บ่นประมูล 3G

ขอเอาความคิดเห็นตัวเองจากใน Facebook มาลงสักหน่อย

จากเรื่องประมูล 3G เมื่อวาน เพื่อนผมหลายคนก็มาบ่นๆ ว่าได้ราคากลับเข้ารัฐน้อย คนแข่งขันก็น้อย ดูเหมือนสมประโยชน์กัน

ส่วนตัวสำหรับผมจะดูสมประโยชน์ไหม ก็อาจจะนะ คือนี่ต้องบอกว่าราคาเค้าว่าถูกยังมีคนแข่งอยู่ 3 เจ้า แต่ไอ้คนพูดก็อยากให้มีเจ้าใหม่ๆ เข้าประมูล (นี่เค้าว่าถูกๆ แล้วเนี่ย ทำไมมันไม่มีมาเพิ่มเลย) ซึ่งถ้าอยากให้มีเจ้าใหม่เข้ามาก็คงต้องลดราคาเริ่มต้นเยอะกว่านี้อีกเพื่อให้มีคนแข่งขันได้มากขึ้น แต่นั้นแหละ 3 เจ้าใหญ่ก็ยังอยู่ และแน่นอนว่าก็คงเข้าเรื่องเดิมคือทุ่มราคาลงมาจนอาจจะใกล้เคียงกับตอนนี้ หรือมากกว่าเล็กน้อย หรือมันอาจจะดุเดือดขึ้น แต่สุดท้ายทุกเจ้าก็มีข้อจำกัดของเงินของตัวเองอยู่ดี

สิ่งที่เกิดต่อมาคือ เราควรไปดราม่ากับค่ายมือถือ 3 ค่ายที่ให้ราคาเพียงเท่านี้คงไม่ได้ เพราะสิ่งที่เค้าทำก็ถูกต้องตามระเบียบการประมูลในครั้งนี้อยู่แล้ว เพราะ 4,500 ล้านบาท/ช่วงความถี่ นั้นเป็นราคาที่ กสทช. คิดว่าเหมาะสมที่รัฐจะไม่เสียผลประโยชน์ และแน่นอนว่าค่ายมือถือที่ได้สิทธิ์นั้นก็ใช้สิทธิ์นั้นเต็มที่เช่นกัน ถามว่าราคาตั้งต้นทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ไหม คำถามที่เอกชนก็ต้องถามรัฐกลับไปเช่นกันว่า รัฐทำให้เอกชนเสียผลประโยชน์ในการแข่งขันตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีหรือไม่ และประชาชนเสียผลประโยชน์ต่อตัวสังคมเองมากแค่ไหนตลอดระยะเวลาดังกล่าว ผมยังไม่เห็นใครเอาตัวเลขตรงนี้มาหักล้างหรือพูดกันเลย เพราะยิ่งล่าช้ามันก็ทำให้ระยะเวลาของ cycle technology ของตัว 3G นี้สั้นลงไปเรื่อย และสั้นกว่าที่ควรจะเป็น เพราะ 3G อาจมีอายุสั้นกว่าใบอนุญาติที่ทั้ง 3 ค่ายได้รับและสุดท้ายก็ต้องมาประมูลเพื่อใช้ 4G ต่อไปอีก (อนาคตมันไม่แน่นอน)

เพราะฉะนั้นส่วนตัวผมแล้ว มองว่าต้องคิดว่ายังได้ไม่พอ เราจะเรียกเก็บภาษีจากการให้บริการ 3G ในไทยในรูปแบบภาษีสรรพสามิต ภาษีน้ำเข้าอุปกรณ์ ฯลฯ อีกมากมายที่ทำให้รัฐยังคงได้รับผลประโยชน์ต่อไป และยังมีการติดตั้ง การจ้างงาน หรือเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการลงทุนในด้านนี้อีกเยอะ การหวังเพียงค่าประมูลใบอนุญาติเพียงอย่างเดียวอาจทำให้การแข่งขันในการประมูลนั้นดูดุเดือด แต่ก็แลกกับผู้เจ้าร่วมประมูลน้อยรายอย่างที่เห็นกันอยู่นี้

