ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ซื้อเดือนนี้

ก่อนหน้านี้ซื้อ EditPlus มาตั้งแต่ปีโน้นแล้ว (ตอนอยู่มหาวิทยาลัยช่วงปี 3 มั้ง) และตอนนี้ใช้ Windows XP SP3 ที่เป็น OEM ติดมากับเครื่องรวมถึง Sonic RecordNow กับ InterVideo WinDVD ที่ OEM ลงมาให้กับ Notebook ด้วยแล้วก็แทบไม่ต้องลง Nero เลย

เดือนนี้เลยมีโควต้าในการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มาเสริมการทำงานอีก 3 ตัว คือ

  • Acronis True Image 11 Home – เอามาแทน EMC Retrospect Express HD 2.0 ที่แถมมากับ WD My Book ด้วย Performance ที่ไม่ไหว และการปรับแต่งที่ไม่ยืดหยุ่นเท่าไหร่ และยังทำไฟล์ tmp ของ svn หายอีก เลยเลิกใช้เลย เพราะไม่แน่ใจว่าจะมีอย่างอื่นหายอีกหรือเปล่า โดยรวมที่ไม่ซื้อ Norton Ghost เพราะ Ghost ยุ่งกับเครื่องมากเกินไป (และเป็นธรรมชาติของ Software Norton ที่แม่งชอบเสือกกับ OS มากเกินไป) และช้ามาก ๆ แต่ Acronis กลับทำงานได้เร็วมาก จากที่ลองใช้ Trial และการกำหนดค่าที่ยืดหยุ่นกว่าเยอะมาก ๆ เลย
  • FastStone Capture – เป็น Lifetime License ซึ่งเพราะความสามารถที่ดีของมัน และเบาเครื่องมาก ๆ เลยซื้อเลยดีกว่างานนี้
  • CuteFTP 8 Professional – ใช้เป็น FTP Client หลักแทน FileZilla มาตั้งแต่ออก version 3 แล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า FileZilla 3 มันไม่ encrypt ตัว sitemanager เห็น password โล่งโจ่ง รับไม่ได้อย่างแรง และใน forum ของ FileZilla ก็บอกว่าให้ใช้ encryption ของ OS แทน และไม่เห็นความจำเป็นของ encrypt ผมเลยเลิกใช้เลย แต่ที่ใช้ CuteFTP อีกอย่างด้วยเหตุผลเรื่องของ Feature อย่าง Sync Data และ Scripting Rule ต่าง ๆ รวมถึง Tab session ที่ทำงานต่าง ๆ ในหน้าต่างเดียว ฯลฯ

และปลายเดือนนี้ ESET NOD32 Antivirus ที่ซื้อ license ติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว ปีนี้ปีที่ 4 ครับ เก็บตัง ๆ เดือนหน้าถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็คงจะต่อให้ครบเลยครับ เหลืออีกไม่กี่ตัวก็ 100% Genuine Software แล้วครับ

ไม่ได้บ้าครับ แต่ใช้ของเค้าก็ต้องจ่ายเงิน ;)

ว่ากันด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์

พอดีว่าอ่าน Studying Law is Important ของคุณ mk แล้วนั่งหา ๆ ค้น ๆ ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจกับความเป็นจริงนั้นถูกต้องหรือไม่

นั่งอ่านแล้วไปเจอที่ http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9 เลยนำมาเผยแพร่เสียเลยแล้วกัน ;)

สิทธิบัตร คือหนังสือสัญญา หรือเอกสารที่ได้รับการยินยอมและตรวจสอบแล้วจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมักจะเป็นจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มักเป็นการต่อยอดทางปัญญา จึงคุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นรางวัลแก่ผู้ทรงสิทธิ์ และไม่นานเกินไปจนไม่เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับสิทธิบัตรยาประเทศไทยคุ้มครองไว้ 20 ปี (นานกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศเสียอีก)

ลิขสิทธิ์ จะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับงานวรรณกรรม เช่นเพลง โดยคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ์และอีก 50 ปี ภายหลังจากผู้ทรงสิทธิ์เสียชีวิต โดยการดูแลของทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบมรดก

โดยแนวคิดแล้ว

ลิขสิทธิ์ มุ่งคุ้มครองการแสดงออก ไม่คุ้มครองสาระที่แฝงมากับการแสดงออกนั้น

สิทธิบัตร ก็จะคุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี โดยลิขสิทธิ์จะได้มาอัตโนมัติฟรี ๆ เมื่อแสดงออกต่อสาธารณะ (จดทะเบียนก็ได้ เพื่อให้มีหลักฐานแน่นหนาทางกฎหมาย) และมีผลในทุกประเทศที่ร่วมใน Berne Convention (รวมไทย) ส่วนสิทธิบัตรต้องขวนขวายลงทุนให้ได้มา มีขั้นตอน มีค่าใช้จ่าย มีผลเฉพาะประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสูตรปรุงอาหาร ถ้าเผยแพร่เป็นหนังสือ จะได้ลิขสิทธิ์ คนอื่นไม่มีสิทธิคัดลอกเผยแพร่โดยพลการ แต่จะปรุงอาหารตามนั้นกี่จานก็ได้ แต่ถ้าจะไปขึ้นสิทธิบัตร (ถ้าได้) คนอื่นไม่สามารถปรุงอาหารตามนั้นเลย แม้จะสามารถเข้าไปคัดลอกสูตรดังกล่าวได้ก็ตาม

ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า

มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

ใน พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522

มาตรา 9* การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน*[มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]

มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ
(3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

รายละเอียด ควรศึกษาเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายเอง จาก website ของ สนง กฤษฎีกา
http://www.krisdika.go.th

เอกสารอ้างอิง
http://www.krisdika.go.th
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9

มันมาแล้ว The Windows Genuine Advantage !!! และของใหม่ Microsoft Update

วันนี้ตอนตี 5 ได้ลองเข้า Windows Update มีการให้ Download ตัวซอฟต์แวร์ Windows Genuine Advantage Validation Tool (KB892130)และมีระบบ Update ตัวใหม่ Microsoft Update ด้วย

โดยเจ้า Windows Genuine Advantage Validation Tools เป็นระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows ของ Microsoft ซึ่งเคยเขียนไว้ใน blog แล้วใน ท่าทางจะต้องซื้อ Windows ซะแล้ว …… ใครที่จำได้ก็จะเข้าใจ แต่ใครยัง งงๆ ลองไปอ่านดูก่อน

Windows Genuine Advantage Validation Tool (KB892130)
The Windows Genuine Advantage Validation Tool enables you to verify that your copy of Microsoft Windows is genuine. The tool validates your Windows installation by checking Windows Product Identification and Product Activation status. After you install this item, you may have to restart your computer. Once you have installed this item, it cannot be removed.

Get help and support
http://support.microsoft.com

ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการ Update มันก็ตรวจสอบเครื่องเราทันที หุๆๆๆ สรุป

Validation Failure: Invalid Product Key

Why did it not validate?
The product key associated with your copy of Windows was never issued by Microsoft.

ซวยแล้วตรู Update ไม่ได้ !!!

ไม่เป็นไร อิๆๆ เรามีแผนสองอยู่แล้ว เพราะผมได้เตรียมมันเอาไว้ !?

นั้นคือ …. ??????!@#

CD-Key ลิขสิทธิ์แท้ ราคาไม่แพง (หรือเปล่า) แต่ด้วยว่าไม่อยากเปลี่ยน (ด้วยอารมณ์ขี้เกียจ) ตอนนี้ได้เปลี่ยน บอกไว้ก่อนนะครับ ผมไม่ให้นะ CD-Key ลิขสิทธิ์อ่ะ เดี่ยวโดน Block ผมจะแย่ ….

