มองยังไงมาตรฐานอาชีพด้านไอซีทีที่กำลังจะเกิดขึ้น

จากข่าว มาตรฐานอาชีพด้านไอซีทีคลอดแล้ว ในช่วง 2-3 วันที่ผ่าน พอเข้าไปดูที่ โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ “สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิตอลคอนเทนต์” ก็พอทราบรายละเอียดว่า มาตรฐานนี้จัดโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) แน่นอนว่าเป็นของใหม่ที่ไม่ทราบว่าสถาบันนี้มาได้อย่างไร เลยค้นข้อมูลก็พบรายละเอียดและแนวทางของสถาบันแห่งนี้ หากดูเนื้อหาทั้งหมดแล้วนั้น ในความคิดเห็นส่วนตัวไม่มีปัญหากับการสอบมาตรฐานประกอบวิชาชีพไอทีนะ คือมองว่ามันคือ certificate ตัวหนึ่งในตลาดที่นำไปใช้งานในการแวดวงราชการได้ ซึ่งผมมองว่าคงคล้ายๆ กับมาตรฐานวิชาชีพอื่นๆ เช่น ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร ใบประกอบวิชาชีพครู ใบประกอบโรคศิลป์ ใบประกอบวิชาชีพเภสัช ใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก ใบประกอบวิชาชีพบัญชี หรืออนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ เป็นต้น

ประโยชน์อย่างแรกคือ หากต้องการรับงาน หรือไปประมูลงานในโครงการต่างๆ ก็ต้องมีมันไว้เป็นมาตรฐานการรับงานขั้นต่ำสุดที่ควรจะมีคนผ่านใบมาตรฐานประกอบวิชาชีพไอทีนั้นร่วมอยู่ในทีมผู้รับงานด้วย ส่วนต่อมาคือ ต่อไปเวลารับเข้าทำงานถ้าผ่านใบมาตรฐานประกอบวิชาชีพไอที ก็แสดงว่าผ่านมาตรฐานส่วนกลาง ไม่ว่าจะจบมหาวิทยาลัยระดับไหน หากไม่ผ่านก็ถือว่าไม่ได้มาตรฐานส่วนกลางมันก็แค่นั้น

ซึ่งหากสังเกตดีๆ อาชีพใดๆ ที่มีการสอบใบประกอบวิชาชีพมักจะยุ่งเกี่ยวกับหน่วยงานราชการเป็นสำคัญ โดยในภาคเอกชนคงไม่กระทบเท่าไหร่ เพราะสายงานนี้ก็รับกันด้วยการทดสอบ หรือดูที่ผลงานกันอยู่แล้ว แต่ภาคราชการจะกระทบมาก เพราะนักวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ จะต้องสอบ และทำให้มาตรฐานสายงานไอทีในระดับนักวิชาการของหน่วยงานรัฐฯ มีมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งส่วนตัวคิดว่าดีนะ เพราะใบประกอบวิชาชีพอื่นๆ ก่อนหน้านี้ หลายๆ ตัวก็ได้มาตรฐานที่ดี บางใบมีการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพด้วย เพราะใบประกอบวิชาชีพเหล่านั้นมีวันหยดอายุ ต้องมาสอบเพื่ออัพเดทความรู้ตลอด ซึ่งก็ดีสำหรับวิชาการที่ก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา ซึ่งส่วนของไอทีแรกๆ คงมีข้อกังขาในช่วงแรกๆ แหละ ซึ่งคงใช้เวลาวัดกันว่ามาตรฐานที่สอบๆ กัน มันช่วยเพิ่มเติมความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน

ฉะนั้นเรื่องการสอบมาตรฐานประกอบวิชาชีพไอที ผมมองว่ามันถูกผลักดันมาหลายรอบแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จ หรือเป็นท่แพร่หลายเสียเท่าไหร่ ก็ไม่รู้โครงการนี้จะเป็นโครงการสุดท้าย หรือว่าจะต้องทำโครงการแนวๆ นี้กันอีกสักกี่รอบเหมือนกัน ><“

หลังจาก Microsoft Surface 2 แล้วไงต่อ?

