Joshua: Teenager vs. Superpower (2017)

เล่าเรื่องของ โจชัว หว่อง ภายใต้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง Scholarism นับตั้งแต่อายุ 14 ปี ปี 2011 จนสิ้นสุด Umbrella Revolution ในปี 2014

จุดเริ่มต้นของเรื่องคือ การต่อสู้กับนโยบายของรัฐบาลจีนปักกิ่ง ต่อการเข้าครอบงำระบบการศึกษาผ่านแบบเรียนที่จะนำไปสู่ความเป็นชาตินิยม ตามแนวทางคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งกลุ่มนักศึกษาไม่ต้องการ ผลสุดท้าย รัฐบาลฮ่องกงทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องล้มเลิกความคิดไป เป็นชัยชนะที่สำคัญต่อการต่อกรของแนวคิดประชาธิปไตยในฮ่องกงต่อคอมมิวนิสต์จีน

ช่วงท้ายเล่าจนมาถึง Umbrella Revolution ที่เป็นความพ่ายแพ้ของ Scholarism และกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อการเรียกร้องการเลือกตั้งผู้นำของคนฮ่องกงที่ต้องการเลือกผู้นำของตัวเอง ที่ไม่ได้มาจากบุคคลที่รัฐบาลจีนปักกิ่งเป็นผู้เลือกมาให้คนฮ่องกงเลือกอีกต่อหนึ่ง

ลองกด Netflix ดูได้ เป็น Netflix exclusive มีซับไทย เล่าเรื่องได้ค่อนข้างดีทีเดียว

ref: Joshua: Teenager vs. Superpower (2017)

Respect my tax, Respect my vote

Tax เป็นหน้าที่ และสิทธิ์ที่รัฐเรียกเก็บต่อประชาชนตามกฎหมาย
Vote เป็นหน้าที่ และสิทธิ์ที่รัฐกำหนดให้กับประชาชนตามกฎหมาย

เมื่อผมเสีย Tax ผมก็ขอเรียกร้อง Vote ก็แฟร์ๆ ดี แต่แน่นอนว่ามีกลุ่มคนบางกลุ่มคิดว่าตัวเองเสีย Tax อยู่คนเดียว หรือกลุ่มเดียว แล้วจะมาบอกว่าคนอื่นห้าม Vote คือพอดีว่าผมก็เสีย Tax และผมต้องการ Vote!!! ถ้าคุณจะประเคนสิทธิ์ในการโหวตให้คนอื่น ก็ใช้ไปคนเดียว หรือกลุ่มเดียว ยังมีคนอีกมากมายที่เค้าไม่ยอม (แน่นอนการขายเสียงมีความผิดตามกฎหมาย)

การเสีย Tax และ Vat มีในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีสรรพสามิต หรือที่เราๆ เจอกันมากสุดคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังมีอีกหลายประเภทที่ไม่ได้กล่าวถึง โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกเก็บในรูปแบบที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ คุณเข้า 7-11 ก็ถือว่าจ่ายแล้ว ชาวนา ชาวไร่ คนงานก่อสร้างก็ต้องเสีย อย่าคิด อย่ามโนไปเองว่าเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วจะมาบอกว่าคนไม่อยู่ในระบบภาษีดังกล่าวจะไม่ได้เสียภาษี เป็นความเข้าใจที่อยู่บนข้อมูลผิดๆ อย่างร้ายแรงและดูถูกคนอื่นอย่างร้ายกาจ

ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว (รัฐบาลชุดนี้) หรือประกันราคาข้าว (รัฐบาลชุดที่แล้วที่ผมเลือกมาเอง) รวมไปถึงการอุดหนุนที่บิดเบือนสภาพตลาดที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง (ยาง, ข้าวโพด ฯลฯ) รวมไปถึงนโยบายรถคันแรก และการสร้างเขื่อนที่ทำการศึกษาไม่รอบด้าน แต่นั้นหมายความว่า วันและเวลาที่เมื่อเวลาที่ได้ใช้สิทธิ์ Vote จากการยุบสภา คุณก็ไปเลือกพรรคที่มีนโยบาย ยกเลิกบ้าๆ บอๆ หรือไม่สนับสนุนนโยบายด้านบนต่างหาก

ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยรู้สึกอยากไปเลือกตั้งเท่าครั้งนี้มาก่อน…

การเมืองจากการ์ตูน (จะโดนปิดเว็บไหมเนี่ยเรา) [ปรับปรุงคุณภาพรูปภาพ]

image_thumb

ได้พวกนี้มันนึกว่าสมาชิกรัฐ…เป็นอะไรกันแน่นะ

มันตั้งใจเป็นตัวแทนของประชาชน

ปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยจริงหรือเปล่าเฟ้ย

image_thumb_3

เหมือนกับเช่นเคย

image_thumb_4

เนื่องด้วยมนุษย์เป็นสัตว์สังคม

เพราะงั้นจึงจำเป็นต้องรักษากฎของสังคมเอาไว้

image_thumb_5

ใครที่ไม่รักษากฎก็ต้องได้รับโทษ

ประหาร !

แต่ถ้าสามารถรักษากฎได้ ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ย่อมทำได้

ใช่

image_thumb_6

การคว้าชัยชนะเพื่อแต่งตั้งตัวเองเป็นราชาของประเทศ ไม่ได้เป็นการทำลายกฎ

ฉันนี่แหละคือกฎเฟ้ยยยย

แค่สร้างกฎแบบนั้นขึ้นมาก็พอไม่ใช่เหรอ

ไร้ความผิด ……

image_thumb_7

และผู้ที่สามารถทำให้กฎนั้นบังคับใช้ได้ก็คือ สมาชิกรัฐ …..

ถ้าจะพูดไปแล้วสมาชิกรัฐ….. ก็คือพวก ……. ที่ไป …… ในเวทีที่ชื่อว่า ….. ซึ่งมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ไหลเวียนอยู่

เพื่อปล้นเงินภาษีของประเทศ ไปสร้างกฎให้พวกตัวเอง ที่อยู่ในท้องถิ่นหรือวงการธุรกิจได้ผลประโยชน์

image_thumb_8

แล้วก็เลือกนายกขึ้นมาเป็นตัวแทน เพื่อเล่นการเมือง ซึ่งไม่สามารถดำเนินนโยบายของประเทศอย่างตรงไปตรงมาได้

เพราถ้าหากว่าทำเช่นนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องถูกลากไปจัดการ

image_thumb_9

พรรค ….. ที่มีอำนาจและมีสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับองค์กรธุรกิจเพราะทำเช่นนั้นมานานปี ผลสุดท้ายก็มีแต่จะได้รับสินบนเพิ่มขึ้น

ถ้าตั้งใจจะ ปฎิรูปการเมืองจริง ๆ หล่ะก็ ……

 

แล้วทำไงดีหล่ะ T_T

ปล.ภาพทุกรูปมาจากหนังสือการ์ตูน 

logo_akumetsu

หน้ากากปีศาจ พิฆาตทรชน : AKUMETSU
Story by TABATA Yoshiaki
Illust by YOGO Yuki
ปัจจุบันจบชุดแล้วมีทั้งหมด 18 เล่มจบ หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป
ราคาปกเล่มละ 40 บาท

มีดที่แม่ทำครัวก็ไม่ต่างกับมีดที่มาตรกรฆ่าคน

จั่วหัวแบบนี้ อาจะแปลก ๆ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด แต่ที่ผิดมากกว่าคือมาตรการการจำกัดสิทธิ ที่เหมือนกับการห้ามขายมีด เพราะมีมาตรกรบางคนไปฆ่าคน แล้วเหมือนกับโยนความผิดไปให้มีด ทั้ง ๆ ที่มีดมันก็แค่อุปกรณ์ แต่สิ่งที่ทำให้มันเป็นขาวหรือดำ คือ "มนุษย์" จริง ๆ ใน blog ผมก็พูดหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับ "มนุษย์" ที่ทำให้มันไม่ดีเองอย่าง เกมส์ฆ่าคุณได้ ? เป็นต้น ซึ่ง ผมว่ามันก็ไม่ต่างกัน การป้องกันที่ดีมันต้องไปแก้ที่คน จะบอกว่ามันยากที่จะเยียวยา ผมมองว่าถ้าเราไม่เริ่มแก้ แล้วปลายทางมันควรจะอยู่ตรงไหน เหมือนกับเรื่องคลิปวีดีโอฉาว ต่าง ๆ ก็ไม่ต่างกัน จะให้เลิกขายโทรศัพท์ที่ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอไปเลยไหม หรือว่าเลือกขายกล้องถ่ายวีดิโอไปเลย -_-‘ ตรรกะมันก็ไม่ต่างกัน แต่เหมือนกับเลือกปฎิบัติอ่ะ แถมการประโคมข่าวก็ยังช่วยโปรโมตรอีกต่างหาก คราวนี้คนไม่รู้ได้รู้กันทั่วหน้า เฮ้อ ….. เซง ตรรกะแบบสองมาตรฐานจริง ๆ

