ติดพัดลมให้ MikroTik CRS326-24G-2S+RM ลดความร้อน รอบที่ 2 ครั้งนี้ดีกว่าครั้งที่แล้ว

จากตอนที่แล้ว ติดพัดลมให้ MikroTik CRS326-24G-2S+RM ลดความร้อน แต่ได้เสียงน่ารำคาญแทน เพราะพัดลมที่การันตีเสียงรบกวนทำงานไม่ได้ตามที่ระบุ คราวนี้เปลี่ยนพัดลมมาใช้ Noctua NF-A4x10 5V PWM ที่มีชุดต่อ USB เพิ่มเติมให้ในกล่องแทน

พัดลมตัวนี้ทำงานที่ระดับความเร็วรอบสูงสุด ที่ 5,000 rpm ระดับความดัง 19.6 dBA เพราะไม่ได้ต่อผ่านตัวควบคุมความเร็ว โดยต่อผ่าน USB power adapter และตัวมันไม่มีชุดปรับความเร็วรอบพัดลมแบบของ AC Infinity

ปัญหาคือ ในการต่อพัดลมรอบก่อนหน้านั้น ผมต่อแบบด้านบนดูดลมเข้าตัวพัดลม ซึ่งผ่านตัวหน้ากากเหล็กทำให้ได้เสียงที่ดังกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก จากการทดสอบพบไม่ว่าจะใช้ AC Infinity MULTIFAN Mini Compact 40mm x 20mm USB หรือ Noctua NF-A4x10 5V PWM เสียงที่ได้หากต่อจากด้านนอกนั้นจะได้เสียงรบกวนที่มากขึ้น

แต่ถึงจะเป็นแบบนั้น ในระดับเสียงรบกวนของพัดลมทั้งสองตัวแบบระบายความร้อนตามปรกติไม่ได้ติดตั้งไปยังหน้ากากเหล็ก พัดลมของ AC Infinity จะมีเสียงรบกวนที่ยังคงกว่าพอสมควรอยู่ดี

คราวนี้เมื่อรู้ว่าการติดตั้งด้วยการติดจากภายนอกมันได้เสียงรบกวนที่ดังจนรับไม่ได้ ผมจึงแกะเครื่องแล้วตัดตั้งจากด้านในแทน แล้วเดินสายเชื่อมต่อสำหรับ USB ออกข้างนอก

หลังจากติดตั้งตัวชุดพัดลมตัวนี้แล้ว พัดลมตัวนี้ทำงานปล่อยเสียงรบกวนในระดับที่น่าพอใจ

สำหรับระดับความร้อนหลังจากติดตั้งไปแล้ว หากไม่เปิดแอร์จะอยู่ที่ประมาณ 50-52c แต่หากเปิดแอร์จะอยู่ที่ประมาณ 43-48c ซึ่งถือว่าดีกว่าตอนไม่ใส่พัดลม ที่ระดับ 75-80c หากไม่เปิดแอร์และ 60-65c เมื่อเปิดแอร์ ซึ่งกราฟก็สามารถดูได้จากด้านล่างนี้ เพราะระดับความร้อนทั้งสองช่วงนั้นไม่หนีกันมากสำหรับพัดลมทั้งสองตัวนี้

ติดพัดลมให้ MikroTik CRS326-24G-2S+RM ลดความร้อน แต่ได้เสียงน่ารำคาญแทน เพราะพัดลมที่การันตีเสียงรบกวนทำงานไม่ได้ตามที่ระบุ

จากตัว MikroTik CRS326-24G-2S+RM ปัญหาคือมันทำความร้อนได้ 75c เวลาเปิดแอร์ในห้อง หรือระดับ 80-90c หากปิดแอร์ ซึ่งในมุมมองผมค่อนข้างสูงมาก ซึ่งตัว Network Switch ตัวนี้ เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดพัดลมมาให้ ถึงแม้จะมีช่องให้ใส่เพิ่มเติมได้ แต่ก็ไม่มีช่องต่อไฟเลี้ยงพัดลมในตัวแผงวงจร ตามภาพด้านล่าง

MikroTik Routers and Wireless – Products: CRS326-24G-2S+RM

ความอยากถนอมตัวอุปกรณ์นี้จึงเกิดขึ้น คือการตามหาพัดลมขนาด 40mm ที่สามารถต่อผ่าน USB ได้แทน ก็ไปเจอพัดลมที่คาดว่าน่าจะตอบโจทย์คือยี่ห้อ AC Infinity รุ่น MULTIFAN Mini Compact 40mm x 20mm USB Fan

พัดลมตัวนี้เป็น 40mmx20mm ที่ต่อไฟผ่าน USB ได้ ซึ่งตัวมันรองรับการปรับระดับรอบของตัวพัดลมได้ 3 ระดับด้วย ช่วยลดเสียงรบกวนและรอบพัดลมก็จะลดลงตามระดับความดังที่ได้รับด้วย