คือก็แลกกันไป เจ้าใหญ่เงินหนาก็จัดหนัก เจ้าเล็กๆ ยื่นรอบแรก พอเห็นระเบียบและระยะเวลาระดมทุนไม่ทันก็ถอยกันไปหมด นี่ขนาดว่าถูกๆ 4,500 ล้านต่อช่วงความพี่ ยังมีแค่ 3 เจ้าหลัก ถ้าไป 6-7,000 ล้านต่อช่วงความถี่ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ก็เหลือ 3 เจ้าเดิมประมูลนั้นแหละ แล้วมันจะเข้าเรื่องของการเลือกปฎิบัติอีกหรือเปล่า ><"

3G ไทยเรื่องเยอะเนอะ ญี่ปุ่นเกือบๆ จะแจกให้ไปทำเลย คือส่งข้อเสนอมาให้รัฐ ใครให้ข้อเสนอดีก็ได้ไป เค้าอยากเร่งให้มันเกิด แล้วให้เอกชนเมีเงินพอที่จะนำไปทำการขยายโครงข่ายได้ตามเงื่อนไขครบ แล้วเรียกเก็บภาษีจากผู้ให้บริการแทน แล้วตอนนี้เป็นยังไง ผมว่าคงไม่ต้องบอกมั้งครับ -_-"

6 เดือนกับ Oppo Find 3 สับแหลก!

มารอบนี้เป็นเรื่องราวการใช้งาน Oppo Find 3 ในช่วงเกือบๆ 6 เดือนที่ผ่านมา

ต้องบอกก่อนว่า ผมซื้อเจ้า Oppo Find 3 ตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว (ไปซื้อเครื่องที่งานเปิดตัวเลย) แล้วจริงๆ ผมได้จับและเล่นเครื่องก่อนงานเปิดตัว (เพราะได้ลองเครื่อง demo/review) ส่วนตัวตอนนั้นกำลังเล็ง Sony Xperia S แต่กว่าของจะเข้า ของจะมา กว่าจะได้ซื้อนานมาก แล้วพอได้ลองเครื่องเจ้า Oppo Find 3 ผมก็ว่าโอเคนะ จอภาพสวยงาม ความเร็วของเครื่องก็เร็วดีมาก กล้องก็ถ่ายออกมาชัดดีด้วย หน่วยความจำที่ให้มาก็ถือว่าสมราคา แม้วัสดุฝาหลังจะดูแปลกๆ แต่โดยรวมแล้วตัวเครื่องนั้นงานประกอบดีมาก

DSC_8675 DSC_8676

DSC_8687 DSC_8693

ถ้าถามว่าจะให้ติส่วนไหน จริงๆ ต้องบอกว่าคงเป็นฝาหลัง แล้วก็ที่ปิด ช่อง microUSB ที่ดูจะลำบากมากเวลาจะใช้งานสักหน่อย (ผมใช้ไปสักพักรำคาญ เลยดึงออกมันซะเลย)

ซึ่งตอนซื้อผมได้แถมเคส ฟิล์มกันรอยหน้าจอ และแบตก้อนที่สอง มาด้วย คือใช้งานไปสักพักเลยเข้าใจเลยว่าแถมแบตก้อนที่สองนั้นสำคัญมาก เพราะแบตหมดเร็วพอสมควรเลย

สำหรับคุณภาพเสียงจากลำโพงที่ตัวเครื่องนั้นผมว่าทำได้ดีนะ เสียงที่ได้มีแบสออกมาเป็นลูกๆ เลย ดูใส่ใจ และให้ความสำคัญกับลำโพงที่เครื่องโทรศัพท์ดีครับ เปิดฟังเพลงแทนลำโพงตั้งโต๊ะก็พอไหวนะ

สำหรับเรื่องกล้องนั้นการถ่ายรูปทำได้ดีครับ หน่วงๆ บ้าง ก็พอเข้าใจได้ คงเอาไปสู้กับ Samsung Galaxy Nexus ที่ผมเคยได้ลองใช้ไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ห่างกันมาก การถ่าย HDR ทำได้ดีเลยแหละ

(ไฟล์รูป Original คลิ้กจากรูปได้เลย)

IMG20120727141114

IMG20120604180622 IMG20120418131556

IMG_20120907_204725 IMG_20120907_204840 (2)

