แนวทางการ Backup ข้อมูล (ฉบับปรับใหม่)

จาก แนวทางการ Backup ข้อมูล รอบนี้ปรับใหม่ เนื่องจากว่าได้ HDD 2TB ตัวใหม่มา ประกอบกับ Notebook ตัวใหม่ มันไม่มี port Firewire 400 มามีแต่ eSATA มาให้เลยต้องปรับใหม่เน้นใช้งานจริงเป็นหลัก

HDD 1TB ตัวประกอบเองด้วย Enclosure Smart Drive เป็นตัว Backup Data จาก Drive D:, G:, H: และ K: ในส่วนที่จำเป็นทั้งหมดมาใส่ที่ I: ส่วนของตัวทำงานอีกตัวคือ E: นั้นจะถูก Mirror Backup/Work ผ่าน H: ที่ทำงานบน eSATA อีกทีนึงเผื่อโยนงานไปเครื่องอื่นก็แค่เอาสาย eSATA ไปเสียบทำงานได้เลย

ส่วนไฟล์ทำงานบน Notebook อยู่ที่ Drive D: ถูกส่งเข้า I: เช่นกัน

จะเห็นว่า Drive I: รับบทหนักในเรื่องนี้ แต่เป็นการกระจายความเสี่ยงว่าถ้าไอ้ตัวนี้พัง ก็คือพังตัวเดียวเดียวแล้วจบไป ตัวอื่นพังก็มาเอาที่ตัวนี้ได้อยู่เช่นกัน อะไรแบบนั้น อนาคตคิดว่าจะทำ RAID 1 สำหรับ Drive I : ด้วย

สำหรับ Contents อื่นๆ ใน K: มีหลายส่วนไม่ได้ Backup จริงจัง เช่นพวก Software, MV ต่างๆ และไฟล์หนังที่ Rip ไว้ดู (ไม่อยากให้แผ่นแท้ที่ซื้อเป็นรอย) ก็เลยต้องใส่ในี้แทน กำลังมีแผนกับเรื่องนี้อยู่เหมือนกันอาจจะใช้ NAS แทน (เงิน!!!!)

ตอนนี้มุมมองตัว Media สำหรับ Backup คือเน้นรวม ศ. เพื่อการค้นหาและเรียกคืนที่ง่ายมากขึ้น และกระจายข้อมูลที่ใช้ไปหลายๆ แหล่งแทน

สรุปง่ายคือๆคือ

[E:] –> [H:]

[D:|G:|H:|K:] –> [I:]

การ Sync ข้อมูลต่างๆ ใช้การ Sync ด้วย SyncToy ทั้งหมด

สำหรับ Backup จาก Notebokk เข้า HDD Backup ใช้ Incrementals Chain Version บน Acronis True Image Home 2011

สำหรับ Versioning ใช้ OS จัดการแทน เสียพื้นที่ 5-8% ของพื้นที่ทั้งหมดของแต่ละ partition เพื่อทำ Versioning บน File System อีกเช่นเคย

2011-07-27_222947

ฝากไว้อีกครั้งครับ

Backup พันวัน เอาไว้ใช้วันสำคัญวันเดียว … วันที่ข้อมูลมีปัญหา!!!

แนวทางการ Backup ข้อมูล

หลายคนคงรู้จักคำว่า การ Backup ข้อมูลดี บางคนก็ยังงงๆ และคิดว่าไม่จำเป็น แต่โดยส่วนตัวแล้วนั้น ผมทำการ Backup ข้อมูลมานานมาก ตั้งแต่ใช้งานคอมฯ ช่วงแรกๆ เพราะโดนกับตัวเองในเรื่องของข้อมูลหาย และกู้กลับมาได้ไม่หมด (ใครไม่โดนกับตัวเองและเป็นงานสำคัญ คงไม่เข้าใจ) ซึ่งแน่นอน ยังโชคดีที่ยังกู้กลับมาได้บ้างบางส่วน แต่ก็ทำให้ผมเข็ดและทำการ Backup อย่างจริงจัง

หลักการ Backup ข้อมูลก็ไม่มีอะไรมากมาย คิดง่ายๆ “ทำสำเนาข้อมูลไว้หลายๆ ชุด” แค่นั้น จบ!!! อ้าวว ฮา … ใจเย็น มันมีอะไรมากกว่านั้นจริงๆ ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว การ Backup ในขั้นต้นแบบง่ายๆ ก็คือ copy ข้อมูลไว้หลายๆ ชุดและจัดหมวดหมู่ให้มัน มันช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น เพราะมันช่วยในเรื่องต่อไปนี้

  1. เพื่อป้องกันทั้งการ “ลบ” หรือ “ทำข้อมูลสูญหาย” ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
  2. “กู้ข้อมูลเก่า” เพราะดันไปแก้ไขข้อมูลปัจจุบันแล้วมีปัญหา หรือไฟล์ที่มีใช้งานไม่ได้ต้องการกลับไปใช้ต้นฉบับก่อนหน้านี้
  3. ป้องกัน “สื่อเก็บข้อมูลเสียหาย” อันนี้สำคัญเก็บดีแค่ไหน ไอ้ตัวที่เก็บข้อมูลดันเสียเองก็จบกัน
  4. “โดนขโมย” อันนี้ปัจจัยควบคุมได้ยากสุดแต่เกิดขึ้นได้น้อยแต่ก็ต้องระวังเพราะมันไปทีนึงนี่แทบร้อง

สรุปมา 4 ข้อง่ายๆ ที่เจอกันบ่อยๆ แค่นี้ก็เป็นเหตุผลทีเพียงพอต่อการ Backup แล้วหล่ะมั้ง

แต่ก่อน Backup สิ่งที่ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจคือการจัดโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลสักนิด

การแบ่งและจัดระเบียบไฟล์ข้อมูลต่างๆ นั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เรา Backup ได้ง่ายและตั้งรูปแบบการ Backup ได้หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงความรวดเร็วในการเข้าถึงไฟล์ที่ต้องการเรียกคืนมาเมื่อต้องการย้อนกลับไปใช้งานได้เร็วขึ้น

ปรกติผมจะแบ่งตามชนิดกว้างๆ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงเป็นหลัก (ตามรูปด้านซ้ายมือสุดด้านล่าง)

ส่วนรูปภาพผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือไฟล์ภาพแบบ JPEG/RAW File ที่ไม่ได้แต่งใดๆ จะเก็บตาม ปี/เดือน/วัน แล้วไล่ลำดับ Folder ไปเรื่อยๆ ตามวันที่ของไฟล์นั้นๆ (ตามรูปตรงกลางด้านล่าง)

สำหรับไฟล์รูปที่แต่งเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดเก็บตามแนวการถ่ายและหรือชื่อที่ทำให้เราจำได้ง่าย ใน Folder นี้ผมจะเปิด Indexing Services ไปด้วยเผื่อต้องการเรียงตามวันที่ก็ใช้ Windows Search จัดการเอา ส่วนจัดการ tag ก็ใช้ metadata จัดการค้นเอาจาก Index ของ Windows Search เอาก็ได้ แต่ปรกติมันจะช้า (นานๆ ใช้ที) ก็ใช้ตาม Folder ค้นจากชื่อที่เราจัดไว้เร็วกว่า ซึ่งเป็นข้อดีของการจัดไฟล์ไว้เป็นระบบไม่ต้องใช้ Search ช่วยในบางเรื่อง แถมเร็วกว่าถ้าเรารู้ตำแหน่งแน่นอน (ตามรูปด้านขวาล่าง)

image 2011-04-20_164740 2011-04-20_165320

ส่วนใครจะไม่จัดการระเบียบไฟล์ก็ได้ อันนี้แล้วแต่สะดวก แต่ทุกอย่างมีเหตุผลของมันเอง

การ Backup นั้นมีหลายแบบ ตั้งแต่ระดับคนทั่วไปใช้ จนระดับบริษัทขนาดใหญ่โตนับพันล้านใช้ แต่ผมขอแบ่งง่ายๆ 4 แบบ ที่คนทั่วไปใช้กันก็เพราะ ถ้าเอาหมดผมว่าเขียนหนังสือง่ายกว่า;P (มันมีอีกเพียบ แต่บอกไปก็คงไม่มีใครได้ใช้กัน)

  1. Unstructured หรือ Full (พวก Data Sync ก็แนวๆ นี้เหมือนกัน) – เป็นแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมาครับ อย่างที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้น copy ไว้หลายๆ ชุด แต่ต้องระวังว่าไฟล์ไหนเป็นไฟล์ล่าสุด ต้องจัดระเบียบไม่ดี เดี่ยวไป merge/replace ทับไฟล์เก่าจะงานเข้าซะ การทำแบบนี้จะได้ไฟล์ตามชุดข้อมูลที่ต้องการเป็นหลัก ส่วนใหญ่เราจะใช้แบบนี้กันเยอะที่สุดเพราะง่ายสุดไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์พิเศษให้ยุ่งยาก รู้วิธีการ copy/paste ก็จบแล้ว ^^

  2. Full and Incrementals – คล้ายๆ ข้อแรก แต่มีซอฟต์แวร์มาช่วยจัดการให้ โดยจะมีการทำ copy ข้อมูลไว้เป็นไฟล์ๆ (ตามรูปแบบของแต่ละซอฟต์แวร์จัดการ อาจจะเป็นไฟล์เดียวก้อนใหญ่ๆ หรือแบ่งเป็นหลายๆ ก้อนก็ได้) แล้วเมื่อมีการสำรองข้อมูลครั้งต่อไปก็จะตรวจสอบเฉพาะไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกลบออกไปล่าสุดจากการ Backup ครั้งที่แล้ว แล้วทำการ mark/update เพื่อ Backup ไว้เป็นวันและเวลานั้นๆ ไปเรื่อยๆ ต่อเป็นลูกโซ่ ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บได้มาก ถ้ามีการ Backup ทุกวัน แต่ไฟล์ที่ได้จากการ Backup แบบนี้มันเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เวลาจัดเก็บไฟล์พวกนี้ต้องอยู่ครบทุกไฟล์ ต้องระวังสักนิดและแนะนำว่าให้ครั้งละไม่มาก เพราะการเชื่อมไฟล์ Backup แบบนี้ ยิ่งเยอะยิ่งช้าและอ่านนานมาก ปรกติไม่ควรเกิน 14 ไฟล์ หรือขนาดไม่ใหญ่เกินไป สัก 100GB – 150GB กำลังพอไหว แต่ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์และเครื่องที่เปิดไฟล์ Backup พวกนี้ด้วยว่าเปิดไหวไหมด้วย ตรงนี้ต้องระวังว่าซอฟต์แวร์ที่เราใช้มีเสถียรภาพในการรองรับจำนวนและขนาดไฟล์ได้แค่ไหน เดี่ยวเปิดไม่ได้จะยุ่งเอาครับ

