Intel Insider Day (วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน, วาวี คอฟฟี่ ซอยอารีย์)

ผมได้รับเชิญจากทางบริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ให้ไปเข้าร่วม Intel Insiders Day (ไม่แน่ใจว่ารอบที่เท่าไหร่แล้วแต่น่าจะมากกว่า 2 เพราะรอบนี้ผมไปครั้งแรกครับ) โดยอินเทลจะเชิญบล็อคเกอร์ พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับคุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ ซึ่งเป็นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดชั้นสองของร้านวาวีคอฟฟี่ โดยงานนี้ผมขอสรุปใจความสำคัญเท่าที่จำได้มานะครับ

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ ซึ่งเป็นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

เมื่อเริ่มงานก็บรรยายเล็กน้อยประกอบกับการตามตอบเป็นระยะๆ ไม่ใช่แนวบรรยายในห้องเรียนสักเท่าไหร่ เพราะทางอินเทล เชื่อแน่ว่าทุกคนที่มางานก็ติดตามข่าวสารของอินเทลอยู่แล้วไม่น่าพลาดในรายละเอียดทั่วไปเท่าใดนัก

DSC_8982

ประเด็นที่คุณเอกรัศมิ์หยิบยกมาเป็นอย่างแรกคือ การผสมการทำงานในทุกๆ ระดับที่สามารถทำได้ และอินเทลคิดการณ์ใหญ่ในการนำชิปประมวลผลของตัวเองลงไปในทุกๆ อุปกรณ์ที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางในทุกระดับตั้งแต่ระดับ Enterprise (Super Computer) จนถึงระดับ Consumer ทั่วไปที่บุกไปถึงห้องนั่งเล่นและอุปกรณ์พกพาทุกรูปแบบ โดยใช้ Atom เป็นหัวหอกในด้านนี้ โดยรหัสพัฒนาที่ชื่อ Medfield  ที่จะออกมาในอนาคตอินเทลได้บอกเป็นนัยๆ ว่าจะมีผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่นำไปใช้งาน โดยที่ราคาของ Atom นั้นจะลดต่ำลงจนสามารถสู้กับ ARM ในด้านราคาได้มากกว่านี้ และสิ่งที่อินเมลมั่นใจว่า Atom จะไปได้ดีคือ ARM นั้นจะทำให้นักพัฒนาที่อยู่บน x86 เข้าถึงได้ยากเพราะต้องเรียนรู้และศึกษาใหม่เยอะ และอาจจะไม่คุ้ม การที่ Atom ลงมาแข่งทำให้ x86 บุกเข้าสู่ตลาดใหม่ที่ทำให้นักพัฒนามีทางเลือกนอกจาก ARM

ซึ่งทางคุณเอกรัศมิ์ ระบุต่อไปอีกว่า Atom จะถูกนำมาใช้ในงาน SoC (System On Chip) มากขึ้น และกินไฟน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่ใช่ปัญหาและข้อแตกต่างจาก ARM ในสถาปัตยกรรมที่ผลิตเล็กลงเรื่อยๆ นำไปสู่การเอาไปใส่ในอุปกรณ์ทั่วๆ ไปมากขึ้น

DSC_8979

ซึ่งสิ้นปีและต้นปีหน้า เราจะเห็น Atom ที่เป็น Series ใหม่ๆ ออกมา โดยตัวที่มุ่งเน้นก็คงเป็น Z-Series สำหรับโทรศัพท์มือถือ และ CE-Series สำหรับ TV ที่ไม่แน่ว่าเราอาจจะเห็นมากขึ้นในปลายปีนี้

DSC_8992

โดยทางคุณเอกรัศมิ์บอกต่อไปอีกว่าอินเทลมองเห็นทิศทางของ Netbook จะไปได้ไกลในปีนี้และต้นปีหน้า เพราะราคาของ Windows ที่ถ้าผู้ผลิตได้ราคาลิขสิทธิ์จากทาง Microsoft ต่อเครื่องลดต่ำลงเพื่อลงมาสู้กับ Android OS และ Ubuntu Linux เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดโดยตัดราคาให้ได้ส่วนแบ่งมากที่สุดก่อนเน้นมูลค่าทางการตลาด

