บริการ Cloud ที่ใช้อยู่ตอนนี้

  • Google Apps for Business : $50 (1 user account / year)
  • Flickr PRO : $24.95 (1 user account / year)
  • Multiply Premium : $19.95 (1 user account / year)
  • Xmarks Premium: $12 (1 user account / year)

กำลังคิดว่าจะเพิ่มอีก 2 ตัวในตอนนี้ กำลังดูถึงความคุ้มค่า

  • Dropbox Pro 50 : $50 (1 user account / year)
  • Google additional storage 20 GB : $5 (1 user account / year)

เครื่องมือบริหาร Project ที่ใช้งานอยู่ตอนนี้

ด้วยความที่ทำงานหลายๆ อย่าง หลายๆ Project ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นมากกว่า 1 คน การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ การบันทึกช่วยจำต่างๆ จึงจำเป็น เพื่อไม่ให้หลุดหรือตกหล่นหายไป ในตอนนี้เลยเอาเครื่องมือและวิธีการสื่อสารที่ใช้อยู่ตอนนี้มาแชร์กันสักหน่อย

โทรศัพท์!
เป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ ความชัดเจนในการสื่อสารสำคัญ การโทรศัพท์นั้นเหมาะกับสถานะการณ์บางอย่างที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วอันนี้จำเป็นมากๆ บางครั้งส่งอีเมลไป ไม่เข้าใจ หรือไม่ชัดเจน โทรคุยอธิบายอาจจะชัดเจนกว่า

E-Mail
ส่วนใหญ่จะใช้ในด้านการยืนยัน หรือแจ้งรับทราบร่วมกัน รวมถึงการสื่อสารเพื่อสร้างหลักฐานร่วมของการทำงาน ในบาง Project ใช้อีเมลโต้ตอบกันไป-มามหาศาลมากเพื่อสรุปให้ทุกอย่างแน่ชัดจริงๆ

IM

  • Skype – ใช้คุยหรือประชุมสาย ลดต้นทุนการโทรศัพท์ นานๆ ใช้ทีนึง
  • GTalks – ด้วยความที่ใช้บนระบบ Webbased ได้ด้วย ประกอบกับตัวอักษรล้วนๆ รวดเร็วไม่ต้องมีอะไรมากมาย จึงเหมาะมากๆ กับการโต้ตอบ ไป-มาระหว่างคนสองคน (แถมมี logging chat ด้วยสะดวกดี)
  • Windows Live Messenger – ใช้คล้ายกับ GTalks แต่สะดวกกว่าที่มีทุกเครื่อง ทำ Invite มาคุยกันหลายๆ คนได้ และรวมถึงคุยกับลูกค้าบางคนที่ไม่ได้ใช้ GTalks (เกือบทั้งนั้นเลย)

Github
ระบบ Project Sharing Code ที่มีผู้ใช้งานอยู่ทั่วโลก ได้รับความไว้วางใจาก Developer มากมาย ผมเสียเงินเพื่อเช่าใช้แบบ private เดือนละประมาณ $12/month อยู่ ทำงานได้ดีครับ กับจำนวณคนไม่มาก เป็นทีมเล็กๆ แบบผม ถ้า Project หรือคนที่ทำงานร่วมกันมากกว่าที่รอบรับก็เพิ่มเงินเข้าไป แต่ถ้า Project ไหนจบแล้วก็ลบออกพร้อมทำ copy source ออกมาพร้อมสรุป จนถึงระดับนึงอาจจะลด plan ลงได้ (ออกแนวใช้เมื่อจำเป็น) ทำให้ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น