IMG20120907132329 IMG20120805224049

IMG20120517190609 IMG20120826211311

IMG20120824063019

สำหรับสเปคคงหากันไม่ยากนะครับ

SCR_20120517_011853
คะแนน benchmark เครื่องที่ผมมีอยู่

ซึ่งจากที่ใช้มา ตัวเครื่องมันมี Storage อยู่ 3 ส่วน คือ Phone (2GB), Internal storage (16GB) และ microSD Card (ผมใส่ไป 16GB Class 10) จากที่ใช้มาก็ไม่ค่อยได้ใส่อะไรหนักๆ เท่าไหร่ (นอกจาก MV/VDO) แล้วเพลงก็ไม่ได้ใส่ เพราะมี iPod nano กับ iPod Touch ใช้งานแยกต่างหากอยู่แล้ว (ผมมักแยกในเรื่องนี้ เพราะจะได้ทำงานสะดวก และไม่ต้องพะวงเรื่องแต)

SCR_20120625_180825 SCR_20120625_180658

ตัว OS ตอนแรกที่ผมได้มานั้นเป็น Android 2.3.6 (Gingerbread) โดยเป็น version 3.05 (version ของ Oppo ที่เรียกลำดับของ ROM ตัวเอง) ช่วง 1-3 เดือนแรกของการใช้ Oppo Find 3 เป็นไปด้วยความยากลำบากในการใช้งานอยู่พอสมควร ด้วยความที่ ROM ของ Oppo Find 3 นั้นมีปัญหาในเรื่องของการจับสัญญาณ AIS และการติดต่อ Internet จน Connection overflow และทำให้เกิดปัญหาเครื่อง restart อยู่บ่อยครั้ง คือใช้ๆ อยู่ ถ้าเริ่มต่อ Internet ไม่ได้ แล้วดันทุรังใช้งานไป เครื่องจะ restart ทันที!!! ซึ่งเป็นบ่อยมาก วันนึงไม่ต่ำกว่า 10 รอบ (ผมเป็นคนใช้งาน Internet บ่อยมาก) หรือบางครั้งโทรศัพท์อยู่ ก็ดัน Restart ไปซะอย่างนั้น ทำให้การติดต่อสื่อสารเริ่มมีปัญหา ผมบ่นๆ ใน twitter ไปหลายรอบ จนทางทีมงาน Oppo Thai ติดต่อกลับมาเพื่อรับทราบปัญหาและแก้ไข ซึ่งส่วนตัวในตอนนั้นก็ประทับใจในการใส่ใจ จนเริ่มเสถียรตอน Android 2.3.6 version 3.15 ได้ ปัญหาเรื่องนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก ซึ่งส่วนตัวก็ประทับใจ

จนทาง Oppo Thai ออก ROM ตัวใหม่ Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) โดยเป็น version 4.03 (version ของ Oppo ที่เรียกลำดับของ ROM ตัวเอง) พออัพ ก็งานเข้าเลย เกิดอาการแฮงกระจาย และมีออก version 4.06 ออกมา ก็คิดว่าจะแก้ไขปัญหา ดันมีปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีก งั้นผมลิสรายการปัญหาทั้งหมดเลยแล้วกัน ><”

