ทำความเข้าใจหน้าที่ของ OIS และ Speed Shutter ในกล้องมือถือ

พอดีว่าได้ตอบความคิดเห็นใน Motorola บอกใบ้ กล้อง Moto X ถ่ายรูปไม่เบลอ? แล้วอยากเอามาเผยแพร่ต่อใน blog ตัวเองสักนิดเผื่อคนที่ยังไม่เข้าใจกันว่ามีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรระหว่าง OIS และการปรับ speed shutter เพื่อใช้ในการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบและการแก้ไขอาการสั่นไหวของการถ่ายรูป

การหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบต้องใช้ speed shutter ในการถ่ายแหละครับ เพราะ OIS (Optical Image Stabilization) ช่วยเรื่องการทำให้ภาพนั้นนิ่งตอนย้ายหรือตอนที่ถ่ายนั้นเกิดการสั่นไหวที่ตัวกล้องเป็นหลัก สรุปมันใช้แทนกันไม่ได้หรอกครับ มันคนละหน้าที่กัน

หลายๆ คนมองภาพไม่ออก ผมยกตัวอย่างเช่น ระบบ IS (Canon) หรือ VR (Nikon) ใน lens ระดับโปรบนกล้อง DSLR ที่สามารถช่วยให้สามารถถ่ายรูปด้วยเลนส์ 70-200mm f/2.8 น้ำหนัก 1-2kg แล้วสามารถลด speed shutter ลงได้ถึงระดับ 1/60s ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถ่ายรูปรถที่วิ่งอยู่ได้ชัดเจน เพราะการถ่ายรูปรถที่เร็วนั้นคุณต้องเพิ่ม speed shutter เพื่อหยุดความเคลื่อนไหวของตัวแบบเพียวชั่วขณะ อาจใช้ถึง 1/2000/s หรือ 1/4000s เลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการถ่ายรูป

ข้อเท็จจริงคือ electronic shutter มีมานานแล้วและกล้องมือถือก็ใช้กันแบบนี้ทั้งนั้น การทำ speed shutter สูงๆ ระดับหลักหมื่นจึงทำได้ง่ายกว่า DSLR หรือพวกที่เป็น mechanical shutter มาก (Nikon D7100 ถ่ายได้ speed shutter 1/8000s) เอาง่ายๆ ว่ากล้องอย่าง Nokia Lumia 920 ถ่ายรูปได้ที่ 1/3000s สบายๆ แต่สิ่งที่แตกต่างคือการควบคุม speed shutter นั้นจะเป็นตัว camera app เป็นคนควบคุม ไม่ใช่คนใช้งาน เพราะฉะนั้น ส่วนที่จะทำให้มันเกิดขึ้นในกล้องมือถือได้มากขึ้นคือทำให้ camera app ฉลาดพอที่จะรู้ว่าควรถ่ายแนวไหนยังไง สุดท้ายก็ต้องมาลงที่ app ที่คนจะใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกหรือสั่งงานอย่างถูกต้องกับสิ่งที่กำลังจะถ่ายอยู่

