ทีเอ็งข้าไม่ว่า ทีข้าเอ็งอย่าโวย

จากข่าว Nokia ประกาศถือสิทธิบัตรเหนือเทคโนโลยี VP8 64 รายการ อันนี้พอเข้าใจ Nokia นะ เพราะตอน Windows Phone 8 ออกมา ก็ประกาศว่าจะไม่ทำ Official App ลงให้ เล่นซะคนจะซื้อ Nokia Lumia ตัวใหม่ ลังเลกันไป ต่อมาก็ยกเลิก EAS ทำให้ Windows Phone 8 และ Windows 8 ทำงานร่วมกับ Google Apps ไม่ได้ในเร็วๆ นี้ สุดท้ายพอเริ่มมีแผนและจะทำ CalDAV เพื่อ Sync Calendar พี่ก็มายกเลิก แล้วบอกว่าทำเฉพาะ partner  กลุ่มเล็กๆ (ซึ่งก็ไม่รู้จะติสแตกยกเลิกเมื่อไหร่อีกเหมือนกัน) เล่นซะคนจะใช้งาน มึนกับ Google ไปอีกรอบ

มารอบนี้ทีของ Nokia บ้าง Nokia คงบอก ขอจัดสักดอก ออกแนว “ทีเอ็งข้าไม่ว่า ทีข้าเอ็งอย่าโวย”

การแอบอ้างหรือนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ

เกรินนำก่อนเลยว่าตาม พ.ร.บ ลิขสิทธ์ ให้บอกไว้ว่า ”ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้สร้างสรรค์ ก็คือ ผู้แต่ง ผู้วาด ผู้เขียน ผู้ถ่าย ใครสร้างสรรค์ขึ้นมา ลิขสิทธิ์ก็จะเป็นของผู้นั้นโดยทันที โดยไม่ต้องจดลิขสิทธ์ แต่ประการใด” แตกต่างจากสิทธิบัตรอย่างชัดเจน (แต่ปรกติแล้วจดสิทธิบัตรมักจะจดมีลิขสิทธิ์พ่วงมาด้วยบ้างในบางงาน) เนื้อหาในข้อกฎหมายอ่านเพิ่มเติมที่ http://www.moc.go.th/opscenter/cr/lic1.htm

งานสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งในที่นี้ผมจะมุ่งไปที่การสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพนิ่งเป็นหลักเพื่อให้เหมาะกับสิ่งที่ผมจะพูด การถ่ายภาพนั้นถ้าเป็นการถ่ายรูปธรรมชาติ ทั่วๆ ไปหรือภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีคนมาเกี่ยวข้องอันนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่นัก

แต่เมื่อใดก็ตามที่ถ่ายรูปมาติดหน้าคนเมื่อไหร่ อันนี้งานเข้าครับ เพราะมันมีเรื่องของกฎหมายสิทธิ์ส่วนบุคคลมาเกี่ยวข้อง ซึ่งในบางประเทศติดคนในภาพได้ถ้าไม่ชัดเจน หรือเห็นหน้าไม่ชัด แต่บ้างที่ก็ไม่ได้เลย ต้องให้เซ็น Model Release (ใบยินยอมให้เป็นแบบ) ที่ต้องเซ็นเพราะเป็นการบ่งบอกว่าการถ่ายรูปในครั้งนี้อาจนำมาซึ่งความไม่เป็นส่วนตัวได้ นั้นเอง

ที่นี้เมื่อใดก็ตามที่เป็นลักษณะของภาพบุคคลก็มักจะมีข้อกฎหมายที่เดี่ยวข้องแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. ลิขสิทธิ์ในตัวภาพถ่าย
  2. สิทธิส่วนบุคคลของผู้เป็นแบบ

ซึ่งต้องแยกกันให้ออก ปรกติแล้วในบ้านเราเวลาถ่ายรูป ออกทริปต่างๆ ไม่ว่าจะทริปใหญ่ ทริปเล็ก ไม่ค่อยมีใครเซ็น Model Release กันสักเท่าไหร่ เพราะทุกคนก็คิดว่ามันดูจริงจังเกินไป ถ่ายเป็นงานอดิเรกจะอะไรกันนักหนา อันนี้พอเข้าใจได้ เว้นนะครับ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อันนี้แนะนำให้เซ็นทุกกรณี (พร้อมรายเซ็นผู้ปกครองด้วย) ยิ่งโพสลงเว็บแล้วถ้าไม่ใช่พ่อ-แม่นี่อาจโดนลบทิ้งหรือยกเลิก account ของเว็บโพสรูปต่างๆ ได้ครับ เพราะในเมืองนอกนี่รูปเด็กๆ นี่เค้าถือเรื่องนี้กันมากครับ เพื่อนผมโดนยกเลิก account ของ SkyDrive ของ Microsoft มาแล้วเพราะมีรูปของน้องตัวเองอายุไม่ถึง 18 อยู่ กว่าจะเคลียร์กันได้ ไม่รู้ไปวัดอายุด้วยอะไรเหมือนกัน –_-‘