  3. Full and Differential – อันนี้คล้ายกับตัวที่สอง ต่างกันเล็กน้อยตรงที่ เมื่อมีการสำรองข้อมูลครั้งต่อไปก็จะตรวจสอบเฉพาะไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกลบออกไปล่าสุดจากการ Backup ตัว Full แล้วทำการ mark/update เพื่อ Backup ไว้เป็นวันและเวลานั้นๆ ไปเรื่อยๆ เวลากู้คืนกลับมาใช้ไฟล์ Full และตัวไฟล์ที่ Backup ตัวล่าสุด หรือวันที่( project) ต้องการ แค่ 2 ส่วนก็กู้คืนได้เร็ว การอ่านและเขียนไฟล์ก็เร็วกว่า รวมไปถึงความเสี่ยงต่อการสูญหายของไฟล์แต่ละส่วนก็น้อยกว่า แต่ …. เสียพื้นที่เยอะกว่าแบบข้อที่ 2 มาก อันนี้ต้องเลือกเอา

  4. Versioning with File System – อันนี้เป็นแบบที่ไม่ค่อยมีใครใช้กันสักเท่าไหร่ เพราะมันถูกจัดการด้วยตัว OS เองเป็นหลักเลย โดยผมขอยกตัวอย่างใน Windows 7 ก็จะมี Previous Versions ชื่อเดิมคือ Shadow Copy ตัวโปรแกรมที่ใช้ทำงานเรียกว่า Volume Snapshot Service หรือ Volume Shadow Copy Service โดยมีมาให้ในตัว Windows ให้เราได้ใช้กันฟรีๆ มีมาตั้งแต่ Windows Server 2008 R2 และจริงๆ ใน Windows XP Service Pack 2 ก็มีครับ แต่เป็น client ของ Windows Server 2008 R2 ไม่ใช่ตัว standalone แบบนี้ (ใน Windows Vista ก็มี) ลองหาๆ ดู หลักการง่ายๆ คือระบบจะทำการสำรองข้อมูลของเราเป็น restore point หรือ snapshot (แล้วแต่ว่าจะเรียกแบบไหน) ตอนเรา save ข้อมูลไว้อีกชุดนึงไว้ เวลาจะเรียกกลับมาก็แค่คลิ้กขวา restore กลับไปตามวันและเวลาที่มัน Backup ไว้ล่าสุด วิธีนี้ง่ายๆ แต่ผมนานๆ ใช้ที ดูๆ แล้วมันทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง ยัง งงๆ อยู่ว่าทำไม อาจจะเพราะตั้งค่ามันเก็บข้อมูลให้ใช้พื้นที่น้อยไปหน่อยเลยมีค่าเฉลี่ยของครั้งที่สำรองข้อมูลของไฟล์บางชนิดน้อยลงไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ผมจะใช้ตอนรีบเร่งจริงๆ เท่านั้น ออกแนวมีไว้อุ่นใจเป็นหลัก

image

คราวนี้พอจะทราบแล้วว่ารูปแบบการ Backup มีแบบไหนบ้าง แน่นอนว่าแต่ละแบบมีลักษณะเด่นของมันเอง ใช้ไม่เหมือนกัน แต่ผมแนะนำว่าใช้ตามความสะดวกจะดีที่สุด และใช้ควบคู่กันไปจะดีมาก ;)

มาดูว่าสำหรับตัวผมแล้วเนี่ยบ้า Backup อะไรยังไงบ้าง ด้านล่างนี่คือ flow การการ Backup ที่ผมทำไว้เล่นๆ ด้านซ้ายเป็นส่วนที่พกไปไหนมาไหนใน Notebook ตลอดเวลา ส่วนด้านขวาเป็น External Hard Drive ที่ห้องครับ

ผมจับไฟล์งานใส่ใน D: ทั้งหมดเลย แยกชัดเจนจาก System Drive เผื่อมีปัญหาก็ format ได้ไม่ยากนัก (ข้อดีของการจัดระเบียบไฟล์ที่ผมเชื่อทุกคนคงเข้าใจได้ดีที่สุด)

จาก Folder “Documents” ผมแบ่ง Profile การ Backups ไว้ 4 ส่วนคือ Documents ล้วนๆ (รวมไฟล์ e-mail ที่ pop มาจาก Gmail), eBooks, Music และ Pictures ที่ External Hard Drive และ 1 ส่วนจับใส่ Dropbox แล้ว Sync เข้า Cloud ไปพร้อมๆ กับ Backup เข้า External Hard Drive ด้วย เหตุผลที่แยกมาเป็น 4 ส่วนเพราะทั้ง 4 ส่วนนี้สำหรับผมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน และเป็นส่วนหลักๆ ที่มีขนาดใหญ่มาก การแบ่งทำให้ใช้เวลา Backup เร็วขึ้นและ Validate ตัว Backup ไฟล์เร็วขึ้น แน่นอนว่าเวลา Recovery ก็ทำได้เร็วขึ้นลดการความผิดพลาดในการ Validate ไปในตัว เพราะผมเคย Backup เป็นก้อนเดียวกันหมด แล้ว Validate ไม่ผ่านด้วยครับ แต่ดีไฟล์งานนั้นมีอยู่ในอีเมลพอดีเลยรอดตัวไป โดยจะ Full + Incremental  เข้า Drive I:

สำหรับ Folder “Downloads” อันนี้เป็นไฟล์ที่ผม download มาจาก Internet ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ก็เลยแยกไปอีก Profile นึงไปเลยเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทุกวันอยู่แล้ว โดยจะ Full + Incremental เข้า Drive I:

สำหรับ Folder “mysql, php, svndata, tmp และ www” เป็นตัวไฟล์งานหลักของผม จะกระจาย 3 copy โดยจะไว้ที่ External Hard Drive สองชุด และ ULtrabay อีกชุดนึง เผื่อต้องการ Recovery ไฟล์ตอนเดินทางก็ทำได้เลย ไม่ต้องกลับมาใช้ใน External Hard Drive ที่ห้องอีก โดยจะ Full + Incremental เข้า Drive E:, H: และ I:

2011-05-07_182342

สำหรับ Folder “Galleries” และ “Photos” ใน Drive E: จะเป็นพวกไฟล์รูปที่จะใช้ SyncToys (วิธีใช้ก็อ่านที่ http://www.freeware.in.th/utilities/2484 นะครับ) โดย Sync เข้าไปเก็บไว้ที่ Drive H:

ที่ Drive G: นั้นจะมี Folder เดียวคือ “Photos” เป็นที่เก็บไฟล์รูป JPEG/RAW ที่ไม่ได้ใช้บ่อยๆ ก็ใช้ SyncToys ทำการ Sync เข้า Drive I: อีกทีนึง

ที่ Drive H: นั้นจะมี “DVD” ตัวนี้เก็บ ISO ของ DVD บางเรื่องที่ผมแกะออกมาแล้วจะ Rip หรือเก็บ ISO ไว้ไม่อยากไปแกะห่ออกมาหลายๆรอบเพื่อดู จะถูกใส่ไว้ที่นี่ เช่นเดียวกับ “Video for iPod Touch” อันนี้ Backup ไฟล์ Video ที่อยู่ใน iPod Touch เผื่อมีอันเป็นไปจะได้ไม่ต้อง convert ใหม่ มันเสียเวลา ส่วนต่อมาคือ “Photo Backups (for Customers)” อันนี้จะ Sync โดยใช้ SyncToys ไปไว้ที่ Drive I: อีกทีนึง

ที่ Drive I: จะมีตัว Foder “Backups” ชัดเจนมาก แน่นอนว่ามี “Mobile” และ “Settings” เพิ่มเข้ามา โดยเจ้า Mobile อันนี้ไว้ Backup ไฟล์ในโทรศัพท์มือถือของผม ส่วนใหญ่จะทำอาทิตย์ละครั้ง ไม่ได้ทำทุกวัน เพราะปรกติในมือถือผม Wireless Sync หมดแล้ว จะมีก็แต่ไฟล์รูปในโทรศัพท์นิดหน่อยเท่านั้นเอง ส่วนไฟล์งานก็เก็บใน Dropbox อยู่แล้วในบีบีผมลงไว้เพราะงั้นเรียกใช้ไม่ยาก ส่วน Settings นี่ไว้เก็บ User Profile ของ Windows 7 ที่มีการเก็บพวกค่าที่เราตั้งไว้กับโปรแกรมบางตัวที่ผมไม่อยากเสียเวลามาตั้งใหม่ ผมก็ไปคุ้ยๆ หามาแล้วก็ทำการ Backup ไว้ เวลามีปัญหา ผมก็แค่ copy ไปไว้ที่เดิมก็เรียกใช้งานได้เลย

2011-05-07_141221

คือพอทำพวกนี้แล้วไฟล์ต่างๆ จะมี copy ของตัวเองเกือบทุกไฟล์เลย เพราะอย่างน้อยๆ ถ้ามีไฟล์หาย Hard Drive พัง หรือว่า Notebook โดนขโมย ก็ยังมีไฟล์ไว้ทำงานได้ต่อไปครับ

2011-04-23_144529

ด้านล่างเป็น Profile Task ใน Acronis True Image Home ที่ทำไว้ครับ ใครจะลองไปตั้งเล่นดูก็ได้ครับ ดูว่าผม Backup ไว้แนวๆ ไหนก็ลองไปนั่งคิดดูว่าควรจะใช้อะไรแบบไหนเมื่อไหร่ครับ

image

จะเห็นว่าผมใช้ Hard Drive ในการ Backup ข้อมูลเป็นหลัก เพราะเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูง ราคาต่อหน่วยต่ำ ลงทุนในระยะแรกไม่แพง แนะนำซื้อตัว External Hard Drive สำเร็จรูปไปเลยแล้วจบ เพราะงานประกอบและระบบไฟที่นำมาประกอบขายดีกว่าเราซื้อแยกแล้วประกอบเอง หรือย่างพวกแผ่น CD/DVD ดูจะราคาถูก แต่ไม่เหมาะกับการ Backup ที่ซับซ้อนมากนักแถมไม่เหมาะกับข้อมูลสำคัญ เพราะโดนขโมยได้ง่ายมาก (พวกทำหาย เก็บไม่ดี ทำแผ่นหัก!!!) อีกทั้งแผ่นพวกนี้ถ้าต้องหายี่ห้อดีๆ แถมราคาก็แพงสุดๆ อีกอย่าง มันต้องการที่เก็บดีๆ ด้วยไม่งั้นราขึ้นอีก –_-“ ผมเลยจัดการเก็บด้วย Hard Drive ดีกว่าเยอะ แถมดูรักษาตัว Hard Drive ก็ทำได้ไม่ยากนัก แค่มี UPS ต่อกับ Hard Drive ทุกตัวก็ปลอดภัยในระดับที่น่าพอใจแล้ว

ยังเหลืออีกอย่างที่ผมยังมีแผนก็คือการ Disaster Recovery Plan กำลังทำอยู่ รอกลับบ้านก่อนตอนนี้เตรียมเงินไปซื้อ 2TB ไว้แล้ว หลักการง่ายๆ คือ primary backup กับตัว secondary backup ควรเก็บคนละที่ เผื่อเกิดเหตุโดขโมยขึ้นบ้าน ไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว จะหายไปหมด กำลังอยู่ในแผน คิดอีกไม่นานคงได้ทำ ^^

สำหรับตอนนี้ออกจะยาวนิดนึง แต่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อคนอ่านมากทีเดียว ;)

ฝากไว้ครับ

Backup พันวัน เอาไว้ใช้วันสำคัญวันเดียว … วันที่ข้อมูลมีปัญหา!!!