สเปคตัวพัดลมจากผู้ผลิตระบุระดับเสียงรบกวน 18dB

เมื่อนำมาติดตั้งลงในรูปแบบที่จะไม่ต้องแกะเครื่อง ซึ่งจะทำให้ void ประกันเสียหายแบบด้านล่าง
(เพราะแม้จะใส่เข้าไปด้านในสวยงาม แต่จากภาพแผงวงจร ไม่มีช่องให้ต่อแหล่งจ่ายไฟจากที่ตัวบอร์ด PCB อยู่ดี)

จากผลการทดสอบระหว่างยังไม่มีพัดลมและมีพัดลม จะเห็นความร้อนที่เกิดจากตัวเครื่องลดลงชัดเจนมาก (ช่วง 10:00 – 10:38 เป็นช่วงเปลี่ยนใส่พัดลม)

แม้ความร้อนดีขึ้น แต่เสียงที่ได้กลับน่ารำคาญแทน พัดลมทำงานที่ความดังระดับเกือบ 70dB แม้จะเปิดใช้งานในรอบของพัดลมต่ำสุดก็ตามที 🤦‍♂️

สรุปว่าตัว AC Infinity MULTIFAN Mini Compact 40mm x 20mm USB Fan ไม่ผ่านในแง่สเปคในการลดเสียงรบกวน แม้จะทำงานด้านระบายความร้อนได้ดีก็ตาม คงต้องหาพัดลมตัวอื่นที่ทำงานได้เงียบกว่านี้แทน

ความหมาย uptime guarantee ของ 99%, 99.9% หรือ 99.99%

ใน 100% ของ uptime guarantee ของทางด้าน computer system/network นั้นหมายถึง 1 ปี (คิดที่ 518,400 นาที หรือ 43,200 นาทีต่อเดือน)

ในทุกๆ 0.1% ของ downtime ทางด้าน computer system/network มีค่าเท่ากับ 8-9 ชั่วโมงต่อปี

เพราะฉะนั้นใน 1 ปีนั้น
– 99% หมายถึง ยอมให้ downtime ได้ 86.4 ชั่วโมง (หรือ 3 วัน 6 ชั่วโมง)
– 99.9% หมายถึง ยอมให้ downtime ได้ 9 ชั่วโมง
– 99.99% หมายถึง ยอมให้ downtime ได้ 52 นาที (หรือประมาณ 1 ชั่วโมง)

ในองค์กรทั่วไปมักใช้ 99% เป็นหลัก เพราะมักมีช่วงเวลาที่แน่นอนที่สามารถปิดระบบเพื่อทำ System Maintenance ได้ชัดเจนและยาวนาน ซึ่งไม่กระทบต่อการให้บริการอื่นๆ โดยมักทำในช่วงวันหยุดนอกเวลาทำงานปรกติ

ส่วนที่มักใช้ 99.9% นั้นจะเป็น Web hosting หรือบริการ Online โดยทั่วไป เพราะมักใช้ตอน System Maintenance ที่อาจจะทำตอนช่วงคนใช้งานน้อยเพื่อนำไปปรับปรุงระบบ หรือเปลี่ยนแปลงตัว hardware บางส่วนที่เสียหาย

สำหรับ 99.99% มักใช้ในงานด้าน Cloud/CDN services ที่มีการเข้าถึงได้จากทั่วโลกและมักจะไม่มีช่วงที่มีการใช้งานน้อยให้สามารถหยุดการ System Maintenance ได้บ่อยครั้งและนานมากนัก เพราะฉะนั้นจึงมีการใช้ตัวเลขตรงนี้ แต่นั้นหมายถึงราคาที่แพงมากขึ้น เพราะต้องคัดตัว hardware ที่สามารถรองรับการแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ต้องปิดระบบทั้งหมดรวมไปถึงระบบที่รองรับการล่มแล้วสลับไปใช้งานระบบอื่นๆ ได้เกือบจะในทันที

ตัวอย่างเช่น SLA ของ Google Apps for Business นั้นระบุ uptime ที่ 99.9% (อ้างอิง http://www.google.com/apps/intl/th/terms/sla.html ข้อมูล ณ วันที่ 24 ม.ค. 2013)

โดยจากรายงานของ blog ของ google แจ้งว่าในปี 2010 Gmail มี uptime ที่ 99.984% ใกล้เคียง 99.99% uptime มากๆ (อ้างอิง Official Google Enterprise Blog: Destination: Dial Tone — Getting Google Apps to 99.99%)

โดยใน SLA ของ Google Apps for Business นั้นยังมีการระบุระยะเวลาที่ชดเชยถ้า uptime น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามสัดส่วนดังนี้

น้อยกว่า 99.9% ถึง 99.0% ชดเชย 3 วัน
น้อยกว่า 99.0% ถึง 95.0% ชดเชย 7 วัน
น้อยกว่า 95.0% ชดเชย 15 วัน

Canon ทำกล้องวงจรปิด!!!

