บริการ Cloud ที่ใช้อยู่ตอนนี้

  • Google Apps for Business : $50 (1 user account / year)
  • Flickr PRO : $24.95 (1 user account / year)
  • Multiply Premium : $19.95 (1 user account / year)
  • Xmarks Premium: $12 (1 user account / year)

กำลังคิดว่าจะเพิ่มอีก 2 ตัวในตอนนี้ กำลังดูถึงความคุ้มค่า

  • Dropbox Pro 50 : $50 (1 user account / year)
  • Google additional storage 20 GB : $5 (1 user account / year)

เหตุผลที่ควรย้ายจาก Multiply ไป Flickr สักที ขอบ่นก่อนจาก

จาก เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) ถ้าดีก็จ่ายเงินเค้าเหอะ ก็ได้อธิบายไปบ้างบางส่วนแล้วว่า Multiply กับ Flickr นับวันยิ่งเห็นความต่างเยอะ ด้านความคมชัดของภาพ Multiply ห่วยลงเรื่อยๆ เริ่มรับไม่ได้ ระบบจัดการรูปก็ไม่พัฒนา มีแต่อะไรก็ไม่รู้ อาจจะไม่เห็นภาพเท่าไหร่ ผมจึงเอาหลักฐานภาพประกอบมาเพื่อแสดงให้เห็นกันครับ

หมายเหตุ : ทั้งสอง Account เป็นแบบเสียเงินรายปี เพราะฉะนั้นจึงตัดเรื่องคุณภาพของการให้บริการแบบเสียเงินกับไม่เสียเงินไปได้เลย เพราะนี่คือ Account เสียเงินรายปีทั้งคู่!!!

ด้านล่างคือตัวอย่างภาพที่เทียบ ด้านซ้ายเป็นภาพอยู่บน Multiply ที่เป็น Normal View ของ Multiply สำหรับ Resolution ขนาด 1024px เช่นเดียวกับภาพด้านขวาที่เป็น Normal View ของ Flickr บน Resolution เดียวกัน บน Mozilla Firefox เช่นกัน โดยไฟล์ภาพทั้งสองตัวนั้นเป็นไฟล์ภาพขนาดใหญ่ทั้งคู่ โดยย่อและ USM ตามขนาดที่ควรจะเป็น โดย Multiply อัพผ่านหน้าเว็บด้วย HTML Upload ธรรมดา ส่วน Flickr อัพผ่าน Flickr Uploadr อีกทีนึง

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

รูปต้นฉบับที่ Flickr : http://www.flickr.com/photos/fordantitrust/5506863990/
รูปต้นฉบับที่ Multiply : http://fordantitrust.multiply.com/photos/photo/339/33

จากภาพนั้นจะเห็นความคมชัดของภาพนั้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ถ้าดูเรื่องสีสัน รวมถึงความอิ่มสียิ่งเห็นความแตกต่างหนักเข้าไปอีก นี่แค่เหตุผลแรกก็ชัดเจนที่จะย้ายแล้วในขั้นต้น ….

แน่นอน อีกนิดนึงสำหรับเรื่องระบบจัดการรูปภาพนั้น

Multiply ยังคงเดิมและไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

Multiply vs Flickr

Flickr กลับมีลูกเล่นและทางเลือกในการจัดการไฟล์ภาพได้เยอะกว่า


Multiply vs Flickr

จริงๆ ตัวระบบจัดการไฟล์นั้นอิงตามแนวคิดที่แตกต่างกันด้วยนะ

Multiply มีแนวคิดเก็บรูปแบบ film คือ รูป “แปะติด” กับ album ส่วน Flickr มีแนวคิดเก็บรูปแบบ digital คือ รูป “ผูก” กับ tags/sets/collections

