ปรับแต่แก้ไขเพิ่มเติม June 14th, 2008-3:53 pm at 3:53 pm
จากกระทู้ พอดีอ่านกระทู้แล้วทำสรุปวิธีเช็คเครื่องมาให้ ซึ่งเป็นการแนะนำการตรวจสอบตัวเครื่อง Laptop (Computer Notebook) ก่อนออกจากร้านค้า ซึ่งแนะนำได้ดีมาก เลยนำมาเผนแพร่ต่อ ๆ กันครับ
คำแนะนำด้านล่างเป็นเพียงคำแนะนำส่วนตัวเท่านั้น ไม่ต้องทำตามก็ได้ และไม่มีการรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น (เช่น เช็คถึงข้อb7แล้วเจ้าของร้าไล่ออกจากร้าน หรือทำเครื่องหล่นตอนทำข้อ c7)
A. สิ่งที่ต้องเตรียมไป
- a1. โปรแกรม BenchMark
- a2. โปรแกรมเช็ค DeadPixel
- a3. Flash Drive
- a4. Bluetooth device เช่น มือถือ
- a5. DVD-RW ที่เขียนข้อมูลไปบางส่วนเช่น ไฟล์เพลง คลิ๊ปหนัง เป็นต้น
- a6. Mem card และ หูฟัง
- a7. เงิน (อันนี้สำคัญมาก)
B. การตรวจเช็คโน๊ตบุคตอนซื้อ
- b1. คุยเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าเช่น สเปก เงื่อนไขการรับประกัน (กี่ปี ประกันส่วนไหนบ้าง ประกัน Dead Pixel หรือไม่ยังไง การซื้อประกันเพิ่ม ), การเพิ่ม RAM, เงื่อนไขการชำระเงิน เป็นต้น กับผู้ขายเพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง
- b2. ห้ามจ่ายตังค์หรือให้หลักฐานใด หรือยังไม่ให้ผู้ขายออกหลักฐานการซื้อเด็ดขาด เพื่อเป็นการปลอดข้อผูกมัด จนกว่าจะผ่านข้อ b9
- b2. ตรวจอุปกรณ์หลักครับ ที่ชาร์จ CD-Driver กระเป๋า (บางยี่ห้อไม่แถมนะ ดูให้ดี ๆ) คู่มือ ใบรับประกัน ใบชิงโชค และอื่น ๆ ที่พึงจะมีให้ครบถ้วน (ในคู่มือมีบอกว่าในกล่องควรจะมีอะไรบ้าง อ่านซะด้วย)
- b3. ดูรูปลักษณ์ภายนอกครับ มีรอยบุบ ถลอกหรือไม่ น๊อตสกรู มีรอยเหมือนถูกเปิดsingมาหรือเปล่า Void ครบ (ประกันเครื่อง จอกี่ปีแบบไหน) และ แปะถูกที่หรือไม่ ทั้งตัวเครื่องและที่ Accessories อ้อ อย่าลืมพลิกดูสติกเกอร์ Serial ที่ใต้เครื่องด้วยหละว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ขาดหรือเรือนนะ และดูว่าตรงกะที่กล่องหรือไม่ แล้วจดไว้ก็ดี
- b4. ถามเลยว่า ถ้าเอากลับบ้านไปแล้ว เครื่องมีปัญหาภายใน 7 วัน เอามาแล้วเปลี่ยนตัวใหม่ให้ได้หรือไม่ ( ซึ่งควรจะเปลี่ยนให้ได้ )
- b5. ถ้าต้องการเพิ่ม Ram ให้ร้านเค้าเพิ่มให้เลย (จะซื้อกับร้านหรือเอามาเองก็ได้ถ้าเค้ายอม)
- b6. ให้เขาลง Windows ให้เรียบร้อย พร้อมลงไดร์เวอร์ให้ครบ เพื่อทดสอบ (ถ้าเครื่องมี OEM มาให้แล้วไม่น่ามีปัญหาตรงนี้ แต่ถ้าไม่มีคงต้องต่อลองกันต่อไปในชั้นนึง เพราะบางร้านไม่มีนโยบายในส่วนนี้ ต้องทำใจ และเข้าใจเค้าด้วย เพราะว่าลิขสิทธิ์ช่วงนี้กำลังแรงครับ ซื้อเครื่อง NO OS มาก็เอาแผ่นไปด้วยแล้วกันครับ ถือเป็นความรับผิดชอบของเรา ไม่ใช่ทางร้าน จำไว้ให้ดีครับเรื่องนี้)
- b7. เสียบสายชาร์จเพื่อเป็นการทดสอบที่ชาร์จไปในตัว แล้วใช้โปรแกรมทดสอบ dead pixel หน้าจอ ติดตั้งโปรแกรม BenckMark เช่น Sisoft-Sandra (เวอร์ชั่นใหม่หน่อยนะเดี่ยวไม่รู้จักตัวอุปกรณ์) แล้วเช็ค Spec ว่าถูกต้องตามรายการหรือไม่ และต้องเห็น RAM ที่เพิ่มเข้าไปด้วย ถึงตอนนี้ก็ครึ่งทางแล้วนะ เตรียมเสียตังค์ได้เลย บางครั้ง RAM ไม่ครบ หายไปนิดหน่อย ต้องดูว่า VGA มาเอา RAM ไปใช้เป็น VRAM ด้วยหรือเปล่าด้วย อย่าเพิ่งโวยวายไป อย่าง Intel VGA บางรุ่นแชร์ RAM แปรผันตรงตามจำนวนความจุ RAM ที่ใส่เิพิ่มไป บางรุ่นแชร์ตามการใช้งานจริงในตอนนั้น ดูให้ดีครับ
- b8. ถอดสายชาร์จออก แล้วลองเล่นดังนี้
- b8.1 เปิด Bluetooth กับ WiFi พร้อมกัน เครื่องต้องไม่แฮงค์ และไม่กวนเข้าจอภาพ
- b8.2 ลองเล่น Net ผ่าน WiFi ดู
- b8.3 ลองเล่น Bluetooth กะมือถือดู
- b8.4 ลองปรับค่าต่างๆดู เช่น Brightness Contrast เป็นต้น แล้วดูว่าจอผิดปกติหรือไม่
- b8.5 ลองให้อ่านไฟล์จาก DVD/CD ที่เตรียมไปดู เช่น เปิดหนังที่เตรียมไปจากแผ่นโดยตรง แล้ว copy ไฟล์นั้นลงเครื่องไว้
- b8.6 ลองลบ DVD-RW และเขียนไฟล์ที่copyไว้กลับเข้าแผ่นและอ่านไฟล์ที่เขียนอีกครั้ง(เหมือนข้อ b8.4) ในข้อนี้เฉพาะเครื่องที่มี Drive DVD-RW นะครับ
- b8.7 ลองอื่นๆ ได้แก่ FlashDrive MemCard Mouseที่แถม ลำโพง หูฟัง
- b8.8 ปุ่ม Keyboard ต่างโดยทดสอบกับโปรแกรม Notepad ก็ได้ (สามารถทำระหว่างรอเขียน DVD ในข้อ b8.6 ก็ได้) อ้อ สังเกตดูว่าเครื่องร้อนมากแค่ไหนรับได้ไหมกับความร้อนระดับนี้ หรือมีเสียงหรือสิ่งผิดปกติหรือเปล่า
- b8.9 ShutDown เครื่อง แล้วเปิดเครื่องใหม่และปล่อยให้เข้า Windowsอีกครั้ง เป็นอันผ่านบททดสอบ
- Note. ถ้าระหว่างที่ทำข้อ b8 อยู่เกิด Low Battery ก็ให้เสียบชาร์จกลับไป แต่ถ้าให้ดีขอให้ผ่านข้อ b8.6 มาก่อนก็ดี
- b9. มาถึงตรงจุดนี้ได้แสดงว่าเจ้า Notebook ที่เราปู้ยี้ปู้ยำมาพอควรก็พร้อมที่จะเป็นเพื่อนร่วมโลกของเราแล้ว (ทางร้านคงเซ็งเราแล้วด้วย)
- b10. จ่ายตังค์ และอย่าลืมดูเวลาเค้าเก็บเข้ากล่องด้วยว่าไม่มีอะไรผิดปกติ เวลาที่รอเอกสาร
- b11. ตรวจสอบเอกสาร ได้แก่ ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี เอกสารแสดงการรับประกัน โดยรายละเอียดในเอกสารต้องถูกต้อง เช่น Seriel ต้องตรงกะตัวเครื่อง ชื่อร้าน ลายเซ็นของทางร้าน เป็นต้น ต้องถูกต้องและเรียบร้อย นะ
- b12. เตรียมลีมูซีนรับมันกลับบ้าน
C. เมื่อถึงบ้านก็พักจิบกาแฟ ดูทีวีซักพัก เพื่อเป็นการพักหย่อนใจ แล้วเริ่มงานต่อ (สำหรับท่านอื่นอาจไม่ต้องทำแล้วก็ได้ แต่ผมทำเพราะต้องจับผิดมันให้ได้ภายใน 7 วัน ถ้ามีจริงก็จะได้เปลี่ยนเครื่องใหม่ได้ทัน)
- c1. เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ แผ่น Windows Driver (โหลดตัวล่าสุดจากเว็ปผู้ผลิตมาเขียนใส่ CD ไว้ด้วยก็ดี) Software ต่างๆ
- c2. เสียบที่ชาร์จ เปิดเครื่อง แล้วแบ่งพาร์ทิชั่น (ถ้าต้องการ) ฟอร์แมต ลง Windows ใหม่หมด
- c3. ลงไดร์เวอร์ Software Console (management) ต่าง ๆ ของผู้ผลิต และโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน
- c4. ลง BenckMark แล้วทดสอบอย่างหนัก (และจะทำตามข้อb8.1-b8.8ซ้ำก็ดีนะ) แล้วลองนำผลที่ได้ไปเทียบกับชาวบ้านดู (หาได้ตามเว็ปไซด์) แล้วไม่ต้องซีเรียสมากถ้าค่าไม่ได้เท่าเค้า แต่ก็ไม่ควรแพ้เครื่องที่สเปกต่ำกว่า ถ้าค่าผิดปกติอาจมาจากการลงในข้อ2 ไม่ดีพอ หรือไดร์เวอร์ไม่อัพ หรือเครื่องอยู่ไม่ในโหมดทำงานเต็มอัตราศึก(performence) ก็ได้ลองตรวจสอบดู
- c5. เมื่อเสร็จแล้ว capture ค่าไว้ดูเป็นที่ระลึกก็ได้ (ผมทำเพราะมันดูแล้วทำให้ผมรู้สึกดีทุกครั้งที่เปิดขึ้นมาดู)
- c6. burn เครื่องไว้จนแบตหมดเป็นการเคลียร์แบต แล้วเสียบชาร์ตทิ้งไว้โดยไม่ต้องเปิดเครื่อง 8-10 ชม. เพื่อเป็นการกระตุ้นแบต ซึ่งควรทำการกระตุ้นแบบนี้2-3ครั้งเพื่อเป็นการ Overhaul แล้วค่อยใช้งานปกติ
- c7. พามันไปสูดอากาศข้างนอกเพื่อเป็นการทดสอบว่ามันพร้อมเดินทางกะเราไหม เช่น ไปนั่งจิบกาแฟแล้วเล่นเน็ตจากwirelessของร้าน (เป็นการทำให้ภาพลักษณ์ของตนเองดีขึ้น ระวังหน้าแตกตอนเครื่องเกิดงอแงหละ) ไป present งานจะได้เป็นการลองต่อมันกับโปรเจคเตอร์ไปในตัว หรือจะเปิดหนังปลุกใจเสือป่าบนรถเมล์ก็ได้ถ้าใจถึง(แต่ผมเคย!!!) เป็นต้น
- c8. ถ้าทำได้ทั้งหมดภายใน 7 วันนี้ โดยที่มันไม่งอแงเลย ก็แต่งตั้งมันให้เป็น "ซางกุงสูงสุด" ได้เลย แต่ถ้างอแงก็ส่งกลับเชจู(ร้าน/ศูนย์)ซะ
จากคุณ : ดำจังแก -[ 12 มี.ค. 49 – 19:23:38 A:61.91.222.101 X: ]