ต่อมาคือ การถ่ายรูปในสภาพ speed shutter สูงๆ นั้นต้องทำให้ตัวเซ็นเซอร์รับภาพ สามารถรับภาพที่ ISO (ความไวแสง) ได้สูงมากขึ้นในสภาพแสงต่างๆ กันไป เพราะยิ่งเราต้องการใช้ speed shutter สูงเท่าไหร่ก็ต้องการเซ็นเซอร์ที่ไว้ต่อแสงมากขึ้นเท่านั้น (เพราะแสงมีเวลาที่จะวิ่งเข้าไปหาเซ็นเซอร์น้อย) ซึ่งอย่าลืมว่ากล้องมือถือส่วนใหญ่ค่า f นั้นคงที่อยู่แล้ว จะไปควบคุมหลี่หรือเปิดรูรับแสง (ค่า f) ซึ่งปรกติปรับค่า f ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะทำให้ถ่ายรูปแล้วเซ็นเซอร์รับแสงได้ดี ต้องพัฒนาให้เซ็นเซอร์รับรู้แสงในระดับ ISO สูงๆ แทน ใครนึกภาพไม่ออก ถ้ามี DSLR ลองเอาเลนส์ fixed 50mm f/1.8 มาถ่ายรูปด้วยค่า f/2.0 ตลอดทั้งวันดูครับ เช้ายันเย็น จะเข้าใจว่าค่าที่คุณปรับจะเหลือแค่ speed shutter และ ISO เท่านั้น โดยถ้าได้รับการเรียนรู้การถ่ายรุปมาจะรู้ว่าต้องปรับ speed shutter ก่อน ISO เสมอ เพราะ ISO ยิ่งปรับมาก ยิ่งเกิด noise คุณภาพของภาพจะแย่ลง โดยถ้าคุณถ่ายรูป speed shutter สูงๆ ในอาคาร ต้องดัน ISO ขึ้นสูงอาจจะ 1600 หรือ 3200 เลย กล้อง DSLR อาจจะสบายๆ แต่กล้องมือถือ แค่ 800 ก็ตายแล้ว ><" ปล. ใครงงที่ผมอธิบาย ลองศึกษาเรื่อง ค่ารูรับแสง (ค่า f) ความเร็วชัตเตอร์ (ค่า s) และค่าความไวแสง (ค่า ISO) ดูครับ น่าจะเห็นภาพชัดขึ้น ซึ่งอยู่ในชื่อบทความจำพวก "การวัดแสง” และ “ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ISO ” ในเรื่องการถ่ายรูป ;)

ประโยชน์ของไฟล์ Digital Camera RAW File (เท่าที่คิดออก)

Digital Camera RAW File หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไฟล์ RAW ในกล้อง Digital SLR นั้นถือเป็นการบันทึกข้อมูล "ดิบ" ที่ได้จาก Sensor ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่มีขนาดข้อมูล Color depth หรือ Bit depth ที่ระบบสี 12 bpp (bits per pixel) หรือ ระบบสี 14 bpp (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 12bits เท่ากับ 4,096 เฉดและ 14bits เท่ากับ 16,384 เฉด) โดยที่จำนวน bit ของระบบสีนั้นขึ้นอยู่กับกล้องว่าใช้ Sensor แบบใด (แพงหรือถูกด้วย) และเมื่อเทียบกับ 1 pixel เท่ากับระบบสี 8 bpp ของ JPEG ก็จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันมีเยอะมาก (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 256 เฉด)

แต่เมื่อเอามาคิดในระบบการแสดงผลของสีในธรรมชาติโดยเทียบจาก JPEG นั้นใน 1 pixel ของระบบสี กับ 1 pixel ของระบบการแสดงผลของสีนั้นประกอบไปด้วยแม่สีของแสง (spectrum primaries) ที่มี 3 สี (3 channel) คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) หรือเรียกย่อๆ ว่า สี RGB ครับ ซึ่ง 1 pixel มี 3 สีมาผสมกันให้เกิดสีต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีความหลากหลาย นั้นหมายความว่า 256 (R) x 256 (G) x 256 (B) ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 16,777,216 เฉดสี หรือ 8 bpp ในระบบ RGB นั้นจะได้จำนวนสี RGB คิดเป็นบิตที่ 8 bpp x 3 color (RGB) ก็คือ 24bits นั้นเองครับ

แล้วถ้าลองมาคิดต่อในแบบ RAW ก็จะได้

RAW 12bits

4096 x 4096 x 4096 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 68,719,476,736 เฉดสี

( 12 x 3 = 36bits )

RAW 14bits

16384 x 16384 x 16384 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 4,398,046,511,104 เฉดสี

(14 x 3 = 42bits)

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เราเห็นความแตกต่างของจำนวนข้อมูลอย่างชัดเจนจนทำให้คุณภาพของข้อมูลภาพนั้นแตกต่างกันด้วยเช่นกัน (มองที่คุณภาพของไฟล์ภาพ ไม่ใช่ความสวยงามของภาพ) ซึ่งจะเห็นผลตอนเราจำเป็นต้องนำมาแต่งภาพที่ต้องการความสมบูรณ์ของข้อมูลมาก ๆ

อีกอย่าง JPEG เป็น lossy compression ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการสูญเสียจากการนำไปประมวลผลจากตัวกล้องเอง เพื่อให้ได้ภาพที่ปรุงแต่งตามการตั้งค่าของผู้ผลิตหรือตัวผู้ใช้เอง แล้วทำการบีบอัดรูปภาพให้ได้เล็กลง ซึ่งจะเอากลับมาปรับแต่งต่อยากมาก ๆ เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่น้อยกว่าหลายเท่าตัวนั้นเอง แต่การถ่าย RAW ไฟล์ก็ต้องแลกกับจำนวนการถ่ายช็อตที่ต้องการความต่อเนื่องได้ลดลง เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่ใหญ่มากของ RAW ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับ Memory เพิ่มมากขึ้น แต่ก็พอจะแก้ไขด้วยการใช้ Memory ที่มีความเร็วสูงๆ ได้เช่นกันครับ

อีกข้อดีของการใช้ไฟล์ RAW คือระบบการประมวลใน Computer มีความสามารถในการคำนวนและทำงานได้ดีกว่า Processor ในกล้อง ประกอบกับการปรับแต่งที่เหมาะสมกับสิ่งที่อยากได้ให้ได้มากที่สุดโดยผู้ใช้เอง ซึ่งถ้าอยากเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น White Balance ที่ปรับได้ดั่งใจ เปลี่ยนแปลงโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพไป หรือ Exposure Value ที่ให้เราดึงค่ากลับมาได้อีก +-1 Stop เป็นอย่างน้อย ๆ (เช่นภาพด้านล่าง)

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการถ่ายรูป DSLR แล้วใช้ RAW น่าจะเหมาะกับคนที่นำภาพมาปรับแต่งต่อในภายหลัง และในสถานะการณ์ที่เราไม่มีเวลามาใส่ใจกับ White Balance และ Exposure Value มากนัก (ในกรณีที่เราต้องถ่าย under ลงไปอีกหน่อยเพื่อให้ภาพไม่เบลอก็จำเป็น ไม่งั้นไม่ได้ภาพก็น่าเสียดาย)

แต่ไม่ใช่ว่าการถ่ายแบบ RAW จะช่วยได้ทั้งหมด เพียงแต่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ภาพที่ได้ถ่ายนั้นเอามาปรับแต่งได้มากกว่าเดิมจากที่ JPEG ทำได้เท่านั้น ซึ่งหลายทั้งมวลนั้นเป็นเรื่องของคนถ่ายรูปเป็นหลัก ที่ต้องทำคุณภาพของรูปภาพนั้นดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน

คิดซะว่าถ่าย RAW ก็เหมือนถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าดีหน่อยตรงที่ถ่ายแล้วเห็นเลย แต่ไฟล์รูปเราก็ต้องเอามาทำการล้าง แล้วก็มาตกแต่งในห้องมืด (ทำผ่าน GIMP) แล้วค่อยอัดภาพทีหลัง (แปลงด้วย RAW Converter เป็น JPEG) อะไรแบบนั้นครับ จะไม่รวดเร็วแบบ JPEG ที่ถ่ายแล้วใช้ได้เลยอะไรแบบนั้น (อาจจะแต่งบางตามสมควร)

แต่อย่านำมาสับสนกับการแสดงผลในจอภาพนะครับ เพราะจอภาพในปัจจุบันนั้นแสดงผลที่ 32bits (RGB) ซึ่งจะเป็น 16,777,216 สี ที่ 24bits ส่วนอีก 8 bits ที่เหลือเป็นเรื่องของการโปรงแสงของสี (degree of transparency) ครับ โดยภาพที่ตามนุษย์เห็นนั้นสามารถไล่เฉดสีได้จะอยู่ที่ประมาณ 16-24bits ครับ ไม่แน่ใจข้อมูลจำคราวๆ ครับ

ปล. ถ่ายเบลอ ถ่ายหลุดโฟกัส อย่างงี้ต่อให้ถ่าย RAW ก็ไม่ได้ช่วยอะไร อันนี้มันอยู่ที่คนถ่ายล้วนๆ แล้วหล่ะครับ

16592172

16592369 

ผิดพลาดหรือต้องการเพิ่มเติมก็เสนอความคิดเห็นได้เลยนะครับ ศึกษามาเดือนกว่าๆ เลยเอามาสรุป ๆ ไว้

กล้อง Digital ตัวแรกในชีวิต Panasonic Lumix DMC FX9 !!!

ซื้อมาได้สัก 2 อาทิตย์ได้ คือซื้อหลังจากซื้อ Microsoft Wireless Notebook Optical Mouse 4000 นั้นแหละ ในราคา 15,900 บาท (่ผ่อนเอา ไม่มีเงินก้อนเยอะเท่าไหร่) โดยทั่ว ๆ ไปถือว่าใช้งานได้ง่ายมาก รูปกล้องก็ด้านล่างครับ และรายละเอียดต่างๆ ได้จากด้านล่างครับ รายละเอียดและรูปจาก http://www.dpreview.com/reviews/panasonicfx9/

Body Material Metal
Sensor • 1/2.5" CCD, 6.4 million total pixels
• 6.0 million effective pixels
Image sizes 2816 x 2112 (5.9 megapixels)
2816 x 1880 (5.3 megapixels)
2816 x 1584 (4.5 megapixels)
2048 x 1536 (3.1 megapixels)
2048 x 1360 (2.8 megapixels)
1920 x 1080 (2.1 megapixels)
1600 x 1200 (1.9 megapixels)
1280 x 960 (1.2 megapixels)
640 x 480 (0.3 megapixels)
Aspect Ratio
 4:3, 3:2, 16:9
Movie clips • 640 x 480 (10 / 30 fps)
• 320 x 240 (10 / 30 fps)
• With audio
• Limited only by storage
Lens • 35 – 105 mm equiv. (3x zoom, 4.1x with EZ)
• F2.8 – F5.0
• MEGA O.I.S. (Mode 1 / Mode 2)
• Leica DC Vario-Elmarit
Focus • Normal: 0.5 m – Infinity
• Macro: 5 cm wide / 30 cm tele
• 5-area focusing
• 3-area focusing
• 1-area focusing/1-area focusing (high speed)
• Spot
Shooting mode • Portrait
• Sports
• Food
• Night Scenery
• Night Portrait
• Baby
• Soft skin
• Candlelight
• Fireworks
• Party
• Snow
• Scenery
• Starry sky
• Self portrait
• Macro
• Moving Image
• Playback
• Exposure bracketing +/-0.3 to 1 EV
• AE Compensation +/- 2.0 EV in 0.3 EV steps
Shutter speeds Auto mode: 1 to 1/2000th sec
Scene mode: 8 to 1/2000th sec
Starry Sky Mode: 15, 30 or 60 seconds
Sensitivity • Auto
• ISO 80
• ISO 100
• ISO 200
• ISO 400
White Balance • Auto
• Cloudy, daylight, halogen, custom
• White balance adjust
Image parameters • Color (Natural, Standard, Vivid)
• Color effect (Cool, warm, B&W, sepia)
Continuous • 3 fps high speed, 2 fps low speed. 1.5 fps Unlimited
• 8 frames (standard), 6 frames (fine)
Flash • Built-in flash
• Auto, on/off, red-eye reduction, slow sync with red eye reduction
• Range (ISO auto): W 0.3m – 4.0m
Storage SD/MMC
16MB supplied
File Format JPEG (EXIF 2.2)
Viewfinder None
LCD monitor • 2.5" TFT LCD
• 207,000 pixels
Connectivity • USB 2.0 Full speed
• A/V out
• DC-IN
Power • Lithium-Ion rechargeable battery
• Charger included
In the box* • DMC-FX9 camera
Battery charger
Battery pack
Battery carrying case
SD memory card (16 MB)
AC cable
AV cable
USB connection cable
Strap
CD-ROM (LUMIX simple viewer, ArcSoft PhotoBase, ArcSoft PhotoImpression, ArcSoft Panorama Maker, USB Driver)
Other features PictBridge
Mega Optical Image Stabilization
AF illuminator
Record and playback histogram
Venus engine PLUS
Weight 127 g (4.5 oz) (without battery and card)
155 g (5.5 oz) (with battery and card)
Dimensions ~94 x 51 x 24 mm (3.7 x 2.0 x 0.9 in)