คือส่วนตัวใช้ Surface RT อยู่แล้ว น่าจะพอเทียบๆ คราวๆ ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าว่ากันตรงๆ ในตอนนี้ ผมแนะนำให้ซื้อ Surface Pro 128GB จะดูคุ้มค่ากว่า Surface 2 ในแง่ความสามารถในการรองรับซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่หลากหลายกว่ามาก แม้ Windows RT 8.1 จะมีแอพเยอะขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังห่างชั้นกับ Windows 8.1 ใน Surface Pro อย่างเทียบกันไม่ติดจริงๆ (Surface Pro เล่น Diablo 3 ได้นี่ก็ถือว่าห่างชั้นกันแล้วกัน) และ Surface Pro 2 ดูจะไม่มีทีท่าว่าจะเข้ามาในตลาดไทยเร็วๆ นี้ (มั้ง)

สำหรับท่านผู้ปกครองที่เผลอมาอ่านเจออยากให้ลูก-หลานมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้ทำรายงาน หรือเรียน ซึ่งเน้นแต่ Microsoft Office เป็นหลักเลย อยากแนะนำให้ซื้อ Surface RT หรือ Surface 2 ก็ดูจะตอบโจทย์ดีกว่า Surface Pro เพราะอย่างน้อยๆ ก็มีเกมให้เล่นได้น้อยกว่า (ผมถือว่าเป็นข้อดีนะ) คือเอามาเรียน ทำรายงาน ท่องเน็ตได้ มัลแวร์ก็ยังไม่เยอะ และ ณ ตอนนี้ ผมว่า Surface RT ก็ยังคุ้มค่ากว่ากับราคาขนาดนี้ ราคา 8-9,890 บาทของ Surface RT นี่คุ้มเกิ้น เพราะส่วนที่ได้เพิ่มเติมมากับ Surface 2 นั้น แม้จะดูเยอะ แต่ถ้าใช้งานจริงๆ ก็ไม่ได้แตกต่างกันจนรู้สึกว่าเงิน 5-6,000 บาทที่จ่ายเพิ่มเติมไปดูคุ้มค่ามากขึ้น เอาส่วนต่างไปซื้อสายชาร์จ เมาส์ คีย์บอร์ด และสายต่อพ่วงอื่นๆ เพิ่มเติมน่าจะเหมาะสมกว่า

prod_surface2_Pageสรุป Surface 2 มีอะไรดีเนี่ย?

คือเจ้า Surface 2 เป็นการอัพเกรดตัวเครื่องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถตัว Windows RT 8.1 เป็นหลักเสียมากกว่า กล่าวคือ หน้าจอละเอียดขึ้นเป็น Full HD 1080p ที่จอภาพละเอียดกว่าตัวเก่าเท่าตัว ให้ CPU และ VGA แรงขึ้นกว่าเดิม (อัพเกรดเป็น NVIDIA Tegra 4) แต่ยังคงงก RAM ที่ 2GB เหมือนเดิม (เพื่อ!?!?) ส่วน Fullsize USB 3.0 ทีให้มาก็ดีมีประโยชน์ แต่ในตลาด Tablet ดูจะเป็นส่วนเกินไปสักหน่อย (ใส่ micro USB 3.0 มาก็ได้ แล้วให้หัวแปลงน่าจะตอบโจทย์กว่ามั้ง) รองรับการส่งภาพแบบไร้สายที่ชื่อ Miracast (ซึ่งใน Surface RT ไม่มี) กล้องหน้า-หลังที่ละเอียดมากขึ้น รับการเร่งความสว่างในที่มีแสงน้อย (แต่ชาวบ้านเค้าก็ทำความละเอียดหนีไปแล้ว) แบตอยู่ได้นานขึ้นกว่าตัวเก่าอีก 3 ชั่วโมงเป็น 10 ชั่วโมง และขาตั้ง kickstand ปรับระดับได้ 2 ระดับ (ดูดี แต่ทำให้คำโฆษณาตอน Surface RT ที่บอกว่าคิดมาอย่างดีดูแย่ไปเลย) ซึ่งจากสิ่งที่อัพเกรดขึ้นมา อยากให้ลองเทียบๆ ดูว่าได้ใช้ความสามารถหรือความเร็วแรงต่างๆ พวกนี้แค่ไหน กับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมไปอีกครึ่งหมื่น

