ในฐานะที่ทำเว็บ Community อย่าง ThaiThinkPad และได้รับเป็นผู้ทดสอบ Windows 7 ภาษาไทยกลุ่มแรกๆ จึงมีอีเมลต่าง ๆ สอบถามมาในเรื่องของ Windows 7 ในรูปแบบ licensing ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง จริงๆ แล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากใน Microsoft Offcie 2007 เท่าใดนัก แต่เพื่อเจาะจงลงไปจะได้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ผมเลยนำมาสรุปอีกครั้งจะได้ไม่งงกับข้อมูลครับ
สำหรับ Windows 7 ในนั้นมีระบบ licensing อยู่ 3 แบบหลักๆ แต่ผมจะพูดส่วนของ FPP และ OEM ก็พอ ส่วน Volume License นี่ผมคงไม่พูดถึงครับ
- FPP License หรือ Full Package Product License จะมาในรูปแบบของกล่องซึ่งเหมาะ สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไป หรือนิสิตนักศึกษาเป็นหลัก โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย เช่นต้องหาแผ่น driver ต่างๆ ของเครื่องเราเอง แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า
- OEM License หรือ Origianl Equipment Manufacturer จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กร หรือห้างร้านที่ไม่ต้องการยุ่งยากกับการใช้ซอฟต์แวรที่ไม่ต้องการยุ่งยากในการติดตั้งและหา driver ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานทันที
สิทธิ์ที่ได้รับ
– 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
– ซื้อพร้อมกับเครื่องใหม่เท่านั้นและจะติดไปกับเครื่องนั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเสีย โดยในกรณีที่เป็นเครื่องที่เป็น partner กับ Microsoft อย่างถูกต้องจะมีชื่อผู้ผลิตเครื่องระบุในตัว COA ด้วยซึ่งถ้ามีปัญหาใดๆ ก็จะอ้างอิงจาก S/N เครื่องเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการติดตั้งแบบ OEM ที่ซื้อต่างหากที่ให้กับร้านค้าประกอบเครื่องเองเช่นในห้างไอทีต่างๆ ในไทยนั้นจะผูกติดกับ M/B เป็นหลัก ถ้า M/B ของเครื่องนั้นๆ เสีย OEM License ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดสิทธิ์ในการใช้งานไปด้วย
– ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right) แต่ก็ตามที่ระบุไว้นะครับว่าต่ำสุดได้เท่าไหร่
– ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
– อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรีสิ่งที่อยู่ในกล่อง OEM
– OEM จะมีสติ๊กเกอร์ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ให้มาแปะกับเครื่องและจะไม่สามารถนำออกไปได้ถ้าติดไปแล้วโดยจะมี CD-Key ระบุไว้อย่างชัดเจนบน สติ๊กเกอร์นั้นๆ
– ใบหรือการ์ดระบุคุณลักษณะในการใช้งานทั่วไป
– ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
– แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM (มีเฉพาะกับของ Windows เท่านั้นซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ จะไม่มี) - Volume License อันนี้เหมาะกับองค์กรเป็นหลักครับ เพราะมีราคาถูกที่สุด และใช้ในปริมาณมากๆ ได้ดีแต่ก็ต้องทำติดขอซื้อและทำสัญญา Software Assurance ต่างๆ ด้วยซึ่งตรงนี้อาจจะกล่าวต่อไปถ้ามีเวลาครับผม ซึ่งถ้าเปิดบริษัทผมแนะนำตัวนี้ครับ เพราะถ้าเราซื้อสิทธิ์พร้อม Software Assurance จะได้รับการอัพเกรดเป็นรุ่นใหม่เสมอๆ ตลอดระยะเวลาทำสัญญา Software Assurance ครับ
สิทธิ์ที่ได้
– 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
– สามารถโอนย้ายข้ามเครื่อง ได้ โดยการย้ายข้ามเครื่องต้องลบซอฟต์แวร์ออกจากเครื่องเก่าก่อนแล้วทำการติดตั้งในเครื่องใหม่ แล้วทำการโทรเข้า ศ.บริการของ Microsoft เพื่อทำเรื่องของ Activation Software อีกทีหนึ่ง
– ไม่ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right)
– ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
– อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี
สิ่งที่อยู่ในกล่อง
– คู่มือการใช้งาน
– ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ติดอยู่ข้างกล่อง
– ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
– แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM
จากข้อมูลด้านบนนั้นผมมักแนะนำเสมอๆ ว่าถ้ามีโอกาสผมก็จะแนะนำให้ซื้อ FPP ไปเลย เพราะย้ายเครื่องได้ อัพเกรด หรือทำอะไรกับเครื่องก็สบายใจ เพราะถ้าเราอัพเกรดมากๆ บางครั้ง OEM จะโดนให้ Activate ใหม่ แล้วมักจะไม่ผ่านในขั้นตอนนี้ครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมากครับ ซึ่งราคา FPP ในประเทศไทยนั้นราคาไม่แพงไปกว่า OEM ในตลาดเมืองนอกครับ ถ้ายังจำได้ตอน Windows 7 เปิดตัวในไทยใหม่ๆ จะมีราคาโปรโมตชั่นแรงๆ ในราคาถูกมากๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและน่าจะเหมาะกับวิถีชีวิตการใช้งานคนไอทีในไทยที่มักจะซื้อเครื่องประกอบเอง และเปลี่ยนแปลงเครื่องตัวเองบ่อยๆ มากกว่า OEM ครับ (ราคา OEM และ FPP สำหรับ Windows 7 ก็ไม่ได้แตกต่างไปมากแบบเมื่อในรุ่นเก่าๆ แล้วครับ)
อ้างอิงจาก http://www.microsoft.com/thailand/licensing/