วันนี้ผมเซ็ง ๆ เล็กน้อยกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ คน ในเรื่องการเลือกหนังสือเอามาอ่านประกอบการเรียน หรือแม้แต่เอามาอ่านเพื่อเสริมความรู้ด้านที่ตนขาดหายไป ส่วนใหญ่แล้วจะถามในคำถามที่ไม่แตกต่างกันคือ “หนังสือเล่มไหนอ่านแล้วครอบคลุม เนื้อหา” หรือ “หนังสือเล่มไหน อ. ออกสอบในนั้น” รวมไปถึงบางครั้งก็ถามที่ตัวอาจารย์ท่านเองว่า “อ. ครับ เล่มไหน อ. เอาออกข้อสอบ” กลับกลายเป็นว่าหลาย ๆ คนยึดมั่นถือมั่นกับหนังสือที่จะทำให้ได้มาซึ่งคะแนน มากกว่าความรู้ที่ตนเองจะได้เสียอีก บางเล่มก็ห่วยแตกสิ้นดี บางเล่มก็ดี อธิบายละเอียดดีมาก แต่เล่มใหญ่ไปหน่อย อันนี้ก็พอทน
ซึ่งผมอยากจะบอกแบบนี้ว่า ไม่มีหนังสือเล่มไหนหรอกที่จะมีให้ครบทั้งหมด ทั้งมวลในนั้น หรือแม้แต่ดีที่สุด ไม่ว่าจะ Text Book เอง หรือแม้แต่ภาษาไทยของเราเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะสอนในเชิงการใช้งานในระดับพื้นฐานในด้านต่าง ๆ มากกว่าการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนอ่านจะไม่ชอบ เพราะว่ามันมองอะไรไม่ออก หรือทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามารถนำไปสู่การเขียนโปรแกรม/ซอฟต์แวร์ระดับใหญ่ ๆ ได้
เหตุนั้น ไม่ใช่เพราะคนเขียนไม่อยากเขียน หรือไม่มีความสามารถ เพียงแต่ในด้านการประยุกต์ และปรับใช้นั้นเป็นงาน ที่เราต้องศึกษาและร่วมรวมเอามายำรวมกันเอง โดยใช้หลักประยุกต์ต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาในเรื่องแรก ๆ ของการเรียนด้านการเขียนโปรแกรม/ซอฟต์แวร์ คือพวก logic/algorithm นั้นเอง
นั้นหมายความว่า ถ้าเพิ่งเริ่มต้นจาก 0 แล้วแนะนำว่าให้อ่านหนังสือมาก ๆ ไม่ต้องเลือกว่าจะตรง หรือไม่ตรงกับที่สอน จะออกสอบหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะว่าทุกอย่างที่คุณอ่าน มันไม่ได้ใช้แน่นอน ไม่มากก็น้อยเลยหล่ะ
ผมยังจำได้ดีในวันที่ผมตัดสินใจซื้อหนังสือคอมฯ ในเดือนแรก เดือนนั้นผมหมดไปกับเรื่องนี้เกือบพันกว่า เพราะว่าผมซื้อทุก ๆ เล่ม ทุกยี่ห้อ ผมจำได้ ผมซื้อตั้งแต่ computer today ยังแถม computer mart ฉบับแรก ที่เป็นหนังสือพิมพ์ (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น commart) แถมซื้อทุกยี่ห้อมานั่งอ่าน ศึกษามันดะไปหมด ทำอย่างนี้ไปสัก ปีกว่าๆ เริ่มรู้ เริ่มเข้าใจหลักการซื้อหนังสือคอมฯ มากขึ้น ก็เริ่มเลือกหนังสือว่าจะเอาเล่มไหน ไม่เอาเล่มไหน ก็เริ่ม ๆ ลดบาง เพิ่มบาง ไป ๆ มา ๆ ในตอนนี้ก็เหลือแค่ 2 เล่มคือ PCWorld และ PCMagazine ที่อ่านประจำ แต่ก็มีพ่วง ๆ บางเดือนที่อาจจะสนใจในบางเรื่องก็แนบๆ มาบาง 1 – 2 เล่ม แต่ก็ไม่ได้อ่านแต่หนังสือพวกคอมฯเท่านั้น ก็อ่านพวกแนว ๆ วิทยาศาสตร์, ปรัชญา, ธุรกิจ , ชีวประวัติ ต่าง ๆ เป็นต้น
ก็อ่านให้ได้ความรู้มากขึ้น ได้เข้าใจโลก เข้าใจอะไรมากมายมากขึ้น ซึ่งทุก ๆ อย่างที่เราอ่าน มันก็ยังคงอยู่ในหัวผม เอามาปรับใช้ในการทำงาน และรวมไปถึงการติดต่องานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
อีกทางหนึ่งคือการค้นหาข้อมูลจาก Google (ใช้บ่อยเพราะเร็วดี), MSN Search, Yahoo และ Copernic Search เพื่อหาข้อมูลในการแก้ปัญหา, หาความรู้ใหม่ ๆ , ทำรายงานต่าง ๆ โดยทำอยู่ทุกวัน ยิ่งถ้าเราทำงานที่ใหญ่ ๆ บางครั้งต้อง Optimize Code เราก็ต้องหาหลักการ หรือพวกรูปแบบที่ทำงานได้เร็ว ๆ ซึ่งบางครั้งเราก็ต้องมากนั่งแกะ Code ชาวบ้านเค้าว่าเค้าทำอะไรบ้าง ทำยังไง ถึงได้เร็ว ได้ทำงานได้ไม่มีปัญหา ซึ่งมันทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และเพิ่มพูนทักษะ ในการต่อยอดต่อไปด้วย
ยิ่งพวก Technology ต่าง ๆ มันไม่หยุดนิ่ง เช่น .NET 1.0 –> .NET 1.1 –> NET 2.0 หรือ MySQL 4.x –> MySQL 5.0 ยิ่งทำให้เราต้องยิ่งรู้ทัน ใน feature ใหม่ ๆ และเข้าใจว่าสมควรหรือไม่อย่างไรในการเอามาทำงาน ในการทำงานต่าง ๆ ของเราหรือไม่ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราเอามาประยุกต์ใช้ได้ถูกทางมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้จากการประยุกต์นี้ นั่นคือประสบการณ์การที่ได้จากการรับข้อมูลข่าวสารจากหลาย ๆ แหล่ง เอามากรองเข้าด้วยกันจนได้สิ่งที่ดีกว่า