IMAGE_886_2

Review – Lenovo ThinkPad X220

12.4 12.3

1.1

ได้เครื่องมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 ผ่านทาง Media Agency ของ Lenovo (Thailand) มีเวลาทดสอบอยู่ประมาณ 3 วัน ในสภาพทำงานจริง ทั้งแบกไปทำงาน ใช้งาน ฯลฯ แน่นอนว่าได้ลองทำงานบนรถประจำทาง และรถไฟฟ้าด้วย เพื่อให้เข้ากับวิธีทำงานของหลายๆ คน ที่ชอบทำงานบนรถ

โดยผมต้องบอกก่อนว่า Lenovo ได้เปิดตัว Lenovo ThinkPad X220 ในรูปแบบแตกต่างจากเดิมพอสมควร มีการปรับแต่งในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น โดยที่เมื่อได้เครื่องมาแล้วสัมผัสแรกที่รู้สึกคือ งานประกอบตัวเครื่องนั้น แน่นขึ้นกว่าเดิม เรียบ รอยต่อต่างๆ เนียนเรียบ การแสดงผลของจอภาพสวยงามขึ้นและมุมมองในการแสดงผลดูดีมากๆ ซึ่งขอบจอภาพนั้นเรียบบางมาก 8 มิลลิเมตรได้ โดยไม่มีตะขอเกี่ยวจอแต่ถูกเปลี่ยนเป็นแม่เหล็กแทน โดยระยะของคีย์บอร์ดได้สัมผัสดีขึ้นซึ่งได้คีย์บอร์ดที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จาก Lenovo ThinkPad T410s นั้นเอง

โดยวันที่รับเครื่องนั้น จริงๆ ก็ได้ผมได้สัมผัส Lenovo ThinkPad T420 ตัวใหม่เช่นกัน แต่ก็เพียงแป็บๆ ที่ได้ลองใช้งาน จึงยังบอกอะไรไม่ได้มาก แต่ไม่ประทับใจเท่า Lenovo ThinkPad X220 เท่าใดนัก อาจจะเพราะการเปลี่ยนแปลงเยอะกว่าที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกมากกว่าก็ได้มั้ง

Read more

เหตุผลที่ควรย้ายจาก Multiply ไป Flickr สักที ขอบ่นก่อนจาก

จาก เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) ถ้าดีก็จ่ายเงินเค้าเหอะ ก็ได้อธิบายไปบ้างบางส่วนแล้วว่า Multiply กับ Flickr นับวันยิ่งเห็นความต่างเยอะ ด้านความคมชัดของภาพ Multiply ห่วยลงเรื่อยๆ เริ่มรับไม่ได้ ระบบจัดการรูปก็ไม่พัฒนา มีแต่อะไรก็ไม่รู้ อาจจะไม่เห็นภาพเท่าไหร่ ผมจึงเอาหลักฐานภาพประกอบมาเพื่อแสดงให้เห็นกันครับ

หมายเหตุ : ทั้งสอง Account เป็นแบบเสียเงินรายปี เพราะฉะนั้นจึงตัดเรื่องคุณภาพของการให้บริการแบบเสียเงินกับไม่เสียเงินไปได้เลย เพราะนี่คือ Account เสียเงินรายปีทั้งคู่!!!

ด้านล่างคือตัวอย่างภาพที่เทียบ ด้านซ้ายเป็นภาพอยู่บน Multiply ที่เป็น Normal View ของ Multiply สำหรับ Resolution ขนาด 1024px เช่นเดียวกับภาพด้านขวาที่เป็น Normal View ของ Flickr บน Resolution เดียวกัน บน Mozilla Firefox เช่นกัน โดยไฟล์ภาพทั้งสองตัวนั้นเป็นไฟล์ภาพขนาดใหญ่ทั้งคู่ โดยย่อและ USM ตามขนาดที่ควรจะเป็น โดย Multiply อัพผ่านหน้าเว็บด้วย HTML Upload ธรรมดา ส่วน Flickr อัพผ่าน Flickr Uploadr อีกทีนึง

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

รูปต้นฉบับที่ Flickr : http://www.flickr.com/photos/fordantitrust/5506863990/
รูปต้นฉบับที่ Multiply : http://fordantitrust.multiply.com/photos/photo/339/33

จากภาพนั้นจะเห็นความคมชัดของภาพนั้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถ้าดูเรื่องสีสัน รวมถึงความอิ่มสียิ่งเห็นความแตกต่างหนักเข้าไปอีก นี่แค่เหตุผลแรกก็ชัดเจนที่จะย้ายแล้วในขั้นต้น ….

แน่นอน อีกนิดนึงสำหรับเรื่องระบบจัดการรูปภาพนั้น

Multiply ยังคงเดิมและไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

Multiply vs Flickr

Flickr กลับมีลูกเล่นและทางเลือกในการจัดการไฟล์ภาพได้เยอะกว่า


Multiply vs Flickr

จริงๆ ตัวระบบจัดการไฟล์นั้นอิงตามแนวคิดที่แตกต่างกันด้วยนะ

Multiply มีแนวคิดเก็บรูปแบบ film คือ รูป “แปะติด” กับ album ส่วน Flickr มีแนวคิดเก็บรูปแบบ digital คือ รูป “ผูก” กับ tags/sets/collections

เมื่อแนวคิดของคนเราส่วนใหญ่เป็นแบบ hard copy ทำให้แนวคิดแบบ Multiply ดูจะได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเข้าใจง่ายกว่า และดูจะอ้างอิงกับสิ่งที่คุ้นเคยได้ดี แต่กับแนวคิด soft copy นั้นแตกต่าง และแน่นอนว่าแนวคิดแบบนี้ถ้าเอามาใช่กับแนวคิดของรูปแบบบนสื่อ digital ย่อมดีกว่าเพราะประหยัดพื้นที่ และการเข้าถึงที่หลากหลายกว่า