  • Git Version Control System 
    เป็น Source Code Versioning แบบ distributed version control system โดยที่แต่ละคนไม่เพียงได้ข้อมูลล่าสุดของไฟล์งานต่างๆ เท่านั้น แต่ได้ทั้งมา repository (project code) เพราะฉะนั้นถ้า Server ตัวหลักเสีย เครื่อง Client ก็สามารถทำงานได้อยู่ พอ Server กลับมาทำงานได้ปรกติก็จะสามารถส่ง Source กลับไปได้โดยข้อมูลที่แก้ไขไป-มานั้นยังคงอยู่และพร้อมให้ Server สามารถรับข้อมูลล่าสุดต่อไปได้ทันที เหมาะกับ Project ขนาดเล็กถึงใหญ่ที่ต้องใช้การแชร์ Source โปรแกรมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เพื่อป้องกันการแก้ไขทับไปมาระหว่างคนในทีม ช่วยเรื่อง Backup และ Recovery ได้ดีมากๆ
  • Issue/Milestone
    ระบบช่วยติดตามงาน การเพิ่มเติม Label เพื่อง่ายต่อการแยกประเภทของ Issue โดยถ้ามีเรื่องต้องปักวัน หรือ Milestone ก็ทำงานควบคู่กันได้ โดยหลักๆ ใช้เพื่อทำงานต่อไปนี้
    • แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ หรือมีการส่ง Features ใหม่เข้ามา จะทำเพื่อแจ้งให้ทราบ จะสร้าง Issue แล้วมาลงชื่อและ comments กันไป-มาเพื่อมา track ต่อได้ จะใช้ Label ชื่อ Information เมื่อตกลงแล้วจะสร้าง Issue ชื่อ Features ขึ้นมาแทนเพื่อประกบ Milestone
    • ใช้ Milestone มาจับกับ Issue ทีเป็น Label ที่ตั้งว่า Features เพื่อรวมว่า Milestone ไหนที่ Close Issue บ้าง
    • Bug Tracking โดยกำหนด Label ที่ชื่อ Bugs เพื่อแจ้งให้ทราบว่า Issue นี้เป็น Bug report และเมื่อแก้ไขแล้วจึง Close Issue เพื่อจบ Issue
  • Wiki
    ใช้เพื่อ Note และแจ้งข้อมูลทั่วไปพวก FTP, Databases Access หรือเอกสารของลูกค้าต่างๆ ที่เป็น Features หรือข้อตกลง เป็นหลัก ซึ่งรวมไปถึงคู่มือหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

Google Docs : Documents/Spreadsheet (เอกสารแชร์กับลูกค้า)
ไม่มีอะไรมาก ลูกค้าคงใช้ Github ไม่เป็น เพราะงั้น ใช้อะไรที่ง่ายๆ เข้าถึงง่ายกว่า สำหรับเอกสารพวกนี้เสีย

Dropbox : Cloud Storage Sharing/Sync
ไฟล์รูป ไฟล์ Themes ต่างๆ หรือเอกสารลูกค้าที่เป็น Word, Excel หรือ PowerPoint ที่เป็นไฟล์โยนไป-มาในอีเมล จะรวบรวมไว้ในนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและส่งต่อ

เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) ถ้าดีก็จ่ายเงินเค้าเหอะ

เว็บให้บริการด้านข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud services) นั้นเริ่มทำให้ผมต้องจ่ายเงินรายปีมาตั้งแต่ต้นปี 2009 แล้วหล่ะครับ ส่วนตัวแล้วมี Server เป็นของตัวเองวึ่งเป็น Co-locations อยู่ แต่ที่ผมใช้บริการพวกนี้ อาจจะเพราะต้องการอะไรที่มากกว่าพื้นที่เก็บข้อมูลหล่ะมั้ง

ตอนนั้นผมสมัครใช้บริการเว็บให้บริการบนกลุ่มเมฆที่คุณสมบัติมากกว่าที่เค้าให้บริการฟรีอยู่ 1 เว็บเป็นการประเดิม นั้นคือ Multiply ในรูปแบบ Premium Member เป็นเว็บที่ผมจ่ายเงินให้เป็นเว็บแรก เพียงเพื่อใช้งานในการเก็บรูปภาพของผมได้ไม่จำกัด การไม่แสดงผลโฆษณาในหน้าเว็บที่ผมใช้งานอยู่ (ป้ายมทันใหญ่ใช้ได้เลย รำคาญน่ะ) และยังคงข้อมูลไฟล์รูปภาพทั้งหมดไว้ตราบที่ผมยังคงจ่ายเงินใช้บริการรายปีต่อไปเรื่อยๆ ในราคาค่าบริการปีละประมาณ 700 บาทได้ ($19.95/Year) ด้วยข้อเด่นที่ยังคงมีอยู่ในทุกวันนี้คือชุมชนคนถ่ายภาพที่เยอะจึงเหมาะแก่การจ่ายเงินเพื่อคงข้อมูลรูปภาพต่างๆ ไว้อย่างดีที่สุด (จ่ายเงินแล้วก็น่าจะได้บริการการ backup ข้อมูลที่ดีกว่า)

