ได้มาแล้ว ThinkPad 40Y8725 SATA HDD Adapter T/42/T60/T61 Ultrabay Slim

พอดีว่าไป Review ที่ IBM 40Y8725 SATA HDD Adapter T/42/T60/T61 Ultrabay Slim นิดหน่อย แต่ที่นี่ละเอียดกว่า ;P

DSC00354 

สั่งมาจาก eBay โดยราคาตีเป็นเงินไทยแล้ว บวกค่า Shipping เรียบร้อยก็ 1902.84 บาท จ่ายผ่าน Paypal ครับ

DSC00356 

DSC00357

หลังจากเอาออกจากห่อก็เป็นตัวกล่องใส่ Hard Drive ซึ่งเป็นชนิด Ultrabay Slim 

โดยที่ Ultrabay Slim รองรับ ThinkPad T40, T40p, T41, T41p, T42, T42p, T43, T43p, T60, T60p, T61, T61p, Z60t, Z61t, Z61p, UltraBase X4, ThinkPad X4 Dock, UltraBase X6, X6 Tablet UltraBase

ซึ่งตัว Ultrabay Slim มีอุปกรณ์ที่ผลิตมาได้แก่

  • DVD-ROM Drive
  • CD-RW/DVD-ROM Combo Drive
  • DVD Multi-Burner Drive
  • Harddisk Drive Adapter
  • Battery
  • Serial/Parallel Port Adapter (T60/T60p)

ตัวนี้เป็น Harddisk Drive Adapter รองรับ SATA Hard Drive ครับ เวลาใส่ก็ขันน็อตไปที่ที่ขันด้านข้างตัว Hard Drive ทั้งสองด้านมี 4 ช่องครับ แล้วดันเลื่อนใส่ลงไปตามช่อง

DSC00358

แล้วก็เสียบลงไปแทนตัว DVD Multi-Burner Drive แค่นี้ก็เสร็จได้ 2nd Hard Drive ในเครื่องมาอีกตัวครับ

อัตราการส่งข้อมูลนั้น สำหรับเขียนเท่าที่ทดสอบ copy ทั้งอ่านและเขียนขนาดไฟล์ 9GB ใช้เวลาประมาณ 7 นาทีครับสำหรับเขียนและประมาณ 5 นาทีสำหรับอ่านครับ

Jupiter (Western Digital My Book Premium ES Edition, 320GB)

หลักจากสถานที่กักเก็บข้อมูลของเราเริ่มไม่พอ หมด DVD จะหลอดแล้ว เห็นว่าไม่ดีแน่ถ้ายังคิดจะ burn ใส่ DVD ไว้เพราะหาลำบากมาก ๆ วันนี้เลยตัดสินใจไปซื้อ “Western Digital My Book Premium ES Edition” ด้วยความที่มันสวยดี ดูดีมีชาติตระกูลมาก ๆ แต่ว่าตอนแรกกะว่าจะซื้อ Harddisk + External Enclosure แทน แต่คิดไปคิดมา ราคาก็ไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งราคา Harddisk ก็ 3,000 ต้น ๆ กับค่ากล่องที่ดี ๆ หน่อยก็ 1,000 กว่า ๆ เลยเอาตัวที่เค้าสำเร็จมาดีกว่าอย่าง ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง Enclosure ที่ไม่มีคุณภาพ ราคาถูกแพงไม่สำคัญ เพราะราคาแพงก็ห่วยได้ (เจอมาแล้ว ใช้ได้ไม่ถึงเดือนพัดลมพัง อีกตัวซื้อมาใช้ไปได้อีก 2 เดือน power supply พัง)

WD
กล่องสวยใช้ได้ มี Software อย่าง EMC Retrospect Express สำหรับ Backup ข้อมูลมาให้ แต่ผมใช้ ThinkVantage Rescue and Recovery ดีกว่า ของ Thinkpad เองใช้ง่ายกว่าเยอะ (แถมใช้มานานแล้ว)

