การขอข้อมูลในแอปเกินความจำเป็น และข้อมูลส่วนตัวของเรา ไม่ใช่ของนักพัฒนาแอป แม้เก็บข้อมูลไปแล้วก็ตาม

ผู้พัฒนาแอปที่มีการขอ permission จาก OS อย่าง iOS หรือ Android หรือจากบริการบนเว็บอย่าง Facebook หรือTtwitter ควรขอ permission เพียงส่วนที่จำเป็นต้องใช้ จะขอเผื่อๆ ไว้ ก็ควรยอมรับคำถามของผู้ใช้บริการด้วยว่าขอไปเผื่อทำไม จัดเก็บอย่างไร เอาไปทำอะไรบ้างอย่างชัดเจน และเป็นทางการ

การมาต่อว่าดราม่าใส่คนตั้งคำถามต่อการขอ permission ถือเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาแอปไม่ควรทำ เพราะมันเป็นเรื่องความรับผิดชอบที่ควรชี้แจงและอธิบายให้สิ้นสงสัยอย่างเป็นมิตร

ส่วนผู้ตั้งคำถามจะยอมรับคำตอบหรือไม่ ถือเป็นสิ่งที่นักพัฒนาต้องยอมรับผลที่ตามมาเอง เพราะสิ่งที่นักพัฒนาขอไปนั้น คือ “ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น เขามีสิทธิ์ในการตั้งคำถามที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของเขา ไม่ใช่นักพัฒนาที่ไปเก็บข้อมูลแล้วยึดสิทธิ์ในข้อมูลส่วนตัวของเขาไป เพราะข้อมูลที่จัดเก็บไป เราไม่ได้ให้ความยินยอมในสิทธิ์ของข้อมูลนั้นตลอดไป เราเพียงให้สิทธิ์ในการนำไปใช้เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น”

แน่นอนว่า เมื่อตอบไปแบบนี้ เราก็จะเจอความคิดเห็นกลับมาเพิ่มเติมว่า “ก็เราเป็นคนกดยินยอมให้เค้าไปเอง แล้วจะบ่นอะไรอีก คงเอากลับคืนมาไม่ได้แล้ว” ซึ่งหากมองในมุมนี้ นั้นหมายถึงผู้ออกความคิดเห็นชุดนี้ มิได้ตระหนักถึงสิทธิ์ในข้อมูลส่วนบุคคลของตนเท่าใดนัก ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่ยอมรับได้ และเราควรสร้างความตระหนักว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิ์ของเราที่จะให้ใครดูแล และไม่ให้ใครดูแลก็ได้ ซึ่งแอปที่ทำตามข้อเรียกร้องนี้ได้อย่าง Facebook หรือ Twitter เองมีความสามารถในการ Delete Account เพื่อลบข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ออกไปจากระบบ และบริการ social network หรือแอปรายอื่นๆ ที่มีความโปร่งใส ก็มักจะเห็นความสามารถในการ Delete Account อยู่เสมอ เพราะกฎหมายในหลายประเทศระบุให้ทำบนพื้นฐานสิทธิ์ข้างต้น หากบริการใดๆ จะแสดงออกซึ่งการควบคุมดูแลในการให้บริการที่โปร่งใส ใส่ใจต่อสิทธิ์ในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ก็ควรจะต้องมีความสามารถดังกล่าวด้วย

สุดท้าย ในร่างกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับล่าสุด (เท่าที่หาได้) มีระบุไว้ชัดเจนในเรื่องราวข้างต้น และหากว่าร่างกฎหมายนี้มีการปรับแก้ และหวังว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ มันจะถูกบังคับใช้ นั้นหมายความถึงบริการ และแอปทุกๆ ตัว ต้องรองรับการร้องขอนี้ด้วยเช่นกัน

2016-06-05_124631

หมายเหตุ
ไฟล์รูปได้มาจากส่วนหนึ่งในเอกสาร “ร่างพ.ร.บคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ฉบับความมั่นคงดิจิทัล)”
อ้างอิงจาก http://ilaw.or.th/node/3405

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่จัดเก็บภาษีในการซื้อแอพบนมือถือ

อย่างแรกคือ ของซื้อ-ของขาย ซึ่งมีธุรกรรมจัดเก็บผลประโยชน์อย่างชัดเจนโดยทั่วไปยังไงก็ต้องจัดเก็บภาษีครับ ตัวอย่างข้อกำหนด และการตั้งค่าเกี่ยวกับภาษีที่มีอยู่ในระบบซื้อขายแอพในแต่ละบริษัทผู้ให้บริการอยู่มานานแล้ว ซึ่งได้แก่

