Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ

นับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad brand จาก IBM ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นในด้านการออกแบบอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าคุณสมบัติดีๆ หลายๆ อย่างถูกใส่เข้ามาไม่หยุดซึ่งก็ได้แก่

  1. Roll Cage (โครงเครื่องที่ผลิตจาก Magnesium) ทั้งตัว
  2. Touchpad ที่ใหญ่ขึ้น ช่วยในการวาดและทัชได้ง่าย
  3. ยังคง Trackpoint ที่ทำให้การใช้งาน cursor นั้นทำงานได้โดยไม่ต้องละมือออกจากตัวคีย์บอร์ด
  4. การรองรับ WWAN สำหรับติดต่อ 3G ได้ทั่วโลก
  5. การออกแบบบานพับที่เปิดได้ราบรื่นมากขึ้น
  6. คีย์บอร์ดที่มีการพัฒนาในด้านของการจัดวาง ตั้งแต่ในรุ่น T400 – T420
  7. กล้อง Webcam และไมค์ที่รองรับการประชุมแบบ VOIP ได้ดี
  8. มาตรฐานการออกแบบด้านระบบระบายความร้อนที่เงียบและระบายความร้อนได้ดี
  9. การใช้ Carbon Fiber กับฝากหลัง T Series เพื่อทำให้ฝาหลังบางลง
  10. การใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings ทำให้ผิวสัมผัสที่ฝากจอดูจับได้สบายขึ้น
  11. การมีตัวเลือกจอภาพแบบ Anti-glare IPS Panel เพิ่มเติมเข้ามา
  12. การยังคงไว้ซึ่งการเชื่อมต่อกับ VGA port ที่ยังเป็นมาตรฐานอยู่ใน projector ทั่วโลก

และอีกมากมายที่ทำให้ ThinkPad นั้นยังคงเหมาะสมกับ Business Notebook อยู่เรื่อยมาในด้านความทนทานและการใช้งานที่ตอบโจทย์ของกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่กับ Notebook ตลอดทั้งวันได้สบายๆ แต่ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงในตัว ThinkPad ก็เกิดขึ้นตามความคาดหมาย หลังจากการมาของ ThinkPad Edge ได้เพียงไม่นาน (ประมาณ 2-3 ปีก่อนหน้านี้) โดยการมาของ ThinkPad Edge นั้นเป็นเหมือนการลองตลาดของการปรับเปลี่ยนตัว ThinkPad Classic ทีละน้อยตามแนวคิด ThinkPad ของ Lenovo เอง ซึ่งเมื่อสิ่งที่ใส่มาใน Edge Series ได้รับผลตอบรับที่ดี (คงเพราะราคามันถูกเลยขายได้ดี) ก็จะค่อยๆ ใส่ลงมาใน Classic Series แบบไม่ต้องสงสัย และแล้วในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา เป็นปีของ “ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ ThinkPad Classic Series หมดความน่าสนใจลงไปจนหมดสิ้น” อย่างแท้จริง!

t431s-hero-tabbed

ThinkPad Classic Series ในปี 2012 นั้นมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ThinkPad ที่มีอายุของแบรนด์กว่า 20 ปี นั้นคือการปรับเปลี่ยนจาก Traditional Keyboard มาเป็น AccuType keyboard (อ่านเรื่องราวต่อได้ที่ กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)) และหลังจากนั้น ด้วยผลตอบรับที่ “คิดว่าดี” ของ AccuType keyboard ที่เปลี่ยนเข้ามาใน ThinkPad รุ่น 2012 (จริงๆ มีแฟนๆ เริ่มบอกว่า Lenovo ขาย ThinkPad ได้ในตอนนี้เพราะบุญเก่าที่ทำมาสมัย IBM เยอะมาก) ทำให้ในปี 2013 นี้ Lenovo ทำได้ทำลายภาพของ ThinkPad แบบเดิมไปจดหมดสิ้นแล้วด้วยการออกแบบตัว ThinkPad ทั้งหมดบนแนวคิดใหม่ในรุ่น ThinkPad T431s ที่มีการปรับเปลี่ยน Keyboard อีกครั้ง และนี่เป็นการปรับเปลี่ยนลักษณ์ของ Keyboard ครั้งที่เท่าไหร่แล้วของ Lenovo ของ Lenovo? ซึ่งถ้านับตั้งแต่ Lenovo เข้าซื้อ ThinkPad จาก IBM มา ได้มีการปรับเปลี่ยน Keyboard ซึ่งมีความหลากหลายของ Keyboard เกือบ 10 แบบทั้ง ThinkPad Edge และ ThinkPad Classic