WD
ตัวนี้ ผมซัดมา 320GB รองรับทั้ง USB 2.0 กับ eSATA ซึ่งมีความเร็วตามทฤษฎีที่ 3 Gb/s สำหรับ M/B Desktop และ Notebook บางรุ่น ซึ่ง Desktop รุ่นใหม่ ๆ จะมี Port นี้ส่งข้อมูลรวดเร็วแบบเดียวกับใช้ SATA แท้ ๆ เลย ลดคอขวดได้มาก แต่คาดว่าจะไม่ได้ใช้ T_T (หวังว่าจะมีโอกาสได้ใช้มัน)

WD
รองรับทั้ง Mac OS X และ Windows 2000/XP/Vista (แน่นอน) แล้ว Linux หล่ะ !!! ลองกับ Ubuntu 7.04 Desktop แล้วมองไม่เห็น -_-‘ ท่าทางต้องลงไม้ลงมือสักหน่อยแล้วงานนี้ -_-‘

WD

WD
Port ที่อยู่ด้านหลังก็มีแค่ 3 ช่องคือ Power, USB 2.0 และ eSATA ครับ

WD
ภาพ Jupiter กับ Neptune (Notebook Harddisk 2.5″ + External Enclosure)

WD
วิวสวย ๆ ของ Western Digital My Book Premium ES Edition

ความเป็นไปของยี่ห้อ HardDisk ต่าง ๆ

พอดีว่าอ่านแล้วน่าสนใจมากเลยนำมาบอกต่อครับ

อ้างอิงจาก http://www.pantip.com/tech/coffee/topic/JX1985579/JX1985579.html


ในสมัยก่อน มี HardDisk ยี่ห้อ Seagate,Maxtor,Quantum,IBM,Corner,Wetern Digital และ NEC

ซึ่งต้อนนั้นยี่ห้อ Seagate ขายดีที่สุด และ IBM ขายได้น้อยที่สุด

ในยุคต่อมา Seagate ได้ซื้อกิจการ HardDisk ของ Corner ทำให้ไม่มียี่ห้อ Corner ต่อไปแล้ว

ต่อมา บริษัท LG ได้ควบกิจการ HardDisk ของ Quantum
ทำให้ตอนนั้น HardDisk ของ Quantum มียี่ห้อว่า LG- Quantum

ในปีต่อมา บริษัท LG ได้หยุดควบ HardDisk ของ Quantum ทำให้ HardDisk มียี่ห้อ Quantum เหมือนเดิม

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ NEC ก็ได้เลิกกิจการแผนก HardDisk และเลิกผลิต HardDisk อีกต่อไป เพราะขายไม่ค่อยดี และได้กำไร น้อย

ต่อมามี HardDisk ยี่ห้อใหม่ๆ ออกมา คือ Fujitsu และSamsung
ตอนนั้นยังขายไม่ค่อยออกเท่าไร่

ต่อมา บริษัท HITACHI ได้เข้า TakeOver HardDisk ยี่ห้อ IBM ทำให้ HardDisk ยี่ห้อ IBM ได้เปลี่ยนเป็น ยี่ห้อ HITACHI และ HITACHI เป็นผู้ผลิต HardDisk เพียงแต่ผู้เดียว แต่ยังใช้โรงงานและเทคโนโลยีของ IBM อยู่

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Samsung ขายดีมากขึ้น เทน้ำเทท่า ทำให้ Samsung ผลิต HardDisk ต่อไป

ต่อมามี HardDisk ยี่ห้อ TOSHIBA ออกมาแต่มักจะทำแบบ Notebook มากกว่าแบบ Desktop PC

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Fujitsu แบบ Desktop PC ขายไม่ได้ตามเป้า แต่ในขนาดเดียวกันมี Notebook หลายยี่ห้อ ยังใช้ HardDisk ของ Fujitsu อยู่ Fujitsu จึงตัดสินใจยกเลิกผลิต HardDisk แบบ Desktop PC แล้ว แต่ยังคงผลิต HardDisk สำหรับ Notebook ต่อไป

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Maxtor ได้ควบกิจการกับ Quantum เรียบร้อยแล้ว และให้ Maxtor ผลิต HardDisk สำหรับ Desktop PC และ Notebook และให้ Quantum ผลิต HardDisk สำหรับ Server

ปัจจุบัน HardDisk ยี่ห้อ Seagate ซื้อกิจการ HardDisk ยี่ห้อ Maxtor แต่จะเป็นยังไร เดียวมาเล่าสู่กันฟัง

พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน ?? มันคือพื้นที่ผีอยู่ หรือว่ามันหายไปจริงๆ !!!

พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน

สวัสดีค่ะ เพิ่งไปซื้อคอมมา เป็นฮาร์ดดิสค์ 80 กิ๊ก พอเอากลับบ้านมาดู มันแจ้งว่ามีสองไดรฟ์ คือ ซีกับดี แต่รวมกันแล้วได้แค่ 75 กิ๊ก งงจังว่ามันหายไปไหนอีก 5 กิ๊กเหรอคะ ผู้รู้ช่วยอธิบายให้ด้วยค่ะ

ในโรงงานมันคือเป็น

80,000,000,000 Bytes ~ 80GB
80,000,000 KBytes ~ 80GB
80,000 MBytes ~ 80GB
80 GBytes ~ 80GB

จริงๆ โรงงานต้องการให้มันง่ายเลยใช้ 1,000 Bytes = 1Kbytes ครับ แต่จริงๆ มันคือ 1,024Bytes นะครับ

ตามหลักในคอมฯ มันคือคือ

1,024 Bytes = 1 KBytes
1,048,576 Bytes = 1 MBytes
1,073,741,824 Bytes = 1 GBytes
1,099,511,627,776 Bytes = 1TBytes

เพราะฉะนั้น มันก็คือ

(((80,000,000,000 Bytes / 1,024) / 1,024 ) / 1,024) = 74.50580596923828125 GBytes

มันเป็นไปตามฉะนี้แล …………


เพิ่มเติม 10/06/2005 : 13.30 น.

ทำไมมันต้อง 1,024 Bytes ทำไม ไม่ 1,000 เพราะคอมพิวเตอร์ใช้หลักการเปิดปิด ของกระแสไฟฟ้า หรือ 0 และ 1 ซึ่งเป็นเลขฐาน 2 ในทางคณิตศาสตร์ ครับ

ดูจากตารางด้านล่างนี้ ถ้าเป็นหน่วยนับ SI นั้น ยกตัวอย่างจาก kB จะเป็น 10^3 ครับ แต่ ถ้าเราแปลงเลขฐานเป็น Binary หรือ 0 และ 1 ทางคอมพิวเตอร์แล้วเนี่ย จะเป็น 2^10 แทน ครับ

SI prefix Binary prefixes
NameSymbolMultiple NameSymbolMultiple
kilobytekB103 (or 210) kibibyteKiB210
megabyteMB106 (or 220) mebibyteMiB220
gigabyteGB109 (or 230) gibibyteGiB230
terabyteTB1012 (or 240) tebibyteTiB240
petabytePB1015 (or 250) pebibytePiB250
exabyteEB1018 (or 260) exbibyteEiB260
zettabyteZB1021 (or 270)    
yottabyteYB1024 (or 280) 

ตารางจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Byte

ดังนั้น
210 = 1,024
220 = 1,048,576
230 = 1,073,741,824
240 = 1,099,511,627,776

หรือ

Log2 1,024 = 10
Log2 1,048,576 = 20
Log2 1,073,741,824 = 30
Log2 1,099,511,627,776 = 40

คงเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะครับ หุๆๆ หรือว่าไม่เข้าใจตรงไหน เดี่ยวจัดให้อีกครับ ;)

สาเหตุที่เกิด Physical bad sector หรือ Bad sector

ในเมื่อไปตอบคำถามใครหลายๆ คนใน pantip แล้วบางครั้งคำถามและคำตอบมันจะหายไปตามกาลเวลา เลยมีความคิดว่า ถามตอบแล้วเอาคำตอบของเรามาใส่ไว้ใน Blog หรือถ้ามันเป็นคำตอบเชิงวิชาการ และทำเป็นบทความเล็กๆ ได้ก็เอาลง Web ซะเลยดีกว่า อืมมมม เป็นการใช้เวลาในการตอบกระทู้ให้เป็นประโยชน์ด้วย อุๆๆๆ …… คิดได้เรา ….

