รีวิว Lenovo ThinkPad Tablet 2

มารอบนี้ได้รีวิว Tablet ที่อยากรีวิวมานาน ได้โอกาสนำมารีวิวให้ได้รู้กันว่าน่าสนใจเพียงใดกับ Lenovo ThinkPad Tablet 2 กัน โดยเป็น Tablet ที่เบา และใช้งานได้คลอบคลุมกับซอฟต์แวร์ในภาคธุรกิจในขนาดและน้ำหนักที่ไม่เป็นภาระมากนัก โดยน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 565 – 600g (WiFi only เบาสุด และ Wi-Fi + Pen/Digitizer + 3G/4G หนักสุด)

การทำ Tablet PC รุ่นที่มีความสามารถทดแทน Notebook ได้ ถือเป็นกลยุทธ PC+ ของ Lenovo ในการบุกตลาดโลกไอทีในช่วงปีนี้ โดย Tablet PC เป็นกลยุทธ์หนึ่งในนั้น โดยกลยุทธต่างๆ ซึ่งได้แก่ All-in-One PC, Tablet PC, Smart phone และ Smart TV ซึ่ง Lenovo ThinkPad Tablet 2 เป็นรุ่นที่ 2 ในตระกูล ThinkPad Tablet  ที่ได้นำเข้ามาบุกตลาดไปเมื่อปีที่แล้ว

ผมเคยพรีวิวเร็วไปเมื่อนานมาแล้วในหัวข้อ ลองจับ Lenovo ThinkPad Tablet 2 ก่อนเปิดตัวสักพัก

DSC_6032

Lenovo ThinkPad Tablet 2 มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 8 x86 (32bit) ตัวเต็ม ซึ่งแตกต่างจาก Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ที่เป็น Microsoft Windows RT อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ซึ่ง Microsoft Windows 8 x86 นั้นจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista และ 7 ได้สบายๆ โดยในส่วนของ App ที่เป็น Windows 8 App (Modern UI) ยังต้องติดตั้งผ่าน Windows Store แบบเดียวกับ Windows RT เหมือนเดิม (Windows 8 เป็น OS ที่มีส่วนประกอบมากกว่า Windows RT ทำให้รองรับ Desktop Application แบบดั่งเดิมได้ด้วย)

หน่วยประมวลผลเป็น Intel Atom รุ่น Z2760 ซึ่งเป็น Dual-core (four-thread) ความเร็วระดับ 1.80 GHz ที่มาพร้อมกับ VGA ภายในรุ่น HD SGX545 GFx ที่รองรับ Direct X 9 และวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 1080p ที่ 30fps โดยใส่หน่วยความจำหนักมาที่ 2GB แบบ LPDD2 SDRAM อยู่ภายใน

Screenshot (3)

Wireless Card เป็นของ Broadcom รุ่น 802.11abgn SDIO BCM4330 รองรับทั้ง Single-band 2.4 GHz 802.11 b/g/n หรือ dual-band 2.4 GHz และ 5Ghz 802.11 a/b/g/n มี FM receiver พร้อมกับ Bluetooth  4.0 HS compliant ด้วย

สำหรับ WWAN เป็น Ericsson รุ่น C5621 gw รองรับทั้ง – GPRS/EDGE/3G (HSPA/HSPA+) โดยที่ 3G จะรองรับความถี่ 850, 900, 1900 และ 2100MHz ที่ความเร็วสูงสุดดาวน์โหลด 21Mbps และอัพโหลด 5.76Mbps

Screenshot (4)

ด้วยความที่ภายในเป็น eMMC ขนาด 64GB ทำให้เมื่อติดตั้ง Windows 8 ตัวเต็มไปแล้ว จะเหลือพื้นที่ประมาณ 31-40GB โดยพื้นที่ที่หายไป จะมี 2 ส่วนคือ OS และ Recovery Image สำหรับทำ factory reset ในอนาคต (พื้นที่ factory reset กินพื้นที่จนเหลือเพียง 50GB และเมื่อลง OS ลงไปทำให้เหลือประมาณ 31GB)

Screenshot (10)

สำหรับคะแนนในส่วนของ Windows Experience Index ถือว่ากลางๆ เหมะากับนำไปใช้งานทั่วไป ที่ไม่เน้นหนักไปในด้านประมลผลหนักๆ เท่าไหร่นัก

โดยความเร็วเหมาะสมกับงานด้านเอกสาร ธุรกิจและงานทั่วไปในสำนักงาน

Screenshot (17)

เมื่อทดสอบกับ PC Benchmark แล้วคะแนนอยู่ในระดับกลางๆ หรือพอๆ กับ Notebook ระดับเริ่มต้นที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไปและธุรกิจมากกว่านำไปใช้ในงานที่เน้นประสิทธิภาพสูงครับ