จะเห็นได้ว่า อย่าง Google Play ก็มีอ้างอิงว่าประเทศใดบ้างที่จัดเก็บภาษีโหลดแอพ อย่างชัดเจน (ของผู้ให้บริการซื้อขายแอพอื่นๆ ไม่มีระบุไม่ใช่ว่าไม่มี แต่อาจจะเพื่อง่ายต่อการทำให้เอกสารล่าสุดเสมอ) ส่วนตัวมองว่าอย่ามโนไปเองว่าเราเป็นประเทศแรกที่จัดเก็บ ยังมีอีกนับสิบประเทศที่นำหน้าไปก่อนเราแล้ว ทั้ง Google, Apple และ Microsoft ต่างมีข้อกำหนดเรื่องนี้รองรับไว้อยู่นานแล้ว

ส่วนประเด็นว่าผู้บริหารประเทศจะใช้ภาษียังไง ถูกใจเราหรือไม่ และได้ประโยชน์อย่างไร อย่าเอามาปนกันเวลารัฐเรียกเก็บภาษีกลุ่มสินค้าใหม่ๆ เพราะสรรพากรมีหน้าที่เก็บภาษีให้ได้มากที่สุดบนความเป็นไปได้ (เก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม) การบ่นว่ารัฐบาลโกงแล้วไม่เสียภาษีไม่ใช่การบอกว่าเราทำถูกต้องครับ

แนะนำเกม FIFA 13 บน Windows phone 8 (Exclusively for Nokia Lumia)

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 56 ที่ผ่านมา EA และ Nokia ได้เปิดตัว FIFA 13 บน Xbox Windows Phone โดยเปิดตัวเฉพาะมือถือ Windows phone 8 ภายใต้แบรนด์ Nokia Lumia เท่านั้น

78cdf485-a086-497a-af63-012cc34fa58a wp_ss_20130710_0014

Buy FIFA 13 – ราคา 165 บาท ($4.99)

โดยตัวเกมนั้นมีลีคให้เล่นได้กว่า 30 ลีค 500 ทีม ข้อมูลผู้เล่นอีกประมาณ 15,000 คน และสนามที่ใช้ในการแข่งขันกว่า 32 สนาม

คำแนะนำก่อนซื้อ
ตัวเครื่องที่จะเล่นเกมนี้ได้ ต้องเป็น Nokia Lumia ที่เป็น Windows phone 8 ติดตั้ง Xbox app และมี RAM 1GB ขึ้นไปเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ตัวเกมเปิดตัว) ฉะนั้น ณ วันนี้ (10 ก.ค. 2556) จะใช้ได้กับ Nokia Lumia 810, 820, 822, 920, 925 และ 928 เท่านั้น

ดูภาพและการควบคุมภายในเกมได้จากด้านล่างที่ผู้เขียนได้ซื้อและลองเล่น

wp_ss_20130710_0018

wp_ss_20130710_0015

wp_ss_20130710_0017

wp_ss_20130710_0003

wp_ss_20130710_0004

wp_ss_20130710_0016

wp_ss_20130710_0009

wp_ss_20130710_0010

แสดงนัดหมายได้มากขึ้นกับ Simple Calendar สำหรับ Windows phone 8

Download Free (มีโฆษณา แต่สามารถนำออกได้ด้วย In-App Purchase)
Simple Calendar App (for Windows phone 8) 

dcec1e3c-6270-457e-af68-8bd918d36309 wp_ss_20130704_0001 

มาวันนี้จะแนะนำ App ตัวช่วยเพื่อแสดงนัดหมายจาก Calendar ของเครื่องอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เราใช้งาน เข้าถึงตัวปฏิทินและนัดหมายได้ดีมากขึ้น โดยมีความสามารถหลักๆ ดังต่อไปนี้

แสดงผลนัดหมายที่หน้า Tile ได้มากถึง 3 รายการจากตัวปรกติที่ 1 รายการ

wp_ss_20130704_0002 wp_ss_20130704_0003 

wp_ss_20130704_0004 wp_ss_20130704_0005 

การแสดงผลข้อมูลนัดหมายของวันที่เลือกในหน้าแสดงผลรายเดือน โดยไม่กระโดดข้ามไปหน้ารายการนัดหมาย แล้วต้องกลับมาหน้ารายเดือนอีก ลดความสับสนและเพิ่มความรวดเร็วในการใช้งานได้มาก

การเพิ่มเติมนัดหมายทำได้ด้วยการเพิ่มจากตัว Simple Calendar ได้ทันที โดยตัว app จะทำการเพิ่มเติมลงใน Calendar หลักของ Windows phone ให้เราโดยไม่ต้องไปเพิ่มซ้ำซ้อนกัน หรือถ้าเพิ่มที่ Calendar หลักของเครื่องก็จะมาโผล่ที่ตัว Simple Calendar เช่นกัน (Calendar ที่เชื่อมกับ Cloud ต่างๆ จะ sync ให้ตามปรกติเหมือนใช้ Calendar หลักเลย)