เมื่อแนวคิดของคนเราส่วนใหญ่เป็นแบบ hard copy ทำให้แนวคิดแบบ Multiply ดูจะได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเข้าใจง่ายกว่า และดูจะอ้างอิงกับสิ่งที่คุ้นเคยได้ดี แต่กับแนวคิด soft copy นั้นแตกต่าง และแน่นอนว่าแนวคิดแบบนี้ถ้าเอามาใช่กับแนวคิดของรูปแบบบนสื่อ digital ย่อมดีกว่าเพราะประหยัดพื้นที่ และการเข้าถึงที่หลากหลายกว่า

เอาสั้นๆ อีกที

Flickr คือ Photo Centric ส่วน Multiply คือ Album Centric

ซึ่งมันก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความชอบและแนวคิดของแต่ละคนไป

แต่ในยุคที่การถ่ายภาพนั้นแตกแขนงออกมากมาย รูปภาพหนึ่งรูปแทนคำได้มากมาย ความหมายในภาพมีอยู่นับไม่ถ้วน นั้นหมายความว่าการกำหนดว่าภาพใดๆ จะต้องถูกจำกัดเพียงความหมายเดียวของ Album นั้นๆ ดูจะทำให้รูปภาพนั้นสื่อสารตัวมันเองออกมาได้เพียงหัวข้อสั้นๆ ที่จำกัดใจความสำคัญของภาพได้น้อยลงไป ผมเลยรู้สึกว่ามันควรมีอะไรมากกว่านั้นมาก

แต่นั้นเองทำให้ Album ภาพของ Multiply มีระบบ tags เข้ามา แต่มันไม่มากพอ เพราะมันผูกกับ Album ไม่ใช่รูปภาพนั้นๆ และรูปภาพนั้นๆ มีข้อมูลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Geotagging และข้อมูลต่างๆ ในการปรับแต่งมากมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้เยอะกว่าแค่ดูภาพ 1 ภาพแล้วจบ มันสามารถเล่าเรื่องราวของการเดินทางได้ผ่านส่วนเติมเต็มเหล่านี้ได้อีกมาก

เหตุผลต่อมา คือรูปแบบการอัพโหลดตัวรูปที่ให้ทางเลือกไม่เท่ากันโดย Multiply มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการอัพโหลดรูปที่ส่งขึ้นไปได้น้อยกว่า Flickr อย่างมาก อีกทั้งตัว Java Uploader ของ Multiply (ซึ่งหลายคนชอบใช้) มีปัญหากับแนบ Profile สีของรูป หรือถ้าไม่ปรับ original file ตอน upload จะโดนย่อรูปจนเสียคุณภาพแถมสีเพี้ยนเข้าไปอีก ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยาก ในระยะหลังๆ ผิดกลับ Flickr ที่มีเครื่องและทางเลือกที่หลากหลายมากในการอัพรูปเข้าเว็บ โดยพื้นฐานการอัพเข้าเว็บจากตัวเว็บเองก็ไม่ยุ่งยากและดูจะเรียบง่ายกว่ามากๆ แล้ว ตรงนี้แหละที่ทำให้มือใหม่ที่เพิ่งมาสมัครใช้งานได้แทบจะทันที

รูปแบบการอัพโหลดปรกติของ Multiply ระบบการทำงานด้านหลังเป็น Flash แต่ไง๋ทำไมต้องไล่คลิ้กทีละไฟล์ก็ไม่รู้ และไม่มีทางเลือกสำหรับ Basic HTML เพราะงั้น Flash พังก็จบกัน -_-”

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

รูปแบบอัพโหลดด้วย Java Uploader ของ Multiply ที่มักมีปัญหาและสีเพี้ยน -_-” ข้อดีคือลากไฟล์ใส่ไปเลยเป็นร้อย ไม่ต้องคลิ้กทีละไฟล์แบบตัวด้านบนที่อัพได้ทีละ 20 รูป คลิ้กใส่รูปทีละไฟล์