ราคา Surface ณ วันที่ 25 มีนาคม 2557 (ราคาจาก IT City)
– Surface RT 32GB ราคา 8,290 บาท
– Surface RT 64GB ราคา 9,890 บาท
– Surface Pro 64GB ราคา 15,990 บาท
– Surface Pro 128GB ราคา 18,990 บาท
– Surface 2 32GB ราคา 14,500 บาท
– Surface 2 64GB ราคา 17,500 บาท
– Touch Cover 2 for Surface ราคา 4090 บาท (มีสีเทา)
– Type Cover 2 for Surface ราคา 4490 บาท (มีสีม่วง ฟ้า ชมพู เทา)

ส่วนตัวใช้ Surface RT 64GB อยู่ เห็นราคาล่าสุดที่ 9,890 บาท แล้วสะท้อนใจ ผมซื้อมา 12,500 บาท!!! T_T

คำถามต่อมา เทียบกับ Tablet ของ platform อื่นเช่น Android หรือ iOS แล้วยังไง?
คนละแนวคิดเลย ให้มองว่ามันเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ดันอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็น Tablet มากกว่า ซึ่งถ้าจะใช้ Surface คุณจะคุยกับคนใช้ Android หรือ iOS ไม่รู้เรื่อง ><”

มองว่าขายได้ไหมในไทย?
ผมว่ายังขายยากอยู่ ณ ตอนนี้ ตัวมันเองไม่ใช่ขายไม่ได้นะ แต่คนซื้อ Tablet ติดภาพความวาไรตี้ มากกว่าเอาไปใช้ทำงาน คือต้องคิดว่าคนซื้อ Windows 8 Tablet ซื้อมาทำงานเป็นหลัก และยังมี Tablet ในอีก platform หนึ่งตัวแยกต่างหากเป็นอย่างน้อย คือมีเจ้าตัวนี้ตัวเดียวถามว่าได้ไหม ก็บอกว่าได้ แต่ต้องใจแข็งกับความอยากได้ใคร่มีตัวแอพต่างๆ ที่ฮิตๆ กันเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งส่วนตัวผมก็ยังทำไม่ได้นะ ผมก็ยังมี Android Tablet ขนาดหน้าจอ 7″ ไว้เล่นนั้นนี่อยู่บ้างเช่นกัน ว่าง่ายๆ คือ Microsoft ต้องยอมรับความจริงให้ได้ว่าในตลาดนี้ตนยังรั้งท้ายมากๆ (ไกลสุดๆ) ต้องทำใจในช่วงนี้ว่าตัวเองไม่ใช่ตัวเลือกแรกในตลาด Tablet สักเท่าไหร่ คือถ้าไม่ทำราคาให้ดูน่าสนใจ ผลักดันให้นักพัฒนาทุ่มกำลังมาลงแทพให้ทัดเทียมกับ Android หรือ iOS คนก็ยังไปเล่น Android Tablet หรือ iPad อยู่ดี คือ Microsoft ทำ platform ตนเองดีแค่ไหน ระบบ Store ดีมากๆ ระบบรัดกุมสุดๆ แต่แอพไม่ลง ก็เท่านั้น เพราะโลกในวันนี้ขับเคลื่อนด้วย แอพของนักพัฒนาภายนอกมากกว่าผู้ควบคุมระบบนิเวศ เพราะในโลกที่เกือบทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ที่รัน Windows เพื่อใช้ทำงานได้อยู่จนครองตลาดไร้ผู้แทรกแซงฉันใด ในตลาด Tablet ตอนนี้ก็ดูจะไม่จำเป็นต้องมี Windows เพื่อใช้ทำงานสักเท่าไหร่เช่นกัน (เพราะดันมาช้าไป)

