3G 2100 ทั้ง 3 ค่าย กำลังทำผิดอยู่หรือไม่?

จากข้อมูล มาตรฐานการให้บริการข้อมูล 2G/3G ของ กสทช.

  • RTT (round trip time)
    • 2G: 1,000 ms
    • 3G: 500 ms
  • FTP success ratio
    • download: 80% (2G/3G)
    • upload: 70% (2G/3G)
  • FTP mean data rate
    • 2G download: 48 kbps
    • 3G download: 345 kbps
    • 2G upload: 20 kbps
    • 3G upload: 153 kbps
  • HTTP success ratio
    • 2G: 80%
    • 3G: 90%

และเพื่อไม่ให้ข้อมูลผิดพลาด เลยไปดูที่เว็บ กสทช. แล้วดูเอกสารที่ลิงค์ “ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่” http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/152/20.PDF

หน้าตาประมาณนี้

2013-05-09_231802

ไล่หาลงมาเรื่อยๆ ผมไม่ได้พูดยกมาเอง ที่หน้า 7-8

 2013-05-09_232013จะเห็นในส่วนของ ความเร็วเฉลี่ยในการส่งข้อมูลของ FTP “กรณี Download สำหรับ 3G ขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 345 Kbps” หรือตีความตามความเข้าใจคือ “อัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลต้องไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ คือ 345kbps”

แต่….

  • “Choice Package” ของ dtac ทุกโปรตั้งแต่ 429 – 949 บาทนั้น หลังใช้งานครบจำนวนข้อมูลที่กำหนดจะปรับลดความเร็วไม่เกิน 64 Kbps
    อ้างอิง http://www.dtac.co.th/postpaid/trinetpackage
  • “3G iSmart Package” ของ AIS ราคาเริ่มต้นที่  299 – 999 บาทนั้น หลังใช้งานครบจำนวนข้อมูลที่กำหนดจะปรับลดความเร็วไม่เกิน 64 Kbps – 256 Kbps
    อ้างอิง http://www.ais.co.th/3g/3g_package/
    “iSmart Package” ของ Truemove H ราคาเริ่มต้นที่ 299 บาทนั้น หลังใช้งานครบจำนวนข้อมูลที่กำหนดจะปรับลดความเร็วไม่เกิน 128 Kbps
    อ้างอิง http://truemoveh.truecorp.co.th/3g/packages/ismart/entry/594

คำถามว่าทั้ง 3 ค่าย ทำผิดอยู่หรือไม่?

ผมสับสนว่า “เมื่อใช้งานครบจำนวนข้อมูลที่กำหนด” ทั้ง 3 ค่ายสามารถปรับลดความเร็วได้ต่ำลงได้ขนาดนั้นเลยหรือ? เพราะเหมือนไม่มีใครสนใจ คงต้องให้ผู้รู้มาตีความต่อไปว่าผิดหรือไม่ผิดต่อไป

ความเร็วที่แท้จริงของ 3G ที่หลายคนอาจยังไม่รู้เวลาใช้งานจริง

ผมเขียนไว้ใน Facebook มาก่อนประมูลแล้วแหละ แต่ลืมเอามาลง blog ซะอย่างนั้น ><”

สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ 3G ความเร็ว 7.2Mbps, 21Mbps หรือ 42Mbps มันคือความเร็วที่บอกว่า ช่วงคลื่นความถึ่ขนาด 5Mhz (ความถี่ให้บริการ 1 slot หรือ channel) สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 1 การเชื่อมต่อ หรือคิดง่ายๆ คือ 1 คน

เพราะฉะนั้น การประมูล 15Mhz ก็คือมีคนใช้งานได้เต็ม speed อยู่ 3 คน แต่ในความเป็นจริง ช่องสัญญาณ์ 5Mhz นี้เราไม่ได้ใช้คนเดียว แต่ทุกๆ คนในเครือข่ายที่เราใช้บริการอยู่ก็ใช้งานกันอยู่เช่นกัน

เพราะฉะนั้นช่วงคลื่นความถี่มันมีจำกัดแค่ 15Mhz นั้นหมายความว่าอยากได้ความเร็วเต็มๆ ตามที่บอกในตอนแรกก็คือมีคนใช้งานในบริเวณนั้น 3 คน!!! แต่มันไม่ใช่ คนใช้กันเป็นร้อยหรือหลายร้อย เพราะฉะนั้น การกำหนดให้ผู้ใช้งานต้องสามารถใช้ งานได้อย่างน้อยที่ความเร็ว 345kbps นั้น จึงเป็นเรื่องที่รับได้ (จริงๆ น้อยกว่านี้ก็ได้นะ 256kbps อะไรแบบนั้น) นั้นจะทำให้ 5Mhz มีคนใช้งานได้ประมาณ 60 คน (ที่ 42Mbps) หรือถ้าบริษัทที่ประมูลได้มากสุดที่ 15Mhz ก็คือรองรับได้ที่ความเร็วขั้นต่ำได้เกือบ 180 คนในบริเวณเดียวกัน

