เพิ่มแรมให้น้อง Hoffmann จาก 512MB -> 768MB อะไรๆ ก็เร็วขึ้น

หนังจากที่น้อง Hoffmann (IBM Thinkpad R40 ตัวเก่งนั้นแหละ) ของผมอืดๆ มาเพราะโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในปัจจุบันมันช่างใหญ่โตขึ้นใหญ่ขึ้นมาก มันเลยทำให้แรมความจุ 512 MB ที่มากมายในสมัยเมื่อ 2 ปีก่อนเล็กลงไปถนัดตา ซึ่งในตอนนั้นเพิ่มจาก 256MB ที่ติดมากับเครื่องเป็น 512MB โดยการเพิ่มแรมไปอีกแถวทำให้การ อัฟเกรดครั้งนี้จำใจต้องถอดออกไปหนึ่งตัว และการแรมใหม่มาใส่แทนอีกครั้ง ในครั้งนี้โดนใจมากกับราคาแรมโดย Kingston ValueRam ความจุ 512MB PC2700 Bus 333MHz มีราคาค่าตัวเพียงแค่ 2,5xx บาทเท่านั้น (ราคาอาจะแตกต่างตามพื้นที่ที่ท่านซื้อ +- ไม่เกิน 200 บาท) เลยจัดมาตัวนึง ในร้านที่ไปซื้อไม่มี 1GB ขายเลยเซงนิดๆ แต่ไม่เป็นไร ใช้ไปก่อน เพราะว่าแค่นี้คงพอใช้ในตอนนี้อยู่แล้ว ส่วน 1GB คาดว่าราคาไม่น่าจะเกิน 4,9xx นะ อันนี้ประมาณเอา

ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับ Kingston ValueRam กับ Kingston ธรรมดา ไม่เหมือนกันนะครับ

Kingston ValueRam เป็นแรมที่ผลิตมาในรูปแบบของ Memory Upgrade และ Compatible กับทุกๆผู้ผลิต PC ต่างๆ

ส่วน Kingston ธรรมดานั้นเป็นแรมที่ผลิตมาเพื่อใช้ในเฉพาะเจาะจงลงไปในแต่ละผู้ผลิต เช่น Memory for IBM Thinkpad R Series xxxx Notebook Compatible by Kingston นั้นหมายถึงใช้ได้กับ IBM Thinkpad รุ่น R และหมายเลขรุ่นต่างๆ ที่ระบุไว้อีกที

ซึ่งทั้งสองแบบแตกต่างกันที่ขั้นตอนการ QC & Tester ครับ

Kingston ValueRam จะทดสอบมาให้ตรงตามหมายฐานอุตสาหกรรม และตรงตาม Specification ของทุกๆ มาตรฐานสากล โดยไม่อิงไปในยี่ห้อผู้ผลิตใดๆ เลย

Kingston จะทำตามขั้นตอนเหมือน Kingston ValueRam เกือบทุกอย่าง เพียงแต่จะทำการทดสอบกับเครื่องรุ่นนั้นๆ เพื่อเฉพาะเจาะจงลงไปอีก เช่นใส่กับ IBM Thinkpad R Series ก็จะทดสอบกับเครื่องรุ่นนั้น ถ้าผ่านตามมาตรฐาน และใช้งานได้ดี ไม่มีแฮงและข้อผิดพลาด ก็จะเอาแรมนั้นๆ มาใส่หมายเลขรุ่น เฉพาะนั้นๆ แทน ซึ่งในส่วนนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า เพราะต้องนำแรม ต้นแบบไปให้แต่ละยี่ห้อทดสอบด้วย ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน

ซึ่ง Kingston ValueRam นั้นถ้าใช้ในเครื่องประกอบเองแล้วจะไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่าผลิตมากับทุกๆ เครื่อง แต่ถ้าใช้กับเครื่อง Brandname ต่างๆ รวมถึง Notebook แล้วจะมีการเลือกแรมในการประกอบลงไปใหม่ ด้วย หรือการ Upgrade นั้นเองครับ

วิเคราะห์ Apple Switch IBM to Intel.