อันนี้เป็นเนื้อหาแนวบ่นๆ ระหว่างรอ Microsoft ส่ง Surface 2 มาให้รีวิวแล้วกันครับ เดี่ยวจะรีวิวเทียบ Surface RT vs Surface 2 ไปเลยทีเดียว เขียน Surface 2 แล้วเดียวมันครึ่งๆ กลางๆ แถม รูป Surface 2 เมื่อวานก็ลืมถ่ายมา แต่ก็นะ เขียนบ่นแรงขนาดนี้เค้าจะส่งมาให้รีวิวไหมเนี่ย ><“

มองคนละมิติกับกูเกิลสตรีทวิว

ขอแสดงความคิดเห็นว่า ผมไม่โทษใครนะ จะบอกว่าคนไทยไม่รู้ ผมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดเลย คนหาเช้ากินค่ำ อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเค้าไม่ได้เข้าถึงเรื่องพวกนี้ได้อย่างปรกติเหมือนพวกเรา (ควรเข้าใจพื้นที่เค้าด้วย) หลายๆ คนไม่ทราบหรือไม่เคยเจอก็ต้องระแวงไว้ก่อน อยู่ๆ มีรถหน้าตาประหลาดมาทำทีถ่ายรูปต่างๆ ในพื้นที่ตัวเองมันจะไม่มีใครสงสัยเลยเหรอ? เอาง่ายๆ ลองมองในมุมหนึ่ง อยู่ๆ วันหนึ่งมีคนเดินมาหน้าบ้านคุณๆ (ที่บอกว่าตัวเองฉลาดรู้จักกูเกิลสตรีทวิว) แต่ไม่ใช่กูเกิลสตรีทวิวแต่เป็นนักสืบ หรือคนที่กำลังอาจจะปล้นบ้านคุณ คุณไม่สงสัยหรือระแวงเหรอ? ซึ่งในสังคมที่การใช้วิธีฉลาดแกมโกงอยู่เนืองๆ เค้าคงระแวงมากขึ้นพอสมควรแหละ (ผมว่าเค้าโดนมาเยอะกว่าที่พวกเราคิดจากข่าวสารเก่าๆ หลายๆ อย่าง)

ในประเทศในแถบยุโรป หรือที่ที่เค้าคำนึงถึงสิทธิในปัจเจกชนมากๆ การเข้าไปถ่ายรูปในบริเวณบ้านคน แม้แต่ติดหน้าคน หรือรถที่ระบุถึงตัวบุคคลยังเป็นเรื่องเลย (ใครจำกระทู้อาทิตย์ที่แล้วที่ถ่ายรูปรถแล้วไม่ได้เบลอป้ายทะเบียนแล้วบอกว่าอยู่หน้าสถานบันเทิงคงเข้าใจได้มากขึ้น) แถมในข่าวนี้เป็นพื้นที่ที่ยังมีปัญหากับทางภาครัฐยิ่งแล้วใหญ่เลย ควรทำการบ้านและเข้าใจพื้นที่ที่ตัวเองเข้าไปทำงานให้มากขึ้น นี่เค้าแค่กักตัวนะ ดีไม่โดนทุบ ><" ส่วนตัวแล้วผมสนับสนุนการสร้างเขือน แต่ไม่สนับสนุนการสร้างสิ่งที่ว่าบนพื้นฐานความไม่เข้าใจและอยู่ร่วมกันไม่ได้ของคนในพื้นที่ครับ และพยายามมองในหลายๆ มุม พยายามเข้าใจทุกฝ่าย และมองว่าไม่มีใครผิดหรือเรื่องหน้าอายแต่อย่างใด เป็นความไม่รู้ของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น และทุกอย่างมันก็เคลียร์กันได้เองในท้ายที่สุดในข่าวที่ชาวบ้านได้ออก แถลงการณ์ขอโทษ

ความคิดเห็นส่วนตัวจากข่าว "ผู้ร่วมก่อตั้ง Android บอก อย่าตื่นตระหนกกับปัญหา fragmentation มากเกินไป"

จากข่าว “ผู้ร่วมก่อตั้ง Android บอก อย่าตื่นตระหนกกับปัญหา fragmentation มากเกินไป

