ลองเล่น Internet 3G ของ TrueMove H ผ่าน Aircard กันบ้างดีกว่า

ผมได้ Aircard 3G+ ของ TrueMove H มาลองใช้จากทาง TrueMove H มาได้สัก 2-3 อาทิตย์แล้ว ได้ลองใช้งานในเขตพื้นที่หนาแน่นของประชากรที่ใช้งานอยู่ 2 แห่ง ลองเล่นทั้งเวลาทำงาน เวลาหลังเลิกงานและช่วงคนใช้น้อย แล้วลองทดสอบความเร็วดูด้วย

ต้องบอกก่อนว่า TrueMove H เป็น 3G 850Mhz ที่เป็น Reseller ของ CAT (ช่วงคลื่นทั้งหมด 15Mhz) ตอนนี้กำลังขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เรื่องความเร็วของ 3G ลองอ่าน ความเร็วที่แท้จริงของ 3G ที่หลายคนอาจยังไม่รู้เวลาใช้งานจริง เสริมดูก่อนก็ได้เผื่อจะไม่เข้าใจเรื่องความเร็วที่ได้มาว่าทำไมถึงทดสอบในช่วงเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน

สำหรับตัว Package ตัว Aircard 3G+ นั้นมีตัว Aircard และ SIM แบบเติมเงินมาให้ในกล่องเลย

IMG20121028150534 IMG20121028150602

ลักษณะของ Aircard นั้นมีคล้ายๆ กับ USB FlashDrive แบบเมื่อก่อน มีส่วนที่สไลด์สำหรับใส่ SIM อยู่ด้านใน

IMG20121028150316 IMG20121028150446

ขนาดของ Aircard เมื่อเสียบกับช่อง USB ก็ถือว่ากลางๆ อาจจะใหญ่สำหรับบางคนนะ

IMG20121028150241

เสียบเข้าช่อง USB ก็มี software ให้ติดตั้ง แล้วก็ไล่ลง driver ให้ตามปรกติเลย โดย driver ก็รองรับและใช้งานได้บน Windows 8 เช่นกัน
(ผมทดสอบบน Windows 7 และ Windows 8 ในการทดสอบครั้งนี้)

2012-10-25_163516

ตัว Aircard ตัวนี้ build-in WiFi มาให้เลย เพราะฉะนั้นก็สบายใจได้ว่าเอาไปใช้งานได้สำหรับเครื่อง Desktop ที่อาจจะไม่มี WiFi (หรือต้องการควบคุมการใช้งานผ่าน Aircard อีกที) แต่ส่วนตัวคิดว่า Notebook สมัยนี้คงไม่ค่อยมีปัญหาว่าไม่มี WiFi แล้วหล่ะ

สำหรับ function อื่นๆ ในส่วนของ software นั้นมีตัวควบคุมและสั่งงานสำหรับเติมเงินต่างๆ บนตัว software ได้เลย ทำให้สะดวกเวลาต้องการเติมเงิน ไม่ต้องถอดซิมมาใส่มือถือเพื่อเติมเงินแต่อย่างใด รวมไปถึงเมื่อเงินในซิมหมด (กรณีเป็นซิมเติมเงิน) ตัว TrueMove H จะ redirect ตัว browser ให้ไปหน้าสำหรับจ่ายเงินเพื่อซื้อเครดิตหรือเติมเงินเข้าตัวซิมให้ทันทีโดยไม่ต้องไปที่ร้านค้าเพื่อซื้อบัตรเติมเงินมาเติมแต่อย่างใด

2012-10-25_163523

ผลการทดสอบด้านความเร็ว

จากที่ได้บอกไปแล้วว่าตัว Aircard คงไม่ได้มีประเด็นสำคัญอะไรมาก เพราะความเร็วสูงสุดของ H/W ที่ทำได้นั้นคงทำได้แน่ๆ อยู่แล้ว แต่ความเร็วที่สำคัญกว่าคือความเร็วของเครือข่าย TrueMove H ที่ผมได้นำมาใช้มากกว่า

โดยความเร็วนั้นถ้าเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่มีคนใช้งานเยอะ ก็จะได้ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 200-1,500kbps โดยประมาณ การตอบสนองการเรียกข้อมูลประมาณ 60-100ms เห็นจะได้ โดยผมได้ทำการทดสอบอยู่ในช่วงเวลา 17:00 น. และ 21:00 น. เพราะทดสอบในใจกลางเมืองแถวสยาม-เพลินจิต

