การดูหนังในโรงต้องคิดเยอะขึ้น

หลังจากเรื่องตั๋วหนังแพง ของกินหน้าโรงแพง แถมโฆษณาในโรงก่อนฉายเยอะ ผมเลยมีมาตรการส่วนตัวที่จะดูในโรงอยู่บางส่วนที่อาจจะทำร้ายจิตใจใครหลายๆ คน จริงๆ เคยเขียนไว้ใน เหตุง่ายๆ ที่คงไม่ได้ดู “ภาพยนตร์คอนเสิร์ต Bodyslam นั่งเล่น” แล้วแต่ว่ารอบนี้เอามาสรุปใหม่อีกสักรอบดีกว่า

  1. จะดูโรง Major เพราะ IMAX เท่านั้น เพราะโฆษณาน้อย ไม่รอนาน คุณภาพที่ยอมจ่าย ช่องขายตั๋วที่น้อยและหวังขายบัตรเติมเงิน (ขายตั๋วแพงแต่ไม่มีปํญญาเพิ่มช่องขาย)
  2. เรื่องที่อยากดูมากๆ แต่เน้น Digital จะไปดู SF หรือเครือ APEX ทั้งหมด ส่วนฟิล์มก็ไปดู APEX เท่านั้น
  3. หนังไทยจะไม่ดูในโรงหนังอีกต่อไป เริ่มตั้งแต่ พี่มาก คู่กรรม และหลายๆ เรื่อง ต้องขอโทษที่มันโหดร้าย แต่ถ้าตั๋วหนังราคายังแพงเท่ากับหนังฟอร์มใหญ่ แล้วโรงหนังบางโรงยังหน้าด้านบอกว่าหนังต้นทุนสูงเลยต้องขึ้นราคา แต่หนังไทยหลายๆ เรื่องราคาตั๋วเท่ากับฟอร์มใหญ่แบบนี้ มันดูแปลกๆ เพราะงั้น ผมซื้อแผ่นดูดีกว่า (พี่มากและคู่กรรมผมยังไม่ได้ดูเลย รอแผ่นครับ)
  4. ขนมหน้าโรงจะไม่ซื้อเลยนอกจากเครือ APEX เท่านั้น (SF/Major ราคาโหดร้ายทั้งคู่ แต่ Major ราคาโหดมากกว่า และ APEX ราคาประมาณแถวๆ ศ. ท่ารถหมอชิต ซึ่งผมรับได้)
  5. โฆษณาเยอะ เป็นเหตุผลสำคัญที่ไม่เลือกดู Major และย้ายมาดู SF แทน และที่นั่ง SF นั่งสบายกว่า Major เยอะด้วย
  6. ราคาแพงทำให้ผมเลือกที่จะดูหนังเยอะขึ้น เรื่องไหน 50-50 ผมไม่ดูในโรงเลย คือไม่เสี่ยงกับราคาตั๋วโหดร้ายพวกนั้นเด็ดขาด

ผมคงไม่ทำให้เค้าขาดทุนหรอก แต่ถือว่าเป็นเสียงเล็กๆ ที่สะท้อนแล้วกัน

การโฆษณาโดยทำภาพหรือแผ่นโฆษณา ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย

ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2553 ที่วินิจฉัยว่า

“ในโครงการอาคารชุด ร. จำเลยจัดทำภาพจำลองอาคารและแผ่นโฆษณาระบุว่าจำเลยจะก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ติดกับอาคารชุด โดยมีสระน้ำขนาดใหญ่บนอาคารจอดรถของอาคารชุดเพื่อจูงใจลูกค้าให้ซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดดังกล่าว แผ่นโฆษณาแสดงภาพจำลองอาคารชุดและอาคารศูนย์สรรพสินค้าถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย (เมื่อจำเลยไม่ได้สร้างตามที่โฆษณาไว้ก็ถือว่าจำเลยผิดสัญญา)”

อ้างอิง: คดีผู้บริโภค : บรรทัดฐานจากคำพิพากษาฎีกา 

ต่อไปพวกโฆษณาไม่เป็นไปตามโฆษณาระวังกันหน่อยนะครับ เดี่ยวงานจะงอก…

“ข้อมูลผิด” ก็ต้องบอกว่า “ผิด” ความเป็น “คนดี” ไม่ทำให้ข้อมูลที่คุณนำเสนอมันถูกต้อง

บ้านเราอ่อนแอ เพราะคำว่า “คนดี” เลยไม่ได้ดูที่ข้อเท็จจริงที่มีมันคืออะไร ใช้คำว่า “คนดี” เป็นเครื่องมือในการยืนยัน “ความเชื่อ” ตัวเอง แต่ “เนื้อแท้มั่ว” ก็มีเยอะไป