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

รูปแบบการอัพโหลดปรกติของ Flickr คลิ้กใส่ได้เลยหลายๆ รูปสบายๆ เพราะใช้ Flash Upload อีกต่อนึง หรือถ้ามีปัญหากับ Flash ก็ใช้ HTML ปรกติก็ได้แบบเดียวกับ Multiply ตัวแรก แต่เป็นแบบ Basic HTML ล้วนๆ เพราะงั้นถ้ามีปัญหากับ Flash ก็ยังใช้วิธีโบราณสุดๆ ก็ยังไหว

Multiply vs Flickr
Multiply vs Flickr

จริงๆ ยังมี Flickr Uploadr ตัว Desktop App ที่ทำงานไม่ต้องผ่านเว็บก็ได้อีกตัวนึงครับ แต่ว่าไว้ก่อนแค่นี้ก่อน ^^

อันนี้เป็น 3 เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดการย้าย ยังมีเหตุผลอีกเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมคิดว่าอาจจะดูยาวไป เอาแค่ 3 ข้อนี้ก่อนแล้วกัน เดี่ยวจะยาวเกินไป (นี่ยังไม่ยาวอีกเหรอ!!!)

สำหรับใครสนใจเข้าไปได้ที่ http://www.flickr.com โดยรายละเอียดความแตกต่างระหว่าง Free Account และ Pro Account ก็ตามด้านล่างนี้เลยครับ ผมแนะนำว่าเสียเงินสักนิดหน่อยปีละไม่ถึง 800 บาท ชีวิตจะดีขึ้นมาก ^^

Free Account:
– อัพรูปได้ไม่จำกัดจำนวณ (Unlimited uploads items, จำกัดที่ 15MB ต่อรูป)
– จำกัดจำนวนข้อมูลที่อัพเข้ามาที่ 300MB ต่อเดือน (300 MB monthly photo upload limit)
– อัพวิดีโอได้ 2 ไฟล์ต่อเดือน (เวลาในวิดีโอไม่เกิน 90 วินาที, 150MB ต่อไฟล์)
– รองรับเฉพาะ sets ได้เพียง 3 sets เท่านั้น และใช้ collections ไม่ได้
– การแสดงผล Photostream จำกัดจำนวนการแสดงผล 200 รูปล่าสุดเท่านั้น (รูปเก่าๆ ยังอยู่ แต่ว่าจะไม่แสดงใน Photostream ของเว็บ)
– รองรับการโพสรูปและวิดีโอเข้ากลุ่ม (groups pools) เพื่อแบ่งปันกันได้มากสุด 10 กลุ่ม
– แสดงผลเฉพาะรูปภาพที่ถูกย่อแล้วเท่านั้น (Only smaller resized images accessible)
– ถ้ามีการ upgrade ไป Pro Account รูปภาพต้นฉบับจะสามารถเข้าถึงได้ด้วย (เก็บรูปภาพตันฉบับไว้ด้วย)
– ถ้าบัญชีสมาชิกไม่มีความเคลื่อนไหวใน 90 วัน บัญชีสมาชิกจะถูกลบออกไป

Pro Account:
– อัพรูปได้ไม่จำกัดจำนวณ และไม่จำกัดจำนวนข้อมูลที่อัพเข้ามา (Unlimited uploads, จำกัดที่ 20MB ต่อรูป)
– ไม่จำกัดจำนวนการส่งข้อมูลออกจากเว็บ (Unlimited bandwidth)
– อัพวิดีโอได้ไม่จำกัดจำนวน (เวลาในวิดีโอไม่เกิน 90 วินาที, 500MB ต่อไฟล์และ รองรับ HD 720p)
– ไม่จำกัดพื้นที่เก็บรูป (Unlimited storage)
– เก็บไฟล์ต้นฉบับ ให้ทั้งหมด
– สามารถแก้ไขรูปภาพที่อัพไปแล้วด้วยการอัพโหลดรูปไปทับไฟล์เดิมได้ (replace a photo)
– การแสดงผล Photostream ไม่จำกัดจำนวนการแสดงผลล่าสุด
– รองรับ collections และตั้ง sets แบบไม่จำกัดจำนวน
– ไม่มีโฆษณา
– รองรับการโพสรูปและวิดีโอเข้ากลุ่ม (groups pools) เพื่อแบ่งปันกันได้มากสุด 60 กลุ่ม
– แสดงผลรูปภาพที่ถูกย่อแล้วและสามารถตั้งให้แสดงผลรูปต้นฉบับหรือโหลดไฟล์ต้นฉบับได้ด้วย
– มีระบบสถิติให้

