รีวิว LG 34UC97 Curved Ultrawide monitor 21:9 IPS QHD LED 34” ที่เหมาะสำหรับเล่นเกมและทำงาน ให้ความรู้สึกเหมือนต่อ 2 จอ

หลังจากรีวิว LG 29UM65 Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” ไปก่อนหน้านี้ วันนี้ได้มีโอกาสได้ทดลองใช้งาน LG 34UC97 อีกครั้งประมาณ 2 อาทิตย์ โดยรอบนี้ไม่ได้มาแค่เฉพาะ 21:9 เท่านั้น แต่มาพร้อมความกับการออกแบบที่ตัวจอภาพมีความโค้งรับการกับการกวาดสายตา เมื่อเวลาใช้งาน และด้วยความที่เป็นจอภาพสัดส่วน 21:9 ซึ่งทำให้มันเหมาะกับใช้ทำงานเอกสารที่ต้องใช้การเปิดหลายๆ หน้าต่างแล้วอีกด้วย

IMG_20150202_114208

 

แรกเริ่มสัมผัส

image

จากรีวิวเก่า เราขอเล่าซ้ำสักหน่อยว่า โดยจากแผนภาพด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนถึงขนาดของจอภาพ 21:9 ที่ได้พื้นที่แนวกว้างเพิ่มมากขึ้นกว่า 16:9 หรือ 16:10 อยู่ถึง 1 ใน 5 นั้นทำให้มันมีพื้นที่ในการทำงานในแนวนอนเยอะมากขึ้นจนสามารถที่จะเปิด หน้าต่างของโปรแกรมได้ถึง 2-3 หน้าต่างพร้อมๆ กันในแนวนอนได้

https://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/wp-content/filesuploaded/Image/-LG-29UM65-Ultrawide-IPS-LED-monitor_10310/image.png

สำหรับความกว้างในการแสดงผลของสีนั้น LG ก็ทำได้ตามที่บอกไว้ (เส้นสีแดง)โดยจากคำโฆษณานั้นรองรับ sRGB >  99% ซึ่งจากการที่ใช้งานมานั้น ผลการแสดงผลสีสันระหว่างการใช้งานตกแต่งรูปทำได้ดีเยี่ยม การไล่แฉดสีทำได้เที่ยงตรงดี แต่ต้อง calibrate monitor สักหน่อย (โดยผมจะมีกล่าวต่อเรื่อยๆ ว่าทำไม)

2015-02-15_191853

ช่องเชื่อมต่อที่เครื่องมีให้ มีดังต่อไปนี้

  1. ช่องต่อ Power Adapter
  2. ช่องต่อหูฟัง 3.5 mm
  3. ช่องต่อ HDMI 1-2 โดยให้มา 2 ช่อง ขนาดปรกติ
  4. ช่องต่อ Display Port ขนาดปรกติ
  5. ช่องต่อ Thunderbolt 1-2 โดยเพื่อรองรับการเชื่อมต่อแบบ Daisy-Chain
  6. ช่องต่อ USB 3.0 แบบขาเข้าสำหรับใช้ต่อร่วมกับ USB 3.0 ที่เป็นช่องขาออกที่มีให้ 2 ช่อง
  7. ช่องต่อ USB 3.0 ขาออกให้ที่ได้รับสัญญาณข้อมูลจาก USB 3.0 ขาเข้า โดยมันสามารถเอาไว้ชาร์จไฟมือถือที่ต้องการแรงดันไฟขนาด 1.1A ได้

ด้านซ้ายสุดจะมีปุ่มเปิด-ปิด

DSC_7944

2015-02-16_130802

สำหรับในส่วนของฐานจอภาพนั้น เป็นเหล็กชุบโครเมียมอย่างดี น้ำหนักค่อนข้างมา ลับคมตามขอบดีเยี่ยม

DSC_7927c

การเชื่อมต่อของตัวฐานจอภาพ และส่วนที่ยึดเข้ากับจอภาพนั้นใช้น็อตทั้งหมด 4 ตัวด้วยกัน โดยที่ฐานจอ 2 ตัวและที่ตัวจอภาพ 2 ตัว

น้ำหนักของจอภาพที่ลองกับฐานจอภาพนั้นจะถ่ายน้ำหนักได้ค่อนข้างดี โดยจะมีน้ำหนักลงไปตรงกลางระหว่างจุดด้านหน้าและด้านหลังจอภาพ ทำให้เมื่อตั้งจอภาพแล้วจอภาพไม่หงายหลังล้มได้ง่ายแต่อย่างใด

DSC_7921c DSC_7916c

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องนั้น มีคู่มือ แผ่น CD บรรจุ driver/software จำนวน 2 แผ่น, power adapter ขนาดใหญ่ (มาก), สาย DisplayPort, สาย HDMI และแผ่นพลาสติกปิดจอภาพด้านหลังบริเวณช่องต่อต่างๆ ให้ดูเรียบร้อยขึ้น

DSC_7897c

โดยส่วนตัวแล้วการต่อจอภาพเพื่อใช้งานให้ได้ภาพขนาด ระดับ QHD (3,440×1,440 pixel) ตามคุณสมบัติของจอภาพนั้น ผมต้องต่อผ่าน DisplayPort ซึ่งช่องต่อจอของรุ่นนี้อาจจะมีปัญหาสักหน่อย เพราะด้วยหัวของสาย DiaplayPort ที่ใหญ่และแข็ง อาจจะต้องใช้แรงในการกดเข้าไปต่อ และใช้แรงกดและดึงออกมา เมื่อปลดออก ซึ่งตรงนี้ต้องระวังกันสักหน่อย และเมื่อต่อเข้าไปเรียบร้อยแล้วจะก็เอาแผ่นปิดหลังจอมาปิดให้เรียบร้อย

จากข้อมูลข้างต้น จอภาพรุ่นนี้เป็นจอภาพระดับ QHD (3,440×1,440 pixel) หรือระดับเทียบเท่า 2K หรือ 2,560 x , 1,440 pixel แต่เพิ่มความกว้างเข้ามาเพิ่มขึ้นนั้นเอง

DSC_7844

ประกอบเสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมใช้งาน ด้วยขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ และด้านกว้างที่กว้างพอสมควร ทำให้ต้องกวาดสายตาไปมาค่อนข้างมา เวลาใช้จริงๆ อาจจะต้องปรับตัวอยู่นานพอสมควร

ตัวจุดต่อกับฐานจอภาพนั้น สามารถใช้ Wallmount Bracket ที่เป็นอุปกรณ์เสริมของ LG เพื่อนำไปแขวนบนผนังได้ด้วย

 

ความรู้สึกระหว่างการใช้งาน

DSC_7848

มาดูความโค้งของจอภาพนั้นไม่ได้โค้งจนหน้ากลัว หรือทำความคุ้นเคยยากเกินไปนัก ส่วนตัวแล้วใช้เวลาปรับตัวอยู่ 2-3 วันก็คุ้นเคยได้อย่างดี การโค้งของจอภาพแบบนี้นั้น ช่วยในการทำงานในระยะใกล้ๆ ที่ตาของผู้ใช้งานห่างจากจอภาพประมาณ 50-60 cm ได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้เราไม่ต้องชะโงกไปซ้าย-ขวาไปมาเวลาดูมุมจอภาพ เพราะด้วยความที่จอภาพนั้นยาวกว่าความคุ้นเคยตามปรกติที่ใช้งานกัน 16:9 ในแบบ Full HD แบบเดิมๆ (รูปสุดท้ายด้านล่าง)

DSC_7835 DSC_7837

DSC_7803c

การปรับจอภาพนั้นใช้จอยสติ๊กเล็กๆ ที่ด้านล่างขอภาพที่ถูกซ่อนไว้ โดยเมนูจะเพิ่มเติมขึ้นมา โดยในรุ่นนี้ยังคงมีความสามารถที่ชื่อว่า Dual Link คือต่อจอภาพจากแหล่งสัญญาณภาพหลายแหล่งให้แสดงผลได้พร้อมๆ กัน

สำหรับความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ MaxxAudio ที่ให้เสียงลำโพงที่อยู่ที่จอภาพนั้นดังมากขึ้น ซึ่งคงจะเหมาะกับหลายๆ คนที่ไม่อยากมีลำโพงตั้งอยู่บนโต๊ะทั่วๆ ไป การมาซ่อนและอยู่กับจอภาพก็ทำให้โต๊ะดูโล่งมากขึ้น และดูสะอาดตา แต่เรื่องมิติเสียงนั้น ส่วนตัวแล้วเฉยๆ ไม่ได้โดดเด่นอะไร

ในส่วนของความสว่างของจอภาพนั้น ตัวจอภาพให้ความสว่างที่ค่อนข้างมาก แต่ด้วยการ calibrate จอภาพที่เหมาะสมต่อการใช้งานด้านภาพถ่ายและงานเอกสาร จึงต้องปรับลดคามมสว่างลงมาค่อนข้างเยอะ โดยจากที่ได้ทดสอบนั้น ต้องลดลงไปเกือบๆ 40 unit (หน่วยของการปรับของจอรุ่นนี้) แต่ดูเหมือนว่าที่ 40 จะให้แสงสว่าง 132cd/m^2 และไม่สามารถลดลงไปมากกว่านี้ได้แล้ว ซึ่งตามปรกติ จอภาพที่ใช้ทำงานด้านภาพถ่ายจะปรับลดลงเหลือเหลือประมาณ 120cd/m^2 ก็อาจจะลำบากสักหน่อยกับงานภาพที่ต้องการดูโทนสีด้านมืดที่ดำสนิท

DSC_7852

image image

สำหรับการเล่นเกมบนจอกว้างๆ แบบนี้ ก็ดูเแปลกตากว่าปรกติมากเลย ผมได้เอาเกม Batman Arkham Origins มาลองเล่นดู โดยรวมพอเล่นไหว แต่ด้วยเครื่องที่มีการ์ดจอแรงเมื่อหลายปีก่อน เลยกระตุกอยู่พอสมควร เพราะต้องขับความละเอียดของเกมไปที่ระดับ 3,440 x 1,440 pixel หากต้องเล่นเกมบนความละเอียดขนาดนนี้ แนะนำให้การเครื่องที่แรงๆ และการ์ดจอที่แรงสุด ๆ มาเล่น ผมคิดว่าจะได้รับความบันเทิงที่แปลกใหม่มากขึ้น

DSC_7830

ระหว่างการเล่น Batman Arkham Origins จะสังเกตเห็นโทนสีฝั่งมืดที่มองยากกว่าปรกติ โดยเฉพาะเงาในที่มืด แต่ทั้งนี้คงเป็นเป็นตอนที่ยังไม่ได้ calibrate monitor และหลังจากที่ calibrate monitor แล้ว การแสดงผลโทนสีดำและโดนเงากลับแสดงผลได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งนั้นเป็นที่ค่อนข้างแน่ว่า หากได้จอภาพมา อาจจะต้องทำ calibrate monitor เพิ่มเติมสักหน่อย เพื่อการแสดงผลช่วงมืดที่ดีมากขึ้น

DSC_7815

สำหรับการแสดงผลของภาพยนต์ต่างๆ นั้น เรื่องความกว้างและการแสดงผลด้านสีสันไม่ได้แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง LG 29UM65 มากมายนัก แต่ด้วยความที่จอภาพเป็นแบบโค้ง จึงให้ความรู้สึกเหมือนดูบนจอภาพยนต์ตามโรงภายยนต์มากขึ้น (โรงภาพยนต์ส่วนใหญ่จะจอโค้งหน่อยๆ)

DSC_7858c

ในด้านการใช้งานทั่วไปนั้น แน่นอนว่าจอภาพละเอียดระดับ 3,440 x 1,440 pixel ย่อมให้พื้นที่ในการทำงานมากขึ้น โดยระหว่างนำมาทดสอบ ก็ใช้เอามาดูไฟล์ต่างๆ ที่เรียงกันได้มากขึ้น (แต่ก็นั่งไล่กันลายตาขึ้น) ได้พื้นที่สำหรับการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันนั้น ทำให้การทำงานสะดวกสบายเพิ่มขึ้น

ส่วนตัวเป็นคนใช้ทำงานด้านเอกสาร และการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ อยู่แล้ว เมื่อเอามาใช้ทำงานด้านนี้แล้ว ค่อนข้างสะดวกสบายอย่างมาก

DSC_7886

DSC_7860 DSC_7887

 