เป็นข่าวใหญ่อีกข่าวแล้ว สำหรับโลกของไอที หลังจาก IBM ขาย PC Think Family Division ให้กับ Lenovo และ Adobe ซื้อ Macromedia

คราวนี้ Apple ผู้ผลิต Personal Conputer ภายใต้ชื่อว่า Macintosh หรือเรียกสั้นๆ ว่า Mac โดยใช้ระบบ Operating Systems ในชื่อว่า Mac OS ซึ่งในรุ่นปัจจุบันที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ Mac OS X Tiger ซึ่ง X (อ่านว่า “เท็น” อ่านตามภาษาโรมัน) นั้นก็คือ 10 หรือรุ่นที่ 10 และ Tiger คือ Codename ในการพัฒนา ซึ่งอยู่ในสายการผลิตที่ 10.4 นั้นเอง

หลังจากการเปิดตัว Mac OS X Tiger มาไม่นาน โดยพัฒนาการอย่างยาวนานโดยใช้ฐานการพัฒนาจาก BSD Base ซึ่งเป็นกลุ่มของ Operating Systems ของฝ่าย OpenSource Software นั้นเอง

ในความคิดของผมนั้น การที่ Apple ย้ายการใช้ Chip จากผู้ผลิตอย่าง IBM มาเป็น Intel แถมด้วยสถาปัตยกรรม x86 อีกต่างหากเนี่ยน่าจะเป็นหลายปัจจัยด้วยกัน อย่างแรกคือในตอนนี้ Apple นั้นได้รับผลกระทบต่อการล่าช้าของการออกสินค้ารุ่นใหม่ๆ ของ IBM รุ่น PowerPC G5 นั้นเอง การไม่สามารถ หรือไม่เร่งพัฒนาความสามารถหรือความเร็วในการทำงานของ G5 ได้ตามที่ Apple ต้องการประกอบกับการใช้พลังงานของตัวระบบที่นำมาสนับสนุนที่มาก รวมถึงความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ไม่สามารถนำมาใส่ใน PowerBook รุ่นต่อไปได้ ทำให้ Apple น่าจะเห็นทางตันในการนำ G5 ของ IBM มาพัฒนาต่อหรือทำให้ใช้งานได้ทั้ง Desktop, Server, Laptop และ Mobile Portable อื่นๆ ในอนาคต เพราะผมคาดว่า Apple น่าจะทำ Tablet PC หรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กๆ ออกมานอกเหนือจาก iPod และ PowerBook/iBook คาดว่าน่าจะได้เห็น PDA จาก Apple ในเร็วๆ นี้ เพราะตอนนี้ตลาด MP3 Player ที่มี iPod เป็นหัวเรือใหญ่นั้น เริ่มถึงจุดคุ้มทุน รวมถึงอิ่มตัวในด้านเทคโนโลยีในอีกไม่นานนี้แล้ว ซึ่ง Apple อาจจะกำลังหาสิ่งใหม่ๆ ที่มากระชากตลาดอีกครั้ง ไม่แบบ Think Different นั้นเอง

แต่ Apple ไม่ใช่ PC ที่ใครๆ ก็เอา Windows มายัดลงไป หรือเอา Mac OS X ไปยัดใส่ PC ธรรมดาได้ง่ายๆ ผมคาดว่า Apple จะทำ ระบบ Hardware ต่างๆ แบบระบบปิดเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยน CPU และรับบการทำงานร่วมกันไปในทางที่ดีขึ้นโดยไม่ปล่อยให้เกิด Mac Clone เกิดขึ้น เพราะ Apple มีจุดเด่นที่มี Hardware ที่เป็นระบบปิด ได้รับการพัฒนาเฉพาะแบบ เพื่อ Mac OS จะได้ทำงานได้อย่างราบรื่น และไม่มีปัญหาแบบ Driver ร้อยพ่อพันแม่้ แบบ Windows แล้วทำให้ ระบบ OS ล่มไป ซึ่งทำให้ระบบ System มีความเสถียรภาพ หมดปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของ Hardware ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านของ PC ทั่วไปเจอ แล้ว Apple มีระบบ Opersting System (OS) ที่ดี และเข้าใจง่ายตรงไปตรงมา มีโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับระบบ OS ที่ดี และใช้งานง่ายกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ผมยังไม่เชื่อว่า Apple ที่เป็นผู้ผลิต Hardware แล่้วขายพ่วง Software ราคาถูกเพื่อให้ผู้ใช้ซื้อ Hardare ที่มีราคสูง และมีประสิทธิภาพสูง ไปใช้ แล้วจะกระโดดมาทำแต่ Software หรืออุปกรณ์เสริม อย่างที่หลายๆ คนคิด