อ้างอิง
http://www.flickr.com/upgrade/
http://www.flickr.com/help/limits/

เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) ถ้าดีก็จ่ายเงินเค้าเหอะ

เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) นั้นเริ่มทำให้ผมต้องจ่ายเงินรายปีมาตั้งแต่ต้นปี 2009 แล้วหล่ะครับ ส่วนตัวแล้วมี Server เป็นของตัวเองวึ่งเป็น Co-locations อยู่ แต่ที่ผมใช้บริการพวกนี้ อาจจะเพราะต้องการอะไรที่มากกว่าพื้นที่เก็บข้อมูลหล่ะมั้ง

ตอนนั้นผมสมัครใช้บริการเว็บให้บริการบนกลุ่มเมฆที่คุณสมบัติมากกว่าที่เค้าให้บริการฟรีอยู่ 1 เว็บเป็นการประเดิม นั้นคือ Multiply ในรูปแบบ Premium Member เป็นเว็บที่ผมจ่ายเงินให้เป็นเว็บแรก เพียงเพื่อใช้งานในการเก็บรูปภาพของผมได้ไม่จำกัด การไม่แสดงผลโฆษณาในหน้าเว็บที่ผมใช้งานอยู่ (ป้ายมทันใหญ่ใช้ได้เลย รำคาญน่ะ) และยังคงข้อมูลไฟล์รูปภาพทั้งหมดไว้ตราบที่ผมยังคงจ่ายเงินใช้บริการรายปีต่อไปเรื่อยๆ ในราคาค่าบริการปีละประมาณ 700 บาทได้ ($19.95/Year) ด้วยข้อเด่นที่ยังคงมีอยู่ในทุกวันนี้คือชุมชนคนถ่ายภาพที่เยอะจึงเหมาะแก่การจ่ายเงินเพื่อคงข้อมูลรูปภาพต่างๆ ไว้อย่างดีที่สุด (จ่ายเงินแล้วก็น่าจะได้บริการการ backup ข้อมูลที่ดีกว่า)

พอสักพัก ผมรู้สึกว่าผมอยากได้พื้นที่สำหรับเก็บภาพสำหรับอัพรูปเป็นรายครั้งมากกว่ารายอัลบั้มที่มีลักษณะเป็น Stream ซึ่ง Flickr ตอบวิธีคิดนี้ได้ดีมากๆ ในค่าบริการรายปีเช่นกัน โดยมีค่าบริการแพงกว่า Multiply Premium อยู่แลกน้อย แต่สิ่งที่ดีมากกว่า Multiply คือคุณภาพของการเก็บไฟล์และแสดงผลรูปที่มีคุณภาพดีกว่ามาก (ไม่เบลอหรือบีบอัดไฟล์รูปแบบย่อลงไปจนเสียคุณภาพ) พร้อมระบบ Web Services API ที่ล้ำสมัยกว่า Multiply มาก ทำให้การจ่ายเงินจึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยจากความต้องการ ประกอบกับ Pro Member ของ Flickr นั้นได้ความแตกต่างจาก Free Member เยอะกว่า Multiply อย่างเห็นได้ชัด ทำให้ราคาประมาณเกือบ 800 บาท ($24.95/Year) จึงไม่แพงจนเกินไปนัก