 

ซึ่งกล้องตัวนี้ให้ความละเอียดในระดับ 6Mpixels ครับ ซึ่งสูงพอสมควร แต่ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ เพราะว่าส่วนใหญ่จะใช้ 3:2 และเซ็ตที่ 2.5Mpixels หรือ 4:3 ที่ 3Mpixels ครับ เพราะแค่นี้ก็ถ่ายออกมาเนี้ยบแล้ว ซึ่ง 3:2 นี่เวลาเราเอาไฟล์ไปอัดภาพ จะได้เต็มกระดาษอัดภาพพอดี ไม่เหมือน 4:3 ที่อาจะได้ขอบกลับบ้านหรือต้อง Crop ภาพแทน เรื่อง Pixels มันเป็นเรื่องของขนาด Resolution ของภาพครับ คือพวก 2816 x 2112, 2048 x 1536, 1600 x 1200, 1280 x 960, 640 x 480 ครับ ซึ่งถ้าระดับ 6Mpixels ก็คือ 2816 x 2112 และ 5Mpixels ก็คือ 2048 x 1536 ครับ ไล่กันไปเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าคุณถ่ายไว้อัดภาพขนาดจัมโบ้ก็เหมาะกับขนาด Resolution ประมาณ 1600 x 1200 ครับ หรือถ้าเป็น Pixels ก็ 3Mpixels ก็เพียงพอครับ แต่ถ้าคุณต้องการเอาภาพไปปรับแต่งในเรื่องต่าง ๆ มากมาย ก็แนะนำให้ใช้ระดับ Resolution มากขึ้น ตามความเหมาะสมครับ แต่ถ้าถ่ายไว้ดูเองในคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต้องเยอะครับ เน้นจำนวนมากกว่า น่าจะ ok ครับ  เช่นไปถ่ายตามง่าย IT Expo ต่างๆ แค่ 1280 x 960 หรือประมาณ 2Mpixels ครับ เราจะได้จำนวนรูปที่มากขึ้น เอาไว้ถ่าย Pretty ได้เยอะ ๆ หุๆๆ ถ้าใช้ 4:3, 2Mpixels กับ Memory 256MB จะได้ภาพประมาณ 248 รูป ซึ่งมากพอสำหรับคนชอบถ่ายรูปครับ ซึ่ง SD-Card 512MB ตอนนี้ราคาก็ลงมาเยอะครับ และ 1GB ก็น่าสนใจ แต่ดูๆ แล้วน่าจะเอา 1GB ดีกว่า เพราะว่ามี 256MB อยู่แล้ว การใช้งานโดยทั่วไปนั้นใช้งานได้ง่าย และเหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้ในการถ่ายภาพเท่าไหร่นัก ซึ่งระบบ Mega O.I.S. ที่ช่วยลดอาการเบลอของภาพเมื่อถ่ายภาพในช่วงมือสั่นครับ อีกส่วนที่ชอบคือเลนส์ Leica ที่ได้รับความนิยม และคุณภาพที่ยอมรับระดับสากลครับ ว่าถ่ายภาพได้มีคุณภาพสูงครับ รูปภาพที่ถ่ายในเว็บนี้ในช่วง 1 – 2 อาทิตย์นี้ ก็ใช้กล้องตัวนี้แหละมาถ่าย ซึ่งภาพออกมาได้ดีครับ

ประกอบกับใช้ Picasa ในการจัดการูปภาพต่าง ๆ ทำให้ปรับแต่งรูปภาพได้ดีมากขึ้นด้วยครับ

ไปนอนก่อนหล่ะครับ สวัสดี ;)