ผมได้รับแอร์การ์ดได้สัก 2 อาทิตย์แล้วครับ และได้ทดสอบลองใช้งานจริง มาได้ประมาณอาทิตย์กว่าๆ ในลักษณะการใช้งานในชีวิตประจำวัน เมื่อเทียบกับ dtac aircard ตัวเก่า (รุ่นเก่าผมได้จากตอน dtac 3G ครับ) โดยการทดสอบนี้ผมทดสอบบนระบบ 3G ทั้งสองรุ่นเลย ส่วน EDGE นั้นผมทดสอบบน dtac aircard flip 158 เท่านั้น เพราะตัวแอร์การ์ด dtac 3G มันล็อคให้ใช้แต่ sim 3G เท่านั้น
โดยในรุ่นใหม่นี้ dtac ชูจุดเด่นที่ เสาอากาศของการ์ดแบบ RX Diversity ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวช่วยเสาอากาศหลักของตัวการ์ด (Main Antenna) ลักษณะการทำงานคือ เมื่อ Main Antenna รับสัญญาณได้น้อยลง Rx Diversity Antenna จะทำงาน และรับสัญญาณใน radiation patterns ที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถรับสัญญาณได้ชัดเจนมากขึ้น หรือเรียกว่ามีเสาอากาศสำหรับรับสัญญาณอยู่ 2 ตัวในการ์ดเดียวนั้นเอง
จากความรู้สึกในการใช้งานในพื้นที่เดียวกัน โดยเปรียบเทียบแล้วพบว่าในพื้นที่ที่มีสัญญาณอ่อนนั้นตัว flip 158 รับสัญญาณได้ดีขึ้นอยู่พอสมควร ซึ่งผมไม่ได้ใช้เครื่องมือวัดใดๆ ครับสังเกตจากกราฟรับสัญญาณเท่านั้นที่แตกต่างกันประมาณ 1-2 ระดับ) จาซอฟต์แวร์ dtac aircard ตัวเดียวกัน
ส่วนในเรื่องของความเร็ว Internet นั้นก็แตกต่างกันไม่มากนัก เพราะในเรื่องของ Wireless Connection นั้นความเร็วมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ signal ที่ส่งมาที่ตัว aircard เป็นหลักซึ่งถ้าสัญญาณ์มาเต็มก็จะได้ความเร็ว Internet เร็วไปด้วย ซึ่งความเร็วของ Internet ของ dtac นั้นมีความเสถียรในการใช้งานดีอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ครับ อาจจะมีบางพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ตรงนี้คงต้องทำใจสักหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับโหลดข้อมูลไม่ได้เลย แต่ก็จะเหมือนแชร์ๆ ช่องสัญญาณใช้กันไปมากกว่า
การ flip ของตัวแอร์การ์ดนั้นทำได้ในมุมที่โดยทั่วไปแล้ว USB ของ Notebook จัดวางไว้คือแนวนอน สำหรับ Notebook เครื่องใดให้เป็นแนวตั้งมาอาจจะต้องทำใจสักหน่อยถ้า Notebook ของท่านบางกว่าตัวแอร์การ์ดครับ อาจจำเป็นต้องหาสายตัวเพิ่ม ออกมาแบบเดียวกับรุ่นเก่า ซึ่งผมคิดว่าการทำ flip ก็เพื่อลบข้อด้อยตรงการยื่นและการหามุมรับสัญญาณได้หลากลายมากขึ้น แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเรื่อง USB แบบแนวตั้งที่ยังใช้งานได้ไม่สะดวกนัก ซึ่งถ้าตรง USB port ที่ต่อเข้ากับเครื่อง Notebook นั้นสามารถหมุนได้ด้วยจะไม่ทำให้เป็นอุปสรรคในเรื่องนี้เลย