DSC_8984

สำหรับ CPU Desktop ที่สามารถนำไป Overclock ได้โดย "ไม่หมดประกัน" และทำได้ง่ายๆ ผ่าน Software คือ K-Series ซึ่งเป็น Core รุ่นที่ Overclock ได้  ซึ่งการรับประกันตัว CPU จะยังคงอยู่ แต่ถ้า Overclock แล้วไปทำไหม้ก็ไม่รับประกันนะครับงานนี้ (คือข้างกล่องจะมีบอกว่า limit ของ CPU จะได้สูงสุดเท่าไหร่ถึงจะมีผลทำให้ไหม้ได้) ซึ่งรุ่นนี้จะไม่มีพัดลมมาชุดติดตั้ง เหตุผลเพราะคนที่เอามา Overclock มักใช้อุปกรณ์ระบายความร้อนที่ซื้อแยกต่างหากอยู่แล้ว

สำหรับเหตุผลว่าทำไมถึงทำ K-Series ออกมาให้ Overclock ได้ทั้งๆ ที่น่าจะทำ CPU ออกมาในขนาดความเร็วเท่านั้นไปเลย เหตุผลทางคุณเอกรัศมิ์ บอกว่าเป็นเหตุผลทางการตลาดและความสามารถในการผลิตตัว CPU ต่างๆ ในแผ่น Wafer เดี่ยวอาจจะเอามาทำรุ่น K-Series ได้ในจำนวนหนึ่งเท่านั้น รวมไปถึงบางครั้งความต้องการของ CPU บางรุ่นอาจจะต้องเอา Core CPU ที่ผลิตไดไป underclock เพื่อเอาไปขายให้ทันส่งลูกค้า นั้นคือเหตุผลว่าทำไม CPU บาง lot ที่ขายๆ กันในอดีต-ปัจจุบันจึงสามารถ Overclock ได้ในระดับสูง ในบาง lot บางช่วงเวลานั้นเอง ซึ่งอินเทลก็ใช้จุดนี้มาทำการตลาดแบบนี้เช่นกันใน K-Series นั้นเอง

สำหรับสุดท้ายตลาด Enterprise นั้นทางอินเมลระบุว่ากำลังไปได้ดีในตลาดนี้ ดูได้จากส่วนแบ่งในการนำไปใช้ในตลาด Super Computer ขนาดใหญ่ที่มีรายงานออกมาจากทาง TOP500 เมื่อไม่นานมานี้ ที่การใช้งานเป็น Xeon อยู่ 80% และคาดว่าจะกินส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในอนาคตเป็น 90% ได้ในไม่นานนี้

สำหรับข้อมูลอื่นๆ เก็บตกบางส่วน อ่านได้จาก Intel Insider Day: Medfield จะทำให้เราประหลาดใจ, TSMC ไม่เคยได้ผลิตชิป Atom ครับ

Core Duo แตกต่างกับ Core 2 Duo อย่างไร

เรื่องนี้คงเอาคราว ๆ พอ ไม่ได้ลึกมากมาย แต่ถ้าใครอยากได้ลึกถึงรายละเอียดกว่าที่ผมเขียน ก็เข้าไปอ่านตามลิงส์ที่ผมทำไว้เพื่อเพิ่มรายละเอียดได้ครับ

ใครที่ไม่ทราบเรื่อง Hardware ใน Computer มากนักแนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มตาม ลิงส์ที่มีอยู่นะครับ 

ข้อแตกต่างของคำว่า Solo กับ Duo ก็คือ Solo เป็น CPU แบบ Single Core และ Duo เป็น CPU แบบ Dual Core โดยถ้าใน Intel Core 2 Solo จะไม่มีคุณสมบัติ Intel Advanced Smart Cache (การแชร์ L2 cache เพื่อใช้งานร่วมกันของ Core CPU ใน Multi-core CPU) ส่วนนอกนั้นมันก็เหมือน ๆ กัน [Core Solo and Core Duo]

Core 2 Duo เป็น Hybrid CPU ระหว่าง 32bit และ 64bit CPU มันคงไม่เพียว ๆ แบบ Itanium เพราะ Core 2 Duo มันเป็นทั้ง x86 (32bit เดิม) และ x86-64 (EM64T) โดย Core 2 Duo ที่ใส่ใน Notebook มี codename ว่า Merom เป็นใช้สถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture โดยผลิตแบบ Dual Core และเทคโนโลยีแบบ 65 nm, เพิ่ม Supplemental Streaming SIMD Extension 3 (SSSE3) เข้ามาในชุดคำสั่งบน CPU ด้วย โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 16 ชุดคำสั่ง และยังได้เพิ่ม Intel Advanced Smart Cache เพื่อเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลใน L2 Cache ที่แชร์การใช้งานกันอยู่ และมีอย่างอื่นอีกเช่น Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ อ่านที่ Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance ครับ

ส่วน Core Duo ที่มี codename ว่า Yonah ใช้ Pentium M microarchitecture แต่ดันใช้ชื่อ Intel Core ให้สับสนกันเล่น ๆ ซะงั้นอ่ะ ซึ่งเป็นการ Rebranding ตัว Pentuim M ใหม่ และให้มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยนั้นก็คือเปลี่ยนการผลิตจาก 90nm ใน codename Dothan มาเป็น 65nm และเพิ่ม SSE3 ลงไปใน CPU codename ดังกล่าว แถมด้วยเพิ่ม L2 Cache บ้างในบางรุ่น (ส่วนใหญ่จะรุ่นสูง ๆ ) ซึ่ง L2 Cache ที่อยู่ในรุ่น Core Duo นั้นไม่ได้ใช้ Intel Advanced Smart Cache ซึ่งทำให้ L2 Cache นั้นถูกแยกออกมาใช้ในแต่ละ Core Processor ทำให้เกิดการดึงข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้ ซึ่งก็ต้องถูกแก้ปัญหานี้โดยใช้ Intel Advanced Smart Cache ในสถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture นั้นเอง ซึ่งเจ้า Core Duo นั้นก็ยังคงมีความเป็น Pentium M microarchitecture มากกว่า Intel Core microarchitecture อยู่ดี

โดยสรุปได้ย่อ ๆ ว่าสิ่งที่แยกระหว่าง Pentium M microarchitecture และ Intel Core microarchitecture คือ EM64TSSSE3 , Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

รายละเอียดความแตกต่างของทั้ง Intel Core Solo/Duo และ Intel Core 2 Solo/Duo มีดังนี้

Core Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.06 GHz – 2.33 GHz
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 667Mhz
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Instruction set Yonah: RISC – IA32 – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB (Independent L2 Cache)

Core 2 Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.60 GHz – 2.93 GHz
  • Implementation Desktop
    775lands FC-LGA4 – Socket775
  • Implementation Server (Xeon Brand)
    775lands FC-LGA4 – Socket775 (Uniprocessor Socket775)
    – 771lands FC-LGA4 – SocketJ (LGA771, Dualprocessor Socket J และ Multiprocessor Socket J)
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 800Mhz
  • Instruction set Merom: RISC – IA32 – EM64T – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3 – SSSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB – 4MB (Intel Advanced Smart Cache, Maximum 8MB in Xeon Brand)
  • New Technology, Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

อ้างอิงจาก

ทำไมนะ Apple ถึงไม่ใช้ AMD ?

จากที่ได้อ่านเรื่อง Intel isn’t the only game in town “Why Not AMD ?” ในหนังสือ Mac World ฉบับมกราคม 2005 เมื่อกี้นี้ ได้อ่านบทวิเคราะห์ในเรื่องของการที่ Apple ไม่ใช้ Chip CPU Intel ว่า

“Jobs has a clear goal in mind: innovative design. And such designs require ultralow-voltage chips, which IBM and Freescale weren’t going to make with the PwerPC ship core and which AMD has not yet perfected”

แปลประมาณว่า jobs เนี้ยต้องการ Chip ที่ Design ในลักษณะ ultralow-voltage ซึ่ง IBM เองนั้นไม่สามารถทำให้ได้ และ AMD ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบพอ

และยังต่ออีกว่า “นี่เป็นความเหมาะสมในทางปฎิบัติ ซึ่งต้องทำอย่างจิงจัง โดยการตัดสินใจของ Jobs เอง”

โดยในงาน IDC (Intel Developer Con.) นั้นทาง Intel ได้บ่งบอกถึงสายการผลิตที่สมบูรณ์ของ chip ที่ใช้พลังงานต่ำ (low-power) ที่ใช้ในตลาด mobile และ computer ขนาดเล็ก

Jobs นั้น ก็ชอบ AMD ในเรื่องของการใส่คุณสมบัติต่างๆ มากมาย ใน road map แต่ว่า นั้นก็ทำให้เกิดปัญหาที่มองข้ามไม่ได้คือ “ทุกๆ อย่างที่อยู่ใน road map ต้องเป็นไปได้ทั้งหมด” และในอนาคตอันใกล้นี้ AMD ก็ยังไม่สามารถออก low-voltage และ ultralow-voltage processors ได้แน่นอน ซึ่ง AMD ยังต้องพัฒนา chip ที่ทำงานได้ในสถาพการใช้พลังงานที่ต่ำแบบเดียวกับ Pentium M และรวมไปถึงการที่สามารถขายในราคาที่ยอมรับได้ด้วย และต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการรับ load การผลิตที่สูงๆ ได้ตามที่ตลาดของ Apple ต้องการ

โดยตัวเลือกจาก Intel ที่ Apple ได้เลือกในตอนนี้คือ Yonah ที่เป้น low-power/dual core ship ที่เอามาใช้สำหรับ Notebook โดย Yonah นั้นจะจำหน่ายในปี 2006

“Yonah นั้นมีสิ่งที่เหมาะสมกับ Apple โดยที่ Yonah นั้นจะเป็นตัวจักรสำคัญให้กับกับ Apple notebook ได้ ซึ่ง AMD นั้นยังคงกำลังพัฒนา low-power, dual core chip ที่บาง และเล็ก เพื่อใช้ใน notebook อยู่ แถมก็ยังไม่ได้บอกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะสำเร็จ แต่ว่า Yonah นั้นเป็น x86 Architecture ซึ่ง Apple ต้องทำให้ softwae ที่ทำงานบน x86 Architecture ได้อย่างสมบูรณ์เสียก่อนด้วย” Kevin Krewell, editor in chief of Microprocessor Report กล่าว

ในด้าน Performance นั้น Intel และ AMD นั้น ในการต่อสู้กับในตลาดมายาวนาน ดูเหมือนจะพลัดกันแพ้ชนะมาเรื่อย และบริษัททั้งสองก็มี dual core chip ที่มีความร้อนสูงอยู่ และแถมยังไม่สามารถทำความเร็ว clock speed ได้สูงไปกว่าที่เป็นอยู่ได้มาเป็นเวลานานแล้ว

ซึ่ง Intel จะจัดการกับปัญหานี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2006 นี้ โดยจะเป็น low-power, dual-core chips โดยที่ Brookwook จาก Intel ยืนยันหนักแน่นว่าจะใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเดิม และมี performance มากขึ้น แต่จะไม่ปรับ Mhz ให้สูงขึ้น

โดยที่ “Intel ได้เลิกความคิดในเรื่องของสงครามตัวเลข Mhz ไปแล้ว และมันคงเป็นสิ่งที่ Jobs ต้องการได้ยิน ซึ่ง Jobs คงไม่ต้องการได้ยินการลดความเร็ว clock speed ของ Intel มากกว่าที่ PowerPC ได้ทำไว้” Brookwook จาก Intel ได้กล่าวไว้ และทิ้งท้ายไว้ว่า “Application performance ของ Mac นั้น คงไม่ต้องการ chip ที่มีความเร็วต่ำกว่าที่ควรจะเป็น”

มันเป็นไปได้ไหมว่าว่า Apple อาจจะใช้ AMD Processor ในอนาคต หลังจากที่ Transition ไป x86 Architecture แล้ว ? นาย Brookwood ได้กล่าวว่า “สำหรับ Apple แล้วนั้น การที่จะย้ายไป AMD นั้น ทาง AMD ต้องมี low-power chip เสียก่อน ซึ่ง Intel ของเรานั้นมี สินค้าในส่วนที่ ที่มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ อยู่แล้ว และคงเป็นการยากที่จะทำในหลายๆ เรื่อง”