สรุปการใช้งานระหว่างทดสอบ

  1. จอภาพโค้ง ให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่แปลกใหม่กว่าเดิมอย่างมาก ช่วยให้การใช้งานนั้นสะดวกในการกวาดจอภาพให้ครบทั้งพื้นที่ของจอภาพที่เป็นสัดส่วน 21:9 ได้มากขึ้น
  2. การแสดงผลระหว่างการเล่นเกมและดูภาพยนต์ทำได้อย่างดีเยี่ยม แม้จะต้อง calibrate monitor ก่อนเพื่อให้การแสดงผลส่วนมืดทำได้ดีมากขึ้น ซึ่งคงไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป แต่สำหรับมืออาชีพแล้ว ค่อนข้างแสดงได้ดีหลังจาก calibrate monitor แล้ว
  3. ช่องเชื่อมต่อต่างๆ หลังจอภาพมีความหลากหลายอย่างมาก port USB 3.0 ให้มานั้น ไม่ใช่แค่ช่วยให้เชื่อมต่อกับ external hard drive หรือ flash drive ต่างๆ ได้ แต่ยังเชื่อมต่อชาร์จไฟเข้าอุปกรณ์อย่างมือถือ หรือแท็บเล็ตได้ด้วย
  4. ราคาในไทยขายอยู่ที่ราคา 32,900 บาท ซึ่งขนาดจอภาพ ความสามารถ และราคาระดับนี้ น่าจะเหมาะสมกับมืออาชีพที่ทำงานด้านภาพถ่าย วิดีโอ หรืองานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์มากกว่า แน่นอนว่า กลุ่มเป้าหมายของ LG ที่ทำตลาดจอภาพรุ่นนี้ มุ่งจำหน่ายกลุ่มเพื่อความบันเทิงอย่างการเล่นเกมด้วย ซึ่งส่วนตัวอาจจะเป็นทางเลือกที่แพงไปสักหน่อย แต่เรื่องนี้ต้องอยู่ที่กลุ่มผู้ซื้อที่เอาไปเล่นเกมนั้นเป็นกลุ่มที่เล่นเกมแนวไหน หากเป็น hard core gamer เล่นเกมแนว FPS แล้ว ก็อาจจะมองค่าตัวระดับนี้ไม่ใช่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
  5. การแสดงผลความละเอียดระดับนี้อาจจะต้องตรวจสอบการ์ดจอและจุดเชื่อมต่อของเครื่องที่จะเอามาเชื่อมต่อว่าพร้อมหรือไม่ เพราะหากไม่พร้อม อาจจะซื้อของแพงมา แต่ใช้งานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพได้ (ซึ่งน่าเสียดายมาก) และแน่นอนว่าการใช้จอภาพความละเอียดระดับนี้ ต้องใช้คู่กับ mouse ที่มีความละเอียดสูงมากๆ (high dpi) ไม่เช่นนั้น การลากเมาส์ไปจุดต่างๆ บนจอภาพจะไม่สะดวกอย่างมาก

ข้อมูลด้านเทคนิดอื่นๆ LG UltraWide QHD IPS Monitor 34UC97 34″ 21:9 Curved UltraWide Monitor – LG Electronics TH

รีวิว LG 29UM65 Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” ที่เหมาะสำหรับทำงานโดยไม่ต้องต่อจอภาพเพิ่ม

เมื่อสัก 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้ LG 29UM65 มาทดลองใช้ ซึงเป็น Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” โดยมันเหมาะในการใช้ทำงานเอกสารที่ต้องใช้การเปิดหลายๆ หน้าต่างในเวลาเดียวกันเป็นอย่างมาก ทั้งยังพ่วงมาพร้อมกับรองรับความบันเทิงได้อย่างดีเยี่ยม เรามาดูกันว่ามันมีอะไรน่าสนใจและตอบโจทย์ในการทำงานอย่างไร

LG IPS Monitor Ultra Wide

DSC_7744c

จากแผนภาพด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนถึงขนาดของจอภาพ 21:9 ที่ได้พื้นที่แนวกว้างเพิ่มมากขึ้นกว่า 16:9 หรือ 16:10 อยู่ถึง 1 ใน 5 นั้นทำให้มันมีพื้นที่ในการทำงานในแนวนอนเยอะมากขึ้นจนสามารถที่จะเปิดหน้าต่างของโปรแกรมได้ถึง 2 หน้าต่าพร้อมๆ กันในแนวนอนได้

image

สำหรับความกว้างในการแสดงผลของสีนั้น ค่อยข้างใกล้เคียงกับ sRGB พอสมควร (เส้นสีแดง) โดยจากคำโฆษณานั้นรองรับ sRGB >99% แต่จากการทดสอบ อาจจะมีการ calibrate หรือการปรับตั้งจอภาพที่อาจจะมีปัญหา ทำให้ได้โทนสีเขียวหลุดหายไปพอสมควร ซึ่งจะกล่าวเหตุผลต่อไปตอนพูดถึงการปรับตั้งค่าจอภาพ

2014-10-26_163156

การปรับแต่งหน้าจอทำได้ผ่านปุ่มใต้โลโก้ ที่มีเพียงปุ่มเดียว โดยกดปุ่มลงไปแล้วโยกไป-มาตามเมนูต่างๆ

จากการใช้งาน อาจจะต้องปรับตัวเล็กน้อยเพราะค่อนข้างใช้ความเคยชินในการเริ่มต้นใช้มากพอสมควร เพราะบางครั้งต้องกดและโยกปุ่มไปพร้อมๆ กัน

