วีร์ วีรพร และ รวิทัต ภู่หลำ (เดฟ) นั่งคุยกันเรื่องเกี่ยวกับ Apple และ Macintosh อย่างจริงใจ อุดมไปด้วยสาระ การวิเคราะห์ผ่านมุมมองส่วนตัว ให้คำแนะนำและคาดการณ์อย่างมีหลักการ ในบรรยากาศแบบคนรักแมคฝีปากเก่งสองคนมานั่งถกกันสดๆ
ร่วมด้วยช่วยกันแนะนำครับ
Human knowledge belongs to the world!
วีร์ วีรพร และ รวิทัต ภู่หลำ (เดฟ) นั่งคุยกันเรื่องเกี่ยวกับ Apple และ Macintosh อย่างจริงใจ อุดมไปด้วยสาระ การวิเคราะห์ผ่านมุมมองส่วนตัว ให้คำแนะนำและคาดการณ์อย่างมีหลักการ ในบรรยากาศแบบคนรักแมคฝีปากเก่งสองคนมานั่งถกกันสดๆ
ร่วมด้วยช่วยกันแนะนำครับ
จากที่ได้อ่านเรื่อง Intel isn’t the only game in town “Why Not AMD ?” ในหนังสือ Mac World ฉบับมกราคม 2005 เมื่อกี้นี้ ได้อ่านบทวิเคราะห์ในเรื่องของการที่ Apple ไม่ใช้ Chip CPU Intel ว่า
“Jobs has a clear goal in mind: innovative design. And such designs require ultralow-voltage chips, which IBM and Freescale weren’t going to make with the PwerPC ship core and which AMD has not yet perfected”
แปลประมาณว่า jobs เนี้ยต้องการ Chip ที่ Design ในลักษณะ ultralow-voltage ซึ่ง IBM เองนั้นไม่สามารถทำให้ได้ และ AMD ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบพอ
และยังต่ออีกว่า “นี่เป็นความเหมาะสมในทางปฎิบัติ ซึ่งต้องทำอย่างจิงจัง โดยการตัดสินใจของ Jobs เอง”
โดยในงาน IDC (Intel Developer Con.) นั้นทาง Intel ได้บ่งบอกถึงสายการผลิตที่สมบูรณ์ของ chip ที่ใช้พลังงานต่ำ (low-power) ที่ใช้ในตลาด mobile และ computer ขนาดเล็ก
Jobs นั้น ก็ชอบ AMD ในเรื่องของการใส่คุณสมบัติต่างๆ มากมาย ใน road map แต่ว่า นั้นก็ทำให้เกิดปัญหาที่มองข้ามไม่ได้คือ “ทุกๆ อย่างที่อยู่ใน road map ต้องเป็นไปได้ทั้งหมด” และในอนาคตอันใกล้นี้ AMD ก็ยังไม่สามารถออก low-voltage และ ultralow-voltage processors ได้แน่นอน ซึ่ง AMD ยังต้องพัฒนา chip ที่ทำงานได้ในสถาพการใช้พลังงานที่ต่ำแบบเดียวกับ Pentium M และรวมไปถึงการที่สามารถขายในราคาที่ยอมรับได้ด้วย และต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการรับ load การผลิตที่สูงๆ ได้ตามที่ตลาดของ Apple ต้องการ
โดยตัวเลือกจาก Intel ที่ Apple ได้เลือกในตอนนี้คือ Yonah ที่เป้น low-power/dual core ship ที่เอามาใช้สำหรับ Notebook โดย Yonah นั้นจะจำหน่ายในปี 2006
“Yonah นั้นมีสิ่งที่เหมาะสมกับ Apple โดยที่ Yonah นั้นจะเป็นตัวจักรสำคัญให้กับกับ Apple notebook ได้ ซึ่ง AMD นั้นยังคงกำลังพัฒนา low-power, dual core chip ที่บาง และเล็ก เพื่อใช้ใน notebook อยู่ แถมก็ยังไม่ได้บอกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะสำเร็จ แต่ว่า Yonah นั้นเป็น x86 Architecture ซึ่ง Apple ต้องทำให้ softwae ที่ทำงานบน x86 Architecture ได้อย่างสมบูรณ์เสียก่อนด้วย” Kevin Krewell, editor in chief of Microprocessor Report กล่าว
ในด้าน Performance นั้น Intel และ AMD นั้น ในการต่อสู้กับในตลาดมายาวนาน ดูเหมือนจะพลัดกันแพ้ชนะมาเรื่อย และบริษัททั้งสองก็มี dual core chip ที่มีความร้อนสูงอยู่ และแถมยังไม่สามารถทำความเร็ว clock speed ได้สูงไปกว่าที่เป็นอยู่ได้มาเป็นเวลานานแล้ว
ซึ่ง Intel จะจัดการกับปัญหานี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2006 นี้ โดยจะเป็น low-power, dual-core chips โดยที่ Brookwook จาก Intel ยืนยันหนักแน่นว่าจะใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเดิม และมี performance มากขึ้น แต่จะไม่ปรับ Mhz ให้สูงขึ้น
