กระทู้น่าสนใจจาก pantip “การให้เลือดต่างกรุ๊ป ทำได้หรือไม่”

เห็นว่ามีประโยชน์มากครับ

ยกมาจาก http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X3466631/X3466631.html ครับ

“การให้เลือดปกติเราต้องให้ตรงกรุ๊ปกันเท่านั้น”

ที่สอนกันมาตอนมัธยม ว่า
AB รับได้ทุกกรุ๊ป
O ให้ได้ทุกกรุ๊ป
อันนั้นคลาดเคลื่อนเป็นการมองจากด้านเดียว

จะอธิบาย หลักการคร่าวๆ ก็คือ
คนเราถ้าเป็นเลือดกรุ๊ปไหน ก็จะมี Antigen (Ag) กรุ๊ปนั้น และไม่สร้าง Antibody (Ab)ต้านเม็ดเลือดตัวเอง แต่จะมีการสร้าง Antibody ต่อ

Antigen อื่นที่ตัวเองไม่มี

ดังนั้นคนที่
กรุ๊ป AB จะมี Ag A และ AgB จึงไม่มี Ab A และ Ab B
กรุ๊ป O จะไม่มี Ag A และ AgB จึงมีทั้ง Ab A และ Ab B
กรุ๊ป A จะมี แต่Ag A จึงไม่มี Ab A แต่จะมี Ab B
กรุ๊ป B จะมี แต่Ag B จึงไม่มี Ab B แต่จะมี Ab A

ถ้าเราให้เลือดไปแล้ว มี Antigen กับ Antibody นั้นๆเจอกัน (คือ AgA เจอกับ AntiA หรือ AgB เจอกับ AntiB ) จะทำให้เกิดเม็ดเลือด

แดงแตกหรือจับกลุ่มตกตะกอน(Agglutination) เป็นอันตรายต่อคนรับได้

การที่บอกว่า O ให้ได้ทุกกรุ๊ปนั้นเป็นการมองด้านเดียว

คือไป คิดว่า เลือดคนไข้หมู่ O ที่มี ไม่มี Antigen A และ B อยู่บนตัว ทำให้ไม่ถูกทำลาย โดย Antibody ของเลือดคนที่จะรับ

แต่อย่าลืมว่า เลือดคนไข้หมู่ O ที่เม็ดเลือดไม่มี Antigen นี่ ในน้ำเลือดหรือพลาสม่าของเค้าจะมี Antibody ทั้งต่อ A และ B

ทำให้เมื่อได้ให้ไปกับเลือดกรุ๊ปอื่น ซึ่งมี Ag A หรือ B อยู่ก็จะเกิดปัญหาได้ เช่นกัน

ดังนั้นการให้เลือดจะต้องให้ตรงกรุ๊ปเท่านั้น

หรือถ้าจำเป็นจริงๆ จะต้องให้ข้ามกรุ๊ป การนำเลือด O ไปใช้ ก็ต้องเอาไปแต่เม็ดเลือดที่ล้างเอา Antibody ที่มีปนในน้ำเลือดออกให้มากที่สุด

ซึ่งก็เป็นเรื่องยุ่งยาก

ยังไงก็ลองเข้าไปอ่านเพิ่มอาจจะมีการเพิ่มเติมจากนี้ครับ … เดี่ยววางๆ จะ save มาลงอีกรอบ ….

งานเอ๊กซ์โปที่ญี่ปุ่น อึ้งพูดไม่ออกบูธลาวเขมรดีกว่าไทยเยอะ บูธไทยเรา กระจ๊อก กระจอก จริงๆ

รับไม่ได้อย่างแรง จริงๆ …….. เข้ามาอ่านในกระทู้ใน pantip.com

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P3431064/P3431064.html

อ่านแล้วช้ำใจอย่างแรงกับเรื่องเหล่านี้ ใครได้เห็นและได้เปรียบเทียบกับเพื่อบ้านเราหลาย ๆ ประเทศ แล้วยิ่งช้ำใจหนักไม่ว่าจะ ลาว กัมพูชา หรือแม้แต่ เวียดนาม …… สวยและดูดีรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่าเรามากนัก

ศาลาไทยในเอ็กซ์โป
โดย สุวัฒน์ ทองธนากุล 24 เมษายน 2548 16:51 น.