แน่นอนว่าทุกคนไม่ได้ใช้งานต่อเนื่องอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นโดยทั่วไป 15Mhz จึงเพียงพอในปัจจุบัน (ใช้งานแบบสลับไปสลับมาก็อาจทำให้รองรับคนได้ 500 คนในพื้นที่เดียวกัน)

นี่คือเหตุผลว่าทำไม 3G ตอนนี้ในแต่ละค่ายจึงมีความเร็วไม่เท่ากัน (ใครมีช่องสัญญาณเหลือของ 2G พอก็มาแบ่งใช้) แต่จากที่ทราบบริษัทที่มีช่องสัญญาณน้อยสุดคือ AIS ที่ 5Mhz และ TOT 3G นั้นมีมากสุดที่ 15Mhz นะ (ไม่รู้ว่าใช่ไหม ฟังผ่านๆ มา เอามายกตัวอย่าง)

เมื่อมันเป็นแบบนี้แล้วทรัยากรมันมีจำกัด ใช้งานร่วมกัน จึงเกิดการให้บริการแบบ Fair use policy คือใครใช้งานมากก็จ่ายมาก โหลดเยอะก็จ่ายเยอะอะไรแบบนั้น (เพราะความเร็วมันเร็วอยู่แล้ว โหลดแป็บๆ ก็หมดแล้ว) เพราะฉะนั้นจึงสมเหตุสมผลในเรื่องของการใช้งานร่วมกัน คิดง่ายๆ ว่าใช้งานอินเตอร์เน็ตตามหอพักที่เป็นแบบแชร์กันทั้งอาคารที่ความเร็วนึง ใครโหลดบ้าระหร่ำมาก ใช้เต็มที่ก็ให้จ่ายเยอะไปแทน เพื่อจะได้ไม่ควบคุมพฤติกรรมการใช้ของตัวเองอะไรแบบนั้น

จากที่อธิบายมาทั้งหมด จะเห็นว่า เราจะใช้ 3G แทนที่ ADSL หรือบริการแบบสายไม่ได้ 100% แน่นอน แต่ช่วยให้การใช้งานนั้นเร็วมากขึ้น มี delay time (latency) ที่น้อย ทำให้สื่อสารด้วยภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้นนั้นเอง

บ่นประมูล 3G

ขอเอาความคิดเห็นตัวเองจากใน Facebook มาลงสักหน่อย

จากเรื่องประมูล 3G เมื่อวาน เพื่อนผมหลายคนก็มาบ่นๆ ว่าได้ราคากลับเข้ารัฐน้อย คนแข่งขันก็น้อย ดูเหมือนสมประโยชน์กัน

ส่วนตัวสำหรับผมจะดูสมประโยชน์ไหม ก็อาจจะนะ คือนี่ต้องบอกว่าราคาเค้าว่าถูกยังมีคนแข่งอยู่ 3 เจ้า แต่ไอ้คนพูดก็อยากให้มีเจ้าใหม่ๆ เข้าประมูล (นี่เค้าว่าถูกๆ แล้วเนี่ย ทำไมมันไม่มีมาเพิ่มเลย) ซึ่งถ้าอยากให้มีเจ้าใหม่เข้ามาก็คงต้องลดราคาเริ่มต้นเยอะกว่านี้อีกเพื่อให้มีคนแข่งขันได้มากขึ้น แต่นั้นแหละ 3 เจ้าใหญ่ก็ยังอยู่ และแน่นอนว่าก็คงเข้าเรื่องเดิมคือทุ่มราคาลงมาจนอาจจะใกล้เคียงกับตอนนี้ หรือมากกว่าเล็กน้อย หรือมันอาจจะดุเดือดขึ้น แต่สุดท้ายทุกเจ้าก็มีข้อจำกัดของเงินของตัวเองอยู่ดี