ตอนนี้ใครจะ Update Windows ก็คิด ดีๆ ก่อนเน้อ …… ;)

ต่อมา Microsoft Update เป็นระบบ Webservice ตัวใหม่ที่ผมว่าเอามาแทน Windows Update แน่นอนเลย เพราะว่าตัวนี้ฉลาดกว่ามาก เพราะว่ามัน Detect ระบบว่ามีซอฟต์แวร์ของ Microsoft ตัวใดบ้างที่ยังไม่ Update ….. น่าใช้ดี

แสบๆ คันๆ !!! Bill Gates เยาะเย้ย Software เถื่อนเมืองไทย กระทบคนไทย โปรแกรมเมอร์ไทยและบริษัทไทยมากกว่า MS

แสบๆ คันๆ !!! Bill Gates เยาะเย้ย Software เถื่อนเมืองไทย กระทบคนไทย โปรแกรมเมอร์ไทยและบริษัทไทยมากกว่า MS

Ref : http://www.pantip.com/tech/developer/topic/DM1851552/DM1851552.html

ข่าวบางส่วนจากไทยรัฐ

ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ยังกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในไทยว่า ในส่วนของไมโครซอฟต์เห็นว่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้ลิดรอนรายได้ของบริษัทเท่าใดนัก หากเทียบกับยอดขายในภาพรวม อย่างในสหรัฐอเมริกานั้น บริษัทตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เท่านั้น นอกจากนี้ไมโครซอฟต์ยังเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทั่วโลก มีรายได้จากการขายสินค้าให้ประเทศต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบจริงๆ น่าจะเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ในประเทศมากกว่า เพราะบริษัทเหล่านี้มีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์เป็นหลัก และส่วนใหญ่ขายในประเทศ


ขออนุญาตสรุป ที่ บิลเกตส์ บอกให้นะครับ

  1. ประเทศไทย ใช้ software microsoft เถื่อนทั้งประเทศ เขาก็ยังรวยอันดัน 1 ของโลก
  2. มันเป็นการฝึกวินัยผู้ใช้ และ ช่วยเหลือ นักพัฒนา software ของประเทศไทยเอง ว่าควรละอายใจและต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อ software บ้าง มิฉะนั้น อุตสาหกรรม software ในประเทศไม่เติบโตแน่นอน ไม่ต้องคิดไปแข่งในตลาดโลก

สรุป มองเหรียญให้มอง 2 ด้านนะครับ

  1. ราคาขายเพื่อสถานศึกษา หรือเพื่อการศึกษา องค์การเพื่อการกุศล หน่วยงารรัฐบาล รัฐบาลน่าจะเจรจา ซื้อ เหมาในราคาถูก ต่ำกว่า 50% จำนวนมากๆ เช่น 1 แสนชุด หรือ 1 ล้านชุด เป็นต้น
  2. รณรงค์ให้บริษัท หรือ องค์การที่มุ่งหวังผลกำไร ซื้อ software ของคนไทยให้มากขึ้น
  3. สร้างองค์กรอิสระ ที่ยินดีให้ความรู้ ด้านอุตสาหกรรม software ด้านเงินทุนสนับสนุน

เป็นความคิดเห็นที่อยากให้ อุตสาหกรรมนี้พัฒนา


ผมลืมตอบประเด็นกระทู้ ตอบสั้น ๆ ว่า..บิล เกตต์พูดถูกทุกอย่างครับ ผมตอบตามประสบการณ์ครับ มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ในประเทศไทย เชื่อไหมครับคุณ Haa ว่าโปรแกรมดี ๆ บ้านเรา อย่างแปลไทย อ่านไทย Nod32 ราคาประมาณ 200-250 บาทเท่านั้นเองครับ คนยังไม่ซื้อใช้กันเลย ไปซื้อแผ่นรวมโปรแกรมมาใช้ ถ้าผมเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมไม่เอาละ แบบนี้

แต่ส่วนที่ผมพูดถึงเรื่องซอฟต์แวร์แห่งชาติ ผมไม่ได้พูดไปถึงการเขียนโปรแกรมนะครับ ผมแค่พูดถึง user ธรรมดา ๆ นี่แหละ อยากเห็นเราสร้างทางเลือก เพื่อลดต้นทุนในเรื่องลิขสิทธิ์ของประเทศเราเท่านั้นเอง ของฟรี มันก็ธรรมดาครับที่ประสิทธิภาพมันย่อมด้อยกว่า แต่ในลักษณะงานหลาย ๆ อย่าง ผมเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้อง MS เสมอไป ถ้ารัฐบาลให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งชาติได้ บังคับให้นักเรียนใช้ได้ การละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยจะลดลงทันทีเลยไม่น้อยกว่า 50% อันไหนฟรีก็ฟรี อันไหนที่คนใช้เยอะ ก็ควรพัฒนาขึ้นมา ขายในราคาไม่แพงมาก

