ปัจจัยที่มีผลต่อราคา Notebook ** ไม่ใช่แค่ spec **

จะเอามาลงทั้งหลายทีแล้ว วันนี้ว่าง ๆ เลยเอามาลงซะเลย …….. จากกระทู้ ใน Pantip.com กล่าวไว้ได้น่าสนใจทีเีดยวหล่ะครับ
ปัจจัยที่มีผลต่อราคา Notebook ** ไม่ใช่แค่ spec **

ขอเสนอข้อมูลให้คนที่กำลังมองๆหา Notebook เพื่อใช้งานได้ดูประกอบการตัดสินใจครับ

จริงๆแล้วเห็นมีหลายกระทู้มากๆๆที่โพสถามว่าจะซื้อรุ่นนี้ดีมั้ย รุ่นไหนดีกว่า อะไรแบบนี้เยอะมาก ถ้าอยากได้คำตอบที่ตรงจริงๆคงต้องบอกความต้องการใช้งานประกอบด้วยละครับ ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ต้องการความสะดวกในการขนย้ายมั้ย, ต้องใช้งานข้องนอกโดยไม่มีปลั๊กเสียบบ่อยๆ, ใช้เล่นเกมส์เป็นหลัก, ใช้เก็บรูปเก็บเพลง, หรือต้องดูดีอวดชาวบ้านได้(สารภาพมานะ!) เพราะจริงๆแล้วเกณฑ์การตัดสินใจนี่คือ เปรียบเทียบ “สิ่งที่ Notebook ทำได้” มันเหมาะสมกับ “วัตถุประสงค์การใช้งาน” ต่างหากล่ะครับ

แต่อย่างแรกที่ต้องจำไว้เลยก็คือ ** ไม่มี Notebook ที่ดีที่สุด หรือว่าเลิศสมบูรณ์ทำได้ทุกอย่างครับ ** ยืนยันอีกที – No Best or Perfect Notebook ในโลก!! โดยเฉพาะถ้าจำกัดงบประมาณมายิ่งเป็นไปไม่ได้เลย แบบที่จะเอา Notebook จอปิ๊งๆ เล่นเกมส์ลื่นๆ แบตอึดๆ บริการดีๆ ทนทาน ประกันนาน แถมต้องเบาๆพกพาง่าย แต่ให้งบมา 40,000 !! จะหาจากไหนล่ะครับ…

ปัจจัยหลักๆที่จะมีผลต่อราคา จริงๆแล้วไม่ใช่ Spec นะครับ โดยเฉพาะความเร็ว CPU จะยิ่งมีผลน้อยมากๆ, Technology ของ Platform หรือ VGA อาจมีผลนิดหน่อย แต่ไม่เยอะขนาดปัจจัยที่จะพูดถึงต่อไปนี้

1. น้ำหนัก: ถ้าอยากได้ Notebook เบาๆพกพาง่ายคงต้องลงทุนหน่อยละครับ ยิ่งเล็กยิ่งเบาก็ยิ่งแพง แถมส่วนใหญ่พวกตัวเล็กนี่จะทำด้วยวัสดุชั้นดีทนทานเพื่อให้เหมาะสมกับ การใช้งานที่เน้นเอาไปไหนต่อไหนด้วยเลยยิ่งแพงใหญ่ ตัวอย่างชัดๆก็พวก Fujitsu, Sony หรือ X series ของ IBM ที่ต้องมี 70,000-80,000 เป็นอย่างน้อยละครับ
2. วัสดุ/ความทนทาน: ดูได้เลยครับ พวก Notebook ไต้หวัน spec สูงๆที่ทุบราคาลงมาได้ก็เพราะประหยัดโดยการใช้วัสดุเกรดธรรมดาๆทั้งนั้น ซึ่งอาจจะมีผลเรื่องความทนทานอย่างละ อีกอันที่เห็นชัดๆก็ความหรูหรานี่แหละ =)
3. การออกแบบ Ergonomic: เคยรู้สึกกันมั้ยครับ ว่า Notebook แพงๆมันมักจะ”เข้ามือ”มากกว่าพวกพื้นๆ โดยจะรู้สึกว่าพิมพ์ถนัดมือกว่า ปุ่มก็อยู่ตำแหน่งที่ถนัดไม่ขัดมือ อันนี้ก็มาจากเรื่องการออกแบบที่คำนึงถึง Ergonomic ให้สะดวกสบายในการใช้งานนี่แหละครับ และแน่นอนว่าเป็นต้นทุนที่ต้องบวกเข้าไปด้วย
4. ประกัน/บริการ: ต้นทุนของการประกันและบริการนี่ไม่ใช่ถูกๆนะครับ ซึ่งทำให้เห็นความแตกต่างของแต่ละยี่ห้อได้เลยเชียวแหละ ประกัน 1 ปีกับ 3 ปีนี่ผิดกันเกือบหมื่นนา
5. ยี่ห้อ: คงจะเถียงไม่ได้นะครับว่าชื่อเสียงของแต่ละยี่ห้อที่สร้างสมมานี่ก็เอามาบวกในราคาทั้งนั้น ส่วนที่คนใช้จะได้รับตรงนี้ก็คงจะเป็นการบ่งบอกฐานะของเจ้าของ และ credit เวลาไป present (มั้ง!)
6. Software: อย่าลืมเชียวนะครับว่า Software แต่ละตัวที่อยู่ใน Notebook ก็มีราคาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น OS (Windows XP Pro กับ XP Home หรือกับ DOS ราคาห่างกันอย่างละหลายพัน), หรือจะเป็น Software อำนวยความสะดวกต่างๆในเครื่อง เช่น Connection Manager, Multimedia Manager หรือ Rescue & Backup พวกนี้เป็นเงินที่เค้ามาเก็บกับเราทั้งนั้น คนไทยมักจะชอบลืมของพวกนี้เพราะแผ่นผีพันธุ์ทิพย์นี่ละ =/

ถ้าเราไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ก็สามารถเลือก Notebook ยี่ห้อหรูๆดูดีมีทุกอย่างพร้อม พกพาสะดวก ไม่ต้องกังวลกับการจัดการในเครื่อง จะได้ใช้งานได้อย่างเต็มที่, แต่ทีนี้ ถ้าเรามีงบจำกัด ก็ยังมีทางเลือกที่จะใช้เครื่อง spec สูงๆเล่นเกมส์ลื่นๆได้ โดย trade off กับการที่อาจจะต้องยอมแบกเครื่องหนักหน่อย, รูปทรงหน้าตาบื้อๆดูไม่หรูแบบของเพื่อน, ต้องเพิ่มความระมัดระวังเวลาขนย้ายอีกนิดถ้าไม่อยากให้ NB จากไปก่อนวัย, ยอมวัดดวงว่า NB จะไม่มีปัญหาหลังจากใช้หมดปีแรก, ลง Software และจัดการเครื่องเองได้ อันนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร อยู่ที่ “วัตถุประสงค์การใช้งาน” ของแต่ละคนที่จะเลือกแล้วละครับ

ขอให้มีความสุข ได้ใช้เครื่องถูกใจ Fit to Propose นะครับ ;)

การชาร์จแบตเตอร์รี่ Li-Ion ที่ถูกต้อง

แบตเตอร์รี่แบบ Li-Ion และรวมถึงแบตฯรุ่นใหม่ Li-Polymer ด้วย นั้นจะ นับรอบการชาร์จ (Cycle) ของแบตฯ ของตัวมันเอง ซึ่งรอบการชาร์จของแบต Li-Ion คือ ชาร์จรวมกันแล้ว 85 – 95 % ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย) ถึงจะนับเป็น 1 รอบ ไม่ใช่จำนวนครั้งในการชาร์จ อย่างที่เข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น คุณชาร์จไปครั้งแรก ใช้ไปแค่ 20% ซึ่งแบตของคุณในตอนนั้นเหลือ 80% คุณก็ชาร์จไฟเข้าไปใหม่ คุณจะสามารถทำอย่างงี้ไป 5 ครั้ง ถึงจะ นับ 1 รอบ การชาร์จ ผมก็อปมาให้ดูจาก Help ของ Notebook IBM ครับ A cycle is defined as each time the battery discharges a total of 85% or more and is recharged it counts as one cycle. ผมใช้ไปสัก 20 – 30% แล้วชาร์จ ทำแบบนี้ไปราว 3 ครั้ง ตัวเลข Cycle จึงขึ้นมา 1 ครับ (แบตบ้าอะไรก็ไม่รู้ นับจำนวน Cycle ตัวเองได้ด้วย) แต่ถ้าเป็นแบต NiCd หรือ NiMH ก็นับจำนวนครั้งที่ชาร์จเลย ดูได้ดังภาพด้านล่างครับ

ดูที่ cycle count นะครับ ผมเสียบแบตเข้าออกไม่ต่ำกว่า 200 รอบแล้ว นับจากใช้ notebook ibm ที่ใช้แบต li-ion มา แต่จำนวน cycle count ยังอยู่ที่ 39 อยู่เลยเพราะว่าผมเอาไปเรียนไม่เท่าไหร่กับใช้แบตบ้าง เสียบแบต บาง ไม่เสียบบ้างครับ

ดูอีกอันนะครับ คงยืนยันได้เป็นอย่างดีครับ ยี่ห้อ ibm คงยืนยันได้ดีนะครับ แถมเป็น li-ion ของ panasonic ที่เป็นฐานการผลิตแบตแบบ oem ใหญ่ให้กับแบตหลายๆ ยี่ห้อรวมทั้ง sony ด้วยครับ ……. ดังภาพด้านล่างสองภาพครับ

คงต้องบอกว่าตัวแบต Li-ion นั้นระหว่าง Notebook หรือ มือถือ นั้นเหมือนกัน ไม่ต้องบอกก็ดูจะรู้ครับเพราะว่ากรรมวิธีไม่ได้แตกต่างกันเลย มันก็แบบเดียวกันครับ นั้นหมายความว่าการนับย่อมเหมือนกันครับ สารประกอบ และธาตุที่เอามาทำแบตนั้นชนิดเดียวกันโครงสร้างเหมือนกัน ทุกส่วนครับ

หลักการทำงานและสารประกอบทางเคมีครับ

Lithium is the lightest metallic element and generates a high voltage vs. the standard hydrogen electrode (i.e. -3.045 V). Early attempts used lithium metal in combination with a transition metal oxide or sulphide (e.g. Li/MoS2 the Molicell) intercalation compound.
These cells, although exhibiting the high energy densities expected, suffered from two main problems, caused mainly by the lithium anode: limited cycle life and poor safety.

The lithium anode caused both the poor safety and limited cycle life. During repeated discharge and charge cycles, the lithium stripping and replatingprocess was not 100% efficient and this created high surface area, particulate lithium which gradually consumes the lithium metal foil anode. The presence of particulate lithium caused increased internal resistance that limits the cycle life.

In addition, and more importantly, the particulate lithium creates major safety problems and renders the cell unsafe.

The Solution
The solution to the so-called ‘lithium metal’ problem was to replace the metal anode with a second intercalation compound which can reversibly intercalate Li+. This material is carbon and this is now used as the active anode material in all commercially available Li-ion cells. Since the anode is carbon, the active material of the cathode must be a compound which already contains Li+ and moreover the Li+ must be easily removed without a change in its molecular (crystal) structure.
There are presently two types of compounds which meet this requirement: these are the layered transition metal oxides LiMO2 (where M = Co, Ni or Mn) – examples include LiCoO2 (lithium cobaltite) and LiNiO2 (lithium nickelite) – and the spinel material LiMn2O4.

The use of LiCoO2, LiNiO2 and mixed compounds of such as LiNi1-xCoxO2 is protected by several patents owned by AEA Technology.
All the major companies which manufacture Li-ion cells have found that LiCoO2 offers superior reversibility, discharge capacity, charge/discharge efficiency and have thus adopted it as the cathode material of choice for small cells used in portable electronics.
As Li-ion cells are charged and discharged Li+ ions are transported between their carbon-based anode and their LiCoO2-based cathode, with electrons exchanged as a result of lithium ion insertion (doping) and of lithium ion extraction (undoping).

During charging, the cathode is undoped (i.e. the lithium is removed), and the anode, which consist of carbon with a layered structure are doped (i.e. lithium ions are inserted).

During discharge (when electrical energy is spontaneously released) lithium is removed from the carbon layers of the anode and inserted into the layers of the cathode compound. When Li-ion cells are first charged, lithium ions are transferred from the layers of the lithium cobaltite to the carbon material which forms the anode.

This is illustrated below.



initial charging
LiCoO2 + 6C –> Li1-xCoO2 + LixC6
Subsequent discharge and charge reactions are then based on the motion of lithium ions between anode and cathode.
discharging
Li1-xCoO2 + LixC <—-> Li1-x+dxCoO2 + Lix-dxC
charging
In order to achieve a high energy density, the capacity of the carbon anode must be as high as possible. To this end, carbon materials with large lithium ion doping capacities are required and the stoichiometric LiC6 lithium-graphite interlated compound composition (corresponding to 372 mA h g-1) were selected.

Anode Technology
At present, there are three kinds of carbon which are used in the anode of Li-ion cells:

Graphite types – highly structured
Coke types – less structured but easily transformed into graphite by heating
Non-graphitizable (hard) carbon types – highly disordered.
Of these carbon types Sony Energytec originally adopted a non-graphitizable (hard) carbon for use in the anode.
In contrast, the other leading Li-ion cell manufacturers such as Sanyo, Matushita (Panasonic) and Japan Storage Battery Co., Ltd. (JSB) have adopted a graphitic type carbon for the anode. Although the stored capacity of both graphite and hard carbon cells is similar, the average discharge voltage of the graphite cell (3.7 V) is slightly higher than for hard carbon (3.6 V). The delivered energy of the graphite technology is therefore higher for the same cell capacity due to its flatter discharge characteristic.
Recently, non-carbon active anode materials consisting of amorphous tin composite oxide (ATCO) materials have been used by Fujifilm Celltec. These materials have advantages in bulk density and reversible specific capacity compared to graphite. However, the major disadvantage with these materials is a large irreversible capacity that has to date limited their successful introduction in to commercial Li-ion products.

อ้างอิง : http://www.agmbat.co.uk/liiontechnology.html

ซึ่งถ้าปิดหรือเปิดเครื่องหรืออุปกรณ์ระหว่างชาร์จนั้นอันไหนได้ผลดีกว่ากัน อันนี้ผมไม่ขอสรุปเพราะว่ายังไม่มีการทดสอบและทดลองที่แน่ชัดครับ อันนี้คงแล้วแต่สะดวกมากกว่าครับ แล้วอีกอย่างถึงแม้แบตเราจะไม่ได้ทำการชาร์จเลยเป็นเวลานานก็ตามแบตก็จะเสื่อมไปเองภายในเวลา 3 – 5 ปีครับ อันเนื่องมากจากการทำงานของสารเคมีภายในที่หมดคุณภาพไปครับ หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของสารประกอบและกรรมวิธีของมันเองมากกว่าครับ อันนี้ผมไม่ขอตอบแน่ชัดเพราะว่ายังไม่มีรายงานใดๆ ออกมาครับจึงสรุปได้ไม่เต็มปากครับ แต่ที่สังเกตก็เป็นเช่นนั้นครับ ใช้ไม่ใช้ก็มีอายุเท่ากันแต่ใช้แล้วเนี่ยมันจะสั้นกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น

  1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
  2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
  3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
  4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุดได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
  5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
  6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
  7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงมากที่สุดในแบตที่ชาร์จใหม่ได้ครับ …………… ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ …………


[Update 22/03/2004 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

[Update 2/12/2006 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

พรีวิว Notebook Centrino ราคาประหยัด IBM R40 2722-JT6

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกคนครับ คราวนี้เอาตัวจริงเสียงจริงมาให้ดูกันครับ จริงๆ ก็ของผมเนี่ยหล่ะครับ ไหนๆ ก็ซื้อมาแล้วก็เอามา Previews ซะเลยเดี่ยวอีกสองสามวันจะเอาผลการทดสอบมาลงครับ เอ้า!! เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

Read more

อย่ามองคนใช้ Computer Notebook แบบนี้เลย

มันน่าแปลกนะ เดี่ยวนี้ใครๆ ก็มองหา Computer Notebook มาใช้งานกันอย่างถ้วนหน้า แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังคงดูถูก หรือมองคนใช้ Computer Notebook ว่าเป็นพวก Hi-So หรือพวกอวดความรวย และซื้อมาเพื่อความเท่

ผมในฐานะคนใช้คนหนึ่งซึ่งใช้มาแล้ว 2 เครื่อง 2 ยี่ห้อ ในเวลาเกือบ 3 ปี บอกได้เลยว่ามันไม่ใช่อย่างที่หลายๆ คนคิดอย่างผมซื้อเพราะว่าเอามาทำงานซะมาก งานในที่นี้คือการทำงานจริงๆ ได้เม็ดเงิน ได้ผลตอบแทนจริงๆ อีกทั้งสะดวกมากๆ ทั้งเรื่องงาน เรื่องเรียนมากมาย แต่ก็อีกหล่ะ มีหลายๆ คนที่ซื้อมาเพราะโก้ ถือไปมันเท่….. อืมมม น่าคิดนะ

แต่วันนี้ขอบ่นเฉพาะพวกชอบมองว่าคนใช้ Computer Notebook ดีกว่าซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่าจะดูถูก หรือมองคนใช้ Computer Notebook อะไรขนาดนั้น คือจริงๆ การใช้นั้นในมุมมองผม มันอยู่ที่งานที่เค้าทำ หรือว่าเค้าใช้งานมากกว่า รวมถึงข้อจำกัดแต่ละคนด้วย

แต่ก่อนจะพูดนั้น ต้องบอกก่อนว่า ไอ้พวกใช้ Computer Notebook แล้วจะเอามาเล่นเกมส์ แนะนำว่าให้ไปซื้อ Computer Desktop ดีกว่า มันได้อะไรมากกว่าในราคาที่เท่ากันมากเลย ซึ่งต้องขอยกตัวอย่างว่า ผมทำงานที่ตึกเรียนเนี่ย แล้วมาทำงานต่อที่หอ หรือผมกลับบ้านที่นครสวรรค์ (ผมเรียน ม.นเรศวร ที่พิษณุโลก) ผมไม่ต้องแบก Computer Desktop กลับไปกลับมาทำไม ผมไปไหนผมก็ทำงานได้ เขียนโปรแกรม อ่าน eBook หรือ เช็คเมลได้ (ตอนนี้มือถือ GPRS เสียเลยไม่ได้ใช้แต่รอซื้อมือถือใหม่ก่อน) ผมมองว่าชี้วิตที่มันได้ทำงานไปด้วย Relax ไปด้วยมันสุดยอดมาก การทำงานไม่ใช่อยู่ที่ห้องทำงาน แต่อยู่ที่ว่าคุณจะทำงานให้ออกมาอย่างไร และใส่ไอเดียในงานได้อย่างไร ให้มันมีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ผมชอบสไตร์นี้มากกว่า

ซึ่งคนอื่นๆ อาจจะไม่คิดแบบผม ซึ่งในความคิดผม การมี Computer Notebook มันไม่ได้เท่อะไรเลย แถม…… แบกไปๆ มาๆ หนักอีกต่างหาก อีกอย่างกระเป๋าใบใหม่ของผม Targus Sport Deluxe Computer Backpack ที่สุดแสนจะใหญ่โตเท่าบ้าน(ของหมาตัวเล็กๆ) แต่เต็มไปด้วยความปลอดภัยต่อ Computer Notebook แล้วเนี่ยมันก็คงน่าคุ้มดีอยู่นะ แล้วอีกอย่างคือมันต้องแบกสายไฟ อีกจำนวนหนึ่งไปด้วยเช่น IBM Power Outlet, MS IntelliMouse Optical, Line phone, Line LAN, ฯลฯ อีกเล็กน้อย นี่ยังไม่รวมพวกเอกสารอีกจำนวนหนึ่ง และหนังสือเรียน หรือเอากลับบ้านไปทำงานที่บ้านอีก รวมๆ น้ำหนักกันแล้วก็เกือบๆ 6 – 7 กิโลกรัมที่มันอยู่ที่หลังของเรา

ในกระเป๋า Backpack สุดเท่ (ไปหมด ตรูหนักโว้ยยยยยย) ….. ซึ่งผมว่าผมเดินทางตัวเปล่าๆ เท่กว่าอีกนะผมว่า อีกอย่างคือที่ที่ผมอยู่ หอ นั้หล่ะ ก็ไม่ใหญ่มา โต๊ะหนังสือห้องอะไรมันก็เล็ก มันไม่มีห้องทำงานแบบที่บ้านผม ที่ใส่ Computer Desktop + Printer + Scanner + โต๊ะทำงานขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งหมดมันกินพื้นที่กว่าครึ่งห้องของห้องทำงานไปแล้ว (ผมใช้ห้องทำงานเปลื้องมาก) ……
ซึ่งเครื่อง Computer Desktop ที่อยู่ที่บ้านในตอนนี้กลายเป็นเครื่อง Backup Files ต่างๆ ของ Computer Notebook ของผมไปซะแล้ว และเอาไว้ลองของพวกโปรแกรมใหม่ๆ หรือว่าพวกโปรแกรม demo ต่างๆ เพราะว่าไม่ได้ใช้งานมากไปกว่าเอามาเปิดเพลง หรือไว้ทำระบบ Server ต่างๆกลายเป็นที่ลองวิชาไปซะแล้ว ซึ่งเครื่องตัวนี้คือ P3 667Mhz Ram 512 H/D40GB ก็ไม่ถึงกับเร็วมากในปัจจุบัน แต่ว่ามัน run Windows XP ได้อย่างสบาย ทำงานได้ทุกอย่างที่ควรจะทำได้

ซึ่งผมคิดว่ามันคงรับใช้ผมไปได้อีกนาน สักอีก 2 – 3 ปี เอาไว้ลองเอาไว้เล่น หรือเอาไว้ให้ แม่ ผมหรือน้องผมทำงาน + เล่นเกมส์ ซึ่งในตอนนี้ทำให้ผมทำงานบน Notebook ผมมากกว่าเครื่องทุกเครื่องที่ผมมีมาซะอีก ซึ่ง IBM ThinkPad นั้นไม่เคยงอแง เลย รวมทั้ง การ Support On-Site ของ IBM ที่สุดยอดมาก …… ผมยอมรับเลย และจะขอใช้ยี่ห้อนี้ต่อไปถ้ายังไม่เปลี่ยนการ Support ไปเป็นแบบ Carry-In ซะก่อน อีกทั้งการ Support ด้าน Warranty และการตอบคำถามด้าน Technic ทีดีเยี่ยมขอชมเลย เพราะใช้บริการหลายครั้งทั้ง เรื่องการติดขัดทางด้าน Wireless และ อุปกรณ์ modem เสีย ด้วย

มาเข้าเรื่องต่อดีกว่า คือในความเป็นจริงแล้ว คนที่จะซื้อมาใช้ในปัจจุบันน่าจะแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มgเน้นทำงานจริงๆ เป็นหลัก เน้นโดยเฉพาะ อันนี้กลุ่มนนี้มีมานานแล้ว …. และก็ยังคงมีต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเงินพอในการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านนี้มากกว่า และเข้าใจว่าควรซื้อ หรือไม่ซื้อะไรบ้างในตอนนั้น (วัยทำงานน่ะ ยังไงก็เข้าใจการใช้เงินได้ดีกว่าวัยรุ่นอยางผมหล่ะ) 2. กลุ่มเน้นความบันเทิง อันนี้เป็นกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเกิดมาได้สักพักพวกนี้จะเน้นทุกอย่างที่สร้างความบันเทิงได้ คือกลุ่มนี้ไม่ขอวิจารน์มากนะ (เดี่ยวโดนด่าว่าไปยุ่งกับกระเป๋าตังเค้า) เพราะว่ามันเงินเค้า แต่ว่ากลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเข้าใจผิดว่า notebook คือ desktop แบบพกพาได้ซึ่งในความจริงแล้วมันต่างกัน และมักเข้าใจว่ามัน upgrade กันได้ง่ายๆ ใช้งานไม่ถนอมก็เยอะซึ่งทำให้กลุ่มนี้ใช้งานกันไม่เต็มที่ซะส่วนใหญ่ 3. กลุ่มก่ำกึ่ง คือได้ทำงานและความบันเทิงไปด้วยแต่จะเน้นความบันเทิง (คือพวกค้นหาตัวเองไม่เจอ) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มาแรง และได้ยอดขายมากที่สุด เพราะอะไรกลุ่มที่ 3 มันถึงได้มาแรง เพราะว่าเป็นเหมือนกันกลุ่มคนที่เข้ามือใหม่อยากได้ Notebook ครับ แต่ไม่ได้ศึกษาว่าจะเอามาทำงาน หรือว่าเพื่อความบันเทิง แต่ส่วนมากแล้วทุกคนก็ทำทั้งสองอย่างอยู่แล้วใน Desktop แต่ว่าทำไมผมแบ่งมันออกมา มันคือเป็นกลุ่มที่เป็นตลาดใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะว่าในอดีต คนที่จะซื้อ Notebook มาใช้นั้นต้องเอามาทำงานกันซะมาก เพราะว่าราคาค่าตัวมันแพงกว่าชาวบ้านเค้ามาก คือหลักแสนน่ะครับ และมีเลือกรุ่นได้น้อยด้วย แต่ว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไปมันก็เลยถูกลงจนคนที่ไม่ได้เอาไว้ทำงานจับต้องได้(บ้าง) ทำให้ผู้ผลิตต่าๆง หันมาเอาใจคนกลุ่มนี้มากขึ้น ใส่ spec ให้ดูดี(มีชาติตระกูล) ลงไป แต่ก็มีหลายๆ ยี่ห้อไม่ตามกระแส เพราะว่าต้นทุน Notebook ที่สูง และทำกำไรได้มากด้วย ทำให้จะลงมาสู้ทำไม เพราะว่ามันคืออู่ข้าวอู่น้ำของพวก Brand ต่างๆ มานานมากเพราะว่า Desktop โดนกลุ่มพวกเครื่องประกอบ และพวก LocalBrand ตีหมดแล้ว จริงไหม พวก Brand ดังๆ เลยต้องกลับลำให้ราคาคงตัวจะมีไม่กี่ยี่ห้อที่ลงมาสู้แต่ก็พับเสื่อหนีหรือต้องกลับมาที่เดิมเพราะต้นทุนที่สูงมากเช่นนี้คงได้เจ็งแน่นอน

ซึ่งจากที่ได้กล่าวมาย่อหน้าที่แล้วนะ จะเห็นว่าทำไมถึงสาเหตุที่ว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่สมัยนี้ หรือนักศึกษาทั่วไป ซึ่งส่วนมากที่ไม่มีความจำเป็นในการซื้อใช้มากนัก และก็อีกส่วนที่ควรจะซื้อมาใช้แต่ดันไม่ซื้อ (เอากับมันดิ) ถึงได้ซื้อหามาใช้กันเพื่อนอวด หรือโชว์สาว (เรื่องจริงเจอมากับตัว 555 ) ตัดสินใจซื้อ Notebook มาเพื่อนสนองความต้องการ ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาหลายๆ ข้อก่อนหน้านี้กันมากขึ้น ทั้งๆ ที่ไม่ได้ศึกษาก่อนว่ามันมี ข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำให้เกิดปรากฎการณ์ด้านการขายออกเป็นของมือสองออกมามากมายในระยะหนึ่งที่ผ่านมา คือกลายเป็นว่าคนซื้อด่าคนขายว่า “หลอกขายของ” คนขายก็ปวดหัวคิดในใจประมาณว่า “ไม่ศึกษาก่อนซื้อฟร่ะ” กลายเป็นผลเสียต่อทั้งสองฝ่าย คนขายก็เสียชื้อ คนซื้อก็เสียเงิน (+ อารมณ์) แถมเสียดุลการค้าด้วย (เอาเข้าไปตรู) …..

ซึ่งหลายๆ คนก็รอให้เทคโนโลยีด้าน Notebook ใหม่ๆ มาก่อน ซึ่งมันก็มีของใหม่มาเรื่อยๆ ไม่ว่าคุณจะซื้อ Desktop หรือ Notebook พวกนี้มันคือสินค้าเทคโนโลยีครับ สักวันคุณก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ไม่ต้องรอมันหรอก พวก เทคโนโลยีใหม่ๆ น่ะ ถ้าจำเป็นก็ซื้อเหอะ มันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะรอหรอกครับ แต่ว่าซื้อไม่ต้อง Over มาก เอาที่คิดว่าคุ้มค่ากับการใช้งาน พอสมควรก็พอ ไม่ต้องบ้าตามมันมาก เพราะว่ามันเปลี่ยนรุ่นเปลี่ยนเทคโนโลยีกันทุก ครึ่งปีอยู่แล้ว คือตอนนี้ซื้อมาไม่ต้องหวัง Upgrade กันหล่ะ เพราะว่าไม่คุ้มกันอยู่แล้วในตอนนี้ (ก็คุณท่านเล่นเปลี่ยนรูปแบบระบบซะทุกปี ใครจะไปนั่งตามหล่ะครับ)

สุดท้าย บ่นมาก็มาก อยากให้มองว่าคนซื้อ Notebook บางส่วนซื้อมาสนองความต้องการด้านการใช้งาน เรื่องการทำงานซะมากกว่าด้านความบันเทิงครับ ซึ่งที่ซื้อมากกว่า 70% นั้นเอามาทำงาน หรือเรียน (เอามาเรียนจริงๆนะ) แน่นอน และก็มีส่วนหนึ่งที่เอามาทำเท่ (เดี่ยวจะรู้ว่านรกมีจริงถ้ามันหมดประกัน หรือทำพัง 555) แต่มีส่วนน้อยที่เอามาทำเท่อวดสาว ….. อย่ามองคนใช้ Notebook แบบนั้นเลย ……

แนะนำการเลือกซื้อ Notebook

        ในปัจจุบันการใช้งานคอมพิวเตอร์เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการพกพามากขึ้นสามารถนำเครื่องไปไหนมาไหนได้ และทำงานได้ทุกทีที่มีโอกาสทำให้ชีวิตการทำงานไม่ได้อยู่ที่ ที่ทำงานอีกต่อไป แต่มันอยู่ที่มือเราแล้ว นั้นคือ แลปทอป หรือ โน้ตบุ๊ก นั้นเอง ซึ่งก่อนที่จะทำการนำมาใช้หรือซื้อหามาทำงานของเราให้ราบเรียบและสมำเสมอ นั้น ควรจะรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับมัน เรามาดูกันกับบทความตอนที่ หนึ่ง ของเราครับ ซึ่งได้นำมาให้ท่านๆ ได้อ่านกัน หลังจากไม่ได้ปรับปรุงเนื้อหา มานานครับผม โดยได้ทำการค้นคว้าจากที่ต่างๆ มาให้ท่านๆ ได้รับรู้อะไรมากมาย ลึกๆ ของ แลปทอป หรือโน้ตบุ๊ก ครับผม

1. สมรรถนะที่ไม่แพ้เดสก์ทอป
        หมดสมัยแล้วที่ยุคของโน้ตบุ๊กที่เราต้องทำงานด้วยความขมขื่น กับความเร็วที่เป็นรองเดสก์ทอปอยู่มาก ราคาแพง จนทำให้ไม่สามารถใช้ได้อย่างลื่นไหลเหมือนที่คุ้นเคย จนทำให้หลายๆ คนรู้สึกว่าเมื่อคิดถึงราคาแล้วยังบอกว่า สมรรถนะโน้ตบุ๊กยังเป็นอะไรที่ห่างไกลเหลือเกินจนปัจจุบันเมื่อเข้าสู่ยุคของโมบาย เซลเลอรอน , เพนเทียมทรี และ เพนเทียม โพ ทั้งมี m และไม่ m ( ที่มี m คือรุ่นที่มี cache L2 ที่ 512kb ครับ ไม่ใช่ ย่อมาจาก mobile ซึ่งถ้าจะดูว่าเป็น mobile หรือไม่นั้น ต้องดูที่คุณสมบัติ speedstep ครับ ซึ่งมีใน cpu mobeil เท่านั้นใน cpu desktop นั้นจะไม่มี ) ของ อินเทล และ ดูรอน , เอ็ทร่อน ของ เอเอ็มดี (ที่มี power now ในการประหยัดพลังงาน) ครูโซล ของ ทรานซมิสต้า (ที่ผลิต cpu แบบ mobile โดยเฉพาะ) ซึ่งปัญหาทั้งหมดจะถูกแก้ไปหมดแล้ว เราจะได้โน้ตบุ๊กที่มีคุณสมบัติที่ระดับ 800 MHz ขึ้นมา แรม ตั้งแต่ 128 Mb ขึ้นมา และ H/D 10Gb ในราคา ราวๆ 40,000 ขึ้นไป ซึ่งเพียงพอแก่การใช้งานตามปกติ เช่น การใช้ใน Windows XP กับชุด Office มั้งหมด ของ Microsoft และโปรแกรมทางด้าน อินเตอร์เน็ตต่างๆ ได้อย่างดี ในขณะที่รุ่นที่ดีขึ้นมาอีก ในระดับ 60,000 ขึ้นมา ก็จะได้ในระดับ 1.x Ghz ขึ้นมากได้ไม่ยากนัก ทั้งของ อินเทล , เอเอ็มดี และ ทรานซมิสต้า ซึ่งแรมจะได้ในระดับ 256 Mb ขึ้นมา H/D 20Gb ถึง 40Gb และยังได้หน้าจอที่ใหญ่มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสามารถ ทำงานบนระบบดีมีในปัจจุบันได้อย่างไม่มีการสุดุดเลยทีเดียว ทั้งการใช้ในด้านกราฟฟิกชั้นสูง การคำนวนด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ งานวิจัย ฯลฯ แต่ถึงแม้ว่าดีไซน์ของซีพียูและเมนบอร์ด จะออปติไมซ์สมรรถนะมาให้สมดุลกันระหว่างความเร็วและความร้อน และยังรวมไปถึงการใช้พลังงานแบตฯ จนทำให้สมรรถนะอาจไม่เท่าเดสทอปที่มีเสปกเดียวกัน แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงมาก จนเรียกว่า ในรุ่นทอปของโน้ตบุ๊กบางตัวนั้นสามารถทำงานได้เทียบกับเดสก์ทอปที่มีความเร็วเท่ากันได้อย่างสบาย

สรุป : ด้วยกำลังของ ซีพียูในปัจจุบันนั้น สามารถทำให้งานต่างๆ ที่เคยทำยากๆ ทำได้ง่ายๆ มากขึ้นมาและยังคงสภาพความเสถียรภาพต่างๆ ไว้อย่างดีอีกด้วย

2. ราคาไม่โอเวอร์ สมเหตุสมผล
        ประเด็นสำคัญอีกส่วนที่ทำให้โน้ตบุ๊กมีความน่าใช้อย่างมากในปัจจุบัน ก็คือเรื่องของราคาที่ลดต่ำลงมาอย่างมาก วันนี้เราไม่เห็นโน้ตบุ๊กราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 8-9,0000 บาทไปจนถึงรุ่นท็อปที่ราคาระดับ สาม ถึง สี่แสน บาท เหมือนเมื่อหลายๆ ปีก่อน (ปี 2541) ปัจจุบัน ราคานั้นเริ่มที่ 35,000 บาทขึ้นมา (ไม่นับรวม DeskNote ซึ่งในที่นี้ไม่กล่าวถึงแต่อย่างใดแต่จะกล่าวแต่ โน้ตบุ๊ก หรือแลปทอป อย่างเดียว ) ส่วนรุ่นที่มีราคาและประสิทธิภาพที่ดีและคุ้มนั้นอยู่ที่ 50,000 – 65,000 ขึ้นมา ซึ่งแพงกว่าเครื่องเดสก์ทอป แบบ อินเตอร์แบรนไม่มาก นั้นในขณะที่รุ่นที่แพงที่สุดจะอยู่ที่ 180,000 – 200,000 บาทซึ่งก็จะได้ความสามารถอีกหลายอย่างที่เหนือ แต่จะได้เปรียบเรื่องขนาดที่เล็ก และเบามาก การเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก นั้นหลายคนอาจคิดเปรียบเทียบกับราคาของเดสก์ทอปว่ายังคงต่างกันมากอยู่ จริงอยู่ที่ในงานประมาณเท่ากันการซื้อโน้ตบุ๊กหนึ่งเครื่องอาจจะได้เครื่องเดสก์ทอป ที่มีสเปกเท่ากันได้ถึงสองเครื่อง แต่ถ้ามองในมุมกลับในแง่ข้อได้เปรียบในด้านความสะดวก ในการเคลื่อนย้าย ไปที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกและทำงานอย่างไม่ต้องหยุดแม้จะอยู่นอกที่ทำงานอีกด้วย แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการรับประกันที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงให้มาก โดยส่วนมากนั้น ที่แนะนำคือการรับประกันทั่วโลกจะดีกว่า ซึ่งต้องมองให้ลึกมากๆ ว่า ถ้าศูนย์ในไทย หรือที่ใดๆ ในโลกนั้นที่ท่านอยู่ ไม่ดี หรือบริการไม่ค่อยประทับใจก็สามารถใช้บริการจากประเทศใกล้เคียงได้อย่างดีครับ ซึ่ง ในไทยอาจจะไม่ดี แต่ถ้าไปที่ มาเลเซีย หรือสิงค์โปร์ อาจจะดีกว่า ซึ่งต้องคิดให้มากครับผม อันนี้เป็นวิธีที่ดีนะครับ ในความคิดของผม แต่อาจจะหนักในเรื่องการเดินทาง แต่ว่า ก็คงคุ้มถ้าท่านจะต้องเสียความรู้สึกหรือว่าเสียเงินเป็นจำนวนมากกับการซื้อ โน้ตบุ๊กครึ่งแสนแล้วได้บริการอะไรๆที่ไม่ดีเอาเสียเลย ใช้ การรับประกันแบบทั่วโลกให้คุ้มครับผม

สรุป : การซื้อโน้ตบุ๊กในตอนนี้สมควรจะได้รับการบิการที่ดีมาก่อน ราคา ถ้าราคาแพงมากแต่บริการหลังการขายห่วยหรือไม่ดี ก็คงเสียอารมณ์กับการที่ซื้อมาแพง กว่าครึ่งแสนแต่ว่า ได้รับบริการที่ไม่ดีสมราคาที่จ่ายไป ส่วนอีกประการหนึ่งคือเรื่องการนำไปใช้ถ้าท่านใช้เพียงแค่พิมพิมพ์งานหรือเล่เน็ตไม่สนเกมส์ มากมายนั้นควรเลือกรุ่นที่มีจอที่ปานกลาง ประมาณ 13.3 – 14.1 ก็พอเพราะว่าจะแพงเกินใช่เหตุครับ รวมทั้ง ความเร็วต่างๆ นั้นควรจะดูให้สมแก่ เงินในประเป๋าให้มากครับ ซึ่งความเร็วที่น่าซื้อในตอนนี้ ( 29/05/45 ) คือประมาณ 950 – 1.2 Ghz ครับ กำลังดีสำหรับคนที่ต้องการระดับธรรมดา ครับ ในราคาที่เริ่มต้นที่ 40,000 ครับ แต่ในระดับปานกลาง ก็คงเริ่มที่ความเร็ว ที่ 1.2 Ghz ครับผม ซึ่งในระดับสูงคงไม่พูดถึงครับเพราะว่า คงจะนึกกันได้ครับ แต่ว่าต้องพูดถึงแรมนั้น ผมแนะนำ ว่า ถ้าใช้ windows xp สมควรจะอยู่ที่ 128 ขึ้นแต่ว่าในระดับ ความจุแรมเพียงแค่นี้คงทำอะไรพอสมควรแต่ว่าต้องการความคล่องตัวมาก ผมแนะนำให้อยู่ที่ 256 Mb ขึ้นไปนะครับ จะดีมาก สำหรับ H/D นั้น ในส่วนนี้ถ้าท่านไม่มี เดสก์ทอป อยู่ผมว่าควรอยู่ที่ 20GB ขึ้นไปครับ แต่ถ้ามีอยู่แล้ว ผมว่าแค่ 10Gb ก็คงพอแก่การต้องการครับผม และในเรื่อง cd rom นั้น ผมว่าถ้าต้องการใช้ dvd ก็ดีครับ แต่ว่าในความคิดของคนที่ใช้มานานพอสมควร ผมว่า cd rom 24x ธรรมดาก็คงพอครับผม ไม่ต้องเอา dvd หรือ cd rw หรอกครับ เพราะว่าทำให้เปลื้องไฟมากกว่าครับ (แต่ถ้าท่านมี เดสก์ทอป ผมว่าเอา cd rw หรือ dvd มาใส่ เดสก์ทอปแทนยังถูกกว่า ครึ่งต่อครึ่งเลยครับ)

3. จอภาพที่ใหญ่ขึ้นมาก ดูง่ายและสบายตา
        หนึ่งในคุณสมบัติที่เด่นมากของโน้ตบุ๊กก็คือการใช้จอภาพแบบ LCD ซึ่งมีความเด่นกว่าของ CRT ที่ใช้ในเดสก์ทอป ในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเบากว่า ไม่มีการซ้อนกันของสี ความนิ่งและนวลของภาพที่เหนือกว่า นอกจากนั้นยังไม่มีรังสีแผ่ออกมาทำลายสายตาของคุณอีกด้วย ในอดีตจอภาพของโน้ตบุ๊กนั้นยังใช้แบบ Passive (จอที่ไม่ได้ใช้แสงจากตัวเองแต่ใช้แสงจากแสงแบคไลท์ด้านหลังหรือด้านข้างแทน ) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่ในเรื่องจอความสว่างและการแสดงผลในหลายๆ มุมทำได้ไม่ได้เราพบว่าเวลาใช้จะต้องประบจอภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดีถึงจะมองภาพได้ชัดเจน แต่ปัจจุบันหลังจากที่โน้ตบุ๊กเกือบทั้งหมดเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานใหม่ที่เป็น Active Matrix TFT ทำให้การแสดงผลสว่างมากกว่าเดิมอย่างไม่น่าเชื่อในรุ่นใหม่บางรุ่นนั้นแสดงผลได้คมและชัดกว่าจอแบบ CRT ในขณะเดียวกันเมื่อผลิตออกมามากราคาของจอเหล่านี้ก็จะถูกลง และทำให้มาตรฐานจอโน้ตบุ๊กในปัจจุบันจึงถือว่าดีกว่ามากทีเดียว และเหมาะแก่การใช้งานในส่วนของขนาดความกว้างของจอภาพนั้น ในอดีตมีของจำกัดมากมาย แต่ปัจจุบันไม่เป็นผลมากนัก การเลือก ควรเลือกตั้งแต่ 12.1″ ซึ่งสำหรับโน้ตบุ๊กที่ต้องการพกพา และ 13.3 ” – 14.1″ สำหรับ โน้ตบุ๊กที่อยู่ในกลุ่มระดับกลาง ส่วนระดับ 15 ” นั้นสำหรับ กลุ่มบนหรือกลุ่มที่ต้องการนำมาแทน เดสก์ทอปอย่างสมบูรณ์ และการใช้งานที่ทดแทนกันได้ให้มากที่สุด

สรุป : การเลือกจอในปัจจุบัน ควรเลือกที่ TFT เพราะว่าถูกลงมากและข้อดีต่างๆ ที่มีมากเกินกว่าที่จะไม่นำมาใช้ รวมทั้งขนาดจอที่ควรจะอยู่ที่ 13.3 – 14.1 ซึ่งกำลังดีในระดับเงินที่จ่ายไปได้คุ้มค่า

        ซึ่งในปัจจุบันการใช้งานคอมพิวเตอร์เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการพกพามากขึ้นสามารถนำเครื่องไปไหนมาไหนได้ และทำงานได้ทุกทีที่มีโอกาสทำให้ชีวิตการทำงานไม่ได้อยู่ที่ ที่ทำงานอีกต่อไป แต่มันอยู่ที่มือเราแล้ว นั้นคือ แลปทอป หรือ โน้ตบุ๊ก นั้นเอง ซึ่งก่อนที่จะทำการนำมาใช้หรือซื้อหามาทำงานของเราให้ราบเรียบและสมำเสมอ นั้น ควรจะรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับมัน เรามาดูกันกับบทความตอนที่ หนึ่ง ของเราครับ ซึ่งได้นำมาให้ท่านๆ ได้อ่านกัน หลังจากไม่ได้ปรับปรุงเนื้อหา มานานครับผม โดยได้ทำการค้นคว้าจากที่ต่างๆ มาให้ท่านๆ ได้รับรู้อะไรมากมาย ลึกๆ ของ แลปทอป หรือโน้ตบุ๊ก ครับผม ซึ่งตอนนี้เป็นตอนที่สองนะครับ ตอนที่สามจะตามาทีหลังครับ ผม อยากอ่านตอนที่ หนึ่งที่นี่ครับ

5. เบา สะดวก ประหยัดพื้นที่ และเงิน
        เรื่องของน้ำหนัก และความสะดวกในการพกพานั้นไม่ต้องสงสัยว่าโน้ตบุ๊กนั้นมีข้อได้เปรียบเดสก์ทอปอย่างไม่ต้องสงสัยอยู่แล้ว ซึ่งคงต้องกล่าวถึง การพกพาแน่นอนแต่ถึงแม้จะไม่สะดวกเท่า PDA แต่ก็การตอบสนองต่องานที่ทำนั้นดีกว่ามาก
        นอกจากนั้นแล้วยังช่วยประหยัดในกรณีที่ คุณไม่จำเป็นต้องซื้อเดสก์ทอปเผื่อไว้ในที่ต่างๆ หรือคนที่ต้องย้ายที่ทำงานบ่อยๆ ก็จะหมดปัญหาในการทำงานได้ดีอีกด้วยหรือ การนำข้อมูลไปประชุม แล้กสนพรีเซนสิ่งต่างๆ ในที่ประชุมก็จะสะดวกมากขึ้น และทำให้เราดำเนินงานได้อย่างราบลื่นมากขึ้น

สรุป : ความคุ้มค่าในระยะยาวแล้ว การซื้อโน้ตบุ๊กอาจเป็นการลงทุนที่สูงแต่ว่าคุ้มค่าในการใช้ในอนาคตมากกว่าเดสก์ทอปอย่างมาก

6. Windows XP
        สำหรับในอดีตนั้น ผู้ใช้โน้ตบุ๊กนั้นอาจจะพอใจในการใช้ Windows 9X , Me หรือที่สามารถตอบสนองได้ดีไม่แพ้กันคือ Windows 2000 Professional แต่ก็ยังอาจจะติดที่เรื่องที่ว่ารักพี่เสียดายน้อง เพราะว่ากลุ่มแรกนั้นดีที่การทำงานที่ง่ายและเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยากมาก และระบบในการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ดีกว่า Windows 2000 Professoional แต่ว่า ความเสถียรภาพน้อยกว่าพอสมควรซึ่งทำให้ Windows XP เป็นคำตอบในปัจจุบัน
        ทำไม Windows XP คือคำตอบ นั้นเรามาดูกันว่าทำไม ครับ เรพาะว่าการที่รวมกันระหว่างการทำงานที่มีความเสถียรภาพและมีความง่ายของ Windows me เข้าด้วยรวมกับ Windows 2000 ทำให้เกิด Xp ขึ้นมา ซึ่งใน xp นั้นมีคุณสมบัติ Hibernate มาแล้ว ซึ่งมีตั้งแต่ Windows me มาแล้วแต่ว่าใน รุ่นนี้ได้ทำการปรับให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นและยังทำให้เราทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้อง save งานหรือหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อนปิดเครื่องให้หมดเมื่อแบตฯ จะหมดแล้วนั้นเอง และอีกเรื่องก็คือระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิมซึ่งจะไม่ยอมให้คนที่ไม่มีรหัสเข้าระบบแต่อย่างใด ซึ่งดีสำหรับคนที่เอาเครื่องออกไปข้างนอกบ่อยๆ และไม่ต้องการให้ใครมายุ่งกับเครื่องของตนให้มากมายนั้นเอง

สรุป : การใช้ Windows xp อาจจะเหมาะกับเครื่องรุ่นใหม่ๆ เท่านั้น กรุณาสอบถามผู้ที่จำหน่ายท่านว่าทำได้หรือไม่ เพราะว่า ไม่เช่นนั้นท่านจะหา driver ไม่ได้อาจทำให้เสียอารมณ์ได้นะครับ แต่อีกสิ่งหนึ่งคือความเหนียวของระบบ ที่แฮงได้ยากมาก อันนี้ต้องยอมรับครับผม

7. การอัพเกรดไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกับ แลปทอป หรือ โน้ตบุ๊ก
        หนึ่งในประเด็นที่ทำให้โน้ตบุ๊กยังคงไม่เป็นที่นิยมก็คือการอัพเกรดนั้นเองซึ่งทำได้เพียงไม่กี่อย่างเช่น H/D , Ram , Batt หรืออย่างอื่นอีกเล็กน้อย ซึ่งแล้วแต่ เครื่องแล้วแต่รุ่นครับ
        ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีนั้นไปไกลมากกและไปเร็วมาเร็ว ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การปรับปรุงสถาปัตยกรรม ของ cpu ของเดสก์ทอปซึ่งเร็วมากกว่าความจำเป็นที่ต้องใช้นั้นเอง ซึ่งบางครั้งต้องมีการเปลี่ยน M/B มาให้ใช้กับตัวใหม่ๆ หรือบางครั้งต้องรวมไปถึง แรม อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้จะเปลี่ยนที ต้องเปลี่ยนตั้งแต่ cpu , m/b , ram กันเลยทีเดียวหรือบางเครื่องที่ล้าสมัยมากๆ อาจยกเครื่องเลยก็มี ซึ่งก็คล้ายๆ กับการซื้อใหม่นั้นเอง ซึ่งคงไม่มีใครบ้าขนาดใช้เครื่อง 3 เดือนอัพเกรดกันเพราะต้องการตามเทคโนโลยีซึ่งทำให้สิ้นเปลี้ยงไปมากกว่าเก่ามาก
        ในปัจจุบันนั้นราคาของโน้ตบุ๊กนั้นเริ่มต้นราคาไม่ห่างจากเดสก์ทอปมากนัก ไม่เหมือนสามปีที่แล้วหรือ สี่ ห้าปี ในแง่ของการทำงานนั้นทำงานได้ดี แต่ว่าในราคาเริ่มต้นนั้นอาจจะแพงกว่าเดสก์ทอป แต่ความสะดวกและความคุ้มค่าในระยะยาวนั้นมีมากกว่าและน่าสนใจกว่า ซึ่งการอัพเกรดนั้นคงไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไปไม่ว่าจะเป็น เดสก์ทอปหรือ โน้ตบุ๊ก อีกต่อไปเพราะว่าค่า อัพเกรดนั้น กับการซื้อใหม่ราคาจะไม่ห่างกันมากอีกต่อไปนั้นเอง

สรุป : ปัจจุบันนั้นการอัพเกรดนั้นคงไม่ต้องพูดกันมากเพราะว่าเทคโนโลยีที่มากเร็วมาก และไปเร็วมากให้เครื่องที่ดีที่สุดในตอนนี้อาจกลายเป็นรุ่นพื้นฐานในอีก 1 – 2 เดือนข้างหน้าและอาจจะหมดทางในการปรับปรุงสเปกให้ดีกว่าเก่าได้เพียงบางส่วนซึ่งอาจจะมีราคาเท่าๆ กับการซื้อใหม่เลยก็ได้

8. ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเน็ต ความบันเทิงเกินขีดจำกัด !!!
        ในวันนี้การหาความบันเทิงจากเครื่องเดสก์ทอปได้มากมาย แล้วใน โน้ตบุ๊กจะทำไม่ได้เลยเหรอ คำตอบคือทำได้ครับ ทำได้ดีอีกด้วยและบางอย่างทำได้ดีมากกว่าด้วยในบางครั้ง ซึ่งส่วนที่ เดสก์ทอปทำได้ดีกว่า แน่นอนคือ เกมส์ ต่างๆ เพราะว่า โน้ตบุ๊กผลิตออกมาเพื่อการทำงานที่ต้องการความสะดวกนอกสถานที่และส่วนมากจะไม่ค่อยยุ่งในด้านการประมวลผลด้าน 3d มากนั้นทำให้เครื่องที่มีชิปเร่งความเร็ว 3d นั้นจะแพงมากทีเดียว แต่ถ้าด้านอื่นนั้นได้แก่ ดูหนังที่ คงชัดดี และด้านอื่นๆ ที่ดีเท่ากับ เดสก์ทอปเลย แต่ถ้าต้องการใช้เล่นเกมส์นั้นควรเลือกการ์ดแสดงผล ATI Radeon Mobility หรือ Nvidia Geforce 2 go มาใช้ทำให้ การเล่นเกมส์นั้นสมบูรณ์และเล่นเกมส์ได้แทบทุกเกมส์ในตลาดเลยก็ว่าได้

สรุป : การใช้งานด้านความบันเทิงนั้นโน้ตบุ๊กนั้นทำได้ดีเท่าๆกับ เดสก์ทอปเกือบหมดเหลือเพียงแต่ ด้าน 3d ที่ยังคงด้อยอยู่คงต้องรอให้การ์ดแสดงผลด้าน 3d ของโน้ตบุ๊กดีขึ้นมากว่านี้การเล่นเกมส์บน โน้ตบุ๊กอาจทำได้ดีกว่านี้ก็ได้

9 . ข้อดี vs ข้อเสีย

  • : – ข้อดี :-)
  • สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้
  • สามารถติดตั้งได้ง่าย
  • ประหยัดพลังงาน ซึ่ง สามารถใช้ไฟจากแบตฯ ได้มากกว่า 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จนถึง 4 ชั่วโมง
  • มีขนาดที่พอเหมาะและใช้พื้นที่ในการวางที่น้อย
  • ไม่จำเป็นต้องมีการลากสาย แลนมาใช้แต่ใช้ Wireless Lan แทนหรือดีกว่านั้นคือ Bluetooth
  • ทดแทนเครื่องเก่าได้อย่างดี
  • สวยงาม
  • : – ข้อเสีย :-(
  • ราคาที่แพงกว่าเดสก์ทอปมากถึง 1 -2 เท่าในระดับสเปกเดียวกัน
  • ความเร็วที่น้อยกว่าในระดับเดียวกัน
  • อาจมีความเสีนหายในการเคลื่อนย้ายได้
  • คุณภาพด้าน 3d ที่สู้เดสก์ทอปไม่ได้เลย
  • อุปกรณ์เสริมของโน้ตบุ๊กที่แพงระยิบ
  • อาจจำต้องแบกเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆที่หนักพอๆกับแบก ดัมเบลขนาด 3 กิโลกรัมไปไหนมาไหน
  • อาจหายไปได้ถ้าไม่ดูให้ดี ของราคาครึ่งแสนหรือเกือบแสนอาจเหลือเพียงแค่ความทรงจำได้ถ้าไม่ได้ดูให้ดี

        ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงธุรกิจหรือแม้แต่ผู้ใช้ทั่วไป เนื่องจากคล่องตัวและสามารถพกพาไปไหนมาไหนเพื่อใช้งานได้สะดวก แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หลายต่อหลายล้านคนในโลกที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กนั้น ใช้เครื่องได้อย่างไม่ถูกวิธีและไม่ทะนุถนอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของแหล่งพลังงานของเครื่องหรือแบตเตอรี่นั้นเอง * Sp คือเนื้อหาที่ได้นำมาจากที่อื่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนของตอนหลักของแต่ละบทความครับ

ใช้แบตเตอรี่โน้ตบุ๊กอย่างไรให้คุ้มค่า

        หลายๆ คนคงเกิดปัญหารำคาญใจกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ลองคิดดู…ถ้าคุณกำลังใช้แลบทอปตัวเก่งทำงานอยู่อย่างสบายใจบนรถขณะเดินทางมาทำงาน แต่แบตเตอรี่หมดและแน่นอนว่าบริเวณนั้นไม่มีปลั๊กไฟให้คุณเสียบได้ ทำให้การทำงานของคุณต้องหยุดชะงัก หรือบางครั้งข้อมูลสำคัญต่างๆ ที่คุณอุตส่าห์ทำขึ้นมา เกิดสูญหายไปเนื่องจากแบตเตอรี่หมดด้วย เราจะมีวิธีอย่างไรที่ช่วยยืดเวลาให้คุณใช้งานโน้ตบุ๊กได้นานอีกหน่อย เพิ่มอายุการใช้งานแบตเตอรี่ให้ยืนยาว และช่วยให้คุณไม่สูญเสียเวลาและทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ ในคอลัมน์นี้เราอยากให้คุณหันมาสนใจประหยัดพลังงานให้กับเครื่องโน้ตบุ๊กของคุณเพื่อให้ใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น คุณจะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาวุ่นวายหากต้องพกพาเครื่องโน้ตบุ๊กเดินทางโดยเครื่องบิน รถไฟ หรือรถยนต์ ไปในที่ไกลๆ อีกทั้งคุณจะได้เข้าใจถึงการสงวนรักษาและดูแลจัดการกับแหล่งพลังงาน เพื่อให้ใช้งานเครื่องโน้ตบุ๊กได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

การสงวนรักษาพลังงาน

        แบตเตอรี่ของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กทั่วๆ ไปในปัจจุบันนั้น เราใช้งานได้เพียง 2-3 ชั่วโมงก็หมดเสียแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอกับการเดินทางไปต่างประเทศหรือใช้งานทั่วไปในแต่ละวันโดยไม่ได้ต่อกับสายไฟบ้าน แต่สิ่งแรกที่คุณทำได้ก็คือ ลดการใช้พลังงานของเครื่องโน้ตบุ๊กเพื่อเพิ่มเวลาการใช้งานของเครื่อง โดยทั่วไปโน้ตบุ๊กทุกๆ เครื่องจะมีโปรแกรมที่ให้คุณกดคีย์ลัด (จะเป็นคีย์ใดนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่) เพื่อให้คุณปรับค่าการจัดการพลังงานของโน้ตบุ๊กให้จัดการและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โน้ตบุ๊กส่วนใหญ่มีการทดสอบการทำงานและปรับตั้งค่าการใช้พลังงานมาเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งคุณสามารถตั้งค่านี้ได้ตลอดเวลาเพื่อให้คุณสงวนพลังงานไว้ใช้ได้นานขึ้นด้วย ปรับการทำงานของเครื่อง

        เครื่องโน้ตบุ๊กโดยทั่วไปแล้วสามารถตั้งค่าต่างๆ ในการปรับสมรรถนะของเครื่อง เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ แต่การลดสมรรถนะการทำงานของหน่วยประมวลผลหรือซีพียูโดยไม่สนใจอะไรเลยนั้น ทำให้เสียพลังงานไปกับการเริ่มต้นทำงานหากมีการประมวลผลข้อมูลใหม่เสมอ ถ้าคุณใช้ระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ เช่นระบบยูนิกซ์นั้น คุณสามารถตั้งค่าให้ลดสมรรถนะการทำงานของซีพียูเพื่อรักษาพลังงานให้หมาะสมได้ แต่ถ้าหากคุณใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 หรือวินโดวส์เอ็นทีแล้วละก็ คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มความเร็วในการประมวลผลแทน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วเพียงพอ และยิ่งคุณใช้งาน Winmodem (Windows-only modem) ซึ่งทำงานผ่านทางซีพียูด้วยแล้ว คุณคงต้องเพิ่มความเร็วของการประมวลผลขึ้นอีก

        การปรับค่าสมรรถนะการทำงานของหน่วยประมวลผลนี้จะแตกต่างกันไปตามรุ่นหรือยี่ห้อของโน้ตบุ๊ก โดยบางรุ่นอาจใช้ฟังก์ชันคีย์เพื่อปรับค่าทางไบออส หรือบางรุ่นก็ต้องรันยูทิลิตี้เฉพาะในการปรับค่าต่างๆ เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานให้กับเครื่องโน้ตบุ๊ก การลดแสงก็ช่วยประหยัดพลังงาน

        เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กส่วนใหญ่จะมีปุ่มปรับแสงของหลอดจอภาพ ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าใกล้กับจอภาพ เพื่อลดหรือเพิ่มความสว่างให้กับจอภาพด้วย และความสว่างของจอภาพนี่เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไปโดยไม่จำเป็น คุณก็ควรลดแสงหรือความสว่างของหลอดภาพเท่าที่เป็นไปได้และไม่ทำให้คุณปวดตา โน้ตบุ๊กบางรุ่นสามารถลดแสงหรือความสว่างของหลอดภาพได้โดยอัตโนมัติเมื่อคุณถอดสายไฟ AC ออกเพื่อใช้ไฟจากแบตเตอรี่แทน ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานจากแบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่งด้วย และสามารถเพิ่มอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้ถึงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และคุณควรตั้งเวลาปิดหน้าจอโน้ตบุ๊กไว้ด้วยหากไม่มีการใช้งานด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น ประมาณ 5-10 นาที ทั้งนี้เพราะหากคุณตั้งเวลาไว้น้อยเกินไป การปิดหน้าจอบ่อยๆ ขณะทำงานอาจทำให้คุณรำคาญได้

        และในทำนองเดียวกัน การประหยัดพลังงานโดยการปิดไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์เมื่อไม่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยคุณได้ การตั้งเวลาด้วยค่าที่เหมาะสมที่สุดในการปิดไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์หรือที่เรียกว่า Hard Drive Idle Time นั้นขึ้นอยู่กับนิสัยการใช้งานและซอฟต์แวร์ที่รันอยู่เป็นประจำ หากคุณใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้ทำการอ่านและเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อยๆ ก็สามารถตั้งเวลาปิดไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์ให้มีค่าน้อยๆ ได้ (ซึ่งไม่ใช่ค่า 0 เพราะการตั้งค่าเวลาให้เป็น 0 นั้นหมายความว่า ไม่มีการปิดไฟเลี้ยง เป็นการให้ฮาร์ดดิสก์สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา) แต่หากคุณตั้งเวลาไปแล้ว และขณะทำงานได้ยินเสียงเปิด-ปิดไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์บ่อยๆ แสดงว่าตั้งค่าเวลาน้อยเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ควรตั้งค่าใหม่โดยเพิ่มเวลาขึ้นตามความเหมาะสมเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น ถอดอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ไม่จำเป็นออกเสียบ้าง

        ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหลายคนที่มองข้ามส่วนของอุปกรณ์ต่อพ่วงไป บางคนติดอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ ไว้ครบชุด โดยหารู้ไม่ว่าการต่อสิ่งต่างๆ เหล่านั้นทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุและลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ การ์ด PCMCIA บางประเภท เช่น การ์ดเน็ตเวิร์ก และการ์ดโมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟมากพอสมควรในทุกครั้งที่เสียบการ์ดเหล่านี้เข้าไป รวมไปถึงไดรฟ์ฟลอปปี้ดิสก์และไดรฟ์อ่านซีดีรอมที่ไม่ได้ติดมากับตัวเครื่อง ก็เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่กินไฟด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากไม่ได้ใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วงใดๆ ก็ควรถอดออกจากตัวเครื่องและนำมาต่อเข้าเมื่อจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ ก็จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานแบตเตอรี่อีกทางหนึ่งเช่นกัน Suspend Mode ก็เป็นสิ่งจำเป็น

        เมื่อไม่มีการแตะต้องตัวเครื่องในระยะเวลาหนึ่ง หรือมีการปิดฝาของเครื่องโน้ตบุ๊ก โน้ตบุ๊กจะปิดไฟเลี้ยงในอุปกรณ์บางส่วนหรือปิดเครื่องเองได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการนั้นเป็นการประหยัดพลังงานให้กับเครื่องโน้ตบุ๊กก็จริง แต่คงไม่เหมาะสำหรับเครื่องที่ใช้งานประจำ เนื่องจากคุณจำเป็นจะต้องคอยให้เครื่องรีบูตใหม่ หรือเปิดโปรแกรมใหม่เสียก่อนจึงจะสามารถทำงานต่อไปได้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์คงทราบดีว่าการรีบูตวินโดวส์นั้นนานเพียงใด ทางเลือกที่ดีกว่าคือ การตั้งค่าคอนฟิกูเรชัน (Configuration) ให้ใช้โหมดการประหยัดพลังงานแบบ Suspend แทนการปิดเครื่อง

        Suspend Mode หรือ Sleep Mode นั้นเป็นการตัดไฟเลี้ยงหน้าจอ ฮาร์ดดิสก์ และหน่วยประมวลผล แต่ไม่ได้ตัดไฟเลี้ยงหน่วยความจำหรือแรมของเครื่อง ข้อมูลต่างๆ ก็ยังคงถูกเก็บไว้ในแรม ดังนั้นคุณสามารถกลับมาทำงานใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าคุณจะพักการทำงานไปสัก 2-3 ชั่วโมงก็ตาม แต่ในเมื่อแบตเตอรี่ยังคงจ่ายไฟเลี้ยงให้กับแรมอยู่ก็จะต้องสูญเสียพลังงานไปเรื่อยๆ และถ้าคุณทิ้งเครื่องไว้นานเกินไปจนแบตเตอรี่หมด เครื่องโน้ตบุ๊กก็จะปิดเครื่องเองทันที หากคุณมีงานที่ยังไม่ได้จัดเก็บแล้วละก็ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไปทันที ดังนั้น คุณควรระลึกไว้เสมอว่าต้องจัดเก็บข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน Suspend Mode

        เครื่องโน้ตบุ๊กบางรุ่น เช่น เครื่องโน้ตบุ๊ก ThinkPad ของ IBM มีฟีเจอร์ในการเก็บข้อมูลจากหน่วยความจำลงไปในฮาร์ดดิสก์เมื่อเครื่องอยู่ในภาวะ Suspend Mode ทำให้ในการใช้งานจะปิดเครื่องได้ช้าลงแต่สามารถจัดเก็บข้อมูลที่ค้างไว้ลงฮาร์ดดิสก์ได้ก่อนที่จะมีการปิดเครื่องอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการปิดเครื่องเองหรืออยู่ในภาวะ Suspend Mode โดย IBM เรียกฟีเจอร์นี้ว่า “RediSafe” ซึ่งเครื่องโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ บางรุ่นบางยี่ห้อก็มีฟีเจอร์นี้เช่นกัน แต่เรียกชื่อต่างกันออกไป

        นอกจากนี้เครื่องโน้ตบุ๊กยังมี Suspend to Disk Mode ที่ต่างจาก Suspend Mode ปกติ ตรงที่จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงปิดเครื่องซึ่งแน่นอนว่าปิดไฟเลี้ยงในทุกอุปกรณ์รวมทั้งแรมด้วย เมื่อกลับมาทำงานใหม่ก็ต้องเสียเวลามากกว่าการใช้งาน Suspend Mode แต่ไม่ใช่การรีบูตเครื่องใหม่ ซึ่งจะประหยัดพลังงานกว่า Suspend Mode ดังนั้น เราควรจะใช้ Suspend Mode หากมีการพักการทำงานในช่วงเวลาไม่นานนัก และใช้ Suspend to Disk Mode ในกรณีที่ต้องการพักการทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือในช่วงพักเที่ยง

การเลือกชนิดของแบตเตอรี่

        เวลาในการใช้งานโน้ตบุ๊กแต่ละเครื่องยังขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแบตเตอรี่ที่ใช้กับเครื่องโน้ตบุ๊กด้วย แบตเตอรี่ชนิดที่ใช้กรดตะกั่วนั้นราคาถูกที่สุดและทนทานที่สุด แต่มีน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่ และให้พลังงานน้อยที่สุดจึงใช้งานได้ระยะเวลาสั้นที่สุด ส่วนแบตเตอรี่ชนิดที่ใช้สารนิเกิลแคดเมียม (NiCd) นั้นให้พลังงานมากขึ้น ตามมาด้วยแบตเตอรี่ชนิดที่ใช้สาร Nickel Metal Hydride (NiMH) และแบตเตอรี่ชนิดที่ใช้สารลิเธียมไอออน (Li-ion) ให้พลังงานมากที่สุด ทำให้เครื่องโน้ตบุ๊กที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้งานได้ระยะเวลานานที่สุดด้วย โดยค่าของเวลาที่เขียนติดไว้บนแบตเตอรี่จะอยู่ในรูปของแอมป์-ชั่วโมง (Amp-Hour : Ah) หรือ มิลลิแอมป์-ชั่วโมง (Millimp-Hour : mAh)

        และหากคุณมีแบตเตอรี่สำรอง คุณก็ควรจะชาร์จไฟไว้ให้เต็มที่ก่อนนำไปใช้งานเสมอ เพราะแบตเตอรี่บางยี่ห้อจะมีการสูญเสียพลังงานไปประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ทำไมแบตเสื่อมเร็ว

        ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบเสียบปลั๊กไฟโน้ตบุ๊กค้างไว้ตลอดเวลา หรือชาร์จใหม่เสมอๆ แม้ว่าแบตเตอรี่ยังไม่หมด คุณกำลังทำลายแบตเตอรี่และหน่วยความจำของโน้ตบุ๊กคุณทางอ้อม จริงๆ แล้วการชาร์จและดิสชาร์จแบตเตอรี่ไม่เต็มที่ มีผลกระทบต่อหน่วยความจำอย่างมาก เพราะทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายได้ไม่เต็มพื้นที่ของแบตเตอรี่ และนี่ยังเป็นเหตุให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่ากำหนด ดังนั้นในการใช้งานเครื่องโน้ตบุ๊กจึงควรใช้งานให้แบตเตอรี่หมดไฟก่อนที่จะชาร์จไฟเข้าไปใหม่ แต่เพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากนี้ เครื่องโน้ตบุ๊กบางรุ่นก็มียูทิลิตี้ที่ช่วยป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยความจำ โดยยูทิลิตี้นั้นช่วยให้คุณดิสชาร์จแบตเตอรี่เพื่อถ่ายเทกระแสไฟออกมาให้หมดแม้ว่าแบตเตอรี่ของคุณยังไม่หมดกระแสไฟก็ตาม ช่วยให้คุณชาร์จไฟเข้าไปใหม่ได้เต็มที่ ซึ่งคุณควรจะใช้ฟีเจอร์นี้ทุกครั้งเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่และขจัดผลกระทบที่มีต่อหน่วยความจำของเครื่องโน้ตบุ๊กด้วย

การเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

        เมื่อคุณต้องการเลือกซื้อเครื่องโน้ตบุ๊กสักเครื่อง อย่าลืมตรวจสอบการเปลี่ยนแบตเตอรี่ว่าสามารถเปลี่ยนได้สะดวกง่ายดายหรือสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้โดยไม่ต้องปิดเครื่องหรือไม่ การเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นไม่ควรให้ไปกระทบกระเทือนกับอุปกรณ์อื่นๆ และไม่ควรที่จะต้องถอดอุปกรณ์ใดๆ ออกก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ด้วย และหากสามารถต่อแบตเตอรี่สำรองเพื่อให้ใช้งานยาวนานยิ่งขึ้นก็จะช่วยให้คุณทำงานได้สะดวกขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น เครื่องโน้ตบุ๊ก ThinkPad ของ IBM นั้นค่อนข้างยุ่งยากในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เพราะคุณจะต้องเอียงจอภาพไปข้างหลังเพื่อยกแป้นพิมพ์ขึ้น และต้องถอดไดรฟ์อ่านซีดีรอมออกก่อนด้วย

        อีกประการหนึ่งที่คุณควรพิจารณาก็คือ แบตเตอรี่นั้นสามารถเสียบสายไฟเพื่อชาร์จไฟจากภายนอกเข้าไปได้โดยไม่ต้องต่อกับเครื่องโน้ตบุ๊กหรือไม่ ซึ่งช่วยให้คุณพกพาเครื่องโน้ตบุ๊กไปใช้งานยังสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลาเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ และอาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นนักแต่หากเครื่องโน้ตบุ๊กนั้นสามารถใส่แบตเตอรี่ชนิดอัลคาไลน์ได้ เช่น เครื่องโน้ตบุ๊กรุ่น OmniBook ของ HP ก็จะช่วยเพิ่มสามารถในการใช้งานได้อีกทางหนึ่งด้วย หาแหล่งพลังงานอื่นเพิ่มเติมเมื่อต้องเดินทาง

        แน่นอนว่าแบตเตอรี่นั้น ถึงแม้คุณจะพยายามประหยัดไฟเพียงใดก็ตามก็ไม่สามารถจะใช้ได้ตลอดเวลาหรือตลอดการเดินทางระยะไกลแน่นอน ดังนั้นคุณควรมีอะแดปเตอร์ไว้เพื่อใช้กระแสไฟจากภายนอก หรือเพื่อใช้ชาร์จแบตเตอรี่ของคุณเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองเพิ่มเติมในอีกทางหนึ่งด้วย การเดินทางโดยเครื่องบินของสายการบินบางแห่งนั้น คุณสามารถเสียบอะแดปเตอร์เข้ากับระบบไฟฟ้าบนเครื่องบินที่ทางสายการบินเตรียมไว้ได้ทันที ระบบไฟฟ้านี้ทางสายการบินเรียกว่า EmPower ซึ่งเป็นแจ๊คเสียบไฟตรง (DC) 15 โวลต์ โดยคุณจะต้องมีอะแดปเตอร์สำหรับต่อเข้ากับแจ๊คประเภทนี้โดยเฉพาะ

        ส่วนการเดินทางโดยรถยนต์นั้น คุณสามารถเลือกใช้แหล่งพลังงานได้ 2 แบบ แบบแรกคุณจะต้องมีอะแดปเตอร์เพื่อเสียบเข้ากับช่องจุดบุหรี่ภายในรถที่จ่ายไฟตรง (DC) 13-15 โวลต์ แล้วต่ออะแดปเตอร์นั้นเข้ากับเครื่องโน้ตบุ๊กได้ทันที หรือแบบที่ 2 ก็ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Inverter เสียบเข้ากับช่องจุดบุหรี่เช่นกัน แต่อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำการแปลงไฟกระแสตรง (DC) ของช่องจุดบุหรี่ให้กลายเป็นไฟกระแสสลับ (AC) 120 โวลต์ คุณก็สามารถนำสายไฟที่มีมาพร้อมกับเครื่องโน้ตบุ๊กเสียบเข้ากับ Inverter ได้เหมือนกับการเสียบไฟบ้านและใช้งานได้ปกติ

        ดังนั้นอะแดปเตอร์ สายไฟ หรืออุปกรณ์เพิ่มเติมเหล่านี้คุณจะต้องมีติดตัวในการเดินทางเสมอ รวมไปถึงสายต่อพ่วงโทรศัพท์ที่คุณควรจะพกพาติดตัวไปด้วยหากคุณต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายขององค์กรของคุณ โดยสายต่อพ่วงโทรศัพท์ที่ว่านี้ควรอยู่ในลักษณะม้วนเล็กๆ ที่เก็บไว้ในกล่องขนาดประมาณเท่าบัตรเครดิต เพื่อสะดวกในการพกพาและเก็บรักษา

รายการช่วยตรวจสอบเพื่อการตัดสินใจและป้องกันการหลงลืม

        เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ โดยการทำรายการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อช่วยคุณเลือกพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กสักเครื่อง อีกทั้งยังมีการทำรายการตรวจสอบช่วยให้คุณไม่หลงลืมที่จะตรวจเช็กอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบและให้คุณพร้อมสำหรับการทำงานหรือการเดินทางตลอดเวลา

  • รายการสิ่งที่คุณควรพิจารณาประกอบการเลือกซื้อเครื่องโน้ตบุ๊ก
  • แบตเตอรี่ของเครื่องโน้ตบุ๊กเป็นแบตเตอรี่ประเภทใด? และหลังจากชาร์จไฟแล้วสามารถใช้งานได้นานเพียงใด?
  • แบตเตอรี่นั้นสามารถชาร์จไฟจากอะแดปเตอร์ได้โดยตรง ไม่ต้องต่อเข้ากับตัวเครื่องหรือไม่?
  • เครื่องโน้ตบุ๊กที่คุณกำลังพิจารณาอยู่นั้นสามารถใส่แบตเตอรี่สำรองเพิ่มเข้าไปได้อีกหรือไม่?
  • เครื่องโน้ตบุ๊กที่การทำงานแบบ Suspend Mode และ Suspend to Disk Mode หรือไม่?
  • แบตเตอรี่สำรองมีมากเท่าไร?
  • มีแบตเตอรี่สำรองชนิดที่ไม่ต้องชาร์จไฟ เช่น แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือไม่?
  • รายการอุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรตระเตรียมให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • สายต่อพ่วงโทรศัพท์ที่ม้วนบรรจุในกล่องขนาดพกพา
  • สายไฟกระแสสลับ (AC) ยาวประมาณ 20 ฟุต
  • อะแดปเตอร์ 2 ชุด (ชุดหนึ่งพกพาไปพร้อมกับเครื่องโน้ตบุ๊ก ส่วนอีกชุดหนึ่งเก็บไว้กับสัมภาระเผื่อใช้ในกรณีที่จำเป็น)
  • แบตเตอรี่สำรองที่ชาร์จไฟไว้เต็มที่
  • อะแดปเตอร์สำหรับใช้ในรถยนต์และเครื่องบิน
  • อุปกรณ์ Inverter ภายในรถยนต์ (หากคุณไม่ใช้อะแดปเตอร์สำหรับรถยนต์)
  • ชุดการ์ด PCMCIA ที่จำเป็น โดยถอดออกจากตัวเครื่อง และแยกเก็บไว้ต่างหาก
  • ข้อแนะนำในการเดินทาง
  • ถอดอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ไม่จำเป็นออกให้หมด และเก็บให้เรียบร้อย
  • ลดความสว่างของจอภาพเท่าที่เป็นไปได้
  • ปรับค่าสมรรถนะของใช้งานหน่วยประมวลผลหรือซีพียูให้เหมาะสม เมื่อทำงานโดยใช้แบตเตอรี่
  • ตรวจสอบจุดต่อสายไฟและจุดต่อสายโทรศัพท์บนเครื่องบินหรือสถานที่อื่นๆ ทุกครั้งที่เดินทาง เมื่อคุณตรวจสอบรายการต่างๆ เหล่านี้เรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถมั่นใจและพร้อมที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของคุณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังประหยัดพลังงานแบบสุดๆ เพื่อช่วยให้การทำงานและธุรกิจ ของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้ยาวนานยิ่งขึ้น