Yonah มีอะไรน่าสนใจบ้าง ? ….. (รายละเอียดเบื้องต้น)

Intel แสดง roadmap และราคาของ Yonah ทั้งรุ่นทั่วไป และแบบ low/ultra low voltage

เรามาทำความเข้าศัพท์เล็กน้อยกันก่อน สำหรับ Single core นั้น Intel จะเรียกว่า Core Solo ส่วน ถ้าเป็น Dual Core จะเรียนกว่า Core Duo ครับ

ใน Intel road map ได้แสดงให้เห็นว่าในมกราคมปี 2006 Yonah จะออกสู่สายการผลิต ซึ่งเป็น core แบบ 65nm, แต่ยังคงทำงานบน 32bit architecture และมีทุกๆ รุ่นมี L2 Cache ที่ 2MB และมี FSB (Front Side Bus) ที่ 667Mhz สำหรับรุ่นทั่วไปและ low voltage ส่วน ultra low voltage จะมี FSB ที่ 553Mhz ซึ่ง Yonah ที่จะออกทั้งปีนี้มีดังนี้ครับ

ที่ 667MHz FSB รุ่นทั่วไป จะมี
* T1700 (x60) คือความเร็ว 2.33GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* T1600 (x50) คือความเร็ว 2.16GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1500 (x40) คือความเร็ว 2.00GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1400 (x30) คือความเร็ว 1.83GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1300 (x20) คือความเร็ว 1.66GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* 766 คือความเร็ว 1.83GHz (single core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* 756 คือความเร็ว 1.66GHz (single core) ออกมกราคมปี 06

ที่ 667MHz FSB รุ่น low voltage จะมี
* L1500 (x58) คือความเร็ว 1.83GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* L1400 (x48) คือความเร็ว 1.66GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* L1300 (x38) คือความเร็ว 1.50GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06

ที่ 533MHz FSB รุ่น ultra low voltage จะมี
* U1500 คือความเร็ว 1.06GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* 1200 คือความเร็ว 1.2GHz (single core) ออกปลายปี 06
* 1100 คือความเร็ว 1.06GHz (single core) ออกปลายปี 06

โดยจะมาใน Platform ที่เป็น code name ว่า Napa ซึ่งเป็น code name ของ centrino ใหม่ของ Intel ที่จะมาแทน Sonoma

ซึ่งจากแหล่งข่าว และคำกล่าวของ Intel ให้บอกไว้ว่า Yonah นั้นจะมี Performance per Watt ที่สูงกว่า P4 รุ่น D พอสมควร ในสัญญาณนาฬิกาเดียวกัน

ส่วนปลายปี เราจะได้เจอกับ mobile dual core ที่ทำงานบน 64bit architecture ที่ชื่อว่า Merom Processor โดยข้อมูลคราวๆ มีดังนี้
– core แบบ 65nm
– dual core (มันแน่นอนอยู่แล้ว)
– EM64T (ชื่อเรียก CPU 64bit ของ Intel)
– FSB 667Mhz
– L2 Cache ขนาด 4Mb ( ^O^ โอ้วว เยอะจริงๆ )

โดยจะมาใน Platform ที่เป็น code name ว่า Conroe ซึ่งเป็น code name ของ centrino ใหม่ของ Intel ที่จะมาแทน Napa

ซึ่งตอนนี้ notebook ตัวแรกที่ประกาศใช้ Yonah และเดินสายการผลิต เป็นยี่ห้อ NEC ไปแล้วครับ และจะเปิดจำหน่ายในเดือนนี้เช่นกัน ไม่รู้ว่า Apple จะทำยังไงต่อไป

อ้างอิงจาก
http://www.neoseeker.com/news/story/5275/Intel%20prices%20up%2065nm%20dual,%20single-core%20′Yonah’
http://www.intel.com
http://www.blognone.com

วิเคราะห์ Apple Switch IBM to Intel.

เป็นข่าวใหญ่อีกข่าวแล้ว สำหรับโลกของไอที หลังจาก IBM ขาย PC Think Family Division ให้กับ Lenovo และ Adobe ซื้อ Macromedia

คราวนี้ Apple ผู้ผลิต Personal Conputer ภายใต้ชื่อว่า Macintosh หรือเรียกสั้นๆ ว่า Mac โดยใช้ระบบ Operating Systems ในชื่อว่า Mac OS ซึ่งในรุ่นปัจจุบันที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ Mac OS X Tiger ซึ่ง X (อ่านว่า “เท็น” อ่านตามภาษาโรมัน) นั้นก็คือ 10 หรือรุ่นที่ 10 และ Tiger คือ Codename ในการพัฒนา ซึ่งอยู่ในสายการผลิตที่ 10.4 นั้นเอง

หลังจากการเปิดตัว Mac OS X Tiger มาไม่นาน โดยพัฒนาการอย่างยาวนานโดยใช้ฐานการพัฒนาจาก BSD Base ซึ่งเป็นกลุ่มของ Operating Systems ของฝ่าย OpenSource Software นั้นเอง

ในความคิดของผมนั้น การที่ Apple ย้ายการใช้ Chip จากผู้ผลิตอย่าง IBM มาเป็น Intel แถมด้วยสถาปัตยกรรม x86 อีกต่างหากเนี่ยน่าจะเป็นหลายปัจจัยด้วยกัน อย่างแรกคือในตอนนี้ Apple นั้นได้รับผลกระทบต่อการล่าช้าของการออกสินค้ารุ่นใหม่ๆ ของ IBM รุ่น PowerPC G5 นั้นเอง การไม่สามารถ หรือไม่เร่งพัฒนาความสามารถหรือความเร็วในการทำงานของ G5 ได้ตามที่ Apple ต้องการประกอบกับการใช้พลังงานของตัวระบบที่นำมาสนับสนุนที่มาก รวมถึงความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ไม่สามารถนำมาใส่ใน PowerBook รุ่นต่อไปได้ ทำให้ Apple น่าจะเห็นทางตันในการนำ G5 ของ IBM มาพัฒนาต่อหรือทำให้ใช้งานได้ทั้ง Desktop, Server, Laptop และ Mobile Portable อื่นๆ ในอนาคต เพราะผมคาดว่า Apple น่าจะทำ Tablet PC หรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กๆ ออกมานอกเหนือจาก iPod และ PowerBook/iBook คาดว่าน่าจะได้เห็น PDA จาก Apple ในเร็วๆ นี้ เพราะตอนนี้ตลาด MP3 Player ที่มี iPod เป็นหัวเรือใหญ่นั้น เริ่มถึงจุดคุ้มทุน รวมถึงอิ่มตัวในด้านเทคโนโลยีในอีกไม่นานนี้แล้ว ซึ่ง Apple อาจจะกำลังหาสิ่งใหม่ๆ ที่มากระชากตลาดอีกครั้ง ไม่แบบ Think Different นั้นเอง

แต่ Apple ไม่ใช่ PC ที่ใครๆ ก็เอา Windows มายัดลงไป หรือเอา Mac OS X ไปยัดใส่ PC ธรรมดาได้ง่ายๆ ผมคาดว่า Apple จะทำ ระบบ Hardware ต่างๆ แบบระบบปิดเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยน CPU และรับบการทำงานร่วมกันไปในทางที่ดีขึ้นโดยไม่ปล่อยให้เกิด Mac Clone เกิดขึ้น เพราะ Apple มีจุดเด่นที่มี Hardware ที่เป็นระบบปิด ได้รับการพัฒนาเฉพาะแบบ เพื่อ Mac OS จะได้ทำงานได้อย่างราบรื่น และไม่มีปัญหาแบบ Driver ร้อยพ่อพันแม่้ แบบ Windows แล้วทำให้ ระบบ OS ล่มไป ซึ่งทำให้ระบบ System มีความเสถียรภาพ หมดปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของ Hardware ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านของ PC ทั่วไปเจอ แล้ว Apple มีระบบ Opersting System (OS) ที่ดี และเข้าใจง่ายตรงไปตรงมา มีโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับระบบ OS ที่ดี และใช้งานง่ายกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ผมยังไม่เชื่อว่า Apple ที่เป็นผู้ผลิต Hardware แล่้วขายพ่วง Software ราคาถูกเพื่อให้ผู้ใช้ซื้อ Hardare ที่มีราคสูง และมีประสิทธิภาพสูง ไปใช้ แล้วจะกระโดดมาทำแต่ Software หรืออุปกรณ์เสริม อย่างที่หลายๆ คนคิด

