การทำ DNSSEC ช่วยป้องกันการโดน Pharming (หรือเรียก DNS spoofing หรือ DNS cache poisoning) เพราะเป็นการ signed ตัว DNS Server ที่ใช้งานคู่กับ domain name ที่จดกับผู้รับจด domain เวลาตรวจสอบคำตอบที่ Resolver จะเช็คว่ามาจาก Name server ตัวจริงหรือไม่ ช่วยให้การได้รับ IP ส่งให้ client มีความถูกต้องเสมอ (ทดสอบแบบง่ายๆ คือแก้ไขไฟล์ hosts บนเครื่องให้วิ่งไปอีกเครื่องหนึ่งที่มีข้อมูลเหมือนกันทุกประกาศ ทำตัวเหมือนโดน trojan มาเปลี่ยนบนเครื่องให้ไปเครื่องปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูล)
สำหรับการทำ DANE ป้องกันการถูก fake certificate หรือเจอ Certification Authority ออกใบ certificate ซ้ำซ้อน เพราะเราจะเอา fingerprint ของ certificate ใส่ลงใน TLSA record บน DNS Server ทำให้ตอนตัว browser เรียกเว็บ จะมีการตรวจสอบว่า certificate ที่ได้มา มี fingerprint ตรงกับที่อยู่ใน TLSA record หรือไม่
ซึ่งทั้งสองอย่างยังไม่ค่อยเจอเว็บทั่วไปทำสักเท่าไหร่ และ browser ทั้ง 3 อันดับแรก ถ้าไม่ลง plugins ก็ยังตรวจสอบไม่ได้ครับ แต่เชื่อว่าอีกสักพักคงทยอยค่อยๆ ปรับกันมาแล้ว และเว็บในไทยที่เท่าที่เจอยังไม่ค่อยมีใครทำขนาด Google, Facebook, Micorosft ยังไม่ทำเลย
การทำให้เว็บรองรับ DNSSEC และ DANE ช่วยเพิ่มระบบในการป้องกันการที่ผู้ใช้งานเข้าใช้บริการของเว็บต่างๆ ได้ปลอดภัยมากขึ้นจากการทำ Man-in-The-Middle attacks ได้
วิดีโออธิบายการทำงานของ DNSSEC และ DANE
ตัวอย่างเว็บที่ implement DNSSEC หรือ DANE
- https://www.freebsd.org/
- https://www.torproject.org/
- https://getfedora.org/
- https://www.statdns.net/
- https://www.ietf.org/
- http://www.dotarai.co.th/
- http://www.thnic.or.th/
- https://www.thnic.co.th
- http://www.ega.or.th/
อ้างอิง
- http://dane.verisignlabs.com/
- https://www.dnssec-validator.cz/
- http://www.internetsociety.org/deploy360/resources/dane-test-sites/
- http://www.verisigninc.com/en_US/innovation/dnssec/index.xhtml
- http://www.cisco.com/web/about/ac123/ac147/archived_issues/ipj_15-1/151_dane.html
- https://tools.ietf.org/html/rfc6698
- https://tools.ietf.org/html/rfc4033