โดยที่ “Intel ได้เลิกความคิดในเรื่องของสงครามตัวเลข Mhz ไปแล้ว และมันคงเป็นสิ่งที่ Jobs ต้องการได้ยิน ซึ่ง Jobs คงไม่ต้องการได้ยินการลดความเร็ว clock speed ของ Intel มากกว่าที่ PowerPC ได้ทำไว้” Brookwook จาก Intel ได้กล่าวไว้ และทิ้งท้ายไว้ว่า “Application performance ของ Mac นั้น คงไม่ต้องการ chip ที่มีความเร็วต่ำกว่าที่ควรจะเป็น”
มันเป็นไปได้ไหมว่าว่า Apple อาจจะใช้ AMD Processor ในอนาคต หลังจากที่ Transition ไป x86 Architecture แล้ว ? นาย Brookwood ได้กล่าวว่า “สำหรับ Apple แล้วนั้น การที่จะย้ายไป AMD นั้น ทาง AMD ต้องมี low-power chip เสียก่อน ซึ่ง Intel ของเรานั้นมี สินค้าในส่วนที่ ที่มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ อยู่แล้ว และคงเป็นการยากที่จะทำในหลายๆ เรื่อง”
Apple Computer เริ่มที่จะดำเนินการเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์ จากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมต่างๆที่ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องเล่นเพลงดิจิตอล iPod แล้ว หลังจากที่ดูผู้ผลิตรายอื่นทำรายได้จากการผลิตอุปกรณ์เสริม ที่เชื่อมต่อกับเครื่องเล่นเพลง iPod มาเป็นระยะหนึ่งแล้ว Apple ก็ตัดสินใจที่จะทำการเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์ จากบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับ iPod รุ่นต่างๆแล้ว โดยจะเก็บเงินจากผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับ iPod ผ่านทางพอร์ทเชื่อมต่อเท่านั้น สำหรับเคสหรืออุปกรณ์เพิ่มความสวยงามต่างๆนั้นจะยังไม่ถูกเก็บค่าลิขสิทธิ์นี้ ซึ่งผู้ผลิตที่จ่ายเงินให้กับ Apple แล้วก็จะสามารถนำโลโก้ "Made for iPod" ไปติดที่สินค้าของตนได้ โดยบริษัทที่จ่ายเงินให้กับ Apple ก็จะได้รับการสนับสนุนทางเทคนิค รวมถึงข้อมูลใช้งานต่างๆของพอร์ทเชื่อมต่อที่ใช้ใน iPodด้วย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยว่า Apple จะมีมาตรการอย่างใดต่อบริษัทที่ไม่ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์นี้ ซึ่งขณะนี้ก็มีบริษัทหลายรายที่ตอบตกลงที่จะจ่ายเงินให้กับ Apple แล้วถึงแม้ว่าค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะค่อนข้างเป็นจำนวนเงินสูงมากก็ตาม โดยขณะนี้ทาง Apple เองก็ปฏิเสธที่จะเปิดเผยถึงรายละเอียดในการเก็บเงินดังกล่าว แต่ก็มีแหล่งข่าวใกล้ชิดของ Apple เปิดเผยว่าค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวนั้นจะเก็บเป็นส่วนแบ่งจำนวน 10เปอร์เซ็นต์จากยอดจำหน่ายของอุปกรณ์เสริมนั้นๆ http://www.pantip.com/tech/newscols/news/191005b.shtml —————–
จากการวิเคราะห์ของผมเองแล้วเนี่ย ราคาอุปกรณ์เสริม คงจะไม่สูงขึ้นมากไปกว่า 5% จากราคาเดิม ใน lot การผลิตต่อไปหลังจากที่ทำการเซ็นสัญญากับ Apple แล้ว
แล้วผลประโยชน์ที่ได้รับ น่าจะมากกว่า เพราะว่าได้รับข้อมูลด้านระบบเชื่อมต่อจาก Apple โดยตรงแทนการ Re-engineering แบบเก่า ทำให้น่าจะมีผลกับอุปกรณ์เสริมที่หลากหลายมากขึ้น เราอาจะได้เห็นอุปกรณ์เสริม สำหรับฟัง FM ได้ในอนาคต หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เสริมการทำงาน พวก Bluetooth ที่ใส่กับ iPod ได้ด้วยครับ ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงน่าจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในคุณภาพสินค้า ที่ผลิตออกมาได้ดีขึ้นครับ คล้ายๆ กับ Stricker ที่เป็นตรา Intel inside หรือพวก Design for Windows อะไรพวกนี้ครับ
รายงานสดจากเว็บ http://live.ilounge.com/ ในวันนที่ 13 ต.ค. 48 เวลา 0:45:00 ครับ
ร่วมรายงานพร้้อมกับคุณ Kangg แห่ง Siampod.com ครับ
13 ต.ค. 48 เวลา 0:48:01
—————————————– 13 ต.ค. 48 เวลา 0:50:36 ภายในเวลา 17 วัน iPod Nano ขายได้ 1 ล้านตัวไปแล้ว
New !!! iPod
—————————————– 13 ต.ค. 48 เวลา 1:08:28 New !!! iTunes 6
Podcasting หรือ Podcast คือขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news
มันเริ่มได้รับความนิยมประมาณปลายปี 2004 ที่ผ่านมา ตัว feed news นี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวด์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ computer หรือ portable music player (เรียกติดปาก ว่า mp3 player)
คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำคว]มาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod = Podcasting นั้นเอง
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ “อุปสงค์ส่วนบุคคล” นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น PODcasting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ
Podcasting นั้นทำงานโดนการที่ใช้ RSS 2.0 XML หรือ RDF XMLที่เป็นไฟล์ format มาตรฐานของ XMLที่เป็นไฟล์แบบเปิด โดย Podcasting จะเปิดทำงานแบบอิสระต่อการจัดการ และทำสื่อส่วนตัวต่างๆ โดยตัว Podcasting นั้นเป็นสื่อกลางระหว่างไฟล์เสียง, วีดีโอ หรือมัลติมีเดียอื่นๆ อีกมากมาย กับผู้ใช้งานอีกทีหนึ่ง
การทำงานของ Podcasting มีขั้นตอนคือ ผู้ใช้ได้รับ URL ของ Podcasting แล้วใส่ในซอฟต์แวร์ Podcasting Reader หรือ RSS Reader ยี่ห้อต่างๆ ในที่นี้ของใช้คำสั้นๆ ว่า Podcasting Reader ในทีเดียวเลย ผู้ใช้ทำการร้องขอต่อ URL นั้นๆเพื่อทำการปรับปรุง index หรือสารบัญ ของ Podcasting เจ้าตัว Podcasting Reader จะวิ่งไปที่ URL ที่กำหนดดังกล่าว เพื่ออ่าน ไฟล์ XML ซึ่งจะอ่านว่ามีรายละเอียดต่างๆ ภายในนั้นอาจจะมีพวก ชื่อรายการ, ชื่อผู้จัดทำ, วันที่จัดทำ , ฯลฯ ซึ่งจะทำการส่งรายละเอียดต่างๆ นั้นมาไว้ที่ซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อบอกรายละเอียด และรอให้เราทำการร้องขอไฟล์มีเดียนั้นอีกที และเมื่อร้องขอไฟล์ที่เราต้องการแล้ว เจ้าตัว Podcasting Reader จะเข้าไปอ่านที่ไฟล์ XML เดิมอีกที หรืออ่านไฟล์ XML ดังกล่าว (ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่าจะเก็บไฟล์ทื่อ่านเพื่อทำ cache หรือ่านทุกๆ ครั้งผ่าย Internet) เมื่อทำการอ่านไฟล์ XML ในนั้นจะบอกซอฟต์แวร์ของเราว่าไฟล์มีเดียนั้นๆ เก็บอยู่ที่ใด เพื่อทำการไปโหลดที่ต้นทางจริงๆ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ Podcasting Reader จะทำการดาวด์โหลดไฟล์มีเดียมาใส่ในที่อยู่ใดๆ ใน Hard drive ของเราเอง จะเห็นได้ว่าเจ้า ตัวระบบ Podcasting เนี่ยเป็นเพียงสื่อสารระหว่างไฟล์มีเดียต่างๆ กับผู้ใช้เพื่อง่ายแก้การจัดการเป็นศูนย์กลางเพื่อทำการจัดเก็บไฟล์ และค้นหาไฟล์นั้นเอง
แต่ที่นิยมในตอนนี้เป็น Podcasting แบบ Radio Shows มากกว่าเพราะทำง่าย เผยแพร่ง่ายด้วย
โดยไฟล์มีเดียที่นิยมในการจัดเก็บและเผยแพร่คือ MP3 นั้นเอง โดยมี bit rate ที่ 32 k bps ขึ้นไป ส่วที่ตามมาติดๆ ก็ ACC นั้นเอง
โดยจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำการอัดเสียง และบันทึงเสียงเป็นไฟล์ MP3 ก็ได้เช่นกัน โดยโปรแกรมที่อยากแนะนำคือ Audacity ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ ฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็น open source software สำหรับบันทึกเสียง และปรับแต่งเสียงซึ่งทำงานได้บน Mac OS X, Microsoft Windows และ GNU/Linux ซึ่งทำงานได้ดีมากเช่นกัน
เอกสารอ้างอิง