แนะนำแอปฝากไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ และเพลงบน True Cloud ที่จะให้พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด

เดี่ยวนี้เรามักใช้มือถือจัดเก็บข้อมูลไฟล์เอกสารมากมายลงไปในนั้นเพื่อความสะดวกในการพกพา และใช้งานในโอกาสที่จำเป็น เวลาไปท่องเที่ยว หรือพักผ่อน เราก็ถ่ายรูป-วิดีโอ และจัดเก็บไฟล์เหล่านั้นไว้ เพื่อบันทึกความทรงจำ บ่อยครั้งที่เราต้องสำรองข้อมูลเหล่านี้เพื่อป้องกันการสูญหาย ทั้งจากเหตุการณ์เครื่องหาย โดนลบโดยไม่ได้ตั้งใจ รวมไปถึงการแชร์ข้อมูลเพื่อใช้งานระหว่างเครื่องหากเรามีเครื่องหลายๆ เครื่องไว้ใช้งาน

office-336368_1920

เพราะเรื่องราวระหว่างการเดินทางไปท่องเทียว เราก็อยากเก็บไว้อย่างปลอดภัย รู้สึกว่าข้อมูลทั้งเอกสาร ภาพถ่าย และวิดีโอเหล่านี้สำคัญในการช่วยบันทึกความทรงจำ นั้นทำให้เราต้องหาบริการที่จัดเก็บข้อมูลที่มั่นคงและเข้าถึงได้สะดวก

ทางเลือกหนึ่งคือการจัดเก็บมูลเหล่านั้นไว้บน Cloud ที่ช่วยให้เราสามารถจัดเก็บ สำรอง และเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นไว้ให้อยู่กับเราไปตลอด

2016-11-13 13.55.17-1 2016-11-13 14.15.18 HDR-1

2016-11-11 07.41.21 HDR-1 2016-11-13 14.04.02-1 2016-11-11 20.23.31-1 2016-11-13 20.28.05-1

วันนี้ผมมาแนะนำบริการ True Cloud จาก True ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้ Cloud ที่ดีที่สุด กับบริการฟรีหากคุณใช้เครือข่าย TrueMove H คุณก็จะได้พื้นที่ในการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ไม่จำกัด ช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้น

โดยทาง  Truemove H จัดแพ็กเกจเอาใจชาวสมาร์ทโฟนที่ต้องการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ให้เล่นเน็ต 4G+ และสามารถใช้งานร่วมกับ True Cloud ได้เร็วแรงต่อเนื่องไม่มีสะดุด โดยข้อเสนอรับเน็ตฟรี เดือนละ 2 GB นานกว่า 20 เดือน (รวมทั้งหมด 40 GB) ซึ่งทำให้นำมาใช้งานร่วมกับการฝากไฟล์รูปภาพ วีดีโอ เพลง บน True Cloud ได้อีกไม่อั้นผ่านแอพ True ID วิธีการใช้งานก็เพียงแต่ ดาวน์โหลดแอพ TrueID ได้จาก Link ต่อไปนี้ iOS | Android ก่อน แล้วเปิดเบอร์ใหม่กับทางทรูมูฟ เอชแบบรายเดือน พร้อมกับสมัครแพ็กเกจรายเดือน 4G+ Super Smart 499 ขึ้นไป ก็จะได้รับเน็ตตามแพ็กเกจหลัก 2GB บวกกับรับเน็ตฟรีอีก 2GB และพิเศษกับการรับการรับเน็ตเพิ่มเติมอีก 2GB ต่อเดือน นาน 20 เดือน ซึ่งทำให้สามารถใช้เน็ตในแต่ละเดือนได้มากจุใจถึง 6GB กันเลยทีเดียว

image

การใช้งาน True Cloud ภายในแอป TrueID ทำได้ดังต่อไปนี้

เมื่อเปิดแอป TrueID ให้เข้าไปที่ Setting (รูปฟันเฟืองมุมขวา) แล้วเลือก SYNC

Screenshot_2016-11-21-12-12-54 Screenshot_2016-11-23-02-11-14

เลือก Enable sync และเลือกชนิดข้อมูลที่ต้องการ Sync ได้ตามต้องการ และเลือกว่าอยาก Syncing Method แบบไหน เช่น ให้ Sync กับ Cellular data + Wi-Fi หรือ Wi-Fi Only

Screenshot_2016-11-23-02-14-47 Screenshot_2016-11-23-02-14-53

พอปรับแก้พวก Setting ต่างๆ แล้ว เราก็พร้อมกับการใช้งาน True Cloud

ไปที่ส่วนของ Access เป็นส่วนหลักในการเข้าใช้งาน True Cloud โดยจะเป็นไปตามประเภทของไฟล์ที่เราจะใช้งาน

โดยแบ่งตามประเภทดังต่อไปนี้

  1. Photos
  2. Videos
  3. Music
  4. Contact
  5. Files

สำหรับในส่วนสุดท้ายจะเป็นอีเมลของเราบน @itruecloud.com

Screenshot_2016-11-21-12-12-59 Screenshot_2016-11-21-17-39-00

ในส่วนที่อยากแนะนำคือส่วนของ Photos, Videos และ Files เพราะเป็นส่วนที่ใช้ผมใช้เยอะสุดแล้ว

โดยในส่วนของ Photos และ Videos จะคล้ายๆ กัน คือไฟล์ทุกไฟล์ในเครื่องเราเพียงแค่กดปุ่ม Sync Now ตัวแอป trueid จะทำการหาไฟล์แล้วโยนอัพโหลดเข้า True Cloud ให้เราให้ทันที ซึ่งทำให้เราไม่ต้องมาคิดมาว่าไฟล์ไหนบ้างจะถูกโยนขึ้นไปบนนั้น

สำหรับในการจัดการไฟล์ก็ไม่ยาก สามารถแชร์และลบไฟล์ได้ รวมไปถึงดาวน์โหลดกลับมาก็ยังได้

Screenshot_2016-11-21-12-49-30 Screenshot_2016-11-21-12-51-23 Screenshot_2016-11-21-13-10-02

Screenshot_2016-11-21-13-09-23 Screenshot_2016-11-23-02-31-19 Screenshot_2016-11-23-02-31-30

Screenshot_2016-11-23-02-11-23 Screenshot_2016-11-23-02-28-42

ในส่วนของไฟล์เอกสาร นั้นในตัว True Cloud มีให้เราใส่เอกสารลงไป แล้ว sync ขึ้น True Cloud ทำให้เราไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหาย อีกทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะหรือให้ผู้อื่นใช้งานร่วมกับเราก็ได้ แชร์ไฟล์ให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาทุกอุปกรณ์ผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต

Screenshot_2016-11-23-02-04-09 Screenshot_2016-11-23-02-32-27

จากทั้งหมดที่กล่าวมาบริการ True Cloud จาก True ช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้ Cloud ที่ดีที่สุด ผ่านเครือข่ายทรู 3G/4G/Wifi by TrueMove H/True Online ซึ่งสามารถใช้กับสมาร์ทโฟน 4G ทั้ง iOS และ Android เพียงเปิดเบอร์หรือหรือย้ายค่ายมา TrueMove H รับเน็ตฟรี 40 GB และบริการ True Cloud ฟรีไม่อั้น

ข้อมูลโปรโมชั่นสำหรับลูกค้ารายเดือนและเติมเงิน

image

เอารูปจากกล้องมือถือไปพิมพ์ลงกระดาษขนาดจัมโบ้ (4 x 6 นิ้ว) ต้องใช้ไฟล์ขนาดกี่ MP?

เจอคำถามว่า “เอารูปจากกล้องมือถือไปพิมพ์ลงกระดาษขนาดจัมโบ้ (4 x 6 นิ้ว) ต้องใช้ไฟล์ขนาดกี่ MP?”

คิดง่ายๆ ครับ

ปรกติการพิมพ์ภาพใช้ความละเอียดที่ 300 dpi เสียเป็นส่วนใหญ่ (คิดง่ายๆ ก่อน มันมีเรื่อง viewing distance ด้วย แต่คงไม่ใช่ที่ขนาดจัมโบ้)

คิดง่ายๆ ก็คือ (4″ x 300dpi) x (6″ x 300dpi)
= 1200 pixel x 1800 pixel
= 2,160,000 pixels
หรือ 2MP โดยประมาณ

ภาพจากกล้องมือถือเอาไปพิมพ์ไฟล์ตั้งแต่ 2MP จะพิมพ์ลงกระดาษ 4×6 นิ้ว ได้สบายๆ แต่จะคมสวยเท่า compact ไหมนั้นอีกเรื่อง (ข้อจำกัดด้าน sensor, lens ฯลฯ)

แต่สมัยนี้กล้องมือถือรุ่นสูงๆ ก็ 8MP กันเป็นส่วนใหญ่ จะส่งไปไฟล์ใหญ่ๆ ก็ได้นะ เดี่ยวร้านพิมพ์เค้าจัดการ scale down/sharpen ให้เอง หรือทำเองก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ทำเองก็ดีอย่าง เพราะทำ scale down/sharpen แล้วรู้เลยว่ามัน sharp แรงไปหรือเปล่า

เปิดเว็บเกี่ยวกับการถ่ายรูป 2 เว็บในรอบ 3 วัน

เป็นการคิดแบบบ้าดีเดือดมากๆ หลังจากโดนยุจากการเปิด ThaiThinkPad.com เมื่อหลายปีก่อน โดนยุอยู่พอสมควร ก็เลยได้เปิด ประกอบกับมีประสบการณ์ในการดูแลชุมชนขนาดใหญ่อย่าง ThaiHi5.com เป็นทุนเดิมอยู่ เลยไม่ยากที่จะเริ่ม การเริ่มเป็นเว็บแรกๆ ในตลาดที่ไม่มีใครสนใจนั้นไม่ยาก อาศัยความต่อเนื่องเป็นหลัก (แต่ ThaiHi5 ตอนนี้ก็ไม่มีคนเข้าเท่าไหร่แล้ว)

มาช่วงอาทิตย์นี้ โดนยุอีกว่าไม่ลองเปิดเว็บแนวถ่ายรูปดูบ้างหล่ะ ก็เลย เออ น่าสนใจดีนะ แต่ …. กลายเปิดเว็บถ่ายรูปมันไม่ง่ายแบบเมื่อก่อนแล้ว เพราะเว็บแนวๆ ที่ ThaiThinkPad.com ทำและจะนำมาปรับใช้กับเว็บถ่ายรูปนั้น “ไม่ง่าย” และไม่ใช่เราเป็นคนเก่งและมีประสบการณ์ด้านนี้มากเท่ากับ ThinkPad แบบเดียวกับ  ThaiThinkPad.com เพราะฉะนั้นการเปิดเป็น Forum แบบเดิมๆ จะไม่เติบโต เพราะการเปิดแนว Forum นั้นต้องมีกลุ่มคนมากพอที่จะขับเคลื่อนได้ เพราะฉะนั้นต้องเปลี่ยนแนวออกไป

เว็บ http://www.nixpx.com จึงแตกต่างจากที่เคยทำมาเพราะตลาด Forum เริ่มอยู่ตัว คนถ่ายรูปไม่ได้ต้องการที่แสดงผลงานที่มากกว่าที่ตัวเองต้องการ แต่สิ่งที่ขาดคือเว็บที่นำเสนอความรู้และข่าวสารมากกว่า เพราะในไทยยังไม่มีเว็บแนวนี้เท่าไหร่นัก จึงเป็นจุดที่น่าสนใจลงมาทำ ซึ่งการอ่าน “NIXPX” ให้อ่านว่า NICEPIX หรือ ไนส์พิก

ที่มาของ X ตัวอักษรลำดับที่ 3 เป็นการนำมารวมกันของ C (Create) + E (Emotion) = X (สร้างสรรค์งานบนความรู้สึก)

การตัด I ออกไปเพื่อบ่งบอกว่าเราจะไม่ยึดมั่นในแนวคิดของเราแต่เพียงคนเดียว

NIXPX เป็นเว็บที่รวบรวมเรื่องราวของการถ่ายรูปที่ทุกคนสามารถสนุกไปกับมัน เพื่อสร้างสรรค์ภาพที่สวยงามและน่าดึงดูดใจ และยังนำเสนอข้อมูล-ข่าวสารในวงการถ่ายภาพต่างๆ ที่รวดเร็วและเข้าใจง่ายที่สุด

ช่างเป็นอะไรที่ลึกลับดีกับที่มาของชื่อแฮะ ….

