รีวิว Lenovo IdeaPad Yoga 11

วันนี้ได้ทดสอบ Convertible Laptop ยี่ห้อ Lenovo รุ่น IdeaPad Yoga 11 ที่มาพร้อมกับ AccuType keyboard ที่มีสัมผัสในการพิมพ์และการใช้งานพลังงานแบตเตอรี่ที่ดีเยี่ยมรุ่นหนึ่งในตลาดในขณะนี้

โดยมีรูปร่างแบบ Convertible Laptop นั้นจอภาพจะเป็นแบบ touch screen และจอภาพหมุนพับกลับด้านโดยใช้งานผ่านจอภาพอย่างเดียวได้ หรือพับกลับมาแล้วใช้งานผ่านคีย์บอร์ดและทัชแพดสั่งงานได้ตามปรกติด้วยเหมือน Laptop ทั่วไปได้ด้วย

ซึ่ง Convertible Laptop เป็นกลยุทธ PC+ ของ Lenovo ในการบุกตลาดโลกไอทีในช่วงปีนี้ โดย Convertible Laptop เป็นกลยุทธ์ที่เป็นกลยุทธหนึ่งในนั้น โดยกลยุทธต่างๆ ในปีนี้ได้แก่ All-in-One PC, Tablet PC, Smart phone และ Smart TV ซึ่ง Lenovo ideaPad Yoga 11 เป็นรุ่นที่ 2 ในตระกูล Yoga ก่อนหน้านี้ที่เป็น Lenovo ideaPad Yoga 13 ได้นำเข้ามาบุกตลาด

สำหรับโหมดในการใช้งานของ Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่เป็น Convertible Laptop นั้น มีทั้งรูปแบบเดิมๆ ที่มีโหมด Laptop และ Tablet และรูปแบบใหม่เพิ่มเติมคือ Tent และ Stand เรามาดูกันดีกว่าว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีอะไรบ้าง

DSC_5923 DSC_5944DSC_5941

รูปลักษณ์โดยทั่วไปจะเป็นในรูปแบบของ Laptop แบบทั่วๆ ไป โดยการเปิดและปิดนั้นจะไม่แตกต่างจาก Laptop แต่อย่างใด

UntitledUntitled2yoga 11-2

ตัวระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็น Windows RT แบบ 32-bit ที่ทำงานบนหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า ARM ซึ่งทาง Lenovo ได้เลือกใช้ NVIDIA Tegra 3 (ARM Cortex-A9) ซึ่งเป็น Quad-Core โดยมีหน่วยความจำความจุขนาด 2GB DDR3L ซึ่งไม่สามารถอัพเกรดได้แบบ Laptop รูปแบบเดิมๆ

สำหรับข้อมูลในส่วนของระบบปฎิบัติการ Windows RT นั้น จะเป็นรุ่นย่อส่วนจาก Windows 8 โดยใช้งานได้เพียงส่วนของ Windows 8 App ใน Modern UI และ Software ที่ออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมระบบประมวลผลแบบ ARM เท่านั้น ไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยโดยทั่วไปได้ โดยโครงสร้างการออกแบบตัวเครื่องโดยทั่วไปนั้น จะเป็นแบบเดียวกับ Android หรือ iPad ที่อยู่ในตลาด นั้นคือเหตุผลว่าทำไมมันถึงไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista, 7 และแม้แต่ 8 ได้ โดยการติดตั้ง App ต้องทำผ่าน Windows Store เท่านั้น

สำหรับใน Windows RT นั้น Microsoft ได้ให้ชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ชื่อ Office Home & Student 2013 RT มาพร้อมกับ Windows RT โดยเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วย Word 2013 RT, Excel 2013 RT, PowerPoint 2013 RT และ OneNote 2013 RT ซึ่งตัวชุดซอฟต์แวร์นี้บันทึกไฟล์เข้า SkyDrive เป็นค่ามาตรฐาน

ความสามารถในรายการด้านล่างนี้ไม่สนับสนุนใน Office Home & Student 2013 RT ณ ตอนนี้ (6 มิถุนายน 2556)

  • Macros, Add-Ins, Forms, and Custom Programs (Word, Excel, PowerPoint)
  • Send Email Features (Word, Excel, PowerPoint, OneNote)
  • SkyDrive Sync Integration (Word, Excel, PowerPoint)
  • Equation Editor 3.0 (Word, Excel, PowerPoint)
  • Lync File Download
  • Grammar checking (Word)
  • Data Models (Excel)
  • Slide Library ActiveX Control (PowerPoint)
  • Legacy Media Formats in PowerPoint (PowerPoint)
  • PowerPoint Flash Video Playback (PowerPoint)
  • Recording Narrations (PowerPoint)
  • Audio and video recording (OneNote)
  • Import through scanner (OneNote)
  • Audio & video search (OneNote)

ที่มา Office Home & Student 2013 RT ต่างจากรุ่นปรกติอย่างไร (Office ที่ให้มาพร้อม Windows RT)

