วิถีแห่งความบ้า feed (เพื่ออ่าน blog) … The Feed Way ;P

เพราะมันทำให้ความรู้ต่าง ๆ วิ่งเข้าหาเรา แทนที่เราต้องวิ่งไปหาความรู้ อย่างที่ผ่าน ๆ มา

มันอาจจะฟังดูงง ๆ หน่อย แต่นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึก

เพราะผมยังคงจำวันที่ต้องมีหนังสือคู่มือสารบัญเว็บวางไว้ข้าง ๆ คอมฯ และต้องพึ่งเว็บ index directory ต่าง ๆ ในครั้งที่ search engine ยังห่วยแตกมากสำหรับเว็บคนไทย (และตอนนั้นภาษาอังกฤษในการอ่านยังไม่แข็งแรง)

แต่ในวันนี้ สิ่งเหล่านั้นเป็นอดีตด้วย google แต่ด้วยความที่ความรู้ และข้อมูลต่าง ๆ มีมากมาย การที่เข้าไปขุดมันออกมาก็ต้องใช้เวลาประสบการณ์ในการพิมพ์ keyword ต่าง ๆ ลงบน box search ของ google, live และ yahoo

ซึ่งเมื่อได้เว็บที่ต้องการสิ่งที่ต้องทำอันดับต่อมาคือ bookmark มันไว้ก่อน เพื่อในอนาคตเราสามารถกลับมาหน้านั้นได้อีก และถ้าเป็นกระทู้ที่ผมกลัวงว่าจะถูกลบ เช่นตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ ผมก็ทำการเข้า print mode หรือ copy มาลงใน word processing แล้ว print เป็น pdf ซะ แล้วเก็บไว้ใน ebook/edoc ในเครื่องแล้วให้ copernic desktop search มัน index ในเครื่องอีกที

แต่แล้วเหมือนสวรรค์มาโปรก เมื่อ feed นั้นใช้งานอย่างแพร่หลายในเว็บ blog และเว็บหลายเว็บที่ผมอ่าน ทำให้ง่ายกว่าเดิมที่ผมจะติดตามอ่านข่าวสาร ความรู้เหล่านั้นได้อย่างสะดวกสบาย และไม่ต้องมาสั่งไล่อ่านในเว็บ หรือไม่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา เพียงแต่เปิด feed reader และตั้ง schedule ให้ไป update เนื้อหาใหม่ ๆ ทุก ๆ 15 – 30 นาทีซะ ความรู้ทุกอย่างที่ผมสนใจ จากการ subscribe ตัว feed ของผมก็เข้าสู่เครื่องอย่างสะดวกสบายมาก ๆ

แต่เว็บในไทยหลาย ๆ เว็บที่ตั้งตัวเป็น blog provider (hosting) บางเจ้ายังคงไม่ยอมให้เปิดส่ง feed ออกมา ซึ่งที่ผมเจอคือ bloggang และ oknation ซึ่งไม่รู้ว่าทำไม -_-‘ แต่ช่างเหอะ เพราะไม่ได้อ่านที่นั้นอยู่แล้ว

ซึ่งคนที่ใช้บริการใน blog provider ที่ไม่ยอมเปิดให้บริการ feed ออกมา เป็นเรื่องที่น่าเสียดายในการเผยแพร่ความรู้ในกับผู้คนทั่วไป ที่นับวันจะใช้ feed กันมากขึ้นเรื่อย ๆ และใน IE7 และ Browser สมัยใหม่ทุกเจ้าก็มี feature นี้อยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้วด้วย โดยผมมองว่า blog หรือ blog provider ที่ไม่รองรับบริการ feed จะต้องปรับตัวในอนาคต เพื่อเปิดให้บริการนี้อย่างแน่นอน แต่ถึงตอนนั้นจะสายเกินไปหรือเปล่าเท่านั้นเอง -_-‘

จะ 300 แล้ว

ด้านล่างนี่เป็น Statistics ของ Blog reader ของผม (ผมใช้ FeedDemon อ่านครับ)

2008-03-27_111219

บริโภค Feed เป็นอาหาร (สมอง) ทุกวัน

ทำไมถึงไม่ใช้ BlogGang !!!

เพราะไม่มี RSS Feed

ง่าย ๆ สั้น ๆ จบ …….