DSC_7725 image

การปรับแต่งนั้นส่วนที่ขาดหายไปที่ส่วนตัวมองว่าจำเป็นอย่างมาก คือการปรับ color temperature ที่ไม่พบการปรับแต่งอุณหภูมิสีตามค่ามาตรฐาน Kelvin เช่น 5000K, 5500K, 6500K หรือ 9300K แต่เป็น Warm, Medium และ Cool  แทน ซึ่งจากการค้นหาข้อมูลจากคู่มือของ LG ในรุ่นอื่นๆ นั้น  ค่า Warm คือ 6500K ส่วนค่า Medium หรือ Cool นั้นไม่ค่อยมีค่าแน่นอนสักเท่าไหร่ ทำให้เมื่อนำไปใช้งานปรับแต่งเพื่องานที่ซีเรียสเรื่องสี นอกจากค่า 6500K แล้วอาจจะต้องมานั่งไล่ปรับตามค่า RGB ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ แต่ยุ่งยากกว่าพอสมควร ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุให้เมื่อทำการ calibrate หน้าจอเพื่อหาค่า ICC ออกมาแล้วมีบางโซนของการแสดงผลสีที่ต่ำกว่าความเป็นจริงที่สามารถทำได้ ซึ่งหากใครไม่ได้ซีเรียสในเรื่องนี้มากนัก ก็อาจจะไม่ถือเป็นข้อแย่แต่อย่างใด เพราะค่าที่ตั้งมาให้จากโรงงานก็ให้ค่าสีที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับจอ LG E2360V-PN ที่ผมใช้งานอยู่มานานปี ซึ่งจอที่นำมาเปรียบเทียบนี้ ได้รับการปรับแต่ง color temperature เป็น 6500K และทำการ calibrate จอภาพแล้วเช่นกัน

 image image

แน่นอน อาจจะมีหลายๆ คนที่ใช้งานแล้วมีซอฟต์แวร์บางตัวไม่รองรับกับขนาดจอภาพ 2560×1080 แบนี้ เราสามารถมาปรับแต่ง Ratio ให้เป็น Original ก็ได้ ซึ่งเราสามารถที่จะทำให้การแสดงผลนั้นจำกัดขอบเขต แนวตั้งแทนแนวนอน อาจจะมีพื้นที่ขอบสีดำด้านซ้าย-ขวาขึ้นมาในพื้นที่ที่ไม่มีการแสดงผล อย่างที่ผมใช้เล่นเกมอย่าง StarCraft II หรือ Diablo 3 ก็เล่นได้อย่างสบายๆ

DSC_7766

แน่นอนว่าหากความละเอียดไม่ตรงตามที่จอรองรับจะมีข้อความเตือนว่าใช้ความละเอียดที่ไม่ตรงอยู่มาให้เราเห็นด้วย

DSC_7762

การเชื่อมต่อสามารถเชื่อมต่อกับ port อย่าง DVI, HDMI 1.4 , DisplayPort 1.2  และช่องต่อ audio in-out แบบ stereo speakers มาให้พร้อม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อลำโพงในตัวจอภาพ และหูฟังภายนอกได้ในคราวเดียว

DSC_7728

ในการใช้งานนั้นส่วนตัวใช้ DisplayPort ในการเชื่อมต่อแทน HDMI ทีให้มาในกล่อง เพราะเนื่องจากเครื่องที่ใช้งานนั้น การ์ดจอรองรับการส่งภาพออกผ่าน HDMI ได้เพียง Full HD แบบ 1960×1080 เท่านั้น หากต้องการได้รับภาพขนาด 2560×1080 แบบ Ultrawide 21:9 นี้ ต้องต่อจอภาพผ่าน DisplayPort ซึ่งการใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างจาก HDMI เท่าไหร่ เพราะส่งได้ทั้งภาพและเสียงมาได้ทันทีสบายๆ ฉะนั้นหากใช้จอภาพตัวนี้อาจจะต้องตรวจสอบการ์ดจอของท่านให้ดีว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบใดจึงจะสามารถแสดงผลได้เต็มประสิทธิภาพ

DSC_7733 DSC_7736

สำหรับในส่วนของฐานจอภาพค่อนข้างแน่นหนาดีมาก และมีลำโพงขนาด 7 Watts ทั้งสองด้าน ให้มาพร้อมในตัว ซึ่งสามารถเล่นเสียงผ่านสาย DisplayPort หรือ HDMI ได้ทันที

ตัวจอยึดกับฐานจอด้วยน็อต 2 ตัวกัฐานจอที่ค่อนข้างแน่นอนมาก แต่เวลาประกอบจอครั้งแรกเมื่อใช้งาน ต้องค่อยๆ ขันน็อตและตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียหน่อย เพราะจอภาพค่อนข้างหนักและอาจทำให้รูน็อตมีปัญหาได้หากขันไม่แน่นหนาพอ

DSC_7745

DSC_7752 DSC_7751 

ในด้านของความบันเทิง จริงๆ ส่วนตัวมองว่ามีประโยชน์ในส่วนของการแสดงผลสัดส่วนภาพที่เท่ากับ