เอาสั้นๆ อีกที

Flickr คือ Photo Centric ส่วน Multiply คือ Album Centric

ซึ่งมันก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความชอบและแนวคิดของแต่ละคนไป

แต่ในยุคที่การถ่ายภาพนั้นแตกแขนงออกมากมาย รูปภาพหนึ่งรูปแทนคำได้มากมาย ความหมายในภาพมีอยู่นับไม่ถ้วน นั้นหมายความว่าการกำหนดว่าภาพใดๆ จะต้องถูกจำกัดเพียงความหมายเดียวของ Album นั้นๆ ดูจะทำให้รูปภาพนั้นสื่อสารตัวมันเองออกมาได้เพียงหัวข้อสั้นๆ ที่จำกัดใจความสำคัญของภาพได้น้อยลงไป ผมเลยรู้สึกว่ามันควรมีอะไรมากกว่านั้นมาก

แต่นั้นเองทำให้ Album ภาพของ Multiply มีระบบ tags เข้ามา แต่มันไม่มากพอ เพราะมันผูกกับ Album ไม่ใช่รูปภาพนั้นๆ และรูปภาพนั้นๆ มีข้อมูลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Geotagging และข้อมูลต่างๆ ในการปรับแต่งมากมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้เยอะกว่าแค่ดูภาพ 1 ภาพแล้วจบ มันสามารถเล่าเรื่องราวของการเดินทางได้ผ่านส่วนเติมเต็มเหล่านี้ได้อีกมาก

เหตุผลต่อมา คือรูปแบบการอัพโหลดตัวรูปที่ให้ทางเลือกไม่เท่ากันโดย Multiply มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการอัพโหลดรูปที่ส่งขึ้นไปได้น้อยกว่า Flickr อย่างมาก อีกทั้งตัว Java Uploader ของ Multiply (ซึ่งหลายคนชอบใช้) มีปัญหากับแนบ Profile สีของรูป หรือถ้าไม่ปรับ original file ตอน upload จะโดนย่อรูปจนเสียคุณภาพแถมสีเพี้ยนเข้าไปอีก ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยาก ในระยะหลังๆ ผิดกลับ Flickr ที่มีเครื่องและทางเลือกที่หลากหลายมากในการอัพรูปเข้าเว็บ โดยพื้นฐานการอัพเข้าเว็บจากตัวเว็บเองก็ไม่ยุ่งยากและดูจะเรียบง่ายกว่ามากๆ แล้ว ตรงนี้แหละที่ทำให้มือใหม่ที่เพิ่งมาสมัครใช้งานได้แทบจะทันที

รูปแบบการอัพโหลดปรกติของ Multiply ระบบการทำงานด้านหลังเป็น Flash แต่ไง๋ทำไมต้องไล่คลิ้กทีละไฟล์ก็ไม่รู้ และไม่มีทางเลือกสำหรับ Basic HTML เพราะงั้น Flash พังก็จบกัน -_-”

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

รูปแบบอัพโหลดด้วย Java Uploader ของ Multiply ที่มักมีปัญหาและสีเพี้ยน -_-” ข้อดีคือลากไฟล์ใส่ไปเลยเป็นร้อย ไม่ต้องคลิ้กทีละไฟล์แบบตัวด้านบนที่อัพได้ทีละ 20 รูป คลิ้กใส่รูปทีละไฟล์

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

รูปแบบการอัพโหลดปรกติของ Flickr คลิ้กใส่ได้เลยหลายๆ รูปสบายๆ เพราะใช้ Flash Upload อีกต่อนึง หรือถ้ามีปัญหากับ Flash ก็ใช้ HTML ปรกติก็ได้แบบเดียวกับ Multiply ตัวแรก แต่เป็นแบบ Basic HTML ล้วนๆ เพราะงั้นถ้ามีปัญหากับ Flash ก็ยังใช้วิธีโบราณสุดๆ ก็ยังไหว

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

จริงๆ ยังมี Flickr Uploadr ตัว Desktop App ที่ทำงานไม่ต้องผ่านเว็บก็ได้อีกตัวนึงครับ แต่ว่าไว้ก่อนแค่นี้ก่อน ^^

อันนี้เป็น 3 เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดการย้าย ยังมีเหตุผลอีกเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมคิดว่าอาจจะดูยาวไป เอาแค่ 3 ข้อนี้ก่อนแล้วกัน เดี่ยวจะยาวเกินไป (นี่ยังไม่ยาวอีกเหรอ!!!)

สำหรับใครสนใจเข้าไปได้ที่ http://www.flickr.com โดยรายละเอียดความแตกต่างระหว่าง Free Account และ Pro Account ก็ตามด้านล่างนี้เลยครับ ผมแนะนำว่าเสียเงินสักนิดหน่อยปีละไม่ถึง 800 บาท ชีวิตจะดีขึ้นมาก ^^

Free Account:
– อัพรูปได้ไม่จำกัดจำนวณ (Unlimited uploads items, จำกัดที่ 15MB ต่อรูป)
– จำกัดจำนวนข้อมูลที่อัพเข้ามาที่ 300MB ต่อเดือน (300 MB monthly photo upload limit)
– อัพวิดีโอได้ 2 ไฟล์ต่อเดือน (เวลาในวิดีโอไม่เกิน 90 วินาที, 150MB ต่อไฟล์)
– รองรับเฉพาะ sets ได้เพียง 3 sets เท่านั้น และใช้ collections ไม่ได้
– การแสดงผล Photostream จำกัดจำนวนการแสดงผล 200 รูปล่าสุดเท่านั้น (รูปเก่าๆ ยังอยู่ แต่ว่าจะไม่แสดงใน Photostream ของเว็บ)
– รองรับการโพสรูปและวิดีโอเข้ากลุ่ม (groups pools) เพื่อแบ่งปันกันได้มากสุด 10 กลุ่ม
– แสดงผลเฉพาะรูปภาพที่ถูกย่อแล้วเท่านั้น (Only smaller resized images accessible)
– ถ้ามีการ upgrade ไป Pro Account รูปภาพต้นฉบับจะสามารถเข้าถึงได้ด้วย (เก็บรูปภาพตันฉบับไว้ด้วย)
– ถ้าบัญชีสมาชิกไม่มีความเคลื่อนไหวใน 90 วัน บัญชีสมาชิกจะถูกลบออกไป