ส่วนตัวผมมองว่า คนพูดไม่ได้รับผลกรรมที่ตัวเองก่อขึ้น เลยได้แต่พูดครับ เพราะจากที่ได้เคยพัฒนาและนั่งฟังคนพัฒนาบ่น ผมและคนเหล่านั้นอยากจะบอกทุกคนว่ามันชวนปวดหัวมากกับการทำให้รองรับมือถือร้อยพ่อพันแม่ แถมเครื่องมือพัฒนาก็แย่มากไม่ช่วยอะไรต้องลงมือเองเยอะ (Android studio อาจเป็นความหวังของการพัฒนา App ในอนาคต)

ส่วนฝั่ง User เป็นเรื่องที่ทำให้ประสบการณ์ในการใช้งานของเค้า “แย่” มากเมื่อเทียบกับ iOS หรือ OS ตัวอื่นๆ ที่มีการควบคุมเรื่องขนาดจอภาพ การจัดวางปุ่ม ฯลฯ อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อไม่มีการควบคุมอย่างดี มันทำให้ความหลากหลายนั้นมากเกิน นักพัฒนาไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการพัฒนาและทดสอบได้ ซึ่งผมมองว่ามันจะกลายเป็นความซวยแบบไม่รู้ตัว แทนที่จะได้ App คุณภาพดี กลับได้ App คุณภาพแย่เพราะนักพัฒนาเอาเวลามานั่งทำในเรื่องบ้าๆ บอๆ ที่บางครั้งไม่เกี่ยวกับสิ่งหลักๆ ใน App เลย อย่างทำให้ขนาดหน้าจอรองรับได้หลากหลาย ทำงานกับ HW แปลกๆ ไม่ได้ รวมไปถึง App เดียวกัน แต่ทำงานต่างยี่ห้อมือถือ ประสบการณ์ในการใช้งานต่างกัน บาง App ใช้งานกับ CPU ช้าๆ ไม่ได้ แต่บางคนก็ไปดันทุรังทำลงไปได้แต่ก็ใช้งานกระตุกและประสบการณ์ในการใช้งานย่ำแย่ เพราะ User บอกว่า ก็มัน Android เหมือนกันนิ

อันนี้ผมพูดรวมๆ ในเชิง Technical ทั้งหมด เพราะผมหมายถึง Technical ส่วนผู้ใช้เค้าเข้าใจไหมนั้นอีกเรื่อง

ผมจะเล่าเรื่องแม่ผมใช้ Android ให้ฟังสักหน่อย ว่าเรื่องของ fragmentation มันสร้างความชวนปวดหัวให้มากแค่ไหน

ท่านไม่เคยใช้มือถือ Smartphone มาก่อน พอได้ LG Optimus 4x HD มา ก็เลยให้ท่านใช้ คู่มือมีสอนไม่คลอบคลุม แถมหนังสือต่างๆ ที่วางขายก็ไม่มีรุ่นนี้รองรับ แน่นอนว่าผมใช้ไม่ยากหรอก เพราะมีประสบการณ์ ดำน้ำไปสักพักก็ใช้เป็น แต่กับแม่ผม ผมสอนท่านเรื่องอ่านคู่มือการใช้งานให้เป็นหลัก ไม่ว่าอุปกรณ์อะไรผมเน้นแบบนี้เสมอ แต่กับมือถือ android โดยทั่วไป หาคู่มือและหนังสือที่สอนหรือแนะนำ App แบบไม่อ้างอิงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งได้น้อยมากๆ มันไม่เหมือน iOS, Blackberry หรือ Windows phone ที่ UI นั่นไม่หลากหลายเท่า สองเบื้องต้น ต่อยอดได้ในอนาคต แต่คนใช้ Android เปลี่ยนยี่ห้อหรือรุ่นก็ต้องเปลี่ยนและศึกษาใหม่แล้ว ซึ่งผมว่ามันแย่กับคนใช้งานมากๆ ครับ เพราะเวลามีปัญหาแม่ผมโทรเข้ามาถาม ผมอ้างอิง UI ในหัวผมไม่ได้เลย เพราะ Android ที่ผมมีใช้ก็มี UI และปุ่มกดที่ไม่เหมือนเครื่องที่แม่ผมใช้งาน (ผมใช้ oppo find 3 แถมแพ) บอกกดปุ่มเมนู ปุ่มนั้นนี่ มันอยู่คนละที่ สลับข้างกันบ้าง คือมันไม่มีมาตรฐานตายตัว แต่ส่วนตัวกว่าจะสอนให้แม่ใช้งานได้คล่องก็เป็นอาทิตย์เลยทีเดียว ซึ่งก็ลำบากพอสมควรสำหรับคนไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์ด้านไอทีอย่างแม่ผม แน่นอนว่าแม่ผมก็โอเคนะ เพราะ UI ใหญ่ เห็นชัดเจนดี แต่กว่าจะสอนให้ใช้ได้ก็พอสมควร T_T

