สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
—>เน้นการศึกษาวิชาการที่เป็นแก่นแท้ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่จะนำไปใช้ทางใดก็ได้ เช่น สถาปัตยกรรมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ algorithm (กรรมวิธีในการแก้ปัญหา) ภาษาคอมพิวเตอร์ (คิดค้นภาษาใหม่ หรือปรับปรุงภาษาเก่าให้ดีขึ้น) การสร้างตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Compiler, Interpreter) เทคนิคในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เทคนิคในการติดต่อกับมนุษย์หรือผู้ใช้ทั่วไป เทคนิคในการเขียนโปรแกรม เทคนิคในการสร้างระบบปฏิบัติการ (Operating system) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้สาขาอื่นสามารถนำไปใช้พัฒนางานต่างๆ ได้ตามวิธีการหรือศาสตร์และศิลป์ที่เป็นของตนเอง
สิ่งที่คุณเห็นและใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, ภาษา C++, ภาษา Java, Visual BASIC, Pentium 4 CPU, การใช้เมาส์ชี้วัตถุบนจอเพื่อสั่งคอมพิวเตอร์ เทคนิคในการเขียนและพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ Object Oriented (OO) เหล่านี้เป็นผลพวงของการพัฒนาวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
—>เป็นสาขา ที่แตกตัวมาจาก วิศวกรรมไฟฟ้า วิชาสาขานี้จะใช้หลักการทาง Logic เป็น หลักในการปูพื้นฐานการสร้าง Logic ที่ได้มา นอกจากการเรียนรู้เรื่องกฏทาง ไฟฟ้า คณิตศาสตร์ และ Logic พื้นฐานเริ่มตั้งแต่ AND NAND OR XOR เป็น หลัก เพื่อ สร้างกฏแบบแผนใหม่ที่จะนำไปสู่ ผลทาง Logic อีกเช่นกันในการสร้าง ถามว่า เรียนแล้วเป็นไง พื้นก็ จะ เสริมเรื่องวิฃาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เป็นหลัก แต่ไม่เน้นมากนัก เพราะว่า จะเอาเฉพาะส่วนที่สำคัญ ในการจุดเกิด ประกายการเหนี่ยวนำให้ เกิดการ เรียนรู้ศึกษาแผนใหม่ของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนนี้จะเรียนรู้เกี่ยว Hardware เป็นหลัก มีการเขียนโปรแกรมมั้ย มี แต่ จะเน้นแนวคิดที่ใช้งานได้จริงเป็นหลัก ส่วน Human Interface ไม่ลงลึกเน้นเหมือน Computer Science ที่จะเน้นภาษาที่ใช้ในการสร้างการสื่อสารกะมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้
พูดง่ายๆ อุปกรณ์ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่เกิด จาก ฟิสิกส์ กลายมาเป็น ไฟฟ้า กลายต่อมาเป็น อิเส็กค์ทรอนิคส์ และ นำส่วนต่างๆมาประกอบกันตาม Logic พื้นฐานสร้าง Hardware หรือ เครื่องมือใหม่ที่จับต้องได้ เป็นส่วนใหญ่ แต่ Computer Science จะสร้าง ในส่วนของ Software / Data Structure / System Information เพื่อ กำหนด รูปแบบการรวมการประกอบการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้ และ จับต้องไม่ได้(Software) ที่นำมาสรุปให้เกิดงานที่ดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ดี จบแล้ว ทำงานข้ามสาขากันได้ แต่สาขาที่เรียนตรงมาจะได้เปรียบกว่าตอนเริ่มต้น
พื้นฐานของ ComEN ที่ ComSci ก็มีเล็กน้อย
พื้ฯฐานของ ComSci ที่ ComEn ก็มีเล็กน้อย
คุณสามารถเอาพื้นฐานเหล่านั้นมาพัฒนาได้
ปล.ถ้าคุณมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
ต่างประเทศ เห็นหลายๆที่ เขารวม ComSci กับ ComEN เป็นสาขาเดียวกันหลายที่แล้ว แต่มี แขนงที่ให้ศึกษาหลายแขนง
Computer Science and Engineering
ชื่อปริญญา ก็คือ
ป.ตรี : Bachelor of Technology ชื่อย่อ B.Tech
ป.โท : Master of Technology ชื่อย่อ M.Tech
ป.เอก : Ph.D
เช่น
Bachelor of Technology in Computer Science and Engineering
Bachelor of Technology in Computer Systems
Bachelor of Technology in Technology Management
Bachelor of Technology in Information Technology
แต่ถ้าในไทยจะเป็น Bachelor of Science หรือ Engineering ขึ้นอยู่กับแต่ละมามหาวิทยาลัย
เมืองไทยปัจจุบัน หลักสูตรของ com sci มัน เน้นไปด้าน com eng ครับ
สำหรับบทความข้างล่างจะพูดถึงด้านของ เป้าหมาย ของศาสตร์ com sci และ com eng มากกว่านะคับ
=================================================
Computer Science เป็น Science จริงหรือ ?
คำตอบคือ ไม่เป็น คำว่า Science นั้น มีความหมายว่า การศึกษาธรรมชาติ โดยการสังเกตุ หรือ การใช้เหตุผล จากตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่า Computer science นั้น จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่ Science เพราะ Computer ไม่ใช่ ธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ Computer Science ยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ Computer ซึ่งก็คล้าย ๆ ว่า จะเป็น Science ได้ จึงมีการตั้งให้ Computer Science อยู่ในกลุ่มของ Applied Science สิ่งที่เราต้องแยกให้ออกคือ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน Computer Science ไม่ใช่สิ่งที่เราค้นพบ แต่เป็นสิ่งที่เราคิดค้นมันขึ้นมา ซึ่งต่างกับ Science เช่น ทุกอย่างใน Physics เกิดจากการค้นพบธรรมชาติ และนั้นแหละจึงเป็นเหตุผลที่เราอยู่ใน Applied Science แต่ไม่อยู่ใน Science
Computer Science ต่างกับ Computer Engineering อย่างไร ?
สิ่งที่แยกของ Computer Science ออกจาก Computer Engineering อย่างชัดเจนคือ Computer Science นั้น เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับ การคิดค้น การก่อตั้ง ทฤษฏี ที่เกี่ยวกับ Computer ส่วน Computer Engineering นั้น เป็นศาสตร์ที่ศึกษา ทฤษฎีเหล่านั้น และนำไปประยุกต์ใช้กับโลกความเป็นจริง งานที่ Computer Science ทำนั้น จะเกี่ยวกับการวิจัยซะมากกว่า เช่น ศึกษาว่า โปรแกรมสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง, หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนโลกนี้, โปรแกรมควรจะเก็บข้อมูลในรูปแบบใด เพื่อที่จะทำให้ค้นหาข้อมูลได้เร็วที่สุด และอื่น ๆ ซึ่ง Computer Science จะศึกษาเรื่องเหล่านี้ และพัฒนาทฤษฏีขึ้นมาเรื่อย ๆ เพื่อให้ Computer Engineering นำไปใช้
ทำไมคนที่เรียน Computer Science กับ Computer Engineering ถึงมักจะทำได้ทั้งสองอย่าง ?
เหตุผลแรก คือ ทุกอย่างที่ Computer Science คิดขึ้นมา มีเป้าหมายเพราะต้องการประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เช่น ถ้าเราใช้วิธีการตามทฤษฎีนี้แล้ว เราจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เหมือนกับ Physics ที่ทุกทฤษฏีที่ค้นพบคือความจริงทางธรรมชาติ เช่น บนโลกของทุกอย่างต้องตกลงสู่พื้น เราจะเห็นว่า ทฤษฎีใน Computer Science นั้นเปลี่ยนแปลงไปเสมอ หากมีคนสามารถสร้างทฤษฏีใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าของเก่าได้ และ เนื่องจาก Computer Engineering เป็นผู้ที่ใช้ทฤษฎีเหล่านี้ เป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาในโลกจริงนั้นได้ดีกว่า คนที่เรียน Computer Engineering จึงมักจะคิดทฤษฎีของตนเองด้วย ส่วนคนที่เรียนด้าน Computer Science ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ทั้งปัญหาในโลกจริง และทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับ Computer Science ด้วย ดังนั้นคนจากทั้งสองศาสตร์จึงมักจะทำงานแทนกันได้ เพียงแต่มีความรู้หนักไปคนละทางเท่านั้นเอง ในอินเตอร์เน็ทมักจะมีคนกล่าวว่า “Computer Science ไม่ศึกษาเกี่ยวกับ Hardware” คำกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด Computer Science มีความเกี่ยวข้องกับทุกอย่างเกี่ยวกับ Computer เช่น com-sci นั้นศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของวงจร Computer โครงสร้างของ CPU สร้าง โครงสร้าง CPU ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นก็เกี่ยวกับ Hardware ไม่ใช่เหรอ ? เหตุผลที่สอง คือ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา เราจะเห็นได้ว่า คนที่จบมาเพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ มักจะไม่มีงานทำ เพราะในประเทศไทย ไม่มีบริษัท หรือ องค์กรที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ Computer ดังนั้น Computer Science ในประเทศไทย จึงมักจะสอนให้นักเรียนมีความรู้ด้าน Computer Engineering เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้กลุ่มคนที่เรียน Computer Science และ กลุ่มคนที่เรียน Computer Engineering ไม่แตกต่างกันมาก จริง ๆ แล้วเป้าหมายสูงสุดของ Computer Science ค่อนข้างชัดเจนนะครับ คือเราเรียน Computer Science เพื่อที่จะเป็น นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ Computer Scientist นะครับ ไม่ใช่ Programmer อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ
สำหรับน้อง ๆ ที่ตัดสินใจจะเข้า Computer Science พี่ก็อยากให้น้องเข้า เพราะสิ่งนี้มันคือสิ่งที่น้องต้องการจริง ๆ นะครับ อย่าเข้าเพียงเพราะมีงานรอเยอะ อย่าเข้าเพียงเพราะประเพณีไทยมันสั่งให้ต้องเข้ามหาลัย อย่าเข้าเพียงเพราะพ่อแม่ต้องการให้เข้า คิดให้ดีว่าน้องต้องการอะไรจากการศึกษา คิดให้ดีว่าน้องต้องการมันจริง ๆ หรือเปล่า ค้นหาตัวเองให้เจอและทำตามที่ใจต้องการ ขอให้น้องทุกคนโชคดีครับ
รวบรวม และเรียบเรียงจาก
http://www.pantip.com/tech/comsci/topic/CT1952225/CT1952225.html