นี่เห็นด้วยกับตา Bill นะ จริงๆ ผมเป็นคนที่ชื่นชอบคนไอทีหลายๆ คนหนึ่งในนั้นก็ตา Bill เนี่ยหล่ะ หนังสือของเค้าก็ซื้อแทบทุกเล่ม ตา Dell หรือตา Jobs ก็หาๆ อยู่ ได้มุมมองในการทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์เยอะดี

จริงๆ คนไทย ส่วนมากเลย ไม่ได้มองซอฟต์แวร์เป็นสินค้าที่มีไว้ขายครับ แต่เป็นของแถมที่มันมากลับเครื่องมากกว่า คือตอนซื้อคอมฯ ก็ถามเลย มีอะไรให้มั้ง ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องที่คนซื้อเครื่องต้องเสียเงินอยู่แล้ว เพราะว่ามันเป็นแรงสมอง และสองมือในการทำ มันก็เหมือนผลงานของพนังงานขายของนั้นหล่ะ

แล้วร้านขายคอมฯ มันให้กันจนชินแล้วไง มันเลยกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ไป T_T

แล้วคนทำงานด้านซอฟต์แวร์เลยซวยครับ ซวยอย่างแรง เพราะว่าไม่มีใครอยากเสี่ยงทำซอฟต์แวร์กล่อง หรือขายเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อเอาชีิวิตรวยจากส่วนนี้ไง เพราะมันขายไม่ได้หรอก มันยากมากเลยหล่ะ แบบว่าเจอ 10 ซอฟต์แวร์ ใน 1 แผ่น ราคา 100 บาท เข้าไปคนทำซอฟต์ไทยก็อ้วกแล้ว เพราะว่าในนั้นมันคือซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติที่มันดีกว่า แต่มันละเมิดไง แถมราคาจริงๆ รวมกันทั้งหมดแล้วก็แพงมากด้วยเมื่อเทียบกับคนไทยทำเอง อีกอย่างเพราะว่าทำกันมานาน มันเลยดีกว่า แล้วอย่างงี้เมื่อไหร่ ซอฟต์แวร์ไทยๆ มันจะเกิดหล่ะ ถ้าไม่มีการสร้างคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่ดีๆ หรือมีก้าวแรกให้กับคนทำซอฟต์แวร์ไทย

หลายคนก็ดีนะ อุดหนุ่น แต่ ……. คือซื้อแท้มา 1 กล่อง แจกซะ 20 คน จบครับ จบ T_T แล้วมันจะได้อะไรขึ้นมาหล่ะ ไม่ชักชวนไปซื้อหล่ะครับ นี่เวลาแนะนำ Software AntiVirus ถ้าคนขอคำแนะนำมีตังหน่อยก็แนะนำ NOD32 ที่มีสิขสิทธิ์ไป ราคาก็ไม่แพง 249 บาทเอง หรือไม่ค่อยมีตังก็ Avast ไป ไม่ ใครจะมาขอ S/N Key ที่ผมซื้อแท้มา นี่ไม่ให้เลยครับ ให้ซื้อเอง นี่กำลังรอเก็บเงินซื้อ S/N Key ของ EditPlus อยู่เพราะว่าใ้ช้งานมันเยอะเหมือนกัน เลยว่าจะซื้อเสียหน่อย -_-”

Bill Gates มาอะไรๆ ก็คงเหมือนเดิม

เนคเทคตอกรัฐบาล จับมือไมโครซอฟท์ “คิดสั้น”