แน่นอนว่าด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมด้านการประมวลของตัวเครื่องนั้นได้รับข้อเด่นจากสถาปัตยกรรมระบบประมวลผลแบบ ARM ที่ประหยัดพลังงาน และยังมีความร้อนที่ได้จากตัวเครื่องที่น้อยกว่าสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยกัน โดยจากที่ได้ทดสอบใช้งานนั้นสามารถเปิด และใช้งานได้ตลอดทั้งวันกว่า 9 ชั่วโมงโดยไม่ต้องปิดพักแต่อย่างได้ แต่ถ้าเปิด-ปิดใช้งานไม่ได้ใช้งานต่อเนื่อง ก็สามารถทำงานได้ตลอดวันได้ไม่ยากเลยทีเดียว โดยผลการทดสอบแบบใช้งานและปิดเครื่องด้วยการ standby สลับไป-มาในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องได้ทั้ง 2 วันโดยไม่ต้องชาร์จไฟแต่อย่างใด

DSC_5929

ในด้านของการคีย์บอร์ดนั้นจะเป็นแบบ QWERTY ตัวเต็มที่นำมาจากคีย์บอร์ดลักษณะเดียวกับ Laptop ของ Lenovo ideaPad ที่ขายอยู่ในท้องตลาดอยู่ก่อนแล้วนั้นเอง โดยเป็นแบบ Accutype Keyboard ซึ่งจากการพิมพ์นั้นให้สัมผัสในการตอบสนองที่ดีมากและการพิมพ์ก็ไม่ต้องบีบนิ้วมือเพื่อใช้งานคีย์บอร์ดแต่อย่างใด

สำหรับในด้านการจัดวางปุ่มนั้น ใครที่ใช้ปุ่มตัว Grave Accent ( ` ) ในการสลับภาษาอาจจะหงุดหงิดเล็กๆ เพราะปุ่มนี้โดนบีบให้มีขนาดผอมลงเหลือขนาดเพียง 2 ใน 3 จากปุ่มอื่นๆ อาจทำให้พิมพ์ไม่ถนัดสักเท่าไหร่นัก

สำหรับตัวทัชแพดนั้นเป็นแบบซ่อนปุ่ม (buttonless) ซึ่งในด้านของการสัมผัสและลากใช้งานนั้นทำได้อย่างดีมาก แต่ปุ่มที่ซ่อนไว้นั้นอาจจะกดยากสักหน่อย คงต้องใช้ให้ชินสักพักถึงจะพอถนัดมือ

DSC_5928
DSC_5933 DSC_5930

ในด้านปุ่มจัดการตัวเครื่องต่างๆ นั้น ปุ่มสำหรับเปิด-ปิดเครื่องจะอยู่ที่ด้านล่างส่วนหน้าของเครื่อง เป็นทั้งปุ่มเปิด-ปิดและ standby ได้ในตัวเดียวกัน สำหรับส่วนอื่นๆ ก็มีช่องเชื่อมต่อมาให้อย่างครอบคลุมทั้ง HDMI, USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 ม.ม., ช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ, ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง, ปุ่มล็อคการหมุนจอ (rotation lock) และช่องเสียบสายชาร์จแบบใหม่ของ Lenovo ที่จะเป็นแบบแบน

การเชื่อมต่อ USB 2.0 นั้น สามารถต่อกับ printer เพื่อพิมพ์งาน หรือ external HDD ก็สามารถดูหนัง Full HD และเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้สบายๆ สำหรับช่องต่อการ์ดหน่วยความจำก็สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ตามมาตราฐาน ซึ่งการใช้งานทั้ง external HDD และการ์ดหน่วยความจำนั้นสามารถทำผ่าน File Explorer ของ Windows RT ได้อย่างสะดวกสบาย

จอภาพนั้นมีขนาด LCD 11.6” ความละเอียดที่ WXGA (1366×768 pixel) สัดส่วน 16:9 ซึ่งได้ให้ panel มาเป็น IPS ตามสมัยนิยมรวมไปถึง LED backlit อีกด้วย แต่นอนว่าเป็น Tablet ได้ต้องมาพร้อมกับหน้าจอ touch screen โดยรองรับการ multi-touch เพียง 5 จุดเท่านั้น สำหรับกล้องนั้นเป็น Webcam 720p HD โดยทั่วไปไม่มีอะไรแปลกใหม่นัก

DSC_5936
DSC_5934 DSC_5935

Tablet Mode

DSC_5949 DSC_5950

Tent Mode

DSC_5946 DSC_5947

Stand Mode

DSC_5953 DSC_5957

ส่วนสำคัญของ Yoga 11 ตัวนี้ก็คือบานพับที่ออกแบบมาเป็นพิเศษที่สามารถพับจอได้ 360 องศา เพื่อพับตัวจอภาพให้ไปประกบกับด้านหลังเพื่อแปลงร่างเป็นโหมด Tablet, Tent หรือ Stand ได้ ซึ่งตัวบานพับนั้นเป็นสแตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิมแบบเดียวกับ notebook สำหรับธุรกิจอย่างตระกูล Lenovo ThinkPad ที่เป็นกลุ่ม notebook ระดับพรีเมียมแบรนด์ของกลุ่ม Lenovo เอง

DSC_5958 DSC_5959

สุดท้ายในส่วนของอแดปเตอร์ชาร์จไฟนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากและมีน้ำหนักเบาเสียด้วย เมื่อรวมน้ำหนักตัวเครื่องแล้วก็มีน้ำหนักไม่เกิน 1.5kg แต่อย่างใด

ส่วนที่ประทับใจ

  • ความแปลกใหม่ในการนำเสนอบานพับแบบใหม่ทำให้ใช้งานได้หลากหลาย
  • ตัวบานพับแข็งแรง ไม่แน่นจนพับจอลำบาก และไม่หล่วมจนรู้สึกว่าจะตั้งไม่อยู่แต่อย่างใด
  • ตัวถังภายนอกทำจากอลูมิเนียมทำให้ดูแข็งแรงดีมาก
  • การระบายความร้อนและการนำพาความร้อนออกมานั้นทำได้ดี และขณะใช้งานรู้สึกเพียงอุ่นๆ เท่านั้น
  • คีย์บอร์ดคุณภาพดี การตอบสนองดีเยี่ยม
  • ช่องการเชื่อมต่อให้มาครบ และอยู่ในตำแหน่งที่ต่อการใช้งานดี
  • อแดปเตอร์ชาร์จไฟมีน้ำหนักเบาไม่เป็นภาระต่อการพกพา
  • การประหยัดไฟของสถาปัตยกรรม ARM ที่ Lenovo นำมาใช้คู่กับ Windows RT นั้นทำงานได้ดีเยี่ยม

ส่วนที่ไม่ประทับใจ

  • ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ARM ทำให้ใช้คู่กับ Windows RT แล้ว App บน Windows 8 Style มีน้อย อาจหงุดหงิดได้ง่าย แต่ในอีกไม่นานนี้ Windows RT รุ่นใหม่รหัสพัฒนา Windows Blue กำลังออก คาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ตัวเครื่องนั้นดูหนักกว่าคู่แข่งอื่นๆ อยู่พอสมควร ถ้าน้ำหนักลงมาไม่เกิน 1 kg คงกำลังดี
  • ปุ่มทัชแพดที่เป็นแบบซ่อนปุ่มกดยาก อาจต้องใช้เวลาปรับตัวสักหน่อย
  • ปุ่ม Grave Accent ( ` ) ถ้าใช้สำหรับสลับภาษาอาจจะใช้ไม่สะดวก เพราะปุ่มนี้โดนบีบให้มีขนาดผอมลงเหลือขนาดเพียง 2 ใน 3 จากปุ่มอื่นๆ
  • หน่วยความจำหลักให้มาน้อยไปเสียหน่อย น่าจะให้มามากกว่านี้ เพราะไม่สามารถซื้อแรมมาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

Tech Spec
CPU: NVIDIA Tegra 3 (Quad-Core ARM Cortex-A9)
GPU: NVIDIA GeForce Integrated GFX
RAM: 2GB DDR3L
Display: 11.6” WXGA (1366×768) 16:9 LED IPS, 5 points multi-touch screen
Storage: 64 GB eMMC
Camera: 1.0M 720p HD Integrated Webcam
Connectivity:

  • Wireless Lan (802.11 b/g/n)
  • Bluetooth 4.0
  • 2 x USB 2.0 ports
  • 1 x SD card reader
  • 1 x 3.5mm headphone jack
  • 1 x full-size HDMI

Camera: 1.0M 720p HD Integrated Webcam
Weight: 1.27 kg
Preload Software:

  • Amazon Kindle
  • eBay
  • Evernote
  • Intelligent Touchpad
  • Lenovo Cloud Storage
  • Lenovo Companion
  • Lenovo Energy Management
  • Lenovo Motion Control
  • Lenovo Support
  • Lenovo Transition
  • Office Home & Student 2013 RT
  • Microsoft Connected Standby
  • OneKey Rescue
  • RaRa
  • Skype

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่ให้นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

บทความ รูปและเนื้อหานี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำหากต้องการนำไปใช้งานกรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่

สรุปสั้นๆ หลังจากใช้ Sony Vaio E 11"

ผมได้ Sony Vaio E 11” มาในราคาไม่แพงจากร้าน PS. Computer ที่จังหวัดอยุธยา เพราะเค้าลดล้าง stock มา (ราคาหลังไมค์) ตอนนี้คงหมดแล้วเพราะมีไม่เยอะ แต่บอกได้ว่าไม่ถึงหมื่นครับ ถูกกว่าหน้าร้านทั่วไปที่ราคาตอนนี้ 12,900 บาท หรือราคา Sony Shop ที่ 14,900 บาท

เหตุที่ซื้อ Vao E 11″ เพราะเอามาเป็น sub notebook ใช้แทน Tablet (ตูคิดไม่เหมือนชาวบ้านเค้าซินะ) เพราะจากที่เคยใช้ tablet มาก่อนหน้านี้สุดท้ายก็ต้องซื้อคีย์บอร์ดแบบปรกติมาเพิ่ม เพราะมันพิมพ์งานลำบากมาก รวมถึงมันทำงานพวก coding ไม่ได้ คือแบก tablet ที่พก keyboard ไปด้วยมันกลายเป็นว่าน้ำหนักเกือบ 1kg แน่นอนว่าการหยิบใช้สะดวกกว่า แต่พองานยากๆ งานซีเรียสก็ต้องเปิด notebook อยู่ดี (สรุปผมต้องแบก 2 เครื่อง) ตอนนี้ผมแก้ไขด้วยการโยนงานบางอย่างใน tablet พวกนี้ขึ้น Windows phone 8 แทน เช่นพวกระบบ monitor ขึ้นเว็บ เขียน push/notification เข้าอีเมล และ remote ssh/windows remote desktop ไปไว้ใน app แทน ซึ่งก็ทดแทนงานพวกนี้ใน tablet เกือบหมดแล้ว สุดท้ายส่วนงานที่ซีเรียสมากๆ ก็เอามาใส่ใน sub notebook เป็นส่วนสุดท้าย

WP_20130602_010

ต่อไปนี้ไปเที่ยวก็เอาไปเฉพาะ sub notebook ก็เพียงพอสำหรับงานแก้ไขปัญหาเป็นหลัก (ไปเที่ยวไม่ได้ไปทำงานไม่ต้อง full function) เพราะตอนนี้เอกสารและ code โปรแกรมต่างๆ ย้ายขึ้น cloud และ git ไปเกือบหมดแล้ว เพราะฉะนั้นส่วนที่จำเป็นจริงๆ จะถูก sync ไป-มาได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติคราวๆ เป็น

  • CPU AMD E2-1800
  • APU Radeon HD 7340M
  • RAM 2GB
  • HDD 320GB จอภาพ 11.6″ (1366×768 LED Backlit)
  • น้ำหนัก 1.5kg

อย่างแรกคือ มันเบาดีครับ ความเร็วไม่ได้แรงมากเท่าไหร่ คะแนน WIE ส่วนของ CPU 3.9 เท่านั้น แต่คะแนนส่วนของ VGA ทำได้ดีมาก แต่ RAM ที่ได้มาน้อยไปหน่อย เดี่ยวต้องไปหามาใส่เพิ่มจะได้ทำงานได้ไหลลื่นมากขึ้น

เปิดกล่องครั้งแรกที่รู้สึกคืองานประกอบนั้นแน่นหนาดีมาก เป็นพลาสติกที่รู้สึกว่ามันไม่แตกหักง่าย

สิ่งที่ชอบอย่างแรกคือมี port VGA และ HDMI มาให้ ไม่ต้องซื้อสายต่อเพิ่มสำหรับงาน present แต่อย่างใด ต่อมาคือมี HD webcam, SD-card reader, powered USB และ USB 3.0 มาให้ด้วย ในส่วนที่รู้สึกว่าโอเคคือจอภาพ สวยงามมาก ไม่คิดว่าจอ 11.6″ จะให้ resolution จอมาแบบไม่งกที่ขนาด 1366×768 pixel ทำให้ทำงานย้ายไปมาระหว่าง ThinkPad กับ Vaio ง่ายขึ้นมาก เพราะ ThinkPad T420 จอ 14.1″ ก็เท่านี้ (Lenovo งก resolution จอจนน่าเบื่อ เครื่องเก่าผม ThinkPad Z61t ยังได้ 1,440×900 เลย)

ส่วนต่อมาที่ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่องโดยตรงคือ ประกันที่ให้เป็นประกันอุบัติเหตุ และประกันเครื่องหายของบริษัทประกันภัยในประเทศไทยด้วย ซึ่งทั้งหมดให้ประกันมา 1 ปีเต็มๆ นี่ไม่แน่ใจว่าซื้อประกันเพิ่มมันจะต้องจ่ายเท่าไหร่แฮะ

WP_20130602_012

ส่วนที่รู้สึกไม่ชอบคงเป็นเรื่องมันช้า แต่เข้าใจได้ เพราะจ่ายเงินตามคุณสมบัติที่ได้ (มันไม่ชอบ แต่ไม่ใช่ข้อเสียอะไร)

สำหรับ RAM นั้นมีช่องใส่ RAM มาให้ 2 ช่อง สามารถเปลี่ยน HDD ได้ง่ายๆ เพราะมันอยู่ข้างๆ RAM เลย แกะตัวฝาปิดด้านล่างก็เปลี่ยนหรือเพิ่ม RAM และ HDD ได้สบายๆ สำหรับ HDD ที่ให้มานั้นเป็น 5400rpm ขนาด 320GB ความหนา 7mm แต่ช่องใส่สามารถใส่ 9mm ได้นะ เพราะลองใส่ HDD 7200rpm หนา 9mm นั้นฝาปิดก็ปิดได้สบายๆ

ในส่วนของ Software ที่แถมมาเยอะพอสมควร คือเกือบจะดี แต่ว่ามันไม่ค่อยล่าสุดเท่าไหร่ แล้วไม่มีให้เลือกเอาออกตอนเปิดเครื่องครั้งแรก ต้องมานั่งไล่ uninstall คือหงุดหงิดเล็กๆ ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่

ตัว Windows ที่ให้มาเป็น Windows 7 Home basic 64bit แบบ license ซึ่งโดยรวมเอามาใช้งานทั่วไปที่กำลังจะเอาเครื่องนี้ไปใช้งานอยู่นั้นโอเค แต่กำลังคิดอยู่ว่าสิ้นเดือนจะไปไปถอย Windows 8 มาใช้ทีหลังดีไหมเพราะมันอาจจะมีปัญหาเรื่องการทำงานย้ายไป-มากับ ThinkPad ที่เป็นเครื่องหลัก

WP_20130602_014

สุดท้ายในด้านคีย์บอร์ดนั้น หลังจากปรับตัวเข้ากับคีย์บอร์ดที่จัดวางปุ่มตามสมัยนิยมที่ไม่ใช่ ThinkPad Classic รุ่นหลังปี 2011 มาหลายแบบมากๆ ตอนนี้ผมเริ่มเฉยๆ กับการยึดติดกับวิธีคิดแนวนี้แล้ว และแน่นอนว่าตอนนี้เหตุผลในการเลือก notebook ใหม่นั้นลอยตัวจากแนวคิดนี้และสรรหาอะไรที่ดีที่สุดในด้านอื่นๆ แทน สำหรับคีย์บอร์ดของ Vaio นั้นฟิลลิ่งของตัวเครื่องขนาดเล็กแบบนี้ก็ทำได้ดีพอสมควร แน่นอนว่าดีพอๆ กับ Bluetooth Mobile Keybaord 5000 และ Wedge Keyboard ของ Microsoft เลยทีเดียว ทำให้ผมปรับตัวไม่ยากเท่าไหร่นัก (ผิดกับตอนแรกที่ใช้จาก ThinkPad มาใช้ Bluetooth Mobile Keybaord 5000 ต่อภายนอกแบบจริงจัง ตอนนั้นลำบากอยู่เป็นเดือน)

ตอนนี้ก็นั่ง setup ตัว Vaio เครื่องนี้ให้เหมาะกับการใช้งานในสภาพจริงๆ น่าจะไม่นานนักคงเรียบร้อยดี ;)

fotor_WP_20130602_009_jpg

Lenovo ThinkPad, My way and yours dream. (Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ ฉบับภาษาอังกฤษโดย @tomazzu)

จาก Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ ทางคุณ @tomazzu ขออาสาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ ซึ่งผมขอไม่โพสเนื้อหาในนี้ เพราะผมคิดว่าน่าจะให้ทางผู้เขียนปรับแต่งได้ง่ายที่สุดถ้ามีข้อผิดพลาดในการแปลเกิดขึ้น

สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Lenovo ThinkPad, My way and yours dream.

Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ

นับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad brand จาก IBM ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นในด้านการออกแบบอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าคุณสมบัติดีๆ หลายๆ อย่างถูกใส่เข้ามาไม่หยุดซึ่งก็ได้แก่

  1. Roll Cage (โครงเครื่องที่ผลิตจาก Magnesium) ทั้งตัว
  2. Touchpad ที่ใหญ่ขึ้น ช่วยในการวาดและทัชได้ง่าย
  3. ยังคง Trackpoint ที่ทำให้การใช้งาน cursor นั้นทำงานได้โดยไม่ต้องละมือออกจากตัวคีย์บอร์ด
  4. การรองรับ WWAN สำหรับติดต่อ 3G ได้ทั่วโลก
  5. การออกแบบบานพับที่เปิดได้ราบรื่นมากขึ้น
  6. คีย์บอร์ดที่มีการพัฒนาในด้านของการจัดวาง ตั้งแต่ในรุ่น T400 – T420
  7. กล้อง Webcam และไมค์ที่รองรับการประชุมแบบ VOIP ได้ดี
  8. มาตรฐานการออกแบบด้านระบบระบายความร้อนที่เงียบและระบายความร้อนได้ดี
  9. การใช้ Carbon Fiber กับฝากหลัง T Series เพื่อทำให้ฝาหลังบางลง
  10. การใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings ทำให้ผิวสัมผัสที่ฝากจอดูจับได้สบายขึ้น
  11. การมีตัวเลือกจอภาพแบบ Anti-glare IPS Panel เพิ่มเติมเข้ามา
  12. การยังคงไว้ซึ่งการเชื่อมต่อกับ VGA port ที่ยังเป็นมาตรฐานอยู่ใน projector ทั่วโลก

และอีกมากมายที่ทำให้ ThinkPad นั้นยังคงเหมาะสมกับ Business Notebook อยู่เรื่อยมาในด้านความทนทานและการใช้งานที่ตอบโจทย์ของกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่กับ Notebook ตลอดทั้งวันได้สบายๆ แต่ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงในตัว ThinkPad ก็เกิดขึ้นตามความคาดหมาย หลังจากการมาของ ThinkPad Edge ได้เพียงไม่นาน (ประมาณ 2-3 ปีก่อนหน้านี้) โดยการมาของ ThinkPad Edge นั้นเป็นเหมือนการลองตลาดของการปรับเปลี่ยนตัว ThinkPad Classic ทีละน้อยตามแนวคิด ThinkPad ของ Lenovo เอง ซึ่งเมื่อสิ่งที่ใส่มาใน Edge Series ได้รับผลตอบรับที่ดี (คงเพราะราคามันถูกเลยขายได้ดี) ก็จะค่อยๆ ใส่ลงมาใน Classic Series แบบไม่ต้องสงสัย และแล้วในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา เป็นปีของ “ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ ThinkPad Classic Series หมดความน่าสนใจลงไปจนหมดสิ้น” อย่างแท้จริง!

t431s-hero-tabbed

ThinkPad Classic Series ในปี 2012 นั้นมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ThinkPad ที่มีอายุของแบรนด์กว่า 20 ปี นั้นคือการปรับเปลี่ยนจาก Traditional Keyboard มาเป็น AccuType keyboard (อ่านเรื่องราวต่อได้ที่ กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)) และหลังจากนั้น ด้วยผลตอบรับที่ “คิดว่าดี” ของ AccuType keyboard ที่เปลี่ยนเข้ามาใน ThinkPad รุ่น 2012 (จริงๆ มีแฟนๆ เริ่มบอกว่า Lenovo ขาย ThinkPad ได้ในตอนนี้เพราะบุญเก่าที่ทำมาสมัย IBM เยอะมาก) ทำให้ในปี 2013 นี้ Lenovo ทำได้ทำลายภาพของ ThinkPad แบบเดิมไปจดหมดสิ้นแล้วด้วยการออกแบบตัว ThinkPad ทั้งหมดบนแนวคิดใหม่ในรุ่น ThinkPad T431s ที่มีการปรับเปลี่ยน Keyboard อีกครั้ง และนี่เป็นการปรับเปลี่ยนลักษณ์ของ Keyboard ครั้งที่เท่าไหร่แล้วของ Lenovo ของ Lenovo? ซึ่งถ้านับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad จาก IBM มา ได้มีการปรับเปลี่ยน Keyboard ซึ่งมีความหลากหลายของ Keyboard เกือบ 10 แบบทั้ง ThinkPad Edge และ ThinkPad Classic

การหายไปของ Traditional Keyboard นั้นทำให้เหล่าผู้ใช้งานรุ่นเก่าเริ่มมองยี่ห้ออื่นๆ มาทดแทนมากขึ้น การใช้ AccuType Keyboard นั้นยังไม่ได้รับผลกระทบเท่ากับการปรับเปลี่ยนการจัดวางปุ่มใหม่ที่ทำให้ Home/End, PgUp/PgDn และ F 1-12 นั้นอยู่ชิดติดกันจนทำให้การพิมพ์เอกสารและการป้อนตัวอักษรนั้นยุ่งยากมากขึ้น รวมไปถึงปุ่มหลายๆ ปุ่มถูกนำไปใช้เป็น Shortcut Key แทนการกดปุ่มตามมาตรฐาน IBM Keyboard ไปเสีย เพราะคนใช้งาน ThinkPad กว่าครึ่งซื้อ ThinkPad เพราะคีย์บอร์ดที่ได้สัมผัสที่ดี มีการจัดวางปุ่มที่ใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดของ Desktop Computer ได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการพิมพ์ซึ่งเหมาะกับองค์กรและคนที่ต้องทำงานสลับไปมาระหว่าง Notebook และ Desktop Computer อย่างมาก และแน่นอนว่า Traditional Keyboard นั้นเหมาะอย่างมากในการทำงานร่วมกับ OS อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Windows ได้อย่างดีมากๆ แต่ Lenovo กลับคิดว่าโลกนี้มีเพียง Microsoft Windows ที่เป็น OS เพียงหนึ่งเดียว ปรับเปลี่ยนปุ่มอย่าง Pause/Insert/Break ไปในจุดที่ยากต่อการใช้งาน ทำให้ความน่าสนใจในการซื้อ ThinkPad มาใช้งานดูลดน้อยลงไปในกลุ่มของ Business Notebook ขึ้นเรื่อยๆ และถ้ายังจำกันได้เมื่อ 2-3 ปีก่อน Lenovo: Design Blog ได้บอกกับผู้ใช้ว่าปุ่ม Esc และปุ่ม Delete มีการใช้งานมาก จึงได้ปรับเปลี่ยน Traditional Keyboard ในตอนนั้นในรุ่น T410 และ T420 ให้ใหญ่ขึ้น และนั้นดูสมเหตุสมผลมาก และเป็นสิ่งที่แฟนๆ ชื่นชม แต่มาในปีที่ผ่านมา Lenovo กลับทำตรงข้ามกันคือทำให้ทัั้งสองปุ่มนั้นเล็กลง เพียงเพื่อให้มันเข้ากับ 6 row ของ AccuType Keyboard ตัวเอง คำถามที่ Lenovo ต้องตอบแฟนๆ คือ “สิ่งที่ทำมามันเป็นการตลาดเฉยๆ ?” ซึ่งโดยส่วนตัวผิวสัมผัสในการพิมพ์ AccuType Keyboard ไม่ได้แย่ แต่พลาสติกและตัวเนื้องานนั้นแย่ มันให้สัมผัสแรกในการใช้ที่บอบบางและดูราคาถูกลงกว่า Traditional Keyboard อย่างมาก และนั้นทำให้ X1 Carbon ดูราคาถูกลงไปเลยในสายตาของแฟนๆ ที่กำลังจะซื้อมาใช้งานในราคาที่แฟนๆ ต้องจ่ายที่ดูแพงกว่าความเป็นจริง

ในปีนี้ (2013) ปุ่ม Trackpoint ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ก็เริ่มหมดความสำคัญไป การมาของ ThinkPad Buttonless Trackpoint นั้น ทำให้แฟนๆ ThinkPad ได้ลองสัมผัสกับ Buttonless ของ Touchpad ใน ThinkPad X220/X230 มาก่อนหน้านี้แล้วบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห่วย” และนั้นกำลังเกิดขึ้นกับ Trackpoint ที่เป็นสัญลักษณ์มาอย่างยาวนานของ ThinkPad กว่า 20 ปี และคาดว่าจะได้สัมผัสการกดที่ไม่แตกต่างจาก Trackpad ของ Macbook เท่าไหร่นัก ซึ่งนั้นอาจเป็นจุดจบของ ThinkPad ได้ไม่ยาก

การนำ ThinkLight ออกจากการออกแบบตัวเครื่องรุ่นหลังๆ เพราะไฟส่องคีย์บอร์ดจากขอบจอภาพด้านบนไม่ได้ถูกใช้งานเพียงแค่ส่องคีย์บอร์ด แต่ยังใช้งานในการส่องเอกสารต่างๆ ได้ด้วย และการหายไปทำให้การเลือกใช้ในการเดินทางยาวนานนั้นต้องมีภาระในการซื้อไฟส่องคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา

การเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนอาจไม่ทราบในปี 2012 คือรูปแบบช่องเสียบ Charger ที่มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้งในรอบ 5 ปี ซึ่งกว่า 10 ปีของ ThinkPad นั้นหัวเสียบ Charger  ยังคงใช้แบบเดียวตลอดมา ทำให้รุ่นเก่า-ใหม่สามารถใช้หัวเสียบ Charger ร่วมกันได้ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเปลี่ยนช่องเสียบ Charger ใหม่ถึง 2 รอบ ทั้งแบบกลม (รุ่นก่อนปี 2012) และแบบสี่เหลี่ยมพื้นผ้า (รุ่น X1 Carbon ปี 2012 และรุ่นปี 2013) ทำให้การใช้งานร่วมกันของ Charger ระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่นั้นทำไม่ได้เลย และอีกทั้งยังไม่มีคำตอบจากทาง Lenovo ว่าจะมีการออกตัว Convertor ของช่องเสียบที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือไม่

เอกลักษณ์ของ “สีดำสนิท” ถูกแทนที่ด้วย “สีดำผสมสีตะกั่ว” (Black to Graphite Black) โดยใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings  มากขึ้น ทำให้การหยิบ ThinkPad ออกมาใช้งานไม่ได้มีเอกลักษณ์ใดให้คนได้เห็นว่าคุณใช้ ThinkPad อีกต่อไป ซึ่งถ้าให้เทียบก็คงออกแนวเดียวกับค่ายรถ Ferrari ไม่ขายรถสีแดงอีกต่อไปแล้วนั้นเอง ซึ่งจากการนำ Polyurethane Soft-touch Coatings  มาใช้มากขึ้นนั้น ทำให้รู้ว่า Lenovo นั้นไม่ใส่ใจต่อปัญหาของ Polyurethane Soft-touch Coatings  ที่มีเสียงตอบรับไม่ดีตลอดมานับตั้งแต่มีการใส่เข้ามาที่ฝาหลังเครื่อง ThinkPad แต่อย่างใด ปํญหาทั้งการหลุดล่อนออกมาเมื่อมีการขัดสีกับพื้นผิว การดูแลรักษาที่ยากเพราะเป็นรอยเปื้อนได้ง่ายและทำความความสะอาดยาก ทำให้ตัวเครื่องดูเก่าได้ง่ายมากขึ้น ทำให้แฟนๆ รุ่นเก่าๆ เริ่มรู้สึกว่าไม่ทนทาน ดูเก่าง่ายมากกว่ารุ่นเดิมๆ อย่างมาก

การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ของ Lenovo ที่ใส่ลงไปมาใน ThinkPad นั้น ยิ่งทำให้ดูเหมือนกับ Consumer Notebook ที่เป็นสีดำ และเป็นการผลักไสแฟนๆ ของ ThinkPad ให้ไปใช้งานยีห้ออื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มี Keyboard ที่ดึงดูดการใช้งานที่ดี, Trackpoint ที่เริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งาน, สีดำด้านที่ดูแลรักษายากขึ้น จอภาพที่มีคุณภาพแย่ลงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ในตลาด เอาง่ายๆ แค่ว่าจอภาพมือถือ Nokia Lumia 920 ผมยังได้คุณภาพและความละเอียดที่ดีกว่าจอภาพ ThinkPad T420 ที่กำลังใช้งานอยู่ หรือ ThinkPad T430 ที่ขายในท้องตลาดตอนนี้ และ ThinkPad T431s ที่กำลังออกมาขายนั้นยังให้ความละเอียดจอภาพที่น้อยกว่า Samsung Galaxy S4 หรือมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมาในตลาดปีนี้อีกหลายรุ่น และ Lenovo ต้องคิดใหม่ในเรื่องนี้ได้แล้วว่าจอภาพ Full HD และ IPS Panel คือสิ่งที่ตลาดต้องการ ทั้งยังไม่รวมเรื่องของการอัพเกรด RAM ที่ยากขึ้น เพราะเริ่มใช้แนวคิดการใส่ตัว RAM ลงบน M/B ทำให้อัพเกรดไม่ได้ หรือมีช่องใส่ RAM เพียงช่องเดียว รวมไปถึงมีหลายๆ รุ่นที่ไม่สามารถเปลี่ยน Battery ได้ง่ายแบบรุ่นก่อนๆ ทำให้ความสามารถในการอัพเกรดนั้นลดลงไปอย่างมาก

เหตุผลง่ายๆ ที่แฟนๆ ยังใช้ ThinkPad อยู่ในตอนนี้คือ Keyboard และ Trackpoint ถ้ามันหมดไป แล้วทำไมต้องซื้อ ThinkPad เพราะการโฆษณาว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” นั้นไม่ได้ช่วยให้ประสบการณ์ผู้ใช้ดีขึ้น เพราะผู้ใช้งาน Notebook กว่า 90% ต้องใช้งาน Notebook ผ่านสิ่งเหล่านั้น และจากการที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ที่ซื้อ ThinkPad ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บอกกับผมว่า ThinkPad ในตอนนี้มีเนื้องานผลิตที่ไม่ได้รู้สึกว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” แต่อย่างใด เพราะจากการเฝ้ามองการที่กลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ก็บ่นกับมากขึ้นว่าเสียง่ายขึ้น ความทนทานเป็นแค่ราคาคุย เหมือนไม่ได้ผ่าน QC รวมไปถึงงานประกอบที่เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ นี่ยังไม่รวมถึงบริการหลังการขายที่มีปัญหามากกว่าแต่ก่อนทั้งในไทยและในต่างประเทศเอง

และทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา เหล่าแฟน ThinkPad คงต้องกลับมาตอบคำถามตัวเองแล้วว่า แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ

Change is hard. But wrong change is a disaster !!!

Lenovo’s Mission complete. Last ThinkPad traces destroyed at all.

R.I.P. ThinkPad (1992 — 2011)

Congratulations Lenovo for removing everything that makes a ThinkPad a ThinkPad.

Review: Lenovo ThinkPad X230

DSC_1863 DSC_1886

DSC_1874

ผมได้เครื่อง Lenovo ThinkPad X230 เครื่องนี้มาทดสอบผ่านทาง PR ของ Lenovo (Thailand) โดยเอามาใช้กันจุใจกว่าตอน ThinkPad X220 พอสมควร โดยได้ใช้งานอย่างเต็มที่เกือบๆ 3 อาทิตย์เลยทีเดียว ส่วนตัวแล้วแบกเอาไปใช้งานตามที่ต่างๆ อยู่บ้าง เอาไปออกทริปถ่ายรูปภาคสนามอยู่หลายครั้ง แน่นอนว่าก็แบกไปพร้อมๆ กับ ThinkPad T420 เครื่องที่ผมทำงานอยู่ด้วยเช่นกัน (รวมสองเครื่องก็เกือบๆ 4 กิโลกรัม) โดยใน ThinkPad X230 ตัวนี้นั้นมีบางส่วนที่แตกต่างจากเดิม และบางส่วนที่คงเดิม แต่สิ่งที่ยังสัมผัสได้อยู่คือ ความแน่นของงานประกอบของเครื่องในการจับถือที่ไม่มีอาการยวบจากแรงกดทั้งฝาหลังและที่วางมือบริเวณคีย์บอร์ดแต่อย่างใด และดูๆ จะบางลงเล็กน้อยด้วย โดยไม่มีตะขอเกี่ยวจอเหมือนเช่นเดียวกับ ThinkPad X220 ตัวเก่า ดูรวมๆ แทบจะเหมือนกับ ThinkPad X220 ก็ว่าได้

Read more