  1. เครื่องแบตหมดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ 4-5 ชั่วโมงแบตเหลือ 20% (หรือต่ำกว่า) ทั้งๆ ที่ปิด 3G แล้วนะ
    (GPS และ AutoSync ก็ปิด แต่เหมือนตัว Bar ที่ใช้ในการปิดมันจะใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะเห็นขึ้น AutoSync ขึ้นมาทั้งที่ปิดไปแล้ว)
  2. เครื่องร้อนกว่าปรกติ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิด Apps อะไรด้านหลังเยอะแยะ เกมก็ไม่มีสักเกม
  3. การใช้งานร่วมกับ Apps ที่เชื่อมต่อ Internet ตลอดเวลา หรือพวก Push ต่างๆ โดยเฉพาะ Apps ที่เกี่ยวกับ Chat ทั้งหมดถ้าลง ROM ใหม่ๆ จะโดน Apps ที่จัดการเรื่อง Security (บ้าบอสักตัว) มาคอยปิด Apps หรือ block การเชื่อมต่อไว้ ทำให้ไม่แจ้งเตือน ต้องไปตั้งค่าใน Security ให้ allow เป็นราย Apps ไป (ส่วนตัวผมปิดมันไปเลย) แล้วแบบนี้คนใช้งานทั่วไป ใครมันจะไปรู้ครับ
  4. การกดวางสายตอนโทรศัพท์ชอบค้างไปดื้อๆ ทำให้วางสายไม่ได้ หรือวางสายช้ากว่าที่ควรจะเป็น (กดวางแล้วไม่ยอมวาง บางครั้งต้องถอดแบตออกก็มีมาแล้ว)
  5. ระบบการแจ้งเตือน Data plan ที่ใช้เกิน (data exceed) ไม่มีที่ปิด หรือกำหนด!!! เหมือนมันหายไปตอน Android 4.0 และไม่มีที่ให้ปรับ หรือยกเลิกแจ้งเตือน
  6. เมื่อ restart เครื่อง ในส่วน Notification Bar บอกปิด 3G แต่สัญลักษณ์เชื่อมต่อคือ H หรือเชื่อมต่อ 3G อยู่ ต้องมาไล่ปิด-เปิดใหม่อีกรอบ
  7. Apps “Photos” ที่ให้มากับเครื่องนั้นโดยรวมดี แต่มีปัญหาในการที่มันไปวิ่ง scan หารูปใน directory ของระบบทุกๆ path/mount ของระบบเลย พวกลากเอาทั้ง cache image ของ Apps ต่างๆ มาด้วย ทำให้ใช้งานจริง ไม่ได้ เพราะรกและหาไฟล์รูปจริงๆ ที่มียากมากจนต้องใช้ ES File Explorer และ JustPictures มาใช้แทน
  8. Home Screen/Luncher ถ้าใช้ของตัวอื่นที่ไม่ใช่ของ Oppo จะมีปัญหาชอบ reset ตัวเอง และบางครั้งตอน restart เครื่อง กลับมา ก็จะ reset ไปใช้ของ Oppo (เครื่องมันความจำเสื่อมหรือไง)
  9. Icon ของ App ไร้รสนิยมมาก เป็นมาตั้งแต่ Android 2.3.6 ควรเปลี่ยนหรือทำให้มันเปลี่ยนได้ด้วย ผมรับไม่ได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ผมเปลี่ยน Home Screen และต้องมาโหลด Icon pack เสียเงินเพิ่มอีก
  10. ปัญหาเครื่อง restart/reset ตัวเองกลับมาอีกแล้ว รอบนี้ผมไม่ได้ใช้ AIS แต่เป็น dtac ซึ่งสัญญาณ Internet ดีกว่ามาก เพราะงั้นปัญหาเดิมไม่น่าใช่ วางๆ อยู่เฉยๆ มัน restart ไปดื้อๆ เลย หรือโทรศัพท์อยู่ดัน restart ตัวเอง (คุยงานอยู่ด้วยนะ) นี่ถ้าไอ้คนใช้คนนั้นมันกำลังทะเลาะกับสาว มันไม่โดนงอนตายเหรอว่าวางหูใส่ ><”
  11. อยู่ๆ ก็ เกิดอาการเล่นเพลงกระตุก (ไม่เคยเกิดขึ้นตอน Android 2.3.6)
  12. OTA มีเหมือนไม่มี ตอน Android 2.3.6 นั้นผมอัพผ่าน OTA และผ่านเว็บ มีให้โหลดแบบรู้สึกได้ถึงความใส่ใจ แต่ใน Android 4.0 ต้องเข้า ศ. ไปอัพเท่านั้น OTA ไร้การตอบรับ การดาวน์โหลดผ่านเว็บโดนถอดออก
  13. ใน Android 4.0 ในส่วนของ ROM นั้น Oppo Find 3 ไร้การสนันสนุนอย่างเห็นได้ชัด มีการออก ROM มาให้โหลด 2 ตัว ระยะห่างกันประมาณ 1 เดือน และรอบล่าสุดก็เงียบหายไปนานแล้ว (คิดว่าประมาณ 1 เดือนเกือบๆ 2 เดือน) ตอน Android 2.3.6 ออก ROM และแก้ไขปัญหาเกือบทุกอาทิตย์ มีการสนับสนุนที่ดีกว่าในตอนนี้มาก (ตอนนั้นประทับใจมาก) สรุปคือทิ้งคนใช้ Oppo Find 3 ที่เปิดตลาดคุณไปแล้วเหรอ เห็นออก ROM ตัว Oppo Finder รวดเร็วทันใจมาก ส่วนคนใช้ Oppo Find 3 นั่งมองแบบงงๆ นี่เราลูกเมียน้อยหรือไง
  14. การ root หรือ custom ROM ของ Oppo Find 3 มีคนเล่นน้อย เอกสารหายาก คนเริ่มขาย Find 3 ทิ้งกันเยอะ ส่วนตัวผมก็กำลังนั่งคิดว่าจะไปใช้ Pure Google อย่าง Samsung Galaxy Nexus หรือตัวอื่นๆ ที่เป็น Pure Google ที่รองรับ Android 4.1 (หรือ 4.2 ในอนาคต) เพราะรอไม่ไหวกับการสนับสนุนแบบตามมีตามเกิดแบบนี้ (เข้าไปดู Webboard ของ Officialได้คนใช้แนะนำและช่วยเหลือกันเองซะเยอะ)
  15. การอัพ ROM แต่ละครั้งต้อง wipe แบบ all และ erase cache/userdata ทิ้งทั้งหมด แล้วต้องมานั่งลง Apps ใหม่ นั่ง config ใหม่ตลอด (เสียเวลาไป 1 วัน) ตอน Android 2.3.6 ยังดีหน่อย มี patch ให้ แต่ตอน Android 4.0 ต้อง wipe แถมต้องมา erase cache/userdata เองก่อนลง ไม่งั้นจะเจอข้ออ้างว่าที่มันแฮงเพราะคุณไม่ erase cache/userdata ก่อนติดตั้งให่ แล้ว User ที่ไหนมันจะมานั่งทำ ผมเป็น Power User ยังเบื่อเลย ><”

เล่าไม่หมด เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน เยอะมาก ผมเฝ้ารอ ROM ตัวใหม่ของ Oppo Find 3 ที่แก้ไขปัญหา ผ่านเว็บ (ผมไม่มีเวลาไป ศ. หรอกนะ) ผมก็หวังว่าจะไม่หมดความอดทนไปใช้ยี่ห้ออื่นก่อนก็แล้วกันนะ

ไม่รู้จะอธิบายยังไง? “สิ่งที่ควรจะมีในใบเสนอราคาตอนรับทำเว็บ”

จากทวีตที่ได้ทวีตไป

ผมอยากทำเว็บแนว Facebook แต่ผมมีงบ 50,000 บาท คุณพอช่วยผมได้ไหม" #อยากเอาหัวโขกข้างฝาตาย ><"

คือถ้าคุณต้องการทำเว็บแนว Social Network หรือจริงๆ ก็อะไรที่มีคนเข้าเยอะๆ หลักหมื่นหรือแสนคนต่อวันขึ้นไป มันไม่ใช่แค่คุณมีเว็บที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมมิ่งอย่างเดียวแล้วจบนะ มันมีเรื่องของการออกแบบหน้าตาของเว็บ (ซึ่งหลังๆ มืออาชีพในสายงานนี้มักจะคิดราคาแยกต่างหากกันอยู่แล้ว) และระบบ Server/Infra ที่มารองรับการใช้งานตัวเว็บซึ่งอยู่เบื้องหลังอยู่อีก
โดยต้องบอกก่อนเลยว่า ยิ่งคนเข้าเว็บที่คุณสร้างขึ้นมาเยอะเท่าไหร่ คุณก็ต้องจ่ายออกไปเป็นค่าระบบที่เอามารองรับการเข้าเว็บมากขึ้นไปด้วย นี่ยังไม่รวมค่า b/w ที่คุณต้องจ่ายให้ IDC ด้วยนะ เพราะถ้าคุณฝากตัวระบบไว้ในประเทศไทย link ระหว่างประเทศของคุณจะมีค่ามากๆ โดยราคาหลัก 1 Mbps อยู่ที่หลักหมื่นบาทหรือหลายหมื่นต่อเดือน (Link ของ IDC ต่อ inter connection)
นี่ยังไม่รวมสิ่งที่ผมมักผมเจอบ่อยๆ กับคนที่อยากได้เว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ไม่ทราบว่าต้องมีการจดชื่อเว็บ (Domain Name) และพื้นที่สำหรับฝากไฟล์เว็บที่จัดทำขึ้น (Web Hosting) ซึ่งมีค่าใช้ย้ายแบบเช่าใช้งานเป็นรายปี (หรือรายเดือน) ซึ่งเป็นราคาที่แยกต่างหากจากค่าเขียนระบบและงานออกแบบหน้าเว็บอีกด้วยนะ

ซึ่งทั้งหมดรวมกันแล้วจะมีการใช้เงินลงไปในเนื้องานอยู่พอสมควร ผมว่าคนที่เคยรับทำคงตีราคาคราวๆ ได้ว่าเท่าไหร่

จากที่บอกไป คงพอทราบภาพใหญ่ๆ แล้วว่าปรกติทำเว็บ 1 เว็บเนี่ยเรามีปัจจัยอะไรบ้าง (มันเยอะนะ แต่อันนี้ผมเอาแค่หลักๆ พอ)

แล้วเวลาผมเสนองานต่างๆ ผมคิดโครงสร้างและแบ่งส่วนงานในการเสนอราคาเป็น checklist ดังต่อไปนี้

  1. Data ETL.
    เป็นค่าใช้จ่ายในการกรอกข้อมูลใหม่ หรือการแปลงข้อมูลเข้าระบบจากระบบหนึ่งมาที่ระบบที่พัฒนาใหม่ และรวมถึงการจัดระเบียบข้อมูลที่ลูกค้าส่งมาแล้วใส่ลงในระบบ อันนี้บางครั้งเราก็ไม่แน่ใจว่ามีข้อมูลตั้งต้นเยอะแค่ไหน บางครั้งเจอข้อมูลจำนวนมากๆ จนต้องจ้างคนมาช่วยใส่ข้อมูลให้ก็มี เพราะฉะนั้นต้องคิดถึงตรงส่วนนี้ไว้
  2. Translate UI
    กรณีที่ระบบมีหลายภาษา ก็ต้องมีการแปลหรือจ้างคนมาแปล และในหน้า UI ก็ต้องมาไล่แก้ไขภาษากันทุกๆ String ซึ่งใช้เวลาอยู่พอสมควร
  3. Theme and CSS Layout Design
    งานออกแบบหน้าเว็บและการตัดหน้ากราฟฟิกต่างๆ ของเว็บ โดยอาจจะมีราคา Font ที่ใช้ในการทำ Theme และราคาของรูปภาพต่างๆ ที่นำมาใช้ในตัวเว็บใส่เสนอมาด้วย ซึ่งบางภาพอาจจำเป็นต้องซื้อจาก Stock Photo ต่างๆ ซึ่งทั้งราคาของ Font และ Stock Photo นั้นจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ในสื่อใดบ้าง และในส่วนรูปภาพก็ราคาตามขนาดของรูปภาพและระยะเวลาในการนำไปใช้ (ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อขาดมาเลย)
  4. General Implement
    การ Implement ระบบ ถ้ามีการ Custom ก็เพิ่มเป็น 3.1 – 3.n ไป แต้ถ้าแยกจนเป็นระบบใหม่ ก็เป็นข้อใหญ่ 4. – N. ไปซึ่งการแก้ไขงานในส่วนนี้ก็ต้องคิดเป็นราย issue ไป รวมไปถึงการปรับเพิ่ม-ลดระยะเวลาของงานนั้น ต้องตามความเหมาะสมในการแก้ไขงาน โดยการแก้ไขงานแต่ละครั้งต้องมีขอบเขตชัดเจนและมีจำนวนครั้งจำกัดหรือกำหนดระยะเวลาในการรอการ feedback เพื่อปิด issue ไม่งั้นเจอลูกค้าลากยาวจนลืม และเป็นการกำหนดกรอบเวลาให้ลูกค้าด้วยว่าต้องใส่ใจในการส่ง feedback กลับมา
  5. Domain Name
    ชื่อเว็บ ถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่ได้คิดเงินเพิ่ม อะไร นอกจากลูกค้าจะมีเรื่องการย้าย หรือเรื่อง support อื่นๆ ถ้าไม่ได้เยอะก็แถมๆ ไป แต่ถ้าต้องดำเนินเรื่อง หรือย้ายมาให้เราดูแลก็คิดเงินไปตามเนื้อผ้า
  6. Web Hosting
    หรืออาจจะเป็น Dedicated server, Colocation server or Cloud server อันนี้ปรกติตอนแรกก็ต้องดู scale เล็กกันก่อน แล้วค่อยไปเล่น scale ใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน
  7. Training & Document
    ค่าทำเอกสารคู่มือ และอบรบการใช้งานต่างๆ ตรงนี้ต้องคิด เพราะมีค่าเดินทางและค่าสอนด้วย จำไว้เสมอค่าทำระบบไม่รวมค่าทำเอกสารครับ ไม่งั้นคุณต้องใช้เวลาทำเอกสารพอๆ กับทำระบบกันเลยทีเดียว (ยิ่งมีการแก้ไขระบบก็ต้องกลับมาแก้เอกสารด้วย)
  8. Maintenance
    ค่าดูแลและแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ ปรกติผมจะเน้นเรื่อง bug และ security เป็นหลัก ตรงนี้คิดเป็นรายปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับ new feature ที่มันมาเพิ่มในข้อ 3. ด้านบน ตรงนี้ลูกค้าต้องจ่ายไม่อย่างนั้นก็ต้อง support ตัวเองไปหลังจากที่ระบบขึ้นไปแล้ว โดยปรกติผม Maintenance ให้แบบยังไม่คิดค่าใช้จ่ายในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเป็นช่วงหลังจากส่งมอบงานแล้วขั้นต่ำ 1 เดือน สูงสุด 3 เดือน