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9480000087782

ปัญหา OSs ในไทยมันไม่ใช่ว่า Micro$oft (เล็กนิ่ม) จะมา หรือจะไป ถึงตา Bill จะมาไทยทุกอาทิตย์ ยังไง .Net มันก็ต้องได้เกิด จริงๆ มันเกิดมานานแล้ว แต่ไม่มีคนรู้ ไม่เป็นข่าวมากกว่า การมาครั้งนี้เหมือนเป็นการโปรโมตรและตอกย้ำว่า ICT จะใช้ระบบ จาก เล็กนิ่ม แน่นอน อ้าวว ถ้าไม่เชื่อไปดูทุกโครงการ ICT มี เล็กนิ่ม ตลอด

มันแค่ปรากฎการเล็กๆ ในเรื่อง นำซอฟต์แวร์ของเล็กนิ่มมาใช้ในวงการราชการอยู่แล้ว หลาย ๆ ประเทศก็ใช้ ไม่แปลก

แต่ปัญหามันอยู่ที่ “เงิน” ในสภาพเศษฐกิจไทยในตอนนี้ เราต้องการเงินลงทุนครับ ไม่รู้เพื่อเพิ่มการลงทุนของ เล็กนิ่ม ในไทย หรือเพิ่มรายจ่าย ให้กับเล็กนิ่มกันแน่ ผมก็ยังไม่แน่ใจ ต้องดูกันยาวๆ ในตัวหุ้นของเล็กนิ่ม ที่ลงทุนในไทย

เข้าเรื่องปัญหาของ OSs กันก่อนดีกว่า จริงๆ เคยเขียนใน webblog ไว้แล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีใครไปอ่านหรือเปล่า T_T

ในเรื่อง OSs ในไทยไม่โต มันเกิดจาก การ support ครับ อย่าลืมว่าซื้อซอฟต์แวร์มา ไม่มีการ support คำตอบคือ จบ ไม่ซื้อ จริงๆ ถ้า GUI สวย แต่คนใช้งานมันไม่ได้เหมือนกันทุกคน ยังไงก็ต้องมีความไม่เข้าใจใน GUI ครับ เปิด Help คู่มือต่างๆ หรือใน Web Support แล้วคำตอบไม่เคลียร์ก็จบครับ

เหมือนซื้อของครับไม่มีประกัน หรือตอบปัญหาการใช้งาน ก็แทบจะไม่มีคนซื้อครับ ซึ่ง OSs ในไทยยังห่างชั้นกับ OSs ในต่างประเทศเยอะในเรื่องนี้ครับ ส่วนมากตอบคำถามกันในแบบ techical term ครับ คือศัพท์ต่างๆ แบบผู้ใช้ฟังแล้ว ต้องเปิด dictionary แปล แล้วต่อด้วย dictionary computer อีกรอบ ยังไม่เข้าใจเลย คือถ้าตอบแบบผู้ใช้เข้าใจง่าย มีคู่มือที่ทันสมัย ผมว่ารุ่งครับ แล้วก็อีกเรื่องคือ หนังสือ หรือคู่มือใช้งาน OSs ในไทย ไม่มีสำนักพิมพ์ไหนกล้าพิมพ์มากนักครับ ที่พิมพ์ๆ มาก็มีน้อยครับ ไม่เป็นตัวเลือกที่ดี หรือเขียนแบบแปลจาก help มาอันนี้ก็ไม่ไหวครับ

เรื่องต่อมา OSs นั้นใช้งานยาก และการติดตั้งนั้นซับซ้อน (ในบางตัว) การใช้งานยากนี่เป็นประเด็นหลักครับ คือมีน้อยมากที่ OSs นั้นจะทำงานได้ดี และไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น

Xara X, illus, corelDraw มาใช้ Inkscape นี่ก็แฮงบ้าง หรือไม่ก็มีปัญหาในการ optimize ภาพ

Microsoft Visio มาใช้ Dia ก็มีปัญหาในการเปิดโปรแกรมต่างๆ การ support แล้วก็คู่มือห่วยแตกอย่างแรง T_T

Sony Sound Forge มาใช้ Audacity อันนี้ดีมาก ถึงคู่มือจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถือว่าใช้งานได้ดี แฮงบางนิดหน่อย คือ GUI มันใช้งานง่ายอยู่แล้ว มันเลย ok

Adobe Acrobat 7.0 มาใช้ PDFCreator ผมถือว่าดีในระดับหนึ่ง ถ้าทำงาน Draf ทั่วๆ ไป แต่ถ้าทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์จริงๆ ไม่แนะนำ เพราะสีเพี้ยน และระบบจัดการ profile color ยังไม่ดี เทียบกับ Adobe จ้าวตลาดไม่ได้เลย

InterVideo WinDVD, PowerDVD มาใช้ VLC media player ใช้งานยากและ GUI ไม่สวย คู่มือยังห่วยอยู่

Macromedia Dreamweaver มาใช้ Nvu ถ้าทำเว็บแนวๆ HTML และการจัดการ CSS ก็ ok แต่ถ้าเป็น CGI แล้วนี่จบ ถึงแม้สนับสนุนภาษาไทย แต่ยังไม่เต็มที่ใน CGI

Macromedia Flash -> ?????? หาไม่เจอจริงๆ T_Y

Microsoft Office 2003 มาใช้ OpenOffice.org 1.9.104 (2.0 Beta) อันนี้ยาวหน่อย คือถ้าใช้งานกันในบริษัท เดินงานกันเป็นกลุ่มๆ ก็ ok เพราะว่า OpenDocument ของทางฝั่ง OO.org ของเมืองนอกนั้นทำมาดี และหวังจะมาแทน format ไฟล์ของเล็กนิ่ม ถ้างานด้าน Word Processing กับ Spreadsheets ถือว่าทำได้ดีมาก แต่ถ้าเป็น Presentation แล้วจบครับ ยังไม่ได้เรื่องเท่าไหร่ ส่วนงานด้าน Database นั้นความง่ายก็พอๆ กันครับ ส่วนการใส่สูตรคณิตศาสตร์นั้น OpenOffice.org ทำได้ดีกว่าครับ จริงๆ แล้ว format ไฟล์ของ OpenOffice.org ขนาดไฟล์เล็กกว่า Microsoft Office เยอะครับ อย่างเอกสารของผมถ้า save ใน word มีขนาด 876,377 แต่ถ้าไปใช้ format ไฟล์ของ OpenOffice.org เหลือแค่ 27,133 ไบต์ มันเกิดอะไรขึ้น ?

ในไทย OpenSourse Software ยังพ่ายต่อ Commerce Software อยู่วันยังค่ำครับ ถ้าคนไทยบางกลุ่มยังใช้ Software โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าของมันว่ามันมีค่าตัวของมันเอง

ผมไม่ได้ต่อต้าน Commerce Software ครับ ตอนนี้ในเครื่องก็มีหลายๆ ตัวที่เถื่อนเหมือนกัน แต่บางตัวก็ต้องซื้อครับ ตอนนี้รวมๆ ก็หลายหมื่นแล้ว ไม่ได้รวยครับ แต่ซื้อในราคานักศึกษา อย่าง Adobe เนี่ยเค้ามีโครงการซื้อราคานักศึกษาครับ อย่าง Adobe CS2 ราคาทั้งชุด 45,000 – 60,000 /Computer ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่ราคานักศึกษาอยู่ที่ 15,000 บาท / Computer ครับ และหลายตัวที่ราคานักศึกษาถูกกว่าหลายเท่าครับ

อย่าปฎิเสธเรื่องการใช้ Commerce Software ถ้าใช้มันหาความรู้ และรายได้ ผมถือว่ามันคือต้นทุนของการผลิตความรู้ และเงินในกระเป๋าครับ

แต่ OSs ที่ Boom มากๆ อย่าง Firefox นี่เป็นตัวอย่างที่ดีครับ Community และการ Promote ต่างๆ ผมว่าเป็นแบบอย่างที่ดีมาก จริงๆ Firefox ที่คนไทยกำลังทำกันอยู่ก็ทำงานมาถูกทางแล้วครับ OSs ในไทยน่าจะเอาอย่างเยอะๆ ครับ จริงๆ หลายๆ ดีๆ แต่ไม่ได้พูดถึงอย่างเคืองกันเน้อ ….. ;)

* วิเคราะฟ์วิจารณ์ตรงไปตรงมาครับ ถ้าไม่ถูกใจก็ขออภัย อันนี้มองในมุมผู้ใช้ครับ