โรงภาพยนตร์ หรือที่บรรจุในแผ่น Bluray ที่เดี๋ยวนี้มักเป็น 21:9 ทำให้การแสดงผลดูเต็มตา ครบพื้นที่ของจอภาพที่เรามีครับ อันนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบสำหรับคนที่มีแผ่นหนัง Bluray เยอะๆ แล้วเอามาเปิดบนจอสัดส่วน 21:9 แบบนี้

DSC_7760

ความสามารถแบบ Dual Link-up คือความสามารถที่ทำให้จอภาพเราสามารถแสดงผลภาพจากอุปกรณ์ 2 ตัวมาแสดงผลบนจอภาพ 1 จอได้พร้อมๆ กัน โดยที่ผมใช้บ่อยๆ คือต่อจอภาพด้วย DisplayPort และ HDMI พร้อมๆ กัน ซึ่ง HDMI จะต่อจากมือถือที่เป็น port แบบ SlimPort อีกทีหนึ่ง

DSC_7767

ตัว Dual Link-up จะแบ่งครึ่งขอภาพด้านซ้ายและขวามาให้ ต่อเป็น PC อยู่ด้านซ้าย และ Android อยู่ด้านขวา ซึ่งเหมาะกับงานที่มีการนำเสนอควบคู่กันจากสองแหล่งการส่งภาพมาแสดงผล หรือจะนำมาประยุกต์ใช้กับการดูภาพยนต์ไปพร้อมๆ กับการทำงานก็ยังได้

โดยความสามารถแบบ Dual Link-up สามารถต่อเข้ากับจอภาพรุ่นนี้ได้ทั้งผ่าน DVI, HDMI และ DisplayPort ได้พร้อมกัน 2 อุปกรณ์ ซึ่งความการตั้ง Ratio ของทั้งสองฝั่งนั้นตั้งแยกได้อย่างอิสระ

DSC_7768

DSC_7772

จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หากมองในมุมการทำงานในปัจจุบันนี้ เราต้องการพื้นที่ในการทำงานที่มากขึ้น ในชีวิตประจำวันในการทำงานเรามักเปิดโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาทำงานพร้อมๆ กันอยู่มากมายหลายตัว ซึ่งทำให้การทำงานบนจอภาพ Ultrawide 21:9 ตัวนี้ ตอบโจทย์การทำงานที่สามารถเปิดหน้าต่างของโปรแกรมได้พร้อมๆ กันโดยที่ไม่ต้องใช้การซ่อนลงมา taskbar เพื่อสลับไป-มาในระหว่างการทำงาน ซึ่ง LG 29UM65 นั้นโดดเด่นที่มีขนาดหน้าจอกว้างเพิ่มขึ้นจากหน้าจอ wide screen ขนาดมาตรฐาน 16:9 หรือ 16:10 โดยทั่วไปอีก 1 ใน 5 ทำให้เรามีหน้าจอที่สามารถทำงานได้มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้จอภาพเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งทำให้ชีวิตการทำงานสะดวกอย่างมาก

DSC_7716

สำหรับราคาขาย LG 29UM65 อยู่ที่ 17,900 บาท และทั้งนี้ LG IPS Monitor UltraWide มีอยู่ทั้งหมด 3 ขนาดที่วางจำหน่ายในไทย โดยอีก 2 ขนาดคือ หน้าจอ 34” ราคา 24,500 บาท และขนาดหน้าจอ 25” ราคา 9,900  บาท

ข้อมูลด้านเทคนิดอ่านได้ที่ LG 29UM65 IPS Monitor UM65 Series – LG Electronics TH

ปีหน้า 1,366px กำลังมา!

วันนี้ก็ได้พูดๆ เรื่องนี้ไปใน Facebook เลยคิดว่าเขียนอะไรสั้นๆ นิดๆ ให้เห็นภาพดีกว่า

คือส่วนตัวแล้วผมสังเกตุมาได้สักปีถึงสองปีมานี้ แนวการแสดงผลของเว็บอ้างอิง Resolution ไปที่ขนาดความกว้าง 1,280 pixel (WXGA) ทั้ง 1,280×800 pixel (16:10) และ 1,280×720 pixel (16:9) มากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นว่าเว็บต่างประเทศเน้นไปขนาดจอภาพแนวกว้างมากขึ้น และจอภาพในตลาดที่นำออกมาขายก็มีไม่ต่ำกว่าขนาดความกว้างขนาดนี้แต่ก็ยังตามหลังจอภาพขนาด XGA 1,024×768 pixel (4:3) อยู่พอสมควร

มาปีนี้ Windows 8 กำลังจะเปิดตัว ได้กำหนดว่าจอภาพที่เหมาะสมต่อการใช้งานนั้นขั้นต่ำคือระดับ HD ที่ 1,366×768 (16:9) ขึ้นไป ซึ่งทำให้ปีหน้าจอภาพระดับนี้จะเป็นมาตรฐานแน่ๆ ผมมองว่าคนทำเว็บควรจับตาและเตรียมแผนรองรับการแสดงผลที่ระดับนี้กันได้แล้ว