แต่ที่แน่ๆ ความเป็น Apple นั้นก็ยังคงเป็น Apple อยู่ รูปลักษณ์ของตัว Hardware ที่ดูโดดเ่ด่นกว่าผู้ผลิตรายอื่นเป็นสิ่งที่ได้เปรียบอย่างมากในการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ โดยคนที่ใช้ Mac บางกลุ่มซื้อมาใช้งานและติดใจนั้น ในครั้งแรก ซื้อเพราะ “สวย ทันสมัย เท่” มาก่อน ซึ่งนี่เป็นเหมือนเอกลักษณ์ ในจุดหนึ่งเลยทีเดียว

อีกเรื่องที่ผมเพิ่งคิดออก

การที่ Apple ย้ายการใช้งาน CPU จาก IBM มา Intel น่าจะมาจากต้นทุนการผลิตตัวสินค้า ผมว่า Apple ต้องการแข่งขันในตลาดไปในทางที่ดีกว่านี้ ตอนนี้ Apple ไม่ต้องการขายแค่ Stable หรือเสถียรภาพอย่างเดียวแล้ว Apple มองกว่า ยิ่งคนใช้ iPod มากเท่าไหร่ ก็อยากจะมาใช้ Mac มาเท่านั้น จากข่าวเก่าๆ ก็เห็นว่าคนใช้ Mac มากขึ้นเพรา iPod แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ซื้อนั้นติดที่ราคาค่าตัวของ Mac ที่สูงกว่า PC ทั่วๆ ไปอยู่พอสมควรทีเดียว

ทำไมผมมองว่า iPod คือตัวชูโรง ผมอยากให้มองแบบนี้ว่า iPod คือเครื่องเล่นเพลง คนฟังเพลงมากกว่าคนใช้คอมพิวเตอร์มากครับ การที่ iPod มีส่วนแบ่งมากถึง 70% ในตอนนี้ (07/06/2005) นั้น ถ้าสินค้าที่ต่อพ่วงกับ iPod นั้นคือ Mac นั้นหมายถึงการเข้ากันได้ของตัวสินค้า คลายๆ กับ Sony นั้นหล่ะครับ ถ้า Mac ราคาถูกลงอย่างน้อยๆ สักลงมาสัก 60% – 75% ของราคาปัจจุบัน น่าจะมีการตัดสินใจซื้อมากขึ้นด้วยซ้ำไป ผมไม่คิดว่ากำไรจะน้อยลง แต่มากขึ้นด้วยเพราะต้นทุนลดลง ทำใ้หลดราคาลงมาได้อีกนี่เป็นผลดีกับ Apple เองครับ

แล้วสำหรับผู้ใช้เก่าๆ นั้นผมคิดว่ามากกว่า 80% คงทำใจได้ เพราะส่วนใหญ่ที่ใช้ก็ไม่ได้คิดว่ามันคือ PowerPC G5 จาก IBM หรือ Pentuim 4 จาก Intel ถ้าทุกๆ อย่างที่เคยใช้ หรือทำงานมันเหมือนๆ กันทุกอย่างไม่ต่างกัน เสถียรภาพเท่าเิดิม เหมือนตอน Motolora มา IBM ผมว่าทุกอย่างย่อมกลับเข้าที่เข้าทางของมันเองในไม่ช้าครับ ผมว่ามันเป็นเรื่องของการผลิต ยังไงคนใช้ก็ต้องใช้กันต่อไป

ถ้าเสือมันตระคุบเหยื่อได้อย่างที่เสือทำกันมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่แล้ว มันก็คือเสือ ไม่ใช่แมว ….. ;)

จาก Yahoo News เรื่อง Apple Announces Switch to Intel Chips

อะไร ๆ บนโลกนี้ก็เป็นไปได้ Everythings is possible.

จากข่าว

Apple Announces Switch to Intel Chips

มันกลายเป็นจริงเสียแล้ว ลองดูรูปที่ http://news.yahoo.com/photos/sm/events/tc/101603apple/p:1

เห็นแล้วอึ่ง ๆ เล็ก ๆ กับการที่ Mac OS X Tiger 1.4.1 มัน ทำงานบน Pentuim 4 นี่ดิ แหม ทำไปได้ …..