แล้วในกรณีที่โด่งดังอย่าง Camfrog นี่ การไล่จับเจ้าของ Server นี่มันก็ไม่ใช่ที่ เพราะใครจะมานั่งดูว่ามีใครโชว์ ถึงแม้ว่าไอ้เจ้าของห้อง หรือเจ้าของ Server มันจะเชียร์ให้ถอด กันทุก ๆ 5 นาที หรือ 10 วิ ก็ตาม แต่ถ้าคนมันไม่ถอดอ่ะ มันก็ทำอะไรไม่ได้ เรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องสมยอมทั้งผู้ดูและผู้โชว์ ถึงแม้มันจะเข้าจ่ายอนาจารในที่ชุมชน -_-‘ (หรือเปล่า) ซึ่งชุมชนในที่นี้คือชุมชนในอินเตอร์เน็ต ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับที่แน่นอน แต่อาจจะโดยเรื่องแพร่กระจายสื่อลามก ก็ว่ากันไป แต่ปัญหาก็คือควรจะไปเอาผิดคนโชว์ ไม่ใช่เจ้าของ เหมือนกับกรณีรูปหลุดที่อื้อฉาวของดาราบางคน ที่ดันไปโพสในเว็บ Pantip.com ซึ่งความซวยก็มาเยือนเจ้าของเว็บอย่างไม่ได้ตั้งใจโดยสมาชิกเอามาโพส ซึ่งอยู่ดี ๆ เจ้าของเว็บก็ต้องมาเสียเงินจ้างทนายให้เสียเงินซะงั้น โดยในกรณีต่าง ๆ นี้ส่วนใหญ่เจ้าของก็มักจะพยายามจบและห้ามปรามอยู่ก่อนแล้วด้วยซ้ำ แล้วกรณีแบบนี้ควรมีกฎหมายรองรับ และน่าจะดูความผิดที่ตัวบุคคลที่จำเพาะผู้กระทำ ไม่ใช่ผู้ให้บริการ ซึ่งผมมองว่าต่อไปถ้ามีคนฟ้อง ISP ฐานที่ร่วมเผยแพร่เว็บลามก หล่ะจะทำไง ก็ในเมื่อมันเข้าได้จาก ISP นั้น ๆ นิ จริงแมะ …..

อย่างที่บอกนั้นแหละ ผมว่าแก้ปัญหา และการเอาผิดควรทำให้มันเข้าถึงคนผิดจริง ๆ ไม่ใช่หาแพะมารับผิดหรือโดยกล่าวหา แบบว่า หน้าคนโดนกล่าวหายัง งงๆ ว่า "ผิดด้วยเหรอ" -_-‘ เฮ้อ …

มีเงินเท่านั้นถึงจะเรียนได้หรือไงฟร่ะ !!!

“วิจิตร” ลุยดัน ม.ออกนอกระบบต่อ ชง “มช.-ลาดกระบัง-นเรศวร” เข้า ครม.อังคารนี้ โดย ผู้จัดการออนไลน์
26 พฤศจิกายน 2549 15:54 น.