ที่มาของชื่อใช้เวลาคิดสักพัก กับการนั่งเคาะๆ whois บน commandline เสร็จแล้วก็จดเลยในคืนวันที่ 10 มกราคม 2555 แล้วก็ setup WordPress ตัวใหม่และลง plugins ที่จำเป็นแล้วนั่งหา themes ที่คิดว่า ok มาใช้ ปรับอยู่สัก 1-2 ชั่วโมงก็พร้อมใช้งาน

ช่วงแรกตอนนี้เอาเนื้อหาที่เคยเขียนใน blog เก่าๆ มาโพสใส่ลงไปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ไม่ดูโล่งไป ตอนนี้อยู่ในช่วงหาแหล่งข่าวต่างๆ และในช่วงอาทิตย์ต่อไปคงได้ลุยเนื้อหาเต็มที่

ต่อมาคือ IARTWRK by Ford AntiTrust เข้าได้ที่ http://www.iartwrk.com ได้แนวคิดจาก thesartorialist.com (แต่ความเทพของอารมณ์ยังไม่เท่า นี่เราคิดเทียบกับระดับโลก ช่างกล้า ><“) ในเวลา setup ประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพราะชื่อเว็บมีอยู่แล้ว จดมานานมาก แต่ไม่ได้ใช้เลย แล้วไม่รู้จะเอาไปใช้ทำอะไรจริงๆ ในตอนแรก แต่พอคิดว่าจะทำชื่อนี้ก็โผล่มาในหัว เพราะสื่อกับสิ่งที่ตัวเองต้องการนำเสนอมากๆ

IARTWRK อ่านเป็น I + ART + WORK ตอนแรกนั้นเว็บนี้กะใช้เป็นที่รวม Music Artwork ของตัวเพลงต่างๆ ที่ใส่ลงในเพลงที่อัพเข้า iPod จึงมีเหตุที่มันมีตัว I อยู่ด้านหน้า แต่สุดท้ายก็ไม่มีเวลาทำ มารอบนี้เลยเปลี่ยนและปรับแนวใหม่ เป็น Individual Artwork แทน จริงๆ ไม่ได้ซีเรียสกับชื่อเท่าไหร่แฮะ เพราะความหมายตรงๆ ของ Artwork มันก็ไม่ใช่แค่เรื่องรูปภาพอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของ printed publication เลยนั่งคิดๆ ต่อว่าควรจะมีความหมายอะไรยังไงดี สุดท้ายก็ได้เป็น Individual Art without Work แทน ออกแนวหาที่ลงมากกว่า ฮา …. แต่เอาเหอะ คิดมากไปเรื่องชื่อ ไม่ได้เริ่มกันพอดี

โดยเว็บ IARTWRK นั้นไม่เชิงว่าเอาแนวคิดแนวการถ่ายรูปมาจาก  thesartorialist.com เท่าไหร่นัก แต่ออกแนวโพสรูปที่ตัวเองชอบจากใน Gallery ของตัวเอง มาโพสเรื่อยๆ ไม่เป็นเซ็ตหรืออัลบั้ม แต่เป็นแนว Photo Stream มากกว่า คล้ายๆ กับ Flickr ที่ตัวเองใช้อยู่ แต่อันนี้คัดมาวันละ 3-5 รูปต่อวัน ออกแนวเน้นคุณภาพ (ที่ตัวเองคิดว่าโอเค)

ก็ลองดูสักตั้งนึง….

วิธีเก็บไฟล์รูปภาพให้อยู่กับเรานานๆ

โดยรวมผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือไฟล์ภาพแบบ JPEG/RAW File ที่ไม่ได้แต่งใดๆ จะเก็บตาม ปี/เดือน/วัน แล้วไล่ลำดับ Folder ไปเรื่อยๆ ตามวันที่ของไฟล์นั้นๆ (ตามรูปซ้ายล่าง)

สำหรับไฟล์รูปที่แต่งเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดเก็บตามแนวการถ่ายและหรือชื่อที่ทำให้เราจำได้ง่าย ใน Folder นี้ผมจะเปิด Indexing Services ไปด้วยเผื่อต้องการเรียงตามวันที่ก็ใช้ Windows Search จัดการเอา ส่วนจัดการ tag ก็ใช้ metadata จัดการค้นเอาจาก Index ของ Windows Search เอาก็ได้ แต่ปรกติมันจะช้า (นานๆ ใช้ที) ก็ใช้ตาม Folder ค้นจากชื่อที่เราจัดไว้เร็วกว่า ซึ่งเป็นข้อดีของการจัดไฟล์ไว้เป็นระบบไม่ต้องใช้ Search ช่วยในบางเรื่อง แถมเร็วกว่าถ้าเรารู้ตำแหน่งแน่นอน (ตามรูปด้านขวาล่าง)

2011-04-20_164740 2011-04-20_165320

ลำดับต่อมาเมื่อเราแบ่งได้แล้วว่าส่วนไหนใช้ทำงานอย่างเดียว และส่วนไหนใช้เก็บ (นานๆ ครั้งนำมาใช้หรือดู)

แต่แน่นอนเมื่อรูปเยอะขึ้นเราต้องแบ่งเพิ่มเติมขึ้นมาอีกว่าส่วนไหนทำอะไรบ้าง

  1. รูปที่ใช้ทำงานในปัจจุบัน
  2. ทำงานบ้างและต้องพกติดตัวไป
  3. ไม่พกไปไหนมาไหนแต่ยังต้องใช้ทำงาน
  4. เก็บไฟล์ไว้เมื่อส่งงานลูกค้าจบแล้ว
  5. ไฟล์ภาพส่วนตัวในความทรงจำต่างๆ ของเราเอง

จาก 5 ส่วนด้านบน จะมี HDD อยู่ 4 ตัวที่เกี่ยวข้อง

2011-11-22_222914

  • HDD – D: SATA Internal (100GB) สำหรับเก็บไฟล์ภาพที่ทำงานปัจจุบัน
  • HDD – E: SATA Ultrabay (250GB) สำหรับเก็บไฟล์ภาพที่ยังไม่ได้ใช้ทำงานแต่ต้องพกไปไหนมาไหนตลอดเผื่อต้องใช้
  • HDD – H: e-SATA (1TB) สำหรับเก็บไฟล์ภาพที่ทำงานอยู่ หรือไม่ได้ทำงานแล้วและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวตลอดเวลา เช่นรูปที่ส่งลูกค้าไปแล้ว รูปที่แต่งแล้วและเก็บเป็น Porfolio ไว้
  • HDD – I : USB 2.0 (1TB) สำหรับเก็บไฟล์ภาพทั้งหมดจาก HDD D:, E: และ H: สำหรับ Backups เผื่อ HDD ทั้ง 3 ตัวด้านบนเสียหาย

โดยที่เราใช้การ Sync ผ่าน SyncToy แล้วตั้ง Pairs เป็น Synchronize ทั้งหมด

image

ไฟล์รูปทั้งหมดที่เก็บก็จะอยู่ในการดูแลตลอดเวลา

ดูจำนวนรูปและพื้นที่เก็บตั้งแต่ถ่ายรูปมา (ปี 2546 โน้นเลย) ไม่เคยทำรูปหายเพราะ Backup ตลอด ทำให้ทุกรูปยังอยู่ครบ ^^

2011-12-15_011658

วิถีแห่ง Developer vs Photographer #BCBK

จากการเป็น Developer มานานและถ่ายรูปมาได้เกือบๆ 4 ปี ได้สัมผัสและได้รู้ว่าความแตกต่างและการทำให้ชีวิตนั้นอยู่ตรงกลางนั้นยากแค่ไหน เมื่อวานจากงาน Barcamp Bangkhen 2 เลยได้เล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้คนที่สนใจได้ฟังกัน

สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่กล่าวถึงใน blog นี้ถือว่า exclusive content ใน session แล้วกันนะครับ ;P

Developer

  • นอนดึก เพราะอารมณ์ในเขียนโปรแกรมมาตอนดึก และตื่นสายเพราะนอนดึก และมักไม่ทันแสงอาทิตย์ยามเช้า และได้สัมผัสแสงอาทิตย์ยามเย็น
  • ใส่ใจรายละเอียดส่วนตัว หรือสิ่งที่ตัวเองกำลังสนใจ
  • ใช้ความรู้สึกจากภายนอกเป็นหลัก ใช้การอ้างอิงจากภายนอกเพื่อสนับสนุนความคิดตัวเอง
  • ไม่ชอบไปไหนมาไหน มักชอบอยู่กับที่
  • ตรรกะ ความคิด ผิด-ถูก

Photographer

  • ต้องตื่นเช้าเพราะแสงเช้าเป็นแสงสวย ดูอบอุ่น และชอบแสงอาทิตย์ยามเย็น เพราะดูสงบ ร่มเย็นและสวยงาม
  • ใส่ใจรายละเอียดภายนอก เน้นสิ่งที่ตัวเองกำลังจะถ่ายรูป
  • ใช้ความรู้สึกจากภายในเป็นหลัก มองเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกของสิ่งที่กำลังนำเสนอ
  • ชอบการเดินทาง ชอบท่องเที่ยว สัมผัสกับผู้คน ชอบพูดคุยและใส่ใจคนรอบข้าง
  • อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งที่เห็น และสัมผัส

ชมภาพผลงานผมที่ www.flickr.com/photos/fordantitrust/collections/

ทิ้งท้าย

Open your mind, make fun with your photos