อันนี้คือคราวๆ ที่ผมคิดไว้นะ ซึ่งจะเห็นว่าจะมีครบตั้งแต่ input, process, output และ maintenance ส่วนตัวแล้วคิดว่าครอบคลุมในสิ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่ที่รับๆ มา และบางอย่างเป็นสิ่งลูกค้านึกไม่ถึง ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่า บางอย่างไม่คิดเนี่ยขาดทุนแน่ๆ ครับ

หลายคนคงถามว่า ถ้าคิดรวมไปในราคาส่วนใดส่วนหนึ่งได้ไหม ก็ตอบว่าได้ครับ แต่ถ้าแยกแยะออกมาจะทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าลูกค้ามีค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้างจริงๆ จะลดการตอบคำถามลงไปได้เยอะ เราจะอธิบายได้ชัดเจนมากๆ ว่าแต่ละส่วนเราทำอะไร และถ้าเค้าต้องการตัดออกจะลดค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่

ต้นทุนที่แท้จริง

จากข่าวเรื่องต้นทุนของสินค้า ซึ่งก็มีอยู่ตลอดเวลาเช่น เผยต้นทุน iPhone 5 รุ่น 16GB ราคาอยู่ที่ 5,200 บาทเท่านั้น!! หรือ คาดต้นทุนวัสดุและชิ้นส่วน iPhone 5 อยู่ที่ห้าพันกว่าบาท ซึ่งมีข่าวแนวนี้เยอะแยะในอดีต ซึ่งจริงๆ ก็มีมานานแล้วแหละ

ผมขอเสริมเพิ่มเติมจากที่ได้โพสไว้ใน Google+ เสียหน่อย

ผมได้เห็น ผมได้อ่านความคิดเห็นต่างๆ ก็ได้แต่ถอนหายใจเฮือกกกแรงๆ เพราะความเห็นส่วนใหญ่มุ่งแต่สิ่งที่จับต้องได้เป็นหลัก โดยลืมคิดถึงมุมของความความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในหลายๆ เรื่อง และมันรวมไปถึงคุณค่าของความคิดในมุมต่างๆ ของคนเรา ก่อนที่จะนำมาผลิตว่ามันมีต้นทุนอื่นๆ มากมายแค่ไหน

ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมก็หมายรวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย แต่กรณีนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากๆ แล้วผมก็ไม่แปลกใจว่าทำไมงานด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบ้านเรามันถึงได้ไม่ไปไหนกันสักเท่าไหร่ เพราะหลายๆ คนลืมนึกถึงต้นทุนที่จับต้องไม่ได้มากจนเกินไป เพราะถึงแม้ข่าวสารแนวๆ นี้มักจะมีในต่างประเทศเป็นปรกติ แต่เมื่อสื่อของบ้านเรานำมาตีข่าวเพื่อนำเสนอ แต่ความคิดเห็นต่างๆ มันเป็นความคิดเห็นของคนในบ้านเราเองที่สื่อถึงสิ่งที่อยู่ในข่าวดังกล่าว ซึ่งสะท้อนภาพได้ชัดเจนถึงแนวคิดนี้

การค้ากำไรเป็นเรื่องปรกติในวงการธุรกิจ จะมากจะน้อย มันขึ้นอยู่กับการความพอใจในการตั้งราคา และแน่นอนว่าถ้าราคานั้นที่ตั้งขึ้นมานั้นคนที่ซื้อคิดว่าไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสม ย่อมเป็นกลไกของตลาดที่จะกำจัด หรือบีบให้ผู้ขายต้องลดราคาตามกาลเวลาไปเอง (พูดง่ายๆ อย่าไปเดือดร้อนกับมันมากนัก)

การพัฒนาต่างๆ มันค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในมือคุณตอนซื้อเพียงเท่านั้น แต่มันมีสิ่งที่คุณไม่ได้ถืออยู่ในมือมากมายนัก ถ้าคุณจะพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานได้ทัดเทียมกับซอฟต์แวร์ที่ขายในระดับโลกหลายตัว คุณคงต้องใช้เวลาหลายปีหรือตลอดชั่วชีวิตคุณเพื่อที่จะทำมันให้ทัดเทียมได้ เพราะซอฟต์แวร์และสิ่งที่คุณจับต้องไม่ได้เหล่านั้น ไม่ได้ถูกสร้างมาเพียงคนคนเดียว คนพัฒนาซอฟต์แวร์กินข้าวราคาเดียวกับคุณ หรือต้นทุนเพียงหยิบมือที่คุณมี แต่มันมีคือกลุ่มคน และเครื่องมือต่างๆ มากมายที่นำเข้ามาเพื่อพัฒนาให้มันเกิดขึ้น ช่างน่าแปลกใจที่สุดท้ายพวกเราหลายๆ คน ตีค่ามันแค่สิ่งที่ถืออยู่ที่มือมันเพียงเท่านี้

 

รูปจาก Danmark O, Fohn Fjord, Renodde.70°N/26°W

ความเปลี่ยนแปลง…

เมื่อวานเป็นวันที่ได้เวลาที่จะทำในสิ่งที่อยากทำมาสักพักใหญ่ๆ นั้นคือการเปลี่ยน Theme ของ Blog ตัวเอง ซึ่งเป็นของ WordPress ที่ตัวเองใช้เขียน Blog อยู่ เป็น Theme ดูทันสมัยและเข้ากับปัจจุบันมากขึ้นอีกสักครั้ง แน่นอนว่าถึงผมจะทำงานหลักโดยใช้ Drupal เป็นการ implement system สำหรับลูกค้า และใช้ Joomla ในงานประจำอยู่ แต่ WordPress นั้นก็ตอบโจทย์ที่จำเป็นในงานส่วนตัวได้ดีกว่า เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ผมจะใช้มันเป็นทั้ง 3 ตัว ในงานแต่ละอย่าง

ด้วยพื้นฐานของมันชัดเจนอยู่บน PHP และฐานข้อมูล MySQL ที่ผมถนัดทั้งหมด การปรับเปลี่ยนครั้งนี้คงเพราะอยากเปลี่ยนแนวเดิมๆ ของ Theme เก่าอย่าง K2 ที่ผมใช้มายาวนานนับตั้งแต่ตอนผมเรียนมหาวิทยาลัยน่าจะเกือบ 6-7 ปีได้ ด้วยความที่มันง่ายและดูสะอาดตา เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนมาใช้ Corner ที่ดูจะเป็นอีกแนวหนึ่งซึ่งก็คล้ายๆ แต่แตกต่างในบางส่วนจึงเกิดขึ้น

แน่นอนว่าด้วยความที่เมื่อจะเปลี่ยนแล้ว ก็อยากได้อะไรที่เรียบง่ายและเป็นแนวที่ดูเป็นปัจจุบันและอนาคตมากกว่า ผมเลยหาแนว Modern UI ของ Windows 8 ที่ออกแนวเหลี่ยมๆ โทนสีไม่ไล่แฉดและตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนและรกเกินไป จึงมาจบที่ Theme ชื่อ Corner

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของ Theme เว็บ Blog อาจจะแค่เปลี่ยนแค่ตัวหน้าตาของเว็บที่ผมจะสื่อสารข้อมูลให้คนทั่วไปที่อ่าน แต่สำหรับผมมันมีอะไรหลายๆ อย่างในใจที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับ Theme ที่เปลี่ยนไปเหมือนกัน

ไม่รู้ซิ การเปลี่ยนแปลงทุกๆ อย่างในชีวิตผมมันมักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว และบางครั้งก็รู้สึกเสียดายในสิ่งที่ทำไปในอดีต เพราะมันจะไม่มีค่าเลยถ้าผมเปลี่ยนแปลงเพื่อเดินต่อไปในอีกเส้นทางหนึ่ง แต่เพื่อเริ่มต้นและเดินหน้าต่อไปในเส้นทางนั้น มันก็จำเป็น

วันนี้ผมตัดสินใจที่เลือกจะปล่อยบางอย่างและเริ่มต้นกับบางอย่างแล้ว….