Screenshot (21)

ขนาดของจอภาพเป็นระดับมาตรฐานของ Windows 8 คือ 1,366 x 768 pixel หรือระดับ HD 720p แต่ด้วยความที่จอภาพนั้นเล็ก เหมือน Windows 8 จะปรับให้แสดง Tile ขึ้นมาเพียง 3 rows ไม่เหมือนกับในเครื่องที่จอภาพ 13″-14″ ที่ความละเอียดเท่ากัน ซึ่งจะแสดง 4 rows

Screenshot (2)

แน่นอนว่าเมื่อปรับพลิกจอมาเป็นแนวตั้งจะได้ 6 rows เหมาะกับเอาเไว้อ่านกระทู้ หรือเอกสารยาวๆ ได้ดีมาก

Screenshot (7) Screenshot (6)

ตัวคีย์บอร์ดแบบ on screen เปิดมาก็เกือบครึ่งจอภาพ การใช้งานและพิมพ์ก็ทำได้ค่อนข้างดีใครใช้คีย์บอร์ดที่มีระยะห่างๆ หน่อยคงพอจะปรับตัวได้ง่าย แต่ถ้าใครใช้คีย์บอร์ดที่มีระยะห่างน้อยๆ อาจจะต้องปรับตัวสำหรับระยะก้าวนิ้วอีกมักสนิดนึง เพราะว่าห่างกันพอสมควรครับ

สำหรับตัวคีย์บอร์ด on screen แบบภาษาไทยนั้นก็มีการจัดวางไม่แตกต่างกับบน desktop/notebook เท่าไหร่นัก ซึ่งเป็นคุณสมบัติโดยรวมของ Windows 8

Screenshot (19)

สำหรับ Preload Application ต่างๆ ที่ใส่มาให้ ก็คล้ายๆ กับ Lenovo Yoga ครับ
– Lenovo Mobile Access
– Lenovo Companion
– Lenovo QuickSnip
– Lenovo Support
– Lenovo Quick Launch
– Lenovo Cloud Storage
– Lenovo Settings
– Microsoft Office 2010 Trial
– Intel AppUp
– AT&T Connection Manager (US only)
– Skype
– AccuWeather
– Amazon Kindle
– Skitch
– Evernote
– Rara Music

ในด้านของตัวซอฟต์แวร์นั้นตัวที่ให้มานั้น ที่น่าสนใจก็มี Lenovo Settings ที่มีความสามารถ Mobile Hotspot เพื่อใช้ในการแชร์ internet หรือ Lenovo Cloud Storage ที่เป็นบริการร่วมของ Lenovo กับ SugarSync ซึ่งให้พื้นที่มาต่างหากแยกจาก SkyDrive ของ Windows

Screenshot (8) Screenshot (9)

ต่อมา เราก็มาพูดถึงตัวเครื่องกันบ้าง โดยพื้นผิวต่างๆ ไม่แตกต่างจาก ThinkPad notebook สักเท่าไหร่นัก โดยจะถูกพ่นด้วยวัสดุคล้ายยางที่ใช้ชื่อว่า Soft-touch Matte Finish Coating เป็น Lenovo’s signature โดยเฉพาะ เหตุผลเพราะต้องการให้การจับถือเครื่องนั้นไม่ลื่นหลุดมือได้ง่าย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชอบที่มันไม่ลื่นหลุดมือง่ายๆ แต่ใช้ไปนานๆ ก็ข้อเสียที่ทุกรุ่นที่ใช้แบบนี้จะได้เจอก็คือ สุดท้ายแล้วมันจะมีรอยนิ้วมือหรือหลุดล่อนได้ถ้าใช้ไปนานๆ ซึ่งที่หลุดลอกออกมามันจะเป็นมันๆ แทน (ยางมันจะค่อยๆ สึกและลึกลงไปถึงวัสดุด้านในแทน) ซึ่งถ้าคิดถึงคุณสมบัติที่ได้ก็ต้องดูกันว่าชอบหรือเปล่าอีกทีนึงครับ

ข้อมูลของและชื่อ Soft-touch อย่างเป็นทางการคือ Polyurethane Soft-touch Coatings อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากด้านล่าง
High-quality touch to plastic surfaces: polyurethane soft-touch coatings
Properties of polyurethane coatings

DSC_6032

DSC_6050

สำหรับช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ นั้นอยู่รอบตัว ด้านขวาจะมีช่องเสียบชุดหูฟัง-ไมค์ ปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มล็อคการหมุนหน้าจอ