ผมขอนำสถิติของทั้ง http://gs.statcounter.com และ http://truehits.net มาแสดงให้เห็นชัดๆ ว่าสิ่งที่ผมรู้สึกนั้นกำลังจะมาจริงๆ ครับ

ซึ่งจะเห็นว่า ในตอนนี้ถ้าเราทำเว็บที่รองรับที่ขนาดจอภาพขั้นต่ำที่กว้างระดับ WXGA (1,280 pixel) ก็ทำให้เราทำเว็บที่รองรับกับจอภาพของคนที่เข้ามาชมเว็บซึ่งมากกว่า 1,024 pixel ไปแล้ว!!! แล้วจะรออะไร ทำไมต้องทำเว็บที่มีพื้นที่เว็บกว้างแค่ 1024 pixel ด้วยจริงไหม?

2012-10-05_225835

StatCounter-resolution-ww-yearly-2009-2012

คำแนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ

ตอนนี้บทความต่างๆ ผมก็เริ่มๆ เอาออกมาบ้างแล้ว แต่ช่วงนี้ขอเก็บไว้ก่อนนะครับ อีกอย่างขอปรับปรุงเนื้อหาบ้างส่วนที่ล้าสมัยจะได้ทันต่อเห็นการณ์ด้วยครับ ส่วนวันนี้ก็เอาเรื่องการถนอมสายตา สำหรับคนใช้คอมฯมาฝากครับ จริงๆ ผมอ่านเจอมาเลยเอามาลงนะครับไม่ได้เป็นของผมแต่ประการใด แต่ว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียวครับ ลองอ่านดูนะครับ