ปัญหาการเกิด Physical bad sector หรือ Bad sector จริงๆ ไม่ใช่เทียมๆ แบบใช้โปรแกรมแก้ได้นั้น

"ไม่มีทางเกิดจาก Software ได้เด็ดขาด"

สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟ 80 % – 90 % ของสาเหตุทั้งหมดที่ส่งแคลม

        ในนิตยสารในเมืองนอกอย่าง PC World ได้มีการทดสอบมาแล้วว่าการกดปุ่ม Restart หรือ Power-up/down ทันทีก่อนปิดระบบ os นั้น "ไม่มีผลต่อ H/D หรือ H/W อื่นๆ แต่ประการใด" แต่จะมีผลกับระบบ "OS นั้นๆ เท่านั้นเอง" ดังที่เมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้วใช้ dos นั้นหล่ะครับ ที่เปิดปิด ก็ไม่ได้ปิดโดย os แต่ใช้ปุ่ม power-up/down แทน หรือ restart แทนการ restart แทนก็ใช้กันได้จนถึงทุกวันนี้ครับ ก็ไม่มีปัญหาอะไรสำหรับเครื่องผม p 166 ก็ยังดีอยู่ h/d ก็ไม่ได้ bad อะไร ซึ่งสามารถยืนยันได้จากเครื่องรุ่นเก่าๆ และเทคโนโลยีการผลิต h/d ที่เก่ากว่าครับ

        การทำให้เกิด physical bad sector นั้นสาเหตุหลักที่มาจากไฟ เกิดจาก power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่พอ หรือจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่นิ่ง หรือมีการจ่ายไฟไม่คงที่ของไฟฟ้าในการจ่ายไฟจาก power supply นั้นเอง

        อีกส่วนคือเกิดจากไฟฟ้าในกระแสไฟที่จ่ายให้กับ power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่นิ่งซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับข้างต้นที่บอกไป ซึ่งถ้าจะให้ดี แนะนำว่าให้ใช้ UPS ให้การกรองไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้า ตก, เกิน หรือกระชาก เข้า power supply อีกทีครับ เป็นการถนอมอุปกรณ์คอมฯ ไปในตัวครับ

        อีกส่วนคือการประกอบเครื่องไม่ได้คุณภาพ เช่นการเสียบสายไฟพวกลำโพง หรือพวก usb port ที่ต่อผิดขั้ว ทำให้เกิดการลัดวงจรภายใน ซึ่งถ้า m/b มีวงจรในการดักจำพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอันใด แต่มันจะไม่มีทุกตัวหล่ะซิ ซึ่งผมเคยเสียบสายลำโพง แล้วมันช็อต เครื่องค้างไปเลย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนี้ได้เช่นกันที่ทำให้ h/d มี physical bad sector ได้ครับ

        อีกเรื่องคือพวกลูกปืนจานหมุนเริ่มเสื่อม หรืออุปกรณ์บางตัวใน h/d มีการเสื่อมเองไปตามการใช้งานครับ

        อีกเรื่องก็คือเวลาใช้งานมีการเกิด Shock หรือการทำให้ตัว h/d สั่นไหว, กระแทก, สะเทือน และ ตกหล่นจากที่สูงเป็นสาเหตุในการเกิดเช่นกัน บางครั้งตั้งเครื่องไว้ แล้วมีคนมีทุบโต๊ะทำงานของเรา ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน ซึ่งถ้าไม่รุนแรงมา h/d ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่าเดี่ยวนี้สามารถรับแรงการสั่นไหวได้พอสมควรครับ แต่ก็ไม่สมควรทำครับ

       จำเอาไว้ครับว่าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีความไว ต่อสิ่งต่างๆ มากครับ ความชื่น ความร้อน และการสภาพไฟฟ้าที่ผิดปกติครับ ถนอมๆ มันหน่อนเน้อ …….