Pro Account:
– อัพรูปได้ไม่จำกัดจำนวณ และไม่จำกัดจำนวนข้อมูลที่อัพเข้ามา (Unlimited uploads, จำกัดที่ 20MB ต่อรูป)
– ไม่จำกัดจำนวนการส่งข้อมูลออกจากเว็บ (Unlimited bandwidth)
– อัพวิดีโอได้ไม่จำกัดจำนวน (เวลาในวิดีโอไม่เกิน 90 วินาที, 500MB ต่อไฟล์และ รองรับ HD 720p)
– ไม่จำกัดพื้นที่เก็บรูป (Unlimited storage)
– เก็บไฟล์ต้นฉบับ ให้ทั้งหมด
– สามารถแก้ไขรูปภาพที่อัพไปแล้วด้วยการอัพโหลดรูปไปทับไฟล์เดิมได้ (replace a photo)
– การแสดงผล Photostream ไม่จำกัดจำนวนการแสดงผลล่าสุด
– รองรับ collections และตั้ง sets แบบไม่จำกัดจำนวน
– ไม่มีโฆษณา
– รองรับการโพสรูปและวิดีโอเข้ากลุ่ม (groups pools) เพื่อแบ่งปันกันได้มากสุด 60 กลุ่ม
– แสดงผลรูปภาพที่ถูกย่อแล้วและสามารถตั้งให้แสดงผลรูปต้นฉบับหรือโหลดไฟล์ต้นฉบับได้ด้วย
– มีระบบสถิติให้

อ้างอิง
http://www.flickr.com/upgrade/
http://www.flickr.com/help/limits/

Review, Score & Real life experience: SSD Ocz VERTEX 2 SATA II 2.5”

เป็นครั้งแรกที่ได้ใช้ SSD (Solid-State Drive) อย่างจริงจัง โดยปรกติแล้ว ผมมักจะใช้งาน SSD แบบผ่านๆ เสียมากกว่า แต่ด้วยทาง MemoryToday ได้ส่ง SSD สุดแรงตัวนี้มาให้ผมทดสอบ แน่นอน ผมได้นำมาใช้งานในลักษณะทำงานจริงเป็นหลัก ทั้งการทำงานด้าน Software  Develop, ตกแต่งภาพถ่ายที่ต้องใช้ความสามารถในการเข้าถึงไฟล์ที่รวดเร็ว และการใช้งานทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันอื่นๆ

แน่นอนถ่้าผมนำมาทดสอบกับ Lenovo ThinkPad Z61t ก็ดูจะไม่เต็มที่ เพราะเป็น interface แบบ SATA 1.5Gbps แต่โชคดีที่ระหว่างนี้ผมมีเครื่อง ThinkPad Edge 14” (0578-23U) อยู่ข้างกายพอดี เลยได้โอกาสทดสอบกับ CPU และ Chipset รุ่นที่ทำตลาดจริงๆ ในปัจจุบัน ทำให้การทดสอบนี้ดูจะทันสมัยแน่นอน

แน่นอนว่า SSD นั้นแตกต่างจาก HDD (Harddisk Drive) ตรงที่ไม่ใช้จานแม่เหล็กเพื่อเก็บข้อมูล และต้องมีมอเตอร์เพื่อหมุนตัวจานแม่เหล็กเพมื่อให้หัวเข็มอ่านและเขียนข้อมูล แต่เป็นการใช้ CHIP หน่วยความจำ (คิดไม่ออก ก็คล้ายๆ กับพวก SD Card หรือ CF Card) ซึ่งใช้ Technology ชื่อ NAND flash memory แต่เอามาเรียงต่อกันเป็นแผงใหญ่ๆ แล้วใส่ interface ที่ต้องการนำไปเชื่อมต่อในภายหลังนั้นเอง แต่ข้อดีที่ทำให้มันเร็วคือการเข้าถึงข้อมูลแบบ Direct Access และความทนทานต่อสภาพความสั่นะเทือนระหว่างที่ใช้งานอยู่เป้นหลักนั้นเอง (หาอ่านต่อใน Google แล้วกันครับ)

เรามาดูหน้าตากันดีกว่า ว่าเจ้า SSD ตัวที่ผมกำลังผู้ถูกมีหน้าตาอย่างไร

DSC_7353 copy

หน้าตา SSD Ocz VERTEX 2 SATA II 2.5” นั้นเก็บงานได้เนียนครับ

DSC_7356DSC_7357

ตัว interface connection แบบ SATA ที่สามารถนำไปใช้กับ Notebook และ Desktop ได้ทันที โดยถ้าใช้กับ Desktop ในตัวกล่องก็มีชุดเหล็กยึดสำหรับใส่กับช่องใส่ HDD 3.5” ของ Desktop ให้เลยไม่ต้องซื้อเพิ่มเติมแต่อย่างใด