DSC_6044

ด้านซ้ายจะเป็นช่องเสียบสายชาร์จ โดยตัวหัวชาร์จไฟเป็น micro USB ซึ่งค่อนข้างสะดวกมากๆ เพราะใช้ร่วมกับมือถือบางรุ่นหรือแท็บเล็ตตัวอื่นๆ ได้เลย ส่วนตัวมาคือช่องสำหรับเชื่อมต่อ USB 2.0 แบบ full size ต่อ สุดท้ายเป็นส่วนล็อคของปากกาที่ให้มาคู่กับ ThinkPad Tablet 2

DSC_6046

สำหรับด้านบนจะมีปุ่ม เปิด-ปิด อยู่ด้านขวา และมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ด และหน่วยความจำเป็น micro SD อยู่ตรงกลาง ส่วนด้านซ้ายจะเป็นช่องใส่ปากกาที่ให้มากับตัวเครื่อง

DSC_6047

สำหรับด้านล่างเครื่องมีช่องต่อ HDMI, Docking Station และไมค์เล็กๆ สำหรับใช้คุยงานผ่าน Webcam ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง

DSC_6048

โดยช่องเสียบปากกาที่ตัวเครื่องนั้นออกแบบมาเป็นอย่างดี ทำให้การพกพาสะดวกมากขึ้นและไม่หลุดง่ายแบบหลายๆ ยี่ห้อ

DSC_6051

สำหรับการเชื่อมต่อเพื่อชาร์จไฟนั้นใช้ผ่าน micro USB ซึ่งหาซื้อได้ง่ายอยู่แล้วในท้องตลาด

DSC_6059

แน่นอนว่ามีเคสขายพร้อมตามสมัยนิยม แต่จากที่ได้ทดลองใช้นั้นน้ำหนักของเคสนั้นก็มาอยู่พอสมควร พอเอามาใช้รวมๆ กันแล้วดูหนักไปเลย อาจจะต้องดูว่ารับไหวหรือเปล่า แต่ส่วนตัวแล้วคงไม่ใส่เพราะหนักและเทอะทะไป

DSC_6061

DSC_6063

สำหรับความหนาของตัวเครื่องนั้น ก็หนาน้อยกว่า Nokia Lumia 920 ที่ผมใช้งานอยู่ 1-2mm เห็นจะได้ ซึ่งถ้าไม่ใส่เคสก็บางใช้ได้ครับ แต่เมื่อใส่เคสแล้ว จะหนากว่า Nokia Lumia 920 ขึ้มา 1-2mm

DSC_6065

DSC_6064

ถ้าต้องการตัวเลือกที่ให้อะไรที่มากกว่า Windows RT ใน Lenovo IdeaPad Yoga หรือไม่ได้ต้องการความแรงในระดับ ThinkPad Helix หรือแม้แต่ Microsoft Surface Pro ตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 ก็เป็นตัวเลือกที่ครบสำหรับงานสำนักงานทั่วไปที่เหมาะสำหรับใช้งานนอกสำนักงาน และตอบสนองต่อการใช้งานซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจทั้งเก่า-ใหม่ได้อย่างสบายๆ

 

ส่วนที่ถูกใจ

  1. ความเบาและบางเมื่อยังไม่ใส่เคส ชอบวัสดุในการนำมาใช้ ทำให้จับถือได้สะดวก
  2. งานประกอบแน่นและไม่มีอาการยวบให้เป็นเลย ทำให้จับแล้วมั่นใจว่าไม่หัก
  3. หน้าจอสว่างและเหมาะกับการใช้งาน ถึงจะเป็นหน้าจอที่สะท้อนแสงอยู่บ้าง แต่การฉาบด้วยวัสดุลดแสงสะท้อนก็ทำให้ใช้สบายตามากขึ้น
  4. ความลื่นไหลทำได้ค่อนข้างดี แต่จะใช้ atom ในงานทั่วๆ ไป
  5. USB 2.0 ที่ใช้งานได้จริง ต่อ printer, external hard drive หรือ flash drive ก็ทำได้สบายๆ
  6. ชาร์จไฟผ่าน micro USB ได้ ทำให้สะดวกต่อการหาสายชาร์จไฟได้ง่ายมากขึ้น
  7. ปากกาที่ให้มานั้นตอบสนองได้ดีมาก ใช้คู่กับ OneNote หรือ Evernote แล้วทำให้การจดบันทึกสะดวกได้อย่างไม่น่าเชื่อ
  8. การ factory reset ทำได้ราบรื่นดีเหมือนโทรศัพท์มือถือเลย ทำให้หมดปัญหาการติดตั้งตัว Windows 8 ใหม่ ซึ่งไม่ต้องหาแผ่นมานั่งติดตั้ง และจดจำ cd-key แต่อย่างใด
  9. มี WWAN มาให้พร้อมใช้งาน 3G ได้ทันที แน่นอนว่าใครไม่เคยใช้ Windows ผ่าน Mobile Network อาจจะไม่คุ้นชินเท่าใดนัก แต่ถ้าได้ลองแล้วจะติดใจ
  10. ถึงแม้พื้นที่จะมีมาให้เพียง 64GB และเหลือใช้งานจริงๆ ไม่ถึง 45GB แต่ก็มี micro SD ที่หา Class 10 มาใช้ได้สัก 32GB – 64GB ก็พอจะลดจุด้อยตรงนี้ไปได้บ้าง (รวมถึงต่อ external hard drive ได้ตามข้อที่ 5.)