แต่เมื่อใดก็ตามที่เป็นการเป็นงาน ถ่ายในสตู เอาภาพไปใช้งานจริงๆ จังๆ ลงในเว็บ ลงหนังสือ สิ่งพิมพ์เป็นเรื่องเป็นราว บริษัทเอาไปใช้งานต่างๆ แล้วนั้นผมแนะนำให้เซ็นซะ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง โหลดได้ที่ http://www.arcurs.com/what-is-a-model-release อันนี้จัดเต็มหาให้เลย (ภาษาอังกฤษไปเลย จะได้ใช้ได้หลายงานดี) ประเด็นมันอยู่ตรงนี้แหละ เมื่อเราถ่ายรูปบุคคลมา เอามาโพสลงเว็บรูปก็ของเรา คนในรูปก็คนที่เราก็รู้จัก (หรือเรารู้จัก แต่เค้าไม่รู้จักเรา แต่เค้าโพสให้เราถ่ายรูปก็ตาม) ยังไงก็ควรเคารพสิทธิส่วนบุคคลผู้อยู่ภาพเสมอ ว่าภาพที่ลงนั้นจะไปสร้างความเสื่อมเสียต่อบุคคลนั้นหรือเปล่า ตรงนี้นางแบบหลายๆ คนจะได้ค่าจ้างเพิ่มจากการเซ็นตรงนี้ด้วยซ้ำ เพราะรูปภาพพวกนี้อาจจะถูกนำไปขายต่อได้ในอนาคต เพราะใน Model Release (ส่วนใหญ่) จะระบุเรื่องการโอนย้ายลิขสิทธิ์ของภาพนั้นๆ ด้วยตรงนี้ต้องอ่านดีๆ ครับ เพราะมันเกี่ยวกับความไม่เป็นส่วนตัวของคุณมากๆ

ต่อมาก็คืองานที่เป็นลักษณะจ้างวานอีกต่อหนึ่งในงานต่างๆ นั้น อาจจะมีการเซ็นหรือตกลงกันว่าภาพนี้จะเป็นลิขสิทธิ์ของผู้จ้างวานทั้งหมดหรือลิขสิทธิ์ร่วมก็แล้วแต่จะตกลงกันในเนื้องานไป ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายตาม พ.ร.บ ลิขสิทธ์ ที่ผลงานเป็นของผู้สร้างสรรค์คนแรกทันที

ทำไมผมถึงมาพูดเรื่องพวกนี้ ต้องบอกว่าเมื่อเดือนก่อนผมได้รับ FWD Mail แล้วมีคนเอารูปที่ผมถ่ายเนี่ยแหละ ไปลง FWD Mail -_-‘ ได้รับเมลแล้วก็นะ คนแรกที่ส่งเท่าที่สาวได้ก็คนในองค์ใหญ่ใช้ได้เลย จริงๆ ผมก็ไม่ได้อะไรหรอก อยากเอาไป FWD Mail ก็น่าจะแจ้งกันสักหน่อย เพราะบางครั้งผมได้รับ FWD Mail หลายๆ ฉบับมักมีข้อความล่อแหลมพ่วงตามมาในเมลฉบับที่ FWD ต่อตอนท้ายๆ อันนี้เห็นแล้วได้แต่เซงๆ ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่บ่นในใจ อยากจะด่ากลับเหมือนกัน แต่ด่าไปก็ได้แต่ท้ายๆ พวกได้รับแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว แล้วไอ้คนแรกที่ส่งตามที่เราเห็น ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่คนแรกจริงๆ หรือเปล่าอีก เฮ้อ ….