แบบว่าไม่ได้อารมณ์ของความเป็น blog เล้ยยยย ให้ตายดิ ถึงแม้จะมี Account อยู่ก็ตามที แต่ไม่ได้เขียน ไม่ได้ใช้ เพราะมันไม่สะดวกทั้งตัวเอง และคนอ่าน ยิ่งผมมีรายการ blog ในโปรแกรมอ่าน Feed ประมาณ 200 – 300 ได้เนี่ย BlogGang ไม่ตอบโจทย์ผมที่ต้องการข้อมูลดูดเข้าเครื่องผมในทันทีที่ต่ออินเตอร์เน็ต ใครจะมานั่งเปิดหน้า BlogGang ทุก ๆ Account เพื่ออ่าน ลำบากตายเลย (หรือว่าเราติด Feed ไปแล้วก็ไม่รู้) แถมเว็บไหนไม่มี Feed นี่แทบไม่ค่อยได้อ่านเลย

เปิดตัว PodCastsGen WebBase Version 0.0.1 Alpha

Link@PodCastsGen WebBase Version 0.0.1 Alpha

เป็นโปรแกรมประยุกต์ ที่ทำงานบนได้บน Web Browser โดยใช้ความสามารถของภาษา PHP และ JavaScript แล้วทำการ Export หรือ Generate Code เป็น XML ซึ่งอยู่ใน specification ของ RSS Feed และตรงตาม specification ของ Podcasts ในระดับสากลด้วย

ขั้นตอนการทำงาน และการใช้งานไม่ยุ่งยากเนื่องจากในหลักการเอาข้อมูลที่ได้จาก form ในระบบ Input data dynamic หรือการใส่ข้อมูลเชิงยืดหยุ่นนั้นเอง กล่าวคือ ระบบจะมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นก่อน นั้นคือ รายละเอียดของ Podcasts ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ชื่อ
  • ใจความสำคัญ
  • ที่อยู่ของ Podcasts ที่จะเอาไปใส่
  • ชื่อผู้จัดทำ
  • อีเมล ของคนจัดทำ นั้นๆ
  • โดยที่จะเริ่มด้วย Episodes แรกเป็นขั้นเริ่มต้น ซึ่งคำว่า Episodes เป็นคำที่เรียกจำนวนตอน หรือจำนวนไฟล์ของมีเดีย นั้นๆ ครับ

การใส่ Episodes ในโปรแกรมประยุกต์นี้ จะเป็นไปในลักษณะของการใส่ที่อยู่ของไฟล์มีเดีย ซึ่งไฟล์มีเดียที่จะเอามาใส่นั้นควรมีลักษณ์สำคัญคือ

  • มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก (แนะนำไม่ควรเกิน 10MB ต่อความยาวในการออกอาหาศ 1ชม.)
  • ใช้นามสกุลไฟล์เป็น mp3, m4a, m4b, acc, aiff
  • ต้องมีที่อยู่จริงอยู่แล้วใน internet ซึ่งต้องทำการ upload จากเว็บใดเว็บหนึ่งก่อน ไม่ว่าจะใช้ที่ geocities หรือ thai.net ก็ได้

ซึ่งการใส่มีเดียในแต่ละส่วนนั้น จะใช้หลักการคล้ายๆ กับการใส่ Condition ใน SmartPlaylist ของ iTunes นั้นเอง ซึ่งจะสามารถใส่มีเดียได้ไม่เกิน 10 ไฟล์ และอนาคตจะพัฒนาให้สามารถใส่ได้ไม่จำกัด

เมื่อทำการ submit ตัว form ของโปรแกรมประยุกต์แล้ว ตัวระบบจะทำการสร้างโค็ด XML ออกมาโดยแสดงใน Web Browser ของท่าน โดยที่ทางผู้ใช้ต้องทำการ save โค็ดเหล่านั้นเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ตัวอย่างเช่น

Internet Explorer

  • ใช้เมนู File ตามด้วยเมนู Save As
  • ที่ Dialog Save As ให้เลือก Save as type เป็น XML Files (*.xml)
  • ที่ File name ให้ใส่ของไฟล์ลงไป
  • เอาไฟล์ดังกล่าวไป upload ขึ้นที่เว็บที่เราต้องการ
  • ตัวอย่าง http://www.yourweb.com/podcasts/yournamepodcasts.xml

Firefox

  • ใช้เมนู File ตามด้วยเมนู Save Page As
  • ที่ Dialog Save As ให้เลือก Save as type เป็น XML Document
  • ที่ File name ให้ใส่ของไฟล์ลงไป
  • เอาไฟล์ดังกล่าวไป upload ขึ้นที่เว็บที่เราต้องการ
  • ตัวอย่าง http://www.yourweb.com/podcasts/yournamepodcasts.xml