แต่ที่แน่ๆ ความเป็น Apple นั้นก็ยังคงเป็น Apple อยู่ รูปลักษณ์ของตัว Hardware ที่ดูโดดเ่ด่นกว่าผู้ผลิตรายอื่นเป็นสิ่งที่ได้เปรียบอย่างมากในการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ โดยคนที่ใช้ Mac บางกลุ่มซื้อมาใช้งานและติดใจนั้น ในครั้งแรก ซื้อเพราะ “สวย ทันสมัย เท่” มาก่อน ซึ่งนี่เป็นเหมือนเอกลักษณ์ ในจุดหนึ่งเลยทีเดียว

อีกเรื่องที่ผมเพิ่งคิดออก

การที่ Apple ย้ายการใช้งาน CPU จาก IBM มา Intel น่าจะมาจากต้นทุนการผลิตตัวสินค้า ผมว่า Apple ต้องการแข่งขันในตลาดไปในทางที่ดีกว่านี้ ตอนนี้ Apple ไม่ต้องการขายแค่ Stable หรือเสถียรภาพอย่างเดียวแล้ว Apple มองกว่า ยิ่งคนใช้ iPod มากเท่าไหร่ ก็อยากจะมาใช้ Mac มาเท่านั้น จากข่าวเก่าๆ ก็เห็นว่าคนใช้ Mac มากขึ้นเพรา iPod แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ซื้อนั้นติดที่ราคาค่าตัวของ Mac ที่สูงกว่า PC ทั่วๆ ไปอยู่พอสมควรทีเดียว

ทำไมผมมองว่า iPod คือตัวชูโรง ผมอยากให้มองแบบนี้ว่า iPod คือเครื่องเล่นเพลง คนฟังเพลงมากกว่าคนใช้คอมพิวเตอร์มากครับ การที่ iPod มีส่วนแบ่งมากถึง 70% ในตอนนี้ (07/06/2005) นั้น ถ้าสินค้าที่ต่อพ่วงกับ iPod นั้นคือ Mac นั้นหมายถึงการเข้ากันได้ของตัวสินค้า คลายๆ กับ Sony นั้นหล่ะครับ ถ้า Mac ราคาถูกลงอย่างน้อยๆ สักลงมาสัก 60% – 75% ของราคาปัจจุบัน น่าจะมีการตัดสินใจซื้อมากขึ้นด้วยซ้ำไป ผมไม่คิดว่ากำไรจะน้อยลง แต่มากขึ้นด้วยเพราะต้นทุนลดลง ทำใ้หลดราคาลงมาได้อีกนี่เป็นผลดีกับ Apple เองครับ

แล้วสำหรับผู้ใช้เก่าๆ นั้นผมคิดว่ามากกว่า 80% คงทำใจได้ เพราะส่วนใหญ่ที่ใช้ก็ไม่ได้คิดว่ามันคือ PowerPC G5 จาก IBM หรือ Pentuim 4 จาก Intel ถ้าทุกๆ อย่างที่เคยใช้ หรือทำงานมันเหมือนๆ กันทุกอย่างไม่ต่างกัน เสถียรภาพเท่าเิดิม เหมือนตอน Motolora มา IBM ผมว่าทุกอย่างย่อมกลับเข้าที่เข้าทางของมันเองในไม่ช้าครับ ผมว่ามันเป็นเรื่องของการผลิต ยังไงคนใช้ก็ต้องใช้กันต่อไป

ถ้าเสือมันตระคุบเหยื่อได้อย่างที่เสือทำกันมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่แล้ว มันก็คือเสือ ไม่ใช่แมว ….. ;)