สิ่งที่เกิดต่อมาคือ เราควรไปดราม่ากับค่ายมือถือ 3 ค่ายที่ให้ราคาเพียงเท่านี้คงไม่ได้ เพราะสิ่งที่เค้าทำก็ถูกต้องตามระเบียบการประมูลในครั้งนี้อยู่แล้ว เพราะ 4,500 ล้านบาท/ช่วงความถี่ นั้นเป็นราคาที่ กสทช. คิดว่าเหมาะสมที่รัฐจะไม่เสียผลประโยชน์ และแน่นอนว่าค่ายมือถือที่ได้สิทธิ์นั้นก็ใช้สิทธิ์นั้นเต็มที่เช่นกัน ถามว่าราคาตั้งต้นทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ไหม คำถามที่เอกชนก็ต้องถามรัฐกลับไปเช่นกันว่า รัฐทำให้เอกชนเสียผลประโยชน์ในการแข่งขันตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีหรือไม่ และประชาชนเสียผลประโยชน์ต่อตัวสังคมเองมากแค่ไหนตลอดระยะเวลาดังกล่าว ผมยังไม่เห็นใครเอาตัวเลขตรงนี้มาหักล้างหรือพูดกันเลย เพราะยิ่งล่าช้ามันก็ทำให้ระยะเวลาของ cycle technology ของตัว 3G นี้สั้นลงไปเรื่อย และสั้นกว่าที่ควรจะเป็น เพราะ 3G อาจมีอายุสั้นกว่าใบอนุญาติที่ทั้ง 3 ค่ายได้รับและสุดท้ายก็ต้องมาประมูลเพื่อใช้ 4G ต่อไปอีก (อนาคตมันไม่แน่นอน)

เพราะฉะนั้นส่วนตัวผมแล้ว มองว่าต้องคิดว่ายังได้ไม่พอ เราจะเรียกเก็บภาษีจากการให้บริการ 3G ในไทยในรูปแบบภาษีสรรพสามิต ภาษีน้ำเข้าอุปกรณ์ ฯลฯ อีกมากมายที่ทำให้รัฐยังคงได้รับผลประโยชน์ต่อไป และยังมีการติดตั้ง การจ้างงาน หรือเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการลงทุนในด้านนี้อีกเยอะ การหวังเพียงค่าประมูลใบอนุญาติเพียงอย่างเดียวอาจทำให้การแข่งขันในการประมูลนั้นดูดุเดือด แต่ก็แลกกับผู้เจ้าร่วมประมูลน้อยรายอย่างที่เห็นกันอยู่นี้

คือก็แลกกันไป เจ้าใหญ่เงินหนาก็จัดหนัก เจ้าเล็กๆ ยื่นรอบแรก พอเห็นระเบียบและระยะเวลาระดมทุนไม่ทันก็ถอยกันไปหมด นี่ขนาดว่าถูกๆ 4,500 ล้านต่อช่วงความพี่ ยังมีแค่ 3 เจ้าหลัก ถ้าไป 6-7,000 ล้านต่อช่วงความถี่ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ก็เหลือ 3 เจ้าเดิมประมูลนั้นแหละ แล้วมันจะเข้าเรื่องของการเลือกปฎิบัติอีกหรือเปล่า ><"

3G ไทยเรื่องเยอะเนอะ ญี่ปุ่นเกือบๆ จะแจกให้ไปทำเลย คือส่งข้อเสนอมาให้รัฐ ใครให้ข้อเสนอดีก็ได้ไป เค้าอยากเร่งให้มันเกิด แล้วให้เอกชนเมีเงินพอที่จะนำไปทำการขยายโครงข่ายได้ตามเงื่อนไขครบ แล้วเรียกเก็บภาษีจากผู้ให้บริการแทน แล้วตอนนี้เป็นยังไง ผมว่าคงไม่ต้องบอกมั้งครับ -_-"

ชีวิตการทำงานบนเครือข่าย 3G เกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา และลองของ TOT3G loadUNLIMITED!

ส่วนตัวแล้วผมใช้ Internet ค่อนข้างบ่อย ประกอบกับหลังจากย้ายที่ทำงานมาในบริษัทที่เข้มงวดในการออกสู่ Internet จากภายในองค์กรมาก การใช้งาน Internet ตามปรกติจึงถูกลดลงไป แม้แต่ SSH หรือ FTP ออกภายนอกก็ไม่สามารถทำได้ แม้แต่เว็บไซต์อ้างอิงงานบางอย่างก็โดน block เพราะฉะนั้นทางออกของผมคือหาการสื่อสารแบบไร้สายสักชนิดเพื่อที่สามารถทำงานได้ตามปรกติ

ในช่วง 2 เดือนแรกนั้นผมใช้งานบนเครือข่าย 3G ตลอดเวลาที่อยู่ที่ทำงาน ผ่านบริการ MVNO Partner ของ TOT 3G ที่ชื่อ i-kool 3G โดยคิดราคาข้อมูลเป็น data transfer ที่ 5GB ราคา 500 บาท ซึ่งตัวผมใช้งานตกวันละ 700 – 800MB ต่อวัน เปิดใช้งานวันละประมาณ 8-12 ชั่วโมงทุกวันที่ทำงาน (จันทร์-ศุกร์) โดยจากจำนวนข้อมูลที่บอก ทำให้หนึ่งเดือนผมต้องเสียเงินเพื่อจ่ายค่า data transfer ที่ประมาณ 1,500 – 2,000 บาทโดยประมาณ บนครามเร็วสูงสุดที่ 7.2 Mbps