ผมใช้ Services ทั้งสองเว็บมา 2 ปี และไม่มีเว็บไหนโดนใจในการจ่ายเงินผมลงไปจนกระทั้งปลายปี 2010 Extension ของ Firefox อย่าง XMarks ที่ผมใช้ในการ Sync Bookmarks ทั้ง 3 Web Browser นั้นเข้ามาทำให้ผมต้องจ่ายเงิน เพราะผมทำงานด้าน Web Developer การต้องมานั่งใช้ Bookmarks ที่ไหนที่นึงเป็นหลักแล้วโยกไปโยกมาระหว่าง Browser เป็นเรื่องปวดหัวมากๆ การมีระบบ Sync ข้ามกันไปมาย่อมดีกว่ามากๆ แถมระบบ Open Tab Sync ที่ช่วย Sync ระหว่าง Browser ทำให้ผมทำงานง่ายขึ้นเยอะมาก โดยผมไม่ต้องกรอก url ใหม่ตลอดเวลา ก็เลยสะดวกและทำงานเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการจ่างค่าบริการ XMarks Premium ในราคาเกือบ 400 บาทต่อปี ($12/Year) จึงสมเหตุสมผลมากๆ ซึ่งได้เรื่องการ Sync เข้า iOS, BlackBerry และ Android ได้ด้วย แถมระบบ Backup ย้อนหลังได้ 3 เดือนทำให้ผมมีระบบ Backup Bookmark ที่ดีไปในตัว ซึ่งสำหรับผมแล้ว Bookmark ถือว่าสำคัญมากๆ เพราะมันคือการเก็บบันทึกการใช้งานเว็บผมไปในตัวด้วย

พอมาปี 2011 ก็สมัคร Google Apps for Business ปีละประมาณ 1,500 บาท เพื่อทำ Cross sync ตัว Contact/Calendar/Mail ระหว่าง Microsoft Outlook กับตัว Google Apps เพื่อให้ทำ Wireless Sync กับอุปกรณ์ทั้งหมดที่ผมพกพาตั้งแต่ BlackBerry, iPod Touch 4 และ HTC Pharos อีกทีนึง แน่นอนเป็นราคาใช้บริการรายปีที่แพงมากสำหรับผม แต่เมือ่ได้ทดลองใช้มาเกือบ 3 เดือน (trial 1 เดือนด้วย) ช่วงแรกจะปวดหัวมากในการปรับตัวและ Clean Sync มี Contact/Calendar ซ้ำเยอะ ต้องไล่ๆ ปรับอยู่หลายวัน แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้ด้วยดี เวลามี Contact/Calendar ใส่เพิ่มหรือแก้ไขเข้ามา ทุกอย่าง Sync ถึงกันหมดผ่านอากาศ โดยไม่ต้องพึ่งสาย กลายเป็นสายเป็นแค่ที่ชาร์จแบตฯ ของอุปกรณ์เท่านั้นในตอนนี้ คือถ้าใครไม่ได้สัมผัสการใช้งาน Wireless Sync จะไม่รู้เลยว่ามันสะดวกแค่ไหนในการใช้งาน อีกอย่างทำแบบนี้แล้วข้อมูลของเราไม่ว่าจะเป็น Contact/Calendar จะปลอดภัยเพิ่มขึ้นในเรื่องเวลาอุปกรณ์โดนขโมยอย่างน้อยๆ ก็ยังมีข้อมูลเหลือให้เรานำไปใช้ต่อไปได้ในอนาคต

ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วใช้บริการ services แบบ cloud พวกนี้อีกหลายตัวที่ยังใช้งานฟรีอยู่อย่างเช่น Dropbox (cloud storage), Evernote (cloud notable) และ Picasa Web (cloud photo album) ส่วนตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงก็คือใช้ออกแนวเล่นๆ ไม่ได้จริงจังอย่างตัวที่ได้กล่าวๆ มา จริงๆ แล้วอยากใช้ Dropbox และ Evernote นะ แต่ว่าตัวเลือกมีน้อย ตัวต่ำสุดก็แพงยังคงไม่เห็นจุดคุ้มในการใช้งาน ส่วน Picasa Web ก็ดูจะเป็นแค่ตัวสำรองสำหรับ Flickr มากกว่า แฮะ ….