การหายไปของ Traditional Keyboard นั้นทำให้เหล่าผู้ใช้งานรุ่นเก่าเริ่มมองยี่ห้ออื่นๆ มาทดแทนมากขึ้น การใช้ AccuType Keyboard นั้นยังไม่ได้รับผลกระทบเท่ากับการปรับเปลี่ยนการจัดวางปุ่มใหม่ที่ทำให้ Home/End, PgUp/PgDn และ F 1-12 นั้นอยู่ชิดติดกันจนทำให้การพิมพ์เอกสารและการป้อนตัวอักษรนั้นยุ่งยากมากขึ้น รวมไปถึงปุ่มหลายๆ ปุ่มถูกนำไปใช้เป็น Shortcut Key แทนการกดปุ่มตามมาตรฐาน IBM Keyboard ไปเสีย เพราะคนใช้งาน ThinkPad กว่าครึ่งซื้อ ThinkPad เพราะคีย์บอร์ดที่ได้สัมผัสที่ดี มีการจัดวางปุ่มที่ใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ดของ Desktop Computer ได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการพิมพ์ซึ่งเหมาะกับองค์กรและคนที่ต้องทำงานสลับไปมาระหว่าง Notebook และ Desktop Computer อย่างมาก และแน่นอนว่า Traditional Keyboard นั้นเหมาะอย่างมากในการทำงานร่วมกับ OS อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Windows ได้อย่างดีมากๆ แต่ Lenovo กลับคิดว่าโลกนี้มีเพียง Microsoft Windows ที่เป็น OS เพียงหนึ่งเดียว ปรับเปลี่ยนปุ่มอย่าง Pause/Insert/Break ไปในจุดที่ยากต่อการใช้งาน ทำให้ความน่าสนใจในการซื้อ ThinkPad มาใช้งานดูลดน้อยลงไปในกลุ่มของ Business Notebook ขึ้นเรื่อยๆ และถ้ายังจำกันได้เมื่อ 2-3 ปีก่อน Lenovo: Design Blog ได้บอกกับผู้ใช้ว่าปุ่ม Esc และปุ่ม Delete มีการใช้งานมาก จึงได้ปรับเปลี่ยน Traditional Keyboard ในตอนนั้นในรุ่น T410 และ T420 ให้ใหญ่ขึ้น และนั้นดูสมเหตุสมผลมาก และเป็นสิ่งที่แฟนๆ ชื่นชม แต่มาในปีที่ผ่านมา Lenovo กลับทำตรงข้ามกันคือทำให้ทัั้งสองปุ่มนั้นเล็กลง เพียงเพื่อให้มันเข้ากับ 6 row ของ AccuType Keyboard ตัวเอง คำถามที่ Lenovo ต้องตอบแฟนๆ คือ “สิ่งที่ทำมามันเป็นการตลาดเฉยๆ ?” ซึ่งโดยส่วนตัวผิวสัมผัสในการพิมพ์ AccuType Keyboard ไม่ได้แย่ แต่พลาสติกและตัวเนื้องานนั้นแย่ มันให้สัมผัสแรกในการใช้ที่บอบบางและดูราคาถูกลงกว่า Traditional Keyboard อย่างมาก และนั้นทำให้ X1 Carbon ดูราคาถูกลงไปเลยในสายตาของแฟนๆ ที่กำลังจะซื้อมาใช้งานในราคาที่แฟนๆ ต้องจ่ายที่ดูแพงกว่าความเป็นจริง

ในปีนี้ (2013) ปุ่ม Trackpoint ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ก็เริ่มหมดความสำคัญไป การมาของ ThinkPad Buttonless Trackpoint นั้น ทำให้แฟนๆ ThinkPad ได้ลองสัมผัสกับ Buttonless ของ Touchpad ใน ThinkPad X220/X230 มาก่อนหน้านี้แล้วบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห่วย” และนั้นกำลังเกิดขึ้นกับ Trackpoint ที่เป็นสัญลักษณ์มาอย่างยาวนานของ ThinkPad กว่า 20 ปี และคาดว่าจะได้สัมผัสการกดที่ไม่แตกต่างจาก Trackpad ของ Macbook เท่าไหร่นัก ซึ่งนั้นอาจเป็นจุดจบของ ThinkPad ได้ไม่ยาก

การนำ ThinkLight ออกจากการออกแบบตัวเครื่องรุ่นหลังๆ เพราะไฟส่องคีย์บอร์ดจากขอบจอภาพด้านบนไม่ได้ถูกใช้งานเพียงแค่ส่องคีย์บอร์ด แต่ยังใช้งานในการส่องเอกสารต่างๆ ได้ด้วย และการหายไปทำให้การเลือกใช้ในการเดินทางยาวนานนั้นต้องมีภาระในการซื้อไฟส่องคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา

การเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนอาจไม่ทราบในปี 2012 คือรูปแบบช่องเสียบ Charger ที่มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้งในรอบ 5 ปี ซึ่งกว่า 10 ปีของ ThinkPad นั้นหัวเสียบ Charger  ยังคงใช้แบบเดียวตลอดมา ทำให้รุ่นเก่า-ใหม่สามารถใช้หัวเสียบ Charger ร่วมกันได้ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีการเปลี่ยนช่องเสียบ Charger ใหม่ถึง 2 รอบ ทั้งแบบกลม (รุ่นก่อนปี 2012) และแบบสี่เหลี่ยมพื้นผ้า (รุ่น X1 Carbon ปี 2012 และรุ่นปี 2013) ทำให้การใช้งานร่วมกันของ Charger ระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่นั้นทำไม่ได้เลย และอีกทั้งยังไม่มีคำตอบจากทาง Lenovo ว่าจะมีการออกตัว Convertor ของช่องเสียบที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือไม่

เอกลักษณ์ของ “สีดำสนิท” ถูกแทนที่ด้วย “สีดำผสมสีตะกั่ว” (Black to Graphite Black) โดยใช้ Polyurethane Soft-touch Coatings  มากขึ้น ทำให้การหยิบ ThinkPad ออกมาใช้งานไม่ได้มีเอกลักษณ์ใดให้คนได้เห็นว่าคุณใช้ ThinkPad อีกต่อไป ซึ่งถ้าให้เทียบก็คงออกแนวเดียวกับค่ายรถ Ferrari ไม่ขายรถสีแดงอีกต่อไปแล้วนั้นเอง ซึ่งจากการนำ Polyurethane Soft-touch Coatings  มาใช้มากขึ้นนั้น ทำให้รู้ว่า Lenovo นั้นไม่ใส่ใจต่อปัญหาของ Polyurethane Soft-touch Coatings  ที่มีเสียงตอบรับไม่ดีตลอดมานับตั้งแต่มีการใส่เข้ามาที่ฝาหลังเครื่อง ThinkPad แต่อย่างใด ปํญหาทั้งการหลุดล่อนออกมาเมื่อมีการขัดสีกับพื้นผิว การดูแลรักษาที่ยากเพราะเป็นรอยเปื้อนได้ง่ายและทำความความสะอาดยาก ทำให้ตัวเครื่องดูเก่าได้ง่ายมากขึ้น ทำให้แฟนๆ รุ่นเก่าๆ เริ่มรู้สึกว่าไม่ทนทาน ดูเก่าง่ายมากกว่ารุ่นเดิมๆ อย่างมาก

การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ของ Lenovo ที่ใส่ลงไปมาใน ThinkPad นั้น ยิ่งทำให้ดูเหมือนกับ Consumer Notebook ที่เป็นสีดำ และเป็นการผลักไสแฟนๆ ของ ThinkPad ให้ไปใช้งานยีห้ออื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มี Keyboard ที่ดึงดูดการใช้งานที่ดี, Trackpoint ที่เริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งาน, สีดำด้านที่ดูแลรักษายากขึ้น จอภาพที่มีคุณภาพแย่ลงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ในตลาด เอาง่ายๆ แค่ว่าจอภาพมือถือ Nokia Lumia 920 ผมยังได้คุณภาพและความละเอียดที่ดีกว่าจอภาพ ThinkPad T420 ที่กำลังใช้งานอยู่ หรือ ThinkPad T430 ที่ขายในท้องตลาดตอนนี้ และ ThinkPad T431s ที่กำลังออกมาขายนั้นยังให้ความละเอียดจอภาพที่น้อยกว่า Samsung Galaxy S4 หรือมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมาในตลาดปีนี้อีกหลายรุ่น และ Lenovo ต้องคิดใหม่ในเรื่องนี้ได้แล้วว่าจอภาพ Full HD และ IPS Panel คือสิ่งที่ตลาดต้องการ ทั้งยังไม่รวมเรื่องของการอัพเกรด RAM ที่ยากขึ้น เพราะเริ่มใช้แนวคิดการใส่ตัว RAM ลงบน M/B ทำให้อัพเกรดไม่ได้ หรือมีช่องใส่ RAM เพียงช่องเดียว รวมไปถึงมีหลายๆ รุ่นที่ไม่สามารถเปลี่ยน Battery ได้ง่ายแบบรุ่นก่อนๆ ทำให้ความสามารถในการอัพเกรดนั้นลดลงไปอย่างมาก