แต่มีข้อสังเกตุว่า สำหรับการแก้ไขและลบนั้นต้องทำผ่าน Calendar หลักของ Windows phone เท่านั้น ไม่สามารถทำผ่าน Simple Calendar ได้

wp_ss_20130704_0006 wp_ss_20130704_0007 

wp_ss_20130704_0008 wp_ss_20130704_0009

สำหรับการตั้งค่านั้นสามารถตั้งค่าการแสดงผลในส่วนของ Tile ในแบบต่างๆ ได้ ทั้งแบบสีพื้นสีดำสำหรับใช้วางไว้ด้านบนสุดของตัวเครื่อง หรือแบบสีพื้นเดียวกับที่ตั้งไว้ใน settings ก็สามารถทำได้

ในด้านการแสดงนัดหมายบนหน้า lock screen สามารถทำได้เช่นกัน โดยจะทำ overlay ด้านบนตัว background image และปรับขนาด สีและความโปร่งใสต่างๆ รวมไปถึงจำนวนของนัดหมายที่จะแสดงในหน้า lock screen ได้ด้วย ทำให้เราใช้หน้า lock screen ในคุ้มค่ามากขึ้น

สำหรับการปรับแต่งในส่วนอื่นๆ สามารถทำได้ซื้อการปรับแต่งพื้นหลัง Tile จาก In-App Purchase ได้ แต่ส่วนตัวแล้ว ใช้ตัวมาตรฐานมาก็เพียงพอแล้ว (สีพื้นกับสีดำก็โอเคแล้ว)

หวังว่าจะช่วยให้การแสดงผลนัดหมายใน Windows phone 8 บน Calendar ของเพื่อนๆ ใช้พื้นที่ Tile ได้อย่างมีประโยชน์มากขึ้นครับ

Itsdagram App แบบไม่เป็นทางการของ Instagram บน Windows phone เปลี่ยนชื่อเป็น Instance แล้ว!

Instance เป็นชื่อใหม่ของ Itsdagram ที่เป็น App แบบไม่เป็นทางการของ Instagram บน Windows phone พัฒนาโดย Daniel Gary

เหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจาก Itsdagram มาเป็น Instance เนื่องจากทาง Microsoft ส่งข้อมูลขอความร่วมมือในการเปลี่ยนชื่อไปใช้ชื่ออื่นเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ชื่อไปสอดคล้องกับชื่อ Instagram ที่มีอยู่เดิม ซึ่งคาดว่า Microsoft คงกลัวว่า Itsdagram จะมีปัญหาในภายหลัง เลยต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลมเสียก่อน ทางผู้พัฒนาจึงตั้งโหวตชื่อใหม่ (อ้างอิงจากข่าว Vote Now: Here are the 5 choices for the new Itsdagram name!)โดยสุดท้ายได้ชื่อว่า Instance เป็นข้อสรุป (อ้างอิงจากข่าว You have spoken: Itsdagram will be renamed to Instance)

โดยล่าสุดที่หน้าโหลด App เดิมของ Itsdagram ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Instance เรียบร้อยแล้ว (อ้างอิงจากข่าว Instance, formerly known as Itsdagram, is now live in the Windows Phone Store)

แน่นอนว่าเปลี่ยนชื่ออย่างเดียวคงเฉยๆ แต่อัพเดทครั้งนี้มาพร้อมควมสามารถใหม่และแก้ไขข้อผิดพลาดด้วย

  • เพิ่มคุณสมบัติ Pull to Refresh
  • โหลดข้อมูลต่างๆ เร็วขึ้น (ลองแล้วเร็วขึ้นนิดหน่อย)
  • ค้นหาเพื่อนได้จาก Facebook
  • แก้ไขข้อผิดพลาดในการสมัคร

สำหรับหน้าตาของตัว App ก็มีการเปลี่ยนแปลงบ้างในหน้า Home ของตัว App ส่วนหน้าอื่นๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลงจนเห็นได้ชัดเท่าไหร่นัก

wp_ss_20130531_0010 wp_ss_20130531_0003 

wp_ss_20130531_0006 wp_ss_20130531_0005

สำหรับคนที่พลาดยังไม่ได้ลองสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ด้านล่าง หรือคนที่ต้องการ update สามารถเข้าไป update ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ App ใหม่ เพราะ AppId ตัวเดิมครับ ^0^/

309e8f44-68ed-46ae-9fe4-e3de95f00609

309e8f44-68ed-46ae-9fe4-e3de95f00609

Buy Instance (฿60)

Instance (Free with ads)

ในด้านคุณสมบัติอื่นๆ ทั้งหมด อ่านได้จากรีวิวเก่าที่ แนะนำ Instance (ชื่อเดิม Itsdagram) App เล่น Instagram บน Windows phone ที่ดีที่สุด (ณ ตอนนี้)