จากเว็บ Apple เองเลยครับ

Apple to Use Intel Microprocessors Beginning in 2006

http://www.apple.com/pr/library/2005/jun/06intel.html

ไว้ถ้ามีเวลาจะบอกเล่าให้ฟังแล้วกัน ไปนอนดีกว่า …..

ท่าทางจะได้ตัดใจจาก IBM Thinkpad แล้วเหรอ …. T_T

ได้อ่านข่าว จาก ผู้จัดการออนไลน์ แล้วสะเทือนใจเป็นยิ่งนัก แทบจะร้องไห้เป็นภาษาไนจีเรีย …..

ลีโนโวผุดแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” เป็น “Lenovo ThinkPad”

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2548 14:00 น.

ผู้บริหารลีโนโวเปิดเผยกับสำนักข่าวซีเน็ต (Cnet) เกี่ยวกับแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่หว่างการตัดสินใจว่าจะเป็น “Lenovo ThinkPad” หรือ “ThinkPad” ส่วนหนึ่งเพราะลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM ThinkPad” ได้แค่ 3 ปีเท่านั้น จึงต้องรีบสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาทดแทนก่อนเวลานั้นจะมาถึง

“เราจะเริ่มแผนปรับเปลี่ยนแบรนด์ IBM ThinkPad ในเร็วๆนี้” สตีเฟ่น วอร์ด (Stephen Ward) ว่าที่ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทลีโนโว (Lenovo) ผู้ผลิตพีซียักษ์ใหญ่ของจีนที่เพิ่งซื้อกิจการพีซีของไอบีเอ็ม (IBM) ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

“เราจะทำตลาดแบรนด์ IBM ThinkPad ไปอีกระยะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ThinkPad หรือ Lenovo ThinkPad อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ”

นอกจากแบรนด์แล้ว สิ่งทึ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งก็คือปุ่ม “Access IBM” ที่อยู่ตรงแถวบนสุดของคีย์บอร์ดของเครื่องโน้ตบุ๊ค ThinkPad ซึ่งเป็นการต่อตรงถึงเซอร์วิสของไอบีเอ็มนั้น ก็จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ThinkVantage” เช่นกัน

ยิ่งกว่านั้น ลีโนโวยังฝันจะมีชื่ออยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย จากปัจจุบันที่เทรดอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นฮ่องกง

กระบวนการควบรวมกิจการระหว่างไอบีเอ็มกับลีโนโวจะเสร็จสิ้นลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งนี้ไอบีเอ็มตัดสินใจขายกิจการแผนกพีซีให้กับลีโนโวเมื่อเดือนธันวาคม 2004 ในมูลค่า 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 48,900 ล้านบาท) ภายใต้ข้อตกลง ลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM” แบรนด์ “Think” ได้เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นแบรนด์อื่นสำหรับการทำตลาดทั่วโลก และในช่วง 3 ปีนั้น ลีโนโวสามารถทำตลาดแบรนด์ “IBM” ได้ทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น

การรุกตลาดโลกภายใต้แบรนด์ “IBM” ของลีโนโว สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อยักษ์ใหญ่ของวงการอย่าง เอชพี (Hewlett-Packard; HP) ที่ปัจจุบันเป็นเบอร์ 1 ในสหรัฐอเมริกา

วอร์ดและผู้บริหารอื่นๆของทั้งสองบริษัทยืนยันว่า เทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ThinkPad จะไม่ต่ำลงอย่างแน่นอน ขณะที่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ลูกค้าของไอบีเอ็มจะเปลี่ยนไปหาคู่แข่งแน่นอน ไม่มากก็น้อย

Company Related Links:
Lenovo
IBM

ไม่น่าเลย IBM ท่าทางผมได้เข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของ Toshiba หรือ Apple PowerBook แน่นอนถ้าซื้อ Notebook เครื่องใหม่ เฮ้อ นี่กะว่าจะซื้อ IBM Thinkpad T Series เครื่องต่อไปซะหน่อย แต่ดันเจอเรื่องแบบนี้ คงต้องชะรอการตัดสินใจ และมองดูยี่ห้ออื่นต่อไปดีกว่า …… เฮ้อ คิดแล้วเศร้า …..