เหตุผลง่ายๆ ที่แฟนๆ ยังใช้ ThinkPad อยู่ในตอนนี้คือ Keyboard และ Trackpoint ถ้ามันหมดไป แล้วทำไมต้องซื้อ ThinkPad เพราะการโฆษณาว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” นั้นไม่ได้ช่วยให้ประสบการณ์ผู้ใช้ดีขึ้น เพราะผู้ใช้งาน Notebook กว่า 90% ต้องใช้งาน Notebook ผ่านสิ่งเหล่านั้น และจากการที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ที่ซื้อ ThinkPad ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บอกกับผมว่า ThinkPad ในตอนนี้มีเนื้องานผลิตที่ไม่ได้รู้สึกว่า “ผ่านการทดสอบ Military spec tests” แต่อย่างใด เพราะจากการเฝ้ามองการที่กลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ก็บ่นกับมากขึ้นว่าเสียง่ายขึ้น ความทนทานเป็นแค่ราคาคุย เหมือนไม่ได้ผ่าน QC รวมไปถึงงานประกอบที่เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ นี่ยังไม่รวมถึงบริการหลังการขายที่มีปัญหามากกว่าแต่ก่อนทั้งในไทยและในต่างประเทศเอง

และทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา เหล่าแฟน ThinkPad คงต้องกลับมาตอบคำถามตัวเองแล้วว่า แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ

Change is hard. But wrong change is a disaster !!!

Lenovo’s Mission complete. Last ThinkPad traces destroyed at all.

R.I.P. ThinkPad (1992 — 2011)

Congratulations Lenovo for removing everything that makes a ThinkPad a ThinkPad.

ลองจับ Lenovo ThinkPad Tablet 2

ได้มีโอกาสลองจับตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 อยู่สักพัก (ประมาณ 30 นาที) เลยเอามาให้ดูกันสักเล็กน้อยครับ

ตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 นั้นมาพร้อมกับ CPU แบบ SoC (System on a chip) รุ่น Intel Atom Z2760 SoC ดูอัลคอร์ความเร็ว 1.8GHz  (1MB cache) โดยมี VGA on chip ของ PowerVR HD SGX545 GFx (12 bit, 1080p video @30fps, DX9) ซึ่งเจ้า SoC จะคล้ายๆ ของค่าย ARM ที่รวมเอาทุกอย่างไว้ในตัวชิป CPU (หลังๆ CPU Core Architecture ของ Intel ก็เริ่มรวมหลายๆ อย่างลงใน CPU มากขึ้น) ทำให้ประหยัดพลังงาน และประหยัดพื้นที่ด้วย

ซึ่งเจ้าตัวนี้ มาพร้อม RAM ชนิด LPDDR2 ขนาด 2GB ความเร็ว 800 MHz และมีความจุ storage ที่ 64GB แบบ eMMC สามารถใส่เพิ่มได้ผ่าน micro-SD card โดยใส่เพิ่มได้สูงสุดถึง 64GB และยังสามารถต่อ external HDD แบบ USB 2.0 ผ่านช่องต่อ USB 2.0 แบบ full-size เพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ด้วย (จากที่ทดสอบต่อ WD Passport 500GB ได้สบายๆ)

WP_20130311_065 

ในด้านของฝาหลังนั้น จากที่สัมผัสดูแล้วคิดว่าเป็น Polyurethane Soft-touch Coatings คล้ายๆ กับฝาหลังตัวเครื่อง ThinkPad โดยตัวจอภาพนั้นเป็นจอ LCD ขนาด 10.1" ตัว panel เป็น IPS ขนาดความละเอียดที่ 1,366×768 พิกเซล (HD 720p) ที่อัตราส่วน 16:9 ความสว่างที่ 400 nits (500:1 contrast ratio) แต่ไม่ได้ใช้ Corning Gorilla Glass แบบตัวก่อน โดยเป็นหน้าจอสัมผัสรองรับสัมผัสได้ 5 นิ้ว

ตัวเครื่องนั้นหนาเพียง 9.8mm ซึ่งบางกว่าตัว Lenovo ThinkPad Tablet รุ่นเก่าถึง 30% (ตัวเก่าหนาที่ 14.5mm) จากที่บางลง ทำให้น้ำหนักลดลงมาอยู่ที่ 590g หรือเบากว่าLenovo ThinkPad Tablet รุ่นเก่ากว่า 23% อีกด้วย (ตัวเก่าหนัก 759g) ซึ่งน้ำหนักนี้รวมปากกาแล้ว โดยจากที่จับมา ผมมองว่าเบาจริง ถือว่าทำน้ำหนักมาได้ดีสำหรับจอภาพที่ขนาด 10.1”

สำหรับงานประกอบนั้น ตัวเครื่องนั้นหาช่องน็อตสกรูให้เห็นชัดเจนไม่เจอ ในส่วนอื่นๆ การประกอบระหว่างรอยต่อต่างๆ ดูแนบสนิทแน่นหนาดีมาก สำหรับโครงสร้างภายในนั้น Lenovo ได้ออกแบบภายในแบบเดียวกับ ThinkPad Notebook หรือเรียกว่า Roll cage design

WP_20130311_038 WP_20130311_041

ในด้านของตัวปากกานั้น ThinkPad Tablet 2 ใช้ Wacom digitiser แบบเดียวกับที่เคยใช้กันมาก่อนหน้านี้ โดยมีที่เก็บแบบสอดเข้าไปในเครื่อง โดยตัวปากกามีขนาดเล็กกว่าตัวเดิมอยู่มาก สำหรับการเขียนต่างๆ ทำได้ลื่นไหลดี โดยตัวจอภาพแบบสัมผัสเมื่อทำงานร่วมกับปากกาสามารถเอามือวางบนจอภาพแล้วเขียนแบบบนกระดาษปรกติได้เลย เพราะตัว Windows 8 นั้นฉลาดเพียงพอที่จะแยกแยะการสัมผัสได้ (ดูได้จากวิดีโอล่างสุด)

สำหรับตัวกล้องนั้น ThinkPad Tablet 2 มีมาให้ทั้งกล้องหน้าและหลัง โดยกล้องหลังให้มา 8MP พร้อม ไฟแฟลชแบบ LED รองรับการถ่ายวิดีโอ HD 720p และสำหรับกล้องหน้ามีความละเอียด 2.0MP ซึ่งสำหรับภาพถ่ายนั้น ไม่ได้ลองถ่ายมาดูครับ เพราะเวลาไม่พอที่จะได้ลอง

 WP_20130311_020 

WP_20130311_024 WP_20130311_063 

ตัวจุดเชื่อมต่อต่างๆ ให้มาค่อนข้างครบ ตัวแรกคือ  full-size USB 2.0 พอร์ต ที่อยู่ด้านข้างเครื่อง ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ USB พอร์ต ปรกติบนโน้ตบุ๊กหรือเดสก์ท็อปเลย สามารถต่อ HDD เข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ แต่วันที่ลองยังไม่ได้ลองต่อเมาส์และคีย์บอร์ดลอง แต่คิดว่าได้ เหมือนกัน

ส่วนต่อมาคือ micro-USB 2.0 ซึ่งทำหน้าที่แค่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เท่านั้น เหตุผลที่ใช้ micro-USB เพราะหาพอร์ตในการมาชาร์จไฟได้ง่ายตามมาตรฐาน European Union

ส่วนต่อมาคือภาพและเสียง ที่ให้ mini-HDMI พอร์ต และ headphone/microphone combo jack มาให้ โดยมี Noise-cancelling microphone มาให้พร้อมเพื่อทำงานคู่กับเว็บแคมขนาด 2MP ด้านหน้า

เมื่อเป็นแท็บเล็ตสำหรับทำงานย่อมต้องมี dock connector มาให้แน่ๆ ซึ่ง ThinkPad Tablet 2 ก็มีมาให้เลย ทำให้สามารถต่อได้เพิ่มมากขึ้นทั้ง USB พอร์ต ที่ได้มากขึ้น หรือต่อเมาส์และคีย์บอร์ดได้อย่างง่ายๆ รวมไปถึงมี Folio Case with Keyboard ทำตลาดมาพร้อมด้วย