ต่อมาเป็นการทดสอบในแหล่งที่คนไม่หนาแน่นมากและช่วงเวลาต่างกันคือ 22:00 และ 03:30 น. ความเร็วในการใช้งานนั้นเพิ่มมากขึ้น โดยจะได้อยู่ที่ 500 –2,000kbps และพอมาในช่วง 03:30 น. ก็ได้ความเร็วที่ 3-4,000kbps ในช่วงเวลาที่ไม่ค่อยมีคนใช้งาน ในพื้นที่แถวๆ อุดมสุขนั่นเอง

แต่ส่วนที่ผมประทับใจมากก็คือความเร็วในการตอบสนองการเรียกข้อมูล (latency) ที่ 50-150ms ซึ่งเราสามารถนำความเร็วในการตอบสนองต่ำขนาดนี้ไปใช้ในการโทรศัพท์ผ่าน VOIP หรือ VDO Call ได้เลยถ้าในพื้นที่ของเรามีคนใช้งานไม่หนาแน่นอนมากนัก หรือใช้ประโยชน์ในการดู TV Online ก็สามารถทำได้ลื่นไหลดีเช่นกัน

2012-10-25_164529 2012-10-25_165226 2012-10-25_170105 

จากข้อมูลโดยส่วนตัวของผมแล้วนั้น ตัว Aircard ของ TrueMove H นั้นมี software ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานซิม TrueMove H ที่ดีและมีประโยชน์มาก

โดยเมื่อมาพูดถึงเรื่องคุณสมบัติของตัวเครือข่ายนั้น ต้องบอกว่าอยู่บนพื้นฐานของความหนาแน่นของการใช้งานของลูกค้าในแต่ละบริเวณเป็นสำคัญครับ โดยพื้นที่ที่ผมทดสอบนั้นอยู่ในใจกลางเมืองย่านธุรกิจของกรุงเทพซึ่งก็ตอบสนองการใช้งานได้ในระดับที่น่าพอใจ และในช่วงเวลาที่คนใช้งานน้อยก็ทำงานได้ในความเร็วที่ดีมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเช่นกัน

ทดสอบความเร็ว dtac 3G แถวๆ อุดมสุข และหมอชิต กรุงเทพฯ

พอเค้าเปิดให้บริการก็ลองเล่นซะเลย ส่วนตัวแล้วไม่ได้เป็นกลุ่ม beta test จริงจัง (เค้าเปิดให้ผมใช้ไม่ทัน พอดีว่าแจ้งเบอร์ไปผิด ><) ผมก็เลยไม่ได้ใช้ตอนเค้าทดสอบ ส่วนตัวไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะว่ารอบเปิด dtac 3G รอบที่แล้วก็ได้ลองไปหน่ำใจอยาก  ก็เลยรอเค้าเปิดใช้ร่วมกับคนทั่วไปก็แล้วกัน

ขั้นตอนก็ง่ายๆ กด *3000# แล้วโทรออก ใช้กับ SIM ของ dtac ทุกเบอร์ ก็ใช้งานได้แล้ว ประมาณนั้น (ผมทำแค่นี้แหละ แล้วรอ sms ตอบกลับ)

การทดสอบเล็กๆ นี้ใช้คู่กับ dtac aircard flip 158 ความเร็วก็ได้ตามในภาพครับ เดี่ยวลองกับ WWAN Ericsson F5521gw‎ ดูอีกทีว่าจะยังไง

ตอนนี้ผมมี Sim 3G อยู่ 4 เจ้า i-kool 3g, imobile 3gx, AIS 3G และ dtac 3G คิดว่าเดี่ยวจะไปหา Truemove 3G มาลอง ดูเหมือนกัน

อุดมสุข

2011-08-16_021226

หมอชิต

2011-08-16_101405

แถมท้ายกับโฆษณาสักเล็กน้อย แต่บอกไว้ก่อน ดูแล้วน้ำตาซึม….

review – dtac aircard wave 102

ผมเพิ่งได้รับ aircard ตัวนี้มาได้ประมาณ 3 วัน โดยภาพรวมก่อนเลย สำหรับ aircard ตัวนี้นั้น จำหน่ายในแนวทาง “ราคาถูก เร็ว และรองรับ 3G 2100MHz” ราคาตั้งขายอยู่ที่ 1,290 บาท มาพร้อม Sim card ที่มีชั่วโมง Internet 20 ชั่วโมง โดยแบ่งให้ใช้ได้ 2 เดือน เดือนละ 10 ชั่วโมง

ภาพรวมตอนแรกที่ได้มานั้น ต้องหาก่อนว่า aircard ตัวนี้ OEM มาจากบริษัทอะไรตามธรรมเนียม ;P

เมื่อได้ลองสังเกตตอนติดตั้งแล้วเป็น aircard ที่ผลิตโดย ZTE Technologies แล้วลองหาข้อมูลลงไปแล้วมีความสามารถเดียวกับ ZTE MF626 ซึ่งคาดว่า OEM มาจากบริษัท ZTE Technologies แทนรุ่นก่อนหน้านี้ที่ dtac มักจะ OEM จาก Huawei อาจจะเพราะต้องการทำราคาให้ถูกที่สุดนั้นเอง

เมื่อ OEM จาก ZTE MF626 แน่นอนว่าเสปคเหมือนกันครับ

DSC_6393 

ได้มายังไม่ได้แกะเลยครับ

DSC_6395 DSC_6396 

กล่องบางกว่ารุ่น flip อยู่เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว

DSC_6398

  • รองรับ 3G บนคลื่น HSDPA/HSUPA/UMTS 2100 MHz
    เพราะฉะนั้นใช้ได้แต่ย้านที่เป็นของ TOT และผมคิดว่า dtac คงต้องการปูทางสำหรับ 3G 2100MHz ในอนาคตแน่นอน
  • รองรับ GSM/GPRS/EDGE 850/900/1800/1900 MHz
    สามารถใช้ได้กับทุกค่ายทั้ง dtac, AIS, และ True
  • รองรับความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 3.6Mbps
  • รองรับความเร็วอัพโหลดสูงสุด 384Kbps
  • เชื่อมต่อแบบ USB
  • รองรับ Windows 2000, Windows XP(32/64bit), Vista(32/64bit), 7(32/64bit) และ MAC OS

DSC_6402

ทุกอย่างเดิมๆ แบบเดียวกับ flip ครับ ด้านในมือคู่มือเล่มบางๆ และ Sim Card ชุดนึง

DSC_6409 

DSC_6411 DSC_6412

รูปร่างนั้นคล้ายกับตัว DTAC aircard 3G รุ่นแรก (รูปด้านล่าง ซ้ายมือบน) และมีช่องสำหรับใส่ micro SD Card ได้

ซึ่่งไม่แตกต่างจากรุ่นอื่นๆ นัก ทำให้ aircard ตัวนี้เป็น Flash Drive ขนาดย่อมๆ ได้ไปในตัว

DSC_6425

ตัววัสดุนั้น ต้องบอกเลยว่ารุ่น flip และ 3G ดูแข็งแรงกว่า ตัวนี้เนื้อพสาสติกดูอ่อนตัวและบางกว่าพอสมควรเลย

DSC_6404 DSC_6405 

ถาดใส่ Sim card เป็นพสาสติก แตกต่างจากตัว 3G ที่เป็นแสตนเลส ส่วน flip เป็นแบบสอดเข้าไป

DSC_6406 DSC_6407

DSC_6408 DSC_6413 

DSC_6422 DSC_6426

สำหรับตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มานั้น แตกต่างจากรุ่น flip และ 3G ครับ (ขนาดรุ่น  flip กับ 3G ยังใช้คนละตัวเลย)

ทำให้ในเครื่องผมตอนนี้มีซอฟต์แวร์จัดการ aircard ทั้ง 3 ตัว แต่ก็สามารถทำงานได้ โดยไม่มีปัญหา

2010-09-17_174447

หน้าตาหน้าเชื่อมต่อนั้นทำได้เรียบง่ายเช่นเดิม และเป็นภาษาไทยเช่นเดิม

2010-09-17_174519

จัดการข้อความ SMS ได้ผ่านตัวซอฟต์แวร์ได้เลย

2010-09-17_174528

แน่นอนว่าจัดการ SMS ได้ก็ต้องจัดการรายชื่อหมายเลขโทรศัพท์ได้เช่นกัน

2010-09-17_174538

หลายๆ คนอาจจะต้องการปรับแต่ค่าและเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ส่วนเปล่ียนแปลงค่าก็มีให้มากขึ้นกว่าตัว flip

2010-09-17_174551

หน้านี้เป็นสว่นของการติดต่อกับบริการของ DTAC โดยมีแยกระหว่างแบบรายเดือนและแบบเติมเงิน

สรุปโดยภาพรวมแล้วเป็น aircard ที่นำเสนอให้กับลูกค้าในราคาไม่แพง โดยในตัวกล่องนั้นมาพร้อม Sim Card และโปรโมชั่นแถมมาให้อีก 2 เดือน ซึ่งราคาระดับนี้ในท้องตลาดก็มีตัวเลือกไม่มากนัก ที่รองรับ 3G 2100 MHz ครับ

สำหรับดัานความเร็วนั้น ผมไม่มี Sim 3G 2100 MHz (หาของ TOT ไม่เจอ หายไปไหนไม่รู้) เลยทดสอบได้แต่ EDGE นั้นก็ตามมาตรฐานของ DTAC โดยทั่วไปครับ อันนี้ผมก็ตอบไปได้เลยว่ารุ่นไหนก็ไม่ต่างกันแฮะ ต้องวัดกันที่ 3G ซึ่งเดี่ยวจะเทียบ 3 ตัวทีเดียวเลยครับ อดใจรอกัน ^^

สำหรับการจับสัญญานั้นตัว flip ทำได้ดีกว่าพอสมควรครับ (แน่อนเพราะเค้าออกแบบมาสำหรับการจับสัญญาที่ดีที่สุดอยู่แล้ว) แต่แม้จะรูปร่างใกล้ๆ กับตัว 3G ก็ยังด้อยกว่าตัว 3G นิดๆ อยู่ดี วัดจากตัวแสกลแสดงการรับสัญญาที่แตกต่างกันในพื้นที่เดียวกันครับ

ประสบการณ์ในการใช้ dtac aircard flip 158

ผมได้รับแอร์การ์ดได้สัก 2 อาทิตย์แล้วครับ และได้ทดสอบลองใช้งานจริง มาได้ประมาณอาทิตย์กว่าๆ ในลักษณะการใช้งานในชีวิตประจำวัน เมื่อเทียบกับ dtac aircard ตัวเก่า (รุ่นเก่าผมได้จากตอน dtac 3G ครับ) โดยการทดสอบนี้ผมทดสอบบนระบบ 3G ทั้งสองรุ่นเลย ส่วน EDGE นั้นผมทดสอบบน dtac aircard flip 158 เท่านั้น เพราะตัวแอร์การ์ด dtac 3G มันล็อคให้ใช้แต่ sim 3G เท่านั้น

โดยในรุ่นใหม่นี้ dtac ชูจุดเด่นที่ เสาอากาศของการ์ดแบบ RX Diversity ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวช่วยเสาอากาศหลักของตัวการ์ด (Main Antenna) ลักษณะการทำงานคือ เมื่อ Main Antenna รับสัญญาณได้น้อยลง Rx Diversity Antenna จะทำงาน และรับสัญญาณใน radiation patterns ที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถรับสัญญาณได้ชัดเจนมากขึ้น หรือเรียกว่ามีเสาอากาศสำหรับรับสัญญาณอยู่ 2 ตัวในการ์ดเดียวนั้นเอง

จากความรู้สึกในการใช้งานในพื้นที่เดียวกัน โดยเปรียบเทียบแล้วพบว่าในพื้นที่ที่มีสัญญาณอ่อนนั้นตัว flip 158 รับสัญญาณได้ดีขึ้นอยู่พอสมควร ซึ่งผมไม่ได้ใช้เครื่องมือวัดใดๆ ครับสังเกตจากกราฟรับสัญญาณเท่านั้นที่แตกต่างกันประมาณ 1-2 ระดับ) จาซอฟต์แวร์ dtac aircard ตัวเดียวกัน

ส่วนในเรื่องของความเร็ว Internet นั้นก็แตกต่างกันไม่มากนัก เพราะในเรื่องของ Wireless Connection นั้นความเร็วมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ signal ที่ส่งมาที่ตัว aircard เป็นหลักซึ่งถ้าสัญญาณ์มาเต็มก็จะได้ความเร็ว Internet เร็วไปด้วย ซึ่งความเร็วของ Internet ของ dtac นั้นมีความเสถียรในการใช้งานดีอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ครับ อาจจะมีบางพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ตรงนี้คงต้องทำใจสักหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับโหลดข้อมูลไม่ได้เลย แต่ก็จะเหมือนแชร์ๆ ช่องสัญญาณใช้กันไปมากกว่า

การ flip ของตัวแอร์การ์ดนั้นทำได้ในมุมที่โดยทั่วไปแล้ว USB ของ Notebook จัดวางไว้คือแนวนอน สำหรับ Notebook เครื่องใดให้เป็นแนวตั้งมาอาจจะต้องทำใจสักหน่อยถ้า Notebook ของท่านบางกว่าตัวแอร์การ์ดครับ อาจจำเป็นต้องหาสายตัวเพิ่ม ออกมาแบบเดียวกับรุ่นเก่า ซึ่งผมคิดว่าการทำ flip ก็เพื่อลบข้อด้อยตรงการยื่นและการหามุมรับสัญญาณได้หลากลายมากขึ้น แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเรื่อง USB แบบแนวตั้งที่ยังใช้งานได้ไม่สะดวกนัก ซึ่งถ้าตรง USB port ที่ต่อเข้ากับเครื่อง Notebook นั้นสามารถหมุนได้ด้วยจะไม่ทำให้เป็นอุปสรรคในเรื่องนี้เลย