       รมว.ศึกษาธิการเดินทางดันมหาวิทยาลัยออกนอกระบบต่อ เผยอังคารนี้นำเข้า ครม.อีก 3 แห่งคือ “มช.-ลาดกระบัง-นเรศวร” เผยยึดความสมัครใจมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ระบุหากใครค้านไม่เห็นด้วยให้ไปคุยกันในสภามหาวิทยาลัย ขณะที่ ก.พ.อ.เห็นชอบต่ออายุราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยอีก 5 ปี โดยยึดตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ทุกคนมีสิทธิ
       
       ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบไปแล้ว 6 แห่ง ยังไม่เคยขึ้นค่าเล่าเรียน อย่างไรก็ตาม ตนยังยืนยันว่า การออกนอกระบบเป็นความสมัครใจ ถ้าไม่พร้อมก็ไม่ต้องออกเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ขึ้นอยู่กับการตัดสินของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ถ้าผู้ที่คัดค้านไม่เห็นด้วยควรจะไปพูดกับสภามหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยใดคนส่วนใหญ่ต้องการออกนอกระบบ และสภามหาวิทยาลัยเห็นด้วย ศธ.ก็ดำเนินการให้ ถ้าที่ใดไม่พร้อมก็ไม่ต้องออกนอกระบบ และในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 พ.ย.นี้จะพิจารณาการออกนอกระบบของ 3 มหาวิทยาลัย คือ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร และร่าง พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
       
       ศ.ดร.วิจิตร กล่าวด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สำหรับข้าราชการที่เกษียณอายุราชการครบ 60 ปี แต่ยังมีศักยภาพที่จะปฏิบัติราชการต่อไป ให้สามารถปฏิบัติราชการต่อไปได้ถึงอายุ 65 ปี แต่ที่ประชุมได้วางหลักเกณฑ์ให้ชัดขึ้นว่า เจตนารมณ์ของการต่ออายุราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัย ที่ต้องการให้มีคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และมีผลงานทำงานต่อเนื่องไปได้ แต่ไม่ใช่เป็นสิทธิของผู้ขอต่อเวลาราชการ ดังนั้น เมื่อจะยึดความต้องการของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก จึงต้องเปลี่ยนวิธีการ
       
       “คือแทนที่จะให้แต่ละคนสมัคร ก็จะกลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยต้องทำแผนความต้องการอัตรากำลังคน มีการประเมินแต่ละปีว่าความต้องการเป็นอย่างไร จากนั้นจึงทำการคัดเลือกคณาจารย์ตามเกณฑ์ และดำเนินการต่อเวลา โดยวิธีนี้จะทำให้ได้คณาจารย์ตรงตามความต้องการ และหลีกเลี่ยงเรื่องที่เคยเป็นปัญหาหรือฟ้องร้องศาลปกครองมาก่อน อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้ ศ.เทียนฉาย กีระนันทน์ ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตจากที่ประชุม ซึ่งคาดว่าจะประกาศหลักเกณฑ์นี้ได้ภายในเดือน พ.ย.นี้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว

จากคำพูดที่ว่า "ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบไปแล้ว 6 แห่ง ยังไม่เคยขึ้นค่าเล่าเรียน" โห……. อมพระมาพูดตรูก็ไม่เชื่อโว้ยยยยยย เพราะมหาวิทยาลัยผมที่คุณบางคนก็รู้ว่าอยู่ไหน และมีชื่ออยู่ในข่าวนี้ ออกนอกระบบปั้บ ปีแรกค่าเทอมขึ้นเกือบเท่าตัว มาโกหกคำโตได้หน้าตาเฉยเลยนะ อย่างเพื่อนผมเรียนคณะวิศวฯ เสียค่าเทอม 8,000 กว่าบาท แต่ปีรุ่นพี่มันเสียแค่ 5,000 กว่าๆ เอง พอรู้น้องปีต่อมาเข้ามาซัดไป 12,000 กว่าบาทได้มั้ง ถามหน่อยว่ามันขึ้นทุกปีเนี่ย มันมาจากอะไร อย่างบอกนะว่าน้ำมักแพง เงินเฟ้อสูง หรือค่าครองชีพมาก แถมบางสาขาวิชามีจ่ายแบบเหมาจ่ายด้วย มันก็แพงขึ้นไปอีก หลัก 15,000 – 25,000 บาทโดยประมาณ ใครไม่มีเงินก็ต้องกู้เงินเรียนเอา เฮ้อ …. คิดกันได้นะ

อ่านแล้วอารมณ์ขึ้นเลย ……..