ส่วนที่เหมือนกับตัวเก่าคือมี slot สำหรับใส่ micro SD ครับ ตรงนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนใช้ smartphone ที่ใช้ micro SD เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล ทำให้ไม่ต้องพกตัว Card Reader (ที่อาจจะต้องหา SD to Micro SD Adapter) ไปไหนมาในไหนตัวนั้นเอง
รูปแบบกล่องนั้นยังไม่แตกต่างจากตัวรุ่นเก่าที่วางขายตาม Shop ครับ (แต่แตกต่างจากของ dtac 3G แน่นอน)
รองรับ 3G ที่ระดับความเร็วไม่เกิน 3.6 Mbps ครับ ซึ่งก็เพียงพอสำหรับใช้งานอยู่แล้ว (แต่ dtac ยังไม่เปิด dtac 3G ให้คนทั่วไปใช้ก็คงมีไว้เผื่อๆ เท่านั้น)
แถมท้ายด้วยโดยการ์ดตัวนี้แท้จริงคือ HUAWEI E158 (อ้างอิง http://www.blognone.com/news/17199) ซึ่งสามารถทำงานได้ดีบน Ubuntu Linux ด้วย
ลักษณะการใส่ตัว Sim card ที่ไม่เหมือนรุ่นเดิมครับ
เปรียบเทียบขนาดของ dtac aircard flip 158 กับ dtac aircard 3G จะเห็นว่าโครงสร้างคล้ายๆ กัน
เมื่อเสียบเข้ากับเครื่องก็จะสาพับเสาขึ้นมาแบบนี้เพื่อเอียงรับสัญญาณได้หลากหลายมากขึ้น
สำหรับหลายๆ คนคงกังวลว่า อ้าว! แล้วไม่มี CD มาให้เหรอ ก็บอกเลยว่าตัว dtac aircard ทั้งรุ่นเก่าและใหม่ นั้นมีความจุที่เป็น Flash Drive แบบ internal มาให้ 32MB ครับ โดยด้านในใส่ Software/Driver มาให้พร้อมแล้ว โดยเป็นความจุนอกเหนือจากของที่ได้ใน slot ของ micro SD
เรามาดูกันว่าตัวซอฟต์แวร์รุ่นเก่าและใหม่หน้าตาแตกต่างกันอย่างไร
dtac aircard software รุ่นเก่า
dtac aircard software รุ่นใหม่
ตัวโปรแกรม dtac 3G aircard เทียบกับ dtac aircard จะเห็นว่ามีปุ่ม Services เพิ่มขึ้นมาสำหรับ dtac และ Happy ครับ ซึ่งอันนี้ในรุ่น dtac aircard รุ่นเก่าน่าจะมี (ผมอ้างอิงจากตัวซอฟต์แวร์ของ 3G เป็นหลัก) จะเป็นว่ามีส่วนของ Services เพื่อใช้สำหรับเติมเงิน รับ/ส่ง SMS และตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งพาโทรศัพท์แต่อย่างใดครับ
สำหรับท่านใดที่สนใจทาง dtac แจ้งมาว่า
- รับประกันสินค้านานถึง 1 ปี
- สามารถเปลี่ยนคืนสินค้าใหม่ได้ภายใน 30 วัน
- โดยตัวสินค้ามาพร้อมซิมดีแทค
– ดีแทคแบบรายเดือนราคา 2,990 บาท มาพร้อมชั่วโมงอินเทอร์เน็ตถึง 300 ชม. (ใช้ได้ 100 ชม./เดือน นาน 3 เดือน)
– แฮปปี้แบบเติมเงินราคา 2,700 บาท มาพร้อมชั่วโมงอินเทอร์เน็ตถึง 60 ชม. (ใช้ได้ 20 ชม./เดือน นาน 3 เดือน) - dtac aircard รุ่นใหม่นี้ มีจำหน่ายที่สำนักงานบริการลูกค้า ดีแทคเซ็นเตอร์ และร้านค้า IT ชั้นนำทั่วประเทศ
- สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1678 dtac call center