ส่วนที่ไม่ถูกใจ

  1. เคสที่มาพร้อมเครื่องหนัก และหนาไปสักหน่อย
  2. น่าจะให้ RAM มาสัก 4GB เพราะ 2GB อาจจะไม่เพียงพอเมื่อใช้งานหลายๆ โปรแกรมสลับไปมา เพราะอย่าลืมว่านี่คือ Windows 8 ไม่ใช่ Windows RT แต่อย่างใด
  3. อาการค้างๆ อืดๆ มีให้เห็นบ้าง อาจเพราะใช้ CPU รุ่น Atom แต่ถ้าเป็น ThinkPad Helix รุ่นเรือธงของรุ่นน่าจะไม่มีอาการนี้แน่ๆ
  4. หน้าจอรับสัมผัสได้เพียง 5 จุด อาจทำให้พออยากเล่นเกมที่ใช้คุณสมบัติหน้าจอสัมผัส 10 จุดอาจหงุดหงิดได้
  5. กล้องแม้จะให้มา 8MP แต่ใช้งานแล้วคุณภาพของภาพเฉยๆ ไม่ได้โดดเด่นอะไร
สุดท้ายขอขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo ThinkPad Tablet 2 ที่นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

Lenovo ThinkPad Tablet 2 Tech Spec

CPU: Intel Atom Processor Z2760 Dual-core, four-thread, up to 1.80 GHz processor

VGA: Intel Integrated HD SGX545 GFx (12 bit, 1080P Video @30fs, DX9)

Memory: 2GB LPDD2 SDRAM

HDD: e-MMC 64GB

Display:
– 10.1 inch (16:9) IPS LED Backlight with anti-glare
– 5-finger multi-touch
– HD WXGA (1366×768) (720p)

Wireless:

Broadcom 802.11abgn SDIO BCM4330
– Single-band 2.4 GHz 802.11 b/g/n or dual-band 2.4 GHz and 5Ghz 802.11 a/b/g/n
– FM receiver and transmitter
– Bluetooth  4.0 HS compliant

WWAN Ericsson C5621 gw
– GPRS/EDGE/HSPA/HSPA+
– GSM Bands (850/900/1800/1900MHz)
– UMTS Bands (850/900/1900/2100MHz)
– Up to HSPA+ data speed: D/L 21Mbps U/L 5.76Mbps

Sensors: GPS, Compass, Ambient Light Sensor, Proximity Sensor, Sensor Hub

Camera:
– Front: 2MP, 720P HD Webcam with LED (inside LCD)
– Rear: 8MP, Auto Focus with LED Flash (outside LCD), Motion JPG

Ports and Slot:
– 1 x USB 2.0
– 1 x Mini HDMI
– 1 x MicroSD Slot (SDHC Maximum 32GB)
– 1 x Docking Connector
– 1 x 3.5mm Mic/Headphone Combo
– 1 x SIM Card Reader

Speaker: 2 x Stereo 1W, 8ohm

Microphones: Dual-array Digital Microphone with Noise Cancellation, VoIP and Noise Suppression

Operating System:
– Windows 8 x86 (32-bit)
– Windows 8 Pro x86 (32-bit)
– Windows 8 Single Language x86 (32-bit)

Dimensions: 262.6mm x 164mm x 9.8mm (10.3″ x 6.5″ x 0.39″)

Weight:
– 565g Wi-Fi only
– 585g Wi-Fi + Pen/Digitizer
– 600g Wi-Fi + Pen/Digitizer + 3G/4G

Batter Performance:
– 30 days: Connected Standby
– 150 hrs: MP3 playback (LCD off, HW off loading)
– 10hrs: Video streaming (720p, HW offloading)

Preload Application:
– Lenovo Mobile Access
– Lenovo Companion
– Lenovo QuickSnip
– Lenovo Support
– Lenovo Quick Launch
– Lenovo Cloud Storage
– Lenovo Settings
– Microsoft® Office 2010 Trial
– Intel® AppUp
– AT&T Connection Manager (US only)
– Skype
– AccuWeather
– Amazon Kindle
– Skitch
– Evernote
– Rara – Music

Accessories:
– ThinkPad Tablet 2 Enterprise Dock
– ThinkPad Tablet 2 Digitizer Pen
– ThinkPad Tablet 2 VGA Adapter (5V 10W AC/DC)
– ThinkPad Tablet DC Charger
– ThinkPad Tablet 2 Bluetooth Keyboard with stand
– ThinkPad Tablet 2 Fitted sleeve
– ThinkPad Tablet 2 slimcase (Black or Red)
– ThinkPad In-Ear Headphones with Microphone

Warranty: Up to 3 Years Onsite and Next Business Day

“YouTube” app เจ้าปัญหาของ Microsoft บน Windows phone 8

ส่วนตัวแล้วนั้น Microsoft ทำ “ผิด” โดยละเมิด “terms of service” ในหลายเรื่อง และส่วนที่สำคัญคือ Trademark “YouTube” และการทำวิศวกรรมย้อนกลับที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน (คำกล่าวอ้างคือ “เพื่อประสบการณ์ในการที่ดีกว่า”)

ซึ่งถ้าไม่ใช้ Trademark “YouTube” และใส่ลง Music+Videos ไปแทน โดยไปพัฒนาส่วนการดึงตัววิดีโอจากหลายๆ แหล่งแทน โดยใช้ YouTube เป็นค่าเริ่มต้น จะดูดีกว่ามากเลยทีเดียว (ไม่แน่อาจจะไม่เกิดปัญหาอีก เพราะไปดึง YouTube มาไม่ได้เพราะ Google ไม่ให้ในกรณีนี้อีก) ซึ่งคล้ายๆ กับ People Hub ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Twitter, Facebook และ LinkedIn ได้แบบนั้น ซึ่งส่วนตัวในตอนนี้ผมยังแปลกใจว่าทำไม Microsoft ต้องมาทำ YouTube แล้วบอกว่าเป็น official ให้อยู่เนืองๆ แถมดันทุรังใช้ชื่อ Trademark “YouTube” ที่ Google เป็นเจ้าของอยู่อีก ซึ่งจริงๆ เกมนี้ให้ 3rd party ลงมาเล่นแทนตัวเองก็น่าจะจบ และดูดีกว่า โดยที่ 3rd party ส่วนใหญ่ก็ทำได้ดีพอสมควร แม้ไม่สุด แต่ก็ไม่ได้แย่

ถ้าดูดีๆ แล้วนั้น เกมนี้ Microsoft อาจได้มวลชลของฝั่งตัวเอง เพราะถือว่าทำ app เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าตัวเอง แต่นั้นแหละ มันเลยดูว่า Microsoft ก็ดื้อ ซึ่งประมาณถึงผิด ตูก็จะทำ ใช้ลูกค้าเป็นข้ออ้าง ซึ่งความเห็นและความรู้สึกก็แบ่งเป็นสองข้างชัด แน่นอนว่าเป็นการพยายามโยนระเบิดไปหา Google แต่ไม่ไกลพอ ก็โดนสะเก็ดด้วยพอสมควร

ส่วนฝั่งของ Google ก็ดูจะพยายามเหมือนจะกีดกัน คือมาแนวตัวเองก็ไม่ทำ official app ภายใต้การกำกับดูแล จน Microsoft ต้องลงมาทำให้เอง และสุดท้ายกลายเป็นบีบ Microsoft ต้องทำผิด terms of service ไปเสียเอง

ศึกนี้ถ้ามองจริงๆ “Microsoft ผิด และ Google ถูก” อย่างไม่ต้องสงสัย (ผมพยายามหาข้อแก้ตัวให้ แต่สุดท้ายมันก็ไม่ไหวจริงๆ)

ในข้อเสนอผมตอนนี้ Microsoft ควรทำคือ

  • ลบ “YouTube” app ออกไปจาก Windows phone store และเลิกใช้ชื่อนี้ไปเลย ให้เจ้าของ Trademark เป็นคนจัดการณ์เอง พร้อมทำ FAQ เสีย (ทำแบบรวมๆ)
  • ออกแถลงการณ์ขอโทษ Google ต่อกรณีใช้ Trademark “YouTube” และการทำวิศวกรรมย้อนกลับ
  • สนับสนุนบริการ Video Sharing ตัวอื่นๆ แทน เช่น Vimeo ที่มี Official ที่ก็ใช้งานได้เป็นอย่างดีแทน

ผมมองว่า Microsoft ควรใช้กระแสของข่าวนี้แม้ตัวเองจะผิด แต่เพื่อให้กระแสสังคมตีคำถามกลับไปยัง Google เองว่า เมื่อไหร่จะมี Official app บน Windows phone แน่นอนว่าจะเป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคตว่า ถ้าจะทำ app หรือบริการที่เชื่อมต่อกับ Google จะมีกรณีอะไรเกิดขึ้นได้บ้างด้วย ซึ่งกรณีแนวๆ นี้ก่อนหน้านี้อย่าง ยกเลิก EAS ใน Google apps และ Gmail, โจมตี EAS และให้นักพัฒนามาใช้มาตรฐานเปิด และสุดท้ายก็ปิดการรองรับมาตรฐานเปิดเพราะ Microsoft ก็ปรับ OS ให้กลับมารองรับมาตรฐานเปิดดังกล่าว ซึ่งเป็นเหมือนเกมไล่จับกันไป-มา และสุดท้ายเราต้องกลับมาตั้งคำถามต่อกรณีแนวๆ นี้ระหว่างผู้ผลิตและผู้ให้บริการที่มีปัญหาพยายามกีดกันไป-มาว่า “ผู้ใช้งานเสียประโยชน์ เพราะผู้ใช้งานดังกล่าวก็อาจเป็นลูกค้าของทุกฝ่ายที่กำลังตีกันอยู่ แล้วพวกเราได้อะไรกับกรณีนี้บ้าง”

Windows phone 8 GDR2 มีอะไรใหม่, Nokia ได้ Nokia Amber เพิ่ม และคาดว่า GDR3 จะมีอะไรเพิ่ม

เกริ่นก่อนว่า Windows phone 8 GDR2 ออก OEM ในวันที่ 12 กรกฎาคม 56 และเราๆ ท่านๆ ก็ได้อัพเดทกันทั่วหน้าสำหรับ Nokia ประมาณวันที่ 16 สิงหาคม 56 หรือประมาณ 1 เดือนกว่าๆ หลังจากปล่อย OEM และจนถึง OTA

wp_ss_20130816_0003 wp_ss_20130816_0006c

สำหรับ Windows phone 8 GDR2 มีความสามารถเพิ่มเติมได้แก่

  • รองรับความสามารถใหม่ๆ ใน Xbox Music (แล้วแต่ประเทศที่เปิดบริการ)
  • เพิ่มความสามารถ FM ใน Music+Videos hub (มือถือบางรุ่นไม่มี H/W จะใช้ไม่ได้)
  • เพื่อความสามารถ Data sense เพื่อบีบอัดข้อมูลและรายงานการใช้งาน data แต่ละ App และตั้ง limit ในการใช้งานได้
  • ปรับปรุง Skype ให้รองรับทั้ง Lync และ Skype
  • ปรับปรุง Internet Explorer 10 ให้รองรับ HTML 5 ได้ดีมากขึ้น
  • เพิ่มให้สามารถตั้งเรียก Camera app ให้กับ camera button ได้ (บางรุ่นอาจจะใช้ไม่ได้)
  • แก้ไข other space ที่กินพื้นที่มากเกินไปให้ลดลง
  • แก้ไขและปรับแต่งเสถียรภาพอื่นๆ
  • การปรับแต่งอื่นๆ จาก vendor อย่าง Nokia จะมี Nokia Amber มาให้พร้อม
    (ผมใช้ Nokia ขออ้างอิง Nokia เท่านั้น)

wp_ss_20130817_0005 wp_ss_20130817_0006

wp_ss_20130817_0004 wp_ss_20130817_0007

Nokia Amber จะมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้

  • สำหรับ Nokia Lumia 920 จะปรับแต่เรื่อง noise reduction ในกล้องถ่ายรูป และรองรับ ISO สูงมากขึ้น ตั้งแต่ 800 ถึง 3200
  • ติดตั้ง Lumia storage check มาให้พร้อมเพื่อล้างพื้นที่ other ได้สะดวกมากขึ้น
  • Nokia Glance Screen ที่เป็นความสามารถในการแสดงนาฬิกาและสถานะของแบตเตอรี่ตอนพักหน้าจอ เหมือนกับมือถือบางรุ่นในอดีต
  • Double-tap to unlock เพื่อความสามารถในการ double-tap (แตะหน้าจอ 2 ครั้งติดต่อกัน) ที่จอเพื่อปลดล็อคเครื่องแทนการใช้ปุ่มปลดล็อค ช่วยถน่อมปุ่มปลดล็อคไปในตัว และเพิ่มความสะดวกในการใช้นิ้วโป้งในการปลดล็อค
  • ความสามารถ Flip to silence เพื่อใช้ตัดเสียงหรือตัดการสั่นด้วยการพลิกตัวเครื่องคว่ำหน้าจอลงกับพื้นโต๊ะเพื่อตัดการเตือน
  • ปรับแต่งระบบ Here maps ให้ติดตั้งและอัพเดทได้ง่าย
  • call+SMS Filter เป็น app ที่อยู่ใน settings เพื่อใช้ในการกรองหรือปิดกั้นการรับสายหรือดักจับข้อความที่ไม่พึงประสงค์
  • เมื่ออัพเดทไป GDR2 จะติดตั้ง Nokia Pro Camera, Nokia Smart Camera, Nokia Video Trimmer และ Nokia Video Upload ได้ซึ่งเป็น app ที่มาพร้อมกับ Lumia 925 และ 1020 ก่อนหน้านี้

wp_ss_20130816_0005 wp_ss_20130817_0001

wp_ss_20130817_0002 wp_ss_20130817_0003

ทิ้งท้าย Windows phone 8 GDR3 ที่เป็นส่วนที่อัพเดทต่อไปนั้นคาดว่าออก OEM ในช่วงต้นเดือนกันยายน (อย่างเร็ว) แน่นอนว่าถ้าเป็นแบบนั้น พวกเราคนใช้ Windows phone 8 จะได้อัพเดทกันทั่วหน้าประมาณในช่วงตุลาคมหรือพฤศจิกายน สุดท้ายในส่วน Windows phone 8.1 น่าจะมาช่วงต้นปีหน้า 2557

โดยความสามารถเบื้องต้นที่หลุดมาของ Windows phone 8 GDR3 นั้นจะพร้อมดังต่อไปนี้

  • Orientation Lock
  • Driver Mode
  • รองรับจอภาพ 1080p แน่นอนว่าจอภาพขนาดใหญ่ระดับ 5” (หรือมากกว่า) จะรองรับเช่นกัน
  • จัดเรียง Tiles ได้ 3 column (มีขนาด medium size เพิ่มมา) แน่ไม่แน่ใจว่าใช้ได้แต่ในขนาดหน้าจอ 1080p อย่างเดียวหรือเปล่า
  • รองรับ SoC รุ่นใหม่ๆ
  • รองรับการปิด App ผ่าน multi-tasking switcher
  • Silent NFC
  • Network status icon
  • รองรับการ sync text message เข้า Micrsoft Account แล้วแสดงบน Outlook.com

Timeline การปล่อย GDR จะประมาณด้านล่างครับ

  1. GDR – Microsoft Image (ตัวที่ส่งให้ Vendor) ซึ่งเป็น Image ที่มี Driver ที่เป็น Generic ใส่มาให้หมดแล้ว (นอกจาก OEM ไปใส่อะไรประหลาดๆ แบบ HTC ตอน WP7)
  2. GDR – Vendor Image (Microsoft Image + Vendor App/Setting)
  3. GDR – OTA (Vendor Image ที่กระจายปล่อยแต่ละประเทศ)

เข้าใจว่าที่ส่งไปให้ Vendor เช็คนั้นเพื่อให้สามารถติดตั้งผ่าน OTA และใส่ความสามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขให้เข้ากับระบบเฉพาะตัวเองบางตัว (เช่น Nokia มี setting ส่วนของ Dobby อะไรพวกนี้) ได้ ซึ่งจริงๆ GDR2 นี่มี Vendor Image ที่สามารถติดตั้งแยกแบบผ่านโปรแกรม factory recovery ของ Vendor ได้ครับ แต่ App หรือความสามารถบางอย่างที่ Vendor จะใส่เพิ่มเติมมาให้ตอน OTA อาจจะไม่มี (ต้องไปหาโหลดเพิ่มเติมทีหลัง)

แน่นอนว่าเมื่อได้ Vendor Image แล้วจะปล่อย OTA เลยไม่ได้ แต่คงไม่นานนัก เพราะต้องเช็คเรื่องคุณสมบัติของ Vendor Image ที่ส่งออกไปทาง OTA ให้ตรงตามข้อกฎหมายบางอย่าง เพราะหลายๆ ประเทศมีความสามารถที่เปิดไม่เท่ากัน เช่นบางประเทศต้องปิด 4G, ปรับ FM ให้เข้ากับย่านความกี่ประเทศนั้นๆ หรือต้องเปิดเสียงชัดเตอร์ตลอด ซึ่งทำให้ปิดไม่ได้ เป็นต้น

เมื่อ Laravel Framework 4 กับ Zend Framework 2 อยู่ร่วมกัน

ตัว Laravel Framework 4 เป็น Framework ที่ดีตัวหนึ่งในตลาด PHP Framework แต่ Zend Framework 2 ก็มี components ที่น่าสนใจช่วยให้เราทำงานได้สะดวกมากขึ้น การเอาทั้งสองตัวมาทำงานร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่ดี

