สุขภาพที่ดีกับการนั่งและจัดว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงานให้ถูกวิธี

        หลังจากบทความเรื่อง “คำแนะนำการใช้สำหรับจอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ” นั้นได้รับความนิยมอย่างมากจากท่านผู้อ่านมีเมล์มาสอบถามผมมากมายในเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องนี้ครับ ทำให้ผมต้องออกภาคต่อ ซึ่งคราวนี้เนื้อหานั้นต่อจากตอนที่แล้วซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงตอนที่แล้วด้วย ไปอ่านกันเองนะครับ หุๆๆ แต่ผมต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เป็นหมอ หรือนายแพทย์ ที่ชำนาญด้านนี้แต่อย่างใดครับ แต่ด้วยที่ค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ และจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ประสบพบกับตัวเองด้วย ซึ่งเอามาแบ่งปันกันครับ งั้นเรามาเข้าเรื่องกันเลยนะครับ


        ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์เราๆท่านๆแล้ว ในยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ แต่จนแล้วจนรอดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็ยังคงไม่สามารถทดแทนกับคนบางกลุ่มได้นั้นคือคนที่ทำงานสั่งการมันนั้นเอง หรือเหล่าคนที่ต้องควบคุมดูแล และจัดการระบบ รวมถึงนักโปรแกรมเมอร์อย่างผม และเพื่อนๆ พี่ๆ หลายๆ คน ซึ่งผมกระทบทางด้านสุขภาพนั้นอาจจะไม่ได้มาในทันทีทันใด แต่จะสะสมรอวันที่มันจะแสดงตัวมันในอนาคต

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

        การปรับที่นั่งและโต๊ะที่ถูกสุขลักษณะในการทำงาน ควรเป็นโต๊ะเขียนหนังสือธรรมดา แล้ววางคีย์บอร์ด หรือโต๊ะที่มีลิ้นชักคีย์บอร์ดก็ได้ครับ แต่ ควรเลือกที่เหมาะสมกับร่างกายของเราครับ ที่สำเร็จรูปนั้น ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะเค้าออกแบบมาไม่ดีเท่าที่ควรครับ และยิ่งด้วยที่วางเมาส์ไว้คนละระดับกับคีย์บอร์ดแล้ว ถือว่าเป็นโต๊ะที่แย่มากและทำให้ข้อมือของท่านปวดและเสียหายได้อย่างร้ายกาจ และอาจเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด ได้ครับ อย่างภาพที่ 1 ผมให้ดูนั้นระดับของเก้าอี้และที่พิงควรจะรับกับหลังของเรา และสามารถปรับระดับได้ตามความต้องการของเราในยามต่างๆ ได้ดีครับ เพื่อที่ช่วยให้เราทำงานได้ดีและทำให้หลังไม่คดหรืองอ และขาควรนั่งตั้งฉากกับพื้น ดังภาพที่ 2 และระยะตักควรอยู่ด้านล่างของคีย์บอร์ดด้วยครับ ส่วนภาพที่ 3 นั้นคือการจัดวางคีย์บอร์ด และเมาส์ ครับ ควรจัดวางคีย์บอร์ด ซึ่งส่วนที่พิมพ์นั้นควรไว้ตรงกลางของจดภาพเลยครับ และถัดมาด้วยแป้นตัวเลข และเมาส์ครับเพราะว่าทำให้เราไม่ต้องเอียงข้อมือหรือปิดข้อมือมากครับ ซึ่งการวางเมาส์นั้น อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นครับว่าการจัดวางเมาส์ควรวางในระดับเดียวกัน ซึ่งโต๊ะคอมฯ หลายๆที่นั้นทำออกมาได้แย่มากๆ ในเรื่องนี้และสำนักงานก็ชอบเอามาใช้ครับ เพราะว่าเล็กและประหยักเนื้อที่แต่เป็นการซื้อที่ผิด และทำให้เกิดผลเสียต่อพนักงานอย่างร้ายแรงครับ คุณจะไม่เห็นสิ่งเหล่านี้กับสำนักงานทางด้านไอทีระดับโลกเลย อย่างเช่น Microsoft หรือ Apple ครับ หรือแม้กระทั้งในประเทศไทยหลายๆ บริษัทก็ลงทุนทำทางด้านนี้นับล้านบาทเพื่อพนักงงานครับ เพราะทำให้พนักงานทำงานได้มาก และทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากกว่าอีกด้วยครับ อย่างที่หลายคนบอกว่า “ร่างกายและสุขภาพดี สมองและความคิดมันก็แล่น” ผมว่าเป็นคำพูดที่ไม่ดูเกินเลยไปเลยจริงๆ ครับ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆก็บางให้ให้สามารถหยิบจับได้ง่ายครับ

ภาพที่ 4

        ซึ่งอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา ครับ ซึ่งในเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆ นั้นจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหาได้ถ้าเราไม่รู้จักที่จะดูแลและเข้าใจในการถนอมมัน เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจจะทำให้การมองเห็นของเค้านั้นด้อยลงครับ และอีกอย่างคือจากการที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ นั้นซึ่งเกิดจากการที่เราไม่ได้ทำการพักผ่อนที่เพียงพอครับ ซึ่งเกิดจากการอ่อนล้าจากที่ต้องประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งต้องตื่นตัวตลอดเวลาทำให้เกิดความเครียดในระดับภายในหรือสมองนั้นเอง ซึ่งเราจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเมื่อไหร่ที่พักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตา หรือเริ่มที่จะมึนๆ หรือง่วงนอนแล้ว ซึ่งควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน และมองออกไปในที่ไกลๆ เพื่อให้สายตาได้ทำการปรับระยะการมองเห็นบางเพื่อไม่ให้เสื่อม แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS) และอีกเรื่องที่ไม่มีใครนั้นสนใจคือการวางจอแสดงผลครับ ควรวางในระดับสายตาครับ ทำให้เราสามารถมองได้ไม่สบายตา ไม่ควรเงือยหน้ามองจอครับหรือก้มหน้ามองมากจนเกินไปครับ เพราะอาจจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนบนบริเวณคอผิดรูปและทำให้ไปกดเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตได้ครับ เราควนใส่ใจในด้านนี้ให้มากครับ และควรใช้ Document Holder (ที่หนีบกระดาษด้วยข้างจอ) ช่วยในการพิมพ์งานต่างๆ ครับ เพื่อสะดวกในการพิมพ์งานและมองเอกสารครับ ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 5

        ซึ่งจากการเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่า “อาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ ” ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด ที่ไม่ถูกต้องปิดข้อมือมากเกินไป และ วางมือไม่ขนานกับในระดับเส้นตรงขนานกับพื้นปกติ แต่เรากลับวางมือแบบคดงอ และไม่มีที่พิงซึ่งตามที่ถูกต้องแล้วที่เก้าอี้นั่งควรมีที่ช่วยพยุงมือ เพื่อให้ขนานกับพื้นและตั้งฉากกับร่างกายครับ เพื่อให้เกิดความสบายใจการทำงานให้มากขึ้นด้วย รวมถึงระยะเวลาที่ควรจะพิมพ์งานและทำงานบนคีย์บอร์ดควรอยู่ที่ 20 – 30 นาที แล้วทำการพักข้อมือเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวด้วย ดังภาพที่ 5

การวางมือที่ถูกต้อง

การวางมือที่ผิด

        สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำด้วย IT ต่างๆ นั้นจะได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ ที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์มาแต่ก็มีราคาที่แพงกว่าสินค้าที่ไม่คำนึงถึง ทางด้านนี้มากพอสมควรเลยทีเดียว และทางแก้ในเรื่องนี้นั้นก็ใช้ค่าใช้จ่ายมากอีกด้วย เช่น ใช้เมาส์มีขนานเหมาะสมกับมือของตัวเอง ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป และก่อนที่จะซื้อโต๊ะคอมพิวเตอร์นั้นควรออกแบบ หรือวัดโต๊ะหรือออกแบบโต๊ะที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย เราก่อนด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกับเราในอนาคต ถึงแม้ราคาจะแพงแต่สุขภาพของเราและสภาพร่างกายแล้วคุ้มมากเลย ซึ่งในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI ถึงขั้นร้ายแรงมาก จนเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบบ่อยครั้งมากกว่านั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ไม่แน่ เพราะว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการสะสม เหมือนโรคมะเร็ง หรือโรคทางเดิมหายใจต่างๆ ครับ

        ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2546) อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี เพื่อรักษาโรคเหล่านี้ ครับ

        แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่า คนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วยมากขึ้นอย่างแน่นอนในไม่ช้านี้ครับ ซึ่งสามารถจากปัญหาข้างต้นครับ

ขอบคุณรูปภาพจาก

คำแนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ

ตอนนี้บทความต่างๆ ผมก็เริ่มๆ เอาออกมาบ้างแล้ว แต่ช่วงนี้ขอเก็บไว้ก่อนนะครับ อีกอย่างขอปรับปรุงเนื้อหาบ้างส่วนที่ล้าสมัยจะได้ทันต่อเห็นการณ์ด้วยครับ ส่วนวันนี้ก็เอาเรื่องการถนอมสายตา สำหรับคนใช้คอมฯมาฝากครับ จริงๆ ผมอ่านเจอมาเลยเอามาลงนะครับไม่ได้เป็นของผมแต่ประการใด แต่ว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียวครับ ลองอ่านดูนะครับ

ทำอย่างไรเพื่อถนอมสายตาและป้องกันโรคจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  1. การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรนั่งให้ห่างประมาณ 1 ฟุต นั่งเอนหลังให้สบาย ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงรองรับเข้ากับรูปทรงของแผ่นหลัง เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรเล่นติดต่อกันแต่ละครั้งไม่มากกว่า 45-60 นาที ควรจะกระพริบตา, หลับตา หรือหยุดพักสายตาโดยมองต้นไม้ หรือ มองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต – ก็คงต้องเป็นนอกหน้าต่าง) สัก 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ เนื่องจากการมองระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ ในบางคนอาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้การมองเห็นระยะไกลมัวได้
  2. วางจอภาพ(ระดับ ของกึ่งกลางจอภาพนะครับ)ให้ต่ำกว่าระดับสายตา ถ้า case ของคุณเป็น Tower ตั้งจอกับพื้นโต๊ะ หน้าจอตรงๆ หรือก้มนิดหน่อย คุณจะได้ไม่ต้องเงยหน้า อันนี้จะมีผลระยะยาว ถ้าคุณเงยคอนานๆ นอกจากจะเมื่อยคอแล้ว กระดูกต้นคอคุณจะเสียรูปด้วย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนม ถึงระดับเอว
  3. การเลือกสีพื้นหลัง ไม่ค่อยมีผลกับสายตามากครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็เป็นสีเขียวเข้ม กะสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดนักครับ ส่วนสีตัวหนังสือควรเป็นสีดำ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การอ่านหนังสือบนกระดาษสีขาว ตัวหนังสือสีดำ อาจจะมีผลทำให้สายตาสั้นได้ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กระดาษสีขาวปนฟ้า หรือ สีฟ้า ตัวหนังสือสีดำ *** ไม่ยืนยันผลการวิจัยนะครับ ***
  4. ปรับจอภาพให้พอดีที่สุด ถ้าคุณใช้งานคนเดียว ปรับให้เนี๊ยบเลย แล้วไม่ต้องปรับอีกตลอดชาติ เช่น แสง (ความสว่าง) สำคัญที่สุด อย่าให้จ้าเกินไป ออกทึบนิดนึงก็ได้ เพราะคุณต้องอยู่กับมันครั้งละนานๆ สี ไม่ต้องให้จัดจ้านเกินไป เอาพอสวย ตัวหนังสือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เอาให้เราดูแล้วสบายตา (ของเราเอง) ตัวหนังสือใหญ่ ไม่ใช่จะดีเสมอไป บางครั้งดูเหมือนมันตะโกนใส่หน้าเรา หรือเราต้องแหกตาดูมัน จริงมั้ย
  5. Resolution setting ให้เหมาะ ขนาด 800×600 น่าจะกำลังพอดี Refresh Rate ประมาณ 75 Hzขึ้นไป คุณสามารถปรับ Refresh Rate ได้ตามคู่มือของจอครับ ไม่มีผลเสียหายอะไร ถ้าเขาบอกว่าทำได้ก็ทำไปเลยครับ เหตุที่มี Refresh Rate สูงๆ ก็เพื่อลดความพลิ้วของจอ ให้มองจอได้ชัด ๆ น่ะครับ
  6. การเซ็ตความคมชัดและแสงสว่าง ปกติขึ้นกับความพอใจนะครับ แต่หากจะให้สบายตาควรลด Brightness ลงสักหน่อย ส่วน Contrast สามารถเพิ่มได้เต็มครับ ภาพจะคมชัดขึ้น และถนอมจอถนอมสายตาด้วยครับ ควรป้องการไม่ให้เกิดแสงสะท้อนบนหน้าจอ โดยจัดหน้าจอไม่ให้หันเข้าหน้าต่าง
  7. ถ้ารู้สึกง่วง, ล้า หรือปวดตา เมื่อทำงานนานๆ ให้พักเสียบ้างดีที่สุด อย่าหักโหมหรือดันทุรัง สุขภาพก็เสีย งานก็ไม่ได้ ตาก็จะพังด้วย
  8. เมื่อเรานั่งอ่าน หรือนั่งหน้าคอมนานๆ ตาเราจะกระพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกระพริบตาปกติ จะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีต้อเนื้อ ต้อลม หรือเป็นโรคตาแห้ง น้ำตาขาดคุณภาพ ควรจะรักษาให้หาย และใช้คอมพิวเตอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่แนะนำให้ใช้แผ่นกรองแสง เพราะ 1. เสียสตางค์ ซื้อแผ่นกรองแสง 2. เมื่อมีแผ่นกรองแสงมาบัง คุณต้องเร่งแสงและสี สู้กับแผ่นกรองแสง จอภาพจะต้องทำงานหนักขึ้น 3. คุณจะไม่ได้คุณภาพของสีที่แท้จริง …ขอย้ำว่า แผ่นกรองแสงไม่ได้ช่วยคุณได้ ความพอดีของคุณนั่นแหละจะช่วยคุณ
  9. วางแขนให้สบายๆ จัดวางต้นแขน ข้อมือ และมือให้อยู่ในท่าที่สบายๆ เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รู้สึกเกร็งหรือฝืนๆ การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์อย่างนิ่มนวลไม่ควรกดกระแทกแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยและเจ็บนิ้วเร็วกว่าปรกติก็ได้
  10. ขยับตัว บิดซ้ายบิดขวาบ้าง ให้มีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว ขยับแขนขาและลำตัวเพื่อลดความเมื่อยล้าและอาการเกร็งลง หรืออาจจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างเป็นช่วงๆ
  11. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแดดส่องถึงโดยตรง หรือแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นใด เช่น ฮีตเตอร์,เตาไมโครเวฟ, เตาผิง,เตาแก๊ส,เตารีด
  12. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่เปียก มีความชื้นสูง หรือมีฝุ่นมาก หรือบนพื้นที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งแรง เช่นบนโซฟา,เตียง ยกเว้นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือปาล์ม
  13. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใต้แอร์(แอร์อาจมีน้ำหยดได้) หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถให้กำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงเช่น พัดลมขนาดใหญ่, มอเตอร์ไฟฟ้า, ตู้เย็น,หม้อแปลงไฟฟ้า,ลำโพงที่ไม่ได้ชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงานของจอภาพ ทำให้จอสั่นได้
  14. ไม่ควรวางสิ่งของต่างๆบนจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะต้นกระบองเพชร เพราะอาจจะเศษดินทรายหรือมีหยดน้ำเข้าไปในจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ได้
  15. การความความสะอาดจอภาพและคอมพิวเตอร์ ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาด หรือ ฟองน้ำชุบน้ำพอเปียกชื้นๆเช็ด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย เช็ด

การรักษาสุขภาพกับการใช้คอมพิวเตอร์

        ถ้าพูดถึงเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ จะแบ่งได้ 2 อย่าง คือ ผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม

        ผลกระทบทางตรง เริ่มในเรื่องอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหา เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต

        การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)

        การเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่าอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด สาเหตุที่ทำให้เกิด RSI นั้น ปกติเราจะวางมือแบบธรรมดา มือของคนเราจะอยู่ในระดับเส้นตรงขนานกับพื้น

        สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของรางกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ ที่มีผลต่อร่างกาย

        เช่น ทำให้เมาส์มีขนานเหมาะมือ ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นเพื่อสร้างโต๊ะวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย

        ในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI และเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่

        ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี

        แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่าคนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วย เมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มากขึ้นเพระมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง