วันนี้ที่นครสวรรค์ เมืองที่ถูกบังคับให้แห้ง! (29/10/2554)

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้ออกไปขี่รถเพื่อดูสภาพในเมืองหลังน้ำถูกสูบออกไป โดยที่น้ำในตัวเมืองเทศบาลนครสวรรค์ลดและแห้งลงไป เพราะโดนบังคับด้วยการสูบน้ำออก เพราะซ่อมพนังกั้น 6 จุดได้แหละครับ ไม่งั้นก็ยังจมน้ำอยู่เช่นเดิมเหมือนจังหวัดอื่นๆ อยู่ในตอนนี้แน่นอน

Pak Nam Pho-20111029-00390

สภาพของแถวๆ สี่แยกไปรษณีย์ ยังเห็นซากของขยะกองสูงๆ อยู่ตามถนน แน่นอนว่าคุณจะเห็นภาพแบบนี้ตลอดถนนในตัวเทศบาลตัวเมืองนครสวรรค์อยู่โดยทั่วไปในตอนนี้ครับ ซึ่งจากที่ขี่รถไปเรื่อยๆ จะเห็นร้านค้า และบ้านคนก็ยังคงทำความสะอาดบ้าน และสิ่งของที่จมน้ำอยู่ตามท้องอยู่ตลอดแนวทางถนนครับ

Pak Nam Pho-20111029-00391

พนังกั้นน้ำริมแม้น้ำเจ้าพระยาในตัวเมืองจังหวัดนครสวรรค์ครับ ยังคงความแข็งแรงอยู่เช่นเดิมครับ และแม่ผมบอกว่าเค้าเสริมเพิ่มเติมอีกบางส่วนด้วย โดยภาพรวมน้ำด้านนอกในตัวแม่น้ำยังคงสูงเมื่อเทียบกับด้านในตัวเมืองอยู่ครับ

Pak Nam Pho-20111029-00392

พนังกั้นน้ำในช่วงตัวเมืองเทศบาลนั้นสูงประมาณ 4-5 เมตรได้ (ผมกะเอา) ด้านซ้ายคือฝั่งตัวเมืองเทศบาล ส่วนด้านขวาคือแม่น้ำ (ดูได้จากระดับเรือที่จอดอยู่) จะเห็นว่ายังสูงอยู่มากครับ เพราะฉะนั้นจึงยังไม่น่าไว้ใจอยู่ต่อไปในตอนนี้

ทำงานที่บ้าน เพราะอพยพครั้งที่ 2 จากกรุงเทพฯ มานครสวรรค์

จากบันทึก บันทึกน้ำท่วมบ้านที่นครสวรรค์ 15/10/2554 ผมต้อง “อพยพ” ออกจากบ้านที่นครสวรรค์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2554 มาแล้วครั้งนึง และตอนนี้ตัวเมืองเทศบาลที่ท่วมในตอนนั้น ในวันนี้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นกว่า 70% ได้แล้ว ทำให้บ้านผมสามารถที่จะเข้าอยู่ได้ 100% แล้ว และในวันนี้ 28 ตุลาคม 2554 ผมก็ต้อง “อพยพ” ออกจากแมนชั่นที่กรุงเทพฯ อีกครั้งในวันนี้

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือต้องสามารถ “ทำงานที่บ้าน” ได้ในสภาพการณ์แบบนี้ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ผมได้ ขอติดตั้ง Internet ADSL ของ 3BB ความเร็ว 6Mbps เข้าที่บ้านที่นครสวรรค์ แน่นอนโดนบังคับทำสัญญา 1 ปีไปโดยสภาพบังคับ แต่เอาเหอะ ต้องใช้ มันไม่มีเหตุผลที่จะปฎิเสธได้แล้ว

วันนี้มาถึงที่บ้าน Internet ก็สามารถใช้งานได้ทันที เพราะ 3BB มาติดตั้งให้พร้อมใช้งานแล้ว ที่บ้านผมมี Wireless ADSL Router อยู่ตัวนึงไม่ได้ใช้งานค้างอยู่ เลยไม่ต้องแบกจากกรุงเทพฯ รวมถึงเช่าหรือซื้อใหม่

ซึ่งพอหมดเรื่อง Internet ก็มาถึงเรื่องไฟฟ้า ในบ้าน ทั้งหมดก็โอเคสภาพไฟฟ้าในบ้านทำงานได้ปรกติทั้งหมด และผมก็เตรียมปลั๊กไฟฟ้าทุกอย่างขนมาจากกรุงเทพฯ กล้องถ่ายรูปที่ขนมาครบชุด (กลัวโดนขโมย) ข้อมูลที่จำเป็นอยู่ใน Notebook ทั้งหมด และข้อมูลของวันนี้ทั้งหมดถูก Backup ไว้ที่ External HDD ที่ห้องเรียบร้อย โดยที่ผมไม่ได้เอามาด้วย เพราะมีความเสี่ยงที่จะเสียหายมากกว่าระหว่างการเดินทางเพราะผมไม่มีรถส่วนตัวแต่อย่างใด (น้ำมันไม่ท่วมถึงชั้น 7 แมนชั่นแน่นอน)

สำหรับการรับข้อมูลข่าวสาร ตอนเย็นวันนี้ได้ขอติดตั้ง Cable TV ท้องถิ่นเพื่อให้เค้าเข้ามาติดตั้งในวันพรุ่งนี้ทันทีเช่นกัน

ตอนนี้พูดได้ว่าตอนนี้พร้อมทำงานต่อเนื่องได้ทันที และตอนนี้ก็กำลังโหลดข้อมูลจาก Server ที่ IDC ทั้งหมดมา Backup ที่บ้านนี้เช่นกัน รออีกสักพักคงเสร็จ (ข้อมูลไม่เยอะ) ตอนนนี้ทุกอย่างเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ลุย!!!

Pak Nam Pho-20111028-00387

อุปกรณ์ที่ควรติดตัวใส่ในกระเป๋าเสมอตอนน้ำท่วมบ้าน

สรุปแยกออกจาก บันทึกน้ำท่วมบ้านที่นครสวรรค์ 15/10/2554 เพื่อง่ายต่อการอ่าน

  • ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย (มีไฟฉาย 3 ชุด)
  • มีดพกอเน็กประสงค์
  • เครื่องตรวจสอบไฟฟ้ารั่วแบบอิเล็คทรอนิกส์ (90-1,000V ไวระดับแค่สัญญาณมือถือเข้ายังดัง)
  • กุญแจบ้านและรถ
  • เงินจำนวณนึง
  • ค้อน (เอาไว้เผื่อจำเป็นต้องทุบประตูบ้านถ้าบ้านเข้าไม่ได้ เพราะประตูเป็นประตูไม้ มันบวมน้ำแล้ว)
  • ท่อพลาสติกยาวประมาณ 1.5 เมตร ไว้สำหรับเคาะพื้นไล่สัตว์ร้ายใต้น้ำ และไว้หาหลุ่ม/ป่อใต้น้ำ และเอาไว้ให้ให้เครื่องตรวจสอบไฟรั่วผูกเพื่อตรวจสอบไฟรั่วระยะไกล และยังไม่เป็นสื่อน้ำไฟฟ้าด้วย เอาไว้สะกิดปิดหรือเปิดสะพานไฟในบ้านได้ด้วย ซึ่งจะใช้ไม้ก็ได้ แต่ว่าถ้าเปียกน้ำจะทำให้แห้งยากกว่า แต่ดีกว่าที่ทนความร้อนได้เยอะ ส่วนถ้าเป็นโลหะจะเป็นสื่อน้ำไฟฟ้าแทน แต่แข็งแรงทนทาน เหมาะเอาไว้สู้กับสัตว์ร้ายได้ดีกว่า
  • ถังน้ำ 6 ลิตร บรรจุน้ำสะอาดไว้ล้างขาเวลาขึ้นชั้นสอง เพราะเราต้องการให้ชั้นสองสะอาดที่สุด ไม่งั้นจะมีปัญหาที่ว่าเราจะอยู่และกินข้าวด้านบนไม่ได้
  • โทรศัพท์มือถือจะห้อยคอไว้ตลอดเวลา การสื่อสารสำคัญมากในสภาพแวดล้อมแบบนี้

อุปกรณ์ในกระเป๋าพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันและทำให้ผ่านช่วงเวลายากลำบากมาได้ตลอดเวลา 3-4 วันที่ผ่านมาในตอนเหตุการณ์น้ำท่วมครับ

ส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมกรณีน้ำท่วมเยอะ (ผมเอาไปใช้ 1-2 รอบ ไม่ได้ใส่กระเป๋าติดตลอดเวลา)

  • เสื้อชูชีฟ (ป้องกันตกน้ำตอนอยู่บนเรือ)
  • หมวก (กันแดดกรณีเดินทางไกลๆ จะได้ไม่ล้า)
  • เสื้อกันฝน และร่มกันฝน
  • ยาทาหรือขี้ผึ้งกันน้ำกัดเท้า และยาทากันบาดแผลหรือแก้คัน
  • นกหวีด (ไว้เป่าเรียกคนในกรณีที่เกิดเหตุร้าย)

แชร์การป้องกันความเสียหายภายในบ้านในสภาวะน้ำท่วมจากประสบการณ์ตรง!

จั่วหัวจากประสบการณ์ตรง! เพราะทำมาหมดแล้วครับ

1. กระสอบทรายกันน้ำไม่ได้ 100% อย่าไว้ใจ ก่ออิฐและปูนไปเลย แล้วใช้กระสอบทรายเสริมแนวด้านหลังช่วยรับแรงที่ฐานของอิฐที่ก่อแทน

2. ส่วนที่เปราะบางที่สุดในบ้านไม่ใช่หน้าบ้าน แต่คือหลังบ้านและท่อระบายน้ำในบ้านชั้นล่างต้องอุดให้หมด ใช้การระบายน้ำจากชั้นสองเท่านั้น ไม่งั้นน้ำดันเข้ามาตามท่อทั้งหมด โดยเฉพาะส้วมชั้น 1 โบกบูนปิดทับไปเลย ไม่งั้นส้วมแตกแน่นอน!!! (ที่บ้านโดนมาแล้ว) น้ำสูงเกิน 50cm ที่หน้าบ้าน มีแรงมหาศาลจากใต้ดินเพียงพอจะดันให้ส้วมแตกได้ถ้าทำส้วมไม่แข็งแรงพอ ควรวางกระสอบทรายกดทับส้วมของบ้านชั้น 1 วันให้มีแรงกดสู้กับน้ำใต้ดินสัก 4-6 อันเป็นอย่างน้อย แต่ถ้าเป็นไปได้ถอดส้วมออกเลยแล้วโบกบูนปิดตายไปก่อน!!! (บ้านผมวาง 4 กระสอบยังเอาไม่อยู่เลย น้ำที่หน้าแนวกั้นหน้าบ้านสูงไม่ถึงเมตร) ถ้ามาถึงข้อนี้ทำไม่ได้มีทางเดียว ขนของหนีน้ำเท่านั้น! เกือบ 100% น้ำท่วมบ้านเพราะข้อนี้ทั้งหมด

3. การอุดทุกทางตามข้อที่ 1-2 แต่ตามตะเข็บบ้านมีการรั่วเข้ามาแน่นอน ถ้าอุดได้จงอุดด้วยปูนเท่านั้นที่ช่วยได้ ดินน้ำมันแค่ชั่วคราว เตรียมเครื่องสูบ/ดูดน้ำออกจากบ้านไว้ได้เลย น้ำสูงประมาณ 30cm-50cm ยังไม่เท่าไหร่ ช่วยๆ กันวิวได้ แต่ถ้าสูงกว่านั้นไม่ทันกินแน่นอน ถ้าไม่มีเครื่องสูบ/ดูดน้ำก็ขนของหนีน้ำได้เลยเช่นกัน!

4. ให้คิดไว้เสมอว่าการป้องกันน้ำเข้าบ้านที่บ้านที่บอกมา 3 ข้อบนใช้เพื่อการถ่วงเวลาเวลาเป็นหลัก และมันอยู่ได้ไม่นานนักครับ อย่างน้อยๆ “จงขนของหนีน้ำอย่างน้อยสูงจากชั้น 1 ประมาณ 3-5 เมตรเป็นอย่างน้อย” เอาขึ้นชั้น 2 เป็นดี และชั้น 3 จะดีมาก

5. สำรวจจุดที่มีการเชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้าทุกชุดให้แน่ชัด เช็คให้ครบทุกจุด ย้ำว่าทุกจุด โดยเฉพาะจุดไหนต่ำ มีสองทางคือปิดสะพานไฟจุดนั้น หรือกระชากมันออกมาแล้วแขวนไว้ซะสูงจากระดับน้ำ 1-2 เมตรให้ได้ (ผมกระชากมาแล้วจุดนึง ทำไม่ยาก ถ้าคุณเป็นบ้านแบบไม่ได้รอยสายตามท่อในผนังบ้าน) อย่าเสี่ยงกับจุดพวกนี้เด็ดขาดและควรมีเครื่องวัดไฟฟ้ารั่วติดตัวเสมอเมื่อน้ำเริ่มเข้าบ้านในจุดเสี่ยงที่ไฟฟ้ารั่ววัดก่อนจับหรือสัมผัส

6. อย่าเอารถยนต์ มอเตอร์ไซต์ หรือของใหญ่ๆ ยกยากๆ ไว้หลังแนวป้องกัน โดยเฉพาะไว้ในบ้านชั้น 1 เด็ดขาด มีสองทางคือเอาขึ้นชั้น 2-3 หรือเอาออกไปไว้ที่สูงนอกบ้านซะ โดยเฉพาะรถ รถจมน้ำเพราะคิดว่าป้องกันได้มานักต่อนักแล้ว

7. เอกสารสำคัญและของมีค่ากองรวมกันไว้จัดไว้ให้พร้อม ถ้าต้องออกจากพื้นที่ต้องสามารถหยิบออกมาได้ทันที

8. ไฟฉายสำคัญมาก ควรมีติดตัวทุกคนในบ้านอย่างน้อยคนละกระบอก แม้ในตอนกลางวัน แต่ถ้าน้ำท่วมแล้วการโดนตัดไฟฟ้า จนในบ้านไม่มีไฟ อาจทำให้มองอะไรไม่เห็นเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้

9. เวลาขึ้นชั้น 2 หรือบันไดราวต่างๆ ควรเช็คเท้าให้แห้งหรือระวังให้มาก เพราะน้ำทำให้เท้าเราลื้นได้ บาดเจ็บมาไม่คุ้มกัน

10. เตรียมถังน้ำไว้ในบ้านเผื่อฉุกเฉินน้ำไม่ไหล และจำเป็นต้องใช้น้ำ

11. ควรมีท่อพลาสติกความยาวสัก 1.5 เมตร กว้างสัก 1 นิ้ว เผื่อไว้เดินทางหรือสะกิดสะพานไฟ (เผื่อเอาไว้เคาะๆ ตอนเดินในที่น้ำท่วมป้องกันตกหลุ่มหรือสัตว์ร้ายต่างๆ)

12. ถ้าน้ำสูงเกิน 2 เมตร คุณจะโดนตัดไฟฟ้าแน่นอน ตู้เย็น เตาอบ อุปกรณ์สำหรับยังชีพที่ใช้ไฟฟ้าของคุณจะใช้งานไม่ได้อีกต่อไป เพราะงั้นไม่ต้องรอให้ถึงแค่เมตรกว่าๆ ก็ออกมาได้แล้ว (ประมาณเอว)

13. ถ้าจะก่อไฟในบ้านให้แน่ใจว่าเอาไฟที่ก่ออยู่ ไฟไหม้บ้านซ้ำเติมบ้านน้ำท่วมมีให้เห็นบ่อยๆ ก่อนจะทำระวังให้ดี เพราะไม่มีใครช่วยคุณได้ในสภาวะน้ำท่วมสูง (รถดับเพลิงเข้าไปไม่ถึงแน่นอน)

14. ถ้าออกจากบ้านแน่นอน ให้ตัดสะพานไฟบ้านด้วย อย่าออกมาจากบ้านโดยไม่ตัดสะพานไฟในบ้านลง เพราะอาจจะมีคนที่เข้าไปสำรวจในภายหลังโดนไฟฟ้าช็อตตายได้เพราะคุณไม่ตัดสะพานไฟ อาจจะเพราะตอนออกมาลืมเพราะไฟฟ้าโดยตัด แต่ตอนขากลับเข้าไปไฟฟ้ามาแล้วแต่น้ำยังลดไม่หมดและมีไฟฟ้ารั่วด้วย ต้องระวังให้มาก

บันทึกน้ำท่วมบ้านที่นครสวรรค์ 15/10/2554

กว่าจะรวบรวมสติและสมาธิในการเขียนผ่านล่วงเลยมาประมาณ 5 วันหลังจากเขื่อนริมน้ำที่นครสวรรค์แตกในวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาแตกลง วันนั้นผมติดตามข่าวตลอดทั้งวันผ่านช่องทาง social network ใน facebook ผ่าน group แจ้งข่าวสถานการณ์น้ำนครสวรรค์ 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาประมาณ 10 โมงเช้า (ตั้งแต่เริ่มทราบเรื่องใน twitter ว่าเขือนแตกแล้ว) ตอนนั้นผมทราบและโทรเข้าที่บ้านผมก่อนเลย เพราะตอนนั้นแม่ผมยังนอนอยู่และผมเข้าไปบอกข่าวเพื่อให้แม่ผมเข้าไปช่วยที่บ้านในตลาดตัวเมืองนครสวรรค์ก่อน เพราะอยู่ใกล้กับแนวสันเขือนป้องกันน้ำที่แตกอยู่ประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากริมแม่น้ำไป 300 เมตรเท่านั้น ซึ่งการเข้าไปนั้นยากลำบากพอสมควรเพราะการขี่รถมอเตอร์ไซต์เข้าไปถือว่ามีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถนำรถออกมาได้ แต่เป็นวิธีเดียวที่รวดเร็วที่สุดแล้ว จึงได้เข้าไป และเคลียร์ของที่เหลืออยู่และปิดบ้านออกมาจากหลังในตลาดได้ ทุกอย่างโอเค ทุกคนปลอดภัยดี รถสามารถนำออกมาได้ ของที่นำออกมาและความเสียหายไม่เยอะ เพราะว่าเตรียมตัวพร้อมสำหรับกรณีน้ำท่วมอยู่พอสมควร

หลังจากนั้นน้ำเริ่มทะลักเข้ามาจากทุกทิศทุกทางครับ ตอนนั้นแม่ผมเล่าว่า ต้องไปช่วยที่บ้านฝั่งถนนดาวดึงส์อีกหลังไปช่วยขนของอีกเล็กน้อยและนำคนออกมาครับ มีเวลาอยู่พอสมควรในการเก็บและขนของ ต่อจากที่จุดนี้แล้ว น้ำเริ่มนิ่ง แต่ยังไม่นิ่งดีครับ ผมตัดสินใจบอกแม่ผมเลยว่าให้ก่ออิฐกันน้ำเข้าบ้านก่อนเลย ไม่ต้องรออะไรแล้ว ไม่งั้นจะไม่ทัน เนืองจากแม่ผมลักเลอยู่พอสมควรใน เพราะตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 2538 นั้นไม่ท่วมถึงบ้านผมในจุดนี้ และคิดว่าในจุดที่บ้านผมอยู่คงไม่ท่วม แต่แล้ว …. เช้าวันที่ 11 ตุลาคม 2554 น้ำเริ่มมาถึงบ้านผมแล้วครับ ตอนนั้นช่างก่ออิฐมาแต่เช้า เริ่มก่ออิฐไปพร้อมๆ กับระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นระดับเข่าแล้ว การก่ออิฐก่อไปได้หน่อยน้ำเริ่มเข้า เริ่มกลัวว่าอิฐที่ก่อนจะพังก่อนได้ทำหน้าที่ป้องกันน้ำเข้าบ้านในวันนั้น แต่สุดท้ายก็ก่อนสำเร็จ ความสูงที่ก่อประมาณ 140-150cm โดยประมาณครับ ตอนนั้นเวลา 11 โมวเช้า ผมอยู่ที่กรุงเทพฯ ผมตัดสินใจโทรฯ ลางานทันที เพราะสภาพในตอนนี้ไม่ไหวแล้ว ที่บ้านต้องการคน แน่นอนว่าแม่ผมอยู่บ้านคนเดียวมาตลอดตั้งแต่ผมมาทำงานที่กรุงเทพฯ และมีญาติๆ อยู่ที่นั้นอยู่หลายคน แต่ว่าการเพิ่มกำลังคนเข้ามาอีก 1 คนซึ่งคือผม และเป็นหลักของครอบครัวของผมที่มีกันอยู่ 2 คนนั้นสำคัญมาก ผมเลยเตรียมของทั้งหมดที่จำเป็นจาก กรุงเทพฯ ไปที่นครสวรรค์ทันที ผมตรวจสอบเส้นทางจากใน group ของ facebook และตรวจสอบเส้นทางล่าสุดจากคนขับรถตู้กรุงเทพฯ – นครสวรรค์อีกทีนึงเพื่อความแน่ใจว่าจะควบคุมเวลาที่เดินทางได้

การเดินทางจากกรุงเทพฯ – นครสวรค์นั้นใช้เส้นทางที่แตกต่างจากที่เคยเดินทาง เพราะน้ำท่วมถนนสายหลัก โดยไปทางสุพรรณฯ ออกถนนเอเชียที่อ่างทองทีหลัง และจึงวิ่งตรงเข้าเส้นทางเดิมมุ่งสู่นครสวรรค์ ตลอดเส้นทางเจอน้ำท่วมข้างทาง และตามถนนเป็นระยะๆ แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีจนมาถึงนครสวรรค์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง จากปรกติไม่เกิน 3 ชั่วโมง มาถึงแล้วนั้น การหารถสองแถวอย่าได้ถาม เพราะไม่มีแน่นอน สิ่งที่พึ่งได้ตอนนั้นคือรถมอเตอร์ไซต์รับจ้างครับ แน่นอนว่าพี่คนขี่ไม่คิดราคาแพงพาไปส่งจนสุดเส้นทางที่จะพาเข้าไปได้ และผมลุยน้ำระดับเข่าเข้าไปต่ออีก 200 เมตร ตอนไปถึงที่บ้านน้ำเข้าบ้านไม่มากนัก เพราะน้ำออกจากตามช่องกำแพงในบ้านมากกว่าที่ออกจากที่กั้นน้ำท่วม ญาติๆ น้องๆ มาช่วยกัน 4 คน (รวมแม่ผมเป็น 5 คน) ขนของขึ้้นชั้นสอง ไปถึงขนของไปได้เยอะแล้วครับ ผมเลยรีบเข้าไปช่วย รอยยิ้มของแม่ที่เห็นผมมา มันยิ่งใหญ่ครับในตอนนั้น ตอนนั้นยังคงช็อคๆ อยู่บ้าง ยังทำอะไรไม่ถูกนัก พยายามรวบรวมสติครับ แต่ค่อยๆ ทำเท่าที่ทำได้ ตอนนั้นมีจุดนึงในบ้านที่อันตรายคือจุดปลั๊กไฟฟ้าที่อยู่ต่ำอยู่ 1 จุด อยู่สูงกว่าพื้นเพียง 1 ฟุตเท่านั้น ผมจึงทดสอบปิดจุดนั้นแล้วทดสอบว่ามีไฟฟ้าอยู่หรือไม่ ทดสอบแล้วไม่มีไฟฟ้าวิ่งผ่านเมื่อตัดไฟจุดนั้นไปครับ ผมจึงตัดไฟจุดนั้นทันที

ระดับน้ำตอนนั้นในบ้านไม่มีอะไรน่าห่วงครับ แต่ด้านนอกประมาณเข่าแล้ว ด้านในน้ำรั่วเข้ามาประมาณผิวๆ พื้น แต่น้ำขึ้นเร็วมากครับ กำแพงที่ทำไว้ยังกั้นอยู่ได้ แต่เสี่ยงจะพัง เพราะปูนยังไม่แห้งดี แต่ตอนนั้นญาติๆ ก็ต้องกลับแล้ว เพราะต้องไปดูอีกบ้านในเขตศูนย์ราชการจังหวัดนครสวรรค์ครับ เพราะมีความเสี่ยงเช่นกัน ผมเลยอยู่กับแม่สองคนในบ้าน ค่อยๆ เห็นของเก็บของที่เหลืออยู่ในบ้าน ประมาณ 5 ทุ่มสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกินขึ้นท่อระบายน้ำในห้องน้ำชั้นล่างแตกครับ เราไม่สามารถปิดกั้นได้ ได้เพียงแต่พยายามเอากระสอบทรายที่ไปขอจากข้างบ้านมาอุดไว้เพื่อบรรเทาความแรงของน้ำเท่านั้น น้ำไหลเข้าในตัวบ้านเร็วกว่าเดิมมาก ผมและแม่เลยตัดสินใจขนของอีกครั้ง หลังจากคิดว่าจะขนกันต่อวันรุ่งขึ้น (วันที่ 12 ตุลาคม 2554) แต่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลง จึงต้องเร่งมือทำให้จบในคืนนั้น เราขนของให้สูงเหลือแต่เฉพาะที่ต่ำกว่าระดับเดียวกับกำแพงกั้นด้านนอกทั้งหมดขึ้นชั้นสอง อาหาร ฯลฯ ต้องถูกนำออกจากบ้าน เพื่อป้องกันสัตว์ร้ายเข้ามาในบ้านเพื่อกินอาหารพวกนี้ทันที

เราสองแม่ลูกขนของกันจนอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยพอสมควรแล้ว เราจึงวางใจ แต่เหตุไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น จุดที่เป็นปลั๊กที่ต่ำสุดของบ้านดันมีเสียงเหมือนไฟฟ้าช็อตเกิดขึ้น แต่ไฟฟ้าในบ้านก็สำคัญสำหรับการอยู่ในตอนกลางคืน แน่นอนว่ามีความเสี่ยงมาก เราอยู่ในความเสี่ยงของไฟฟ้ารั่วอยู่ทั้งคืนครับ เราทดสอบก่อนเข้าไปในจุดนั้นก่อน และผ่านจุดนั้นด้วยการสับสะพานไฟใหญ่ของบ้านก่อนผ่านทุกครั้ง

ตอนนั้นอุปกรณ์ที่ต้องติดตัวใส่ในกระเป๋าเสมอ

  • ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย (มีไฟฉาย 3 ชุด)
  • มีดพกอเน็กประสงค์
  • เครื่องตรวจสอบไฟฟ้ารั่วแบบอิเล็คทรอนิกส์ (90-1,000V ไวระดับแค่สัญญาณมือถือเข้ายังดัง)
  • กุญแจบ้านและรถ
  • เงินจำนวณนึง
  • ค้อน (เอาไว้เผื่อจำเป็นต้องทุบประตูบ้านถ้าบ้านเข้าไม่ได้ เพราะประตูเป็นประตูไม้ มันบวมน้ำแล้ว)
  • ท่อพลาสติกยาวประมาณ 1.5 เมตร ไว้สำหรับเคาะพื้นไล่สัตว์ร้ายใต้น้ำ และไว้หาหลุ่ม/ป่อใต้น้ำ และเอาไว้ให้ให้เครื่องตรวจสอบไฟรั่วผูกเพื่อตรวจสอบไฟรั่วระยะไกล และยังไม่เป็นสื่อน้ำไฟฟ้าด้วย เอาไว้สะกิดปิดหรือเปิดสะพานไฟในบ้านได้ด้วย ซึ่งจะใช้ไม้ก็ได้ แต่ว่าถ้าเปียกน้ำจะทำให้แห้งยากกว่า แต่ดีกว่าที่ทนความร้อนได้เยอะ ส่วนถ้าเป็นโลหะจะเป็นสื่อน้ำไฟฟ้าแทน แต่แข็งแรงทนทาน เหมาะเอาไว้สู้กับสัตว์ร้ายได้ดีกว่า
  • ถังน้ำ 6 ลิตร บรรจุน้ำสะอาดไว้ล้างขาเวลาขึ้นชั้นสอง เพราะเราต้องการให้ชั้นสองสะอาดที่สุด ไม่งั้นจะมีปัญหาที่ว่าเราจะอยู่และกินข้าวด้านบนไม่ได้
  • โทรศัพท์มือถือจะห้อยคอไว้ตลอดเวลา การสื่อสารสำคัญมากในสภาพแวดล้อมแบบนี้

อุปกรณ์ในกระเป๋าพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันและทำให้ผ่านช่วงเวลายากลำบากมาได้ตลอดเวลา 3-4 วันที่ผ่านมา

เช้าวันที่ 12 ตุลาคม 2554 เรายังคงเก็บของและขนของที่จำเป็นและมีค่าออกจากบ้านไปบ้านที่เชิงเขา ที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงแน่นอนอีกที่แทน เราค่อยๆ ขนไปทีละ 2-3 แพ็คกว่าจะเสร็จ ในวันนั้นเราโดนตัดไฟช่วงเช้าครับ และต่อมาก็โดนตัดน้ำต่อ เพราะปะปานครสวรรค์น้ำท่วมถึงแล้ว เครื่องสูบน้ำและหม้อแปลงไฟน้ำกำลังจะท่วมถึงครับ จึงจำเป็นต้องตัดน้ำทั้งหมดออก ทำให้เราต้องเร่งขนของครับ ตรวจสอบความแน่นหนาของบ้านเพื่อป้องกันขโมยที่จะเข้ามาขโมยของในบ้าน วันนั้นเลยรีบออกมาซื้ออาหารที่จำเป็นต่อการอยู่ในบ้านตลอดคืนและเติมน้ำมันครับ วันนี้ปั้มน้ำมันเหลืออยู่ปั้มเดียวแล้ว และต่อแถวเพื่อเติมน้ำมันอยู่นานกว่าครึ่งชั่วโมงครับ กว่าจะเตรียมอาหารและน้ำมัน ขนของที่จำเป็นก็จบวันแล้ว ตกเย็นน้ำไม่มาครับ เรารีบออกมาจากบ้าน ก่อนออกจากบ้านเราสับสะพานไฟลงมาก่อน เพื่อไม่ให้ในบ้านเรามีไฟไหล่เวียนอยู่ คือนแรกที่เราสละบ้านออกมาใจไม่ค่อยดี กลัวโจรเข้าบ้านพอสมควรเลย พอออกมาแล้วในบ้านเชิงเขายังพอมีน้ำสำรองพอที่จะอาบอยู่บ้างเลยค่อยสบายใจหน่อยในวันนี้ครับ

เช้าวันที่ 13 ตุลาคม 2554 เราเข้าไปตรวจสอบของในบ้านต่อไปครับ น้ำทางฝั่งบ้านผมขึ้นอีกประมาณ 20-30 cm ได้แล้วในตอนนี้ ตอนเข้าไปในบ้าน เลยตัดสินใจกระชากสายไฟและปลั๊กไฟที่จมน้ำอยู่ออกจากจุดของมันแล้วแขวนมันขึ้นที่สูงได้ แล้วยกสะพานไฟบ้านขึ้นเสียงไฟฟ้าช็อตที่เรากลัวกันก็หายไป แต่จุดที่เป็นจุดที่ผมเพิ่งกระชากปลั๊กไฟออกยังคงตัดไฟอยู่ต่อไป เพื่อป้องกันความผิดพลาดอื่นๆ ก่อนแก้ไขปัญหาพวกไฟฟ้าจะเอาที่ตรวจสอบไฟรั่วตรวจสอบเสมอ รวมถึงจุ่มลงไปในน้ำเพื่อดูว่ามีไฟรั่วอยู่ที่ผิวน้ำหรือเปล่าอีกครั้ง วันนี้เราเข้ามาขนของอีกครั้ง และด้วยความที่แม่เป็นห่วงบ้านเลยไม่อยากทิ้งบ้านไปไหนเท่าไหร่ แต่รอบนี้เราออกจากบ้านมาช้าครับ กว่าจะออกก็ 6 โมงเย็นแล้ว เราจึงรีบออกมาเพราะไฟฟ้ายังไม่มาเลย และน้ำก็ไม่ไหลอีกด้วย จบวันรวมตัวกันที่บ้านพักเชิงเขา เราก็รวมตัวกันไปอาบน้ำกันที่วัดใกล้ๆ บ้านแทนครับ เพราะที่นั้นมีน้ำบาดาลที่สามารถอาบได้อยู่ ใครไม่ได้อาบน้ำวัดก็ได้อาบน้ำในวัดก็คราวนี้แหละครับ

เช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2554 วันนี้เรารุดเข้าไปในบ้าน เพื่อขนของรอบสุดท้าย วันนี้น้ำขึ้นอีก 15cm โดยประมาณได้ วันนี้เราได้พี่เรือจ้างใจดีมาช่วยให้ผมกับแม่ไม่ต้องเข้าบ้านอย่างยากลำบากแบบวันก่อนๆ ครับ คิดราคาไม่แพง พอถึงบ้าน ระดับน้ำใกล้ถึงตัวเครื่องปั้มน้ำเข้าบ้าน และมันท่วมปลั๊กไฟเครื่องปั้มน้ำแล้ว การยังให้เครื่องปั้มอยู่ตรงนั้น ไม่มีประโยชน์แน่อน เลยขอร้องพี่ๆ (เค้ามากันสองคนครับ) มาช่วยเอาออกให้และมาไว้ที่สูงในบ้านผม และช่วยเปิดประตูที่บวมน้ำให้ ซึ่งเค้าช่วยเต็มที่ครับ ก็เลยขอเบอร์โทรศัพท์เค้าไว้ เพราะตอนเย็นเราคงต้องขนของหนักและเยอะแน่นอน ตลอดทั้งวันก็วุ่นๆ กับการเก็บของ แต่ผมก็ออกจากบ้านมาก่อนเพื่อไปหาเพื่อนผมที่บ้านน้ำท่วมเหมือนกันที่โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าผมครับ ที่นี่อยู่ติดแม่น้ำเช่นกัน และน้ำท่วมส่วนหน้าของโรงเรียนไปแล้วพอสมควร (โรงเรียนนี้ด้านหน้าติดแม่น้ำ ด้านหลังเป็นเขา) เข้าไปก็เจอครูเก่าๆ ที่ผมรู้จักอยู่หลายคนครับ ก็ได้มานั่งคุยกันสักพักก็กลับแล้ว ผมรีบไปซื้อเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กมาเพื่อที่จะสูบน้ำออกจากบ้านเมื่อน้ำเริ่มลดระดับที่ไม่มีปั้มใดๆ ในบ้านจมน้ำแล้วจึงค่อยดูดออก เลยไปซื้อไว้ก่อน เพราะไม่งั้นหมดแน่ๆ ซึ่งที่ Home Mart แถวๆ ศ.ท่ารถนครสวรรค์ครับ น้ำยังท่วมไม่ถึง (แต่ก็ใกล้แล้ว) ซื้อเสร็จก็รีบๆ จัดแจงเอาไปไว้ที่บ้านเชิงเข้า แล้วก็ต้องรีบไปหาแม่ รอบนี้พาแม่ออกมาง่ายและขนของง่ายครับ มีพี่เรือจ้างใจดีมาช่วยผม รอบนี้โทรเรียกพี่เค้ามารับที่หน้าบ้านเลยครับ แล้วก็โรยของที่จะนำออกมาจากบ้านผ่านชั้นสองแทน รอบนี้ขนของสำคัญและจำเป็นออกมาได้ทั้งหมด แม่ผมก็สบายใจไปเยอะครับ ผมก็โอเคในระดับนึง พี่ๆ เรือจ้างเค้าใจดีครับ ช่วยเยอะมาก เลยให้ทิปค่าจ้างและเบีบร์เค้าไปอีก 2 กระป๋องเป็นน้ำใจเล็กๆ ไปครับ รอบนี้พี่เค้าไม่คิดจะเอาค่าจ้างด้วยซ้ำ บอกตอนเช้าผมให้เยอะแล้ว รอบนี้ฟรีแล้วกัน แต่ว่าพี่เค้าก็บ้านน้ำท่วม ก็ช่วยๆ กันไปครับ เราขนของออกจากบ้านมา แต่วันนี้น้ำยังไม่ไหลต่อไป ก็เลยต้องไปอาบน้ำที่วัดต่อไปอีกวันครับ แต่พอประมาณเกือบๆ 3 ทุ่ม น้ำปะปาที่บ้านเริ่มไหลแล้ว เราก็เริ่มโอเค แต่ก็อาบมาแล้วก็เอา เลยตามเลย

จากวันที่ 11 – 14 ตุลาคม 2554 เป็นประสบการณ์ที่ถ้าไม่เจอกับตัวเองนี่ไม่รู้เลยว่ามันมีเรื่องให้ตื่นเต้น ให้เครียด ให้ต้องตัดสินใจบนความเป็นความตายแค่ไหน สิ่งที่เรียนๆ มาตอนเป็น นศท. นี่ได้ใช้หลายๆ อย่าง ความรู้หลายๆ อย่าง เอามาใช้เยอะมาก หวังว่าเหตุการณ์นี้จะผ่านไปได้ด้วยดี แต่ที่แน่ๆ …. งานนี้เสียเงินซ่อมบ้านอีกเยอะแน่นอนครับ T_T