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการทำงาน โดยในอนาคตในขั้นตอนการจัดการไฟล์ ที่ Export ออกมาจะปรับเปลี่ยนเป็นการทำ Archive เป็น ZIP Files แทน เพื่อให้ขึ้น Dialog ให้ Download ได้เลย

และโครงการต่อไปเป็น PodCasts->Hub ที่กำลังร่างระบบอยู่ ซึ่งไม่รู้จะทำได้หรือเปล่า -_-" แต่ระบบน่ะไม่ยาก

วิธีการทำ podcast เผยแพร่

ผมได้ทำ podcast ของผมเองอยู่ที่ http://www.thaicyberpoint.com/podcasts ตอนนี้ผมทำ podcast ตัวแรกให้ลองฟังแล้วนะครับ ถ้ามีอะไรติชมก็บอกกันได้ครับ

ส่วนใครต้องการเอา podcast ตัวนี้ไปลองทำเองก็ง่ายมากครับ

สิ่งที่ต้องการก็มีพื้นที่เว็บใน internet ที่สนับสนุนการใช้ script PHP และพื้นที่สัก 10 – 20 MB ในการเก็บไฟล์เสียงครับ

แล้วก็หา script podcast จำพวก PHP มาลงครับ อย่างของผมก็ ลองโหลดไปแกะได้ที่นี่ครับ http://www.thaicyberpoint.com/podcasts/dircaster_v_04_podcastPHPScript.zip ทำการแตกไฟล์ zip แล้วก็ทำการปรับแก้เพียงเล็กน้อยครับ

—————————————–

// ขนาดมาที่สุดของการแสดง podcast ใน 1 ครั้ง

$maxFeed = 5;

// Title ของ Podcast ครับ

$titleTAG=”ThaiCyberPoint.com – PodCasts beta”;

// ที่อยู่ของ Podcast ครับ

$linkTAG=”http://www.thaicyberpoint.com/podcasts”;
// รายละเอียดของ Podcast ครับ ใส่เป็นภาษาไทยได้ ตอนนี้ผมปรับแต่งให้ลองรับภาษาไทยแล้วครับ
$descriptionTAG=”Public PodCast from ThaiCyberPoint.com”;
// ภาษาของ Podcast ครับ แนะนำให้ใช้ en-US ครับ
$languageTAG=”en-us”;
// คำแจ้งลิขสิทธิ์ของ Podcast ครับ
$copyrightTAG=”Creative Commons License”;
// อีเมลของ podcast ครับ
$webMasterTAG=”[email protected]”;
// ชื่อโปรแกรมที่เอามาทำ Podcast ไม่แนะนำให้ปรับเปลี่ยนครับ ถือเป็นมารยาท
$generatorTAG=”dirCast 0.4″;
// เวลาในการเข้าถึง หรือ timeout ครับ
$ttlTAG=60;

————————————-

แล้วก็ทำการ upload เข้าสู่ server ครับ ซึ่งมันเป็นไฟล์ index.php ครับ ก็เวลาเราให้ URL ก็ http://www.mysite.com/podcast/index.php หรือ http://www.mysite.com/podcast/ ก็ได้ครับ

แล้วจะเอาไฟล์เสียงขึ้นก็ทำการแก้ไข ID3 Tag ครับ แนะนำ Version 2.3 ครับ แล้วทำการ Upload ขึ้นไปที่เดียวกับไฟล์ index.php เมื่อกี้นี้ครับ ตัว script มันจะ detect เองจากไฟล์ว่า title, artist, album, year, comment, genre ว่ามีอะไรบ้างก็แนะนำให้ edit เอานะครับในไฟล์ สะดวกดีครับ

อนาคตเดี่ยวผมว่าจะ Podcast Portal ครับ ยังไงจะมาบอกอีกทีนะครับ สำหรับคนที่ไม่อยากทำ script เองครับ เพียงแต่หาพื้นที่เก็บไฟล์ก็พอน่ะครับ กำลังคิดโปรแกรมอยู่ครับ

ตัว script PHP ไม่สนับสนุนภาษาไทยในส่วนของ title, artist, album, year, comment, genre ใน ID3 Tag 2.3 นะครับ กำลังแก้ไขอยู่ครับ ตอนนี้ใช้แบบนี้ไปก่อนนะครับ