การจัดงาน “เอ็กซ์โป 2005 ไอจิ แจแปน ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นคราวนี้ กำลังเป็นข่าวดังสำหรับประเทศไทยในแง่เป็นการ “ขายหน้าระดับโลก”

เพราะมีเสียงสะท้อนจากคนที่ไปชมงานว่า ศาลาไทยซึ่งเป็นอาคารแสดงความโดดเด่นของประเทศไทย เพื่อให้ชาวโลกที่จะไปชมงานนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีกว่า 15 ล้านคนนั้น

การออกแบบอาคารแสดง และการนำเสนอของดีของไทยนั้น อยู่ในสภาพ “ดูไม่ได้” ไม่สมราคากับงบประมาณ 250 ล้านบาท เพื่อการนี้

คุณยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไหวทันก็เลยรีบไปดูด้วยตัวเอง พร้อมกลุ่มนักข่าวก็เสนอตามมาด้้วยข่าวที่ช่วยชี้ชัดว่า รัฐมนตรีคนใหม่ท่านนี้ไม่ใช่ต้นเรื่อง แต่ต้องรีบเข้าแก้ปัญหา

ขณะเดียวกัน บริษัท เจเอสแอล จำกัด ผู้ประมูลงานนี้ได้ย่อมตกเป็นจำเลยสังคม ฐานที่ทำงานระดับ “มวยวัด” ที่ไปโชว์ในระดับสากลได้อย่างไร

การแถลงข่าวของประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจเอสแอลในวันนี้ จะช่วยกู้หน้าได้ขนาดไหน หรือจะกลายเป็นศึกยืดเยื้อ จนถึงมีการเอาผิดผู้เกี่ยวข้องได้แค่ไหนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผลการสอบสวนและเอาจริงของเจ้ากระทรวง

แต่เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องที่พูดกันไปอย่างสนุกปากแน่ เพราะเสียงวิจารณ์ที่มีมากมายตามข่าวทำนองว่า การออกแบบก่อสร้างและการเลือกของดีของไทยไปแสดงดูไม่เป็นมืออาชีพ

บางเสียงว่าดูจืดชืดราวกับเป็นแค่อาคารเก็บของ ซ้ำยังมีการเปรียบเทียบว่า สู้ความโดดเด่นดึงดูดความสนใจสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย

ทั้งๆ ที่ของเรามีทรัพยากรและสิ่งที่จะอวดชาวโลกได้มากมายกว่า

บริษัท เอเอสแอล ซึ่งเคยรับจ้างจัดงานระดับชาติ จนได้รับคำชมอย่างพิธีเปิด-ปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ หรืองานแสดงพยุหยาตราทางชลมารคในงานประชุมเอเปก

มางานเอ็กซ์โปที่นาโกยาคราวนี้ คนทั่วไปได้ยินตัวเลขงบการจ้าง 250 ล้านบาท ก็ต้องรู้สึกว่าน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แม้เจเอสแอลจะบอกว่า เป็นงานที่ทำขาดทุน เพราะเงินกว่าครึ่งเป็นค่าก่อสร้างซึ่งต้องจ้างบริษัทในญี่ปุ่นดำเนินการ แต่สังคมจะเห็นใจแค่ไหนในเมื่อผลออกมาไม่น่าพอใจ

ก็ล้วนเป็นประเด็นปลายเหตุที่จะมีการเช็กบิลกันไป

รวมทั้งข้อสงสัยว่าคณะกรรมการคัดสรรบริษัทผู้เข้าประมูล และคณะกรรมการจัดจ้างเห็นชอบกับแนวคิด และแบบที่นำเสนอได้อย่างไร

แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ หลักการในการดำเนินงานไม่ควรเป็นเช่นที่แล้วมา
การไปจัดนิทรรศการในงานระดับนานาชาติเช่นนี้ เป็นการสื่อสารการตลาดเพื่อประเทศไทย

ถ้าจะให้หน่วยงานใดรับเป็นเจ้าภาพจัดการหน่วยงานนั้น ก็จะต้องตระหนักว่ากำลังเป็นตัวแทนสร้างผลงานการตลาดให้ประเทศ ซึ่งต้องมองเชิงบูรณาการ