ทำอย่างไรเพื่อถนอมสายตาและป้องกันโรคจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  1. การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรนั่งให้ห่างประมาณ 1 ฟุต นั่งเอนหลังให้สบาย ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงรองรับเข้ากับรูปทรงของแผ่นหลัง เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรเล่นติดต่อกันแต่ละครั้งไม่มากกว่า 45-60 นาที ควรจะกระพริบตา, หลับตา หรือหยุดพักสายตาโดยมองต้นไม้ หรือ มองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต – ก็คงต้องเป็นนอกหน้าต่าง) สัก 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ เนื่องจากการมองระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ ในบางคนอาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้การมองเห็นระยะไกลมัวได้
  2. วางจอภาพ(ระดับ ของกึ่งกลางจอภาพนะครับ)ให้ต่ำกว่าระดับสายตา ถ้า case ของคุณเป็น Tower ตั้งจอกับพื้นโต๊ะ หน้าจอตรงๆ หรือก้มนิดหน่อย คุณจะได้ไม่ต้องเงยหน้า อันนี้จะมีผลระยะยาว ถ้าคุณเงยคอนานๆ นอกจากจะเมื่อยคอแล้ว กระดูกต้นคอคุณจะเสียรูปด้วย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนม ถึงระดับเอว
  3. การเลือกสีพื้นหลัง ไม่ค่อยมีผลกับสายตามากครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็เป็นสีเขียวเข้ม กะสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดนักครับ ส่วนสีตัวหนังสือควรเป็นสีดำ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การอ่านหนังสือบนกระดาษสีขาว ตัวหนังสือสีดำ อาจจะมีผลทำให้สายตาสั้นได้ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กระดาษสีขาวปนฟ้า หรือ สีฟ้า ตัวหนังสือสีดำ *** ไม่ยืนยันผลการวิจัยนะครับ ***
  4. ปรับจอภาพให้พอดีที่สุด ถ้าคุณใช้งานคนเดียว ปรับให้เนี๊ยบเลย แล้วไม่ต้องปรับอีกตลอดชาติ เช่น แสง (ความสว่าง) สำคัญที่สุด อย่าให้จ้าเกินไป ออกทึบนิดนึงก็ได้ เพราะคุณต้องอยู่กับมันครั้งละนานๆ สี ไม่ต้องให้จัดจ้านเกินไป เอาพอสวย ตัวหนังสือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เอาให้เราดูแล้วสบายตา (ของเราเอง) ตัวหนังสือใหญ่ ไม่ใช่จะดีเสมอไป บางครั้งดูเหมือนมันตะโกนใส่หน้าเรา หรือเราต้องแหกตาดูมัน จริงมั้ย
  5. Resolution setting ให้เหมาะ ขนาด 800×600 น่าจะกำลังพอดี Refresh Rate ประมาณ 75 Hzขึ้นไป คุณสามารถปรับ Refresh Rate ได้ตามคู่มือของจอครับ ไม่มีผลเสียหายอะไร ถ้าเขาบอกว่าทำได้ก็ทำไปเลยครับ เหตุที่มี Refresh Rate สูงๆ ก็เพื่อลดความพลิ้วของจอ ให้มองจอได้ชัด ๆ น่ะครับ
  6. การเซ็ตความคมชัดและแสงสว่าง ปกติขึ้นกับความพอใจนะครับ แต่หากจะให้สบายตาควรลด Brightness ลงสักหน่อย ส่วน Contrast สามารถเพิ่มได้เต็มครับ ภาพจะคมชัดขึ้น และถนอมจอถนอมสายตาด้วยครับ ควรป้องการไม่ให้เกิดแสงสะท้อนบนหน้าจอ โดยจัดหน้าจอไม่ให้หันเข้าหน้าต่าง
  7. ถ้ารู้สึกง่วง, ล้า หรือปวดตา เมื่อทำงานนานๆ ให้พักเสียบ้างดีที่สุด อย่าหักโหมหรือดันทุรัง สุขภาพก็เสีย งานก็ไม่ได้ ตาก็จะพังด้วย
  8. เมื่อเรานั่งอ่าน หรือนั่งหน้าคอมนานๆ ตาเราจะกระพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกระพริบตาปกติ จะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีต้อเนื้อ ต้อลม หรือเป็นโรคตาแห้ง น้ำตาขาดคุณภาพ ควรจะรักษาให้หาย และใช้คอมพิวเตอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่แนะนำให้ใช้แผ่นกรองแสง เพราะ 1. เสียสตางค์ ซื้อแผ่นกรองแสง 2. เมื่อมีแผ่นกรองแสงมาบัง คุณต้องเร่งแสงและสี สู้กับแผ่นกรองแสง จอภาพจะต้องทำงานหนักขึ้น 3. คุณจะไม่ได้คุณภาพของสีที่แท้จริง …ขอย้ำว่า แผ่นกรองแสงไม่ได้ช่วยคุณได้ ความพอดีของคุณนั่นแหละจะช่วยคุณ
  9. วางแขนให้สบายๆ จัดวางต้นแขน ข้อมือ และมือให้อยู่ในท่าที่สบายๆ เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รู้สึกเกร็งหรือฝืนๆ การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์อย่างนิ่มนวลไม่ควรกดกระแทกแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยและเจ็บนิ้วเร็วกว่าปรกติก็ได้
  10. ขยับตัว บิดซ้ายบิดขวาบ้าง ให้มีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว ขยับแขนขาและลำตัวเพื่อลดความเมื่อยล้าและอาการเกร็งลง หรืออาจจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างเป็นช่วงๆ
  11. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแดดส่องถึงโดยตรง หรือแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นใด เช่น ฮีตเตอร์,เตาไมโครเวฟ, เตาผิง,เตาแก๊ส,เตารีด
  12. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่เปียก มีความชื้นสูง หรือมีฝุ่นมาก หรือบนพื้นที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งแรง เช่นบนโซฟา,เตียง ยกเว้นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือปาล์ม
  13. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใต้แอร์(แอร์อาจมีน้ำหยดได้) หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถให้กำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงเช่น พัดลมขนาดใหญ่, มอเตอร์ไฟฟ้า, ตู้เย็น,หม้อแปลงไฟฟ้า,ลำโพงที่ไม่ได้ชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงานของจอภาพ ทำให้จอสั่นได้
  14. ไม่ควรวางสิ่งของต่างๆบนจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะต้นกระบองเพชร เพราะอาจจะเศษดินทรายหรือมีหยดน้ำเข้าไปในจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ได้
  15. การความความสะอาดจอภาพและคอมพิวเตอร์ ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาด หรือ ฟองน้ำชุบน้ำพอเปียกชื้นๆเช็ด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย เช็ด

การรักษาสุขภาพกับการใช้คอมพิวเตอร์

        ถ้าพูดถึงเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ จะแบ่งได้ 2 อย่าง คือ ผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม

        ผลกระทบทางตรง เริ่มในเรื่องอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหา เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต

        การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)

        การเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่าอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด สาเหตุที่ทำให้เกิด RSI นั้น ปกติเราจะวางมือแบบธรรมดา มือของคนเราจะอยู่ในระดับเส้นตรงขนานกับพื้น

        สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของรางกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ ที่มีผลต่อร่างกาย

        เช่น ทำให้เมาส์มีขนานเหมาะมือ ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นเพื่อสร้างโต๊ะวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย

        ในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI และเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่

        ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี

        แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่าคนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วย เมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มากขึ้นเพระมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง