คัดลอกบทความไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม ส่ง notice ไม่พอ ต้องส่ง invoice ไปด้วย

หลังๆ ผมมีหลักคิดเรื่องการละเมิดเนื้้อหาบนอินเตอร์เน็ตที่รักษาผลประโยชน์ตัวเองเพิ่มขึ้น คือการละเมิดเนื้อหาที่ถูกนำไปทำซ้ำโดยไม่ถูกต้องตาม CC บน blog ตัวเอง หรือ Copyright บนเว็บที่จ้างเขียนบทความ โดยมีแนวคิดเพิ่มเติมไม่ใช่แค่แจ้ง notice ให้ลบออก หรือแก้ไขเท่านั้น แต่มีการเพิ่มเติมข้อเรียกร้องที่นำไปสู่การเสียประโยชน์จากการนำไปใช้แบบผิดวิธีตาม CC หรือละเมิด Copyright ที่ทำให้เสียประโยชน์ทางธุรกิจ ด้วยการส่ง invoice คิดเงินแนบไปพร้อม notice ด้วย

เหตุผลหลักๆ ที่มีการส่ง invoice เรียกเก็บเงิน เพราะเนื้อหาที่ระบุ CC นั้นต้องการ back link อย่างชัดเจน ซึ่งมีผลต่อ SEO ซึ่งน่าจะเป็นค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อในการนำบทความไปใช้ในขั้นต่ำสุด (ห้าม unfollow tag ด้วย) ส่วนของเนื้อหา Copyright นี่ก็ตรงๆ ตัวอยู่แล้ว โดยทั้ง 2 ส่วนนี้ โดยส่วนใหญ่คนนำไปใช้มักนำไปใช้งานเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการแบ่งส่วนผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดจากนำเนื้อหาของเราไปใช้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ และน่าจะ win-win กับทุกฝ่าย

การแค่ทำลายบทความทิ้งไปเฉยๆ บนเว็บที่นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาแบบ CC หรือ Copyright นั้นส่วนตัวมองว่าดูมักง่ายเกินไป เพราะการคิดแค่ว่าลบๆ แล้วก็จบๆ กันไป โดยไม่ได้มองบริบทในอดีตว่า ก่อนที่บทความที่ถูกนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้องนั้น ได้สร้างผลตอบแทนแกผู้นำไปใช้มากมายเท่าใดๆ แล้วนั้น ดูจะไม่ยุติธรรมต่อผู้ผลิตผลงานเท่าใดนัก

ถึงเวลาเปลี่ยนการใช้สัญญาอนุญาตของ Creative Commons

ตอนนี้เว็บ blog ผมมีคนเข้าข้อมูลไปอ้างอิงอยู่มาก แต่ส่วนใหญ่มักจะเอาไปใช้เพิ่มเติมเนื้อหาของตนเองซึ่งตัว Creative Commons ที่ผมใช้อยู่ (เมื่อ 10 นาทีที่แล้ว) จะไม่สามารถนำไปเพิ่มเติมหรือต่อเติมเนื้อหาได้ เพราะมีข้อกำหนดไว้ว่า “No Derivative Works. You may not alter, transform, or build upon this work.” แต่ตอนนี้ผมคิดว่าการเพิ่มเติมความรู้ต่าง ๆ หรือถ้าผมนำเสนอเนื้อหาที่ผิดไปจากทีควรจะเป็น ผู้ที่นำของผมไปใช้น่าจะสามารถที่จะปรับแก้ได้ตามสมควร แต่ควรจะนำเสนอเนื้อหาเหล่านั้นด้วยสัญญาอณุญาติเดียวกันคือ Creative Commons เช่นกัน ผมจึงเปลี่ยนจาก “Attribution-Noncommercial-No Derivative Works 3.0 (by-nc-nd)” เป็น “Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 (by-nc-sa)”

  • Attribution: ระบุแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่นำมาใช้
  • Noncommercial: ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงการค้า
  • No Derivative works: ไม่อนุญาตให้แก้ไขต้นฉบับ
  • Share Alike: ถ้าแก้ไขต้นฉบับต้องใช้สัญญาอนุญาตเหมือนกับต้นฉบับที่นำมาใช้

โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก No Derivative Works เป็น Share Alike ซะ ;) คราวนี้ความรู้ต่าง ๆ ของเราจะได้ถูกต่อยอดได้อย่างถูกต้องเสียที

อ่ะ !!! แล้วเหล่าเด็ก ๆ ที่เข้ามา copy งานของเราไปส่งนี่ท่าทางจะทำผิดมาโดยตลอดซิเนี่ย -_-‘ เพราะเอาไปดัดแปลงแก้ไขลงรายงานตัวเอง แถมส่วนใหญ่ท่าทางจะไม่อ้างอิงกลับมาด้วย สรุปแก้สัญญาอนุญาตไปก็ผิดอยู่ดี น่ะนะ ฮา ……

Human knowledge belongs to the world, AntiTrust Movie

Contents Feed และ Creative Commons License บน ThaiCyberPoint.com

หลังจากพัฒนามานานก็สำเร็จเสียที เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่สำหรับ xml เพราะอาจจะใหม่สำหรับเราก็ได้ แต่มันก็คล้ายๆ กับ HTML ที่เราถนัดเลยรู้สึกไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่รายละเอียดมันเยอะกว่ามาก ๆ แต่ก็พอทน ทำ script PHP สำหรับ Parse เอาข้อมูลจาก Database MySQL ได้เสียที แล้วเขียนลง feed files ได้ ก็ ok สำหรับงานนี้ เฮ้อเกือบจะไม่รอดเอา มึนๆ อีกแล้ว เฮ้อ งานเยอะจริง ๆ จริ้ง …..

หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า RSS มันคืออะไร เดียวอธิบายให้ฟังเลยแล้วกัน ขอยกคำอธิบายของพี่เดฟ (rp@jp ตอนนี้กลายเป็น rp@th ไปแล้ว)

RSS คิดง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลดิบ (raw data) ของพวก website ที่ดึงออกมาจาก database โดยตรง ที่เราสามารถเอาไป format ต่อยังไงก็ได้ และเนื่องจากเป็นข้อมูลดิบ

ดังนั้น RSS จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ layer ตรงกลางระหว่าง database กับ website อีกทีหนึ่ง

เราอาจจะคิดว่า ปกติมันเป็นแบบนี้ (เอาแค่ concept นะ)

1) website ปกติ –> เขียน html content กันตรงๆ เลย
2) website ที่ใช้ข้อมูลจาก database –> ดึงข้อมูลจาก database มาทำเป็น html โดยผ่าน formater/parser ของตัวเอง

RSS เป็นสิ่งที่เข้ามาตรงกลาง ทำให้ตัว website กับ database แยกออกจากกันได้มากขึ้น และเป็นมาตรฐาน นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะเอา RSS feed ไปอ่านที่อื่น (เช่นจาก RSS reader ทั่วไป) โดยไม่ผ่าน website ได้อีกด้วย

website พวกข่าว หรือว่า weblog ส่วนมาก ตอนนี้ก็มีการ publish RSS feed เช่นกัน

มันแตกต่างจาก HTML คือ HTML เน้นที่การ markup ของ layout ของ website ส่วน XML สามารถเขียน markup tag เองได้ เพื่อ markup content อะไรก็ได้ (เรียกว่า DTD) โดย RSS นั้นจะใช้ RSS หรือว่า Atom marktup เพื่อ markup เนื้อหา ว่าส่วนไหนเป็นอะไร

ส่วนอันนี้เป็นตัวอย่างการ markup raw data ที่ว่าด้วย RSS 0.91 จะเห็นว่ามันต่างจาก HTML ชัดๆ อย่างนึงเลย ตรงที่ว่ามันจะ markup ด้วย tag ที่แสดงความหมายของ content (เช่น title, link, description, ฯลฯ) มากกว่าที่จะเป็น tag ที่แสดงถึงรูปแบบของการแสดงผลหรือ layout (เช่น blockquote, font, ฯลฯ … ถึงจะมี blockquote หรือว่า font สีอะไรๆ เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่ามันสื่อถึงอะไรกันแน่ เป็นต้น)

จริงๆ จะบอกว่า HTML เป็น XML แบบหนึ่งที่มี set ของ tag เพื่อการ markup การแสดงผลใน browser ก็ไม่ผิดหรอก

และไปเจออีกที่หนึ่ง

RSS เป็น รูปแบบเอกสารที่เอาไว้กระจายไปยังที่ต่างๆ และรวบรวมหัวข้อเนื้อหาจากเว็บต่าง ๆ หรือ อาจจะหัวข้อข่าวจาก เว็บบลอก RSS เป็นโครงสร้างของภาษา XML (eXtended Markup Language) ไม่ต้องสนใจ ให้สังเกตุว่าลักษณะของ RSS Feed จะมีสัญลักษณ์ XML หรือ RSS ในเว็บไซต์นั้นๆ หรือ ชื่อเว็บไซต์ต่อท้ายด้วย .xml และความพิเศษของมันคือมันเป็น xml ที่มีการกำหนด schema ที่แน่นอน สำหรับเอาไว้ให้โปรแกรมที่เป็น RSS Client ดึงมาแสดงครับ

