Beginner’s Essential Guide: How to be a PROs in 90 Days (คู่มือการเป็นเทพใน 90 วัน)

จาก : http://www.pantip.com/cafe/camera/topic/O4373460/O4373460.html

– ไปฝังตัวใน webboard ที่มีคนนิยมมากๆ (ถ้าในโต๊ะกล้องนี่เลือกห้องที่สมาชิกเยอะๆ หน่อย อย่าง นิคอน แคนนอน โอลิมปัส พานา โซนี่)

– เริ่มต้น ตอบกระทู้ไปเรื่อยๆ

– ระยะแรก ให้ไปตอบในคำถามของคนอื่นก่อน เพราะเขายังไม่รู้จักเรา

– เน้นการตอบฟันธง ของคำถามที่ว่า "ซื้อกล้องอะไรดี"

– ตอบให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้

– ตอบ ถูก หรือ ผิด อย่าไปสน คนถาม และคนตอบส่วนใหญ่ ก็ไม่เคยใช้หรอก คุณบอกยังไงเขาก็เชื่อ

– ใครไม่เชื่อก็ช่างหัวมัน คุณเดินหน้าสร้างภาพไปเรื่อยๆ อย่าไปสนอะไร

– ไม่ต้องไปกังวลว่า คุณจะเคยใช้ เคยรู้จัก ไอ้กล้องตัวนั้นมาก่อนหรือไม่ มั่วตอบไปเลย ไม่ต้องสนใจ ไม่มีใครรู้หรอกว่าคุณมั่วตอบ

– สำนวนก็ไปจำมาจากพวกรุ่นเดอะที่อยู่วงการมานาน ลอกข้อมูลบางส่วนจากเขามา สำนวนนั้นอย่าลอก 100% ต้องหาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ก่อน
แผนการทำมาหากิน ยังอีกยาวไกล อย่าคิดสั้นเป็น โคลนนิ่งของใคร

– จงพยายาม แสดงอิทธฤทธิ์ ปาฎิหารย์ เมื่อโอกาสอำนวย อะไรก็ได้ ที่คุณเห็นว่า จะแสดงถึงความสามารถอันพิเศษเหนือคนธรรมดาของคุณ แสดงไปเลย
ใครมาค้าน ให้ด่ากลับว่า "ตาไม่ถึง", "ไม่รู้จริง", "เกรียน", "ป่วน" แสดงไปสักพัก จะมีสาวกมาขึ้น ก้มกราบกรานประหลกๆ

– ระยะแรก การยอมรับยังไม่ดีนัก แต่ให้รอประมาณ 3 เดือน ชื่อของคุณจะติดอันดับยอดนิยม และพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว

– ปฎิกิริยาลูกโซ่ ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ คุณยิ่งตอบฟันธงมาก คนก็ยิ่งถามโดยเจาะจงชื่อคุณ
หน้าใหม่ๆเข้ามา เห็นคนอื่นถามคุณมากๆ ก็จะเชื่อไปโดยอัตโนมัติว่าคุณเป็น "เทพ" จุติมาจากสวรรค์ แน่นอน

– หากโดนค้าน โดนแย้ง ให้หาทางด่ากลับทันที ป่วนได้ป่วน ด่าได้ด่า ปลอมตัวเป็นหน้าม้ามาด่า ด่าให้ไอ้คนที่มาคัดค้านคุณ ล่าถอยไปเอง เพราะความเหนื่อยหน่าย

– จำไว้ สถานะของคุณคือเทพ คุณคือความถูกต้อง คุณคือสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ คุณว่าอะไรทุกคนต้องเชื่อ ต้องฟัง ต้องทำตาม
ใครไม่เห็นด้วยกับคุณ คนนั้นคือคนเลว คนนั้นคือเล่นไม่เป็น สะเออะมาเถียงเทพอย่างคุณ

– ใน 90 วัน ถ้าคุณทำได้เช่นนี้อย่างเคร่งครัด คุณจะสามารถแจ้งเกิดในวงการได้ทันที

– รอให้เกิดการบ่มตัวที่เหมาะสม สัก 6-12 เดือน คุณค่อยๆวางแผนในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้

– ผลประโยชน์คือ การเจรจา ขอค่าหัวคิว ขอเปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างที่ได้เงิน ทำไปเลย

– หากเป็นไปได้ หาทางไปเป็นนักเขียนในนิตยสาร

– หาทางสร้างชื่อเสียงต่อไป ทีนี้คุณมี "ช่องทางการจัดจำหน่าย" ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิมแล้ว อย่าลืม เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้มากขึ้นไปอีก

– เปิดตัวต่อคนในวงการให้มากที่สุด คบทุกคนที่ขวางหน้า อย่าขัดแย้งกับใครเด็ดขาด ยกเว้นในกรณีที่มีคนมาโจมตีสถานะความเป็นเทพของคุณ

– หากคุณทำสำเร็จไปอีกระดับหนึ่ง หาทางออกมาตั้งนิตยสารเป็นของตัวเอง เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
อย่าไปสนใจการขัดแย้งกับทีมงานเดิม มันด่ามา เราด่ากลับ ด่าเสร็จแล้ว ก็ตีสองหน้าว่า "ผมไม่คิดอะไร ผมไม่ถือ ผมไม่ได้ขัดแย้ง ผมให้อภัย ไม่ได้ด่าเขาสักหน่อย"
อ้อนได้อ้อน "ผมโดนโจมตี ผมโดนใส่ร้าย"

– ขอแสดงความยินดีด้วยครับ คุณจบหลักสูตรการเป็นเทพโดยสมบูรณ์แล้ว

นำมาจากบทความของสมาชิกผู้ใหญ่ใน ThaiAVClub.com (รู้สึกว่าจะเป็นคุณ nattapong มั้ง ขออภัยถ้าจำผิด) ดัดแปลงบางส่วน เพื่อให้เข้ากับโต๊ะกล้อง

ใครอยากเป็นเทพมั่งเนี่ย
ถ้าใครอยากเป็นละก็ "เกรียน" ตัวจริงเลยแหละ
ขอมอบประกาศนียบัตรให้ อิ อิ


คลิ้กที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

จากกระทู้ยอดนิยม “Com Sci & Com Eng แตกต่างกันอย่างไร”

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
—>เน้นการศึกษาวิชาการที่เป็นแก่นแท้ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่จะนำไปใช้ทางใดก็ได้ เช่น สถาปัตยกรรมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ algorithm (กรรมวิธีในการแก้ปัญหา) ภาษาคอมพิวเตอร์ (คิดค้นภาษาใหม่ หรือปรับปรุงภาษาเก่าให้ดีขึ้น) การสร้างตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Compiler, Interpreter) เทคนิคในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เทคนิคในการติดต่อกับมนุษย์หรือผู้ใช้ทั่วไป เทคนิคในการเขียนโปรแกรม เทคนิคในการสร้างระบบปฏิบัติการ (Operating system) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้สาขาอื่นสามารถนำไปใช้พัฒนางานต่างๆ ได้ตามวิธีการหรือศาสตร์และศิลป์ที่เป็นของตนเอง

สิ่งที่คุณเห็นและใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, ภาษา C++, ภาษา Java, Visual BASIC, Pentium 4 CPU, การใช้เมาส์ชี้วัตถุบนจอเพื่อสั่งคอมพิวเตอร์ เทคนิคในการเขียนและพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ Object Oriented (OO) เหล่านี้เป็นผลพวงของการพัฒนาวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
—>เป็นสาขา ที่แตกตัวมาจาก วิศวกรรมไฟฟ้า วิชาสาขานี้จะใช้หลักการทาง Logic เป็น หลักในการปูพื้นฐานการสร้าง Logic ที่ได้มา นอกจากการเรียนรู้เรื่องกฏทาง ไฟฟ้า คณิตศาสตร์ และ Logic พื้นฐานเริ่มตั้งแต่ AND NAND OR XOR เป็น หลัก เพื่อ สร้างกฏแบบแผนใหม่ที่จะนำไปสู่ ผลทาง Logic อีกเช่นกันในการสร้าง ถามว่า เรียนแล้วเป็นไง พื้นก็ จะ เสริมเรื่องวิฃาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เป็นหลัก แต่ไม่เน้นมากนัก เพราะว่า จะเอาเฉพาะส่วนที่สำคัญ ในการจุดเกิด ประกายการเหนี่ยวนำให้ เกิดการ เรียนรู้ศึกษาแผนใหม่ของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนนี้จะเรียนรู้เกี่ยว Hardware เป็นหลัก มีการเขียนโปรแกรมมั้ย มี แต่ จะเน้นแนวคิดที่ใช้งานได้จริงเป็นหลัก ส่วน Human Interface ไม่ลงลึกเน้นเหมือน Computer Science ที่จะเน้นภาษาที่ใช้ในการสร้างการสื่อสารกะมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้

พูดง่ายๆ อุปกรณ์ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่เกิด จาก ฟิสิกส์ กลายมาเป็น ไฟฟ้า กลายต่อมาเป็น อิเส็กค์ทรอนิคส์ และ นำส่วนต่างๆมาประกอบกันตาม Logic พื้นฐานสร้าง Hardware หรือ เครื่องมือใหม่ที่จับต้องได้ เป็นส่วนใหญ่ แต่ Computer Science จะสร้าง ในส่วนของ Software / Data Structure / System Information เพื่อ กำหนด รูปแบบการรวมการประกอบการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้ และ จับต้องไม่ได้(Software) ที่นำมาสรุปให้เกิดงานที่ดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี จบแล้ว ทำงานข้ามสาขากันได้ แต่สาขาที่เรียนตรงมาจะได้เปรียบกว่าตอนเริ่มต้น

พื้นฐานของ ComEN ที่ ComSci ก็มีเล็กน้อย
พื้ฯฐานของ ComSci ที่ ComEn ก็มีเล็กน้อย

คุณสามารถเอาพื้นฐานเหล่านั้นมาพัฒนาได้
ปล.ถ้าคุณมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

ต่างประเทศ เห็นหลายๆที่ เขารวม ComSci กับ ComEN เป็นสาขาเดียวกันหลายที่แล้ว แต่มี แขนงที่ให้ศึกษาหลายแขนง

Computer Science and Engineering

ชื่อปริญญา ก็คือ

ป.ตรี : Bachelor of Technology ชื่อย่อ B.Tech
ป.โท : Master of Technology ชื่อย่อ M.Tech
ป.เอก : Ph.D

เช่น

Bachelor of Technology in Computer Science and Engineering
Bachelor of Technology in Computer Systems
Bachelor of Technology in Technology Management
Bachelor of Technology in Information Technology

แต่ถ้าในไทยจะเป็น Bachelor of Science หรือ Engineering ขึ้นอยู่กับแต่ละมามหาวิทยาลัย

เมืองไทยปัจจุบัน หลักสูตรของ com sci มัน เน้นไปด้าน com eng ครับ

สำหรับบทความข้างล่างจะพูดถึงด้านของ เป้าหมาย ของศาสตร์ com sci และ com eng มากกว่านะคับ

=================================================

Computer Science เป็น Science จริงหรือ ?

คำตอบคือ ไม่เป็น คำว่า Science นั้น มีความหมายว่า การศึกษาธรรมชาติ โดยการสังเกตุ หรือ การใช้เหตุผล จากตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่า Computer science นั้น จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่ Science เพราะ Computer ไม่ใช่ ธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ Computer Science ยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ Computer ซึ่งก็คล้าย ๆ ว่า จะเป็น Science ได้ จึงมีการตั้งให้ Computer Science อยู่ในกลุ่มของ Applied Science สิ่งที่เราต้องแยกให้ออกคือ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน Computer Science ไม่ใช่สิ่งที่เราค้นพบ แต่เป็นสิ่งที่เราคิดค้นมันขึ้นมา ซึ่งต่างกับ Science เช่น ทุกอย่างใน Physics เกิดจากการค้นพบธรรมชาติ และนั้นแหละจึงเป็นเหตุผลที่เราอยู่ใน Applied Science แต่ไม่อยู่ใน Science

Computer Science ต่างกับ Computer Engineering อย่างไร ?

สิ่งที่แยกของ Computer Science ออกจาก Computer Engineering อย่างชัดเจนคือ Computer Science นั้น เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับ การคิดค้น การก่อตั้ง ทฤษฏี ที่เกี่ยวกับ Computer ส่วน Computer Engineering นั้น เป็นศาสตร์ที่ศึกษา ทฤษฎีเหล่านั้น และนำไปประยุกต์ใช้กับโลกความเป็นจริง งานที่ Computer Science ทำนั้น จะเกี่ยวกับการวิจัยซะมากกว่า เช่น ศึกษาว่า โปรแกรมสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง, หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนโลกนี้, โปรแกรมควรจะเก็บข้อมูลในรูปแบบใด เพื่อที่จะทำให้ค้นหาข้อมูลได้เร็วที่สุด และอื่น ๆ ซึ่ง Computer Science จะศึกษาเรื่องเหล่านี้ และพัฒนาทฤษฏีขึ้นมาเรื่อย ๆ เพื่อให้ Computer Engineering นำไปใช้

ทำไมคนที่เรียน Computer Science กับ Computer Engineering ถึงมักจะทำได้ทั้งสองอย่าง ?

เหตุผลแรก คือ ทุกอย่างที่ Computer Science คิดขึ้นมา มีเป้าหมายเพราะต้องการประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เช่น ถ้าเราใช้วิธีการตามทฤษฎีนี้แล้ว เราจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เหมือนกับ Physics ที่ทุกทฤษฏีที่ค้นพบคือความจริงทางธรรมชาติ เช่น บนโลกของทุกอย่างต้องตกลงสู่พื้น เราจะเห็นว่า ทฤษฎีใน Computer Science นั้นเปลี่ยนแปลงไปเสมอ หากมีคนสามารถสร้างทฤษฏีใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าของเก่าได้ และ เนื่องจาก Computer Engineering เป็นผู้ที่ใช้ทฤษฎีเหล่านี้ เป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาในโลกจริงนั้นได้ดีกว่า คนที่เรียน Computer Engineering จึงมักจะคิดทฤษฎีของตนเองด้วย ส่วนคนที่เรียนด้าน Computer Science ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ทั้งปัญหาในโลกจริง และทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับ Computer Science ด้วย ดังนั้นคนจากทั้งสองศาสตร์จึงมักจะทำงานแทนกันได้ เพียงแต่มีความรู้หนักไปคนละทางเท่านั้นเอง ในอินเตอร์เน็ทมักจะมีคนกล่าวว่า “Computer Science ไม่ศึกษาเกี่ยวกับ Hardware” คำกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด Computer Science มีความเกี่ยวข้องกับทุกอย่างเกี่ยวกับ Computer เช่น com-sci นั้นศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของวงจร Computer โครงสร้างของ CPU สร้าง โครงสร้าง CPU ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นก็เกี่ยวกับ Hardware ไม่ใช่เหรอ ? เหตุผลที่สอง คือ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา เราจะเห็นได้ว่า คนที่จบมาเพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ มักจะไม่มีงานทำ เพราะในประเทศไทย ไม่มีบริษัท หรือ องค์กรที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ Computer ดังนั้น Computer Science ในประเทศไทย จึงมักจะสอนให้นักเรียนมีความรู้ด้าน Computer Engineering เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้กลุ่มคนที่เรียน Computer Science และ กลุ่มคนที่เรียน Computer Engineering ไม่แตกต่างกันมาก จริง ๆ แล้วเป้าหมายสูงสุดของ Computer Science ค่อนข้างชัดเจนนะครับ คือเราเรียน Computer Science เพื่อที่จะเป็น นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ Computer Scientist นะครับ ไม่ใช่ Programmer อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ

สำหรับน้อง ๆ ที่ตัดสินใจจะเข้า Computer Science พี่ก็อยากให้น้องเข้า เพราะสิ่งนี้มันคือสิ่งที่น้องต้องการจริง ๆ นะครับ อย่าเข้าเพียงเพราะมีงานรอเยอะ อย่าเข้าเพียงเพราะประเพณีไทยมันสั่งให้ต้องเข้ามหาลัย อย่าเข้าเพียงเพราะพ่อแม่ต้องการให้เข้า คิดให้ดีว่าน้องต้องการอะไรจากการศึกษา คิดให้ดีว่าน้องต้องการมันจริง ๆ หรือเปล่า ค้นหาตัวเองให้เจอและทำตามที่ใจต้องการ ขอให้น้องทุกคนโชคดีครับ

รวบรวม และเรียบเรียงจาก

http://www.pantip.com/tech/comsci/topic/CT1952225/CT1952225.html

แสบๆ คันๆ !!! Bill Gates เยาะเย้ย Software เถื่อนเมืองไทย กระทบคนไทย โปรแกรมเมอร์ไทยและบริษัทไทยมากกว่า MS

แสบๆ คันๆ !!! Bill Gates เยาะเย้ย Software เถื่อนเมืองไทย กระทบคนไทย โปรแกรมเมอร์ไทยและบริษัทไทยมากกว่า MS

Ref : http://www.pantip.com/tech/developer/topic/DM1851552/DM1851552.html

ข่าวบางส่วนจากไทยรัฐ

ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ยังกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในไทยว่า ในส่วนของไมโครซอฟต์เห็นว่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้ลิดรอนรายได้ของบริษัทเท่าใดนัก หากเทียบกับยอดขายในภาพรวม อย่างในสหรัฐอเมริกานั้น บริษัทตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เท่านั้น นอกจากนี้ไมโครซอฟต์ยังเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทั่วโลก มีรายได้จากการขายสินค้าให้ประเทศต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบจริงๆ น่าจะเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ในประเทศมากกว่า เพราะบริษัทเหล่านี้มีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์เป็นหลัก และส่วนใหญ่ขายในประเทศ


ขออนุญาตสรุป ที่ บิลเกตส์ บอกให้นะครับ

  1. ประเทศไทย ใช้ software microsoft เถื่อนทั้งประเทศ เขาก็ยังรวยอันดัน 1 ของโลก
  2. มันเป็นการฝึกวินัยผู้ใช้ และ ช่วยเหลือ นักพัฒนา software ของประเทศไทยเอง ว่าควรละอายใจและต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อ software บ้าง มิฉะนั้น อุตสาหกรรม software ในประเทศไม่เติบโตแน่นอน ไม่ต้องคิดไปแข่งในตลาดโลก

สรุป มองเหรียญให้มอง 2 ด้านนะครับ

  1. ราคาขายเพื่อสถานศึกษา หรือเพื่อการศึกษา องค์การเพื่อการกุศล หน่วยงารรัฐบาล รัฐบาลน่าจะเจรจา ซื้อ เหมาในราคาถูก ต่ำกว่า 50% จำนวนมากๆ เช่น 1 แสนชุด หรือ 1 ล้านชุด เป็นต้น
  2. รณรงค์ให้บริษัท หรือ องค์การที่มุ่งหวังผลกำไร ซื้อ software ของคนไทยให้มากขึ้น
  3. สร้างองค์กรอิสระ ที่ยินดีให้ความรู้ ด้านอุตสาหกรรม software ด้านเงินทุนสนับสนุน

เป็นความคิดเห็นที่อยากให้ อุตสาหกรรมนี้พัฒนา


ผมลืมตอบประเด็นกระทู้ ตอบสั้น ๆ ว่า..บิล เกตต์พูดถูกทุกอย่างครับ ผมตอบตามประสบการณ์ครับ มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ในประเทศไทย เชื่อไหมครับคุณ Haa ว่าโปรแกรมดี ๆ บ้านเรา อย่างแปลไทย อ่านไทย Nod32 ราคาประมาณ 200-250 บาทเท่านั้นเองครับ คนยังไม่ซื้อใช้กันเลย ไปซื้อแผ่นรวมโปรแกรมมาใช้ ถ้าผมเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมไม่เอาละ แบบนี้

แต่ส่วนที่ผมพูดถึงเรื่องซอฟต์แวร์แห่งชาติ ผมไม่ได้พูดไปถึงการเขียนโปรแกรมนะครับ ผมแค่พูดถึง user ธรรมดา ๆ นี่แหละ อยากเห็นเราสร้างทางเลือก เพื่อลดต้นทุนในเรื่องลิขสิทธิ์ของประเทศเราเท่านั้นเอง ของฟรี มันก็ธรรมดาครับที่ประสิทธิภาพมันย่อมด้อยกว่า แต่ในลักษณะงานหลาย ๆ อย่าง ผมเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้อง MS เสมอไป ถ้ารัฐบาลให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งชาติได้ บังคับให้นักเรียนใช้ได้ การละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยจะลดลงทันทีเลยไม่น้อยกว่า 50% อันไหนฟรีก็ฟรี อันไหนที่คนใช้เยอะ ก็ควรพัฒนาขึ้นมา ขายในราคาไม่แพงมาก

นี่เห็นด้วยกับตา Bill นะ จริงๆ ผมเป็นคนที่ชื่นชอบคนไอทีหลายๆ คนหนึ่งในนั้นก็ตา Bill เนี่ยหล่ะ หนังสือของเค้าก็ซื้อแทบทุกเล่ม ตา Dell หรือตา Jobs ก็หาๆ อยู่ ได้มุมมองในการทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์เยอะดี

จริงๆ คนไทย ส่วนมากเลย ไม่ได้มองซอฟต์แวร์เป็นสินค้าที่มีไว้ขายครับ แต่เป็นของแถมที่มันมากลับเครื่องมากกว่า คือตอนซื้อคอมฯ ก็ถามเลย มีอะไรให้มั้ง ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องที่คนซื้อเครื่องต้องเสียเงินอยู่แล้ว เพราะว่ามันเป็นแรงสมอง และสองมือในการทำ มันก็เหมือนผลงานของพนังงานขายของนั้นหล่ะ

แล้วร้านขายคอมฯ มันให้กันจนชินแล้วไง มันเลยกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ไป T_T

แล้วคนทำงานด้านซอฟต์แวร์เลยซวยครับ ซวยอย่างแรง เพราะว่าไม่มีใครอยากเสี่ยงทำซอฟต์แวร์กล่อง หรือขายเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อเอาชีิวิตรวยจากส่วนนี้ไง เพราะมันขายไม่ได้หรอก มันยากมากเลยหล่ะ แบบว่าเจอ 10 ซอฟต์แวร์ ใน 1 แผ่น ราคา 100 บาท เข้าไปคนทำซอฟต์ไทยก็อ้วกแล้ว เพราะว่าในนั้นมันคือซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติที่มันดีกว่า แต่มันละเมิดไง แถมราคาจริงๆ รวมกันทั้งหมดแล้วก็แพงมากด้วยเมื่อเทียบกับคนไทยทำเอง อีกอย่างเพราะว่าทำกันมานาน มันเลยดีกว่า แล้วอย่างงี้เมื่อไหร่ ซอฟต์แวร์ไทยๆ มันจะเกิดหล่ะ ถ้าไม่มีการสร้างคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่ดีๆ หรือมีก้าวแรกให้กับคนทำซอฟต์แวร์ไทย

หลายคนก็ดีนะ อุดหนุ่น แต่ ……. คือซื้อแท้มา 1 กล่อง แจกซะ 20 คน จบครับ จบ T_T แล้วมันจะได้อะไรขึ้นมาหล่ะ ไม่ชักชวนไปซื้อหล่ะครับ นี่เวลาแนะนำ Software AntiVirus ถ้าคนขอคำแนะนำมีตังหน่อยก็แนะนำ NOD32 ที่มีสิขสิทธิ์ไป ราคาก็ไม่แพง 249 บาทเอง หรือไม่ค่อยมีตังก็ Avast ไป ไม่ ใครจะมาขอ S/N Key ที่ผมซื้อแท้มา นี่ไม่ให้เลยครับ ให้ซื้อเอง นี่กำลังรอเก็บเงินซื้อ S/N Key ของ EditPlus อยู่เพราะว่าใ้ช้งานมันเยอะเหมือนกัน เลยว่าจะซื้อเสียหน่อย -_-”

[PANTIP.COM] – สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อ Computer ใหม่หรือ Upgrade อ่านตรงนี้สักนิดนะครับ

เอามาจากบอร์ดเขียวอีกรอบ ไม่รู้ดิเดี่ยวนี้เจออะไรดีๆ เยอะหุๆๆ

สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อ Computer ใหม่หรือ Upgrade อ่านตรงนี้สักนิดนะครับ

จริง ๆ แล้วหัวข้อนี้ผมเขียนมาครั้งนึงแล้วแต่ว่าเน้นในเรื่องของการเลือกประกัน แต่ว่าวันนี้จะขอพูดถึงการเลือกในส่วนของ Hardware สักหน่อยแล้วกัน

เริ่มแรกขอออกตัวก่อนว่าผมเองนั้นไม่ได้เก่งอะไร ไปกว่าเซียน ๆ ในห้องนี้เลยนะครับ และก็ต้องขอบคุณทุกคนที่ให้ความรู้ผมทุกครั้งเวลาเข้ามาในที่นี้นะครับ

การเลือกซื้อ Computer นั้นบางคนบางท่านอาจจะสงสัยว่า มีหลักการเลือกซื้ออย่างไร ผมขออธิบายง่ายๆ แบบชาวบ้าน ๆ ให้ฟังดังนี้แล้วกันนะครับ คือปัจจุบันนี้เนี่ย computer ที่เราใช้กันอยู่โดยหลัก ๆ ก็คือ CPU จาก 2 ค่าย ก็คือ Intel และ AMD ในด้านของยอดขายนั้นเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า Intel นั้นเป็นผู้นำทางด้านของ CPU เพราะว่าตัวเลขส่วนแบ่งทางการตลอดนั้นเยอะกว่า AMD อย่างเห็นได้ชัดนั่นอาจเป็นเพราะว่า Intel นั้นมีการใช้ต้นทุนทางด้านการตลาดค่อนข้างสูงกว่า AMD แต่ส่วนของคุณภาพนั้นผมไม่ขอพูดถึง เพราะว่าถ้ามัวมาเถียงในเรื่องประสิทธิภาพนั้น เดวสาวกของค่ายนั้น ๆ จะมาทะเลาะกันอีก แต่ทั้ง 2 ค่ายก็ได้แบ่ง CPU เป็น 2 ระดับก็คือ ระดับบน กับระดับล่าง เอาพูดง่ายๆ อย่างงี้แล้วกันนะครับ ของ Intel ก็จะมี Pentium 4 เป็น CPUระดับบน และ มี Celeron เป็น CPU ระดับล่างหรือพูดให้ดูดีหน่อยก็คือราคาประหยัด ส่วน AMD ในตอนนี้ก็คือ AMD 64 เป็นตลาดระดับบนและ Sempron เป็นตลาดระดับล่าง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า CPU ทั้ง 2 ค่ายนั้นมีให้ลูกค้าเลือกซื้อดังแต่ CPU ที่ราคาสูง ถึงราคาประหยัด ถ้าทำให้เห็นภาพก็คือ

Intel Pentium4 VS AMD 64
Intel Celeron VS AMD Sempron

ส่วนใครจะตัดสินใจใช้ตัวไหนก็แล้วแต่นะครับ คราวนี้มาดูในส่วนของตัวที่จะมารองรับ การทำงานของ CPU กัน ก็คือ Mainboard นั่นเอง เนื่องจากว่า ทั้ง 2 ค่ายนั้นเป็นคู่ต่อกรอย่างชนิดว่า แทบจะมองหน้ากันไม่ติดเลยก็ว่าได้ เพราะว่า ตัว mainboard นั่นก็ไม่สามารถที่จะใช้ด้วยกันได้แต่เติมสมัยที่การแข่งขันยังไม่สูงมากAMD และ Intel ใช้ mainboard ที่ใช้สถาปัตยกรรมบน mainboard เป็นตัวเดียวกัน ถ้าจำไม่ผิด สถาปัตกรรมสุดท้ายที่ AMD ใช้ร่วมกับ Intel น่าจะเป็น Socket 7 ในสมัยที่ AMD เป็น K6 III
และ Intel เป็น Pentium แต่หลังจากนั้นมาทั้ง 2 ค่ายก็แยกกันใช้สถาปัจยกรรมบน mainboard เป็นคนละตัวกัน เพราะฉะนั้นผู้ซื้อที่เป็นมือใหม่ หรือมือเก่า ต้องศึกษาตรงนี้ให้ดีนะครับ ไม่ใช่ว่า อยากใช้ CPU AMD64 แต่ดันไปซื้อ Mainboard ที่ทำมาใส่ Pentium 4 จะเสียเงินไปฟรี ๆ ส่วนการเลือกซื้อ mainboard นั้น ก็ควรที่จะอ่านหาความรู้ใน board นี้ละครับว่าส่วนใหญ่เค้าใช้ยี่ห้ออะไรกัน และความจำเป็นของเราอยู่ในขั้นไหน อย่างเช่น ถ้าอยากเอาไปเพิ่มความสามารถโดยการ Overclock ก็ต้องเลือก Mainboard ที่ทำมาให้ Overclock ได้หน่อย ไม่ใช่เลือก Mainboard ที่เค้าทำมาเพื่อให้เหมาะสมกับงานระดับธรรมดาเป็น mainboard ราคาประหยัดแล้วพอเอามา Overclock ไม่ได้ ก็มาบ่นมาว่า ว่า Mainboard นั้นไม่ดีมั่งไม่ได้มาตราฐานมั่ง เราซื้อมาให้เพียงพอต่อการใช้งานดีกว่าครับ ผมขอยกตัวอย่างนิดนึง อย่างเช่นถ้าเราใช้ CPU AMD Atlhon 2500+ ถ้าเราต้องการเอามา Overclock ก็อาจจะใช้ Abit AN7 Guru ซึ่งราคาประมาณ 3000 กว่า ๆ แต่ถ้าจะเอาไปใช้งานจริงๆ ไม่ได้จะเอาไป Overclock อะไร เราก็อาจจะใช้ Aslock K7VTA 4 Pro ซึ่งราคาประมาณ พันปลาย ๆ แค่นี้คุณก็ประหยัดไป พันกว่าบาทแล้วนะครับ ถ้าหลาย ๆ ชิ้นรวมกันอาจจะประหยัดไปได้ถึง 4-5000 บาท การประกันก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่คุณขาดไปไม่ได้นะ บางร้าน Ram ถูกกว่าร้านอื่น 100-200 บาท ซึ่งคุณเดินดูมานานแสนนานแล้วเห็นร้านนี้ถูกกว่า ก็เลยซื้อที่ร้านนี้ แต่ปรากฏว่ามารู้ทีหลังว่าเป็น Ram ปลอม อย่างงี้มันช้ำใจมั๊ยครับ เดินก็เมื่อย ถูกกว่าแค่ 100-200 แต่ว่าดันเป็น Ram ปลอมเพราะฉะนั้นก็ต้องศึกษาอีกละครับว่า ตัวไหนปลอมตัวไหนจริง หลักง่ายๆ แบบไม่ต้องคิด ก็คือพยายามซื้อ Ram ที่มีประกันกับบริษัทดัง ๆ รับรองว่า เป็นRam แท้แน่นอนครับ แพงกว่า 100-200 แต่ ทำให้คุณสบายใจ และเวลาเสีย ไม่มีปัญหาอีกด้วย ส่วนตัวอื่นๆ ก็ลองศึกษาดูแล้วกันนะครับว่า ควรจะซื้อให้เหมาะกับการใช้งานของตัวเองอย่างไร เช่นใช้เล่นเกมส์ยิงไข่ หรือว่า เล่น Net ดูหนังโดยแทบที่จะไม่ได้เล่นเกมส์ที่ใช้ความสามารถของการ์ดจอ เยอะๆ เลย ก็ซื้อ VGA ซักประมาณ พันกว่าบาทก็พอ แต่ถ้าจะใช้เล่นเกมส์ที่ใช้ความสามารถของ VGA เยอะ ๆ อันนี้ก็ต้องลงทุนกันอีกก้อนนึงละครับ

ฝากข้อคิดไว้อีกนิดนึง

เราไม่ควรตามกระแสให้มากไปเพราะว่าความต้องการและฐานะของแต่ละคนไม่เท่ากันครับ บางคนพอมีพอกิน เครื่องประมาณสัก 20000 ก็ทำให้มีความสุขได้แล้วครบตามความต้องการ แต่ถ้าเป็นพวกไม่รู้จักพอ อะไรเค้าว่าดี เค้าว่าเจ๋ง ก็ต้องไปไขว่คว้ามา โดยที่ตัวเองไม่ได้รู้เลยว่าตัวเองนั้นใช้ Computer ไปแค่ 20-30 % ของความสามารถที่เครื่องให้ได้ คนพวกนี้มีแสนก็หมดแสนครับ แล้วอีกอย่างสำหรับมือใหม่ ตราบใดที่คุณยังไม่รู้ว่า Hardware ที่คุณใช้แต่ละตัวนั้นมีประกันของที่ใด การที่จะไปเดินเช็คทุกร้านว่าอันไหนถูกที่สุดแล้วซื้อมาให้คนรู้จักประกอบ เวลาคอมมีปัญหาทีรู้มั๊ยครับว่าอะไรจะตามคุณมาในกรณีที่ มันเสีย แล้วคนที่ประกอบหรือซื้อให้คุณไม่ว่างมาทำให้ เพราะฉะนั้น ศึกษาร้านที่ซื้อสักนิดนึงว่าร้านไหนดีพอจะให้ คำปรึกษาแก่คุณได้ ของเค้าอาจแพงกว่าชิ้นละ 100 หรือ 200 แต่ว่าเวลาคอมคุณมีปัญหาเค้าเต็มใจและพร้อมที่จะตอบปัญหาของคุณ ดีกว่า ร้านที่ของถูกกว่าแล้วเวลาคุณมีปัญหาแล้วบ่ายเบี่ยงไม่ให้ความช่วยเหลืออะไรคุณเลยแล้วเวลานั้นคุณจะมานั่งเสียใจทีหลังนะครับ

สุดท้ายครับ บอร์ดนี้เหมาะกับทุกคนทุกเพศและทุกวัยที่กำลังศึกษาในเรื่องของ computer ทุกคนที่มีความรู้เค้าพร้อมที่จะตอบคำถามของคุณทั้งนั้นแหละครับถ้าเค้ารู้ถ้าเค้าช่วยได้ สำหรับมือใหม่ที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ ก่อนซื้อเสียเวลามานั่งอ่านที่บอร์ดนี้สักวันละ 15 นาที ประมาณสัก 1 อาทิตย์ผมรับรองว่า คุณจะไม่โดนหลอกแน่ ๆ เวลาที่ไปซื้อของที่พันทิพย์ ฝากข้อคิดไว้แค่นี้นะครับ

http://www.pantip.com/tech/hardware/topic/HP1831341/HP1831341.html

[PANTIP.COM] – อะไรๆก็หันเข้าหามือถือกันหมด

อ่านเจอในเว็บบอร์ดเขียวเลยเอามาให้อ่านกัน http://www.pantip.com/tech/nonpc/topic/NM1811535/NM1811535.html

กล้องดิจิตอล ตอนนี้ก็เอามารวมกับมือถือ ถึงความละเอียดของภาพจะยังต่ำ แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มือถือบางรุ่น ถึงขนาดถ่ายวิดีโอได้ด้วย

pocket PC เดี๋ยวนี้ก็มารวมกับมือถือ กลายเป็น smartphone เก็บได้หมด ทั้ง contact, note, calendar, to do list ดูหนังฟังเพลงได้ด้วย พวก PDA ก็เริ่มหดหายไปทีละน้อยๆ

MP3 player เดี๋ยวนี้มือถือก็เล่นเพลง MP3 กันได้ตั้งหลายรุ่นแล้ว ความจุก็แล้วแต่แผ่น RSD ผมเห็นในตลาดมีขายถึง 512 Mb แล้ว แข่งกับ พวกแฟลชได้สบายๆ อีกเดี๋ยวก็มีแผ่น 1 GB มาขาย

สรุปว่าอีกหน่อยก็คงทำทุกอย่างได้หมดบนมือถือเครื่องเดียว ราคาก็คงถูกกว่าไปซื้ออุปกรณ์แต่ละประเภทมาต่างหาก แต่จะมีใครนึกถึงข้อเสียกันบ้างไหมครับ

ข้อเสียข้อแรก ถึงมือถือจะทำได้ทุกอย่างในอนาคตอันใกล้ แต่ก็คงจะทำหน้าที่แต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก อย่างกล้องถ่ายรูป ถึงจะเพิ่มความละเีอียดขึ้นได้เรื่อยๆ แต่ซูมก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ ส่วนมากก็จะได้แต่ซูมดิจิตอล ซึ่งไม่ใช่ซูมจริง จะเอาซูมจริงๆมาใส่ ขนาดกล้องก็ต้องใหญ่ขึ้น ก็คงจะพกไม่สะดวก แฟลชที่มากับกล้อง ส่วนมากก็ตัวเล็ก ระยะที่จะใช้แฟลชได้ดีอย่างมากก็ไม่เกิน 2-3 ฟุต ซึ่งว่ากันจริงๆก็ใช้ในที่มืดได้ไม่ค่อยดี จะเอาแฟลชดี มีประสิทธิภาพ ก็ต้องหาแบบตัวใหญ่หน่อย ก็เอามาใส่ในกล้องไม่ไหว สรุปว่ากล้องในมือถือมีประโยชน์แค่เป็น snapshot จะเอารูปดีๆ สวยๆ เหมือนกล้องจริงก็คงเป็นไปไม่ได้