การชาร์จแบตเตอร์รี่ Li-Ion ที่ถูกต้อง

แบตเตอร์รี่แบบ Li-Ion และรวมถึงแบตฯรุ่นใหม่ Li-Polymer ด้วย นั้นจะ นับรอบการชาร์จ (Cycle) ของแบตฯ ของตัวมันเอง ซึ่งรอบการชาร์จของแบต Li-Ion คือ ชาร์จรวมกันแล้ว 85 – 95 % ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย) ถึงจะนับเป็น 1 รอบ ไม่ใช่จำนวนครั้งในการชาร์จ อย่างที่เข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น คุณชาร์จไปครั้งแรก ใช้ไปแค่ 20% ซึ่งแบตของคุณในตอนนั้นเหลือ 80% คุณก็ชาร์จไฟเข้าไปใหม่ คุณจะสามารถทำอย่างงี้ไป 5 ครั้ง ถึงจะ นับ 1 รอบ การชาร์จ ผมก็อปมาให้ดูจาก Help ของ Notebook IBM ครับ A cycle is defined as each time the battery discharges a total of 85% or more and is recharged it counts as one cycle. ผมใช้ไปสัก 20 – 30% แล้วชาร์จ ทำแบบนี้ไปราว 3 ครั้ง ตัวเลข Cycle จึงขึ้นมา 1 ครับ (แบตบ้าอะไรก็ไม่รู้ นับจำนวน Cycle ตัวเองได้ด้วย) แต่ถ้าเป็นแบต NiCd หรือ NiMH ก็นับจำนวนครั้งที่ชาร์จเลย ดูได้ดังภาพด้านล่างครับ

ดูที่ cycle count นะครับ ผมเสียบแบตเข้าออกไม่ต่ำกว่า 200 รอบแล้ว นับจากใช้ notebook ibm ที่ใช้แบต li-ion มา แต่จำนวน cycle count ยังอยู่ที่ 39 อยู่เลยเพราะว่าผมเอาไปเรียนไม่เท่าไหร่กับใช้แบตบ้าง เสียบแบต บาง ไม่เสียบบ้างครับ

ดูอีกอันนะครับ คงยืนยันได้เป็นอย่างดีครับ ยี่ห้อ ibm คงยืนยันได้ดีนะครับ แถมเป็น li-ion ของ panasonic ที่เป็นฐานการผลิตแบตแบบ oem ใหญ่ให้กับแบตหลายๆ ยี่ห้อรวมทั้ง sony ด้วยครับ ……. ดังภาพด้านล่างสองภาพครับ

คงต้องบอกว่าตัวแบต Li-ion นั้นระหว่าง Notebook หรือ มือถือ นั้นเหมือนกัน ไม่ต้องบอกก็ดูจะรู้ครับเพราะว่ากรรมวิธีไม่ได้แตกต่างกันเลย มันก็แบบเดียวกันครับ นั้นหมายความว่าการนับย่อมเหมือนกันครับ สารประกอบ และธาตุที่เอามาทำแบตนั้นชนิดเดียวกันโครงสร้างเหมือนกัน ทุกส่วนครับ

หลักการทำงานและสารประกอบทางเคมีครับ

Lithium is the lightest metallic element and generates a high voltage vs. the standard hydrogen electrode (i.e. -3.045 V). Early attempts used lithium metal in combination with a transition metal oxide or sulphide (e.g. Li/MoS2 the Molicell) intercalation compound.
These cells, although exhibiting the high energy densities expected, suffered from two main problems, caused mainly by the lithium anode: limited cycle life and poor safety.

The lithium anode caused both the poor safety and limited cycle life. During repeated discharge and charge cycles, the lithium stripping and replatingprocess was not 100% efficient and this created high surface area, particulate lithium which gradually consumes the lithium metal foil anode. The presence of particulate lithium caused increased internal resistance that limits the cycle life.

In addition, and more importantly, the particulate lithium creates major safety problems and renders the cell unsafe.

The Solution
The solution to the so-called ‘lithium metal’ problem was to replace the metal anode with a second intercalation compound which can reversibly intercalate Li+. This material is carbon and this is now used as the active anode material in all commercially available Li-ion cells. Since the anode is carbon, the active material of the cathode must be a compound which already contains Li+ and moreover the Li+ must be easily removed without a change in its molecular (crystal) structure.
There are presently two types of compounds which meet this requirement: these are the layered transition metal oxides LiMO2 (where M = Co, Ni or Mn) – examples include LiCoO2 (lithium cobaltite) and LiNiO2 (lithium nickelite) – and the spinel material LiMn2O4.

The use of LiCoO2, LiNiO2 and mixed compounds of such as LiNi1-xCoxO2 is protected by several patents owned by AEA Technology.
All the major companies which manufacture Li-ion cells have found that LiCoO2 offers superior reversibility, discharge capacity, charge/discharge efficiency and have thus adopted it as the cathode material of choice for small cells used in portable electronics.
As Li-ion cells are charged and discharged Li+ ions are transported between their carbon-based anode and their LiCoO2-based cathode, with electrons exchanged as a result of lithium ion insertion (doping) and of lithium ion extraction (undoping).

During charging, the cathode is undoped (i.e. the lithium is removed), and the anode, which consist of carbon with a layered structure are doped (i.e. lithium ions are inserted).

During discharge (when electrical energy is spontaneously released) lithium is removed from the carbon layers of the anode and inserted into the layers of the cathode compound. When Li-ion cells are first charged, lithium ions are transferred from the layers of the lithium cobaltite to the carbon material which forms the anode.

This is illustrated below.



initial charging
LiCoO2 + 6C –> Li1-xCoO2 + LixC6
Subsequent discharge and charge reactions are then based on the motion of lithium ions between anode and cathode.
discharging
Li1-xCoO2 + LixC <—-> Li1-x+dxCoO2 + Lix-dxC
charging
In order to achieve a high energy density, the capacity of the carbon anode must be as high as possible. To this end, carbon materials with large lithium ion doping capacities are required and the stoichiometric LiC6 lithium-graphite interlated compound composition (corresponding to 372 mA h g-1) were selected.

Anode Technology
At present, there are three kinds of carbon which are used in the anode of Li-ion cells:

Graphite types – highly structured
Coke types – less structured but easily transformed into graphite by heating
Non-graphitizable (hard) carbon types – highly disordered.
Of these carbon types Sony Energytec originally adopted a non-graphitizable (hard) carbon for use in the anode.
In contrast, the other leading Li-ion cell manufacturers such as Sanyo, Matushita (Panasonic) and Japan Storage Battery Co., Ltd. (JSB) have adopted a graphitic type carbon for the anode. Although the stored capacity of both graphite and hard carbon cells is similar, the average discharge voltage of the graphite cell (3.7 V) is slightly higher than for hard carbon (3.6 V). The delivered energy of the graphite technology is therefore higher for the same cell capacity due to its flatter discharge characteristic.
Recently, non-carbon active anode materials consisting of amorphous tin composite oxide (ATCO) materials have been used by Fujifilm Celltec. These materials have advantages in bulk density and reversible specific capacity compared to graphite. However, the major disadvantage with these materials is a large irreversible capacity that has to date limited their successful introduction in to commercial Li-ion products.

อ้างอิง : http://www.agmbat.co.uk/liiontechnology.html

ซึ่งถ้าปิดหรือเปิดเครื่องหรืออุปกรณ์ระหว่างชาร์จนั้นอันไหนได้ผลดีกว่ากัน อันนี้ผมไม่ขอสรุปเพราะว่ายังไม่มีการทดสอบและทดลองที่แน่ชัดครับ อันนี้คงแล้วแต่สะดวกมากกว่าครับ แล้วอีกอย่างถึงแม้แบตเราจะไม่ได้ทำการชาร์จเลยเป็นเวลานานก็ตามแบตก็จะเสื่อมไปเองภายในเวลา 3 – 5 ปีครับ อันเนื่องมากจากการทำงานของสารเคมีภายในที่หมดคุณภาพไปครับ หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของสารประกอบและกรรมวิธีของมันเองมากกว่าครับ อันนี้ผมไม่ขอตอบแน่ชัดเพราะว่ายังไม่มีรายงานใดๆ ออกมาครับจึงสรุปได้ไม่เต็มปากครับ แต่ที่สังเกตก็เป็นเช่นนั้นครับ ใช้ไม่ใช้ก็มีอายุเท่ากันแต่ใช้แล้วเนี่ยมันจะสั้นกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น

  1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
  2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
  3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
  4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุดได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
  5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
  6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
  7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงมากที่สุดในแบตที่ชาร์จใหม่ได้ครับ …………… ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ …………


[Update 22/03/2004 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

[Update 2/12/2006 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]