ข้อดีของ RSS ที่ผมเห็นก็คือ สมมุติว่าผมชอบเปิดเข้าไปตาม เว็บต่างๆ เพื่อเข้าไปดูว่ามันมีอะไรใหม่มั่งหว่า บางทีผมก็ลืมไปว่าผมควรจะเปิดไปดูอะไรบ้าง หรือไม่ก็เปิดไป 5 วันมันยังไม่ update เลย เสียเวลาครับ ดังนั้น RSS มีประโยชน์คือคุณสามารถที่จะรับข่าวสารจากเว็บต่างๆ หรือ ข้อความใหม่ๆจาก blog คนอื่นๆได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา

ส่วนเจ้า RSS Client หรือ News Feed Client ก็มีมากมายให้เลือกใช้กันครับ ส่วนใหญ่จะฟรี ส่วนโปรแกรมที่ผมใช้มานานแล้ว แล้วก็ชอบที่สุดก็คือ RssOwl ครับ หลังจากโหลดมาก็ add รายชื่อ URL เข้าไปในโปรแกรม เท่านี้ก็สามารถติดตามเนื่อหาใหม่ๆของเว็บที่เราต้องการได้แล้วครับ

นั้นหมายความว่าท่าน ๆ ผู้อ่าน ก็สามารถติดตามเรื่องราวของบทความต่าง ๆ บนเว็บของผมได้ผ่านทางโปรแกรมพวก RSS Reader ได้เช่นกันครับ สะดวกไหมหล่ะ ;)

ต่อมาก็ Creative Commons License ที่ได้จาก blog ของพี่ bact ก็เลือก ๆ อยู่นานก็ได้มาเสียทีมีลายละเอียดคราว ๆ คือ

Attribution-NonCommercial-NoDerivs 2.0

You are free:

  • to copy, distribute, display, and perform the work

Under the following conditions:

by
Attribution. You must give the original author credit.
nc
Noncommercial. You may not use this work for commercial purposes.
nd
No Derivative Works. You may not alter, transform, or build upon this work.
  • For any reuse or distribution, you must make clear to others the license terms of this work.
  • Any of these conditions can be waived if you get permission from the copyright holder.

ก็ไม่ได้เขี่ยว อะไรหรอก แต่ใครจะเอาไปใช้ยังไงก็มีเครดิตหน่อยก็แล้วกันเน้อ …. ส่วนใครจะเอาไปขายก็เจอกันในศาลแล้วกัน

ไปหล่ะ -_-” ง่วงจริง ……

บ่นบ้า (ภาคที่เท่าไหร่ไม่รู้)

เฮ้อ ……. ช่วงนี้ทำตัวขี้เกียจวันเล้ยยยยยย ……

แถมเน็ตหอก็มาเสีย ต่อผ่านตู้สาขาเอา ความเร็วแบบไปตามน้ำใจเย็นเป็นน้ำ 26.4Kbps เลยทำให้เสียเงินเพิ่มเข้าไปอีก ……. ตอนนี้เลยตอนเช้าๆ ต้องไปนั่งเล่นที่ คณะ แทนพอไปเล่นแล้วมันเร็วแบบสุด ๆ ๆ แต่ก็ได้ข่าวดีว่าเค้ากำลังมาแก้ไขเน็ตที่หออยู่ ไม่รู้จะได้วันไหนเหมือนกัน

แล้วนี่ก็ใกล้สอบ Data Structure แล้วก็ Internet Programming แล้ว ไอ้อย่างหลังไม่เท่าไหร่ ทำได้ดีเลยหล่ะ แต่อันแรกดิ หนักใจจริง ๆ ไม่รู้อาจารย์สอน งง ๆ ไม่รู้ว่าจะเอายังไงแน่ จนเราต้องมานั่งอ่านเอง นี่ก็อ่านจนหัวจะไหม้แล้ว นั่งอ่านนั่งทำโปรแกรมไปเรื่อย ก็หวังว่าเทอมนี้จะไม่พลาดอีก …..

แล้วช่วงนี้ฝนตก กันทั่วถึงทุกภาคก็รักษาสุขภาพด้วยนะ นี่ก็เริ่ม ๆ จะเป็นหวัดแล้ว มึน ๆ เหมือนกัน เฮ้อ … เดี่ยวร้อนเดี่ยวหนาว เอาแน่ เอานอนไม่ได้ …… -_-”

อ่อ นี้ก็ไปนั่ง ๆ อ่านเรื่องพวก Common Public Licence ว่าจะเอามาใช้กับโปรแกรมที่เราว่าจะทำเป็น OSS ซะหน่อย นี่ก็กะทำ project ไว้หลายตัวเหมือนกัน ไม่รู้ว่าใครจะทำตัดหน้าไปหรือเปล่า ……

แต่ก็นะ ….. นี่ก็ดองงานไว้เยอะ หลายงานเลย ไม่รู้จะแบ่งตัวไปทำยังไงหมด ……. แย่จัง T_T

วันนี้บ่นแค่นี้ดีกว่า ไม่ไหว ๆ ๆ มึนหัว …….