พอสักพัก ผมรู้สึกว่าผมอยากได้พื้นที่สำหรับเก็บภาพสำหรับอัพรูปเป็นรายครั้งมากกว่ารายอัลบั้มที่มีลักษณะเป็น Stream ซึ่ง Flickr ตอบวิธีคิดนี้ได้ดีมากๆ ในค่าบริการรายปีเช่นกัน โดยมีค่าบริการแพงกว่า Multiply Premium อยู่แลกน้อย แต่สิ่งที่ดีมากกว่า Multiply คือคุณภาพของการเก็บไฟล์และแสดงผลรูปที่มีคุณภาพดีกว่ามาก (ไม่เบลอหรือบีบอัดไฟล์รูปแบบย่อลงไปจนเสียคุณภาพ) พร้อมระบบ Web Services API ที่ล้ำสมัยกว่า Multiply มาก ทำให้การจ่ายเงินจึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยจากความต้องการ ประกอบกับ Pro Member ของ Flickr นั้นได้ความแตกต่างจาก Free Member เยอะกว่า Multiply อย่างเห็นได้ชัด ทำให้ราคาประมาณเกือบ 800 บาท ($24.95/Year) จึงไม่แพงจนเกินไปนัก

ผมใช้ Services ทั้งสองเว็บมา 2 ปี และไม่มีเว็บไหนโดนใจในการจ่ายเงินผมลงไปจนกระทั้งปลายปี 2010 Extension ของ Firefox อย่าง XMarks ที่ผมใช้ในการ Sync Bookmarks ทั้ง 3 Web Browser นั้นเข้ามาทำให้ผมต้องจ่ายเงิน เพราะผมทำงานด้าน Web Developer การต้องมานั่งใช้ Bookmarks ที่ไหนที่นึงเป็นหลักแล้วโยกไปโยกมาระหว่าง Browser เป็นเรื่องปวดหัวมากๆ การมีระบบ Sync ข้ามกันไปมาย่อมดีกว่ามากๆ แถมระบบ Open Tab Sync ที่ช่วย Sync ระหว่าง Browser ทำให้ผมทำงานง่ายขึ้นเยอะมาก โดยผมไม่ต้องกรอก url ใหม่ตลอดเวลา ก็เลยสะดวกและทำงานเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการจ่างค่าบริการ XMarks Premium ในราคาเกือบ 400 บาทต่อปี ($12/Year) จึงสมเหตุสมผลมากๆ ซึ่งได้เรื่องการ Sync เข้า iOS, BlackBerry และ Android ได้ด้วย แถมระบบ Backup ย้อนหลังได้ 3 เดือนทำให้ผมมีระบบ Backup Bookmark ที่ดีไปในตัว ซึ่งสำหรับผมแล้ว Bookmark ถือว่าสำคัญมากๆ เพราะมันคือการเก็บบันทึกการใช้งานเว็บผมไปในตัวด้วย

พอมาปี 2011 ก็สมัคร Google Apps for Business ปีละประมาณ 1,500 บาท เพื่อทำ Cross sync ตัว Contact/Calendar/Mail ระหว่าง Microsoft Outlook กับตัว Google Apps เพื่อให้ทำ Wireless Sync กับอุปกรณ์ทั้งหมดที่ผมพกพาตั้งแต่ BlackBerry, iPod Touch 4 และ HTC Pharos อีกทีนึง แน่นอนเป็นราคาใช้บริการรายปีที่แพงมากสำหรับผม แต่เมือ่ได้ทดลองใช้มาเกือบ 3 เดือน (trial 1 เดือนด้วย) ช่วงแรกจะปวดหัวมากในการปรับตัวและ Clean Sync มี Contact/Calendar ซ้ำเยอะ ต้องไล่ๆ ปรับอยู่หลายวัน แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้ด้วยดี เวลามี Contact/Calendar ใส่เพิ่มหรือแก้ไขเข้ามา ทุกอย่าง Sync ถึงกันหมดผ่านอากาศ โดยไม่ต้องพึ่งสาย กลายเป็นสายเป็นแค่ที่ชาร์จแบตฯ ของอุปกรณ์เท่านั้นในตอนนี้ คือถ้าใครไม่ได้สัมผัสการใช้งาน Wireless Sync จะไม่รู้เลยว่ามันสะดวกแค่ไหนในการใช้งาน อีกอย่างทำแบบนี้แล้วข้อมูลของเราไม่ว่าจะเป็น Contact/Calendar จะปลอดภัยเพิ่มขึ้นในเรื่องเวลาอุปกรณ์โดนขโมยอย่างน้อยๆ ก็ยังมีข้อมูลเหลือให้เรานำไปใช้ต่อไปได้ในอนาคต

ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วใช้บริการ services แบบ cloud พวกนี้อีกหลายตัวที่ยังใช้งานฟรีอยู่อย่างเช่น Dropbox (cloud storage), Evernote (cloud notable) และ Picasa Web (cloud photo album) ส่วนตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงก็คือใช้ออกแนวเล่นๆ ไม่ได้จริงจังอย่างตัวที่ได้กล่าวๆ มา จริงๆ แล้วอยากใช้ Dropbox และ Evernote นะ แต่ว่าตัวเลือกมีน้อย ตัวต่ำสุดก็แพงยังคงไม่เห็นจุดคุ้มในการใช้งาน ส่วน Picasa Web ก็ดูจะเป็นแค่ตัวสำรองสำหรับ Flickr มากกว่า แฮะ ….

เร็วๆ นี้ผมก็กำลัง ย้ายจาก Multiply ไป Flickr อย่างเต็มตัว และรูปภาพเซ็ตหลังๆ ผมจะอยู่ที่ Flickr เท่านั้น ส่วนภาพเก่าๆ จะทยอยใส่ลง Flickr ทั้งหมด ส่วน Multiply ก็ดูแล้วจะคงได้เวลาหมดสัญญาไปเสียทีหล่ะมั้ง ส่วนเรื่องชุมชนคนถ่ายภาพนั้นก็ยังคงอยู่ แต่คงเป็นแค่ลักษณะโพสภาพเล็กๆ น้อยๆ เรียกคนเข้า Flickr แทน ;P เพราะเหตุผลแท้จริงๆ ในการทำอัลบั้มรูปคือคุณภาพของรูปที่แสดงเป็นหลัก ซึ่งผมลืมข้อนี้ไปเสียสนิท และนั้นก็ยังผลมาถึงคำถามต่อคุณภาพของ Multiply ที่แย่ลองและเมื่อเทียบกับ Flickr แล้ว นับวันยิ่งเห็นความต่างเยอะ อีกทั้งความคมชัดของภาพก็แย่ลงเรื่อยๆ และผมเริ่มรับไม่ได้ อีกทั้งระบบจัดการรูปก็ไม่พัฒนา มีแต่อะไรก็ไม่รู้ที่ก็ไม่ได้เรื่องสักอย่างมากขึ้นทุกวัน ส่วนรูปใน Flickr กว่า 3,000 รูปก็กำลังจัดระเบียบพวก tags/sets/collections ใหม่ทั้งหมด และ Backup Original ไว้อีกชุดนึง ผ่านโปรแกรม Bulkr ที่ได้ชื่อว่าเป็น Flickr Organizer บน Windows ที่พึ่งซื้อมา (ประมาณ 800 บาท) แล้วทำการ Sync เพื่อ Backup เข้าเครื่องคอมฯ แล้วก็ส่งเข้า Folder ของ Dropbox เพื่อ Sync Backup อีกชั้นนึงด้วย (ซับซ้อนโคตร)

ส่วนตัวแล้วคือใช้ Flickr เป็นแผนระยะยาว เพราะต้องการที่จะใช้ Flickr ในส่วนของ Web Service API ในการทำ Photo Gallery ต่อไป ส่วน Multiply ระบบ Web Service API ไร้ซึ่งทิศทางมาสักพักแล้ว เพราะตอนออกมาใหม่เหมือนจะดี แต่สุดท้ายก็ เงียบ และผมหมดความอดทนที่จะรอใช้แล้วน่ะครับ

ฝากนิดนึง สำหรับคนใช้งานแนวๆ ผมหรือใช้บางตัวนั้น ถ้าเราใช้แต่ของฟรีในเน็ตกันจนเคยตัว แล้วเมื่อมีอยู่วันนึงที่เราอาจจะจำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อบริการที่ดีกว่ากลายเป็นไปต่อว่าเค้า หาว่าเค้าหน้าเลือด ลืมไปหรือเปล่าว่าคนทำงานเหล่านั้นเค้าก็คนที่กินข้าว มีภาระและความจำเป็นเท่าๆ กับเรา ผมว่าคำพูดพวกนี้สำหรับบางคน “เอาแต่ได้กันเกินไปหรือเปล่า” … เราในฐานะคนใช้บริการ เรามีสิทธิ์ที่จะไม่ใช้ถ้าไม่พอใจในราคาดังกล่าว (เราจ่ายไปแล้ว เรายังขอเงินคืน ก็ยังได้เลย) และแน่นอนถ้าเราพอใจ เราก็สมควรที่จะจ่ายไม่ใช่หรือครับ ^^