หวังว่าจะเข้าใจการสื่อที่ผมสื่อนะครับ คนใช้ไม่สนใจ แต่คน Support คนใช้งานรับกรรมครับ คือบางครั้ง fragmentation ของ Android มันอาจจะไม่ใช่แค่ Technical เฉยๆ เท่านั้น แต่มันเป็น fragmentation ที่อยู่บน User Experience ของคนใช้งานระหว่างกันที่ไม่เข้าใจกันและกันด้วย เรือธงแต่ละค่ายคงไม่เท่าไหร่หรอก เพราะแพกว่าจะได้ล่องก็ผ่านไปเกือบปี แต่พวกล่างๆ รุ่นลองเรือธง โดนล่องแพเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว เพราะข้อจำกัดของ HW รุ่นเก่าที่ไม่รองรับความสามารถใหม่ๆ รวมไปถึง App รุ่นใหม่ๆ ที่รองรับและทำงานได้ดีแต่เฉพาะเรือธงที่ขายเท่านั้น ทำให้รุ่นเก่าๆ รุ่นความเร็วต่ำทำงานไม่ได้ไปอย่างน่าเสียดาย T_T

ความสามารถ “อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้” บน pantip.com มาแล้ว!

ส่วนตัวแล้วก็อยากได้ความสามารถนี้มานานนะ ตั้งแต่เรื่อง เมื่อผมเจอคนไข้ที่ (เชื่อว่า) ถูกควายธนูขวิด (ในฝรั่งเศส), โศกนาฏกรรมรัก (ของ ๒ นักเรียนไทย) ณ กรุงปารีส … ในฤดูใบไม้ผลิ และจนมาถึงกระทู้ล่าสุด +:+งานแต่งงานต้องยกเลิก…แต่ดิฉันกลับขอบคุณแฟนด้วยหัวใจ+:+ ส่วนใหญ่เป็นกระทู้ที่เจ้าของกระทู้เล่าเป็นตอนๆ ผ่านการตอบกระทู้ไปเรื่อยๆ (ส่วนตัวก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่แก้ไขข้อมูลที่หัวกระทู้ซึ่งตนเองเป็นคนโพสเพื่อจะได้ไม่ต้องเลื่อนไล่อ่าน แต่บางคนก็ชินกับการตอบกระทู้ไปเรื่อยๆ แบบนี้มั้ง เลยต้องเป็นแบบนี้)

จนมีคนเขียน Pantip Filter ที่เป็น extension บน Chrome ช่วงวันที่ 1 ก.ค. 56 ที่ผ่านมา

Extension Pantip Filter ช่วยคุณกรองข้อความ แสดงผลเฉพาะข้อความของเจ้าของกระทู้ ทำให้ไม่เสียเวลาอ่านกระทู้ยาวๆ

มาเมื่อวานช่วงเย็นๆ ผมก็ได้เจอความสามารถ “อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้” บนเว็บ pantip.com เรียบร้อย จบ! ไม่ต้องใช้ extension อะไรเพิ่มเติมอีกต่อไป คราวนี้ ดราม่าต่างๆ ก็อ่านกันฟินหล่ะครับ ;P

2013-07-02_202353