ไปอ่านใน Canon Network Camera, Ice Monster ของ @ifew เมื่อเช้าแล้วน่าสนใจแฮะ … คือเมื่อตอนเรียนปีสามเนี่ยผมเคยไปติดตั้งกล้องวงจรปิดให้พ่อผมที่ร้านอาหารของพ่อที่พิษณุโลก (แถวๆ ม.นเรศวรนั้นแหละ) แล้วพบความยุ่งยากว่าต้องมานั่งดูว่ากล้องแต่ละตัวมันเข้ากับชุดการ์ด DVI ของเราได้หรือเปล่า แล้วเจ้าการ์ด DVI เนี่ยมันรองรับกล้องได้กี่ตัว แถมต้องลากสายสัญญาอะไรอีกให้วุ่นวายมากมายเลย –_-‘ แถมไอ้เรื่องที่น่าปวดหัวที่สุดคือการ์ด DVI เนี่ยมันเลือก M/B และ VGA Card ด้วยครับ ใช้รุ่นใหม่ๆ หน่อยก็ไม่ได้ ต้องรุ่นเก่าๆ หน่อยไม่งั้นภาพไม่ขึ้นใช้งานไม่ได้อีก แถมเจ้าระบบไฟล์ที่ได้จากการ์ด DVI มันเป็นไฟล์เฉพาะ อยากเอาออกมาใช้งานทีนึงก็ต้อง Export เป็น Mpeg4 ซึ่งกินเวลานานมาก ขนาดต้องการแค่ 2-3 ชั่วโมงยังใช้เวลา Export 5-6 ชั่วโมงทีเดียว แถมมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่มากๆ ด้วย แถมในรุ่นเล็กๆ ยังทำให้ดูผ่านระบบ Network ไม่ได้เสียด้วย ซึ่งลงทุกไปหลายหมื่นอยู่แต่ได้งานในระดับที่พอใช้ได้

ซึ่งมารอบนี้ Canon เข้ามาทำตลาดกล้องวงจรปิดแบบ IP Network Camera แล้วน่าสนใจมากคือต้องบอกก่อนว่าเจ้า IP Network Camera นี่มีมาพอสมควรแล้วหล่ะ เพียงแต่ว่าทำตลาดในวงแคบและไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไหร่นัก แต่มารอบนี้ Canon ทำตลาดให้ผู้ใช้งานตามห้างร้านที่ต้องการกล้องวงจรปิดโดยใช้ความรู้ในด้านการติดตั้งน้อยกว่าตอนผมติดตั้งเมื่อ 4-5 ปีก่อนมากเลยทีเดียว พร้อมระบบควมคุมที่น่าสนใจทีเดียวครับ จากที่ได้อ่านการติดตั้งและคุณสมบัติของมันแล้ว เจ้าตัวซอฟต์แวร์ Network Video Recording นี่ต่อได้ 64 ตัวพร้อมๆ กันได้เลย เลยน่าสนใจมากสำหรับคนที่ต้องการติดตั้งให้ครอบคลุมพื้นที่มากจุด แถมแปลงไฟล์วิดีโอเป็น QuickTime ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า QuickTime เนี่ยมันเป็น Mpeg4 หรือเปล่า ถ้าใช่ก็ไม่แน่ใจอีกว่าเป็น codec H.264 ที่ใช้พื้นที่จัดเก็บไม่มากแบบรุ่นที่ขายกันทั่วไปไหม

52570458[1]

ยืมภาพจาก @ifew มา เดี่ยวไม่เห็นของจริง ;P

ต่อมาเรื่องของ Motion Detection และ Night Mode ที่ถ้าเป็นกล้องแบบเดิมๆ จะอยู่ในรุ่นสูงๆ หรือกล้องเฉพาะงานที่มีราคาแพงเท่านั้น ซึ่งในตัวนี้มีมาให้พร้อมเลยทีเดียวครับ ซึ่งเจ้า Motion Detection นี่น่าจะละเอียดกว่าพวก DVI โดยทั่วไปอยู่พอสมควร เดี่ยวถ้าได้มีโอกาสอัพเกรดตัวกล้องที่ร้านคงได้ลองใช้ดู … (อาจจะไปยุให้บ้านน้าติดตั้งดูก็ดีแฮะ เพราะเห็นว่ากำลังจะติดตั้งอยู่เหมือนกัน)

… แล้วพอลล่าไม่เป็นพรีเซ็นเตอร์เหรอครับ ;P

อ้างอิงข้อมูลอื่นๆ จาก

“พิสูจน์แล้ว แคนนอน Network Camera เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อโลกธุรกิจ…ที่ให้ได้มากกว่าความปลอดภัย”

http://th.syndacast.com/press-releases/277-canon-network-camera.html

http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?p=896214#post896214

http://technology.impaqmsn.com/article.aspx?path=spec&rid=0&id=9772