2012-08-30_174431

ตลอดระยะเวลา 2 เดือนกว่าๆ เกือบ 3 เดือนนั้น ถ้าผมทำงานบนเครือข่าย TOT 3G ของ MVNO i-kool 3G นั้นทำงานได้เกือบจะ 100% คือมีบางช่วงเท่านั้นที่มีปัญหาสัญญาเน็ตอยู่ๆ ก็ดับไป แต่โดยรวมก็สามารถกลับมา Online ได้ตลอด อาจจะต้อง reset Connection บ้างบางครั้งเท่านั้น

แต่ด้วยว่าค่าใช้จ่ายแพงไปเสียหน่อย แต่ก็คุ้มกับการเสียเงินเพื่อทำงานได้ตลอด คือเสียบ SIM Card เข้า Notebook ติดต่อผ่าน WWAN ในเครื่อง ThinkPad ของผม ซึ่งมันก็สะดวกดี

มาวันนี้เลยได้เวลาไปเปิดเบอร์ของ TOT 3G ใหม่เพื่อใช้ loadUNLIMITED แบบ 890 บาทต่อเดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงบ้าง (เดือนละประมาณ 1,000 บาทก็เยอะนะครับ) ได้ data transfer แบบ unlimited แต่จำกัดความเร็วในการเชื่อมต่อที่ 2Mbps สำหรับผมแล้วโอเคแล้วแหละครับ ขอให้ได้ความเร็ว Internet สัก 2Mbps และ Latency ต่ำๆ จะได้ทำงานได้สะดวกหน่อย

2012-09-18_154438

สำหรับการขอใช้งานก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร แต่เป็นรูปแบบบริการแบบรายเดือน ทำเรื่องยื่นเอกสารที่ ศ.บริการของ TOT ซึ่งก็เป็นแนวเดียวกับจดทะเบียนมือถือทั่วไปๆ ที่ ศ. TOT พนักงานจะให้เราเลือกเบอร์ด้วยว่าอยากได้เบอร์อะไร เอกสารก็แค่พกบัตรประจำตัวประชาชนไปใบเดียวก็พอ พอลงทะเบียนเสร็จแล้วก็ได้ SIM Card มาใช้งานได้ทันทีครับ

5fd39b56015511e29e9622000a1c9e07_7

ทดสอบ Speed ก็ประมาณครับ ส่วนตัวแล้วนั้นจากที่ได้ใช้งานมาได้ 2-3 ชั่วโมง ผมถือว่าทำงานได้ดีครับ ไม่ได้แตกต่างจาก MVNO i-kool 3G เท่าไหร่นักครับ ผมถือว่าด้วยระดับความเร็วและ Latency ระดับนี้ผมถือว่าผ่านสำหรับการใช้งานของผมต่อไปในอนาคต

2012-09-18_132719

พอเราทดสอบแล้วความเร็วมันทะลุ 2Mbps!!! ก็เล่นซะงงเหมือนกันว่าทำไม แต่ก็นะ ใช้ๆ ไปเหอะ (อ้าวววว)

ทดสอบความเร็ว dtac 3G แถวๆ อุดมสุข และหมอชิต กรุงเทพฯ

พอเค้าเปิดให้บริการก็ลองเล่นซะเลย ส่วนตัวแล้วไม่ได้เป็นกลุ่ม beta test จริงจัง (เค้าเปิดให้ผมใช้ไม่ทัน พอดีว่าแจ้งเบอร์ไปผิด ><) ผมก็เลยไม่ได้ใช้ตอนเค้าทดสอบ ส่วนตัวไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะว่ารอบเปิด dtac 3G รอบที่แล้วก็ได้ลองไปหน่ำใจอยาก  ก็เลยรอเค้าเปิดใช้ร่วมกับคนทั่วไปก็แล้วกัน

ขั้นตอนก็ง่ายๆ กด *3000# แล้วโทรออก ใช้กับ SIM ของ dtac ทุกเบอร์ ก็ใช้งานได้แล้ว ประมาณนั้น (ผมทำแค่นี้แหละ แล้วรอ sms ตอบกลับ)

การทดสอบเล็กๆ นี้ใช้คู่กับ dtac aircard flip 158 ความเร็วก็ได้ตามในภาพครับ เดี่ยวลองกับ WWAN Ericsson F5521gw‎ ดูอีกทีว่าจะยังไง

ตอนนี้ผมมี Sim 3G อยู่ 4 เจ้า i-kool 3g, imobile 3gx, AIS 3G และ dtac 3G คิดว่าเดี่ยวจะไปหา Truemove 3G มาลอง ดูเหมือนกัน

อุดมสุข

2011-08-16_021226

หมอชิต

2011-08-16_101405

แถมท้ายกับโฆษณาสักเล็กน้อย แต่บอกไว้ก่อน ดูแล้วน้ำตาซึม….