Pocket PC ก็เหมือนกัน ถึง smart phone จะทำได้สารพัดยังไง จอก็ยังเล็กอยู่มาก รุ่นที่จอใหญ่ๆ ดูรูป ดูหนัง ได้ง่ายๆ อย่าง O2 หรือ O2 Mini ถ้าต้องพกตลอดเวลาเหมือนมือถือทั่วๆไป ก็จะรู้สึกว่าเทอะทะ ไม่คล่องตัว แล้วถ้าจะเอามาใช้งานจริงๆ อย่าง word excel ฯลฯ ก็จะเห็นว่าจอเล็กเกินกว่าที่จะทำงานได้ง่ายๆเหมือนอย่างในคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ smartphone ส่วนมาก ยังไม่ได้ใช้ stylus ในการใส่ข้อมูล ต้องมาคอยนั่งจิ้มแป้นกด ซึ่งถ้าใช้เป็นเวลานาน ก็จะรู้สึกรำคาญมากเหมือนกัน

ส่วนเครื่องเล่น MP3 นั้น แน่นอน ก็ต้องดูที่คุณภาพเสียงและปริมาณความจุ เรื่องของความจุนี่ ซักวันมือถือก็อาจจะมีความจุเยอะๆได้เหมือน iPod แต่คุณภาพเสียงจะเป็นยังไง คงต้องดูกันต่อไป

ข้อเสียข้อที่สอง ของการรวมอุปกรณ์ต่างๆไว้ในมือถือเพียงอย่างเดียว คือความปลอดภัยของข้อมูล ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเอา address book, เพลง, รูป, ตารางนัดหมาย, ฯลฯ ใส่ไว้ในโทรศัพท์เครื่องเดียวหมด เกิดโทรศัพท์หายขึ้นมา จะทำยังไงกัน บางคนอาจจะบอกว่า ก็ back up ข้อมูลใส่คอมพ์ไว้แล้ว จะต้องกลัวอะไร แต่ในความเป็นจริงนะครับ คนส่วนมากไม่ได้ back up ข้อมูลกันตลอดเวลาอย่างที่ควรจะทำกันหรอก นึกได้เมื่อไหร่ก็ทำเสียทีหนึ่ง เกิดคุณเอาอะไรต่ออะไรใส่ในโทรศัพท์ แล้วลืม back up ซักอาทิตย์นึง แล้วบังเอิญโทรศัพท์หายขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้น และถึงคุณจะ back up ข้อมูลแล้ว แต่คนที่เอาโทรศัพท์คุณไป ก็จะได้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นสารพัด ซึ่งก็มีผลต่อความปลอดภัยของคุณและครอบครัวได้อยู่ดี ในขณะที่ถ้าคุณแยกประเภทของข้อมูลและชนิดของอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลนั้นออกจากกัน คุณจะไม่มีปัญหาปวดหัวแบบนี้ เพราะถ้า MP3 player คุณหาย คุณก็เสียแต่เพลง ถ้าโทรศัพท์คุณหาย คุณก็เสียแต่ address book ถ้า pocket pc คุณหาย คุณก็หายแต่ตารางนัดหมาย (หรืออะไรก็ตามที่อยู่ในนั้น) แต่อย่างน้อย คุณก็ยังมีเบอร์โทรที่คุณจะติดต่อใครต่อใครได้อยู่

ข้อเสียข้อสุดท้ายที่ผมจะพูดถึง (จริงๆมีอีกหลายข้อ) คือจุดอ่อนสำคัญที่สุดของโทรศัพท์ (และอุปกรณ์อิเลคโทรนิคแบบพกพาทั้งหลาย) นั่นก็คือ อายุของแบตเตอรี่ ทุกวันนี้ โทรศัพท์มือถือ ถ้า standby เฉยๆก็อาจจะอยู่ได้หลายวัน แต่ถ้าเริ่มคุย ส่วนมากก็จะอยู่ได้แค่ 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเอาไปดูหนัง ฟังเพลงด้วย แบตโทรศัพท์ของคุณจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ Pocket PC ส่วนมาก ดูหนัง่ได้ 4-6 ชั่วโมง แต่นั่นคือ ไม่ได้เปิด standby ไว้ ถ้าต้อง standby เหมือนโทรศัพท์ ก็คงจะอยู่ไม่ได้นานอย่างนั้น เครื่องเล่น MP3 ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ตราบใดที่บริษัททั้งหลาย ยังคิดค้นแบตที่ใช้งานติดต่อกัน ทั้งดูหนัง ฟังเพลง คุยโทรศัพท์ แล้วยังอยู่ไ้ด้เป็นวันๆละก็ ผมว่าการเอาอุปกรณ์ทั้งหมดนี้มารวมกันก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไรหรอกครับ มีแต่จะรำคาญเปล่าๆ เพราะต้องคอยชาร์จแบตอยู่เรื่อยๆ อาจจะวันละสองสามครั้ง

ก็ฝากไปคิดดูครับ