ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง, ปุ่มปรับระดับเสียง, ปุ่มคงค่าการหมุนจอภาพ และปุ่มรีเซทเครื่อง

การเชื่อมต่ออื่นๆ ก็มีมาให้ครบในตัวเหมือนโน้ตบุ๊กเครื่องนึงเลยก็ว่าได้ทั้ง NFC, GPS, compass, ambient light sensor, proximity sensor, sensor hub, 802.11 a/b/g/n, Bluetooth 4.0 และสำหรับรุ่น 3G จะมาพร้อม WWAN Gobi 4000 (รองรับ LTE /HSPA+)

WP_20130311_051

WP_20130311_061 WP_20130311_043

จากการที่ได้นั่งเล่นมานั้น โดยรวมถือว่าทำงานได้รวดเร็วดีมาก ด้วยจำนวนคุณสมบัติที่ให้มานั้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนำไปใช้งานด้านเอกสารต่างๆ ที่ใช้ตัวซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช้ทรัพยากรระบบมากนัก ถ้านำไปใช้พวกแต่งรูป รีทัชรูป ตัดต่อวิดีโอ หรือเล่นเกม ก็ดูจะโหดร้ายเกินไปสำหรับคุณสมบัติที่ให้มา (อาจพอได้ แต่พื้นที่ลงซอฟต์แวร์คงไม่พอ รวมไปถึง RAM ที่มีมาให้แค่ 2GB ท่าทางจะไม่ไหว) ซึ่งส่วนตัวถ้าเอาไปใช้งานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ ดูแลจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร หรือแม้แต่เขียนบทความแล้วก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้พอเหมาะกับงานแนวๆ นี้

ในด้านของขนาดจอภาพ 10.1” นั้น โดยรวมแล้วเฉยๆ เพราะส่วนตัวสนใจขนาดความละเอียดของจอภาพมากกว่า ซึ่งให้มา 1,366×768 พิกเซล เท่ากับ Lenovo ThinkPad T420 ที่ใช้งานอยู่ ซึ่งเมื่อใช้งานแล้ว ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเล็กแต่อย่างใด (ตัวหนังสือเล็กลงไป แต่โดยส่วนตัวแล้วก็อ่านได้สบายตาปรกติดี)

ความบางและน้ำหนัก อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าทำออกมาได้ดี งานประกอบเรียบร้อยดีมาก มีพอร์ตมาให้ครบตามที่เราอยากได้ในแท็บเล็ตโดยทั่วไป

ในส่วนของแบตเตอรี่ขนาด 30Wah ที่เป็นแบบ lithium polymer นั้นยังไม่ได้ทดสอบความยาวนานของการใช้งาน อันนี้คงต้องขอผ่านไปก่อน

กล่าวสรุปโดยรวมแล้ว ถือว่าผ่านสำหรับการเป็น Tablet เพื่อนำไปใช้ทำงานมากกว่าเล่น ก็ต้องรอดูว่า app บน Windows 8 จะมีมามากแค่ไหน จนสามารถทดแทนตัวแท็บเล็ตยี่ห้ออื่นๆ ได้ แต่สำหรับ desktop app แล้วนั้น ถือว่ารองรับได้ทั้งหมดที่คนส่วนใหญ่ใช้งานได้สบายๆ

WP_20130311_033 WP_20130311_034

วิดีโอทดลองเล่นและสัมผัสการใช้งาน Lenovo ThinkPad Tablet 2

รอดูรีวิวเต็มๆ อีกที (ไม่รู้จะได้เมื่อไหร่ครับ คงต้องต่อคิวเครื่องเค้า ><”)

เลิกเสียเงินกับ Google Apps/Evernote และหันมาใช้งาน Office 365 Small Business Premium

2013-03-10_190930

อันนี้เป็นการลองของก่อนขายจริง และในไทยยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการให้ใช้งานแต่อย่างใด (งงๆ กับการเปิดตัวเหมือนกัน คือเปิดตัวแต่ยังไม่มีของขาย ><“)

ส่วนตัวเมื่อปีสองปีก่อนผมเสียเงินให้กับ Google ในบริการ Google Apps for Business (เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) ถ้าดีก็จ่ายเงินเค้าเหอะ) ก็จ่ายปีละ $50 (ตกเดือนประมาณ $4 กว่าๆ) เพราะอยากได้อีเมลความจุเยอะๆ ทำงานแบบ Cloud มีความสามารถในการทำ Wireless Sync กับมือถือได้ ตอนแรกใช้ BlackBerry ต่อมาใช้ Android และตอนหลังมาใช้ Windows Phone แล้วก็เลิกใช้ไปตอนช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาเพราะ ย้ายจาก Google Apps มา Windows Live Admin Center (Custom addresses) เพื่อใช้งานร่วมกับ Windows Phone 8 เพราะ Google Apps for Business มีปัญหาภาษาไทยกับ Windows Phone 8; พบข้อผิดพลาดในรหัสภาษาบน WP7.5/8 เมื่อตอบหรือส่งต่ออีเมลที่ใช้ร่วมกับ Google Mail เลยทำให้ยกเลิกการใช้งานไปโดยปริยาย ประหยัดไปปีละ $50 ไปก่อนแล้ว

สำหรับ Evernote นั้นที่ใช้แบบ Premium Account ก็คงเป็นช่วงเวลาประมาณเดียวกับที่ใช้ Google Apps for Business มาสักพักและใช้ Android Phone ใหม่ๆ พอดี ก็เลยได้ก็เสียเงินให้ Evernote แบบ Premium Account ไปเดือนละ $5 เพราะต้องการใช้ Notes ที่ทำงานบน Cloud ได้ มีระบบ PIN และ Offline Sync ไปพร้อมๆ กัน

เพราะฉะนั้นถ้าคิดรวมๆ กันระห่าง Google Apps for Business และ Evernote ตอนที่ผมใช้งานทั้งสองตัวควบคู่กันแล้ว ผมจะต้องจ่ายปีละ $100 เพราะ Evernote จ่ายเป็นรายปีราคาเท่ากับ Google Apps for Business เลย

2013-03-11_152005

แต่มาช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้ยกเลิก Evernote แบบ Premium Account ไป เหตุผลไม่ใช่เพราะโดน Hack อะไรหรอก แต่เป็นเรื่องราคาความและความคุ้มค่าของสิ่งที่จ่ายไปแทน ซึ่งตอนนี้ผมเสียเงินให้ Office 365 รุ่น Small Business Premium (ต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่า Office 365 เฉยๆ) ในราคาค่าสมัครแบบเช่าใช้เดือนละ $15 (หรือตกปีละ $150) ต่อ 1 Username แทน ซึ่งด้วย 1 Username ที่ใช้ สามารถ sign-in เข้ากับ Microsoft Office 2013 เพื่อ activate ใช้งานได้ 5 เครื่อง (แต่ละเครื่องจะใช้ Username และ Password ของ Office 365 ในการ activate)  เพราะสิ่งที่ได้กลับมานั้นต่างกันมากมายเลยทีเดียว เพราะเจ้า Offie 365 รุ่นนี้มี Microsoft Office 2013 desktop version มาให้ด้วย โดยที่ให้มานั้นมี Microsoft Word, Excel, PowerPoint, Outlook, OneNote, Access, Publisher และ Lync นั้นจึงเป็นเหตุผลง่ายๆ ที่ซื้อแบบเช่าใช้แทนแบบ Retail version ตามปรกติที่ผมซื้อมาตั้งแต่ Microsoft Office 2007 และ Microsoft Office 2010 เพราะการเปลี่ยน version ของ Microsoft Office นั้นเริ่มถี่ขึ้นและการเปลี่ยน version ไป version ใหม่ๆ ของ Retail version ในราคาไม่หนีกับระยะเวลาการเช่าใช้งานแบบนี้เท่าไหร่ และอาจถูกกว่าด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับการได้ Desktop version ที่ให้มา ซึ่งจากคุณสมบัติของ Desktop version แล้ว ยังมี Office Web Apps และ Office Mobile Apps มาให้พร้อมสำหรับทำงานนอกสถานที่มาให้พร้อมเลย

2013-03-11_152101

ซึ่งหลายคนคงงงว่าแล้วไฟล์จะเก็บไว้ที่ไหนทำงานบน Desktop version มันจะไปทำงานบน Office Web Apps และ Office Mobile Apps ได้ยังไง คำตอบคือ SkyDrive Pro ที่ให้พื้นที่เก็บไฟล์ 7 GB แยกต่างหากออกมาอีกที (แยกจาก SkyDrive ตัวปรกติ) ซึ่งเจ้า SkyDrive Pro ทำงานอยู่บน SharePoint อีกที ซึ่งเป็น Private Online storage ของ user ของเราเองโดยใช้ Username และ Password ที่ activate กับตัว Office desktop version นั้นแหละในการเข้าถึง SkyDrive Pro ใน SharePoint ได้อัตโนมัติผ่านตัว Office 365 ที่เราเปิดอยู่ได้ทันที เพราะฉะนั้น ใครจะเอาวิธีการซื้อ 1 User แล้วแชร์ 5 เครื่องโดยแต่ละเครื่องใช้คนละคน ก็ทำได้ ถ้าไม่ได้ใช้แบบแชร์เอกสารระหว่าง Device กัน แต่มันทำได้ยากถ้าไม่ตั้งค่าให้ดีๆ (เอกสารสำคัญอาจหลุดได้ง่ายๆ ถ้าใช้วิธีนี้) โดยจะมีรายการว่ามีเครื่องใดว่า activate อยู่บนหน้า Admin page ของ Office 365 ของเรา สามารถ deactivate ได้ และหน้านี้จะเป็นหน้าที่เข้ามาดาวน์โหลดตัว Microsoft Office 2013 desktop version ไปใช้งานได้ด้วย (เลือกได้ว่าจะเอา 32bit หรือ 64bit)

2013-03-11_145302

ต่อมาคือเรื่องของอีเมลซึ่งผมถือว่าเป็นของแถมที่เอามาเทียบชั้น Google Apps for Business ได้สบายๆ และอาจดีกว่าในด้านที่มันทำงานกับ Desktop version อย่าง Outlook 2013 ได้สบายๆ ผ่าน Microsoft Exchange ตัวเต็มบน Office 365 ซึ่งคล้ายๆ กับของ Hotmail และ Gmail เป็น Exchange ActiveSync (EAS) ที่มีคุณสมบัติคล้ายๆ กัน แต่ตัวนี้ใหม่สดกว่า คือ Sync Notes และ Task ได้ด้วย ซึ่ง EAS ของ Hotmail จะ Sync ตัว Notes และ Task ไม่ได้ ส่วนของ Gmail ทำได้เพราะ Google เขียนเพิ่มเติมผ่าน Outlook Sync ที่เป็น Desktop sync ที่ลงเพิ่มเติมเป็นของตัวเองและวิ่งเข้า Google Docs ที่ตัวเองมีแทน

2013-03-11_151845

โดยเจ้าระบบอีเมล Microsoft Exchange บน Office 365 ตัวนี้ใช้งานบนชื่อ Domain name ของตัวเองได้แบบเดียวกับ Google Apps for Business โดยให้พื้นที่ Username ละ 25GB เลยทีเดียว

นี่ยังไม่รวม Lync ที่ดูเหมือนจะยังไม่จำเป็นในตอนนี้ เพราะใช้อยู่คนเดียวอีกนะ ถ้าใช้หลายๆ คนอาจจะได้ใช้ความสามารถของมันภายในอีกเยอะ อย่าง Newsfeed ที่ด้านในเป็น Private Social Network สำหรับพนักงานด้วย นี่ยังไม่รวมเรื่องระบบ Call meeting, VOIP, PABX อะไรพวกนี้อีก ซึ่งผมว่ากว่าจะเข้าไทยไม่รู้ว่าต้องผ่าน กสทช. หรือเปล่านี่ดิ

2013-03-11_152206

และสุดท้ายตัว Office 365 มี Microsoft OneNote มาให้ และมันทำงานได้ดีกับ SkyDrive Pro ทำให้สามารถ Sync ข้อมูลบน Cloud ได้ทันทีเลย แถมมี Function เยอะกว่าเจ้า Evernote เสียด้วย

2013-03-11_152742

เพราะฉะนั้นถ้าดูแล้ว Office 365 Small Business Premium นั้นคือส่วนผสมของ Google Apps for Business, Evernote และ Microsoft Office Retail มารวมกันเลย ซึ่งสำหรับผม ถ้าลองคิดดูว่าผมเสียเงินรายปี 1-2 ปีและ Office Retail กล่องละ 6-7,000 บาทแล้ว ราคาโดยรวมแตกต่างกันไม่มากนัก แต่ที่ต่างคือ ค่อยๆ จ่ายใช้งานเป็นแบบเช่าใช้แทน ทำให้ดูว่าค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่จ่ายดูน้อยและจ่ายได้ ราคาประมาณดูหนัง 1-2 เรื่อง หรือราคาเท่าๆ กับดื่มกาแฟ Starbucks 5 แก้ว อะไรแบบนั้น