ขั้นแรกก็สร้าง project ของ Laravel Framework ด้วยคำสั่งของ composer เสียก่อน (อ้างอิง version 4)

composer create-project laravel/laravel

แก้ไขไฟล์ composer.json ของ Laravel Framework เพื่อเพิ่ม Zend Framework 2 จาก Packagist ลงใน project ของเรา (zendframework/zendframework – Packagist)

โดยเพิ่ม

"zendframework/zendframework": "2.3.*@dev"

ลงในส่วน

require

หน้าตาจะประมาณ

{
"name": "laravel/laravel",
"description": "The Laravel Framework.",
"keywords": ["framework", "laravel"],
"require": {
"laravel/framework": "4.0.<em>",
"zendframework/zendframework": "2.3.</em>@dev"
},

เสร็จแล้วก็สั่ง composer update

รอจนจบแล้วเขียน autoload use ทดสอบ component ตัว Zend Version มาแสดงผลดูตามด้านล่าง ซึ่งจะได้ตัวเลข version ของ Zend Framework ประมาณ 2.2.2 (ณ วันที่เขียนบทความ)

<?php

use Zend\Version\Version;

class HomeController extends BaseController {
    public function getIndex()
    {
        echo Version::getLatest();
    }
}

มองคนละมิติกับกูเกิลสตรีทวิว

ขอแสดงความคิดเห็นว่า ผมไม่โทษใครนะ จะบอกว่าคนไทยไม่รู้ ผมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดเลย คนหาเช้ากินค่ำ อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเค้าไม่ได้เข้าถึงเรื่องพวกนี้ได้อย่างปรกติเหมือนพวกเรา (ควรเข้าใจพื้นที่เค้าด้วย) หลายๆ คนไม่ทราบหรือไม่เคยเจอก็ต้องระแวงไว้ก่อน อยู่ๆ มีรถหน้าตาประหลาดมาทำทีถ่ายรูปต่างๆ ในพื้นที่ตัวเองมันจะไม่มีใครสงสัยเลยเหรอ? เอาง่ายๆ ลองมองในมุมหนึ่ง อยู่ๆ วันหนึ่งมีคนเดินมาหน้าบ้านคุณๆ (ที่บอกว่าตัวเองฉลาดรู้จักกูเกิลสตรีทวิว) แต่ไม่ใช่กูเกิลสตรีทวิวแต่เป็นนักสืบ หรือคนที่กำลังอาจจะปล้นบ้านคุณ คุณไม่สงสัยหรือระแวงเหรอ? ซึ่งในสังคมที่การใช้วิธีฉลาดแกมโกงอยู่เนืองๆ เค้าคงระแวงมากขึ้นพอสมควรแหละ (ผมว่าเค้าโดนมาเยอะกว่าที่พวกเราคิดจากข่าวสารเก่าๆ หลายๆ อย่าง)

ในประเทศในแถบยุโรป หรือที่ที่เค้าคำนึงถึงสิทธิในปัจเจกชนมากๆ การเข้าไปถ่ายรูปในบริเวณบ้านคน แม้แต่ติดหน้าคน หรือรถที่ระบุถึงตัวบุคคลยังเป็นเรื่องเลย (ใครจำกระทู้อาทิตย์ที่แล้วที่ถ่ายรูปรถแล้วไม่ได้เบลอป้ายทะเบียนแล้วบอกว่าอยู่หน้าสถานบันเทิงคงเข้าใจได้มากขึ้น) แถมในข่าวนี้เป็นพื้นที่ที่ยังมีปัญหากับทางภาครัฐยิ่งแล้วใหญ่เลย ควรทำการบ้านและเข้าใจพื้นที่ที่ตัวเองเข้าไปทำงานให้มากขึ้น นี่เค้าแค่กักตัวนะ ดีไม่โดนทุบ ><" ส่วนตัวแล้วผมสนับสนุนการสร้างเขือน แต่ไม่สนับสนุนการสร้างสิ่งที่ว่าบนพื้นฐานความไม่เข้าใจและอยู่ร่วมกันไม่ได้ของคนในพื้นที่ครับ และพยายามมองในหลายๆ มุม พยายามเข้าใจทุกฝ่าย และมองว่าไม่มีใครผิดหรือเรื่องหน้าอายแต่อย่างใด เป็นความไม่รู้ของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น และทุกอย่างมันก็เคลียร์กันได้เองในท้ายที่สุดในข่าวที่ชาวบ้านได้ออก แถลงการณ์ขอโทษ