ส่วนที่เหมือนกับตัวเก่าคือมี slot สำหรับใส่ micro SD ครับ ตรงนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนใช้ smartphone ที่ใช้ micro SD เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล ทำให้ไม่ต้องพกตัว Card Reader (ที่อาจจะต้องหา SD to Micro SD Adapter) ไปไหนมาในไหนตัวนั้นเอง

DSC_1099 DSC_1093

DSC_1103 

รูปแบบกล่องนั้นยังไม่แตกต่างจากตัวรุ่นเก่าที่วางขายตาม Shop ครับ (แต่แตกต่างจากของ dtac 3G แน่นอน)

DSC_1091

รองรับ 3G ที่ระดับความเร็วไม่เกิน 3.6 Mbps ครับ ซึ่งก็เพียงพอสำหรับใช้งานอยู่แล้ว (แต่ dtac ยังไม่เปิด dtac 3G ให้คนทั่วไปใช้ก็คงมีไว้เผื่อๆ เท่านั้น)

แถมท้ายด้วยโดยการ์ดตัวนี้แท้จริงคือ HUAWEI E158 (อ้างอิง http://www.blognone.com/news/17199) ซึ่งสามารถทำงานได้ดีบน Ubuntu Linux ด้วย

DSC_1107

DSC_1108 DSC_1109

ลักษณะการใส่ตัว Sim card ที่ไม่เหมือนรุ่นเดิมครับ

DSC_3185

เปรียบเทียบขนาดของ dtac aircard flip 158 กับ dtac aircard 3G จะเห็นว่าโครงสร้างคล้ายๆ กัน

DSC_1126

เมื่อเสียบเข้ากับเครื่องก็จะสาพับเสาขึ้นมาแบบนี้เพื่อเอียงรับสัญญาณได้หลากหลายมากขึ้น

สำหรับหลายๆ คนคงกังวลว่า อ้าว! แล้วไม่มี CD มาให้เหรอ ก็บอกเลยว่าตัว dtac aircard ทั้งรุ่นเก่าและใหม่ นั้นมีความจุที่เป็น Flash Drive แบบ internal มาให้ 32MB ครับ โดยด้านในใส่ Software/Driver มาให้พร้อมแล้ว โดยเป็นความจุนอกเหนือจากของที่ได้ใน slot ของ micro SD

เรามาดูกันว่าตัวซอฟต์แวร์รุ่นเก่าและใหม่หน้าตาแตกต่างกันอย่างไร

image

dtac aircard software รุ่นเก่า

image_3

dtac aircard software รุ่นใหม่

ตัวโปรแกรม dtac 3G aircard เทียบกับ dtac aircard จะเห็นว่ามีปุ่ม Services เพิ่มขึ้นมาสำหรับ dtac และ Happy ครับ ซึ่งอันนี้ในรุ่น dtac aircard รุ่นเก่าน่าจะมี (ผมอ้างอิงจากตัวซอฟต์แวร์ของ 3G เป็นหลัก) จะเป็นว่ามีส่วนของ Services เพื่อใช้สำหรับเติมเงิน รับ/ส่ง SMS และตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งพาโทรศัพท์แต่อย่างใดครับ

สำหรับท่านใดที่สนใจทาง dtac แจ้งมาว่า

  • รับประกันสินค้านานถึง 1 ปี 
  • สามารถเปลี่ยนคืนสินค้าใหม่ได้ภายใน  30 วัน 
  • โดยตัวสินค้ามาพร้อมซิมดีแทค
    – ดีแทคแบบรายเดือนราคา 2,990 บาท มาพร้อมชั่วโมงอินเทอร์เน็ตถึง 300 ชม. (ใช้ได้ 100 ชม./เดือน นาน 3 เดือน)
    – แฮปปี้แบบเติมเงินราคา 2,700 บาท มาพร้อมชั่วโมงอินเทอร์เน็ตถึง 60 ชม. (ใช้ได้ 20 ชม./เดือน นาน 3 เดือน)
  • dtac aircard รุ่นใหม่นี้ มีจำหน่ายที่สำนักงานบริการลูกค้า ดีแทคเซ็นเตอร์ และร้านค้า IT ชั้นนำทั่วประเทศ
  • สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1678 dtac call center