DSC_7362DSC_7359

อัตราการกินไฟไม่มากเท่าไหร่ น้อยกว่า HDD 2.5” 7,200rpm อยู่ 20 – 30%” โดยประมาณ

image

คุณสมบัติของครื่อง ThinkPad Edge 14” (0578-23U)  ก็มี Intel i3-350M (2.2GHz) ใส่ RAM มา 2GB DDR3 พร้อมกับ Microsoft Windows 7 Professional 64bit EE ที่ Preload มาจากทาง Lenovo เอง

image

Windows Experience Index ให้คะแนน SSD ตัวนี้ทะลุไป 7.5 เลยทีเดียว (HDD 2.5” 7,200rpm จะได้ประมาณ 5.8)

image

ทดสอบกับไฟล์จำนวนขนาด 100MB บนโปรแกรม CrytalDiskMark แล้วนั้นผลการทดสอบน่าพอใจครับ
ทำความเร็ว Read 202MB/s และ Write ที่ 136MB/s
สำหรับไฟล์เล็กๆ ย่อยๆ ก็ได้ในระดับที่น่าประทับใจครับที่ Read 14.5Mb/s และ Write ที่ 20.83Mb/s
แต่เมื่อไฟล์เล็กๆ ย่อยๆ มาใช้กับ IOmeter Random-Write IOPS (4KB, Queue Depth 32) ก็ทำความเร็วได้น่าประทับใจ

image

image

เมื่อเอามาทดสอบกับ HD Tunes นั้นก็ดูน่าประทับใจในเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า HDD 2.5” 7200rpm อยู่เยอะเลยทีเดียว!!!! (ดูผลการทดสอบของ HDD 2.5” 7200rpm ได้ด้านล่าง) แค่ Access Time และ CPU Usage ก็กินขาดแล้วครับ!!!

image

ดูผลการทดสอบ กันไปแล้ว มาพูดถึงความเห็นต่อตัว SSD ดูบ้าง

โดยส่วนตัวแล้วนั้น การทำงานของ SSD จัดว่าทำให้เราสามารถเปิดและทำงานกับไฟล์ได้รวดเร็วมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปรกติถ้าเราใช้ HDD เราบูทเข้า Windows 7 จะใช้ได้เวลาประมาณ 15 – 30 วินาทีและรอโหลด Service Process อีกสักพัก สำหรับ SSD ตัวนี้ผมนับ 1 ถึง 5 หลังจากเปิดก็เข้าสู่หน้า Desktop แล้ว และนับอีก 1 ถึง 3 พวก Service Process ก็โหลดจบ พูดง่ายๆ นับประมาณ 10 ก็พร้อมทำงาน หลายคนอาจคิดว่าช้ากว่าเจ้าอื่น แต่ต้องบอกว่า เครื่องที่ติดตั้งนั้นติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้งานจริงซึ่งมี antivirus และ firewall อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นนี่คือการทดสอบใช้งานของคนใช้งาน เพราะฉะนั้นจะไม่เหมือนกับการทดสอบที่อื่น

โดยปรกติคนใช้งาน Notebook มักเป็นคนที่ทำงานยุ่งเกียวกับงานด้านธุรกิจและติดต่องานซึ่งตัวผมเองนั้นใช้ Microsoft Outlook และเปิดไว้ตลอดเวลา ซึ่งตัวนี้ก็เช่นกัน โดยปรกติแล้วเราจะเปิดโปรแกรมตัวนี้จะใช้เวลาอยู่พอสมควรเลยน่าจะพอๆ กับบูท Windows 7 อีกตัว แน่นอน พอผมมาใช้ SSD คลิ้กเปิดโปรแกรม ตัว Outlook แทบจะเปิดขึ้นมาพร้อมใช้งานในเกือบจะทันที นับ 1-3 แล้วโหลดจบทันที! (ใน Outlook ผมมีไฟล์ PST ที่ต้องโหลดตอนเปิดอยู่ 4 ไฟล์ ไฟล์ละเกือบ 1GB ครับ) แน่นอน โปรแกรมอื่นๆ ในชุดอย่าง PowerPoint, Word, Excel ก็ไม่แตกต่างกัน การทำงานทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้

ต่อมาในส่วนของโปรแกรมตกแต่งภาพอย่าง The GIMP และ Photoshop CS5 Trial การเปิดโปรแกรมก็ดูจะรวดเร็วขึ้นเช่นกัน และการปรับแต่งรูปภาพนั้นเมื่อโหลดไฟล์รูปภาพขนาด 50MB แบบ TIFF ทั้ง 2 โปรแกรมก็โหลดได้เร็วภายในเวลาประมาณ 2-3 วินาที จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณเกือบ 10  วินาที ยิ่งถ้าปรับแต่ง RAW File อย่าง Compressed RAW ของ Nikon (NEF) บน Capture NX 2 ก็ดูจะโหลดขึ้นมาหรือมีการ Zoom in-out ได้เร็วมากขึ้น (การ zoom in-out ของ CNX2 จะมีการโหลดข้อมูลจาก RAW ไฟล์เข้ามาใหม่)

สำหรับความเร็วในการปิดเครื่องก็เหมือนเปิดนั้นแหละครับ คลิ้กปิดเครื่องปั้บรอนับ 1 ถึง 3 แทบจะดับทันที !!

จะเห็นว่าที่ผมมาเล่าสู่กับฟังนั้นเป็นการทดสอบและความรู้สึกของคนที่ใช้งาน SSD แบบจริงจังเป็นครั้งแรก แน่นอนว่าในตัวอื่นๆ อาจจะทำความเร็วได้ใกล้เคียงกับตัวนี้ แต่ด้วยราคาค่าตัวจาก MemoryToday.com ที่ให้ราคา 60GB ราคา 4,790.- บาท, 120GB ราคา 8,390.- บาท และ 240GB ราคา 17,990.- บาท (ราคาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2553) ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตอนนี้เลยครับ