เร็วๆ นี้ผมก็กำลัง ย้ายจาก Multiply ไป Flickr อย่างเต็มตัว และรูปภาพเซ็ตหลังๆ ผมจะอยู่ที่ Flickr เท่านั้น ส่วนภาพเก่าๆ จะทยอยใส่ลง Flickr ทั้งหมด ส่วน Multiply ก็ดูแล้วจะคงได้เวลาหมดสัญญาไปเสียทีหล่ะมั้ง ส่วนเรื่องชุมชนคนถ่ายภาพนั้นก็ยังคงอยู่ แต่คงเป็นแค่ลักษณะโพสภาพเล็กๆ น้อยๆ เรียกคนเข้า Flickr แทน ;P เพราะเหตุผลแท้จริงๆ ในการทำอัลบั้มรูปคือคุณภาพของรูปที่แสดงเป็นหลัก ซึ่งผมลืมข้อนี้ไปเสียสนิท และนั้นก็ยังผลมาถึงคำถามต่อคุณภาพของ Multiply ที่แย่ลองและเมื่อเทียบกับ Flickr แล้ว นับวันยิ่งเห็นความต่างเยอะ อีกทั้งความคมชัดของภาพก็แย่ลงเรื่อยๆ และผมเริ่มรับไม่ได้ อีกทั้งระบบจัดการรูปก็ไม่พัฒนา มีแต่อะไรก็ไม่รู้ที่ก็ไม่ได้เรื่องสักอย่างมากขึ้นทุกวัน ส่วนรูปใน Flickr กว่า 3,000 รูปก็กำลังจัดระเบียบพวก tags/sets/collections ใหม่ทั้งหมด และ Backup Original ไว้อีกชุดนึง ผ่านโปรแกรม Bulkr ที่ได้ชื่อว่าเป็น Flickr Organizer บน Windows ที่พึ่งซื้อมา (ประมาณ 800 บาท) แล้วทำการ Sync เพื่อ Backup เข้าเครื่องคอมฯ แล้วก็ส่งเข้า Folder ของ Dropbox เพื่อ Sync Backup อีกชั้นนึงด้วย (ซับซ้อนโคตร)

ส่วนตัวแล้วคือใช้ Flickr เป็นแผนระยะยาว เพราะต้องการที่จะใช้ Flickr ในส่วนของ Web Service API ในการทำ Photo Gallery ต่อไป ส่วน Multiply ระบบ Web Service API ไร้ซึ่งทิศทางมาสักพักแล้ว เพราะตอนออกมาใหม่เหมือนจะดี แต่สุดท้ายก็ เงียบ และผมหมดความอดทนที่จะรอใช้แล้วน่ะครับ

ฝากนิดนึง สำหรับคนใช้งานแนวๆ ผมหรือใช้บางตัวนั้น ถ้าเราใช้แต่ของฟรีในเน็ตกันจนเคยตัว แล้วเมื่อมีอยู่วันนึงที่เราอาจจะจำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อบริการที่ดีกว่ากลายเป็นไปต่อว่าเค้า หาว่าเค้าหน้าเลือด ลืมไปหรือเปล่าว่าคนทำงานเหล่านั้นเค้าก็คนที่กินข้าว มีภาระและความจำเป็นเท่าๆ กับเรา ผมว่าคำพูดพวกนี้สำหรับบางคน “เอาแต่ได้กันเกินไปหรือเปล่า” … เราในฐานะคนใช้บริการ เรามีสิทธิ์ที่จะไม่ใช้ถ้าไม่พอใจในราคาดังกล่าว (เราจ่ายไปแล้ว เรายังขอเงินคืน ก็ยังได้เลย) และแน่นอนถ้าเราพอใจ เราก็สมควรที่จะจ่ายไม่ใช่หรือครับ ^^