สำหรับปุ่มรอบๆ เครื่องนั้น เท่าที่จับและเจอก็มี ปุ่ม Windows, ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง, ปุ่มปรับระดับเสียง, ปุ่มคงค่าการหมุนจอภาพ และปุ่มรีเซทเครื่อง

การเชื่อมต่ออื่นๆ ก็มีมาให้ครบในตัวเหมือนโน้ตบุ๊กเครื่องนึงเลยก็ว่าได้ทั้ง NFC, GPS, compass, ambient light sensor, proximity sensor, sensor hub, 802.11 a/b/g/n, Bluetooth 4.0 และสำหรับรุ่น 3G จะมาพร้อม WWAN Gobi 4000 (รองรับ LTE /HSPA+)

WP_20130311_051

WP_20130311_061 WP_20130311_043

จากการที่ได้นั่งเล่นมานั้น โดยรวมถือว่าทำงานได้รวดเร็วดีมาก ด้วยจำนวนคุณสมบัติที่ให้มานั้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนำไปใช้งานด้านเอกสารต่างๆ ที่ใช้ตัวซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช้ทรัพยากรระบบมากนัก ถ้านำไปใช้พวกแต่งรูป รีทัชรูป ตัดต่อวิดีโอ หรือเล่นเกม ก็ดูจะโหดร้ายเกินไปสำหรับคุณสมบัติที่ให้มา (อาจพอได้ แต่พื้นที่ลงซอฟต์แวร์คงไม่พอ รวมไปถึง RAM ที่มีมาให้แค่ 2GB ท่าทางจะไม่ไหว) ซึ่งส่วนตัวถ้าเอาไปใช้งานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ ดูแลจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร หรือแม้แต่เขียนบทความแล้วก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้พอเหมาะกับงานแนวๆ นี้

ในด้านของขนาดจอภาพ 10.1” นั้น โดยรวมแล้วเฉยๆ เพราะส่วนตัวสนใจขนาดความละเอียดของจอภาพมากกว่า ซึ่งให้มา 1,366×768 พิกเซล เท่ากับ Lenovo ThinkPad T420 ที่ใช้งานอยู่ ซึ่งเมื่อใช้งานแล้ว ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเล็กแต่อย่างใด (ตัวหนังสือเล็กลงไป แต่โดยส่วนตัวแล้วก็อ่านได้สบายตาปรกติดี)

ความบางและน้ำหนัก อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าทำออกมาได้ดี งานประกอบเรียบร้อยดีมาก มีพอร์ตมาให้ครบตามที่เราอยากได้ในแท็บเล็ตโดยทั่วไป

ในส่วนของแบตเตอรี่ขนาด 30Wah ที่เป็นแบบ lithium polymer นั้นยังไม่ได้ทดสอบความยาวนานของการใช้งาน อันนี้คงต้องขอผ่านไปก่อน

กล่าวสรุปโดยรวมแล้ว ถือว่าผ่านสำหรับการเป็น Tablet เพื่อนำไปใช้ทำงานมากกว่าเล่น ก็ต้องรอดูว่า app บน Windows 8 จะมีมามากแค่ไหน จนสามารถทดแทนตัวแท็บเล็ตยี่ห้ออื่นๆ ได้ แต่สำหรับ desktop app แล้วนั้น ถือว่ารองรับได้ทั้งหมดที่คนส่วนใหญ่ใช้งานได้สบายๆ

WP_20130311_033 WP_20130311_034

วิดีโอทดลองเล่นและสัมผัสการใช้งาน Lenovo ThinkPad Tablet 2

รอดูรีวิวเต็มๆ อีกที (ไม่รู้จะได้เมื่อไหร่ครับ คงต้องต่อคิวเครื่องเค้า ><”)

แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ

จากข่าว Lenovo แยกแบรนด์ Think เป็นอีกหน่วยธุรกิจ

ทุกคนรอบๆ ตัวได้ทราบข่าว Lenovo แยกแบรนด์ Think เป็นอีก Business Unit ต่างหาก เหมือนๆ จะปรับออกมาไม่ให้เกี่ยวกับ IdeaPad และเหมือนจะลงมาทำตลาดแข่งกันเองภายในกับ IdeaPad ก็มีแต่คนพูดว่า "เอาคีย์บอร์ดเดิมกลับมา" แทบทุกคนเลยแฮะ นั้นแสดงว่าคีย์บอร์ดใหม่สำหรับตลาดที่ตัวเองถือครองอยู่มีปัญหาอย่างเห็นได้ชัดจริงๆ แฟนรุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพราะคีย์บอร์ดทั้งตลาดมันห่วยแตกในด้านของการจัดวางอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ใช้ ThinkPad เพราะคีย์บอร์ดยังดีกว่าทุกตัวในตลาดเดียวกันอยู่มาก

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคีย์บอร์ดแบบบังคับ ล้างบาง ไร้ทางเลือกในรุ่น 2012 เป็นการผลักแฟนที่ใช้ ThinkPad มาอย่างยาวนานออกจากแบรนด์ตัวเองอย่างรุ่นแรง

แน่นอนว่า Lenovo อาจคิดใหม่ทำใหม่ อยากลองอะไรใหม่ๆ หรือคิดว่าการหักดิบแบบที่ค่ายอื่นๆ ทำ จะได้รับผลตอบรับที่ดี? Lenovo คงลืมไปว่าตลาดในส่วนของ H/W มันทันได้หมด การตัดสิ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของตัวเองออกไปทีละอย่างเรื่อยๆ มันทำให้ยี่ห้อตัวเองขาดความเด่นในตลาด กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็มี แล้วสรุปสุดท้าย คำถามที่ Lenovo ต้องตอบคนซื้อ ThinkPad ในอนาคตคือ "แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ"

Review: Lenovo ThinkPad X230

DSC_1863 DSC_1886

DSC_1874

ผมได้เครื่อง Lenovo ThinkPad X230 เครื่องนี้มาทดสอบผ่านทาง PR ของ Lenovo (Thailand) โดยเอามาใช้กันจุใจกว่าตอน ThinkPad X220 พอสมควร โดยได้ใช้งานอย่างเต็มที่เกือบๆ 3 อาทิตย์เลยทีเดียว ส่วนตัวแล้วแบกเอาไปใช้งานตามที่ต่างๆ อยู่บ้าง เอาไปออกทริปถ่ายรูปภาคสนามอยู่หลายครั้ง แน่นอนว่าก็แบกไปพร้อมๆ กับ ThinkPad T420 เครื่องที่ผมทำงานอยู่ด้วยเช่นกัน (รวมสองเครื่องก็เกือบๆ 4 กิโลกรัม) โดยใน ThinkPad X230 ตัวนี้นั้นมีบางส่วนที่แตกต่างจากเดิม และบางส่วนที่คงเดิม แต่สิ่งที่ยังสัมผัสได้อยู่คือ ความแน่นของงานประกอบของเครื่องในการจับถือที่ไม่มีอาการยวบจากแรงกดทั้งฝาหลังและที่วางมือบริเวณคีย์บอร์ดแต่อย่างใด และดูๆ จะบางลงเล็กน้อยด้วย โดยไม่มีตะขอเกี่ยวจอเหมือนเช่นเดียวกับ ThinkPad X220 ตัวเก่า ดูรวมๆ แทบจะเหมือนกับ ThinkPad X220 ก็ว่าได้

Read more

Happy birthday, 20th years ThinkPad!!! (5, Oct 2012)

hbd20th_thinkpad

ถือเป็นวันที่ดีสำหรับคนใช้ ThinkPad ที่จะได้รำลึกความหลัง สำหรับคนที่ใช้งานกันอยู่ หรือถึงแม้ว่าหลายคนจะไม่ได้ใช้แล้วก็ตาม อย่างน้อยๆ ก็มีวันดีๆ ที่เจ้า ThinkPad ฉายา Black Box ตัวนี้ทำงานอยู่คู่ชีวิตกันมาครับ
ขอรำลึกกับบทความทั้งเก่าและใหม่บางส่วนที่น่าจะเหมาะกับวันนี้กัน

จาก ThinkPad ของ IBM สู่ Lenovo จาก ThinkPad

ThinkPad Best Engineered Design Tour

กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)

และที่ผมอยากแนะนำมากที่สุดเป็นบทความจาก The Verge ชื่อบทความ
ThinkPad turns 20: how IBM’s ‘black box’ defined the laptop industry