เมื่อคิดอย่างแคบด้วยมิติแบบราชการว่า การจัดงาน “เอ็กซ์โป 2005″ ที่หมุนเวียนประเทศเจ้าภาพทุก 5 ปี คราวนี้มีแนวคิดหลักอยู่ที่ “ภูมิปัญญาของธรรมชาติ” (Nature Wisdom)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจึงถูกมอบหมายให้รับผิดชอบ
แล้วคณะกรรมการคัดสรรบริษัทผู้เข้าประมูล และกรรมการจัดจ้างที่แต่งตั้งขึ้นยอมรับมาได้อย่างไร

ทั้งๆ ที่แนวคิดการบริหารงานที่รัฐบาลเคยเสนอแนวทางที่เรียกว่า “ทีมไทยแลนด์” ที่หวังจะให้การขับเคลื่อนกิจกรรมในการบุกตลาดต่างประเทศให้ผนึกกำลังกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไป เมื่อต้องไปแข่งขันกับตลาดโลก

การไปร่วมแสดง “จุดเด่นของประเทศ ครั้งนี้ในงานเอ็กซ์โปที่ญี่ปุ่น ก็เป็นการแข่งขันเพื่อชิงความโดดเด่น ความประทับใจให้ชาวโลกที่ไปชมงานเกิดความเชื่อมั่น และนิยมในผลที่มีศิลปะและวิถีไทยจากประเทศไทย

จึงเป็นโอกาสดียิ่งในการ “เสริมสร้าง”ภาพลักษณ์ที่ดี ไม่ใช่ไป “ประจาน” ตัวเอง เมื่อถูกเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ดังนั้น เมื่อภาระตกอยู่ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในเชิงสื่อสารการตลาดมาก่อน ประกอบกับข้อจำกัดด้านงบประมาณและกำลังคน

ข้อถกเถียงเรื่องการบริหารงบประมาณพอไม่พอจึงเกิดขึ้น

ทั้งๆ ที่รายการนี้นอกจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่จะคัดสรรผลงานไปอวดแล้ว ยังมีหลายหน่วยงานที่ควรต้องเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการจัดงานอย่างเต็มที่

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มีข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว

กระทรวงสาธารณสุข ในแง่การเสริมความเชื่อมั่นด้านความสะอาด และรสชาติอร่อยของอาหารไทย เพื่อสนับสนุนโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก รวมทั้งความโดดเด่นเรื่องสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และการนวดแผนไทย

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาค

ส่วนหน่วยงานใดมีกำลังสนับสนุนทางการเงินด้วยก็ยิ่งเป็นส่วนเสริม เพราะที่สำคัญคือจะเอา “อะไร” ไปแสดง และแสดง “อย่างไร” จึงดึงดูดความสนใจ และเข้าใจอย่างที่เราอยากให้เป็น

นี่ยังไม่รู้ว่าจะปรับปรุงหรือเสริมแต่งรูปแบบของ “ศาลาไทย” ให้เข้าท่ากว่านี้ด้วยวิธีใด เพราะงานนี้

เปิดให้คนจากทั่วโลกเข้าชมทุกวันตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมแล้ว

แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะเป็นการประจานประเทศไทยไปจนกว่างานจะจบเอาในวันที่ 25 กันยายน 2548

ก็ขอให้ใช้บทเรียนนี้เป็นโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคัดเลือกผู้ว่าจ้าง และจัดจ้างของราชการที่ไม่ใช้การมุ่งผลเชิงปริมาณ แต่ต้องมุ่งคุณภาพที่ยอมรับได้

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000054571

ไปอ่านกันดูแล้วกัน ไม่รู้จะบรรยายอะไรแล้ว ………. T_T

การคัดลอกแผ่นที่มีการป้องกันไว้มาแผ่น CD – R อย่างปลอดภัย และไม่ให้เสีย

มาแล้วครับ การคัดลอกแผ่นที่มีการป้องกันไว้มาแผ่น CD – R อย่างปลอดภัยและไม่ให้เสีย ซึ่งเทคนิคนี้ผมได้ทำการขออนุญาติจากเจ้าของ เทคนิคนี้เรียบร้อย คือ พี่ ++ HotDog ++ แห่ง Pantip.com ครับ ต้องขอขอบคุณไว้ ณ. โอกาส นี้ครับ …….. เรามาดูกันดีกว่า เขาทำกันยังไง ครับ

Download ClonyXXL 2.0.1.5

1. ใส่ CD แล้วเปิดโปรแกรม ClonyXXL

2. กด Scan จากนั้นรอสักครู่ … บริเวณหมายเลข 1 คือ ชนิดของ Protect ที่ใช้กับ CD … ของผมเป็นแผ่น SimCity 3000 ใช้ SafeDisc Old …

บริเวณหมายเลข 2 แสดงลักษณะพิเศษของ Protect ชนิดนั้น …
(อาจแตกต่างตามชนิด Protect จากรูปเป็น SafeDisc Old ซึ่งลักษณะพิเศษคือ มี Bad Sector เป็นจำนวนมาก เป็นต้น) ..

บริเวณหมายเลข 3 แสดงความยากง่ายของการ Copy CD แผ่นนี้ … ยิ่งมีหัวกะโหลกมาก ยิ่ง Copy ยาก … ของผมมีแค่ 2 หัว … CD แบบผม SafeDisc Old จึง Copy ได้ง่ายมากครับ …

บริเวณหมายเลข 4 (เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะนำไปใช้กับ CloneCD) แสดงการ Setting ที่จะต้องนำไปใช้กับ CloneCD เพื่อให้ Copy ได้สำเร็จ …

บริเวณหมายเลข 5 … หากคุณ Scan CD แล้วปรากฎว่ามันแสดง Protect เป็น Unknown คุณอาจใช้วิธีการ Scan แบบ Manual ได้ที่ปุ่มนี้ …. เมื่อกด มันจะถามคำถามคุณ คุณก็ตอบตามจริง แล้วมันวิเคราะห์ให้ว่า CD คุณน่าจะมี Protect เป็นอะรัยยย ..

3. เปิดโปรแกรม CloneCD เพื่อเริ่มขั้นตอนการ Copy (ขั้นตอนการตรวจสอบ CD มี 2 ข้อข้างบนแค่นั้นแหล่ะจ๊ะ) ..
จากรูปผมจะเลือกการ Copy CD นะครับ (อ่าน CD แล้วเขียนตอนนั้นเลย) .. คุณอาจจะ Read to File .. แล้วไว้เขียนจริงคราวหลังก็ได้ ..

4. เลือก Drive ที่จะทำหน้าที่อ่าน CD …. (Tip. เลือกไดรฟ์ที่คิดว่ามีปัญหาในการอ่านน้อยสุด … เป็น DVD Drive ได้ยิ่งดี … หรือจะเป็น CD-RW Drive ที่จะใช้เขียนก็ได้ มันจะให้เอาแผ่นเข้า ๆ ออก ๆ เองในช่วงการ Copy ช่วงหลัง ..)

5. Setting การ Copy CD …. เลือก Speed ของเครื่องอ่าน (ปกติตั้งที่ Max) .. บริเวณหมายเลข 1 ให้เอาค่า Setting ที่ได้จาก ClonyXXL (รูปความเห็นที่ 2) .. มาติ๊ก …

บริเวณหมายเลข 2 หากติ๊ก Fast Skip Error ไว้ให้มา Set ที่ตรงนี้ด้วย ..

6. Setting ในส่วน Fast Error Skip … หากเครื่องอ่านคุณมีตัวเลือก Hardware แบบในรูป .. ให้เลือก Hardware ดีกว่า … เพราะมันจะเช็ค Error ด้วย Hardware เอง แต่หากมีปัญหา … ก็ให้ใช้ค่า Defualt ก็ได้ .. (แต่อาจจะอ่านได้ช้ากว่า) ..

7. Setting เกี่ยวกะ Image File สามารถเปลี่ยนชื่อหรือโฟเดอร์ได้โดยการกด Browse
หมายเลข 1 Create “Cue Sheet” ติ๊กเพื่อให้สร้างไฟล์ cue ไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลของ CD ไว้เพื่อเอาไปอ่านกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ …
หมายเลข 2 Delete after a successful Write ติ๊กเพื่อให้ลบ Image File หลังจากที่เขียน CD เสร็จสมบูรณ์
หมายเลข 3 Copy “On-the-Fly” ติ๊ก จะเป็นการ Copy โดยตรงจากเครื่องอ่านไปสู่เครื่องเขียน โดยไม่สร้าง Image File เลย …. หากเป็นการ Copy CD ที่มี Protect ต่าง ๆ ไม่แนะนำให้ติ๊ก … เพราะการอ่านอาจมีปัญหา อ่านไม่ทัน …

8. เลือกเครื่องที่ใช้เขียน ….
กด Next มันก็จะเริ่มอ่าน เริ่มเขียน ทันที …. ทีนี้ก็รอ …
จบจ้า …

การแก้ปัญหาและแนวทางป้องกันเมื่อเจอ Worm Blaster

Ref : http://www.pantip.com/cafe/siam/topic/F2412050/F2412050.html
Ref : http://thaicert.nectec.or.th/advisory/alert/blaster.php

  1. แนวทางป้องกันเปิด Firewall ไว้ดีที่สุดไม่โดแน่นอน ไม่ทำให้เน็ตช้าไม่ทำให้ระบบรวนและจะป้องกันได้ครอบคลุมต้องลง AntiVirus และ update ล่าสุดทุกๆ อาทิตย์ด้วย
  2. ถ้าโดนไปแล้วดาวส์โหลด http://securityresponse.symantec.com/avcenter/FixBlast.exe เป็นโปรแกรมตรวจหาเจ้าตัวปัญหานี้ (ใครเคยโดนพวก LoveBug คงจำได้ว่าทำไงนะครับ
  3. พอตรวจหาเจอแล้วให้โหลดตัวแก้ปัญหาทั้งหมดที่และป้องกันอีกที http://download.microsoft.com/download/9/8/b/98bcfad8-afbc-458f-aaee-b7a52a983f01/WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe และทางที่ดีเข้า Windows Update เพื่อทำการปรับปรุงระบบป้องกันใหม่ที่สุดมาลงครับ

แต่ถ้าโดนไปแล้วแล้วมัน Shutdown ตลอดทำไงเรามีวิธีครับ

  1. ถ้ามี ข้อความนี้ขึ้นมา ให้ทำดัง นี้
  2. คลิคที่ปุ่ม start แล้วคลิกที่ Run
  3. พิมพ์ ข้อความ shutdown -a แล้วกดปุ่ม OK
  4. ไปที่ link นี้ http://microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=2354406C-C5B6-44AC-9532-3DE40F69C074&displaylang=en
  5. Download file WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe นี้มา
  6. แล้ว ทำการ Run ไฟล์ที่ download มา นานหน่อยนะครับ
  7. เมื่อเสร็จแล้ว reboot เครื่อง อีก 1 ครัง
  8. เหตุการณ์จะปรกติ :-)
  9. หรือถ้าไม่ทำก็มีอีกแบบคือ
  10. กด CTRL+ALT+DELETE แล้วหา MSBLAST.EXE จาก Process List แล้วลบมันซะ
  11. จากนั้นไปที่ c:\windows\system32 หา MSBLAST.EXE แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น BLASTMS.BAK (** เพิ่มเติมสำหรับคนที่แก้ไม่ได้ให้ไปที่
    Run พิมพ์ MsConfig ไปที่ Tap StartUp แล้วหา msblast.exe คลิกเครื่องหมายถูกออกแล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง)
  12. แล้วลองมาปลี่ยนหรือลบซะ
  13. จากนั้นเข้าไปที่ c:\windows\perfetch แล้วหา MSBLAST.EXE ลบมันซะ (หรือชื่อคล้ายๆ มังก็ลบทิ้งๆ ไปเลย นามสกุล .pf)

ไวรัสตัวนี้อาจเข้าไปฝังใน Register ซึ่งเราสามารถแก้ได้โดย

  1. ไปที่ Start > Run พิมพ์ regedit
  2. แล้วไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run
    (** หรือสำหรับคนที่เกียดหา ไปที่ Edit เลือก Find แล้วพิมพ์ msblast ลงไป)
  3. ตรงช่องด้านขวาถ้าเจอ "windows auto update"="msblast.exe" ลบแย่จังซะ (ดูด้านซ้ายด้วยก็ได้)
  4. โหลด fixblast ตามลิงค์ที่เจ้าของกระทู้ให้ไว้
  5. โหลด Patch ป้องกันสมบูรณ์แบบ
    1. สำหรับคนที่ไม่มี SP1 (Windows XP Pro ธรรมดา) ไปที่
      http://microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=2354406C-C5B6-44AC-9532-3DE40F69C074&displaylang=en
    2. สำหรับคนที่มี SP1 (Windows XP Pro Service Pack 1) ไปที่
      http://download.microsoft.com/download/9/8/b/98bcfad8-afbc-458f-aaee-b7a52a983f01/WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe
      แล้วก็จัดการลง Patch ให้เรียบร้อย

ซอฟต์แวร์และโปรแกรม สองคำนี้มีความหมายต่างหรือเหมือนกัน อย่างไร

ผมได้พบกับคำถามในเว็บบอร์ด pantip.com ที่มีคำตอบที่น่าสนใจครับ

ซอฟต์แวร์และโปรแกรม…สองคำนี้มีความหมายต่างหรือเหมือนกัน ???

ถ้าเหมือน เหมือนอย่างไร และถ้าต่าง ต่างอย่างไร

เรามีคำตอบครับ ………..


ตอบ : ซอฟต์แวร์เป็นคำทั่วไปที่ใช้กล่าวถึงโปรแกรมหลายชนิดที่ใช้ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์และ อาจเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์(คำว่าฮาร์ดแวร์ใช้อธิบายถึงคอมพิวเตอร์ในด้านกายภาพและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง)

เราอาจจะนึกถึงซอฟต์แวร์ในแง่ของคอมพิวเตอร์ในส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้(updatable) และฮาร์ดแวร์ในแง่ของคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซอฟต์แวร์, บ่อยครั้งมีการแบ่งเป็น แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์(โปรแกรมซึ่งปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง) และ ซอฟต์แวร์ระบบ(ประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอะไรก็ตามแต่ที่สนับสนุนการทำงานของแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์) สำหรับคำว่า middleware บางครั้งใช้ในการอธิบายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์ระบบ หรือ ระหว่างแอปพลิเคชั่นต่างชนิดกัน (ยกตัวอย่าง การร้องขอการทำงานระยะไกลจากแอปพลิเคชั่นซึ่งอยู่บนระบบปฏิการชนิดหนึ่งไปสู่แอปพลิเคชั่นซึ่งรันอยู่บนระบบปฏิบัติการอีกชนิดหนึ่ง)

สำหรับกลุ่มของซอฟต์แวร์ไม่สามารถจะจัดเข้ากลุ่มใดๆได้นั้นเรียกว่า ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์(utility) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่มีประโยชน์ ยูทิลิตี้บางตัวมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ เช่นเดียวกับแอปพลิเคชั่น ยูทิลิตี้สามารถจะติดตั้งได้อย่างอิสระและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ

ซอฟต์แวร์ยังแบ่งได้อีกหลายชนิดเช่น shareware (ส่วนมากจะต้องซื้อเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทดลองใช้), liteware(แชร์แวร์ซึ่งมีการตัดความสามารถบางอย่างออกไป), freeware(ซอฟต์แวร์ฟรีแต่มีการจำกัดสิทธิ), public domain software(ฟรีและไม่มีข้อบังคับ) และ open source(ซอฟต์แวร์ที่มีการแจกจ่ายซอร์สโค้ดและใช้งานได้อย่างไม่จำกัดรวมทั้งสามารถปรับปรุงได้)

แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ทั่วๆไปมีดังนี้

– ซอฟต์แวร์ผลิตภัณฑ์ เช่น ตัวประมวลผลคำ(word processor), ตารางคำนวณ(spreadsheet) และเครื่องมือที่ใช้กันโดยผู้ใช้ส่วนใหญ่
– ซอฟต์แวร์นำเสนอ(presentation software)
– ซอฟต์แวร์กราฟฟิกส์ สำหรับนักออกแบบกราฟฟิกส์
– ซอฟต์แวร์ช่วยเหลือการออกแบบ CAD/CAM
– แอปพลิเคชั่นทางด้านวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง
– ซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม (ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร, ประกันภัย, ค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต)


ในทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคือชุดของคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ ในคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ที่ จอห์น วอน นิวแมนน์ วางรูปแบบเอาไว้เมื่อปี 1945 โปรแกรมประกอบไปด้วยชุดของของสั่งที่ทำงานหนึ่งคำสั่งในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปโปรแกรมจะเก็บอยู่ในพื้นที่ของหน่วยเก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะดึงคำสั่งมาทีละหนึ่งคำสั่งแล้วประมวลผลและดึงคำสั่งถัดไปมาทำงานเช่นนี้เป็นวงรอบ(cycle) หน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำสามารถเก็บข้อมูลซึ่งก็คือคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม(โปรแกรมคือชุดข้อมูลชนิดพิเศษที่บอกว่าจะปฏิบัติอย่างไรกับ แอปพลิเคชั่นหรือข้อมูลของผู้ใช้)

โปรแกรมสามารถแบ่งออกเป็นแบบปฏิสัมพันธ์(interactive) หรือชุดคำสั่ง(batch) ในเชิงของการโต้ตอบระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้และความต่อเนื่องในการประมวลผล โปรแกรมแบบปฏิสัมพันธ์จะรับข้อมูลจากผู้ใช้(หรือจากโปรแกรมอื่นที่ทำหน้าที่เสมือนผู้ใช้) โปรแกรมชุดคำสั่ง(batch) จะรันโปรแกรมและทำงานจนกระทั่งชุดของคำสั่งหมดจึงหยุดทำงาน โปรแกรมแบบชุดคำสั่งจะเริ่มทำงานโดยผู้ใช้สั่งให้โปรแกรมรัน ตัวแปลคำสั่ง(command interpreter) หรือเว็บบราวเซอร์เป็นตัวอย่างอย่างของระบบปฏิสัมพันธ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้พิมพ์ข้อมูลเงินเดือนของพนักงานในบริษัทเป็นตัวอย่างหนึ่งของโปรแกรมชุดคำสั่ง(batch program) งานพิมพ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมชุดคำสั่ง

เมื่อคุณต้องการสร้างโปรแกรม คุณจะต้องเขียนมันโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ข้อความในแต่ละประโยคเรียกว่า "source program" จากนั้นคุณจะต้องคอมไพล์ ซอร์สโปรแกรม(ด้วยโปรแกรมพิเศษที่เรียกว่าคอมไพล์เลอร์) และผลลัพธ์ที่ได้จะเรียกว่า object program (อย่าสับสนกับคำว่า object-orieted-programming) มีอีกสองคำที่ใช้เรียก object program ประกอบด้วย object module และ compiled program ภายใน object program จะประกอบไปด้วยชุดข้อความที่เป็นเลข 0 และ 1 เรียกว่า machine language ซึ่งเป็นภาษาที่โปรเซสเซอร์เข้าใจและสามารถสั่งให้โปรเซสเซอร์ประมวลผล

ภาษาเครื่องจักร(machine language) ของคอมพิวเตอร์จะสร้างขึ้นโดยคอมไพล์เลอร์ซึ่งเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, รวมไปถึงชุดคำสั่งที่เป็นไปได้และความยาวของคำสั่ง(ในหน่วยบิต) ในแต่ละคำสั่งของโปรเซสเซอร์(machine instruction)

ข้อมูลจาก whatis.com


จากข้อมูลข้างต้นอาจจะยากในการทำความเข้าใจ ถ้าจะอธิบายง่ายๆก็คือ program คือชุดคำสั่งซึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไรสักอย่าง แต่เมื่อโปรแกรมถูกคอมไพล์แล้วจะกลายเป็น software ทันที ซึ่งซอฟต์แวร์ก็แบ่งเป็น system software และ application software ซึ่งซอฟต์แวร์พวกนี้จะอยู่ในหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บข้อมูล ในขณะที่โปรแกรมอยู่ในไฟล์


ทิ้งท้าย …….

คำแปลตามลักษณะของหนังสือคำศัพท์โดยตรงครับ ไว้อ้างอิงครับ

Software = The programs, routines, and symbolic languages that control the functioning of the hardware and direct its operation.

source : The American Heritage® Dictionary of the English Language, Fourth Edition
Copyright © 2000 by Houghton Mifflin Company.
Published by Houghton Mifflin Company. All rights reserved.

Program = A set of coded instructions that enables a machine, especially a computer, to perform a desired sequence of operations.

source : The American Heritage® Dictionary of the English Language, Fourth Edition
Copyright © 2000 by Houghton Mifflin Company.
Published by Houghton Mifflin Company. All rights reserved.

from: dictionary.com