แล้วต่อมาเร็วๆ นี้ก็มีเว็บหลายๆ เว็บ พวกโมเดลลิ่ง เว็บจัดทริปบางเว็บ เอารูปของพี่ๆ ที่รู้จักกันในมัลติพลายไปลง โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แถม hot link อีกต่างหาก logo มัลติพลายและลายน้ำชัดเจนมาก ซึ่งผมคิดว่าถ้าทำเว็บเป็นการเป็นงาน ทำธุรกิจเป็นเรื่องเป็นราวน่าจะติดต่อนางแบบมาเคส หรือติดต่อขอซื้อภาพไปเลยน่าจะดีกว่าไหม จะได้ดูน่าเชื่อถือ และดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้มากๆ ซึ่งคงไม่ต้องต่อว่าอะไรอีก เพราะผลงานเด่นชัดขนาดนั้นสังคมลงโทษกันเอาเองหล่ะครับ

ซึ่งแน่นอนว่าอีกประเด็นที่ร้อนไม่แพ้กันคือการนำรูปไปแอบอ้างเพื่อหวังประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง เช่น ประกาศทริป/เคสงานแล้วนางแบบยังไม่รู้เรื่องเลย อยู่ๆ ก็ประกาศ แถมนำรูปไปใช้ก่อนด้วยนะ คนรู้จักนางแบบคนนั้นก็ไปถาม นางแบบก็งงๆ ว่าอ้าว ไปจัดอะไรกันตอนไหน คนจะเป็นนางแบบยังงงๆ อยู่เลย ออกแนวมัดมือชกหรือเปล่า ประกาศไปแล้ว นางแบบไม่มา กลายเป็นนางแบบเบี้ยวงาน ไปแทน เสียชื่อเสียงอีกต่างหาก อันนี้น่าคิดครับ ซึ่งในความคิดของผมเนี่ย ผมมองว่าถ้าจะทำธุรกิจอะไร ผมก็แนะนำให้ตรงไปตรงมาครับ ไม่ใช่ทำเป็นพวก มัดมือชก บอกความจริงไม่หมด บอกครึ่งเดียว หรือแอบอ้าง อันนี้ผมว่าไม่เหมาะสมเท่าใดนัก

สุดท้ายต้องมีคนมาแสดงคามคิดเห็นเรื่องการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการตกแต่งภาพแล้วนำมาใช้แล้วถูกละเมิดเช่นกัน แล้วที่นี้เราจะไปฟ้องคนที่ละเมิดแล้ว ซึ่งภาพนั้นเราเองก็ละเมิดลิขสิทธิ์ซอพแวร์คนอื่นมาเหมือนกัน ซึ่งถ้าโดนฟ้องกลับตรงนี้ เป็นความผิดในเรื่องของ "ต่างกรรม ต่างวาระ" และไม่ใช่คนที่เค้าละเมิดลูกภาพเราจะมาฟ้องกลับได้ เพราะผู้ที่จะฟ้องเราได้ ต้องเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์หรือผู้ได้รับอำนาจอย่างถูกต้องเท่านั้น แต่ฟ้องได้แต่ในเรื่องของการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการตกแต่งภาพเท่านั้น แต่ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ของภาพที่เราใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์นั้นก็ไม่ได้หมดไปเช่นกัน ยังไงลิขสิทธิ์ของภาพก็ยังเป็นของเราอยู่ครับ

ซึ่งผมมองว่าการเรียกร้องการถูกละเมิดในขณะที่ตัวเราเองก็ละเมิดนั้น ผมว่ามันก็แล้วแต่บุคคล แต่ที่แน่ๆ "มันก็ไม่ใช่ข้ออ้างในการทำให้บุคคลอีกฝ่ายจะมาละเมิดลิขสิทธิ์ได้เช่นกัน"

ผมหวังว่าเรื่องพวกนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย และอยากให้คนที่ถ่ายรูปทุกท่านระลึกไว้เสมอๆ ครับในเรื่องพวกนี้

ว่ากันด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์

พอดีว่าอ่าน Studying Law is Important ของคุณ mk แล้วนั่งหา ๆ ค้น ๆ ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจกับความเป็นจริงนั้นถูกต้องหรือไม่

นั่งอ่านแล้วไปเจอที่ http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9 เลยนำมาเผยแพร่เสียเลยแล้วกัน ;)

สิทธิบัตร คือหนังสือสัญญา หรือเอกสารที่ได้รับการยินยอมและตรวจสอบแล้วจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมักจะเป็นจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มักเป็นการต่อยอดทางปัญญา จึงคุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นรางวัลแก่ผู้ทรงสิทธิ์ และไม่นานเกินไปจนไม่เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับสิทธิบัตรยาประเทศไทยคุ้มครองไว้ 20 ปี (นานกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศเสียอีก)

ลิขสิทธิ์ จะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับงานวรรณกรรม เช่นเพลง โดยคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ์และอีก 50 ปี ภายหลังจากผู้ทรงสิทธิ์เสียชีวิต โดยการดูแลของทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบมรดก

โดยแนวคิดแล้ว

ลิขสิทธิ์ มุ่งคุ้มครองการแสดงออก ไม่คุ้มครองสาระที่แฝงมากับการแสดงออกนั้น

สิทธิบัตร ก็จะคุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี โดยลิขสิทธิ์จะได้มาอัตโนมัติฟรี ๆ เมื่อแสดงออกต่อสาธารณะ (จดทะเบียนก็ได้ เพื่อให้มีหลักฐานแน่นหนาทางกฎหมาย) และมีผลในทุกประเทศที่ร่วมใน Berne Convention (รวมไทย) ส่วนสิทธิบัตรต้องขวนขวายลงทุนให้ได้มา มีขั้นตอน มีค่าใช้จ่าย มีผลเฉพาะประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสูตรปรุงอาหาร ถ้าเผยแพร่เป็นหนังสือ จะได้ลิขสิทธิ์ คนอื่นไม่มีสิทธิคัดลอกเผยแพร่โดยพลการ แต่จะปรุงอาหารตามนั้นกี่จานก็ได้ แต่ถ้าจะไปขึ้นสิทธิบัตร (ถ้าได้) คนอื่นไม่สามารถปรุงอาหารตามนั้นเลย แม้จะสามารถเข้าไปคัดลอกสูตรดังกล่าวได้ก็ตาม

ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า

มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

ใน พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522

มาตรา 9* การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน*[มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]

มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ
(3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

รายละเอียด ควรศึกษาเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายเอง จาก website ของ สนง กฤษฎีกา
http://www.krisdika.go.th

เอกสารอ้างอิง
http://www.krisdika.go.th
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9

ท่าทางจะต้องซื้อ Windows ซะแล้ว ……

วันนี้ไปอ่านข่าวจากเว็บผู้จัดการมาก เรื่อง …..

ไมโครซอฟท์เผยดีเดย์กลางปี จำกัดทางอัปเดทวินโดวส์เถื่อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มกราคม 2548 09:57 น.

ไมโครซอฟท์กำหนดใช้ Windows Genuine Advantage กลางปีนี้ หลังทดสอบระบบมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2004 เพื่อจำกัดทางดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ของผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ซึ่งมีผลโดยตรงกับ Windows Updates แบบแมนนวล ส่วนฟังก์ชั่น Windows Automatic Updates จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อันดับ 1 ของโลก เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ 26 มกราคม 2005 ว่า ไมโครซอฟท์มีกำหนดเริ่มใช้ Windows Genuine Advantage เทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ในกลางปีนี้ หลังจากที่ได้ทดสอบระบบมาได้ระยะหนึ่ง

ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ถ้า Windows ที่ใช้เป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ คุณก็สามารถดาวน์โหลดซีเคียวริตี้แพ็ตช์และซอฟต์แวร์อัพเดทจากเว็บไซต์ 2 แห่ง ได้แก่ Download Center และ Windows Update ของไมโครซอฟท์ได้แบบไม่มีปัญหา แต่ถ้าระบบปฏิบัติการที่คุณใช้เป็นซอฟต์แวร์เถื่อน ระบบจะแจ้งให้คุณทราบว่าซอฟต์แวร์ที่คุณกำลังใช้อยู่นั้นผิดกฎหมาย ก่อนจะเปิดโอกาสให้คุณดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ได้บ้าง เฉพาะบางตัว ตามการเปิดเผยของไมโครซอฟท์

อย่างไรก็ตาม สำหรับฟังก์ชั่น Windows Automatic Updates จะยังไม่ได้รับผลกระทบ และยังสามารถดาวน์โหลดได้ตามปกติ เดวิด ลาซาร์ (David Lazar) ผู้อำนวยการฝ่ายวินโดว์สไคลเอนต์ บริษัทไมโครซอฟท์ กล่าว

วัตถุประสงค์เพื่อลดหรือจำกัดปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของ Windows Genuine Advantag มีแนวทางปฏิบัติก็คือ ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจะได้รับบริการที่ดีกว่า ลาซาร์กล่าวว่าสิ่งที่ไมโครซอฟท์ต้องการคือการเพิ่มค่าให้กับวินโดวส์ถูกลิขสิทธิ์ สร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น โดยจะเพิ่มในส่วนของซีเคียวริตี้ที่จะสามารถเชื่อถือได้มากกว่า

“เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายป้องกันและกำจัดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เป้าหมายคือให้ลูกค้ารับทราบข้อมูลที่แท้จริงและชอบซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มากกว่า” เขากล่าวและว่า “สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ พวกเขาจะเข้าถึงทรัพยากรต่างๆของไมโครซอฟท์ได้มากกว่าและคุ้มค่ากว่า ส่วนผู้ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงทรัพยากรบางอย่าง”

Windows Genuine Advantage ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไมโครซอฟท์พยายามตรวจสอบ Windows ว่าแท้หรือไม่ ระบบแบบนี้มีอยู่แล้วใน Windows Update ที่จะมีการตรวจสอบโวลุ่มไลเซนส์ก่อนเพื่อให้รู้ว่าเป็นซอฟต์แวร์เถื่อนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม “Windows Genuine Advantage จะมีการตรวจสอบในรายละเอียดที่มากกว่า … แม้ไลเซนส์คีย์ที่คุณใช้จะเป็นของแท้ แต่หากไลเซนส์ดังกล่าวถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายแล้ว ระบบจะถือว่านั่นเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์” ลาซาร์กล่าว

สำหรับผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนมาใช้ของแท้ ทางไมโครซอฟท์มีโครงการสนับสนุนให้สามารถซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ได้ในราคาลดพิเศษ แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าถูกหลอก ไม่ใช่เต็มใจใช้ของเถื่อน เช่น แจ้งแหล่งที่ได้มา หรือมีหลักฐานการได้มา เป็นต้น

ซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นปัญหาใหญ่ของไมโครซอฟท์ เฉพาะในสหรัฐอเมริกา 23% เป็น Windows เถื่อน แต่ปัญหาที่มากกว่าก็คือ ผู้ใช้หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่

“23% ของผู้ใช้ในสหรัฐฯใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย และส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าซอฟต์แวร์ที่ตัวเองใช้ผิดกฎหมาย สิ่งที่เราต้องการคือบอกคนเหล่านี้ให้รู้ว่าเขากำลังใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่ อธิบายว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้ได้ลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง”

ไมโครซอฟท์ยอมรับว่า Windows XP Starter Edition หรือ Windows เวอร์ชั่นราคาประหยัด ที่มีวางจำหน่ายในบางประเทศแถบเอเชียนั้น เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายป้องกันและกำจัดซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้แล้ว ไมโครซอฟท์ยังได้ร่วมมือกับฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในแต่ละประเทศ เพื่อเร่งรัดกำจัดขบวนการผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย

นักวิเคราะห์ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของไมโครซอฟท์จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเรื่อง ปัญหาความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในภาพรวม เพราะเป็นธรรมดาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีปัญหาความปลอดภัยจะติดเชื้อ แล้วจะกลายเป็นตัวแพร่เชื้อไปยังเครื่องอื่นๆ

ขณะที่ไมโครซอฟท์ออกมาปฏิเสธ “ในส่วนที่มองว่าแนวคิดนี้อาจจะเพิ่มความเสี่ยงด้านซีเคียวริตี้ ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่ไมโครซอฟท์ต้องการนั้น เป็นเพราะวินโดวส์ผิดกฎหมายนั้นเป็นความเสี่ยงเรื่องซีเคียวริตี้อยู่แล้ว” ลาซาร์กล่าว

“ที่สุดแล้วไมโครซอฟท์จะยุติความช่วยเหลือด้านการอัปเดทซีเคียวริตี้ในวินโดวส์เถื่อนทั้งหลาย ไมโครซอฟท์อาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เหลือทางเลือกมากมายนักในการยุติปัญหา การละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเห็นผลเท่ากับวิธีนี้” รัสส์ คูเปอร์ (Russ Cooper) นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของบริษัทไซเบอร์ทรัสต์ (Cybertrust Inc.) กล่าว

อ่านแล้วก็ อืม ……. ท่าทางคงต้องซื้อมาใช้ใน Desktop ที่บ้านซะแล้ว ส่วน Notebook คงไม่มีปัญหา เพราะว่ามีอยู่แล้ว หุๆๆ แต่ว่าราคานี่ดิ คงต้องหาเงินมาจ่ายอีกหลาย T_T แย่จัง ….. แต่ก็สมควรหล่ะ เพราะว่าคงซื้อของขายไม่ได้ไปขโมยใครมาขาย ซื้อก็ซื้อฟร่ะ สำนึกในการใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์ 555555