คือคุณให้ “ข้อมูลผิด” ก็ต้องบอกว่า “ผิด” ความเป็น “คนดี” ไม่ทำให้ข้อมูลที่คุณนำเสนอมันถูกต้อง บางครั้งอคติที่มีต่อตัวบุคคลทำให้ข้อมูลที่นำเสนอมันดูไม่มีน้ำหนัก ทั้งที่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ บ้านเมืองมันเลยมีปัญหาเพราะแบบนี้แหละ

บอลมันเล่นเป็นทีม

บางครั้งนักเตะที่ดี คงไม่ใช่เราไปคาดหวังว่าเขาจะต้องเลี้ยงเดี่ยวเข้าหาคู่แข่งแล้ว เลี้ยงหลบคู่แข่งทั้งทีมไปกว่า 2 รอบ แล้วเข้าไปหลอกโกลต่อให้หลังหักอีก 2 รอบ เสร็จแล้วค่อยวนกลับมายิงไกล ถึงจะเรียกว่าเล่นดี ><" คือบอลมันเล่นเป็นทีม แค่ทุกครั้งที่จับบอล แล้วทำประโยชน์ให้กับทีมได้ตลอด ผมก็ถือว่าเล่นดีได้เหมือนกัน

“ขวดน้ำทิพย์” รักษ์โลกหรือรักษ์บริษัทผู้ผลิต?

ส่วนตัวนั้นการเปิดขวดน้ำทิพย์ต้องใช้สมาธิอย่างสูงมากก่อนลงน้ำหนักบีดขวดเปิด เพราะต้องเปิดให้ได้ภายในครั้งเดียว คือต้องลงน้ำหนักในการบิดให้หนักแน่น ชัดเจนและเด็ดขาด ไม่งั้นการเปิดครั้งต่อไปอาจหมายถึงน้ำทั้งขวดจะไหลหรือสาดเข้าตัวทั้งขวด ซึ่งน้ำจะออกมาตามแรงบิดที่ปราศจากการดันขวดให้พองของก๊าซที่อัดมาเพื่อให้ขวดคงตัวอยู่ได้

ด้วยความบางของขวดน้ำที่บางกว่านี้อีกนิดหน่อยก็เกือบเท่าถุงร้อนใส่แกงตามตลาดทำให้ดื่มน้ำไปได้สักครึ่งขวดหรือมีลมพัดแรงๆ หน่อย ตัวขวดนั้นพร้อมที่จะพยุงตัวไม่อยู่แล้วล้มลงมาทำน้ำหกใส่ได้ทันทีเช่นกัน และความบางของขวดน้ำพร้อมที่จะแตกได้ในกระเป๋าเวลาพกพาเมื่อเปิดขวดไปแล้วในครั้งแรกเช่นกัน เพราะขวดน้ำดังกล่าวมันเคยแตกในกระเป๋าผมมาแล้ว ซึ่งดีที่ในกระเป๋ามีแต่หนังสือไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ช็อตใดๆ เลยรอดพ้นหายนะไปได้

จากปัญหาที่บอกๆ ไป มันทำให้ผมไม่เข้าใจว่า การคิดว่าขวดน้ำที่เปิดขวดขึ้นมาเพื่อดื่มน้ำแล้วใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเนี่ยมันดียังไง คือคนทำไม่คิดว่าฝามันจะเปิดไม่ได้ในครั้งแรกบ้างเหรอ แล้วเปิดครั้งต่อไปจะมีปัญหาต่อมาหรือไม่ หรือคนซื้อเค้าอยากปิดฝาแล้วดื่มครั้งต่อไปเพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องดื่มระหว่างการเดินทางบ้างเหรอ

ส่วนตัวผมแล้วผมว่ามันสร้างขยะมากกว่าเดิมอีก เพราะขวดไม่สามารถให้คนซื้อนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่ผ่านขั้นตอนการผลิตในอุตสาหกรรม ซึ่งขวดน้ำทิพย์ที่บางลง 35% นั้นหมายถึงต้นทุนที่น้อยลง 35% ของขวดพลาสติก แต่ราคาไม่ได้ลดลง ซึ่งยังคงราคาเท่าเดิมซึ่งเมื่อเทียบกับราคาน้ำดื่มขวดข้างๆ ที่มีความหนาของขวดปรกติ สามารถใช้งานและนำกลับมาใช้ได้เป็นอย่างดี มันกลับทำให้น้ำทิพย์ดูแพงไปในทันที แถมขวดน้ำทิพย์ยังให้ปริมาณที่น้อยกว่าบางยี่ห้อด้วย!

ที่น่าสนใจคือ จริงๆ แล้วการบอกว่าเนื้อพลาสติกที่ลดลง “รักษ์โลก” แต่เนื้อแท้ของสาระหลังจากได้สัมผัส เป็นแค่คำโฆษณาที่แอบแฝงด้วยการช่วยบริษัทในการลดต้นทุนเรื่องขวดน้ำมากกว่าหรือเปล่า?

ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่ง “น้ำทิพย์” ขวดบางๆ แบบนี้จะเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ซื้อครับ

WP_20130424_013